กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 19-08-2011, 09:21
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,321 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default บารมี ๑๐ คือหลักใหญ่ของการปฏิบัติ

บารมี ๑๐ คือหลักใหญ่ของการปฏิบัติ

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑. “จงพยายามทำความเพียรเข้าไว้อย่าท้อแท้ ให้ดูบารมี ๑๐ เข้าไว้ให้ตั้งมั่น จุดนั้นเป็นหลักใหญ่ของการปฏิบัติเพราะหากบกพร่องในบารมี ๑๐ ทุกอย่างก็บกพร่องหมด ให้ตรวจสอบเข้าไว้ หาอุบายที่จักทรงบารมี ๑๐ เข้าไว้ให้ได้ ไล่ดูให้ดี ๆ นี่เป็นการบ้าน”

๒. “มีบารมี ๑๐ เป็นอย่างไร กาย-วาจา-ใจเป็นอย่างไร ไม่มีบารมี ๑๐ เป็นอย่างไร กาย-วาจา-ใจเป็นอย่างไร ให้พิจารณาดูกันให้ชัด ๆ”

๓. “การพิจารณาบารมี ๑๐ นั้น ให้พิจารณาแยกกันไปทีละข้อ ๆ เพื่อความละเอียดของจิตให้ทำตามนี้ อาทิเช่น การมีทานบารมี จุดนี้มิใช่ว่าจักมุ่งแต่วัตถุทานอย่างเดียวให้รวมไปถึงอภัยทาน-ธรรมทานด้วย พิจารณาให้ลึกซึ้งว่า คนที่ให้ทานได้ จิตเขาคิดอย่างไร กาย-วาจาเขาปฏิบัติอย่างไร จึงให้ทานได้ ถ้าไม่ให้ทานจิตมีสภาพอย่างไร กาย-วาจามีสภาพอย่างไร จุดนี้ให้พิจารณาให้เห็นโทษของบุคคลที่ตระหนี่ในทาน” (ก็คิดว่า การไม่พอใจที่จะให้ มีอารมณ์ตระหนี่-ขี้เหนียว กิริยาออกมาทางกาย-วาจา เมื่อไม่ให้จิตก็กระด้างไม่อ่อนโยนนะ)

๔. “กระด้างแน่ ถ้าหากจิตมีอารมณ์ไม่พอใจ จะสิ้นสุดแม้แต่อภัยทานและธรรมทาน แต่ถ้าหากเป็นวัตถุทาน ถ้าหากเกิดขัดสน มีไม่พอที่จักให้แก่บุคคลอื่น เพราะให้แล้วจักเบียดเบียนตนเอง ก็ให้มีอารมณ์ทรงตัวในอุเบกขาเข้าไว้

๕. “แต่สำหรับทานภายใน อภัยทานก็ดี ธรรมทานก็ดี ถ้าหากสร้างให้มีไว้กับจิต คำว่าจนหรือขัดสนในทานนี้ย่อมไม่มี ทานภายในนี้มีค่ายิ่งกว่าทานภายนอก เพราะบุคคลใดมีแล้วยังอารมณ์จิตให้เยือกเย็น-ผ่องใส-ไม่เร่าร้อน จิตมีพรหมวิหารเป็นอัปปมัญญาได้ เหตุการณ์ใด ๆ มากระทบให้ลงตัวธรรมดาจนหมดสิ้น พยายามรักษาอารมณ์จิตให้กว้างขวางอยู่เสมอ

๖. “อภัย คือ ละจากการเกาะยึดอารมณ์ที่เป็นกิเลสเข้ามากระทบจิต ไม่เกาะโกรธ ไม่เกาะโลภ ไม่เกาะหลง ธรรมภายใน-ธรรมภายนอกจรเข้ามาก็ให้อภัยหมด จิตก็เป็นสุข ความสงบของจิตที่ปราศจากกิเลสนั่นคือความสุขที่แท้จริง

๗. “ต่างกับบุคคลที่มีความโลภ อะไรมากระทบก็เก็บหมด ยึดมั่นถือมั่นเอาไว้จนหมด จิตก็รุ่มร้อนหาความสุขสงบไม่ได้ ดังนี้เป็นต้น ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ พิจารณา บารมี ๑๐ จักทำให้พรหมวิหาร ๔ ทรงตัว และทำให้ศีล-สมาธิ-ปัญญาตั้งมั่น ขอให้ศึกษาทบทวนจนกระทั่งอารมณ์ของจิตยอมรับในผลของการปฏิบัติบารมี ๑๐ ในที่สุด


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๘
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:14



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว