|
ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน รวมประวัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพจากทั่วเมืองไทย |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
||||
|
||||
หลวงพ่ออุตตมะ (เทพเจ้าของชาวมอญ)
พระราชอุดมมงคล หลวงพ่ออุตตมะ (เทพเจ้าของชาวมอญ) พระราชอุดมมงคล หรือ “พระมหาอุตตมะรัมโภภิกขุ” หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนามของ “หลวงพ่ออุตตมะ” พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดกาญจนบุรี ทั้งยังเป็นพระภิกษุสงฆ์ชาวมอญ ผู้มีบทบาทผู้นำคนสำคัญของชาวมอญพลัดถิ่นที่สังขละบุรี ประวัติหลวงพ่ออุตตมะ หลวงพ่ออุตตมะ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ปีจอ จุลศักราช ๑๒๗๒ (พ.ศ. ๒๔๕๓) ที่หมู่บ้านโมกกะเนียง ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง เป็นบุตรของนายโงและนางทองสุข อาชีพทำนา มีพี่น้องรวม ๑๒ คน เนื่องจากเป็นทารกเพศชายเกิดในวันอาทิตย์ จึงมีชื่อว่า “เอหม่อง” ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ขณะเด็กชายเอหม่องมีอายุได้ ๙ ขวบ เกิดอหิวาตกโรคระบาดขึ้นในหมู่บ้าน บิดามารดาจึงพาเด็กชายเอหม่องไปฝากกับพระอาจารย์นันทสาโรแห่งวัดโมกกะเนียงผู้เป็นลุงเพื่อให้ปรนนิบัติรับใช้และศึกษาพระธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองจากโรคภัย เด็กชายเอหม่องเป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษาอย่างยิ่ง จนสามารถสอบได้ชนะเด็กในวัยเดียวกันเป็นประจำทุก ๆ ปี ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ เด็กชายเอหม่องอายุได้ ๑๔ ปี เกิดอหิวาตกโรคระบาดครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้ต้องสูญเสียน้องชายถึง ๕ คน เด็กชายเอหม่องจึงขอออกจากวัดโมกกะเนียงเพื่อมาช่วยเหลือทางบ้านด้วยความขยันขันแข็ง จนกระทั่งอายุ ๑๘ ปี เจ้าอาวาสวัดเกลาสะได้ไปขอกับบิดามารดาให้เด็กชายเอหม่องไปบรรพชาเป็นสามเณร หลวงพ่ออุตตมะ บรรพาเป็นสามเณร ณ วัดเกลาสะ ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง เมื่อจุลศักราช ๑๒๙๑ (พ.ศ. ๒๔๗๒) โดยมีพระเกตุมาลาเป็นพระอุปัชฌาย์ ปีนั้นเอง หลวงพ่อศึกษาภาษาบาลี และพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมตรี อีกปีหนึ่งต่อมาสอบได้นักธรรมโท แต่ไม่นาน หลวงพ่อก็ตัดสินใจสึกออกมาเพราะเห็นว่าไม่มีใครช่วยบิดามารดาทำนา จนกระทั่งหม่องเอ ซึ่งเป็นลูกของพี่สาวของบิดา ได้มาอาศัยอยู่ด้วย หลังจากที่บิดามารดาของหม่องเอเสียชีวิตจนหมดสิ้น ซึ่งเท่ากับว่ามีคนมาช่วยแบ่งเบาภาระในการทำนา และมีญาติซึ่งไว้วางใจได้มาคอยดูแลบิดามารดา หลวงพ่ออุตตมะจึงตัดสินใจอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเกลาสะ โดยมีพระเกตุมาลา วัดเกลาสะ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระนันทสาโร วัดโมกกะเนียง เป็นพระกรรมวาจารย์ พระวิสารทะ วัดเจ้าคะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้รับฉายาว่า “อุตตมรัมโภ” แปลว่า ผู้มีความพากเพียรอันสูงสุด” โดยหลวงพ่ออุตตมะได้ตั้งเจตจำนงที่จะบวชไม่สึกจนตลอดชีวิต ด้วยความพากเพียรและใฝ่ใจในการศึกษาพระธรรม ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ หลวงพ่ออุตตมะ สามารถสอบได้ นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักเรียนวัดปราสาททอง อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ สอบได้เปรียญธรรม ๘ ประโยค ที่สำนักเรียนวัดสุขการี อำเภอสะเทิม จังหวัดสะเทิม ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ในประเทศพม่า ขณะนั้น บ้านเมืองกำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลวงพ่อจึงเดินทางกลับวัดเกลาสะ และได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์สอนภาษาบาลีแก่ภิกษุสามเณร ต่อมาท่านก็ลาพระอุปัชฌาย์เดินทางไปศึกษาวิปัสนากรรมฐานที่วัดตองจอย จังหวัดมะละแหม่ง และวัดป่าเลไลย์ จังหวัดมัณฑะเลย์ จนมีความรู้ความสามารถในเรื่องวิปัสนากรรมฐานตลอดจนวิชาไสยศาสตร์และพุทธคมเป็นอย่างดี ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ หลวงพ่อจึงเริ่มออกธุดงค์เพื่อหาประสบการณ์ หลวงพ่ออุตตมะ ออกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ ในประเทศพม่า และเข้ามาประเทศไทยครั้งแรกทางจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาทราบข่าวว่าพระเกตุมาลา พระอุปัชฌาย์กำลังอาพาธ จึงรีบเดินทางกลับพม่า จนกระทั่งพระเกตุมาลามรณภาพ ท่านก็ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้ หลวงพ่อเดินทางเข้ามาทางตำบลปิล็อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๒ และใน ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ อันเป็นพรรษาที่ ๑๖ ของพระมหาอุตตมะรัมโภ พายุไต้ฝุ่นพัดจากทะเลอันดามัน สร้างความเสียหายให้กับชาวบ้านอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะบ้านโมกกะเนียง และเกลาสะ มีผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยคน บ้านเรือนเหลือเพียงไม่กี่หลังคาเรือน ชาวบ้านลำบากยากแค้นแสนสาหัส ข้าวของอาหารการกินขาดแคลนกันทั่วหน้า นอกจากภัยธรรมชาติแล้ว ชาวบ้านยังต้องประสบเคราะห์กรรมจากปัญหาความขัดแย้งในทางการเมืองอีกด้วย เนื่องจากการปะทะและต่อสู้ระหว่าง กองทหารของรัฐบาลพม่า กับกองกำลังติดอาวุธกู้ชาติ อีกทั้งกองกำลังกู้ชาติบางกลุ่มแปรตัวเองไปเป็นโจรปล้นสดมภ์ชาวบ้าน ด้วยความเบื่อหน่ายเรื่องการรบราฆ่าฟันกัน ระหว่างชนเผ่า หลวงพ่ออุตตมะ จึงตัดสินใจจากบ้านเกิด มุ่งหน้าสู่ดินแดนประเทศไทย เป้าหมายที่แท้จริงของท่านในเวลานั้น คือเขาพระวิหาร ปรากฏว่าเมื่อชาวบ้านรู้ข่าวต่างเสียใจ ไม่อยากให้ท่านจากไป พากันร้องไห้ระงมด้วยความอาลัย ซึ่งท่านได้ชี้แจงการออกเดินทางของท่านว่า “การไปของเราจะเป็นปรหิต เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น” หลวงพ่ออุตตมะ เดินทางเข้าเมืองไทยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๒-๒๔๙๓ ทางหมู่บ้านอีต่อง ตำบลปิล็อก ชายแดนเขตจังหวัดกาญจนบุรี โดยได้รับความช่วยเหลือจากคนไทยสองคน ซึ่งมีเชื้อสายมอญพระประแดงที่มาทำเหมืองแร่ที่บ้านอีต่อง ทั้งคู่ได้จัดบ้านพักหลังหนึ่งให้เป็นกุฏิชั่วคราวของหลวงพ่อ มีชาวเหมืองจำนวนมากมาทำบุญกับหลวงพ่อ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้นไม่มีวัดและพระสงฆ์เลย เดิมทีนั้น คนไทยเชื้อสายมอญพระประแดงทั้งสอง ต้องการสร้างกุฏิถวายหลวงพ่ออุตตมะให้จำพรรษาอยู่ที่บ้านอีต่อง แต่หลวงพ่อไม่รับ เนื่องจากเกรงว่าจะกลายเป็นพระเถื่อนเข้าเมืองไทย ท่านจึงต้องการไปขออนุญาตจากพระผู้ใหญ่ที่ปกครองเขตปิล็อกเสียก่อน ทั้งสองจึงพาหลวงพ่ออุตตมะ มาจำพรรษาที่วัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี กับหลวงพ่อไตแนม ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยงและอุปสมบทที่วัดเกลาสะเช่นเเดียวกับหลวงพ่ออุตตมะ ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ขณะจำพรรษาที่วัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี หลวงพ่ออุตตมะมีโอกาสไปสักการะพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ทำให้หลวงพ่อได้พบชาวไทยเชื้อสายมอญ ที่มาจากเมืองต่าง ๆ เช่น แม่กลอง สมุทรสาคร มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้นิมนต์หลวงพ่อ ไปจำพรรษาที่วัดบางปลา ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร หลังจากเดินทางกลับจากวัดบางปลา มาจำพรรษาที่วัดท่าขนุน หลวงพ่อไตแนมขอให้หลวงพ่ออุตตมะ ไปจำพรรษาที่วัดปรังกาสีซึ่งเป็นวัดร้าง บริเวณวัดปรังกาสีมีชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และบริเวณนั้นไม่มีพระหรือวัดอื่นเลย หลวงพ่อร่วมกับกำนันชาวกะเหรี่ยงนิมนต์พระกะเหรี่ยง จากตลอดแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อยได้ ๔๒ รูป มาอยู่ปริวาสที่วัดปรังกาสี ๙ วัน ๙ คืน หลัง จากนั้นก็สร้างกุฏิและเจดีย์ขึ้น หลวงพ่ออุตตมะนิมนต์พระกะเหรี่ยงมาจำพรรษาที่วัด ๓ รูป ท่านสอนภาษามอญแก่พระทั้ง ๓ รูปนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการสอนธรรมะต่อไป หลวงพ่ออุตตมะจำพรรษาอยู่วัดปรังกาสีหนึ่งพรรษา ต่อมาผู้ใหญ่ทุม จากท่าขนุนมานิมนต์หลวงพ่อไปเยี่ยมหลวงปู่แสงที่วัดเกาะ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ซึ่งเคยไปจำพรรษาที่วัดโมกกะเนียง เกลาสะ และมะละแหม่งมาก่อน และในพรรษานั้น หลวงพ่ออุตตมะได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ ตามคำนิมนต์ของหลวงปู่แสง ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ขณะที่หลวงพ่อจำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ มีคนมาแจ้งข่าวแก่หลวงพ่อว่า ที่กิ่งอำเภอสังขละบุรีมีชาวมอญจากบ้านเดิมของหลวงพ่ออพยพเข้าเมืองไทย ทางบีคลี่เป็นจำนวนมาก และต้องการนิมนต์หลวงพ่อไปเยี่ยม เมื่อหลวงพ่ออุตตมะออกจากจำพรรษา แล้วเดินทางกลับไปยังอำเภอทองผาภูมิ และไปยังอำเภอสังขละบุรี และพบกับคนมอญทั้งหมดที่มาจากโมกกะเนียง เจ้าคะเล และมะละแหม่ง บ้านเกิดของท่าน หลวงพ่อจึงพาชาวมอญเหล่านี้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านวังกะล่าง นับเป็นจุดกำเนิดแรกเริ่มของชุมชนชาวมอญในสังขละบุรี กำเนิดวัดหลวงพ่ออุตตมะ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ หลวงพ่ออุตตมะ ร่วมกับชาวบ้านที่เป็นชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญได้พร้อมใจกันสร้างศาลาวัดขึ้น และสร้างเสร็จในเดือน ๖ ของปีนั้นเอง แต่เนื่องจากยังมิได้มีการขออนุญาตจากกรมการศาสนา วัดที่สร้างเสร็จจึงมีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า “วัดหลวงพ่ออุตตมะ” ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่า “สามประสบ” เพราะมีแม่น้ำ ๓ สายไหลมาบรรจบกัน คือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตี ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เมื่อได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาเป็นที่เรียบร้อย หลวงพ่ออุตตมะจึงได้ตั้งชื่อสำนักสงฆ์ตามชื่ออำเภอเก่า (อำเภอวังกะ) ว่า “วัดวังก์วิเวการาม” ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ หลวงพ่อเริ่มสร้างพระอุโบสถวัดวังก์วิเวการามโดยปั้นอิฐเอง ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ หลวงพ่อได้เริ่มสร้างเจดีย์จำลองแบบจากเจดีย์พุทธคยาที่ประเทศอินเดีย และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ตำแหน่งด้านการปกครองคณะสงฆ์และสมณศักดิ์ ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีสุวรรณาราม ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูอุดมสิทธาจารย์ ตำแหน่งเจ้าคณะตำบลชั้นโท ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูเจ้าคณะตำบลชั้นเอก ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่ พระอุดมสังวรเถร ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชอุดมมงคล ** หลวงพ่ออุตตมะ มรณภาพวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙ ** ที่มา : www.monstudies.com แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-06-2012 เมื่อ 17:29 เหตุผล: แก้เป็นเลขไทยทั้งหมด |
สมาชิก 252 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
คำสอนของหลวงปู่อุตตมะ "เมตตาธรรมเท่านั้นที่จะเอาชนะทุกสิ่งทุกอย่างได้..."
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม |
สมาชิก 235 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
|||
|
|||
หลวงพ่อพระพุทธอุดมสุขทำด้วยหินอ่อนจากพม่า ซึ่งหลวงปู่สั่งทำด้วยราคา ๒๕ บาททองคำ สมัยเมื่อมาถึงใหม่ ๆ เปรียบเทียบกันในปัจจุบันครับ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กระโถนข้างวัด : 13-05-2010 เมื่อ 13:25 |
สมาชิก 237 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กระโถนข้างวัด ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
|||
|
|||
หลวงปู่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยากับหลวงปู่อุตตมะภายในวัดพระแก้ว แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กระโถนข้างวัด : 14-06-2012 เมื่อ 08:17 |
สมาชิก 235 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กระโถนข้างวัด ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
|||
|
|||
สมัยหลวงปู่ยังเเข็งเเรงท่านนั่งรับโยมบนศาลาไม้หลังเก่า กระทาชายนายหนึ่งดื่มสุราจนเช้า แต่วิสัยของชาวมอญในวันพระอย่างไรก็ต้องไปวัด พอเท้าก้าวขึ้นศาลาเท่านั้น กระโถนข้างหลวงปู่ก็ลอยละลิ่วมาถูกหัวหนุ่มคนนั้นทันที อะไรมันจะแม่นปานนั้น... ศาลาหลังนั้นก็ประมาณศาลาใหญ่วัดท่าขนุน ระยะประมาณท้ายศาลา กับตรงที่พระอาจารย์นั่งเป่ายันต์เห็นจะพอกัน หลังจากนั้น คำพรจากหลวงปู่ก็พรั่งพรูออกมา ใครจะลองที่วัดท่าขนุนบ้างผมก็ไม่ว่านะครับ แฮ่ ๆ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กระโถนข้างวัด : 12-10-2015 เมื่อ 12:40 |
สมาชิก 227 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กระโถนข้างวัด ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#6
|
|||
|
|||
ก่อนเข้าพักผ่อนคืนหนึ่งท่านถามว่า "พรุ่งนี้ฎีกาโยม(พระตำหนักพัทยา) กี่โมง" พวกเราก็บอกว่า ฉันเพลออกตอนแปดโมงเช้าก็ทันครับ (ออกจากสาย ๒ พุทธมณฑล) ท่านก็ทำวัตรค่ำเสร็จ ก่อนเข้าห้องนอน ท่านก็หันมาสั่งว่า "พรุ่งนี้ออกตีสี่นะ" พวกเราก็โอดครวญ (หลังจากท่านเข้าห้องแล้ว ฮ่า ๆ ขืนเป็นต่อหน้าก็ซวยสิครับพี่น้อง ) "โห ทำไมหลวงปู่ต้องรีบด้วย" ฎีกาก็บอกแล้วว่าสิบโมงเช้า พอไปถึงพระตำหนักตอนเช้า "ฉันเช้าครับพี่น้องครับ" เจ้าพนักงานพิมพ์ฎีกาผิดหรือเขาเลื่อนขึ้นมาก็ไม่ทราบ ที่แน่ ๆ งานนั้นก็ยังสงสัยว่า ท่านไปเอาฎีกาใหม่มาจากไหน ? แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2010 เมื่อ 10:37 |
สมาชิก 222 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กระโถนข้างวัด ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#7
|
|||
|
|||
๑.หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ (พระสุธรรมคณาจารย์) ๒.หลวงพ่อฤๅษี (พระราชพรหมยาน) ๓.หลวงพ่ออุตตมะ อุตฺตมรมฺโภ (พระราชอุดมมงคล) ๔.หลวงพ่อพุธ ฐานิโย (พระราชสังวรญาณ) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กระโถนข้างวัด : 12-10-2012 เมื่อ 08:23 |
สมาชิก 219 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กระโถนข้างวัด ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#8
|
|||
|
|||
ท่านมีความเกี่ยวเนื่องกับวัดท่าขนุนผมเพิ่งทราบจากที่นี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นักศึกษาคนหนึ่ง : 19-01-2012 เมื่อ 10:12 |
สมาชิก 139 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ นักศึกษาคนหนึ่ง ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#9
|
|||
|
|||
พระคาถาภาวนาเวลาชักลูกประคำ ที่หลวงปู่ ใช้ คือ นะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะ มะอะอุ อุอะมะ หรือ ถ้าจะใช้บทสั้นกว่านั้น ก็คือ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ แต่เท่าที่เคยได้ยิน คาถาชินบัญชร ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านก็ใช้ด้วยครับ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 10-07-2012 เมื่อ 10:03 |
สมาชิก 194 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กระโถนข้างวัด ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#10
|
|||
|
|||
มีน้องที่ดูแลหลวงปู่เล่าว่า ขณะถวายการรับใช้หลวงปู่ นึกอยากจะไปกราบหลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร จึงกราบเรียนท่านว่า "ขออนุญาตไปกราบหลวงพ่อสมเด็จฯ แล้วจะรีบกลับมาครับหลวงปู่" ท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร ครั้นพอไปถึงวัดทำวัตรค่ำเสร็จ หลวงพ่อสมเด็จฯ กำลังจะขึ้นพัก น้องเขากราบทำบุญ ท่านหันมายิ้ม จับมือ แล้วกล่าวว่า "กลับไปบอกหลวงพ่ออุตตมะด้วยว่า เราได้มาเจอกันแล้ว และจะไปเยี่ยมท่านวันหลัง" จึงสงสัยว่า ท่าน " โทรศัพท์ " หากันตอนไหน แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กระโถนข้างวัด : 19-09-2013 เมื่อ 11:43 |
สมาชิก 191 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กระโถนข้างวัด ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#11
|
|||
|
|||
พระมหาสุชาติ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม รูปปัจจุบัน ท่านเล่าว่า "คืนหนึ่งหลังจากทำวัตรค่ำเสร็จ หลวงปู่ท่านกำลังสวดมนต์ประจำวันใช้เวลาไม่ต่ำกว่า ๒ ชั่วโมง มีทั้งภาษาไทยและภาษามอญ หลวงพี่ก็ลุ้นว่าเมื่อไรจะจบเสียทีเนื่องจากง่วงด้วย ล้าจากกิจวัตรประจำวัน ท่านก็ว่าของท่านไปเรื่อย ทีนี้มีบทหนึ่ง พระอภิธรรม ๗ บท รู้จักไหม ? ท่านไม่ได้สวดนานแล้ว ภาษามอญนะ เราก็ไปหยิบหนังสือมากางดู ไล่ตามทีละตัว ไม่ได้ตั้งใจจับผิดอะไร ดูตามไป ไม่น่าเชื่อ ไม่ผิดเลยสักคำ "อะ อา" อะไร ลงตามนั้นตรงเผงทุกคำเลย ท่านไม่เห็นหรอกว่าหลวงพี่ทำอะไร เพราะว่าท่านนั่งหน้าสุด เรานั่งหลัง พอจบ ท่านหันมาเลยนะ "ว่ายังไงมหาฯ..เราว่าผิดไหม ?" หลวงพี่นี่หงายหลังตึงเลย กราบขอขมาแทบไม่ทัน ตั้งแต่นั้นมาก็เลิกนะ ฮ่า ๆ" จบดีกว่าเดี๋ยวเข้าตัว ... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 10-07-2012 เมื่อ 10:04 |
สมาชิก 182 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กระโถนข้างวัด ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#12
|
|||
|
|||
หลังออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๔๗ มีพระมาลาสิกขากับหลวงปู่ ท่านให้โอวาทแล้วบอกว่า "พระที่จะสึกนี่ อย่าไปที่ที่มีทะเลกันนะ..ช่วงนี้ " พระก็ทำหน้างง ๆ กัน แต่ไม่มีใครกล้าถามอะไรต่อ ท่านก็เงียบ ภายหลังออกมา สืบสาวราวเรื่องกันได้ความว่า พระที่สึกวันนั้นตั้งใจจะไปเที่ยวทะเลที่ภูเก็ตกัน ต่อมา ประมาณต้นเดือนธันวาคมปีนั้นเอง หลวงปู่ก็นั่งมองออกไปนอกหน้าต่าง เงียบอยู่นานเป็นชั่วโมง เราก็อยากรู้ว่า "ท่านคิดอะไรอยู่" ความในใจครูบาอาจารย์ ใครจะไปกล้าคาดเดา เลยกราบเรียนถามท่านว่า "มีอะไรหรือครับ เห็นหลวงปู่มองออกไป เหมือนมีอะไร" ท่านตอบว่า "เรากำลังดูน้ำ" พอจะถามต่อ ท่านก็ชวนคุยเรื่องอื่นเสีย ในใจตอนนั้นได้แต่คิดว่า "สังขละ มันจะมีปัญหาเรื่องนั้น ที่ไหนหนอ ก็เห็นน้ำท่าบริบูรณ์ดี เขื่อนหรือก็น้ำเต็มปีนี้ " สุดท้าย วันที่ ๒๗ ธันวาคม ปีนั้นเอง ก็เกิดสึนามิ (tsunami) ที่ประเทศไทย ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล ปัญญาของครูบาอาจารย์เกินความคาดเดาของเราจริง ๆ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 10-07-2012 เมื่อ 10:06 |
สมาชิก 186 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กระโถนข้างวัด ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#13
|
|||
|
|||
พระมหาสุชาติ สิริปญฺโญ ป.ธ.๙ เจ้าคณะอำเภอสังขละบุรี ท่านเล่าว่า หลวงปู่เห็นท่านท่องหนังสือ ท่านก็ปรารภว่า "มหาฯ เรียนพระอภิธรรม เหมือนจับปลาในน้ำนะ เห็นเงาอยู่ไหว ๆ แต่พอจะจับกลับหายไปเสีย" แล้วท่านก็ไม่ได้อธิบายต่อว่าปริศนาธรรมนี้ มีความหมายอย่างไร ... "หลวงพี่เอง ก็ไม่ค่อยแน่ใจ ว่าท่านหมายความว่าอย่างไร" แฮ่ ๆ กระผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ ขอความเมตตาท่านพี่ด้วยครับ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 10-07-2012 เมื่อ 10:05 |
สมาชิก 165 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กระโถนข้างวัด ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#14
|
|||
|
|||
หรือว่าหมายถึงเรียนแต่ทฤษฎี มันก็ได้แต่เห็นเงา ๆ
ต้องลงมือปฏิบัติด้วย ถึงได้ผล...ใช่หรือเปล่า |
สมาชิก 123 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ นางมารร้าย ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#15
|
|||
|
|||
เช้าวันหนึ่งมีคนมากราบหลวงปู่ ด้วยท่าทีที่รีบร้อนกระวนกระวาย กราบเสร็จหลวงปู่ถามว่า "มีอะไรหรือโยม" หนุ่มคนนั้น เรียนท่านว่า "ควายหายครับ "ไจ๊นง"" หลวงปู่บอกว่า "เดี๋ยวเราดูให้" ว่าแล้วท่านก็ไปหยิบหนังสือข้างตัวมาเปิด พลิกไปพลิกมาสองสามหน้า แล้วท่านก็บอกว่า "โยมกลับไปรอที่บ้านเถอะ เดี๋ยวตอนเย็นจะเจอเอง" ใครจะไปเชื่อ "ควายหายทั้งตัวนะครับ "ไจ๊นง"" ไม่ใช่ตัวละบาทสองบาทเมื่อไร แต่ก็ขัดหลวงปู่ไม่ได้ต้องกลับบ้านไป เช้าวันรุ่งขึ้นหนุ่มคนเดิมนี่เอง หอบลูกจูงหลาน เอามะพร้าว ข้าวปลา ดอกไม้ ธูปเทียน ใส่กาละมังมา กราบขอบพระคุณหลวงปู่เป็นการใหญ่ ถ้าตำราแม่นขนาดนี้ อยากจะได้สักเล่มจริง ๆ ให้ดิ้นตาย กลับไปเปิดหนังสือเล่มนั้นดู เอาไปให้พระท่านช่วยอ่าน อ้าว..! กลายเป็นบทสิบสองตำนานไปเสียอย่างนั้น เฮ้อ จบกัน ความหวังเรา แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กระโถนข้างวัด : 01-10-2012 เมื่อ 06:33 |
สมาชิก 176 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กระโถนข้างวัด ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#16
|
|||
|
|||
พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา เคยกล่าวถึงหลวงปู่ว่า "ท่านได้รับคำพยากรณ์แล้ว และเป็นหนึ่งในอนาคตวงศ์ด้วย" แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กระโถนข้างวัด : 13-01-2015 เมื่อ 09:22 |
สมาชิก 164 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กระโถนข้างวัด ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#17
|
|||
|
|||
กิจวัตรประจำวันของหลวงปู่มีดังนี้ ๑. เวลา ๑๘.๐๐ น. ให้สวดมนต์ภาวนา ๒. เวลา ๒๑.๐๐ น. เริ่มพิจารณาพระกรรมฐาน ย้อนอดีตไปดูในแต่ละวันว่าทำผิดสิ่งใด แก้ไขแล้วอย่างไรบ้าง ๓. เวลา ๒๔.๐๐ น. จงกรมนอกกลดในเขตหัตถบาส ๔. เวลา ๐๒.๐๐ น. พักผ่อน ๕. เวลา ๐๔.๐๐ น. พิจารณารับอรุณ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กระโถนข้างวัด : 19-09-2013 เมื่อ 11:43 |
สมาชิก 170 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กระโถนข้างวัด ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#18
|
|||
|
|||
วัวกับภูเขา ก็เหมือนเรากับอุปสรรค หลวงปู่เล่าพลางชี้มือไปนอกศาลาให้ดูวัวที่เล็มหญ้าที่เนินเขาว่า " การที่เราจะทำงานต่าง ๆ ให้สำเร็จ เป็นธรรมดาที่จะต้องมีอุปสรรค ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำ อย่าวู่วาม ใช้ปัญญาพิจารณา อย่ามุ่งเอาเเต่ประโยชน์สุดท้ายอย่างเดียว " " โน่น เห็นวัวไหม ? " " เห็นครับหลวงปู่ ทำไมหรือครับ ? " " มันก็เหมือนกับวัวตัวนั้น ถูกเขาต้อนขึ้นไปบนเนินเขา " " เดินไปพลาง เล็มหญ้าไปพลาง ไม่นานดอก เนินเขาก็ต้องอยู่ใต้ท้องวัวจนได้ " แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กระโถนข้างวัด : 19-09-2013 เมื่อ 11:44 |
สมาชิก 167 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กระโถนข้างวัด ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#19
|
|||
|
|||
ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ วัดเกาะวังไทร นิมนต์หลวงปู่ไปงานที่วัด และขอจัดสร้างเหรียญที่ระลึกในงานนี้ด้วย สมัยนั้น การเดินทางจากวัดโดยทางรถยนต์ไม่สะดวก ต้องนั่งเรือล่องตามแม่น้ำมา ซึ่งใช้เวลานาน ทหารจึงจัดเฮลิคอปเตอร์ หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า " ฮ. " มารับท่านไปงาน ในวันนั้น ท่านนำเหรียญบรรรทุกไปด้วย พอถึงวัดเกาะวังไทร ท่านก็ลงจากเฮลิคอปเตอร์ นักบินก็จะนำเครื่องกลับ แต่ทำอย่างไรเครื่องก็บินไม่ขึ้น จึงขอให้หลวงปู่ช่วยตรวจดูให้ หลวงปู่พิจารณาแล้ว บอกว่า " ลืมเอากล่องเหรียญลงมาจากเครื่อง " พอนักบินยกกล่องเหรียญลงมา เครื่องก็สามารถบินกลับฐานได้ตามปรกติ ผู้อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้น จึงพากันเรียกเหรียญ รุ่นนี้ว่า " เหรียญ รุ่น ฮ.ไม่ขึ้น " |
สมาชิก 157 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กระโถนข้างวัด ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#20
|
|||
|
|||
น้ำท่วมวัด
เมื่อเริ่มสร้างเขื่อนเขาแหลมนั้น วิทยาการในการสร้างยังไม่ทันสมัยเท่ากับในปัจจุบัน พอสร้างเสร็จ ระบบการตรวจจับ บอกได้ว่า เขื่อนรั่ว แต่จะรั่วจุดไหน อย่างไร ต้องใช้กำลังคนเข้าไปสำรวจ วิศวกรค้นหาอย่างไรก็ไม่พบ จนปัญญาจริง ๆ ทั้งคณะจึงมากราบขอร้อง ให้หลวงปู่ช่วย ท่านเองก็ไม่ได้จบวิศวกรรมศาสตร์ ใบประกอบวิชาชีพ กว. ก็ไม่มี ได้แต่อาศัยเปิดตำรา" โลกวิทู " แล้วก็ชี้จุดให้เขาไป เมื่อทางการซ่อมเขื่อนที่ชำรุดแล้วเสร็จ น้ำในเขื่อนเพิ่มระดับทันที และท่วมวัดทันใจด้วยเช่นกัน หลวงปู่ท่านสั่งให้ย้ายทั้งวัด และหมู่บ้านมอญ หนีน้ำมา ณ จุดที่สร้างวัดใหม่ในปัจจุบันทันที แล้วท่านก็ปรารภแบบอารมณ์ดี ว่า " เราไม่น่าช่วยเขาเลย น้ำท่วมวัด หนีแทบไม่ทัน " แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กระโถนข้างวัด : 13-01-2015 เมื่อ 09:22 |
สมาชิก 159 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กระโถนข้างวัด ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|