|
พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) รวมธรรมะจากพระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
||||
|
||||
ปฏิบัติธรรมแล้วไม่ก้าวหน้า
ถาม : มีเพื่อนที่ปฏิบัติธรรมแล้วเขามีความรู้สึกว่า การปฏิบัติธรรมของเขาไม่ก้าวหน้าไปไหนเลย พอปฏิบัติธรรมแล้วก็เหมือนกับอยู่กับที่ เขาได้พยายามทำสมาธิเองอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ไม่ก้าวหน้าขึ้น พอจะมีข้อแนะนำในการปฏิบัติธรรมให้เขามีความก้าวหน้าบ้างไหมคะ ?
ตอบ : ลักษณะการปฏิบัติแล้วไม่ก้าวหน้าประกอบด้วยสาเหตุอยู่ ๒ ลักษณะด้วยกัน อย่างแรก ทำเกิน อย่างที่สอง ทำขาด ถ้าทำพอดีก้าวหน้าทุกคน ทำเกินก็คือเคร่งเครียดจนเกินไป สภาพร่างกายไปไม่ไหว ทำขาดก็คือ ขี้เกียจจนเกินไป ก็เลยไม่ก้าวหน้าด้วย เพราะฉะนั้น...จำเป็นต้องทำให้พอดีถึงจะก้าวหน้า ตัวพอดีพระพุทธเจ้าเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คราวนี้คำว่ามัชฌิมา พอดีตรงกลางนี่ไม่มีอัตราตายตัวว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและจิตใจของเราที่ได้รับการฝึกมา ดังนั้นว่าของคนผู้หนึ่ง มัชฌิมาปฏิปทาของเขาอาจจะนั่งตลอด ๓ วัน ๓ คืนเลย แต่ว่าของเราเองแค่ ๓๐ นาทีก็แย่แล้ว ดังนั้นในการปฏิบัติแรกเริ่ม ถ้าหากว่าเราภาวนาแล้วรู้สึกว่าไม่ไหวก็แล้วอย่าเพิ่งไปเชื่อ ให้ลองฝืนดูนิดหน่อย ถ้าฝืนแล้วไปต่อได้ก็โอเค นี่โกหกแน่เมื่อกี้นี้แสดงว่าเป็นตัวถีนมิทธนิวรณ์ มาหลอกให้เราขี้เกียจ ถ้าหากว่าฝืนแล้วไปต่อได้ก็ควรจะตั้งเวลาไว้สักครึ่งชั่วโมงหรือว่าไม่เกิน ๑ ชั่วโมงแล้วพัก ถ้ามากเกินไปกว่านั้นบางทีก็เป็นการทรมานตัวเองมากเกินไป ยกเว้นบางท่านที่ต้องการดูเวทนา ต้องการจะแยกจิตแยกกายดูว่าอาการของเวทนาเป็นอย่างไร อย่างนั้นเขานั่งกันข้ามวันข้ามคืนนั่งกันจนก้นแตกกันไปข้างหนึ่ง..! แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-12-2016 เมื่อ 03:00 |
สมาชิก 73 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ โอรส ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
อีกอย่างหนึ่งที่ปฏิบัติไปแล้วไม่ก้าวหน้าก็คือ บางทีจะเน้นแต่สมาธิอย่างเดียว ตัวสมาธิกับตัวปัญญาเหมือนกับคนที่ผูกขา ๒ ข้างด้วยโซ่เส้นหนึ่ง ถ้าหากว่าสมาธิไปแล้วปัญญาไม่ตาม ก็เหมือนกับเดินไปสุดแล้วโซ่ก็กระตุกกลับ ดังนั้น...เมื่อภาวนาจนอารมณ์เต็มแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเต็มที่ ก็คือถึงจุดสูงสุดที่ไปต่อไม่ได้ แล้วอารมณ์จะคลายออกมา ตอนอารมณ์คลายออกมานี่สำคัญที่สุด ถ้าหากว่าเราไม่บังคับให้คิดในสิ่งที่ดี ๆ จิตก็จะคิดไปในทาง รัก โลภ โกรธ หลง พาเราฟุ้งซ่านไปเลย เพราะฉะนั้น...เมื่อจิตถอยออกมาก็ให้เราคิดในวิปัสสนาญาณ คือให้คิดพิจารณาให้เห็นในความเป็นจริง ว่าสภาพร่างกายก็ดี โลกเราก็ดี ประกอบไปด้วย ไตรลักษณ์ คือความเป็นจริง ๓ อย่างว่า ๑. ไม่เที่ยง ๒. เป็นทุกข์ ๓. ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายเป็นตัวตนของเราได้
หรือไม่ก็พิจารณาตามแนวอริยสัจ อริยสัจนี่จับแค่ทุกข์กับเหตุของการเกิดทุกข์เท่านั้น ถ้าเรารู้ว่าทุกข์เกิดจากอะไรแล้วไม่สร้างเหตุนั้นทุกข์ก็ดับ ถ้าทุกข์ดับให้เรียกว่านิโรธ ระหว่างที่เราปฏิบัติเขาเรียกว่ามรรค คือหนทางเข้าถึงการดับทุกข์ เพราะฉะนั้น...เราจับแค่ทุกข์กับสมุทัย ๒ ตัวเท่านั้นก็พอ หรือไม่ก็พิจารณาตามแบบของวิปัสสนาญาณ ๙ คือ พิจารณาให้เห็นอย่างเช่น อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นการเกิดแล้วดับ ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นว่าทุกอย่างดับหมด ภยตูปัฏฐานญาณ พิจารณาให้เห็นว่าร่างกายนี้เป็นโทษเป็นภัยเป็นของน่ากลัว จนกระทั่งไปถึงสังขารุเปกขาญาณ คือการปล่อยวางในสังขารทั้งปวง และสัจจานุโลมิกญาณ คือพิจารณาย้อนต้นทวนปลาย ทวนปลายย้อนต้นกลับไปกลับมาให้พิจารณาอยู่ในลักษณะนี้ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-12-2016 เมื่อ 03:02 เหตุผล: แก้ ด้วย |
สมาชิก 67 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ โอรส ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
การพิจารณามีประโยชน์มากตรงที่ว่า เมื่อจิตมีงานทำไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญาจับเฉพาะหน้า สติดำเนินตามไป จิตก็จะดิ่งกลับไปเป็นสมาธิอีกระดับหนึ่ง พอเป็นสมาธิถึงระดับนั้นปุ๊บ เราภาวนาต่อเลย อารมณ์ก็จะทรงตัว ก้าวล่วงลึกเข้าไปอีกระดับ แต่ว่าพอก้าวไปถึงจุดตันก็จะถอยมาอีกทีหนึ่ง เพราะว่าตอนนี้ปัญญาเดินหน้า พอเดินไปถึงจุดตันติดโซ่แล้วก็จะโดนกระตุกกลับ เราก็ก้าวไปต่ออีกด้วยการภาวนา คือ สมาธิ เมื่อภาวนาไปถึงเต็มที่คราวนี้จะกระตุกกลับอีกแล้ว เราก็พิจารณาต่อไป ถ้าทำดังนี้ได้จะก้าวหน้า
ถ้าหากว่าเว้นไปจากเรื่องทั้งหลายเหล่านี้แล้ว บางทีทำเท่าไรพอไปถึงทางตันก็โดนกระตุกกลับ ไปตันก็โดนกระตุกกลับ ก็เลยไม่ก้าวหน้า ให้เขาพิจารณาด้วยว่าตัวเองทำแล้วเหตุที่ไม่ก้าวหน้าเกิดจากเหตุอะไร แล้วแก้ไขเสีย สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๔ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-12-2016 เมื่อ 03:04 |
สมาชิก 65 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ โอรส ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|