ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 01-06-2013, 09:31
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,526
ได้ให้อนุโมทนา: 151,473
ได้รับอนุโมทนา 4,406,380 ครั้ง ใน 34,116 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ลำดับต่อไปก็ให้ระลึกถึงความตายเพื่อความไม่ประมาท ถ้าการระลึกถึงนั้นชัดเจนแจ่มใส เราก็จะเห็นว่า ความจริงแล้วชีวิตนี้มีอยู่แค่ชั่วลมหายใจเข้าออกเท่านั้น หายใจเข้าถ้าไม่หายใจออกก็ตายแล้ว หายใจออกถ้าไม่หายเข้าก็ตายแล้ว ดังนั้น..ชีวิตของเราที่เป็นของน้อยเห็นปานนี้ จึงควรที่เราจะขวนขวายสร้างความดีไว้ให้มากที่สุด เพื่อที่ถึงเวลาแล้วเราจะได้ล่วงพ้นจากกองทุกข์ ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากเร่าร้อนเช่นนี้อีก

ถ้าเราระลึกถึงความตายเช่นนี้ ทำให้เราไม่ประมาท เร่งสร้างความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ก็จัดว่าเราปฏิบัติในมรณานุสติกรรมฐานอีกกองหนึ่ง เมื่อเราระลึกถึงความตายด้วยความไม่ประมาท เราก็ต้องมาดูว่า ถ้าตายแล้วเราควรที่จะไปที่ไหน ? การเกิดมาในโลกนี้ เกิดเมื่อไรก็ทุกข์เมื่อนั้น การมีร่างกายนี้ มีเมื่อไรก็ทุกข์เมื่อนั้น ทั้งร่างกายนี้และโลกนี้เป็นเพียงธาตุสี่ คือดิน น้ำ ไฟ ลม ประกอบขึ้นมาชั่วคราวเท่านั้น ถึงเวลาก็เสื่อมสลายตายพังไป

ในเมื่อทุกอย่างมีแต่ความไม่เที่ยง มีแต่ความทุกข์ หาความแน่นอนไม่ได้ เราก็ควรที่จะส่งใจเกาะพระนิพพานไว้เป็นหลัก ตั้งใจว่าถ้าเราถึงอายุขัยตายลงไปก็ดี หรือว่าเกิดอุบัติเหตุอันตรายใด ๆ ถึงแก่ชีวิตก็ดี เราขอไปอยู่ที่พระนิพพานแห่งเดียวเท่านั้น ถ้ากำลังใจของเรายึดเกาะได้มั่นคง ก็แปลว่าเราปฏิบัติในอุปสมานุสติกรรมฐาน คือเราระลึกถึงความสงบ ความว่างจากกิเลสของพระนิพพาน จัดว่าเป็นกรรมฐานใหญ่อีกกองหนึ่ง

เมื่อมาถึงระดับนี้ ก็ให้เรากำหนดใจแน่วแน่อยู่ตรงนั้น ปักใจมั่นอยู่ตรงนั้น ดูลมหายใจเข้าออกและคำภาวนาของเราไป จนกว่ากำลังใจของเราจะทรงตัวเพียงพอต่อการปฏิบัติแล้ว หมายความว่าเมื่อถึงระดับนั้น กำลังใจของเราไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ การที่เราภาวนาก็ไม่คิดที่จะภาวนาต่อไป กำลังใจจะคลายออกมาสู่อารมณ์ปกติเอง ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ต้องหาวิปัสสนาญาณมาให้จิตครุ่นคิด เพื่อที่จะได้ไม่ฟุ้งซ่านไปด้านของความรัก โลภ โกรธ หลง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-06-2013 เมื่อ 17:31
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 66 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา