ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 26-07-2019, 22:22
พรศักดิ์'s Avatar
พรศักดิ์ พรศักดิ์ is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Feb 2009
สถานที่: กทม.
ข้อความ: 12
ได้ให้อนุโมทนา: 31,432
ได้รับอนุโมทนา 41,451 ครั้ง ใน 1,328 โพสต์
พรศักดิ์ is on a distinguished road
Default

สิริมงคล ทำไมไม่ใช้ ศ ศาลา

คนส่วนมากเมื่อเขียนคำว่า “สิริมงคล” มักจะเขียนเป็น “ศิริมงคล” คือคำว่า “ศิริ” ใช้ ศ ศาลา

“สิริ” (ส เสือ) เป็นคำถูก
“ศิริ” (ศ ศาลา) เป็นคำผิด

“สิริ” เป็นรูปคำบาลี
บาลีไม่มี ศ ศาลา

“สิริ” ในบาลีเป็น “สิรี” (-รี สระ อี) อีกรูปหนึ่ง แต่เราไม่นิยมใช้ในภาษาไทย คงใช้เฉพาะ “สิริ”

“สิริ” บาลีอ่านว่า สิ-ริ รากศัพท์มากจาก สิ (ธาตุ = เสพ, คบหา, อาศัย) + ร ปัจจัย + อิ หรือ อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สิ + ร = สิร + อิ (อี) = สิริ (สิรี) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันผู้ทำความดีไว้ได้สัมผัส” หรือ “สิ่งที่อาศัยอยู่ในบุคคลผู้ทำความดีไว้”

พจนานุกรมบาลี-อังฤษ แยกความหมายของ “สิริ” ไว้ดังนี้ –

๑ ความโอ่อ่าอลังการ, ความสวยงาม (splendour, beauty)

๒ โชค, ความรุ่งโรจน์, ความมีเดช, ความรุ่งเรือง (luck, glory, majesty, prosperity)

๓ เทพธิดาแห่งโชคลาภ (the goddess of luck)

๔ (เมื่อ + คพฺภ = สิริคพฺภ) ห้องบรรทม (the royal bed-chamber)

“สิริ” บาลี ตรงกับสันสกฤตว่า “ศฺรี” ที่เราใช้ในภาษาไทยเป็น “ศรี” (อ่านว่า สี)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ พรศักดิ์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา