ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 12-11-2010, 14:11
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,500
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,764 ครั้ง ใน 34,089 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

ให้ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตนเอง อย่าลืมว่าต้องตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เอาความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป ไหลตามลมหายใจออกมา

วันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานวันแรกของเดือนนี้ ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ทางวัดมีการจัดบวชเนกขัมมะปฏิบัติธรรม เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๘๓ พรรษา ญาติโยมจำนวนหนึ่งก็ได้ไปปฏิบัติธรรมด้วยกัน

คราวนี้เกิดมีคนสงสัยขึ้นมาว่า ในขณะที่ตนเองเดินจงกรมนั้น จะจับอยู่ที่อาการเดิน หรือว่าจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกดี ?

ขอบอกว่า การปฏิบัติที่วัดนั้น เป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ แบบพองหนอ ยุบหนอ ซึ่งเป็นหลักสูตรบังคับ โดยมติมหาเถรสมาคม ที่กำหนดให้สำนักปฏิบัติธรรมทุกแห่งปฏิบัติตามสติปัฏฐาน ๔ แบบพองหนอ ยุบหนอนี้ แม้ว่าบางสำนักจะปฏิบัติแยกออกไปต่างหาก แต่เวลารายงานผลการปฏิบัติ ก็ต้องรายงานไปว่าปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ แบบพองหนอ ยุบหนอเช่นกัน

เมื่อเป็นดังนั้น ก็ต้องว่าตามการปฏิบัติของสายนี้ คือ เราต้องเอาความรู้สึกทั้งหมดจดจ่ออยู่กับการเคลื่อนไหวของเรา ก็คือดูอิริยาบถใหญ่ ๔ ประการ ได้แก่ เดิน ยืน นั่ง นอน

ขอยืนยันว่า เดิน ยืน นั่ง นอน เพราะว่าเมื่อเราเดินแล้วมายืน จึงสามารถที่จะนั่งและนอนได้ ถ้ายืนแล้วเดิน คนที่เดินจะนั่งไม่ได้ และดูอิริยาบถย่อยอีก ๒๒ ประการ มีการเหยียดแขน คู้แขน เหลียวดู เป็นต้น

ความหมายที่แท้จริงก็คือ ให้พวกเรากำหนดสติ รู้อยู่ในปัจจุบันขณะนั้น ๆ ว่าร่างกายมีการเคลื่อนไหวอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะต้องรู้ให้ทันในปัจจุบันจริง ๆ

อย่างเช่นกำหนดว่า ยกหนอ...ความรู้สึกทั้งหมดก็จะอยู่ที่เท้าซึ่งค่อย ๆ ยกขึ้นมา จนถึงคำว่าหนอ ก็สุดพอดี ย่างหนอ...ความรู้สึกต้องอยู่ที่เท้าที่เคลื่อนออกไป พอลงคำว่าหนอ ก็สุดระยะการเคลื่อนเท้าไปข้างหน้าพอดี เหยียบหนอ...ก็เช่นกัน เท้าก็จะค่อย ๆ ลดลง จนกระทั่งสุดคำว่าหนอ ก็คือเหยียบพื้นเต็มฝ่าเท้าพอดี
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 15-11-2010 เมื่อ 13:44
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา