#1
|
|||
|
|||
พยายามเห็นธรรมดาในธรรมดาให้มาก ๆ
พยายามเห็นธรรมดาในธรรมดาให้มาก ๆ
และเรื่องดีภายนอกกับดีภายใน เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ มิ.ย. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตามาตรัสสอนไว้ มีความสำคัญดังนี้ ๑. “จงทำจิตให้ยอมรับกฎของกรรมโดยความสงบ เรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นกฎธรรมดา” ๒. “ปัญหาใด ๆ เกิดขึ้น จงอย่าใช้อารมณ์แก้ปัญหา จง นิสัมมะ กะระณัง เสยโย ใคร่ครวญด้วยปัญญา เอาปัญญาเข้าแก้ไข” ๓. “ให้หมั่นนึกถึงความตายให้มาก ๆ อย่าลืมทุกลมหายใจเข้า-ออก เจ้าอาจตายได้ ร่างกายมันตาย จิตอย่าเกาะงานให้มากนัก ทำไปเรื่อย ๆ โอนอ่อนผ่อนตามสถานการณ์” ๔. “ยึดหลักเอาจิตปฏิบัติธรรมให้มากที่สุด งานอื่นไม่มีความสำคัญเท่ากับงานทางธรรม ให้ทำงานการซ่อมแซมไป สักแต่ว่าเป็นหน้าที่ จิตระลึกนึกถึงปลายทางเพื่อพระนิพพานไว้เสมอ” ๕. “ปัญหาใด ๆ เกิดขึ้น ก็ให้พิจารณาลงตัวธรรมดาให้หมด อย่าคิดว่า งานซ่อมแซมสำคัญมากกว่าการเอาจิตปฏิบัติธรรม” ๖. “ร่างกายทำหน้าที่ของกาย จิตทำหน้าที่ของจิต พยายามอย่าให้จิตบกพร่องก็แล้วกัน งานซ่อมแซมก็ทำไป เพราะเป็นหลักที่เจ้าจักอยู่วัดได้ ใครจักเห็นความดีหรือไม่เห็นก็ไม่สำคัญ หรือเจ้าคิดจักทำความดีอวดใครเขา” (ตอบว่า ไม่ค่ะ) ๗. “ดีภายนอกก็ควรทำ ดีภายในก็ยิ่งต้องทำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป จุดหมายปลายทางที่เจ้าต้องการจักจบกิจ ก็จงหมั่นคิดถึง จุดหมายปลายทางนั้นให้ขึ้นใจ” (ทรงหมายถึง ทำทุกอย่างก็เพื่อพระนิพพานจุดเดียว) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 03-06-2010 เมื่อ 12:12 |
สมาชิก 47 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
|||
|
|||
๘. พิจารณาอารมณ์ของจิตตนเองไว้เสมอว่า เวลานี้ไปสู่ทิศทางใด ออกนอกลู่นอกทางพระนิพพานหรือไม่ อย่าดูอารมณ์ของผู้อื่น ดูอารมณ์ของเจ้าเอาไว้ให้ดี ๆ
๙. พยายามเห็นธรรมดาในธรรมดาให้มาก ๆ ทุกคนที่ยังตัดสังโยชน์ ๑๐ ไม่ได้ครบ ก็ต้องมีอารมณ์แสดงออกมาเป็นธรรมดา ปกติมันเป็นอย่างนั้น เจ้าจักยึดถืออารมณ์นั้นเพื่อประโยชน์อันใด ๑๐. หลงอารมณ์ เกาะยึดอารมณ์ทำให้จิตเศร้าหมอง นั่นแหละคือจิตหลง เดินทางผิดมรรคผลนิพพาน ๑๑. คิดให้ดี ๆ อย่าวู่วาม จักเสียผลทั้งทางโลกและทางธรรม (อย่าใจร้อน ให้ใจเย็น ๆ) ๑๒. ตั้งใจดีแล้ว ก็ต้องตั้งวาจาและกายให้ดี มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย ๑๓. ทัศนะส่วนตัวจักเป็นอย่างไร พยายามอย่าแสดงออกให้มากนัก จงหมั่นเก็บเอาไว้ในใจ อย่าให้รั่วไหลออกมาทางกายและวาจา จักเป็นผลเสียมากกว่าผลดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องกิจกรรมของวัด ของสงฆ์ แม้จักไม่เห็นด้วย ก็จงอย่าแสดงทัศนะส่วนตัวออกมา |
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
|||
|
|||
๑๔. “ขอให้แต่นี้ไป เจ้าจงหมั่นสงบปาก สงบกายให้มาก ๆ จักเป็นภัยอันตรายย้อนเข้าหาตัว”
๑๕. “เจ้าแย่อย่างนี้มานานแล้ว นับอสงไขยกัป กลับใจเสียใหม่ ถ้าแก้นิสัยอย่างนี้ไม่ได้ เห็นจักเอาดีได้ยาก” (ก็รับว่า จะพยายาม) ๑๖. “หมั่นระลึกถึงการสำรวมอายตนะให้มาก ๆ และหมั่นใช้ปัญญา พิจารณาปัญหาที่เข้ามากระทบทั้งปวงด้วย รู้ธรรมที่เข้ามากระทบ ทุกสิ่งในโลกนี้มันมีแต่ธรรมดา จงทำจิตให้ยอมรับกฎของธรรมดานั้น” ๑๗. “แล้วอย่าทำจิตให้เศร้าหมอง หมั่นกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ควบกับมรณานุสติเอาไว้เสมอ” ๑๘. “เห็นทุกข์ เห็นอนิจจัง เห็นอนัตตา ในธรรมที่เข้ามากระทบเสมอ ๆ และยอมรับตามนั้น” ๑๙. “จิตทรงฌาน รักพระนิพพานเป็นอารมณ์เอาไว้ให้ชิน จิตก็จักมีความสุข คิดมานิดหนึ่ง ระลึกมาหน่อยหนึ่ง เพื่อพระนิพพานจุดเดียว แค่นั้นจิตก็จักเบาสบายใจขึ้น” ๒๐. “เวลานี้ปฏิฆะเริ่มเด่นขึ้นมาอีกแล้ว เจ้าก็อย่าทิ้งภาพพระเป็นอันขาด ระงับราคะแล้ว ก็ต้องระงับโทสะไปในตัว อย่าโง่เกินไป จับโน่นทิ้งนี่ ผลก็เกิดได้ยาก และขอให้คิดดี ๆ ก่อนพูดด้วย” ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๕ รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com |
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|