ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 30-05-2013, 09:57
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,526
ได้ให้อนุโมทนา: 151,473
ได้รับอนุโมทนา 4,406,341 ครั้ง ใน 34,116 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖

ทั้งหมดนั่งในท่าที่สบายของตนนะจ๊ะ จะนั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งพับเพียบก็ได้ ตั้งกายให้ตรง กำหนดความรู้สึกของเราทั้งหมดอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอย่างไรก็ได้ตามที่เราถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๖ เป็นวันฉัตรมงคล จากการปฏิบัติของเราใน ๒ วันที่ผ่านมา ก็ได้ตักเตือนให้ท่านทั้งหลายระมัดระวังในเรื่องของการปฏิบัติ ว่าจะต้องระวังในตรงจุดไหนบ้าง สำหรับวันนี้ก็จะมากล่าวถึงว่า การปฏิบัตินั้นที่จริงแล้วเราสมควรจะปฏิบัติอย่างไร

แต่ว่าในเรื่องของการปฏิบัตินี้ ถ้าเรามีแนวทาง มีวิธีการปฏิบัติ มีกองกรรมฐานที่เรายึดถืออยู่แล้ว ก็ให้ปฏิบัติไปตามเดิมของเรา ถ้าเรายังไม่มั่นใจว่าการปฏิบัตินั้นควรจะเริ่มต้นอย่างไร ก็ให้ทุกคนใช้อานาปานสติ คือลมหายใจเข้าออกเป็นหลัก เพราะว่าเป็นพื้นฐานใหญ่ที่จะช่วยให้กำลังใจของเราทรงตัวเป็นอัปปนาสมาธิ สามารถที่จะทรงฌานทรงสมาบัติ ซึ่งมีกำลังในการกดกิเลสได้เป็นอย่างดี

เมื่อนึกถึงลมหายใจเข้าออก ก็ควรที่จะมีคำภาวนาควบคู่กันไปด้วย คำภาวนานั้นอยู่ที่เราถนัด แต่ถ้าตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดท่าซุงท่านแนะนำไว้ ท่านให้ใช้คำว่า "พุทโธ" ท่านบอกว่าพุทโธคือพระนามขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นคำที่สั้น ภาวนาได้ง่าย หายใจเข้านึกว่าพุท หายใจออกนึกว่าโธ เป็นต้น ก็แปลว่าเราใช้อานาปานสติ คือลมหายใจเข้าออก ควบกับพุทธานุสติก็คือพระนามย่อที่ว่าพุทโธ

เมื่อเราภาวนาจนอารมณ์ใจเริ่มทรงตัว จิตมีความสงบแล้ว ก็ให้กำหนดใจแผ่เมตตาออกไปสู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ทุกภพทุกภูมิ ทุกหมู่ทุกเหล่า ให้ตั้งใจว่าเราไม่เป็นศัตรูกับใคร เรายินดีเป็นมิตรกับคนและสัตว์ทั่วทั้งโลก ให้แผ่กำลังใจที่เต็มไปด้วยความหวังดี ปรารถนาดีต่อเขาทั้งหลายเหล่านั้นไปถึงเขาทั้งหลาย ท่านที่ตกอยู่ในกองทุกข์ ก็ขอให้ล่วงพ้นจากความทุกข์ ท่านที่มีความสุข ก็ขอให้มีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป เมื่อเราทำดังนี้ ก็แปลว่าเราจะได้ตัวเมตตาพรหมวิหารเป็นกรรมฐานอีกหนึ่งกอง

เมื่อแผ่เมตตาจนอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว ก็ให้มาทบทวนศีลของเราเอง ว่าศีลทุกข้อของเรานั้นบริสุทธิ์บริบูรณ์หรือไม่ ? เราละเมิดศีลด้วยตนเองหรือไม่ ? เรายุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีลหรือไม่ ? และเรายินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีลหรือไม่ ? ถ้าเราไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเรา ไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีล ก็แปลว่าเรามีศีลที่สมบูรณ์บริบูรณ์ จัดว่าเราเป็นผู้ทรงสีลานุสติกรรมฐาน ก็จะได้กรรมฐานใหญ่เอาไว้อีกหนึ่งกอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-05-2013 เมื่อ 10:12
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 80 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา