#1
|
|||
|
|||
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๑
พระธรรม ในเดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนปกิณกธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้ ๑. การรักษาอารมณ์ของจิต จักต้องเพียรดูอารมณ์ของตนเองอยู่เสมอ จักเห็นสังขารอันเป็นอารมณ์ปรุงแต่งไปตามสัญญา หรือความจำอยู่เนือง ๆ เป็นต้นเหตุของความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) เป็นหนทางแห่งความทุกข์ (ให้เกิดทุกข์) เป็นปัจจัยที่ทำให้ต้องเกิดสืบไปในภายภาคหน้า พึงเห็นการทำงานของจิต นั่นแหละจึงจักเกิดปัญญาเห็นการทำงานของรูปและนามได้ เป็นหนทางการเห็นทุกข์อย่างแท้จริง และเป็นแนวทางนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ได้ในที่สุด แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-06-2016 เมื่อ 02:23 |
สมาชิก 92 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
|||
|
|||
จำไว้ว่า ความตั้งใจจักไปพระนิพพานอย่างเดียวนั้น.. ยังไม่ใช่แนวทางปฏิบัติ เพียงแค่ตั้งเป้าหมายจักเดินทางไปจุดนั้น จักต้องเตรียมอาหาร – ค่าใช้จ่าย – ยานพาหนะ สิ่งจำเป็นต่าง ๆ ให้พร้อมก่อน วิธีปฏิบัติที่จักไปให้ถึงซึ่งพระนิพพานก็เช่นกัน จักต้องมี ศีล – สมาธิ – ปัญญาพร้อมจึงจักไปได้ แต่มิใช่จำ ศีล – สมาธิ – ปัญญา ได้ด้วยความรู้แค่สัญญา คือความจำเท่านั้น (รู้แค่ปริยัติแต่ยังมิได้ปฏิบัติจัดเป็นหนูที่ขุดรูไว้ แต่มิได้อยู่) ต้องมีความตั้งใจมั่นใน ศีล – สมาธิ – ปัญญา ด้วย กาย – วาจา – ใจ ให้พร้อมในคราวเดียวกัน นั่นแหละคือการปฏิบัติ ธรรมเหล่านี้จักครบอยู่ในจิตก็ต้องอาศัยบารมี ๑๐ ประการเข้าคุมใจให้พร้อม นั่นแหละการปฏิบัติใน ศีล – สมาธิ – ปัญญา จักไม่บกพร่องแม้แต่วินาทีเดียว
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-06-2016 เมื่อ 14:47 |
สมาชิก 85 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
|||
|
|||
เช่น
- ทานบารมี การให้ทานคือการสละออกอยู่ตลอดเวลา มีศีล ๕ คือสละความชั่ว ๕ ประการทิ้งไป มีศีล ๘ สละความชั่ว ๘ ประการทิ้งไป มีศีล ๑๐, ศีล ๒๒๗ ก็สละแม้อภิสมาจารของเณรของพระทิ้งไป มีกรรมบถ ๑๐ ก็สละความชั่ว ๑๐ ประการทิ้งไป ทิ้งไปจากกาย – วาจา – ใจ คือมีศีลพร้อมอยู่ในกาย – วาจา –ใจนี้ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-06-2016 เมื่อ 20:40 |
สมาชิก 82 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
|||
|
|||
- ศีลบารมี การรักษาศีล มีกำลังใจรักษาศีลเต็มอยู่ตลอดเวลา โดยไม่มีจิตคิดละเมิดศีล ทางจิตไม่คิด ทางกายไม่ทำ ทางวาจาไม่พูดให้ผิดข้อบัญญัติของศีลนั้น ๆ อาบัติแปลว่าบาป ศีลทุกข้อมีโทษแก่จิตทุกข้อ พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ทรงเห็นโทษ คือบาปอันเกิดขึ้นกับกาย – วาจา – ใจ จึงบัญญัติศีลขึ้นมาเพื่อให้พุทธบริษัทได้สำรวมกาย – วาจา – ใจ ไม่ให้ละเมิดในศีลนั้น ๆ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-06-2016 เมื่อ 18:12 |
สมาชิก 79 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
|||
|
|||
- เนกขัมมะบารมี การถือบวชด้วยกาย – วาจา – ใจในศีลนั้น ๆ มีความพร้อมหรือยัง ?
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-06-2016 เมื่อ 20:21 |
สมาชิก 73 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#6
|
|||
|
|||
- ปัญญาบารมี ใช้ปัญญาใคร่ครวญในศีล - สมาธิ - ปัญญา ให้ถูกต้องตามหลักพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาแล้วหรือยัง ที่รู้อยู่นั้น.. รู้ด้วยสัญญาหรือปัญญา
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 06-07-2016 เมื่อ 17:09 |
สมาชิก 71 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#7
|
|||
|
|||
- วิริยบารมี ดูกาย – วาจา – ใจ มีความเพียรใน ศีล – สมาธิ – ปัญญา เป็นปกติหรือไม่
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-07-2016 เมื่อ 20:10 |
สมาชิก 68 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#8
|
|||
|
|||
- ขันติบารมี มีความอดทนต่อความชั่วที่เข้ามายั่วยุ กาย – วาจา – ใจ ให้ละเมิดใน ศีล – สมาธิ – ปัญญา หรือไม่
- สัจจะบารมี พูดจริง – ทำจริงใน ศีล – สมาธิ – ปัญญา ทั้ง กาย – วาจา – ใจ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-07-2016 เมื่อ 20:05 |
สมาชิก 68 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#9
|
|||
|
|||
- อธิษฐานบารมี มีจิตตั้งมั่นในพระนิพพานหรือไม่ การรักษา ศีล – สมาธิ – ปัญญา ให้ครบทั้ง กาย – วาจา – ใจ ในหลักของพระพุทธศาสนา มีจุดมุ่งหวังอยู่ที่พระนิพพานแห่งเดียวเท่านั้น ตรวจดู กาย – วาจา – ใจ ของตนเอง ยังตั้งมั่นอยู่หรือไม่
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-08-2016 เมื่อ 19:57 |
สมาชิก 68 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#10
|
|||
|
|||
- เมตตาบารมี มีความรัก ความสงสารตนเอง คือจิตที่จักต้องไปตกนรกหรือขึ้นสวรรค์ เวียนว่ายตายเกิดด้วยกรรม คือการกระทำของ กาย วาจา ใจ วนอยู่ในวัฎสงสาร เพราะละเมิด ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ได้กระทำเพื่อพระนิพพาน ทำเพื่อหวังผลตอบแทน นี่เป็นการขาดเมตตาแก่ตนเอง เมื่อขาดเมตตาตนเอง ก็ขาดเมตตาไปยังบุคคลอื่น สัตว์ วัตถุธาตุต่าง ๆ ด้วย
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-12-2016 เมื่อ 20:28 |
สมาชิก 68 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#11
|
|||
|
|||
- อุเบกขาบารมี ความวางเฉยในกฎของกรรม รู้ต้นสายปลายเหตุในกฎของกรรมที่เข้ามาถึงตนเอง วางเฉยได้แล้วหรือยัง ? รู้ต้นสายปลายเหตุในกฎของกรรมที่ปรากฏแก่บุคคลอื่นนี้วางเฉยได้แล้วหรือไม่ ? อุเบกขาจักเกิดขึ้นได้พร้อม เมื่อ กาย – วาจา – ใจ ถึงพร้อมด้วย ศีล – สมาธิ – ปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงในกองสังขารทั้งปวง การปล่อยวางจึงจักเป็นอุเบกขาญาณแท้ เห็นกฎของกรรมเป็นไปอย่างนี้แหละ รักษาบารมี ๑๐ เพียงเท่านี้ ศีล – สมาธิ – ปัญญา ก็พร้อมอยู่ใน กาย – วาจา – ใจ ทุกเมื่อ คนที่ปรารถนาจักไปพระนิพพาน จักทิ้งบารมี ๑๐ ไปไม่ได้เลย จงทำให้เกิดขึ้นพร้อมกันในคราวเดียวที่จิตนี้ เพราะจิตเป็นใหญ่ในธรรมปัจจุบันอยู่เสมอ ฝึกกำลังใจให้ตั้งมั่นพร้อมอยู่ใน ศีล – สมาธิ – ปัญญา ด้วยบารมี ๑๐ ประการเป็น ๓๐ ทัศแล้ว จุดนั้นแหละเป็นแนวทางสู่พระนิพพานได้อย่างแท้จริง
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-08-2016 เมื่อ 20:54 |
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#12
|
|||
|
|||
๒. อย่ากังวลใจในเหตุการณ์ที่จักเกิดขึ้นต่อไปในภายภาคหน้าทั้งปวง จงทำทุกอย่างให้เป็นหน้าที่ จักได้ไม่มีความหนักใจ พึงใช้ปัญญาพิจารณาเหตุการณ์ทั้งหลาย ให้เป็นอารมณ์พระกรรมฐานและอย่าท้อแท้ ให้รักษาอารมณ์ของจิตให้เข้มแข็งเข้าไว้
๓. มองธรรมดาให้เห็นเป็นธรรมดา ร่างกายมีสภาพไม่เที่ยงอยู่เป็นปกติ และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจักแก้ไขให้มันเที่ยงได้ การปฏิบัติจึงต้องมุ่งเอาที่จิตใจ เพราะจิตเป็นเรา เป็นของเราแก้ไขได้ อย่าไปแก้ที่ร่างกายซึ่งมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ธรรมของกายและของจิตมันก็เป็นปกติอยู่อย่างนั้น การทำใจให้ยอมรับปกติธรรมของร่างกายหรือรูป – นาม หรือขันธ์ ๕ จักต้องมีบารมี ๑๐ เกาะติดเป็นกำลังใจให้สมบูรณ์ จึงจักมีมรรคมีผลของการปฏิบัติธรรมได้ครบ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-08-2016 เมื่อ 20:35 |
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#13
|
|||
|
|||
๔. ให้เห็นความเป็นจริงของร่างกาย ที่มีชีวิตอยู่ทุกวันนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ อริยสัจข้อต้น (ทุกขสัจ ต้องมีสติกำหนดรู้จึงจักรู้ – จักเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลา เป็นปกติธรรมดา) คือต้องเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะมันไม่เที่ยง เกิด – เสื่อม – ดับอยู่ตลอดเวลา เหมือนกับร่างกาย จักยึดเอาอะไรเป็นที่พึ่งไม่ได้สักอย่างเดียว พิจารณาให้มากจักได้มีความเบื่อหน่ายในชีวิต แล้วที่สุดก็จักปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างในโลก รวมทั้งขันธ์ ๕ ให้เป็นไปตามกฎของธรรมดา หรือกฎของกรรมซึ่งเป็นตัวเดียวกัน จนในที่สุดก็จักทิ้งโลกทั้ง ๓ (มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก) เพื่อมุ่งพระนิพพานจุดเดียวเท่านั้น อย่าไปเห็นอะไรในโลกว่าเต็มไปด้วยความจีรังยั่งยืนเป็นอันขาด เหนื่อยมากก็ทุกข์มาก โครโง่ก็ให้เกิดมาพบกับความเหนื่อยความทุกข์อีกต่อไป ใครอยากพ้นทุกข์ก็จักต้องพิจารณาตามกฎของความเป็นจริง คืออริยสัจ ก็จักสามารถไปพระนิพพานได้ในชาติปัจจุบัน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-09-2016 เมื่อ 02:30 |
สมาชิก 61 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#14
|
|||
|
|||
๕. หมู่นี้ร่างกายเหนื่อยจัด.. การพิจารณาบทพระกรรมฐานย่อมไม่ปลอดโปร่ง ให้กำหนดสมถภาวนาเป็นองค์ประจำ เพื่อบรรเทาอาการเหนื่อยด้วยบท อิติปิ โส ภควาฯ ทั้งบท การเจริญพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จักช่วยบรรเทาอาการเหน็ดเหนื่อยของร่างกายลงได้ (ในการทำพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลที่ถูกต้องนั้นก็ใช้ พุทธคุณ – ธรรมคุณ – สังฆคุณ ทั้งสิ้น เพราะในจักรวาลนี้ไม่มีพระคุณใดที่จะยิ่งไปกว่าคุณของพระรัตนตรัยนี้อีก หากพิธีใดมีบุคคลใดใช้พระคุณหรือบารมีของตนเองปลุกเสกแล้ว จัดว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ทำไป ๓ เดือน – ๓ ปี ก็ยังไม่เท่ากับบารมีคุณของพระพุทธเจ้าแค่นาทีเดียว)
การพิจารณาให้เห็นทุกข์ของการงานที่ทำอยู่นี้ เนื่องจากการมีร่างกาย ไม่ทำไม่หาก็จักอยู่ไม่ได้ หรือลำบากมากต่อไปในภายหน้า จึงจำเป็นที่จักต้องอดทนทำเพื่อร่างกายให้มีชีวิตรอดไปได้ ทั้งนี้ให้ใช้อริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา ขอให้ตั้งใจไว้ว่า.. ทุกข์ยากลำบากครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย ตายเมื่อไรตั้งใจเอาไว้เลยว่าจักไม่มาเกิดอีก จิตตั้งมั่นจักไปที่เดียวคือพระนิพพาน หากร่างกายไม่ดีให้นึกถึงมรณาฯ และอุปสมานุสติ ให้มาก จักได้ไม่ประมาทในชีวิต แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-09-2016 เมื่อ 17:25 |
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#15
|
|||
|
|||
๖. อย่ากังวลกับงานทางโลก และเหตุการณ์ใด ๆ ของโลกซึ่งกำลังตึงเครียด ข่าวร้ายใด ๆ เข้ามากระทบก็ให้เห็นเป็นกฎของกรรม เป็นกฎธรรมดาของโลกที่แก้ไขอะไรไม่ได้ โลกก็เป็นอยู่อย่างนี้แหละ เพราะไม่เที่ยง.. เดินเข้าหาความดับเป็นอนัตตาอยู่เป็นปกติทุกยุคทุกสมัย แม้แต่ตถาคตเจ้าแต่ละพระองค์ในสมัยยังทรงชีวิตอยู่ สภาวะข้าวยากหมากแพง ฝนแล้ง เกิดทุพภิกขภัยต่าง ๆ ก็มีอยู่ทุก ๆ พุทธันดร ซึ่งจุดนั้นคนจักเป็นทุกข์มาก ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรมก็จักมีมาก
แต่ในขณะเดียวกันผู้ที่ยังมีกิเลสหนา ทะยานอยากมาก (มีตัณหามาก) ก็จักดิ้นรน – แสวงหาทรัพย์ – หาลาภ – หายศด้วยความเร่าร้อน หาเท่าไรก็ไม่รู้จักพอ ยิ่งดิ้นรนมากเท่าไรก็ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น เพราะเขาไม่เห็นทุกข์ ทั้ง ๆ ที่ตายไปเขาก็เอาอะไรไปไม่ได้ เพราะเป็นสมบัติของโลก ซึ่งไม่มีใครสามารถจักเอาไปได้ เพราะความ โลภ – โกรธ – หลง เต็มจิต ติดใจติดกายอยู่จนกระทั่งวันตาย ยกเว้นพวกมีบารมีธรรมสูง (บารมี ๑๐ ประการ) มีปัญญารู้ธรรมของโลก และธรรมพ้นโลก คือ ศีล – สมาธิ – ปัญญา... ทาน – ศีล – ภาวนา ช่วยตัดอารมณ์ โลภ – โกรธ – หลง ได้ตามลำดับ จนดับสนิทเป็นสมุจเฉทปหาน ก็จักเอาสมบัติของโลกซึ่งเอาไปไม่ได้ แต่หากเชื่อและปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ในเรื่องทานบารมี จากกำลังใจมีบารมีต้น ๆ หยาบ ๆ แล้วเจริญเป็นขั้นกลาง เป็นอุปบารมี และปรมัตถบารมีตามลำดับ ก็สามารถจักเอาสมบัติของโลก (โลกียทรัพย์) ไปเป็นอริยทรัพย์ (โลกุตรทรัพย์) การทำทานเพื่อตัดความโลภจนชินกลายเป็นจาคะ เป็นจาคานุสติในทาน มีปัญญาเห็นความละเอียดของทาน จากทาสทาน – สหายทาน – สามีทานตามกำลัง เป็นสังฆทาน – วิหารทาน – ธรรมทานภายนอก – ธรรมทานภายใน แล้วจบลงที่อภัยทาน หากทำได้ทรงตัว สังขารุเบกขาญาณเกิดขึ้นทรงตัว ก็จบกิจในพระพุทธศาสนา (ผมไม่ขอเขียนรายละเอียด เพราะธรรมในพุทธศาสนาเป็นปัจจัตตัง ถึงแล้วจึงจะรู้ได้เองเฉพาะตน ของใครของมัน กรรมใครกรรมมัน อธิบายเท่าไรก็ไม่มีทางรู้จริงได้ ทุกอย่างล้วนมีระดับจากหยาบ – กลาง – ละเอียด เหมือนกับอารมณ์พระโสดาบันมี ๓ ระดับนั่นแหละ แม้ตัวผมเองก็ต้องรู้ว่าตนเองปฏิบัติได้แค่ไหน ยังเหลืออยู่อีกเท่าไรก็ต้องรู้) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-09-2016 เมื่อ 02:04 |
สมาชิก 54 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#16
|
|||
|
|||
๗. สถานการณ์ของโลกยิ่งร้อนแรงขึ้นทุกวัน ก็ต้องอดทนใช้บารมี ๑๐ ช่วยเพิ่มกำลังใจให้เต็มอยู่เสมอ พิจารณาให้เห็นทุกข์ตามหลักของอริยสัจ ก็จักมีดวงตาเห็นธรรมได้มากขึ้น ทุกอย่างให้พิจารณาลงตัวธรรมดาเข้าไว้จักไม่พลาดเป้าหมาย คือทุกสิ่งทุกอย่างมุ่งทำเพื่อพระนิพพานจุดเดียว จงอย่าประมาทในชีวิต เพราะความตายย่อมมีอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก ปฏิบัติเพื่อตัดกิเลสให้ลดน้อยลง (อารมณ์โลภ – โกรธ – หลง) โดยใช้สังโยชน์ ๑๐ เป็นเครื่องวัดใจ แต่ทางลัดก็จงอย่าทิ้ง รู้ลม – รู้ตาย – รู้นิพพาน ทุกข์เสียให้พอ ต่อไปจักไม่ต้องกลับมาทุกข์อย่างนี้อีก อย่าละความเพียร หรือท้อแท้เสียอย่างเดียว เพราะเป็นชาติสุดท้ายแล้ว ทำอะไรอย่าหวังผลตอบแทน ทำเพื่อพระพุทธศาสนา และพระนิพพานจุดเดียวเท่านั้นเป็นพอ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-09-2016 เมื่อ 19:23 |
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#17
|
|||
|
|||
๘. เวลานี้ภัยพิบัติของธรรมชาติ เริ่มจักเยือนโลกมากขึ้นทุก ๆ ขณะ เพราะคำว่าโลกแปลว่ามีความฉิบหายไปในที่สุด โลกนี้มีทุกขังเป็นเบื้องต้น (ไม่สามารถจะทรงตัวอยู่ในสภาพเดิมได้) มีอนิจจัง (ไม่เที่ยงแท้แน่นอน) เป็นท่ามกลาง มีความอนัตตาไปในที่สุด (สลายตัวไปจากสภาวะหนึ่งไปสู่อีกสภาวะหนึ่ง เช่น วันนี้กินอาหารเข้าทางปาก พรุ่งนี้กลายเป็นขี้ สีเหลืองเหมือนกันหมด แยกไม่ออกว่าของเดิมมันเป็นอะไรบ้าง)
จิตจักได้เห็นความจริงของโลกให้มาก ทั้งโลกภายนอกและโลกภายใน คือขันธโลกหรือร่างกาย หรือขันธ์ ๕ เมื่อเห็นความจริงแล้ว จิตจักได้มีความเบื่อโลก ไม่ต้องการเกิดมาในโลกนี้อีก เพราะจิตจักเห็นทุกข์ของการดำรงชีวิตอยู่ในโลกมากขึ้น ในขณะเดียวกันจิตเมื่อรู้ความจริงแล้ว ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนไม่เที่ยง (อนิจจา วะตะสังขารา) แต่อุปาทานยึดมั่นถือมั่นมันคิดว่าเที่ยง ทุกข์เกิดขึ้นกับจิตเพราะเหตุนี้ (อุปาทะวะยะ ธัมมิโน) หากวางอุปาทานตัวยึดมั่นถือมั่นลงได้ จิตก็จักพ้นจากความทุกข์ (อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ) การไม่เกิดมามีร่างกาย (ขันธ์ ๕) อีก จึงเป็นยอดของความสุข หรือพระนิพพานเป็นยอดของความสุข (เตสังวูปะสะโม สุโข) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-10-2016 เมื่อ 18:56 |
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#18
|
|||
|
|||
๙. เรื่องเหล่านี้ มิใช่พูดให้กลัว แต่พูดเพื่อให้ระมัดระวัง ถ้าหากมีเหตุการณ์เลวร้ายต่าง ๆ เกิดขึ้น จักได้มีสติสัมปชัญญะทรงตัว รับรู้ และสามารถแก้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ ดีกว่าอยู่อย่างไม่รู้ หรือรู้แล้วไม่ได้เตรียมอะไรเอาไว้เลย ก็เป็นการประมาทอย่างยิ่งเช่นกัน ในกรณีตระเตรียมเครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อสู้วิกฤติการณ์ของโลกนั้น จงอย่าเสียดายเงิน เพราะเงินทองแทบจักไม่มีความหมาย เพราะข้าวของจักมีราคาสูงขึ้นมาก และแทบจักหาซื้อไม่ได้ การเกิดมามีร่างกายในโลกใบนี้ จักต้องทนได้ทุกกรณี ให้เห็นเป็นธรรมดาของโลกให้มาก จักได้เบื่อหน่ายแล้วเข็ด จนไม่อยากจักกลับมาสู้กับโลกที่ไม่เที่ยง และเต็มไปด้วยความทุกข์ มีความสลายตัวไปในที่สุดอย่างนี้อีก
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-10-2016 เมื่อ 17:46 |
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#19
|
|||
|
|||
๑๐. จงเป็นคนทำงาน อย่าทำตัวเป็นคนแบกงาน เพราะงานทางโลกไม่มีใครทำได้เสร็จสมบูรณ์หมดหรอก ทำแต่พอดี ๆ ในทางสายกลาง ใช้ปัญญาให้มาก ใช้สัญญาแต่พอควร จงเป็นนายของงาน อย่าให้งานมาเป็นนายเรา อย่าลืมอารมณ์จิตที่ติดงานเกาะงาน คือยังมิได้ลงมือทำงาน จิตก็วิตกกังวลในงานนั้น ๆ เสียก่อนแล้ว จงอย่าสร้างปัญหาเสียก่อนที่ปัญหาจักเกิด (จงอย่าทุกข์เสียก่อนทุกข์จักเกิด หรือจงอย่าตีตนไปก่อนไข้) แต่ทุกอย่างก็ลงอยู่ในเรื่องของความไม่ประมาททั้งสิ้น ให้ศึกษาธรรมที่ตรัสไว้ในข้อที่แล้วด้วย
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-10-2016 เมื่อ 03:54 |
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#20
|
|||
|
|||
๑๑. การพิจารณาเห็นทุกข์จากการมีร่างกายนั้นเป็นของดีและถูกต้องแต่จิตต้องไม่ทุกข์.. หงุดหงิดเศร้าหมองไปกับมัน ตามหลักจักต้องพิจารณาให้ลงตัวธรรมดาให้ได้ จุดนั้นนั่นแหละคือความถูกต้องที่แท้จริง การเตรียมงานจงอย่าเอาจิตไปเกาะทุกข์ล่วงหน้า ทุกอย่างทำไปตามหน้าที่แล้วรักษาอารมณ์ให้สบาย ๆ อย่าเครียด คอยปรับอารมณ์ลงมาสู่อารมณ์เบา ๆ สบาย ๆ แม้งานจักยุ่งยากเพียงใด จุดนั้นแหละเป็นการวัดอารมณ์ของใจ อย่าให้เครียดหรือเหนื่อยตามงาน เวทนาที่มีอยู่นี้ไม่ใช่เรา ไม่มีในเรา งานจำเป็นต้องทำเพราะเป็นหน้าที่ แต่เมื่อเลิกแล้วก็ปล่อยวาง อย่าไปเครียดตามงาน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-10-2016 เมื่อ 13:46 |
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|