|
พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) รวมธรรมะจากพระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
||||
|
||||
อารมณ์กำหนัด
ถาม : บางคนเขาบอกว่าขณะที่กำลังเสพกาม สามารถควบอานาปานสติไปด้วยครับ ?
ตอบ : เรื่องปกติ..ถ้าคล่องตัวจริง ๆ ก็ทำได้ ถาม : เวลาที่ตั้งใจจะรักษาศีลแปดทุกครั้ง มักจะโดนกิเลสตีหนักมาก ๆ โดนตัวกำหนัดเล่นงาน พอเราหลงตามไป สำเร็จแล้ว ก็ทรงฌานทันทีเลยครับ ทำไมเป็นแบบนั้นครับ ทั้ง ๆ ที่เราก็เพิ่งหลงคล้อยตามกิเลส แต่พอสมใจอยาก กลับลงฌาน นิ่งปุ๊บเลย ? ตอบ : อย่างนี้เขาจึงได้เรียกว่า โลกียะ ยังข้องอยู่ด้วยโลก แต่ให้สังเกตไว้ว่า จะได้แค่ตอนนั้น หลังจากนั้นพอเลิกแล้ว ลองเข้าสมาธิครั้งใหม่ จะเข้ายากมาก เพราะในช่วงนั้นเหมือนคุณกำลังทุ่มเทกำลัง เอาเป็นเอาตายกับใครสักคน กำลังทั้งหมดจะรวมตัวอยู่ เมื่อทำอะไรต่อเนื่องไปก็จะได้ง่าย ถาม : บางทีก็มาคิดว่า ทำไมทำให้เป็นฌานได้ ? ตอบ : จะทำให้หลงด้วย หลงคิดว่าทำอย่างนี้แล้วเข้าท่า ในส่วนของความดีก็มีส่วนของความดี ในส่วนของความไม่ดีก็มีส่วนของความไม่ดี จะปนกันไม่ได้ เราต้องแยกแยะให้ออก ถ้าเราสามารถทรงฌานได้ ก็เป็นอานิสงส์ในส่วนของสมาธิ แต่ในขณะเดียวกัน เวลาที่เราเกลือกกลั้วกับกามฉันทะ ก็เป็นนิวรณ์เต็ม ๆ คุณเอาไปปนกันไม่ได้ คนละประเด็นกัน เพียงแต่ว่ามาไล่ ๆ กัน ถาม : อ้าว..แล้วถ้าเกิดคนทำติดใจ เขาก็เลือกทำอย่างนี้เพื่อทรงฌานตลอด ? ตอบ : ก็บอกแล้ว ถึงเวลาอาจจะหลงติดด้วย ด้วยการเข้าใจผิด คิดว่าทำอย่างนั้นแล้วจะดี คราวนี้ก็เป็นมิจฉาสมาธิเต็ม ๆ ตายเมื่อไรก็เป็นมหิทธิกาเปรตหรือกาลกัญจิกอสุรกาย ถาม : อ้าว..แล้วการทรงสมาธิ ไม่ส่งให้เขาเป็นพรหมหรือครับ ? ตอบ : นั่นเป็นมิจฉาสมาธิ ถาม : นึกไปนึกมา บางทีตอนทำ ๆ อยู่ เราก็ทรงฌานอยู่ ? ตอบ : ไม่ได้บอกว่าทรงฌานไม่ได้นี่ ถาม : พยายามต้านเต็มที่ครับ ควบทุกลมฌานเลย แต่ก็ยังทำต่ออยู่ ? ตอบ : แสดงว่ารู้ตัว แต่อยาก.. ถาม : กะจะให้มันหยุด แต่ก็ไม่พาเรากลับ สุดท้ายพาเราตกเหว ก็เลยมาสงสัยไปว่า เอ..ถ้าอย่างนี้เราอุปาทานไปเองหรือเปล่าว่าเราเข้าฌาน ? ตอบ : ถ้ากำลังมีมากพอ จะต้องหยุดได้ ถาม : อีกรูปแบบหนึ่งของมาร ? ตอบ : อ๋อ...ไม่ใช่อีกรูปแบบหนึ่ง แต่เป็นรูปแบบปกติเลย เพราะเขามาในข้อสอบ ๔ แนว รัก โลภ โกรธ หลง เพียงแต่ว่าแตกแขนงออกไปเป็นหมื่น เป็นแสน เป็นล้าน ก็แล้วแต่เขา ถาม : อารมณ์อย่างนี้ ถ้าทรงฌานจนชิน เผลอหลุดไปนี่ คนละเรื่องกันเลย ? ตอบ : ไม่ต้องเสียเวลามานึกหรอก ตอนนั้นฟุ้งจนเอาไม่อยู่..!
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-04-2014 เมื่อ 19:06 |
สมาชิก 116 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
ถาม : แล้วอารมณ์กำหนัดที่ปะทุได้ เป็นเพราะอะไรครับ ?
ตอบ : ใจยังปรุงอยู่ ถาม : ก็แสดงว่าอุปาทานต้องแล่นก่อน ตอบ : เป็นเรื่องปกติ ถ้าใจเลิกปรุง ก็เฉาสนิท ถาม : ถ้าอย่างนั้นจะระงับกำหนัด ก็ต้องไประงับอุปาทานให้ได้ก่อน ? ตอบ : เกินขั้น ถ้าถึงขั้นระงับอุปาทานได้ ไปเกินขั้นเยอะ ถาม : ตามปกติคนที่ทรงฌานสมาบัติ อุปาทานจะไม่ค่อยแล่น ใช่ไหมครับ ? ตอบ : เป็นการปรุงอุปาทานไปอีกด้านหนึ่ง แต่ปรุงไปในทางดี ถาม : ก็เหมือนลากไปอีกทาง ? ตอบ : คืออุปาทานนั้น ปรุงไปในเรื่องของสมาธิ..สมาบัติแทน ถ้าเรารู้ไม่เท่าทัน ก็จะไปติดตรงนั้นแทน ถาม : ก็กลายเป็นรูปฌานราคะไป ตอบ : อย่าลืม...แม้แต่ฌานสมาบัติก็เป็นการปรุงแต่งของใจ เพียงแต่การปรุงแต่งนี้สร้างคุณให้แก่เรา เพื่อใช้ในการตัดกิเลส แต่ส่วนใหญ่แล้วพวกเรากลับใช้ผิด ก็คือ พอปรุงแต่งจนกระทั่งสมาธิทรงตัว เราคลายออกมาแล้ว ไม่ได้พิจารณาวิปัสสนาญาณ พอกำลังคลายออกมาแล้ว เราไปฟุ้งซ่านในรัก โลภ โกรธ หลง ก็เลยฟุ้งซ่านอย่างเป็นหลักเป็นฐาน เป็นการเป็นงานกว่าเดิมอีก เพราะได้กำลังของสมาธิไป จนกระทั่งบางคนเขาบอกว่า อยากรู้ว่าตนเองมีกิเลสมากเท่าไรให้ไปฝึกสมาธิ พวกทำ ๆ ทิ้ง ๆ มักจะเจออย่างนี้แหละ พอเริ่มฝึกสมาธิ กิเลสจะเริ่มโผล่มากวนเรา ก็เลยจะรู้ว่ากิเลสหน้าตาเป็นอย่างไร แต่ถ้าหากว่าเราทำอย่างต่อเนื่อง กิเลสก็เกิดได้ยาก ความผ่องใสของจิตจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จิตใจผ่องใสมากเท่าไร ตัวปัญญาก็เกิดมากขึ้นเท่านั้น ก็จะเห็นช่องทาง เห็นวิธีการที่จะจัดการกับกิเลสของตัวเอง ท้ายสุด คือรู้ทุกอย่าง แต่ไปไม่ยุ่งด้วย หมดเรื่องกันไปเลย ไม่ได้ไปฆ่ากิเลสให้ตาย ไม่ได้ไปขายให้ขาดหรอก กิเลสเป็นสมบัติของร่างกาย ตราบใดที่มีร่างกาย ก็ยังมีรัก โลภ โกรธ หลงเป็นธรรมดา เพียงแต่ว่าเขาเลิกยุ่งกับกิเลสเท่านั้นเอง กิเลสบอกว่าสวย..เราก็ไม่สน บอกว่าไม่สวย..เราก็ไม่สน รับข้อมูลไว้เฉย ๆ ในเมื่อได้ข้อมูลมา เราไม่ save ถึงเวลาปิดเครื่องก็ทิ้งไปเปล่า ๆ my document ก็เลยโล่ง ถาม : ไม่ต้องไป delete ? ตอบ : ไม่ต้องเสียเวลาไป delete เพราะเราไม่ได้ save ถาม : แล้วตอนเวลาที่เราบังคับจิตทำกรรมฐาน ? ตอบ : นั่นเป็นการปรุงเหมือนกัน เราใช้สัญญาสร้างปัญญาให้เกิด ตอนแรกก็ต้องจำ แล้วเอามาทวนเรื่อย ๆ พอเกิดความแตกฉานแล้ว ใจยอมรับขึ้นมาก็จะเป็นปัญญา ถ้าตราบใดยังไม่เข้าใจ ยังไม่ยอมรับ ก็ยังไม่ใช่ปัญญาที่แท้จริง จะเป็นได้แค่สุตมยปัญญาหรือจินตมยปัญญาเท่านั้น พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ ถาม-ตอบ ช่วงเย็น ณ บ้านอนุสาวรีย์ วันเสาร์ที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๓
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-04-2014 เมื่อ 19:08 |
สมาชิก 120 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
Tags |
กาม, การปรุงแต่ง, กำหนัด, อารมณ์ |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|