|
ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน รวมประวัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพจากทั่วเมืองไทย |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
||||
|
||||
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อเงิน สอนคนขอหวย มีเรื่องเล่ากันว่าวันหนึ่ง มีหญิงชาวสุพรรณ ๒ คน เดินทางมาหาหลวงพ่อเงินถึงวัดดอนยายหอม ที่รู้ว่าเป็นชาวสุพรรณ เพราะสำเนียงพูดก็เสียงเหมือนชาวดอนยายหอมนั่นแหละ แต่หางเสียงฟังออกว่าเป็นชาวสุพรรณ เมื่อพบหลวงพ่อแล้ว ก็พูดจาตรงไปตรงมาตามประสาชาวบ้าน "เขาลือกันว่าหลวงพ่อเก่งนักเก่งหนา ฉันอยู่ไกล ก็ต้องอุตส่าห์บากบั่นมาหา เพราะความยากจนนั่นแหละ จะมาหาหลวงพ่อขอหวยไปแทงให้รวยสักที" หลวงพ่อฟังแล้วก็ยิ้ม ตอบด้วยน้ำเสียงราบเรียบแต่มีกังวานแจ่มใสเหมือนดังมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เหมือนเสียงของพระอินทร์พระพรหมก็ปาน " โยม...การที่โยมอุตส่าห์บุกน้ำข้ามคลองมาแต่บ้านไกลเมืองไกล ก็เพราะศรัทธาเลื่อมใสในตัวฉัน ฉันก็เห็นใจโยมมากว่านับถือฉันจริง แต่ว่าฉันก็เสียใจที่ทำให้โยมต้องผิดหวังมาก ของที่โยมทั้งสองต้องประสงค์นั้น ฉันไม่มีจะให้ เพราะฉันก็ไม่ได้รู้จักกับขุนบาลหวยที่ไหนเลย จะได้รู้ว่าเขาออกตัวอะไร แล้วก็จะบอกให้โยมเอาไปแทง ถ้าฉันรู้ว่าหวยมันออกตัวอะไรแล้ว ฉันจะมัวโง่อยู่ทำไมละโยม ฉันก็จะใช้ให้เด็กมันไปแทงเสียเองมิดีหรือ จะได้เอาเงินมาสร้างวัดให้มันสวยงามกว่านี้" โยมทั้งสองผู้ศรัทธาก็นั่งงงอยู่ "อย่าไปหลงมันเลยโยม การพนันนั้นมันเป็นหนทางของคนตาบอดเขาเดินกัน คือมันมีแต่จะต้องเดาสุ่มเอา มองเห็นชัด ๆ อย่างคนตาดี ๆ นี้นะไม่มีหรอก โยมก็เป็นคนมีอายุมากแล้ว แต่ก็ยังดีที่ตาของโยมยังไม่บอดยังไม่ฟาง แล้วโยมจะทำตัวเป็นคนตาบอดตาฟางให้คนอื่นเขาหลอกลวงทำไม การพนันนั้น ไม่ผิดอะไรกับเบ็ดที่เขาเกี่ยวเหยื่อไว้ตกปลา ปลามันโง่ก็มองไม่เห็นเบ็ด คิดว่าเป็นอาหารจึงมากินเบ็ด หมดตัวเมื่อไรจึงจะรู้ว่าเดินทางผิด มีบ้างไหมคนที่เล่นการพนันแล้วร่ำรวย สร้างหลักฐานได้ ไม่เช่นนั้นรัฐบาลท่านเป็นพ่อแม่เรา ท่านคงไม่ห้ามหรอก อีกอย่างหนึ่งเงินเป็นของมีค่ามีคุณ เป็นของที่ควรจะเก็บรักษาไว้ไม่ใช่ของเล่น ถ้าเอาเงินมาเล่นเสียแล้ว เงินจะอยากอยู่กับเราหรือ เพราะดูถูกเงิน เอาเงินไปทำเป็นของเล่นเสียแล้ว" หญิงทั้งสองนั่งฟังเงียบ สงบนิ่ง จนได้ยินเสียงหัวใจเต้น หลวงพ่อจึงเทศน์โดยไม่ต้องติดกัณฑ์เทศน์ เป็นการเทศน์นอกธรรมาสน์ต่อไปอีกว่า "สมบัติทางโลกนั้น มันไม่ใช่ของแท้แน่นอนอะไรหรอกโยม ถึงโยมจะถูกหวยรวยเงินอาจจะมีโจรมาทุบตีปล้นเอาไปได้ แต่ถ้าโยมทำบุญทำกุศลไว้ โจรที่ไหนมันจะมาปล้นเอาไปได้" ที่มา : http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=8439
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 24-05-2009 เมื่อ 03:14 |
สมาชิก 74 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เป็นพระอาจารย์อีกท่านหนึ่งของหลวงพ่อเล็กค่ะ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม |
สมาชิก 63 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
ปาฐกถาอวดดี
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖ ทางคณะสงฆ์ภาค ๗ ได้จัดให้มีการตรวจข้อสอบนักธรรมสนามหลวง ที่ลานพระปฐมเจดีย์ เมื่อตรวจเสร็จแล้ว สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิท เขมจารี) สมัยเป็นพระเทพเวที รองเจ้าคณะภาค ๗ ได้ จัดพระภิกษุจากจังหวัดต่าง ๆ ในภาค ๗ ส่งผู้แทนจังหวัดขึ้นมาปาฐกถาอวดของดีในบ้านเมืองของตน จังหวัดไหนมีของดีอะไรให้นำเอามาพูดเป็นการแสดงปฏิภาณโวหารกัน เป็นที่สนุกครื้นเครงไปตามประสาของพระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ในวงการของท่าน จังหวัดสุพรรณ ก็คุยว่า สุพรรณเมืองขุนแผน นางพิมพิลาไลย เป็นคนเก่งคนสวย ขุนช้างก็เป็นคนรวย ใครไปสุพรรณสามวันก็รวย ขาไปขี่ม้าขามาต้องขี่ควาย พระเครื่องผงสุพรรณก็เป็นพระดีมีค่า พระกำแพงศอกสุพรรณก็กันไฟได้ จังหวัดกาญจนบุรี ก็ลุกขึ้นมาคุยว่า มีบ่อพลอย มีน้ำตกไทรโยคไหลฉาดฉาน ไหลตระการเสียงดังจ๊อก ๆ โครม ๆ มีนกยูงทอง มันร้องโด่งดังเสียงมันดังกระโต้งโห่ง ๆ แม้เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินยังหลงใหลความงดงามธรรมชาติของเมืองกาญจน์ จังหวัดราชบุรี ก็ลุกขึ้นมาคุยว่า มีคนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง ไม่มีคนโกงเหมือนเมืองเพชร ไม่มีคนเคว็ด เหมือนสุพรรณ มีถ้ำจอมพลสวยงาม จังหวัดสมุทรสาคร ก็คุยว่า มีโป๊ะ มีปลาเป็นอาหารของชาวโลก มีพันท้ายนรสิงห์ ชื่อเสียงโด่งดัง จังหวัดสมุทรสงคราม โดยท่านเจ้าคุณสมุทรโมลี ก็คุยว่า มีหลวงพ่อบ้านแหลมอันศักดิ์สิทธิ์ มีน้ำตาลมะพร้าว พริกบางช้าง เป็นเมืองต้นกำเนิดราชวงศ์จักรีของดีจากเมืองกาญจน์ เมืองราชบุรี ก็ไหลตามแม่น้ำแม่กลองไปรวมอยู่ที่สมุทรสงคราม จังหวัดเพชรบุรี ก็คุยว่า มีต้นตาลมากมาย ถึงเมืองสุพรรณบุรี จะมีต้นตาลมากมายก็ยังมีน้อยกว่าเมืองเพชรบุรีอยู่อีกต้นหนึ่ง คือต้นยอดด้วน นอกนั้นก็มีข้าวเกรียบเมืองเพชร ขนมหม้อแกงเมืองเพชร เขาวังเมืองเพชร หาดเจ้าสำราญ หาดชะอำ มีถ้ำอันสวยงาม มีน้ำตกท่ายาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ท่านมหารูปหนึ่งรูปร่างล่ำ ๆ ขึ้นมาคุยว่า มีหาดทรายชายทะเลหัวหิน มีหนุ่มสาวชาวกรุง นุ่งน้อยห่มน้อย ไปเที่ยวกัน บางทีก็มีฝรั่งมาอาบแดดน่าดูนักหนา แม้แต่พระราชาก็ยังมาสร้างพระราชวังไกลกังวลไว้ที่เมืองนี้ พอถึงจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นเจ้าบ้าน แทนที่จะคัดเลือกเอาพระมหาเปรียญนักเทศน์ผู้ปราดเปรื่องคล่องแคล่วคารมโวหารดีขึ้นพูดแข่งกับเขา กลับเลือกเอาพระภิกษุแก่ชรารูปหนึ่งขึ้นมาพูด พระภิกษุแก่ชราองค์นั้น อายุ ๖๓ ปีแล้ว คือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเงินพระภิกษุวัยชรา ร่างใหญ่ ห่มจีวรสีคล้ำเป็นแก่นขนุนลุกงุ่มง่ามขึ้นมาหน้าไมโครโฟน พนมมือหลับตาว่าคาถาอะไรอยู่ครู่หนึ่ง ขณะนั้นผู้เขียนฟังอยู่ด้วย นึกในใจว่า หลวงพ่อเงิน แย่คราวนี้เอง จะไปพูดสู้พระมหาเปรียญเขาได้หรือ ? หลวงพ่อเงินเอ่ยขึ้นว่า "ข้าแต่ท่านทั้งหลาย !" ประโยคแรกเท่านั้น ที่ประชุมหัวร่อฮาลั่นเลย "นครปฐมเป็นเมืองเก่า" (ฮา) "เป็นเมืองของคนแก่" (ฮา) "เขาก็เลยเลือกเอาคนแก่มาพูด" (ฮา ๆ ๆ) "มันช่างเหมาะสมกันดีแท้ ๆ " (ฮา ๆ ๆ ๆ) "นครปฐมเป็นเมืองดี เพราะมีพระปฐมเจดีย์" (ฮา) "นครปฐมเป็นเมืองดี เพราะเดิมชื่อว่าเมืองทวาราวดี" (ฮา) "นครปฐมเป็นเมืองดี เพราะเดิมเขาเรียกว่า สุวรรณภูมิ แปลว่า ทองดี" (ฮา) "นครปฐมเป็นเมืองดี เพราะเดิมเป็นที่ตั้งของเมืองนครไชยศรี แปลว่า ที่มีชัยชนะอันดี" (ที่ประชุมฮาตึงเลย) " นครปฐม เป็นเมืองดี เพราะพระโสณเถระ พระอุตระเถระ อันเป็นพระสาวกชั้นดี ได้นำเอาพระพุทธศาสนาอันดี มาเผยแพร่ด้วยดี ก็เลยต้องเลือกเอาเมืองดี พระโสณพระอุตระเลือกเอาเมืองนครปฐมเป็นเมืองแรกที่เผยแพร่ของดี เมืองนครปฐมจึงต้องยืนยันว่าเป็นเมืองดี" ที่ประชุม ฮากันอยู่นานตอนนี้ " นครปฐม เป็นเมืองดี เพราะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันใหญ่โต และสูงที่สุดในเมืองไทยอันเราได้มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ คือ พระปฐมเจดีย์" (ตอนนี้พระถึงแก่ตบมือกราวใหญ่) ใคร ๆ ฟังแล้วก็ต้องยอมรับกันว่าเป็นปาฐกถาที่สั้นที่สุด มีสาระที่สุด น่าฟังที่สุด มีคารมคมคายเฉียบแหลมที่สุด ผู้ฟังเกิดอารมณ์ร่วม เกิดอารมณ์ขันมากที่สุด ไม่มีปาฐกถาของผู้ใดจะเสมอเหมือน เป็นตัวอย่างของนักพูด นักปาฐกถาที่น่าศึกษาที่สุด ที่หลวงพ่อเงินใช้เวลาพูดด้วยท่วงทำนองจังหวะลีลาอันอ่อนน้อมเหมือนฟังดนตรี ด้วยน้ำเสียงอันกังวานแจ่มใสไพเราะเสนาะโสตอย่างน่าอัศจรรย์
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 24-05-2009 เมื่อ 12:40 |
สมาชิก 73 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
||||
|
||||
นี่ถ้าเถรีได้อยู่ในบรรยากาศจริงคงฮาจนท้องแข็งแน่นอนค่ะ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม |
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
||||
|
||||
ทำนอกรีต
คราวหนึ่ง มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ แต่งตัวภูมิฐานแบบขุนนางสมัยเก่า เดินอย่างสง่าเข้าไปหาหลวงพ่อ เมื่อเชิญให้นั่ง เขาก็เอ่ยขึ้นมาว่า "นี่ท่านเป็นหมอด้วยหรือ เห็นมีหยูกยาเยอะแยะ ?" "อาตมาไม่ได้เป็นหมอ ยาที่มีอยู่นี้ มีไว้ใช้เองยามป่วยไข้ แต่ถ้าชาวบ้านมาขออาตมาก็แจกไปเป็นทาน" "อ้าวก็เมื่อท่านไม่มีวิชาทางการแพทย์แล้ว จะแจกยาส่งเดชไปได้อย่างไร คนไข้เอาไปกินผิดหยูกผิดยา เป็นอันตรายเกิดตายขึ้นมาจะไม่ผิดกฎหมายหรือ ท่านทำนอกรีตแล้วละ" "ถึงแม้อาตมาจะทำนอกรีตนอกลู่นอกทางก็ไม่มีเจตนาทำร้ายใคร มีแต่เจตนาดีจะช่วยเขา จึงไม่ถือว่าผิดศีลธรรมผิดวินัย" "กฎหมายนั้นถึงจะวางบทไว้อย่างไร แต่ก็ไม่เคยช่วยคนไข้คนป่วยในตำบลนี้เท่าที่อาตมาเคยช่วย" "นายแพทย์และยาหลวง ก็มีอยู่แต่ในเมือง ช่วยได้แต่คนในเมือง" "ส่วนคนในตำบลนี้ รัฐบาลก็ไม่เคยช่วย ไม่ได้ตั้งสุขศาลาขึ้น ไม่มียา ไม่มีแพทย์ คนที่ยากจนก็ต้องยอมตายอยู่กับบ้านกันทั้งนั้น" "อาตมาเห็นว่า เพื่อนมนุษย์ตาดำ ๆ ป่วยไข้ได้ทุกข์ต้องช่วยกันไปตามมีตามเกิด จะว่าอาตมาทำผิดกฎหมายก็ยอมละ แต่จะให้อาตมาผิดศีลผิดธรรมยอมนิ่งดูดาย ไม่ช่วยเหลือคนอื่นนั้นอาตมาทนอยู่ไม่ได้" "อาตมานึกอยู่เสมอว่า ตำรายาของอาตมาไม่ใช่ตำรายาพิษ หากเป็นยาพิษ บรรพบุรุษของอาตมาคงไม่สืบอายุกันมาถึงอาตมาได้ คงตายกันหมดสิ้นไปแล้ว" "ไข้ต่าง ๆ นี่ ท่านรู้หรือเปล่าว่า มันมีอยู่กี่ร้อยกี่พันชนิด ?" "มี ๓ ชนิด" "เอ๊ะ โรคอะไรของท่านมี ๓ ชนิด ?" "หนึ่งโรครักษาก็หาย ไม่รักษาก็หาย สองรักษาก็ตาย ไม่รักษาก็ตาย สามโรครักษาจึงหาย" ชายผู้นั้นนิ่งไปสักครู่ แล้วถามต่อไปอีก "ที่ท่านรดน้ำมนต์ไล่ผีนั้นนะ ท่านเชื่อหรือว่าผีมีจริง ?" "ผีมีจริง" "รู้ได้อย่างไรว่าผีมีจริง ?" "พระพุทธเจ้าบัญญัติว่าภิกษุองค์ใดผีเข้าสิงไม่ต้องทำสังฆกรรม ผีเข้าสิงภิกษุเวลาสวดพระปาฏิโมกข์ให้หยุดสวดพระปาฏิโมกข์ได้ ก็ต้องเชื่อว่าผีมีจริง เหมือนที่เขาว่าพระพุทธเจ้ามีจริง" หลวงพ่อสำทับว่า "ถ้าเราไม่เชื่อพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนก็เท่ากับเราไม่เชื่อว่ามีพระพุทธเจ้า เท่ากับเราไม่มีศาสนา" ชายผู้นั้นเขาว่าเป็นเจ้าเมืองนครปฐมสมัยนั้น มีศักดิ์เป็นพระองค์เจ้ามีพระนามว่า พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพย์อาภา ภายหลังก็มาเป็นสานุศิษย์ของหลวงพ่อเงิน ลูกศิษย์หลวงพ่อเงิน จึงมีพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพย์อาภา พระองค์หนึ่ง เป็นเจ้าเมืองนครปฐม
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 25-05-2009 เมื่อ 08:15 |
สมาชิก 69 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#6
|
||||
|
||||
พรหมวิหาร ๔
น้ำใจของหลวงพ่อเงินนั้น ผู้ใกล้ชิดก็จะแลเห็นได้ว่า เป็นที่สถิตของพระพรหมได้จริง ๆ เพราะหลวงพ่อมีน้ำใจเป็นพรหมวิหารจริง ๆ วงศ์ญาติของหลวงพ่อกับลูกศิษย์และคนอื่นไกลที่ไปหา หลวงพ่อมีน้ำใจต่อคนเหล่านั้นเสมอเหมือนกัน น้ำใจอันกว้างขวางดุจน้ำใจของพระพรหม แผ่ไปในคนทั้งหลายทั่วหน้า แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน หลวงพ่อเป็นพระที่มีเมตตาบารมีสูงมาก " ฉันสอนคนไหนก็สอนด้วยความเมตตา ฉันแผ่เมตตาแก่ทุกคน เจตนาดีต่อเขาอย่างแรงกล้าจนเป็นเมตตานุภาพ น้อมจิตของเขาให้มีแต่ความภักดี เกิดความเชื่อถือ จิตของเขาก็อ่อนโยนลง เราจะบังคับจิตของเขาให้ไปทางไหนก็ได้ เรื่องอำนาจจิตนี้ ฉันฝึกฝนมาแรมปี พอจะน้อมใจคนให้อ่อนลงได้" "คนใดฉันสอนไม่ได้ แสดงว่าคนนั้นมีกรรมหนัก ไม่สามารถช่วยได้ จัดอยู่ในจำพวกที่เรียกว่า "เรียกไม่ลุกปลุกไม่ตื่น" ต้องปล่อยไปตามกรรม" เรื่องแผ่เมตตานี้ หลวงพ่อพูดอยู่เสมอแม้แต่คนขนาดอ้ายเสือ หรือโจรหลวงพ่อก็บอกว่า "ก่อนนอนให้แผ่เมตตาไว้ โจรผู้ร้ายมันก็สงสารเรา มันปล้นฆ่าเราไม่ลงหรอก" "โจรจะปล้นจะฆ่าเรา เราก็ว่า น่าสงสารจริงเจ้าโจรเอ๋ย ช่างโง่งมงาย ไม่รู้จักบาปกรรม" " ถ้าพบนักเลงอันธพาล เพ่งมองเราอย่างไม่พอใจ แทนที่จะมองตอบด้วยสายตากล้าแข็ง คิดโกรธ คิดร้ายตอบ เราก็นึกสงสารเขา คิดว่าเขาเป็นมิตรเรา เขาคงจะเข้าใจผิดต่อเรา จิตใจอันกล้าแข็งของเขาก็จะอ่อนลง คลายความดุดันโหดเหี้ยมลงได้" เรื่องนี้ผู้เขียนเชื่อว่าจริง และการที่เราไม่คิดต่อสู้ หรือคิดประทุษร้ายตอบเขานั้น เขาย่อมพ่ายแพ้ภัยตัวเอง เขาย่อมได้รับโทษรับภัยเอง
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม |
สมาชิก 67 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#7
|
|||
|
|||
มีหนังสือเกี่ยวกับคำสอนของหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เล่มไหนที่พอจะแนะนำให้หนูได้บ้างคะ?
อยากอ่านทั้งเล่มเลยค่ะ (คอยน้องเถรีโพสต์ให้อ่านวันละเรื่อง สองเรื่อง มันไม่จุใจค่ะ จะเร่งให้น้องเขาโพสต์เยอะ ๆ ก็เกรงใจเขา ภาระหน้าที่เขามากค่ะ) |
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สไบเงิน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#8
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
ตอนแรกหนังสือเรื่องนี้เขียนโดยนายชื่น ทักษิณานุกูล ซึ่งเป็นศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อเงิน ต่อมาเมื่อนายชื่นเสียชีวิต นายเทพ สุนทรศารทูล ซึ่งเคยบวชกับหลวงพ่อเงิน ก็มาเขียนต่ออีกทีหนึ่งค่ะ ถ้าวันละเรื่องสองเรื่องไม่จุใจ เดี๋ยวน้องจัดให้ค่ะ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 26-05-2009 เมื่อ 21:05 |
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#9
|
||||
|
||||
ประวัติชีวิตของหลวงพ่อเงิน
หลวงพ่อเงิน เป็นพระภิกษุมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ มีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่พระราชธรรมาภรณ์ แต่คนทั้งหลายรู้จักในนามของ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเงิน เป็นบุตรของนายพรหม และนางกรอง ด้วงพูล ราษฎรตำบลยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม มีอาชีพทำนา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คน คือ ๑.นายอยู่ ด้วงพูล ๒.นายแพ ด้วงพูล ๓.นายทอง ด้วงพูล ๔.พระราชธรรมาภรณ์ (เงิน ด้วงพูล) ๕.นายเนียม ด้วงพูล ๖.นายแจ้ง ด้วงพูล ๗.นายเมือง ด้วงพูล นายพรหม ด้วงพูล โยมบิดาของหลวงพ่อเงินนั้น เป็นอุบาสกผู้เคร่งครัดในศีลธรรม เคยบวชเรียนมา ๓ พรรษา มีความชำนาญในทางสมถะภาวนา ได้ฌานโลกีย์ สามารถเข้าฌานเพ่งจิตเห็นอะไรได้ทั้งใกล้ไกล ลี้ลับอย่างไรก็รู้ได้แจ้ง ใครมีทุกข์เดือดร้อนอะไร ไปหาก็ดูให้ นายพรหมสามารถบอกได้ถูกต้อง นอกจากนั้นยังเป็นแพทย์แผนโบราณด้วย ใครป่วยไข้ก็ไปหาให้ประกอบยารักษาโรคให้ คาถาอาคมก็ได้รับความนับถือ โดยเฉพาะทางเมตตามหานิยม และเสกหุ่นพยนต์สำหรับเฝ้าบ้าน เรื่องนี้มีคนเล่าลือนับถือกันอยู่ในสมัยนั้น เล่ากันว่า นายพรหม มีความเชี่ยวชาญทางกสิณมาก ถึงขนาดผักตบชวาที่ลอยน้ำมาในลำคลอง นายพรหมก็สามารถเพ่งกสิณสำรวมจิตบังคับให้ผักตบชวาลอยทวนกระแสน้ำไหลได้ เล่าลือกันถึงกับว่า แม้เรือเหาะ เรือบินที่แล่นอยู่บนอากาศ เมื่อเพ่งกระแสจิตไปก็ทำให้เรือบินหยุดอยู่กับที่ได้ด้วย คนทั้งหลาย จึงนับถือนายพรหม ด้วงพูล เป็นอาจารย์ เรียกกันว่า อาจารย์พรหม หรือหมอพรหม เป็นที่รู้จักนับถือกันอยู่ในสมัยนั้น เอาเป็นว่า นายพรหม ด้วงพูล โยมบิดาของ หลวงพ่อเงินนั้น มีความรู้ ความชำนาญทางเพ่งฌานสมาบัติ เป็นที่นับถือของชาวบ้านทั้งหลายในสมัยนั้น ซึ่งได้ถ่ายทอดมาสู่บุตรชายคือหลวงพ่อเงินด้วย
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 27-05-2009 เมื่อ 07:12 |
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#10
|
||||
|
||||
กำเนิดอภิชาตบุตร
เมื่อบุตรชายคนที่ ๔ ของอาจารย์พรหม จะมาเกิดนั้น นางกรองผู้ภรรยาได้ฝันว่า ได้ยินเสียงดังอู้มาแต่ไกล ๆ คล้ายมีลมพายุพัด จึงออกไปดูที่ชานเรือน ก็แลเห็นวัตถุสีเหลือง ลอยมาจากท้องฟ้า ต้องแสงอาทิตย์เหลืองอร่ามดั่งสีทองคำ เมื่อวัตถุนั้นลอยลงมาใกล้ ก็ตกใจแทบสิ้นสติ เพราะสิ่งที่กำลังลอยลิ่วลงมานั้นคือ พญานาคตัวใหญ่เกล็ดสีเหลืองเหมือนทองคำ พญานาคนั้นชูเศียรขึ้น แลบลิ้น แล้วพูดกับนางกรอง เป็นภาษามนุษย์ว่า "แม่จ๋า อย่าตกใจเลย ฉันไม่ได้มาร้ายหรอก ฉันมาดี ฉันจะมาขออาศัยอยู่ด้วย" พูดเท่านั้น พญานาคก็เลื้อยเข้ามาหา นางกรองก็ร้องหวีดตกใจตื่นขึ้น เนื้อตัวสั่น เล่าความฝันให้สามีฟัง อาจารย์พรหม พิจารณาความฝันของภรรยา ประกอบกับดูฤกษ์ยามตามตำราก็ทำนายฝันว่า "เราจะได้บุตรชายที่มีบุญวาสนา มีวิชาความรู้ มีศีลมีธรรม มีชื่อเสียง ลูกคนนี้จะได้บวชเป็นสมภารเจ้าวัด มีบุญฤทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นที่นับถือของคนทั่วบ้านทั่วเมือง เพราะขึ้นชื่อว่างูนั้น ย่อมมีพิษ นี่ขนาดพญานาค แล้วก็ลอยลงมาจากฟากฟ้า ซึ่งมีเกล็ดสีทองด้วย" นับแต่วันนั้นมา นางกรองก็ตั้งครรภ์หนที่ ๔ นางกรองมีผิวพรรณผ่องใส ใคร ๆ ก็ทักทายว่าจะได้บุตรหญิง เพราะได้ลูกชายมาแล้วถึง ๓ คน นางกรองรู้สึกเบื่ออาหารของคาวจำพวกเนื้อสัตว์ทั้งหลาย อยากจะกินแต่ผักผลไม้ อยากจะกินแต่ขุยปูนาในท้องทุ่ง ไปขุดเอาดินขุยปูอันละเอียดนั้นมาเผากินอยู่เสมอ (เรื่องกินดินขุยปูในท้องนานี้ เคยเห็นแม่ของผู้เขียนไปขุดเอามาเผากินเหมือนกัน ผู้เขียนก็เคยชอบกินด้วย รสมัน ๆ ดี คล้าย ๆ รสอะไรก็บอกไม่ถูก) ครั้นท้องครบกำหนดทศมาส ๑๐ เดือนทางจันทรคติ คือ ๒๘๐ วัน ที่พระจันทร์เดินรอบโลก ก็เป็นวันที่มีโฉลกโชคชัยมงคล ตรงกับ วันอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีขาล สุริยคติ ตรงกับวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๓ นางกรองก็คลอดบุตรเป็นชาย ร่างกายสมบูรณ์ ผิวพรรณขาวสะอาดสะอ้าน ผิดกว่าลูกคนก่อน ๆ มีปานขาวอยู่ที่หน้าอกข้างซ้าย มีปานแดงอยู่ที่ต้นแขนซ้าย เป็นรูปใบโพธิ์ ทำให้พ่อแม่พี่น้องดีใจมาก เพราะลักษณะมีบุญวาสนา เพราะปานสีแดงรูปใบโพธิ์นี้ เป็นเครื่องหมายบอกว่า เป็นพระโพธิสัตว์อุบัติเกิดมาเพื่อสร้างบารมี พูดกันตามภาษาชาวบ้านก็ว่า ผู้มีบุญมาเกิด รูปร่างลักษณะก็ต้องโฉลก พ่อแม่ก็จะโชคดี เพราะมีอภิชาตบุตรมาเกิดในตระกูล ก็สมจริงเพราะตั้งแต่บุตรคนที่ ๔ เกิดมา พ่อแม่ก็ทำมาหากินได้ผลอุดมสมบูรณ์พูนเกิดขึ้นอย่างทันตาเห็น เรียกว่า "ลาภผลพูนทวี" จึงได้ตั้งชื่อบุตรชายคนนี้ว่า "เงิน" เพราะเกิดมาทำให้พ่อแม่มีเงินมั่งคั่งขึ้น เด็กชายเงิน บุตรชายคนนี้ เติบโตขึ้นก็มีนิสัยดี ไม่ประพฤติเกเรอะไรเลย ไม่เคยพูดจาคำหยาบคาย ด่าทอใครก็ไม่เป็น ผิดกว่าลูกชายชาวบ้านชายไร่ชาวนาทั้งหลาย อาจารย์พรหมสอนหนังสือให้ที่บ้าน ก็เรียนเก่ง จำแม่นตั้งใจเรียน เรียนหนังสือเก่งเกินวัย เป็นคนขยันขันแข็ง และมัธยัสถ์อดออม พ่อแม่ให้สตางค์ก็ไม่เคยใช้ ไม่เคยเที่ยวงานวัด หิวก็กินข้าวที่บ้าน เวลาไปวัดทำบุญ แทนที่จะไปเที่ยวดูลิเก ก็ช่วยพระทำงานวัด ชอบปรนนิบัติรับใช้พระในวัด นิสัยผิดแปลกกว่าลูกชายชาวบ้านทั้งหลาย จนกระทั่งอาจารย์พรหมพูดด้วยความภาคภูมิใจว่า "พ่อเงินนี้ ถึงใครจะเอาลูกสาว ๕ คนมาแลกก็ไม่ต้องการ"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม |
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#11
|
||||
|
||||
ออกบวชในพุทธศาสนา
หลวงพ่อเงินเมื่อเติบโตเป็นหนุ่มขึ้นนั้น รูปร่างแข็งแรงสมบูรณ์สูงใหญ่ผึ่งผาย ผิวพรรณสะอาด หน้าตาจัดว่าเป็นชายหนุ่มรูปงามในตำบลนั้น แต่ก็เป็นการประหลาดอยู่ไม่น้อยที่ไม่มีนิสัยเจ้าชู้เลย จึงไม่เคยมีคู่รักคู่ใคร่เหมือนหนุ่มชายคนอื่น ไม่ชอบเที่ยวเตร่ไปไหน เหล้าไม่ดื่ม การพนันไม่เล่น อยู่แต่บ้านทำแต่งาน ทำอะไรก็เรียบร้อยประณีต สะอาดเรียบร้อย ทุก ๆ อย่าง เรียกว่า ผู้หญิงสาว ๆ ก็สู้ไม่ได้ อาจารย์พรหมและนางกรอง บิดามารดา จึงมักจะพูด อยู่เสมอ ๆ ว่า "เอาลูกสาว ๕ คนมาแลกก็ไม่เอา" มีความหมายว่า ถึงผู้หญิง ๕ คนรวมกัน ก็สู้ลูกชายคนนี้ไม่ได้ ครั้นเมื่ออายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ครบบวชแล้ว บิดามารดา จึงได้จัดการบวชให้ตามประเพณี พ่อแม่และลูกชาย มีความคิดตรงกัน คือบวชอย่างประหยัด ไม่จัดงานบวชอย่างเอิกเกริกมโหฬารอะไร ไม่มีการแห่แหน ไม่มีลิเกฉลองเหมือนอย่างชาวบ้านทั่วไป เพียงแต่บอกญาติมิตรคนที่เคารพนับถือกัน จัดเครื่องอัฐบริขาร แล้วก็พากันไปวัด เดินประทักษิณเวียนโบสถ์ ๓ รอบ แล้วก็เข้าโบสถ์ ทำพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ สำเร็จเป็นภิกษุภาวะ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๓ เวลา ๑๘.๑๕ นาฬิกา พระอุปัชฌาย์ให้ฉายาว่า "จนฺทสุวณฺโณ" ตามตำราการตั้งฉายาตามวันเกิดของคนวันอังคาร วรรค จ.ฉ.ช.ฌ.ญ. พระอุปัชฌาย์ คือหลวงพ่อฮวย เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม เป็นที่น่าแปลกอยู่ประการหนึ่งคือ ในขณะทำพิธีอุปสมบทนั้น ได้เกิดลมพายุพัดอย่างแรง แล้วฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก คล้าย ๆ กับว่าเทพยดาฟ้าดิน ก็พลอยปรีดาปราโมทย์ อนุโมทนาในการอุปสมบทของหลวงพ่อเงินด้วย เมื่อบวชได้ ๑ พรรษา ก็ท่องบทสวดมนต์ ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนานได้หมดสิ้น แล้วก็ท่องพระปาฏิโมกข์ได้ในพรรษาแรกนั้นเอง เป็นที่โจษขานกันมาก เพราะคนสมัยนั้นนับถือกันว่าใครท่องพระปาฏิโมกข์ในพรรษาแรกได้ พระภิกษุรูปนั้นปัญญาดี และมีบุญเก่ามาส่งเสริม จะเจริญในทางพระพุทธศาสนา วันหนึ่ง เมื่อไปบิณฑบาตที่บ้าน โยมบิดาก็พูดว่า "คุณเงิน คุณอย่าจำวัดแต่หัวค่ำนัก เป็นพระไม่ได้ทำไร่ทำนาก็ควรจะฝึกหัด ให้อดทน" หลวงพ่อเงินทราบดีว่า โยมบิดาทราบเรื่องนี้ได้นั้น เพราะนั่งเข้าฌานเพ่งกสิณไปดูพระลูกชาย โดยฌานสมาบัติ หรือที่เรียกว่า นั่งทางใน ต่อมาไม่ช้า เวลาค่ำ อาจารย์พรหม ก็มักจะไปหาพระลูกชาย เพื่อถ่ายทอดวิชาเพ่งฌานสมาบัติให้ อาจารย์พรหม สอนพระลูกชายว่า " จะเรียนวิชานี้ให้สำเร็จต้องประกอบด้วย ศรัทธา-ความเชื่อมั่น วิริยะ-ความเพียรพยายาม ขันติ-ความอดทน สัจจะ-ความถือสัตย์ อธิษฐาน-ความตั้งใจแน่วแน่" ขั้นแรกต้องมีความเชื่อมั่น (ศรัทธา) ขั้นสองต้องพากเพียรปฏิบัติ (วิริยะ) ขั้นสามต้องมีความอดทน (ขันติ) ขั้นสี่ ต้องมีสัจจะในใจว่า จะต้องทำให้ได้เหมือนใจคิดและปากพูด ถ้าไม่สำเร็จก็ยอมเสียสละทุกอย่างได้ (สัจจะ) ขั้นห้า คือ อธิษฐาน-ความตั้งมั่นในจิตใจ อ้างเอาคุณพระรัตนตรัย อ้างเอาคุณบิดามารดา อ้างเอาคุณแห่งศีล คุณแห่งทาน มาตั้งมั่นในใจ เพื่ออธิษฐานให้สำเร็จ" (อธิษฐาน) เล่าให้พระลูกชายฟังว่า " เมื่อโยมเรียนวิชากับพระอาจารย์นั้น ท่านหัดให้เพ่งดวงอาทิตย์ตอนเช้า จนสามารถมองดูดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงได้ หลับตาก็มองเห็นดวงอาทิตย์ได้ นั่งสมาธิเพ่งดวงเทียนจับนิ่งอยู่ที่เปลวเทียน จนเมื่อหลับตาแล้ว ก็ยังแลเห็นดวงเทียนสว่างอยู่ที่เดิม ให้นั่งที่ท่าน้ำ ใช้ดวงจิตเพ่งไปที่ผักตบชวา แล้วภาวนาให้ผักตบชวานั้น นิ่งอยู่กับที่ด้วยอำนาจกระแสจิตได้ เมื่อทำเช่นนี้ จึงจะสามารถเรียนวิชาสำเร็จได้" หลวงพ่อเงิน จึงฝักใฝ่ตั้งใจฝึกหัด จนสำเร็จวิชาตามที่โยมบิดาสอนให้
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 29-05-2009 เมื่อ 07:18 |
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#12
|
||||
|
||||
ตอนเด็ก ๆ เคยอ่านหนังสือเจอว่าคนโบราณสมัยก่อน เวลาเขาเพ่งกสิณแสงสว่าง เขาไปนั่งเพ่งดวงอาทิตย์ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ทำอย่างนี้ทุกวัน จนบางทีเกือบสายตาเสีย เขาก็แก้โดยให้กินเลือดงูเห่า ๗ ตัว แล้วตาจะไม่พร่ามัวเวลาเพ่งแสงอาทิตย์
ตรงนี้ก็ไม่รู็ว่าจริงหรือเปล่านะคะ แต่อ่านดูแล้วก็คิดว่าเขาทำกันได้อย่างไรนะ อย่างเรานี่ให้เพ่งแค่แสงไฟนีออนยังขี้เกียจเลย ฮ่า ๆ ๆ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 28-05-2009 เมื่อ 12:06 |
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#13
|
||||
|
||||
เมื่อหลวงพ่อเงินได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านก็ไม่ได้ถือโอกาสเอาตำแหน่งนี้ กระทำการเพื่อประโยชน์ตนเองเลย ท่านทำการบวชกุลบุตร เพื่อพระพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่ได้เห็นแก่ลาภทางสักการะหรือชื่อเสียง ความเป็นใหญ่ หรือหาลูกศิษย์ลูกหาอะไรทั้งสิ้น สังเกตเห็นได้จากการรับคนเข้ามาบวช ท่านก็ตั้งกฎเกณฑ์ไว้ เป็นการพูดปากเปล่าบอกชาวบ้านให้รู้ทั่วกันว่า
"การที่จะเข้ามาบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้านั้นต้องเข้ามาอยู่วัดเสียก่อน เพื่อฝึกหัดอบรมให้มีนิสัยปัจจัยเสียก่อน จึงจะบวชเป็นพระได้ การบวชจึงจะเป็นเนื้อนาบุญ ได้กุศลผลบุญโดยแท้จริง" การสั่งสอนอบรมพระภิกษุหลวงพ่อก็พูดอยู่เสมอว่า "พระภิกษุก็เหมือนเนื้อที่นา ต้องเป็นเนื้อนาดี ดินดี การหว่านพืชข้าวลงไป จึงจะได้ผลงอกงาม การเป็นพระเนื้อนาไม่ดี ก็ไม่มีใครเขาอยากจะหว่านพืช คือทำบุญให้ เพราะรังแต่จะสูญเสียเปล่า เป็นข้าวที่เฉา ม้าน หรือรวงลีบ ไม่ได้ผลอะไรตอบแทน" "อีกอย่างหนึ่ง พระภิกษุมาบวชแล้วต้องเรียน จึงจะชื่อว่าบวชเรียนโดยแท้จริงตามคำโบราณ ไม่ได้เรียนเพื่อเอาประกาศนียบัตรเป็นเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิเหมือนทางโลก ที่เขาต้องการเอาไปอวดคนหรือนายเพื่อรับเข้าทำงาน การเรียนของพระสงฆ์เป็นการเรียนศึกษาพระธรรมวินัยให้รู้ไว้ตามภาวะตามหน้าที่การงานของตนเท่านั้น คือเป็นพระก็ต้องเรียนรู้เรื่องของพระให้เข้าใจ มิฉะนั้นก็จะได้ชื่อว่า บวชเสียผ้าเหลือง สึกก็เปลืองผ้าลาย" หลังจากสวดมนต์ไหว้พระ ที่เรียกว่าทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็นแล้ว หลวงพ่อก็อบรมพระ วิธีการอบรมก็พูดจาสนทนาธรรมกันตามธรรมดา ท่านค่อย ๆ พูดเลียบเคียงหว่านล้อมทีละน้อย จนผู้ฟังเพลิน มีเกล็ดขำ ๆ เรื่องเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ มาเล่าประกอบ แล้วสุดท้ายก็วกเข้าหาจุดที่ตั้งใจสอน เช่นถ้าเห็นพระภิกษุรูปใดชอบเปลือยกายท่อนบน ตามปกตินิสัยของชาวนาชาวไร่ ตามบ้านนอกเมื่ออยู่กับบ้าน ท่านก็จะเล่าอะไรต่ออะไรเกี่ยวกับเรื่องเปลือยกายเสียก่อน จึงจะถึงจุดว่า "เป็นพระสงฆ์นั้นเป็นรูปกายที่ชาวบ้านเขายกมือพนมกราบไหว้ ถ้าปล่อยกายปล่อยตัวเหมือนชาวบ้านแล้ว ก็จะไม่มีอะไรให้อยู่ในฐานะอันชาวบ้านเขาจะกราบไหว้ได้ เขาก็จะหมดศรัทธาเลื่อมใสในพระสงฆ์ และในพระรัตนตรัยด้วย การสังวรระวังอยู่ในวินัยจึงเป็นสมบัติของพระสงฆ์ เพื่อเขาจะได้ยกมือกราบไหว้ได้โดยไม่ตะขิดตะขวงใจ" แล้วหลวงพ่อก็จะเล่าเกล็ด เล่านิทาน เล่าชาดกให้ฟังประกอบเรื่องจนผู้ฟังเห็นดีเห็นชอบ ไม่เบื่อหน่าย และยินดีที่จะประพฤติปฏิบัติตาม ในส่วนตัวของหลวงพ่อเอง ก็ตั้งอยู่ในวินัยเป็นตัวอย่างด้วย จนพระภิกษุที่บวชอยู่ในวัดดอนยายหอม เมื่อสึกออกไปก็เอาไปนินทาว่าร้ายหลวงพ่อไม่ได้เลย ไม่เหมือนพระบางวัด พอสึกออกไปก็เอาความไม่ดีของพระในวัด และของสมภารไปเล่านินทากันสนุกปาก เล่าเป็นนิทาน เรื่องเถรกับยายชีต่าง ๆ นานา เป็นเรื่องลามก จนคนไม่อยากเข้าวัด คนเล่าก็ไม่อยากหันหน้าเข้าวัด กลายเป็นคนเบื่อวัดเกลียดพระไปก็มี สรุปว่าพระก็ไม่เห็นมีอะไรดีวิเศษกว่าชาวบ้านเลย บางทีแย่กว่าฆราวาสก็มี เรื่องอย่างนี้พระพุทธศาสนาขาดทุนป่นปี้ แต่เรื่องอย่างนี้วัดดอนยายหอมไม่มีเลย มีแต่เอาเรื่องคุณงามความดีของหลวงพ่อไปยกย่องสรรเสริญกันทั่วทุกตัวคน ชื่อเสียงของหลวงพ่อเงินจึงโด่งดังออกไปนอกวัดไกลออกไปทุกที เพราะว่ากลิ่นและสีของหลวงพ่อเหมือนกลิ่นและสีของดอกไม้อันหอมหวนทวนลมได้ หอมกลิ่นดอกไม้ที่ นับถือ หอมแต่ตามลมฤา กลับย้อน
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 30-05-2009 เมื่อ 16:30 |
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#14
|
||||
|
||||
หลักธรรมบางประการ
หลวงพ่อที่ดีมีชื่อเสียงนั้น มักจะมีลูกศิษย์ดี การที่มีลูกศิษย์ดีเพราะหลวงพ่อดี การที่หลวงพ่อดีก็เพราะมีหลักธรรมดี การที่จะรู้ว่ามีหลักธรรมดีก็รู้ที่การปฏิบัติของท่าน และรู้จากคำสั่งสอนของท่านที่จะออกมาจากจิตใจของท่าน มิใช่สอนคนอื่นอย่างหนึ่ง ประพฤติตนอีกอย่างหนึ่ง หลวงพ่อหรือครูอย่างนี้ไม่มีคนนับถือ แต่หลวงพ่อเงินมีคนนับถือ มีคนพูดสรรเสริญ มีคนเขียนสดุดียกย่องไว้ ก็เพราะหลวงพ่อเป็นพระดี มีหลักธรรมดีประพฤติปฏิบัติดี เป็นพระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ดีพร้อมทั้ง ๔ ประการ คือ ๑.สุปฏิปันโน - ประพฤติปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเหมาะ ปฏิบัติสมกับสมณะ ๒.อุชุปฏิปันโน - ประพฤติปฏิบัติงดงามตรงตามพระธรรมวินัย น่าดูน่าชม ทุกอิริยาบถ ทุกย่างก้าวเดิน ทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี ตลอดชีวิตสม่ำเสมอ ไม่บกพร่อง ไม่ขาดไม่เกิน ครบถ้วนบริสุทธิ์บริบูรณ์ ๓.ญายปฏิปันโน - ประพฤติปฏิบัติด้วยความสำนึกมีสติกำกับตน รู้อยู่เสมอว่า ปฏิบัติอย่างนั้นเพื่ออะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร จะได้ผลอย่างไร ไม่ใช่ปฏิบัติไปโดยงมงาย ไม่รู้ว่าทำเพื่ออะไร แบบที่เรียกกันว่า เถรส่องบาตร ๔.สามีจิปฏิปันโน - ปฏิบัติด้วยความจงรักภักดีอย่างมอบกายถวายชีวิต ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยความกตัญญู ด้วยความกตเวที ด้วยความภักดีในพระศาสนาที่ได้เข้ามาบวชดำรงชีพอยู่อย่างเป็นสุข คำทั้ง ๔ คำนี้แหละคือคำอธิบายถึงหลวงพ่อดีอย่างหลวงพ่อเงิน เป็นคุณลักษณะพระอริยสงฆ์ หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ดีแท้ ดีจริง ไม่มีอะไรจะต้องระแวงสงสัยเลย กราบได้ ไหว้ได้ บูชาได้ เป็นปูชนียบุคคลของผู้ที่ได้พบเห็นจริง ๆ มีหลักธรรมบางประการที่หลวงพ่อเงินนำมาอบรมภิกษุสามเณรอยู่เสมอ สมควรจะนำมากล่าวไว้เป็นตัวอย่างบางเรื่อง คือ หลัก ๓ ประการในการปฏิบัติของภิกษุ ๑.สำรวมอินทรีย์ ๒.ปลงอสุภกรรมฐาน ๓.เจริญวิปัสสนา "ให้ระงับกาย วาจา ใจ การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ให้สำรวมระวัง อันได้แก่การสำรวมกาย" "การพูดจา ให้ระวัง พูดแต่น้อย พูดแต่คำสุภาพ พูดแต่คำสัตย์คำจริง คำที่เป็นคุณประโยชน์แก่ตนและเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้อื่น ไม่พูดพล่อย ๆ ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ไม่พูดส่อเสียดยุยง ไม่พูดคำหยาบคาย ไม่พูดโป้ปดมดเท็จ ไม่พูดให้คนอื่นได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ได้แก่การสำรวมวาจา" "สำรวมใจนั้น คือระมัดระวังใจ ไม่ให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลงมาครอบงำจิตใจ ไม่ให้ยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทั้งหลาย เช่นเห็นหญิงสาวสวยเดินมาก็มิให้มองด้วยความใคร่ พูดด้วยความยินดี คิดไปในทางก่อให้เกิดราคะดังนี้ เป็นต้น" เรื่องปลงอสุภกรรมฐาน หรือนมัสการพระกรรมฐานด้วยคำโบราณนั้น หลวงพ่อสอนว่า " ให้ระลึกถึงอสุภะในร่างกาย เกศา, โลมา, นะขา, ทันตา, ตะโจ อันเรียกว่าปัญจกรรมฐาน เป็นของไม่สวยงาม เน่าเปื่อย มีแต่เลือดและหนอง อุจจาระ ปัสสาวะเป็นที่อาศัยของหมู่หนอน" เรื่องเจริญวิปัสสนานั้น หลวงพ่อสอนว่า " ให้พิจารณาสังขาร แยกออกเป็นขันธ์ ๕ คือ รูปร่างกาย-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ อันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ตั้งอยู่ไม่ได้นาน ไม่ใช่ตัวตน กิเลสกาม คือความรักใคร่ยินดี ตัณหาคือความทะยานอยากได้ อยากเป็น อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่อยากมี ราคะคือความกำหนัดยินดี โทสะคือความขึ้งเคียดเดียดฉันท์ จัดว่าเป็นมารมาล้างผลาญคุณงามความดีของมนุษย์ ทำให้คนเสียคน"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 31-05-2009 เมื่อ 09:27 |
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#15
|
||||
|
||||
เรื่องกำแพงชีวิต
หลวงพ่อสอนว่า คนเราเกิดมาก็คล้ายถูกขังอยู่ในคุกมีกำแพง ๔ ด้านคือ ๑.ทุกข์ถึงชีวิต ทุกรูปทุกนามกลัวความตาย เป็นห่วงชีวิต ทำให้เกิดความทุกข์ ทุกข์ถึงชีวิตคือกำแพงด้านหน้า ทางที่จะพ้นทุกข์ด้านนี้ได้ก็คือ อุทิศชีวิตของตนให้แก่พระพุทธศาสนา จะตายเมื่อไรก็ไม่ว่า ตั้งหน้าทำแต่ความดีเพื่อเป็นที่พึ่งของสัตว์ เมื่ออุทิศชีวิตเสียได้แล้ว ก็เท่ากับควักเอาดวงใจไปฝากไว้กับพระพุทธเจ้า ตัวของเราจะไม่รู้จักความตาย จะไม่ต้องทุกข์ถึงความตาย ตายเมื่อไรก็เท่ากับสังขารแตกดับไปเท่านั้น ไม่มีความตายสำหรับเรา ๒.ทุกข์ถึงทรัพย์ ที่ได้รับมรดก และสะสมแสวงหามาได้ กลัวว่าจะชำรุดสูญหาย กลัวจะไม่คืน คงไม่มากมูล กลัวว่าเมื่อตายไปจะตกเป็นของคนอื่น ทรัพย์ของเราเป็นมารทำลายใจเรา เหมือนห่วงผูกเท้าไว้ เป็นกำแพงกั้นกักขังตัวเราเองให้ไปไม่พ้น ดิ้นไม่หลุด และเป็นทุกข์เหมือนกำแพงด้านหลัง ทางที่จะทำลายคุกด้านนี้คือไม่โลภ ไม่ตระหนี่ ไม่สะสม ๓.ทุกข์ถึงลูก คนเราเมื่อมีลูก เป็นพ่อเป็นแม่เขา ก็เท่ากับได้สร้างกรรมสร้างห่วงไว้ผูกคอตัวเอง สร้างกำแพงไว้ขังตัวเองอีกด้านหนึ่ง คือกำแพงด้านขวา กักขังตัวเราเองไว้ให้หนีไม่พ้น ไปไหนไม่รอด เป็นทุกข์ประการที่ ๓ ทางที่จะทำลายกำแพงด้านนี้ ก็คือฝึกฝนอบรมลูกให้เป็นคนดี มีวิชา ทำมาหากินได้ จะได้หมดห่วง ๔.ทุกข์ถึงภรรยาหรือสามี เมื่อมีคู่ครอง แม้จะมีบุตรหรือไม่มี ก็เป็นทุกข์ เป็นห่วง คิดว่าตัวเป็นเจ้าของ กลัวเขาจะป่วยจะไข้ กลัวเขาจะตายจากไป กลัวเขาจะคบชู้มีคู่ใหม่ ทุกข์เหมือนห่วงผูกข้อมือไว้ หรือเหมือนกำแพงคุกด้านซ้าย ทางที่จะทำลายกำแพงด้านนี้ก็คือ คิดว่าแม้แต่ตัวเราเองก็ยังพึ่งพาตัวเองไม่ได้ จะเจ็บจะป่วยไข้จะตายเมื่อไรก็ไม่รู้ ไม่สามารถจะช่วยชีวิตตนเองได้ จะไปห่วงชีวิตคนอื่นเกินไป ไม่สามารถจะทำอะไรได้" นี่คือคำสอนเรื่องกำแพงคุกของชีวิต จะเห็นว่าเป็นคำสอนง่าย ๆ แต่ฟังแล้วก็เห็นจริง น่าฟังและน่าคิด นี่แหละคือตัวอย่างคำสอนของหลวงพ่อ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 01-06-2009 เมื่อ 02:13 |
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#16
|
||||
|
||||
รักษาคนบ้า
หลวงพ่อมีเมตตาบารมีสูง มีกระแสจิตเมตตาแรงกล้า หลวงพ่อจึงสามารถแผ่ความเมตตานี้ทำให้จิตคนที่บ้าดีเดือดมุทะลุดุดัน ให้สงบเยือกเย็นอ่อนโยนลงได้ "ฉันสอนคน ก็สอนด้วยเมตตาจิต ฉันแผ่เมตตาต่อทุกคน กระแสจิตเมตตานั้นเป็นอานุภาพน้อมจิตให้เขาเกิดความภักดีเชื่อถือ..." หลวงพ่อพูดอย่างนี้ หลวงพ่อไม่ใช่นักพูด หรือนักธรรมที่อธิบายตามทฤษฎีเท่านั้น แต่หลวงพ่อพูดจากการปฏิบัติ คราวหนึ่งที่วัดห้วยจระเข้ อำเภอเมืองนครปฐม มีภิกษุรูปหนึ่งบันดาลโทสะ เตะเด็กวัดตกกุฏิตายไปคนหนึ่ง พระครูอุตรการบดี เจ้าอาวาสจะจับสึกส่งตำรวจดำเนินคดี แต่พระองค์นั้นไม่ยอมสึก นั่งตาขวาง แสดงอาการบ้าดีเดือด ถืออาวุธจะทำร้ายคนที่จับสึก เผอิญหลวงพ่อเงินไปที่วัดนั้นพอดี พระครูอุตรการบดีจึงเล่าให้ฟัง หลวงพ่อเงินฟังแล้วก็ยิ้ม ๆ พูดว่า ผมจะลองดู แล้วหลวงพ่อเงินก็เดินเข้าไปหาพระผู้นั้นอย่างเรียบร้อยทำท่าเหมือนพระอุปัชฌาย์จะบวชพระ พระบ้าดีเดือดรูปนั้น มองดูหลวงพ่อเฉยอยู่ไม่ทำอะไร หลวงพ่อจึงเอ่ยขึ้นว่า "ดูก่อน ภิกษุผู้เคยเจริญมาแล้วแต่หนหลัง ฉันทราบเรื่องของเธอดีแล้ว ว่าความจริงเป็นอย่างไร ขอให้เธอจงปลงใจเสียให้ตกว่ามันเป็นกรรมเก่าแต่ชาติปางก่อน ตามมาล้างผลาญตัดรอน อย่าได้คิดว่าใครมาสร้างเวรให้แก่เธอ ฉันรู้ว่าเธอเคยตั้งอยู่ในธรรมวินัย ประพฤติพรหมจรรย์มาด้วยความขาวสะอาด แต่วันที่จะเกิดเหตุนั้นเกณฑ์ชะตาของเธอจะหมดวาสนาได้รับใช้พระพุทธศาสนาเพียงแค่นั้น ขอให้ตัดใจรับกรรมไปก่อน ต่อเมื่อสิ้นเคราะห์กรรมแล้ว เกิดมาในชาติใดขอให้ได้เข้าร่วมเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าด้วยกันอีก ลาสิกขาบทเสียเถิดนะ..." พระภิกษุบ้าดีเดือดรูปนั้น นั่งน้ำตาไหล ก้มศีรษะลงมาหาหลวงพ่อยอมให้หลวงพ่อปลดจีวรของเขาออกแต่โดยดี ขอให้สังเกตว่า ที่หลวงพ่อชนะใจเขาได้ เพราะเมตตาบารมีและเพราะหลวงพ่อมั่นใจในบารมีของท่านเอง หลวงพ่อต้องมั่นใจใน "ดี" ที่มีอยู่ในตัว มิฉะนั้นหลวงพ่อจะไม่กล้าเข้าไปประกบกับคนบ้าดีเดือดที่มีอาวุธอยู่ในมือได้เลย
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 05-06-2009 เมื่อ 21:55 |
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|