|
กระทู้ธรรม รวมข้อธรรมะจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติ |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
|||
|
|||
อานิสงส์ของการบวช พระธรรมเทศนา หลวงปู่ขาว อนาลโย
อานิสงส์ของการบวช (เทศน์อบรมพระเณรที่บวชใหม่ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๖) "การบวชเป็นยอดพระบารมีธรรมทั้งหลายอันวิเศษสามารถดับเพลิงทุกข์และเพลิงกิเลสให้หมดไป " การบวชเมื่อสรุปแล้วมีอยู่ ๒ ประการ คือ ๑. การบวชเล่นหรือการบวชประเพณี มีอานิสงส์น้อย ๒. การบวชจริง เช่น การบวชด้วยความศรัทธา การบวชหนีวัฏฏสงสาร มีอานิสงส์มาก จนสามารถถอนภพชาติไม่มีเหลือการบวชคือการชุบชีวิตเก่าให้เป็นชีวิตใหม่ การบวชคือการชําระล้างความชั่วให้เป็นคนดี การบวชคือการเปลี่ยนสังคมมนุษย์ให้เจริญและก้าวหน้ามีความสงบสุข การบวชคือ การทดแทนหนี้เก่าอันมหาศาล อันบุคคลทั้งหลายไม่สามารถที่จะชดใช้ให้หมดได้ "ตัสมา ปัพพัชชัง วิโสธยา" เพราะเหตุนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงสรรเสริญว่า "การบวชเป็นยอดพระบารมีธรรมทั้งหลายอันวิเศษสามารถดับเพลิงทุกข์และเพลิงกิเลสให้หมดไป การบวชคือการช่วยเหลือมนุษย์ที่หลงตกหลุมถ่านเพลิงและกองทุกข์อันแสนที่เร่าร้อนเจ็บปวด แสนสาหัสให้ขึ้นมาได้โดยความปลอดภัย" ดังนั้น พวกเธอทั้งหลายจงยินดีในการเสียสละชีวิตฆราวาสมาบวชบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา อย่าให้เสียผลที่มุ่งมาอย่าบวชเล่นบวชหัว บวชลักบวชลี้บวชขี้ใส่ถาน (ส้วม) "การบวชต้องอาศัยสิ่งสําคัญ ๒ อย่างคือ บวชกาย ๑ บวชใจ ๑ คือ บวชทั้งกายทั้งใจได้ชื่อว่า พระ คือ ประเสริฐหรือสมณะแปลว่า ผู้สงบ ผู้สงบคือ ผู้ชนะ ผู้ใดละผู้นั้นร่ำรวย รวยอะไรเล่าก็รวยอริยทรัพย์นั้นซิ อริยทรัพย์คือทรัพย์ภายใน ได้แก่ บุญกุศล" บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อนขาดทุนน่ะไม่ดีเป็นบาป "กุโสยถา ทุคคหิโต" หญ้าคาย่อมบาดมือคนกําไม่แน่นฉันใด บรรพชิตคือนักบวชมาเหยียบย่ำคัมภีร์วินัย ไม่เอาใจใส่ศึกษาและตั้งใจปฏิบัติตามธรรมคําสั่งสอนของศาสนา เขาเหล่านั้นย่อมไปตกนรก ผ้ากาสาวพัสตร์เหลืองอร่ามงามตาก็ไม่กล้าสามารถรับรองพวกท่านทั้งหลายมิให้ตกนรกได้ ความชั่วเปรียบเหมือนอุจจาระ ภาชนะที่รองรับถึงจะเป็นเนื้อทอง ก็ไม่พ้นความหม่นหมองฉะนั้น "การบวชต้องอาศัยสิ่งสําคัญ ๒ อย่างคือ บวชกาย ๑ บวชใจ ๑ คือ บวชทั้งกายทั้งใจได้ชื่อว่า พระ คือ ประเสริฐหรือสมณะแปลว่า ผู้สงบ ผู้สงบคือ ผู้ชนะ ผู้ใดละผู้นั้นร่ำรวย รวยอะไรเล่าก็รวยอริยทรัพย์นั้นซิ อริยทรัพย์คือทรัพย์ภายใน ได้แก่ บุญกุศล" ผู้บริบูรณ์ด้วยอริยทรัพย์แล้ว โบราณว่า "กินไม่บก จกไม่ลง" คือ กินเท่าไหร่ก็ไม่หมด ไม่มีบกพร่องไม่มีขาดมีเขิน เจริญอยู่ทุกเมื่อ คัดลอกมาจาก หนังสือ หลวงปู่ขาว อนาลโย พระอรหันต์แห่งถ้ำกลองเพล แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 22-05-2009 เมื่อ 13:50 |
สมาชิก 72 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ แก้ว ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
|
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ อารักษ์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|