#1
|
|||
|
|||
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๐
คำนำ ปกิณกธรรมหรือธรรมปกิณกะ แปลว่าธรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งทุก ๆ ท่านที่ปฏิบัติธรรมก็สามารถแสดงธรรมปกิณกะของตนออกมาได้ทุกท่าน แต่หนังสือเล่มนี้ผมเน้นรวบรวมเอาเฉพาะธรรมปกิณกะของพระพุทธองค์ ที่ทรงตรัสสอนผมและเพื่อนผู้ร่วมปฏิบัติธรรมของผมไว้ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ มาพิมพ์แจกให้กับผู้ศรัทธาได้ศึกษาแล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดผลต่อไป โดยจิตของท่านชอบหรือพอใจตอนใด ก็ให้เอาตอนนั้นไปปฏิบัติให้เกิดผล ก็จะสามารถนำจิตของท่านให้พ้นทุกข์ได้ ไม่จำเป็นจะต้องปฏิบัติให้ได้หมดทุก ๆ ตอนหรือทุก ๆ ข้อ เนื่องจากพระพุทธองค์มีพระพุทธญาณหรือสัพพัญญุตญาณ แต่พระองค์เดียวในโลกมนุษย์นี้ รวมทั้งยมโลก (อบายภูมิ ๔) เทวโลกและพรหมโลกด้วย สิ่งใดไม่จริงพระองค์จะไม่ตรัส ตรัสอย่างใดก็สามารถทำได้ตามที่ตรัส คำตรัสหรือคำสั่งสอนของพระองค์จึงเป็นอริยสัจทั้งสิ้น ผมเป็นเพียงผู้รวบรวมเอาแต่ปกิณกธรรมบางส่วน ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ มารวบรวมพิมพ์เป็นเล่ม เพราะยังมีเล่มที่ ๑๑ และ ๑๒ ต่อ ๆ ไป หมายความว่าเป็นธรรมปกิณกะ และพระธรรมที่ทรงตรัสสอนไว้ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ และ ๒๕๔๒ นั่นเอง ปกิณกธรรมของพระพุทธองค์ ล้วนเป็นอุบายในการพิจารณาเพื่อละ ปล่อยวางขันธ์ ๕ หรือร่างกาย ว่ามันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา ด้วยอุบายต่าง ๆ มากมายหลายวิธี เพราะทรงทราบด้วยพุทธญาณของพระองค์ว่า บุคคลในโลกนี้ล้วนมีจริต – นิสัย และกรรมที่กระทำกันมาในอดีตแตกต่างกันมาก พระองค์จึงต้องสอนให้ถูกตรงตามจริต – นิสัย และกรรมของแต่ละบุคคล เมื่อบุคคลเหล่านั้นปฏิบัติตาม ก็เกิดมรรคผลตามลำดับจนถึงพระนิพพานได้ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-07-2013 เมื่อ 16:59 |
สมาชิก 130 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
|||
|
|||
สมเด็จองค์ปัจจุบันทรงตรัสว่า ในปัจจุบันบุคคลเหล่านี้ไม่มีแล้ว (ทรงหมายถึง บุคคลที่ฟังคำสอนของพระองค์แล้ว ก็มีดวงตาเห็นธรรมในขณะนั้น ในวันนั้น หรือต่อหน้าพระองค์) มีแต่เฉพาะในสมัยที่ตถาคตยังทรงพระชนม์ชีพอยู่เท่านั้น หรือหมายความว่า บุคคลกลุ่มนั้นมีบารมีเต็มหรือกำลังใจเต็มแล้ว (อุคฆติตัญญู) ส่วนบุคคลในสมัยปัจจุบันนี้ (ทรงหมายถึง กลุ่มพวกเราที่เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อฤๅษี ที่ตั้งใจปฏิบัติกันอย่างจริงจัง) ยังมีบารมีไม่เต็ม หรือใกล้เต็มแล้ว (วิปจิตัญญู) จึงต้องอาศัยธรรมปกิณกะช่วย ซึ่งทรงเมตตาตรัสสอนไว้มากมายหลายวิธี ทุกวิธีหากนำมาปฏิบัติจริงจัง ย่อมมีผลทำให้จิตพ้นทุกข์ได้ทั้งสิ้น ขอยกตัวอย่างเช่น
ก) จงอย่าคิดว่าตนเองดี ถ้ายังตัดสังโยชน์ยังไม่หมด ดีเมื่อไรก็ตายวันนั้น ยกเว้นพระอรหันต์ท่านยังมีชีวิตอยู่ได้ ข) หากเรายังมีชีวิตอยู่ อย่าหลงคิดว่าตนเองดี เพราะหากดีวันไหนก็ต้องตายวันนั้น (ทรงใช้สังโยชน์ ๑๐ เป็นหลักในการตัดสินว่าคำว่า.. ดีหรือยังไม่ดี ปกิณกธรรมที่พระองค์ทรงตรัสสอนจึงเหมาะกับจริต – นิสัย และกรรมของแต่ละบุคคลที่ทำกันมาไม่เสมอกัน เรื่องนี้จึงละเอียดมาก เป็นอุบายตัดกรรมให้กับบุคคลเฉพาะกลุ่มก็มี เฉพาะบุคคลก็มี สุดแต่พระองค์จะโปรดเมตตาใคร ผมก็ขออธิบายไว้เพียงแค่นั้น แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-07-2013 เมื่อ 17:19 |
สมาชิก 127 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
|||
|
|||
ผมขอสรุปว่า หนังสือธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้นทั้ง ๙ เล่มนั้น คือ พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์เป็นส่วนใหญ่ ของหลวงปู่ หลวงพ่อทั้งหลาย ซึ่งล้วนเป็นพระสาวกของพระองค์ ได้เมตตามาสอนเพื่อนผมและผมโดยตรง ตั้งแต่เริ่มต้นปฏิบัติธรรมเบื้องต้น (ขณะที่หลวงพ่อฤๅษียังมีชีวิตอยู่) ธรรมท่ามกลาง และธรรมเบื้องสูงมาตามลำดับ มีรายละเอียดอยู่ในนั้นทั้งสิ้น เล่มต่อ ๆ ไปจึงเป็นปกิณกธรรมเกือบทั้งสิ้น
ในที่สุดนี้ ผมขออาราธนาบารมีคุณของพระศรีรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ขอจงดลจิตท่านผู้อ่านธรรมปกิณกะที่ทรงตรัสไว้บางส่วนในเล่มนี้แล้วเข้าใจ นำไปปฏิบัติต่อ จงเกิดมรรคผลนิพพานด้วยกันทุกท่านเทอญ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-07-2013 เมื่อ 03:40 |
สมาชิก 129 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
|||
|
|||
พรปีใหม่ของสมเด็จองค์ปฐม มีความสำคัญดังนี้
พรปีใหม่ของสมเด็จองค์ปฐม มีความสำคัญดังนี้ ๑. ปีใหม่แล้ว ให้ดูว่ามีอะไรดีขึ้นกว่าเก่าบ้างไหมในการปฏิบัติธรรม จักเห็นได้ว่าขันธ์ ๕ ทุกอย่างเสื่อมหมด ไม่มีอะไรจักดีขึ้นมาได้เลย นับวันมีแต่แก่และเสื่อมลงทุกวัน จิตเราเคยยอมรับนับถือในความแก่ ความเสื่อมลงไปทุก ๆ ขณะนั้นบ้างหรือเปล่า ? ๒.เพราะเหตุใด ? ให้ถามจิต ให้จิตตอบ ก็จักเห็นอารมณ์จิตในบางขณะ ยังมีความดิ้นรน ฝืนสังขาร – ฝืนโลก – ฝืนธรรม งานบางอย่างทำไม่ไหวก็ยังอยากทำ เป็นต้น (กายแก่ลง แต่จิตมันไม่แก่) นั่นแหละเป็นวิภวตัณหา อันมีความต้องการให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงอย่างเก่า เพราะไม่เห็นว่าธรรมดาของร่างกาย เกิดขึ้นก็เสื่อมไปทุก ๆ ขณะ ไม่มีคำว่าเจริญขึ้นมาได้เลย ชีวิตจากปฐมวัยก้าวเข้าสู่มัชฌิมวัยแล้ว จักให้ถอยไปอยู่ในปฐมวัยอีกไม่ได้ และจากมัชฌิมวัยก็ก้าวเข้าสู่ปัจฉิมวัย ก็จักก้าวเรื่อยไปจนกระทั่งขันธ์ ๕ ถึงกาละ คือตายไปในที่สุด ไม่มีใครที่จักคงร่างกายนี้ให้อยู่ได้ตลอดกาล ตลอดสมัย นี่เป็นอริยสัจ ๓. การปฏิบัติจักต้องไม่ฝืนความจริงของขันธ์ ๕ การอยากให้ขันธ์ ๕ แข็งแรง มีสภาพทำงานได้คล่องเหมือนหนุ่ม ๆ สาว ๆ จุดนี้แหละ จักทำให้ต้องกลับมามีร่างกายใหม่ กล่าวคือแสวงหาภพหาชาติเกิดต่อไป ต้องระวังจุดนี้เอาไว้ให้ดี คอยหมั่นตรวจจิตเอาไว้ให้ดี ๆ สอนกันมามากแล้ว เร่งปฏิบัติให้ได้ด้วย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-07-2013 เมื่อ 17:21 |
สมาชิก 124 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
|||
|
|||
๔. การตรัสสอนพระธรรม จบลงในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นการจบตามสมมุติทางโลก แต่ไม่จบตามสมมุติทางธรรม หากยังตัดสังโยชน์ ๑๐ ไม่หมด หรือตัดอุปาทานขันธ์ ๕ ยังไม่หมด หมายความว่าอารมณ์ยึดขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา เป็นของเรายังอยู่ คิดว่าเป็นตัวกูของกู หรือยังไม่หมดสักกายทิฏฐิ ไม่หมดมานะกิเลส ดังนั้น ผู้ฉลาดมีปัญญา เขารู้ว่าขันธ์ ๕ นี้ แม้ไม่ยึด ตัดใดตัวหนึ่งใน ๕ ขันธ์นี้ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็สามารถจบกิจในพุทธศาสนาได้
๕. ขันธมารจักเล่นงานหนักในเวลานี้ ด้วยเหตุมุ่งจักทำเพื่อให้พ้นไปเสียจากขันธ์ ๕ กล่าวคือปรารถนาพระนิพพานเป็นที่ไป จึงเป็นเหตุให้ขันธมารและกิเลสมาร มุ่งเข้ามาเล่นงานผู้ปรารถนาจักไปพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้อย่างหนัก เพราะฉะนั้น ขอให้เตรียมตัวเตรียมใจยอมรับสภาพกฎของกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่เข้ามาเล่นงานอย่างมีสติ – สัมปชัญญะ อย่าดื้อดึงกระทำตัวเหมือนคนพายเรือทวนน้ำ เพราะนั่นจักทำให้เหนื่อย เรือจักล่มอับปางเสียก่อนเปล่า ๆ ในเมื่อกฎของกรรมเข้ามาแรง ก็ไม่ต่างกับเกลียวคลื่นที่ถาโถมเข้ามา ทางที่พึงประคองตัวให้ไปตามน้ำคือ เสมือนหนึ่งกัปตันคอยประคองเรือไปตามเกลียวคลื่น ไม่ให้เรือล่ม ไม่ให้อับปางเป็นพอ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-07-2013 เมื่อ 11:29 |
สมาชิก 122 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#6
|
|||
|
|||
๖. อย่าลืมทุกอย่างไม่เที่ยง มีเกิดขึ้นมาได้ มันก็ดับได้ สภาวะกฎของกรรมก็เช่นกัน ไม่ช้าไม่นานก็ผ่านวาระไป ความเกิดขึ้นมีแล้ว ย่อมมีความดับเป็นธรรมดา ในโลกนี้ทุกสิ่งทุกอย่างมันหนีกฎไตรลักษณญาณไปไม่พ้นหรอก พิจารณาจุดนี้ให้ลงตัว แล้วจิตจักมีอารมณ์เยือกเย็นมาก เพราะจิตจักยอมรับกฎของธรรมดาและมีความสุขมาก
๗. เห็นใครตาย ให้เห็นเป็นธรรมดาของขันธ์ ๕ คำว่าเกิดมีที่ไหน คำว่าตายย่อมมีที่นั่น ยกเว้นแต่พระนิพพานเท่านั้น... ไม่มีที่เกิดที่ตาย ให้หมั่นพิจารณาขันธ์ ๕ เข้าไว้ จักได้ละได้เมื่อถึงที่สุดแห่งชีวิต เห็นใครที่ไหนตาย ให้น้อมเข้ามาหาตัวเองเอาไว้เสมอว่า ในไม่ช้าไม่นาน ขันธ์ ๕ อายตนะของเราก็เป็นอย่างนี้ จักได้ไม่มีความประมาทในชีวิต แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-07-2013 เมื่อ 13:33 |
สมาชิก 114 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#7
|
|||
|
|||
๘. ชีวิตของร่างกายก็ดี ทรัพย์สินก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยงทั้งสิ้น การมีชีวิตหรือการมีทรัพย์สิน ก็เพียงสักแต่ว่ามีขึ้นแล้วก็ก้าวเข้าไปสู่ความเสื่อมทุก ๆ ขณะ แล้วในที่สุดร่างกายก็ตาย ทรัพย์สินทั้งหลายก็สลายไปหมด ให้กำหนดจิตดู จักมายึดติดกับร่างกายหรือติดกับทรัพย์สิน อันมีแต่ความเสื่อมทรุดโทรมไป เพื่อประโยชน์อันใดกัน พิจารณาถาม.. ให้จิตตอบ แล้วจักเกิดปัญญา ปล่อยวางร่างกายหรือทรัพย์สินภายนอกลงได้
๙. ร่างกายที่ยังคงอยู่ก็เพราะอาศัยสันตติ คือการสืบเนื่องไม่ขาดสายของธาตุทั้ง ๔ ซึ่งธาตุทั้งหลายเหล่านี้ก็ไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา ให้กำหนดรู้สภาพของร่างกายตามความเป็นจริงอยู่เสมอ จิตจักได้ปลดจากร่างกายได้ในที่สุด ให้มองร่างกายตนเองเป็นสำคัญ แล้วมองร่างกายของคนอื่นเปรียบเทียบกัน จักเห็นความสกปรก ความไม่เที่ยง ความเสื่อมสลายตัวไปอย่างเห็นได้ชัด จุดนี้พยายามทรงอารมณ์พิจารณาเข้าไว้.. อย่าทิ้งอารมณ์ จึงจักเข้าสู่ความเป็นพระอริยเจ้าเบื้องสูงได้ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2013 เมื่อ 02:02 |
สมาชิก 104 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#8
|
|||
|
|||
๑๐. เห็นกฎของกรรมแล้วให้เคารพในกฎของกรรมด้วย จิตจักได้วางความร้อนใจลงได้ เห็นทุกอย่างไม่น่าอยู่ ไม่น่าอาศัย โลกนี้ทั้งโลกเต็มไปด้วยกระแสของกฎของกรรม อันซึ่งเป็นมาแต่ไฟโมหะ โทสะ ราคะทั้งสิ้น มองให้ชัด ๆ พิจารณาน้อมจิตให้เห็นลึกลงไป หาเหตุหาผล ถึงเหตุถึงผลอันทำให้จิตของตนต้องมาจุติ ถ้าหากมองแล้วพบเหตุพบผลก็จักแก้ไขจิต ไม่ให้ต้องไปจุติต่อไปในภายหน้า และจักเห็นหนทางตัดตรงไปพระนิพพานได้
๑๑. ให้มองจิตของตนเอง จนรู้อารมณ์ของจิตของตนในแต่ละขณะจิต จักเห็นความหวั่นไหวแปรปรวนไปตามอายตนะต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา จุดนั้น.. จักทำให้สามารถพิฆาตกิเลสของตนเองลงได้ จุดนี้สำคัญมาก และต้องใช้สติสัมปชัญญะกำหนดรู้เป็นอย่างยิ่ง และจำได้ว่าจักต้องใจเย็นด้วยจึงจักได้ผล แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-07-2013 เมื่อ 14:13 |
สมาชิก 98 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#9
|
|||
|
|||
๑๒. อย่าสนใจว่าใครตายแล้วจักไปไหน ให้สนใจถามจิตตนเองว่า ถ้าตายตอนนี้จิตจักไปไหน เพราะชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง ไม่มีใครหนีพ้น ให้เตรียมจิตพร้อมตายตลอดเวลา อย่าไปยุ่งกับเรื่องของชาวบ้าน ธรรมที่ผ่านไปแล้วเป็นอดีต ธรรมที่ยังเข้ามาไม่ถึงคืออนาคต ธรรมที่แท้จริงอันประสบอยู่ก็คือธรรมปัจจุบัน รักษาจิตให้เป็นสุขอยู่ในธรรมปัจจุบันนี้แหละ จึงจักเป็นของจริงและประเสริฐที่สุด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-07-2013 เมื่อ 17:29 |
สมาชิก 101 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#10
|
|||
|
|||
๑๓. ขอให้อดทนต่ออุปสรรคทั้งปวง นักปฏิบัติเพื่อพระนิพพานจักต้องรู้ว่า กฎของกรรมจักต้องทยอยเข้ามาเล่นงานอย่างหนัก ในแต่ละนาทีของชีวิต.. การฝึกจิตให้เข้มแข็งจักต้องพึงมีในนักปฏิบัติเพื่อพระนิพพานทุกคน ในเมื่อเราอุทิศชีวิตและร่างกายเพื่อพระพุทธศาสนาแล้ว ให้มุ่งทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานอย่างจริงจัง อย่าหวังผลตอบแทนด้วยประการใด ๆ ทั้งปวง
ให้สอบจิตว่ายังมีจุดไหนหวังผลตอบแทนบ้าง ถ้ามีก็จงประมาณตนเองว่าเลวเกินไปเสียแล้ว เพราะพระนิพพานรับแต่คนหมดโกรธ หมดโลภ หมดหลงเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นพระนิพพานไม่รับ ยิ่งสุขภาพไม่ดี ยิ่งจักต้องเพิ่มความไม่ประมาทให้มากขึ้น หากวางร่างกายตนเองได้เสียอย่างเดียว ก็วางทุกสิ่งทุกอย่างได้หมด มรรคผลนิพพานอยู่ที่ตัดร่างกายได้จุดเดียว ก็ตัดได้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-07-2013 เมื่อ 14:30 |
สมาชิก 98 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#11
|
|||
|
|||
๑๔. อารมณ์หมดกำลังใจตัวเดียว ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเลวร้ายหมด ปัญหาที่เข้ามาถึงชีวิตของแต่ละคน ล้วนมาแต่กฎของกรรมซึ่งตนทำไว้เองในอดีตชาติทั้งสิ้น การรับกรรมอยู่ในเวลานี้ เป็นเพียงเศษผลของกรรมเท่านั้น อย่าพึงท้อแท้ใจ ให้พิจารณากฎของกรรม และชดใช้ไปด้วยขันติคืออดทนเป็นหลักใหญ่ แล้วกรรมเหล่านี้ก็จักผ่านไปได้ อย่าลืม ทุกสิ่งในโลกนี้ไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปอยู่เสมอทุก ๆ ขณะจิต เกิดแล้วตั้งอยู่ก็ดับไป กฎของกรรมทั้งหลายก็เช่นกัน บางครั้งชีวิตร่างกายของเรานี้แหละก็จักดับจากมันไป รักษาอารมณ์ของจิตไว้ให้ดี อย่าไปหวั่นไหวกับอาการเกิดดับของกรรมนั้น
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-07-2013 เมื่อ 16:18 |
สมาชิก 97 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#12
|
|||
|
|||
๑๕. ร่างกายไม่เที่ยง พยายามรักษากำลังใจให้เที่ยงด้วย เวลานี้ร่างกายมันป่วย ก็ให้คิดว่าใกล้ความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก จงอย่าประมาทในชีวิต แล้วจงหมั่นพิจารณาปลดภาระทั้งหมด อย่าให้จิตติดข้องห่วงใยในกรณีใด ๆ ทั้งปวง โดยอุบายอันคิดว่า ขณะนี้ร่างกายมันจักตายแล้ว ความสะดวกปลอดโปร่งไร้กังวลของจิตมีความสำคัญมาก ให้กำหนดจุดหมายของจิตเข้าไว้ คือต้องการพระนิพพานเท่านั้น คือแน่วแน่ทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียวเข้าไว้เสมอ (ดั่งกรรมฐานโดยย่อว่า รู้ลม – รู้ตาย – รู้นิพพานนั่นเอง)
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 31-07-2013 เมื่อ 16:59 |
สมาชิก 94 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#13
|
|||
|
|||
๑๖. เรื่องสุขภาพของคุณหมอนั้น เป็นเครื่องเตือนให้เห็นภัยมรณะเช่นกัน ระมัดระวังสุขภาพเอาไว้เสียบ้างก็เป็นดี อย่าฝืนร่างกายให้มากนัก พึงนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าเอาการนอนน้อยเป็นบรรทัดฐานว่าเป็นของดีในการปฏิบัติ จุดนั้นยังไม่ใช่ของดี จักทำให้เบียดเบียนร่างกายของตนให้เกิดทุกขเวทนายิ่งขึ้น การนอนทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี ก็คือพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน และนอนอย่างนักปฏิบัติ คือหลับในฌาน หรือหลับในวิปัสสนาญาณ มิใช่นอนทิ้งนอนขว้างจักตายเสียเปล่า พิจารณาความพอดีของการยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย ไม่ว่า กิน อยู่ หลับนอน นุ่งห่ม ยารักษาโรค ทุกอย่างลงตัวพอดี ก็ได้ชื่อว่าไม่เบียดเบียนตนเอง
๑๗. อย่าทิ้งการพิจารณา ทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำจิตให้ยอมรับว่า รูปและนามตกอยู่ในสภาวะไตรลักษณญาณเหมือนกันหมด ให้จิตมีสติ – สัมปชัญญะ กำหนดรู้เท่าทันแล้วจิตจักมีอารมณ์เบา คลายจากการเกาะยึดเหนี่ยวอะไรทั้งหมด คือ มุ่งตัดรูป – นาม หรือขันธ์ ๕ ของตนเองเป็นสำคัญ ทั้งนี้จักต้องขึ้นอยู่กับกำลังใจ หรือบารมี ๑๐ เป็นสำคัญ ให้ตรวจสอบกำลังใจของตนเองเอาไว้ให้ดี แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-08-2013 เมื่อ 16:17 |
สมาชิก 91 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#14
|
|||
|
|||
๑๘. ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา จุดนี้จักต้องพิจารณาให้หนัก และเอาจริงจึงจักวางภาระขันธ์ ๕ ไปได้ ถ้ายังไม่พิจารณาธาตุ ๔ อาการ ๓๒ ให้เห็นจริงจัง จิตก็จักเผลอไปเกาะขันธ์ ๕ ทันที ให้เห็นสภาวะของจิต ใกล้สิ่งไหนเกาะสิ่งนั้น สภาพของจิตยึดทุกสิ่งทุกอย่างที่ใกล้ตัวของมัน รับสัมผัสสิ่งดีก็ยึดดี รับสัมผัสสิ่งเลวก็ยึดเลว สภาพของจิตมีอารมณ์ชอบยึด
ให้รู้สภาวะของจิต ซึ่งยึดทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามากระทบจิต เมื่อเราปรารถนาจักหลุดพ้นเพื่อให้ถึงซึ่งพระนิพพาน ก็จักปล่อยวางอารมณ์ของจิตที่ยึดมั่นถือมั่นมาแต่เดิมนั้นเสีย จุดนี้ให้ใช้ปัญญาพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ และในที่สุดก็อนัตตาไปหมด พยายามชำระจิตอย่าให้เกาะทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ทำได้เมื่อไหร่จิตก็พ้นเมื่อนั้น แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-08-2013 เมื่อ 14:46 |
สมาชิก 90 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#15
|
|||
|
|||
๑๙. อย่าฝืนร่างกาย ให้อนุโลมตามเหตุตามผลของความเป็นจริง ฝืนเท่าไหร่ทุกข์มากเท่านั้น ปล่อยวางร่างกายให้อยู่ตามปกติสุข แล้วใช้จิตพิจารณาร่างกายนี้ด้วยปัญญาว่า มันไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ในมัน ไม่ช้าไม่นานเรากับมันก็ต้องจากกันแล้ว ตั้งใจไว้เลยว่าเราจักคบมันเป็นชาติสุดท้าย ตายจากกันเมื่อไหร่ก็ขอไปพระนิพพานจุดเดียวเท่านั้น
ทุกข์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด จักต้องพยายามมองให้เห็นและปลดทุกข์เสียให้ได้ อันฆราวาสยังมีขันธ์ ๕ จักให้สิ้นทุกข์เลยทีเดียวไม่ได้ ไม่เหมือนพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งจบกิจแล้วยังมีชีวิตอยู่ได้ พวกเจ้าเป็นฆราวาสก็ทนไปก่อน รอใกล้จักนิพพานนั่นแหละ จักรู้จักคำว่าสิ้นทุกข์ แต่อย่าทิ้งการปฏิบัติธรรม จักต้องหมั่นทำกำลังใจให้เต็มเข้าไว้เสมอ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-08-2013 เมื่อ 10:33 |
สมาชิก 86 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#16
|
|||
|
|||
๒๐. ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ในที่สุดร่างกายก็คืนกลับสู่สภาพเดิมของ ดิน - น้ำ - ลม - ไฟ สลายตัวไป พยายามปลดร่างกาย หรือพิจารณาร่างกายของตนให้มาก ถ้าหากต้องการให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของการมีร่างกาย จงอย่าทิ้งการพิจารณาอาการ ๓๒ ธาตุ ๔ ของร่างกาย รักษากำลังใจเข้าไว้ มรณานุสติอย่าทิ้งไปจากใจ
คนเราทุกคนตายแน่ สำหรับร่างกายกำหนดรู้เอาไว้ อย่าให้หลงมัวเมาอยู่กับศพเดินได้เหล่านี้ เห็นธรรมภายใน เห็นธรรมภายนอก มีความเสมอเท่ากันหมด สิ่งใดมีเกิดขึ้น.. สิ่งนั้นย่อมมีตายเป็นธรรมดา แล้วพิจารณาความโกรธ – โลภ – หลง จักมีประโยชน์กับเราได้อย่างไร ? ในเมื่อร่างกายอันเป็นที่รักยิ่งก็ยังเอาไปไม่ได้ การปรารถนาซึ่งความโกรธ – โลภ – หลง ไม่ได้ช่วยให้เราดีขึ้น อารมณ์เหล่านี้รังแต่จักนำเราไปสู่อบายภูมิ มีสัตว์นรกเป็นต้น ไม่ได้นำเราไปสู่สุคติภูมิเลย จุดนี้จงอย่าประมาทในอารมณ์ของจิต แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-08-2013 เมื่อ 16:16 |
สมาชิก 87 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#17
|
|||
|
|||
ให้หมั่นชำระล้างจิตเอาไว้ให้ผ่องใสเสมอ และอย่าน้อยใจในโชคชะตาของชีวิตว่าทุกข์หนัก มีทุกข์มากกว่าบุคคลอื่น ซึ่งเหล่านี้ไม่พึงโทษโคร เพราะเป็นผลจากกฎของกรรมอันเราได้ทำไว้เองทั้งสิ้น พิจารณาให้จิตยอมรับในกฎของกรรมเข้าไว้ จิตจักได้ไม่ดิ้นรน มีความสงบสุขและไม่พึงปรารถนาความเกิดอีกต่อไป เพราะหากเผลอพลาดไปเกิดอีก ก็จักพบทุกข์เยี่ยงนี้อีก กรรมอาจจักหนักกว่าเก่า เพราะทุกคนที่หนีกรรมไปพระนิพพานยังไม่มีใครหมดกรรมสักคนหนึ่ง กรรมเก่าในอดีตชาติทำไว้หนักหนาทั้งสิ้น ด้วยความที่ไม่เข้าถึงศีล ไม่เข้าถึงธรรม จึงเป็นเหตุให้สร้างกรรม สร้างบาปอันเป็นอกุศลไว้มาก ให้กำหนดรู้จุดนี้ไว้ให้ดี จักได้ไม่ประมาทในการสร้างความดี
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-08-2013 เมื่อ 11:32 |
สมาชิก 87 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#18
|
|||
|
|||
รักษาศีลให้ตั้งมั่น แล้วพึงรักษาธรรมให้ตั้งมั่นด้วย ศีลและธรรมเท่านั้นที่จักชำระจิตให้หลุดพ้นจากการถูกรบกวนด้วยอารมณ์ทั้งปวง อันเป็นปัจจัยที่ทำให้ต้องเกิดในที่ต่าง ๆ อีก ให้พิจารณากฎของกรรมที่เข้ามาเล่นงานขันธ์ ๕ อยู่ในชาติปัจจุบัน และจงอย่าคิดน้อยใจท้อแท้ต่อกฎของกรรม แล้วอย่าพึงคิดว่าตายแล้วก็แล้วกันไป จิตจักไปที่ไหนก็ช่างมัน.. อย่างนั้นจงอย่าได้มีขึ้นกับจิต ให้มีความอดทน มีสัจจะตั้งมั่น ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของการมีร่างกาย และตายเมื่อไหร่ให้มีพระนิพพานเป็นที่ไปเมื่อนั้น
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-08-2013 เมื่อ 17:48 |
สมาชิก 86 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#19
|
|||
|
|||
รักษากำลังใจตั้งมั่นอยู่ในความดี เรื่องการกระทบกระทั่งกันระหว่างผู้มีกิเลสกับผู้มีกิเลสย่อมเป็นของธรรมดา ขนาดพระอรหันต์หรือพระตถาคตเจ้าทุก ๆ พระองค์ก็ยังถูกนินทา เรื่องเหล่านี้พึงเห็นเป็นของธรรมดา สร้างอภัยทานให้เกิดขึ้นกับจิต แผ่เมตตาไปทั่วทั้งจักรวาล ตั้งสัจจะอธิษฐานเข้าไว้ จิตของเราจักไม่ตั้งตนเป็นศัตรูกับใคร.. ทำให้ได้จริง ๆ แล้วจิตจักไม่สนใจจริยาของบุคคลอื่น สุข – สงบ.. จิตไม่เร่าร้อน ความสุขก็จักเกิดขึ้นมาก
ให้ลองตั้งใจทำให้ได้จริง ๆ ดูสักชั่วโมง สองชั่วโมงในแต่ละวัน แล้วจักเห็นอานิสงส์ของการแผ่เมตตา หลังจากนั้นค่อยเพิ่มกำลังใจ.. รักษาอารมณ์นี้ไว้ให้ได้เป็นวัน ๆ แล้วจิตจักมีอารมณ์เยือกเย็นและเป็นสุขมากขึ้น ความขัดเคืองในอารมณ์จักไม่มี ใครชั่วใครดีก็เป็นกรรมเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล จิตของเราจักไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับกรรมของเขาเลย จิตของเราจักมุ่งอย่างเดียวคือ สุขในพรหมวิหารธรรม (หมายเหตุ : พรของพระองค์ในข้อนี้ยาวมาก เพราะทรงใช้บารมี ๑๐ เป็นหลักสำคัญในการตรัสสอน จนครบทั้ง ๑๐ บารมี เพื่อให้พวกเราได้เห็นคุณประโยชน์ของการใช้บารมี ๑๐ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติธรรม เพื่อนำไปสู่ความพ้นทุกข์ ที่แยกเป็นข้อ ๆ นั้น เพราะเป็นคำตรัสสอนในแต่ละวัน ๆ ตามลำดับ คำตรัสสอนจึงเป็นปกิณกธรรมทั้งสิ้น) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-08-2013 เมื่อ 14:14 |
สมาชิก 82 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#20
|
|||
|
|||
๒๑. ตัดกังวลภายในจิตลงให้ได้มากที่สุด ด้วยการใช้ปัญญาถามจิต ให้จิตตอบว่า จักกังวลกับชีวิตไปเพื่อประโยชน์อันใดกัน กลัวตายทำไมในเมื่อมอบกายถวายชีวิตเข้ามาในเขตพระพุทธศาสนาแล้ว จิตของเราได้ตั้งอยู่ในความดีตามคำสั่งสอน เพื่อละซึ่งกิเลสความโกรธ โลภ หลง จริงหรือเปล่า ? เรามีความตั้งใจจริงที่จักปฏิบัติธรรมเพื่อพระนิพพานแค่ไหน ? ถามจิตให้จิตตอบเข้าไว้เสมอ แล้วพร้อมหรือยังที่จักละซึ่งขันธ์ ๕ อันเป็นเหยื่อล่อของความทุกข์ เป็นเหยื่อล่อของตัณหา เราพิจารณาขันธ์ ๕ ให้เห็นตามความเป็นจริงพอแล้วหรือยัง จุดนี้จักต้องถามจิตให้จิตตนเองตอบ แล้วจักเป็นปัญญาให้เกิดรู้แจ้งเห็นจริงในขันธ์ ๕ นี้ จนวางภาระขันธ์ ๕ ของตนเองให้ได้อย่างเดียว ก็จักวางทุกสิ่งทุกอย่างได้หมด และเป็นปัจจัยให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้โดยง่าย
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-08-2013 เมื่อ 12:45 |
สมาชิก 84 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|