ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 24-03-2009, 17:06
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,912 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ข้อสุดท้ายท่านบอกว่า อะธิจิตเต จะ อาโค แปลว่าต้องรักษากำลังใจของเราให้ทรงตัวอยู่เสมอ อย่างน้อย ๆ ต้องทรงฌานสมาบัติให้ได้ จริง ๆ แล้วการปฏิบัติภาวนาให้ได้ฌานสมาบัตินั้น ไม่ใช่ของยาก เพียงแต่ว่าระยะแรกเริ่มอาจจะต้องทนกับความฟุ้งซ่านรำคาญอยู่ระยะหนึ่ง พอกำลังใจทรงตัวสามารถเข้าออกสมาธิอย่างที่ใจตนเองต้องการ ก็สามารถรักษากำลังใจตนเองให้ตั้งมั่นได้ทุกเวลาที่ปรารถนา กำลังใจที่ตั้งมั่นจะไม่หวั่นไหวไปตามรักโลภโกรธหลงที่ประดังเข้ามารอบข้าง สิ่งต่าง ๆ ที่โหมโฆษณาเข้ามาให้เราได้เห็น ได้ยิน เราก็จะไม่ไปให้ความสำคัญกับสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จะเป็นผู้ที่มีกำลังใจมั่นคง ถ้าหากว่าเป็นดังนี้ ท่านทั้งหลายก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้นไปได้

นี่คือหลักการในพระพุทธศาสนาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศเอาไว้ในวันมาฆบูชา ว่าเราทั้งหลายจะต้องเข้าถึงอุดมการณ์ คือ พระนิพพานให้ได้ อุดมการณ์ คือ เป้าหมายสูงสุด ในพระพุทธศาสนานั้นต้องหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงเข้าสู่พระนิพพาน จึงจะเรียกว่าบรรลุซึ่งอุดมการณ์ ส่วนหลักการต่าง ๆ ก็ได้แก่ การไม่ว่าร้ายใคร ไม่ทำร้ายใคร เป็นผู้มีความสำรวมในศีลของตน รู้จักประมาณในการกิน และระมัดระวังอยู่ในที่นั่ง ที่นอนอันสงัด เพื่อรักษาสภาพจิตของตนให้มั่นคง

ส่วนวิธีการปฏิบัติในพระพุทธศาสนานั้น พระองค์กล่าวเอาไว้ซึ่งอาตมภาพได้ยกขึ้นเป็นอุเทสในเบื้องต้นว่า สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง ให้เว้นจากการทำชั่วทั้งปวง ความชั่วที่เราทำนั้น คือ ทำด้วยกาย ทำด้วยวาจา ทำด้วยใจ ก็แปลว่าให้เราเว้นจากความทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจนั่นเอง

ทุจริตทางกายเรียกว่า กายทุจริต ประกอบไปด้วยการฆ่าสัตว์ การลักขโมย การล่วงละเมิดลูกเขาเมียใคร เป็นต้น
ในเรื่องของวาจานั้น ท่านเรียกว่า วจีทุจริต ได้แก่ การพูดโกหก การพูดส่อเสียด การพูดวาจาเหลวไหลไร้ประโยชน์ และการพูดคำหยาบ ท่านให้เว้นจากวจีทุจริตเหล่านี้

ส่วนทางใจเรียกว่า มโนทุจริต ได้แก่ ข้อแรกโลภอยากได้ของเขาจนเกินไป ตรงนี้ท่านให้ละเว้น ถ้าหากว่าสิ่งใด หามาได้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ได้มาโดยน้ำพักน้ำแรงของตน ท่านเรียกว่า สัมมาอาชีวะ ไม่ถือว่าเป็นความโลภ ข้อที่สอง ท่านบอกว่ามีความพยาบาท อาฆาตแค้นผู้อื่น ผูกโกรธเอาไว้นาน ๆ ตรงนี้จะทำให้กำลังใจเศร้าหมอง ถ้าตายตอนนั้นจะตกสู่อบายภูมิ พระพุทธเจ้าจึงให้เราเว้น ส่วนข้อสุดท้ายนั้นท่านตรัสไว้ว่า มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม พระพุทธเจ้าจึงให้เราเว้น ตรงกันข้ามกับทิฏฐชุกรรม เป็นสัมมาทิฏฐิ เห็นในสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนว่าดีแล้วเราจะทำตาม

ถ้าท่านทั้งหลายสามารถละเว้นในเรื่องของกายทุจริต คือ ความผิดทางกาย ๔ อย่าง วจีทุจริต ความผิดทางวาจา ๓ อย่าง และมโนทุจริต ความผิดทางใจ ๓ อย่างได้ ก็ขึ้นชื่อว่าท่านปฏิบัติตามวิธีการของพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง คือ การเว้นจากความชั่วทั้งปวง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 24-12-2009 เมื่อ 18:34
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา