ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 22-05-2012, 07:55
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,510
ได้ให้อนุโมทนา: 151,404
ได้รับอนุโมทนา 4,405,961 ครั้ง ใน 34,100 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น..อานิสงส์ใหญ่ของการพิจารณาลมหายใจเข้าออกที่เราพึงจะสังวรไว้ก็คือ กำหนดให้รู้เห็นไตรลักษณ์ ก็คือลักษณะ ๓ อย่างที่ประกอบอยู่ในคนและสัตว์ ตลอดจนวัตถุธาตุทุกประเภท ก็คืออนิจจตา ลักษณะที่ไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปในท่ามกลาง แล้วก็สลายไปในที่สุด แม้กระทั่งลมหายใจเข้าออกของเรา ก็ยังจัดอยู่ในอนิจจลักขณะอย่างนี้ แล้วเรายังอยากจะเกิดมามีสภาพร่างกายไม่เที่ยงเช่นนี้ เกิดมาในโลกที่หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้เช่นนี้อยู่หรือไม่ ?

ประการที่สองคือทุกขตา มีความทุกข์อยู่เป็นปกติ หายใจเข้า หายใจออก ก็ต้องใช้ความพยายามในการกำหนดดูกำหนดรู้อยู่ตลอดเวลา ก็แปลว่าเราอยู่ในทุกขลักขณะ คือความเป็นทุกข์ที่ครอบงำเราอยู่ทุกชั่วลมหายใจเข้าออก ขึ้นชื่อว่าการเกิดมามีแต่ความทุกข์เช่นนี้ เกิดมามีร่างกายที่ประกอบไปด้วยความทุกข์เช่นนี้ เกิดมาในโลกที่มีความทุกข์ยากเร่าร้อนเช่นนี้ เรายังพึงปรารถนาอีกหรือไม่ ?

ประการสุดท้ายก็คือ อนัตตตา ความไม่สามารถที่จะยึดถือมั่นหมายเป็นตัวตนเราเขาได้ ต่อให้เรายึดลมหายใจเข้าออกจนมั่นคง สามารถทรงฌาน ๔ สามารถทรงสมาบัติ ๘ ได้ แต่ทันทีที่เผลอไผล สมาธิสมาบัติทั้งหลายก็จะเสื่อมสลายลงไป แสดงว่าแม้กระทั่งรูปฌาน หรืออรูปฌานที่เกิดจากลมหายใจเข้าออกนั้น ก็ยังไม่ใช่สิ่งที่ยึดถือมั่นหมายได้ เป็นอนัตตลักขณะอยู่ตลอดเวลา เราเองยังมีความปรารถนาในร่างกายที่ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา แม้แต่ลมหายใจเข้าออกก็ไม่ใช่ของเรานี้หรือไม่ ? เรายังปรารถนาที่จะเกิดมาในโลก ซึ่งไม่สามารถยึดถือมั่นหมายเป็นตัวตนเราเขาได้หรือไม่ ?
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-05-2012 เมื่อ 08:15
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา