ดูแบบคำตอบเดียว
  #11  
เก่า 25-02-2009, 19:53
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 259
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,289 ครั้ง ใน 1,280 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

วิธีการอาราธนาพระเครื่องของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ

ขั้นต้น ให้ตั้ง นะโม ๓ จบก่อน
จากนั้น จึงระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระอริยสังฆคุณ โดยมีท่านธมฺมวิตกฺโกเป็นที่สุด แล้วจึงอธิษฐานขอให้เกิดอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ดังต่อไปนี้ คือ ” พระเมตตา มหาเสน่ห์ มหานิยม อุดมลาภ มหาลาภ มหาอุด อยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดอุปัทวันตราย หายตัวได้ (นิพพาน)”


ส่วนคาถาที่ใช้อธิษฐานก็คือ
“สิทฺธะมัตถุ สิทธะมัตถุ สิทธะมัตถุ อิทัง ผะลัง
เอตัสสะมิง รัตตะนัตตะยัสสะมิง สัมปะสาทะนะ เจตะโส”


ซึ่งมีความหมายว่า
“ด้วยอานุภาพแห่งความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนี้ ขอจงเป็นผลสำเร็จ ขอจงเป็นผลสำเร็จ ขอจงเป็นผลสำเร็จ”


“อภินิหาร”ไม่เหนือ”กฏแห่งกรรม”

แต่ไม่ว่าท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ จะเป็นพระผู้ทรงจิตตานุภาพสูง และมีฤทธิ์อภิญญามากมาย จนสามารถถ่ายทอดอำนาจปราณลงในสิ่งมงคลสักการะ จนมีกฤษฏาภินิหารยิ่งใหญ่ในสถานใด แต่นั่นก็มิได้หมายความว่า ท่านธมฺมวิตกฺโกจะสั่งสอนให้ผู้คนหลงใหลงมงายอยู่กับเรื่องของพระเครื่องและอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ อยู่ดี สมดังที่ท่านได้เคยกล่าวกับคุณอธึก สวัสดิมงคล นายกยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี พร้อมกับชี้ไปยังหีบห่อวัตถุมงคลที่ท่านเพิ่งอธิษฐานจิตเสร็จมาสด ๆ ว่า “ทั้งหมดนี้ สู้ธรรมะไม่ได้..”

นอกจากนี้ ท่านธมฺมวิตกฺโกก็ยังได้กล่าวถึงเรื่องนี้กับบุคคลใกล้ชิดบางท่านไว้อีกด้วยว่า


“จริง ๆ แล้ว อาตมาไม่อยากที่จะอธิษฐานจิตพระเครื่องนัก เพราะหากใครที่ได้พระเครื่องของอาตมาไป และทำไม่ดีแล้ว ในขั้นต้นพระเครื่องอาจจะเป็นกำลังให้มีกำลังกล้าแข็งขึ้นในเบื้องต้น ซึ่งเป็นเรื่องขออำนาจจิต แต่เขาก็จะต้องประสพกับความวิบัติในบั้นปลายตามผลกรรมที่ได้ทำไว้เอง...” และแม้ที่สุด ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ก็ยังได้เคย ”กำราบ” นายแพทย์สุพจน์ ศิริรัตน์ ผู้มีความเคารพนับถือท่านอย่างแน่นแฟ้นท่านหนึ่งว่า ”เรียนมาเสียเปล่า มาหลงงมงายอะไรกับเรื่องพรรค์นี้” ที่มาโต้แย้งเรื่องของอภินิหารพระเครื่องกับท่าน ซึ่งนายแพทย์สุพจน์นั้น มีความเชื่อมั่นอย่างสุดใจ เพราะทดลองยิงพระมามาก และมีหลายองค์ที่ยิงไม่ออกอย่างสนิท ให้เป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่สายตาว่า “หมอเคยเห็นหรือเคยได้ยินข่างเรื่องโจรผู้ร้ายที่แขวนพระไว้เต็มคอ แต่แล้วก็กลับถูกตำรวจยิงตาย หรือไม่ก็ถูกจับได้ ต้องไปติดคุกบ้างไหม? ถึงแม้จะมีพระอยู่เต็มคอ ก็ช่วยอะไรไม่ได้ใช่ไหม??”


ว่าแล้ว ท่านธมฺมวิตกฺโก ก็สำทับในที่สุดว่า “อภินิหารนั้นหนีกฏแห่งกรรมไม่พ้น”

ดังที่กล่าวมาทั้งหมด จะเป็นที่แจ้งใจทั่วกันแล้วว่า แม้ท่านธมฺมวิตกฺโกจะตั้งใจอธิษฐานจิตลงในพระเครื่อง ด้วยความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่ามีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ สามารถปกป้องคุ้มครองผู้สักการะบูชาได้จริง แต่ผู้มีพระเครื่อง ก็จะต้องประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดา เจ้าของที่มาแห่งองค์พระปฏิมานั้น ๆ ด้วย จึงจะสามารถประสบกับอิทธิปาฏิหาริย์อันสูงสุดในพระพุทธศาสนานี้ อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล จนถึงที่สุดได้อย่างไม่มีสิ่งมงคลใดจักดลบันดาลให้เสมอเหมือนได้เลย


ทำดี ดีกว่าขอพร” และ “จงเลือกทำแต่กรรมที่ดี ๆ นะ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-01-2019 เมื่อ 03:09
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 17 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา