ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 26-11-2017, 09:53
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,500
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,658 ครั้ง ใน 34,089 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในเมื่อไม่สามารถฝึกอสุภกรรมฐานได้โดยตรง ก็ต้องมาระลึกถึงตัวเรา ว่าตัวของเรานี้ประกอบไปด้วยความสกปรกเน่าเหม็นเป็นปกติ โดยเฉพาะอย่างพระภิกษุเมื่อบวชเข้าไป พระอุปัชฌาย์จะให้ตจปัญจกกัมมัฏฐาน ซึ่งแปลว่ากรรมฐาน ๕ อย่าง มีหนังเป็นที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วย เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ

เกสาคือผม โลมาคือขน นขาคือเล็บ ทันตาคือฟัน ตโจคือหนัง เหตุที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์ท่านมอบให้แก่กุลบุตรที่เข้าบวชเพราะว่า สิ่งทั้ง ๕ อย่างนี้เป็นตัวระงับกามราคะ ซึ่งเป็นสิ่งที่รบกวนผู้บวชโดยตรง การระงับกามราคะโดยการพิจารณาสิ่งของทั้ง ๕ นี้ว่าเป็นปฏิกูล มีแต่ความสกปรกเป็นปกติ เพราะว่าทั้ง ๕ ส่วนนี้เป็นสิ่งที่สกปรกและเห็นได้ง่าย

เราไม่สระผมสักวันสองวันก็ทนไม่ได้แล้ว แค่เส้นผมตกลงไปในอาหาร บางคนกินต่อไม่ได้เลย ขนในร่างกายของเราก็เช่นเดียวกัน ถึงเวลาก็เปรอะเปื้อนเหงื่อไคลไขมันต่าง ๆ ถ้าไม่ได้ชำระสะสางบางคนก็ตกสะเก็ดเป็นสังกะตังไปเลยก็มี พอถึงเวลาก็ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนไปไกล ๆ

ลองดูลักษณะบรรดาท่านทั้งหลายที่สติไม่ดี ไม่ได้อาบน้ำหลาย ๆ วัน เดินมากลิ่นโชยไปไกลหลายวา เล็บก็เช่นเดียวกัน ไม่กี่วันก็สกปรก ถ้าไม่ได้ขัด ไม่ได้แคะ ไม่ได้ล้าง บางทีขี้เล็บดำปี๋ คนเห็นก็ไม่สามารถที่จะทนอาการรังเกียจได้

ถ้าไม่ได้แปรงฟันแค่มื้ออาหารมื้อเดียวหรือว่าวันเดียว เราก็รู้สึกว่าสกปรกจนทนไม่ได้ หนังก็เช่นเดียวกัน หนังเป็นที่ยึดของเส้นขน ในเมื่อขนสกปรกด้วยเหงื่อด้วยไคล หนังซึ่งเป็นตัวต้นเหตุนั้นจะสกปรกยิ่งกว่า โดยเฉพาะหนังนี้ห่อหุ้มร่างกายเอาไว้ ทำให้เราไม่ได้เห็นเลือด ไม่ได้เห็นเนื้อ ไม่ได้เห็นเส้นเอ็น ไม่ได้เห็นกระดูกอยู่ข้างใน เป็นตัวปิดบังทำให้เราหลงผิดคิดว่าร่างกายนี้สวยงาม แล้วก็เกิดกามราคะขึ้นมาได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-11-2017 เมื่อ 17:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา