ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 21-04-2017, 13:25
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,173 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันเสาร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๐

ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติหรือความรู้สึกของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกของเราไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกของเราไหลตามลมหายใจออกมา ให้ใช้คำภาวนาที่มีความถนัด มีความคล่องตัวมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ จากวันนี้มีหลายท่านที่ถามคำถาม ทำให้เห็นได้อย่างหนึ่งว่า ท่านทั้งหลายเหล่านั้นกำลังเสียเวลาเปล่า เพราะตีความคำว่าศึกษาของพระพุทธเจ้าผิด

พระพุทธเจ้าให้เราศึกษา ๓ อย่าง เรียกว่า ไตรสิกขา ประกอบไปด้วย สีลสิกขา ศึกษาในศีล จิตสิกขา ศึกษาในสมาธิ ปัญญาสิกขา ศึกษาในเรื่องของปัญญา การศึกษานั้นคือลงมือทำ ไม่ใช่ไปอ่านตำราแล้วรู้ได้ อ่านตำราแล้วรู้เป็นแค่สุตมยปัญญา ก็คือสิ่งที่เกิดจากการฟังการอ่าน ยังต้องมาขบคิดเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เรียกว่าจินตมยปัญญา สำคัญที่สุดคือเราต้องทำให้เกิดผลเรียกว่า ภาวนามยปัญญา

ฉะนั้น...ในการศึกษาจึงไม่ใช่อ่านตำราไปเรื่อย ๆ อ่านตำราไปมาก ๆ แล้วจะสามารถเข้าถึงมรรคถึงผลได้ ตำราเป็นเพียงแผนที่นำทางเราเท่านั้น ถ้าหากว่าเรายึดติดในตำราในแผนที่ จะมีผลเสียมากกว่าผลดี เพราะความสงสัยจะมีมาก

อย่างเช่นว่า ถนนที่ผ่านหน้าบ้าน ในแผนที่จะเป็นเส้นขีดยาว ๆ เท่านั้น พอเราเดินทางไปก็จะสงสัยว่าทำไมไม่เป็นเส้นขีดยาว ๆ แบบในแผนที่ ทำไมต้องมีทางรถไฟฟ้า ทำไมต้องมีห้างสรรพสินค้า ทำไมต้องมีเรือนชานบ้านช่อง มัวแต่สงสัยอยู่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง ก็สูญเสียโอกาสที่เราจะได้มรรคได้ผลไปอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะกำลังใจของท่านทั้งหลายนั้น สามารถเข้าถึงมรรคถึงผลได้อยู่แล้ว
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-04-2017 เมื่อ 17:05
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 43 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา