กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องบูรพาจารย์ > พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (หลวงปู่สาย อคฺควํโส)

Notices

พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (หลวงปู่สาย อคฺควํโส) ธรรมะ ชีวประวัติ และคำสอนของหลวงปู่สาย อคฺควํโส

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 10-09-2009, 20:41
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 261
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,689 ครั้ง ใน 1,293 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔

๑. กาเย กายานุปัสสี
๒. เวทนาสุ เวทนานุปัสสี
๓. จิตเต จิตตานุปัสสี
๔. ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี



คัดลอกจากหนังสืออนุสรณ์งานบำเพ็ญกุศลศพ ครบ ๑ ปี
พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (หลวงพ่อสาย อคฺควํโส)
อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน ต. ท่าขนุน อ. ทองผาภูมิ จ. กาญจนบุรี

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ชินเชาวน์ : 12-09-2009 เมื่อ 17:00
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 92 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 10-09-2009, 20:46
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 261
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,689 ครั้ง ใน 1,293 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

กาเย กายานุปัสสี (๖)

๑. อานาปานปัพพะ กำหนดลมหายใจ มีสติหายใจเข้าออก หายใจเข้า-ออกยาว ก็รู้ชัด หายใจเข้า-ออกสั้น ก็รู้ชัด รู้กองลมหายใจเข้า-ออก ระงับลมหายใจเข้า-ออก (เปรียบช่างกลึงชักเชือกยาว-สั้น)
๒. อิริยาปถปัพพะ กำหนดอิริยาบถ เมื่อ เดิน ยืน นั่ง นอน หรือตั้งกายอย่างใดก็รู้ชัด อาการอย่างนั้น
๓. สัมปชัญญปัพพะ กำหนดสัมปชัญญะรู้ทั่ว ก้าวไปหน้า ถอยกลับหลัง แลไปหน้า เลี้ยวซ้าย-ขวา คู้เหยียดอวัยวะเข้า-ออก ทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เดิน ยืน นั่ง นอน หลับ ตื่น พูด นั่ง ก็รู้ทั่ว
๔. ปฏิกูลปัพพะ กำหนดกายปฏิกูล พิจารณากายแต่เท้าถึงผม เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีผม ขน เล็บ ฯลฯ น้ำมูก ไขข้อ มูตร คูถ (เปรียบไถ้มี ปาก ๒ ข้าง) แก้ไถ้ออกจะเห็นในไถ้เต็มไปด้วยธัญญชาติ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร ฉะนั้น
๕. ธาตุปัพพะ กำหนดธาตุ พิจารณากายเป็นธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ (เปรียบคนฆ่าโคขาย) แล้วแบ่งออกเป็นส่วน ฉะนั้น
๖. นวสีวถิกาปัพพะ กำหนดป่าช้า ๙
(๑) เป็นศพตายทิ้งในป่าช้า ขึ้นพองเขียว น้ำเหลืองไหลบ้าง
(๒) ศพที่ฝูงแร้ง กา สุนัข สัตว์ตัวเล็ก ๆ ต่างชนิดกัดกิน
(๓) ศพที่มีเนื้อ เลือด เส้นเอ็นรัดรึงอยู่บ้าง
(๔) ศพที่ปราศจากเนื้อ มีแต่กระดูกเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่บ้าง
(๕) ศพที่มีแต่ร่างกระดูก
(๖) ศพที่เป็นท่อนกระดูก มือ เท้า แขน ขา สะเอว สันหลัง ซี่โครง หน้าอก ไหล่ คอ คาง ฟัน กะโหลกศีรษะ แยกอยู่คนละทิศละทางบ้าง
(๗) ศพที่เป็นกระดูกอยู่กระจัดกระจาย นานเกินปีหนึ่งไปแล้วบ้าง
(๘) ศพที่เป็นกระดูกสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์บ้าง
(๙) ศพที่เป็นกระดูกผุละเอียด ชิ้นเล็กชิ้นน้อยบ้าง


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ชินเชาวน์ : 11-09-2009 เมื่อ 18:47
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 86 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 11-09-2009, 22:08
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 261
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,689 ครั้ง ใน 1,293 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

เวทนาสุ เวทนานุปัสสี


พิจารณาเวทนา (ความเสวยอารมณ์)
- เสวยสุขเวทนาอยู่ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนา
- เสวยทุกขเวทนาก็รู้ชัดว่าเราเสวยทุกขเวทนา
- เสวยอทุกขมสุขเวทนา (จิตใจมันเฉย ๆ ไม่มีสุขหรือไม่มีทุกข์) ก็รู้ชัดว่าเราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
- เสวยสุขเวทนามีอามิส (เจือกามคุณ) ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส (ไม่เจือกามคุณ) ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
- เสวยทุกขเวทนามีอามิสก็รู้ชัดว่าเราเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิสก็รู้ชัดว่าเราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
- เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิสก็รู้ชัดว่าเราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสก็รู้ชัดว่าเราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ชินเชาวน์ : 12-09-2009 เมื่อ 07:48
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 67 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 17-09-2009, 23:05
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 261
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,689 ครั้ง ใน 1,293 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

จิตเต จิตตานุปัสสี


พิจารณาเห็นจิตมีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน เป็นมหรคต (หมายจิตเป็นฌาณหรืออัปปมัญญาพรหมวิหาร) ไม่เป็นมหรคต เป็นสอุตตระ (หมายเอาไม่ถึงอุปจารสมาธิ) เป็นอนุตตระ (หมายเอาอุปจารสมาธิ) ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่น วิมุตติ (หลุดพ้นด้วยตทังคะวิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ) ไม่มีวิมุตติ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 27-09-2009, 19:45
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 261
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,689 ครั้ง ใน 1,293 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี

๑. นิวรณปัพพะ กำหนดนิวรณ์
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมคือ ๑ กามฉันทะ มีในจิต ไม่มีในจิต ยังไม่เกิด ย่อมเกิด ละเสียแล้วไม่เกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ๒ พยาบาท ๓ ถีนมิทธะ ๔ อุทธัจจะ กุกกุจจะ ๕ วิจิกิจฉา
๒. ขันธปัพพะ กำหนดอุปาทานขันธ์ ๕ พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ความดับไปของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
๓. อายตนปัพพะ กำหนดอายตนะพิจารณาเห็นธรรม คืออายตนะภายใน และภายนอกอย่างละ ๖ ว่าสังโยชน์ (เครื่องผูก) ย่อมเกิดขึ้นอาศัย ตา-รูป หู-เสียง จมูก-กลิ่น ลิ้น-รส กาย-โผฏฐัพพะ ใจ-ธรรมารมณ์ ย่อมรู้อันนั้น อนึ่ง สังโยชน์ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้น อนึ่งสังโยชน์ที่เกิดแล้วได้ประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น อนึ่งละสังโยชน์ ที่เกิดแล้วได้ประการใด ย่อมรู้ประการนั้น อนึ่งสังโยชน์ที่ละแล้ว ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
๔. โพชฌงค์ปัพพะ กำหนดโพชฌงค์พิจารณาเห็นธรรม คือสติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เมื่อโพชฌงค์ทั้ง ๗ นี้ มี-ไม่มีกายในจิตของเรา ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดแล้วเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
๕. สัจจปัพพะ กำหนดสัจจะ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรม คืออริยสัจ ๔ นี่ทุกขสมุทัย นี่ทุกขนิโรธ นี่ทุกขนิโรธคามินิปฏิปทา
ทุกข์ คือ ชาติ-ชรา-มรณะ-โสกะ-ปริเทวะ-ทุกข์
โทมนัส-อุปายาสะ ประสบสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก พลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก-ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมประสงค์-อุปาทานขันธ์ ๕
ตัณหา เมื่อจะเกิดย่อมเกิดขึ้น เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่อินทรีย์ ๖ อารมณ์ ๖ วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ ตัณหา ๖ วิตักก ๖ วิจาร ๖ ทุกขนิโรธ เมื่อบุคคลจะละ จะดับ ย่อมละย่อมดับได้ ณ ที่เกิด-ที่ตั้งอยู่ของตัณหา ดังกล่าวข้างบน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือมรรคมีองค์ ๘ สัมมาทิฏฐิ-สัมมาสมาธิ

ภิกษุพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ อันมี กาย-เวทนา จิต-ธรรมที่เป็นภายใน ภายนอก ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้างที่เกิดขึ้น เสื่อมไป ทั้งที่เกิดขึ้นทั้งเสื่อมไปบ้าง โดยมีสติเข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแต่เพียงสักว่ารู้ สักว่าอาศัยระลึก ย่อมไม่ติดอยู่ ไม่ยึดถืออะไรในโลก

พระพุทธเจ้าตรัสพระสูตรนี้ เมื่อเสด็จประทับอยู่ ในหมู่ชนชาวกุรุชื่อกัมมาสะธัมมะว่าเป็นทางอันเอก เป็นที่ไปของบุคคลผู้เดียว เพื่อความหมดจดของสัตว์ เพื่อก้าวล่วงความโศก ความร่ำไร เพื่ออัสดงดับไปแห่งกองทุกข์-โทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม (คืออริยมรรค) เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง

โยหิ โกจิ ภิกขเว ดูก่อนภิกษุ ท่านผู้ใดผู้หนึ่งก็ตาม ถ้าเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ (อย่างถูกต้อง) โดยใช้เวลานานถึง ๗-๖-๕-๔-๓-๒-๑-กึ่งเดือน หรือ ๗ วัน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน คือ
๑. จะต้องได้อรหันตผลในปัจจุบันชาตินี้
๒. ถ้าอุปทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ จะเป็นพระอนาคามีในปัจจุบันชาตินี้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-02-2019 เมื่อ 02:04
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 58 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:09



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว