ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 14-05-2009, 11:13
คนเก่า's Avatar
คนเก่า คนเก่า is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: ชมพูทวีป
ข้อความ: 189
ได้ให้อนุโมทนา: 21,727
ได้รับอนุโมทนา 55,279 ครั้ง ใน 1,402 โพสต์
คนเก่า is on a distinguished road
Default

กราบขอบพระคุณท่านพี่ และขอบคุณคุณตัวเล็กครับ

ขอเพิ่มเติมเนื้อหาว่าหลังจากได้อ่าน พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ ราชบุรีกถา ตำนานขุนไท ของหลวงปู่อ่ำแล้วก็กระจ่างชัด เกิดความเข้าใจว่า

๑. เมืองราดของพ่อขุนผาเมืองคือราชบุรี และมีความเกี่ยวเนื่องกับตำนานพระยากง-พระยาพาน และชื่อเมืองนครไชยศรี

๒. ขอมกับไทเป็นญาติสนิท ดั้งเดิมจริง ๆ ขอมเป็นครู (คล้ายวรรณะพราหมณ์) เป็นผู้รวบรวมศิลปศาสตร์ต่าง ๆ ไว้ รวมทั้งเป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์อักษรต่าง ๆ

๓. บรรพบุรุษของเรามีอักขระ ๒ ชุด อักขระชุดที่พัฒนามาเป็นอักษรไทยทุกวันนี้ เป็นชุดที่ใช้สื่อสารทั่วไป ส่วนอักษรขอมใช้บันทึกศิลปวิทยาการต่าง ๆ ครั้นบังเกิดพระพุทธศาสนาก็ใช้บันทึกพระธรรมจนบางท้องถิ่นพัฒนาและเรียกเป็นอักษรธรรม วัฒนธรรมการเคารพในธรรม ระมัดระวังแม้กับอักษรตัวหนังสือนี้ ครั้งคนเก่ายังเด็กยังพบเห็นสัมผัสการกราบไหว้หนังสือเป็นปกติ คนเก่ายังถูกสอนให้กราบขอขมาทันทีหากบังเอิญเท้าไปสัมผัสถูกหนังสือเข้า

๔. ผู้คนแถบเขมรโบราณเดิมเป็นชาวป่า ที่ขุนเทียนเกิดพบรักกับธิดาหัวหน้าเผ่า บังเกิดเป็นต้นตำนานพระทองกับนางนาค หรือพราหมณ์โกญฑัญญะกับธิดาพญานาค ต้นกำเนิดชาติเขมร แล้วจึงนำวิทยาการต่าง ๆ ไปสอนกระทั่งชาวเขมรเกิดวัฒนธรรมต่าง ๆ คล้ายวัฒนธรรมไท-ไทยมาก แม้กระทั่งอักษรก็นำอักขระขอมของไท-ไทยไปใช้

๕. ชาวอินโดนีเซียโบราณที่พบหลักฐานโบราณคดีว่าใช้วัฒนธรรมคล้ายขอมก็มีที่มาจากยุคสุวัณณภูมิ-ศรีวิชัยที่บรรพบุรุษชาวไท-ไทยแผ่อำนาจไปถึง นำวิทยาการต่าง ๆ ไปสั่งสอนชาวป่าท้องถิ่นไว้จนพัฒนาเป็นระบบสังคมที่ซับซ้อนเหมือนต้นตำรับ ยังปรากฎร่องรอยแม้ทุกวันนี้เช่นการกราบไหว้บูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ของชาวบาหลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรียกขานเทพเจ้าแห่งข้าวว่า เทวีศรี (แม่ศรี ?) ฮิ ๆ ศาสนาอื่นก็ครอบงำไม่ได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-04-2010 เมื่อ 03:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คนเก่า ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา