#1
|
||||
|
||||
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันเสาร์ที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๖
ขอให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติไว้เฉพาะหน้า คืออยู่กับลมหายใจเข้าออกของเรา หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจออกมา จะกำหนดเป็นฐานเดียว สามฐาน เจ็ดฐาน ก็ตามที่เราถนัด จะใช้คำภาวนาอย่างไรก็ได้ตามที่เคยทำมาก่อน
วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ วันนี้มีญาติโยมถามในเรื่องของการเจริญสมาธิว่า ในแต่ละช่วงอารมณ์มีลักษณะอย่างไร ? การที่เราเจริญสมาธิภาวนานั้น ถ้าสามารถกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกพร้อมกับคำภาวนาได้ เรียกว่า อุปจารสมาธิ ถ้าท่านทั้งหลายตามดูตามรู้ลมหายใจเข้าออกจนกระทั่งลมหายใจเริ่มทรงตัว คราวนี้ก็จะมีความรู้สึกสนใจอยู่แต่ลมหายใจเท่านั้น ตาเห็นรูปก็ไม่วอกแวกไปสนใจ หูได้ยินเสียงก็ไม่วอกแวกไปสนใจภายนอก ถ้าอาการอย่างนี้แสดงว่าจิตของท่านเริ่มเข้าสู่ความเป็นฌานที่ ๑ คือปฐมฌานแล้ว แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วจะมีอยู่ระยะหนึ่ง ที่จะรู้สึกเหมือนกับตนเองง่วง โงก แล้วก็ตกวูบลงมาจากที่สูง บางคนก็ถึงกับสะดุ้ง หลุดออกจากการภาวนา อาการอย่างนั้นเป็นลักษณะของสมาธิจิตที่จะเริ่มทรงตัวเป็นปฐมฌาน แต่ว่าสติขาด ทำให้ตามสมาธิไม่ทัน จึงเกิดอาการที่เรียกว่า "พลัดออกจากฌาน" เมื่อพลัดตกลงมาจากฌาน อาการจึงวูบเหมือนกับตกจากที่สูง มีบางท่านกลัว ไม่กล้าเจริญกรรมฐานต่อไปก็มี ถ้าอารมณ์ใจของท่านทั้งหลายเริ่มทรงตัวเป็นปฐมฌาน ตาเห็นรูปก็ไม่สนใจ ถึงมีคนเคลื่อนไหวอยู่เป็นจำนวนมากรอบข้าง ก็ไม่ได้ให้ความสนใจ จดจ่ออยู่กับแต่ลมหายใจเท่านั้น หูได้ยินเสียงต่อให้เสียงดังแค่ไหนก็ไม่สนใจ เพราะว่ากำลังจดจ่อแน่วแน่อยู่กับลมหายใจเข้าออกของตนเอง ถ้ากำลังใจของเราปักมั่นทรงตัวอยู่กับลมหายใจและคำภาวนาอย่างนี้ไประยะหนึ่ง จะมีความรู้สึกเหมือนกับว่าลมหายใจนั้นเบาลง หรือถ้ากำลังใจหยาบหน่อย จะรู้สึกว่าลมหายใจขาดหายไปเลยก็มี บางครั้งคำภาวนาก็ขาดหายไปด้วย อาการอย่างนี้คือการที่เราเริ่มก้าวเข้าสู่ทุติยฌาน คือ ฌานที่สอง ถ้าเราไม่ตกใจไปควานหาลมหายใจใหม่ หรือรู้สึกว่าเราจับลมหายใจอยู่แล้วไม่หายใจ เราก็รีบกลับไปหาลมหายใจใหม่ ถ้าเราไม่ได้ทำดังนั้น กำลังใจของเราก็จะก้าวต่อไปข้างหน้า แต่ถ้าเราวิ่งกลับไปหาลมหายใจใหม่แปลว่าเราก้าวถอยหลัง เหมือนกับก้าวขึ้นบันไดไปแล้ว แล้วก็ย้อนลงกลับไปหาพื้นใหม่ ถ้าท่านทั้งหลายไม่ได้ตกใจกับอาการที่ลมหายใจหายไป คำภาวนาหายไป กำหนดใจดูอยู่ว่าตอนนี้อาการเป็นอย่างนั้น สักแต่ว่ารับรู้ไว้เฉย ๆ กำลังใจก็จะดิ่งลึกเข้าไปอีก ก็จะมีอาการเหมือนกับตัวแน่นขึ้น ๆ บางทีก็รู้สึกตึงไปทั้งตัว แข็งไปทั้งตัว เหมือนกับโดนมัดติดกับหลักตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า บางท่านก็รู้สึกเหมือนกับปลายมือปลายเท้าเย็นเข้ามา ๆ จนแข็งไปทั้งตัว เหมือนโดนสาปให้เป็นหินไปก็มี ถ้าอาการอย่างนี้เกิดขึ้นให้ทุกท่านทราบว่า เป็นอาการของการเริ่มก้าวเข้าสู่ตติยฌาน คือระดับสมาธิของฌาน ๓ แล้ว
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-11-2013 เมื่อ 12:07 |
สมาชิก 78 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
ถ้าท่านทั้งหลายตามดูตามรู้ กำหนดรู้ต่อไปโดยไม่ได้ตกใจกลัว หรือดิ้นรนอยากจะให้ก้าวหน้ามากกว่านั้น กำลังใจของเราก็จะค่อย ๆ โดนดึงมารวมอยู่จุดเดียวกัน อาจจะอยู่ตรงหน้าในระดับสายตาก็ได้ หรือว่าอยู่ในระดับจมูกกับปากของเราก็ได้ หรือบางท่านก็มารวมอยู่ในอก ความรู้สึกจะรวบเข้ามาอยู่จุดเดียว เยือกเย็นสว่างไสวจนบอกไม่ถูก กำลังใจจะทรงตัวนิ่งอยู่ตรงจุดนั้น อะไรเกิดขึ้นทางภายนอกก็ไม่รับรู้ทั้งหมด ประสาทหู ประสาทตาดับหมด
คำว่าดับหมดในที่นี้ก็คือ ไม่รับรู้สิ่งที่มากระทบภายนอก ลืมตาอยู่ก็ไม่เห็นรูป เสียงดังอยู่ก็ไม่ได้ยินเสียง เพราะว่าจิตกับประสาทร่างกายแยกออกจากกันแล้ว อาการอย่างนี้เรียกว่าท่านก้าวเข้าสู่จตุตถฌาน คือระดับสมาธิของฌาน ๔ การที่ท่านก้าวเข้ามาตรงจุดนี้ ถ้าไม่มีการกำหนดกำลังใจเอาไว้ก่อน เรารู้สึกว่าครู่เดียว แต่อาจจะผ่านไปหลายชั่วโมง หรือข้ามวันข้ามคืนไปเลยก็มี ดังนั้น..เพื่อความปลอดภัยให้ตั้งใจว่า เราเข้าสมาธิครั้งนี้ เราภาวนาครั้งนี้ เราต้องการจะเลิกตอนเวลาเท่าไร อย่างเช่นว่า ๑ ชั่วโมง ครึ่งชั่วโมง เป็นต้น เมื่อเรากำหนดใจแล้วจึงเริ่มภาวนา ถ้าสมาธิทรงตัวถึงระดับอัปปนาสมาธิ ไม่ว่าจะเป็นฌาน ๓ ฌาน ๔ ก็ตาม เมื่อครบตามเวลา จิตที่มีสภาพรู้ก็จะคลายกำลังออกมาเอง การที่ท่านทั้งหลายทำมาถึงระดับนี้ได้ ตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป อำนาจของสมาธิที่ทรงตัวแนบแน่นก็จะกดกิเลสใหญ่คือ รัก โลภ โกรธ หลง ซึ่งเป็นไฟใหญ่ ๔ กองเผาเราอยู่ตลอดเวลา ให้ไฟทั้ง ๔ กองนี้ดับลงชั่วคราว เราจะมีความสุขสงบ เยือกเย็นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ยิ่งทรงถึงระดับของฌาน ๔ แล้ว กิเลส รัก โลภ โกรธ หลง นิ่งสนิทเหมือนล้มหายตายจากไปเลย หลายต่อหลายท่านเข้าใจผิด คิดว่าตนเองบรรลุมรรคผลไปแล้วก็มี ขอให้ทราบว่า นั่นเป็นเพียงอาการของสมาธิ ที่มีอำนาจเหนือกว่าไฟกิเลส จึงกดกิเลสให้ดับลงได้ชั่วคราว ถ้าท่านเผลอสมาธิหลุดเมื่อไร รัก โลภ โกรธ หลงก็จะตีกลับมา ทำให้เราต้องมาเดือดร้อน ฟุ้งซ่านรำคาญใจเมื่อนั้น ดังนั้น..การที่เราปฏิบัติภาวนาไปแล้ว เมื่อสมาธิทรงตัวไปถึงระดับหนึ่ง ก็เป็นเรื่องปกติที่จะคลายตัวออกมาเอง เพราะไปต่อไม่ได้แล้ว ตอนที่สมาธิคลายตัวออกมานั้น เราต้องรีบหาวิปัสสนาญาณให้คิด ให้พิจารณา ไม่อย่างนั้นแล้ว เขาจะเอากำลังที่เราทรงสมาธิภาวนาได้ ไปฟุ้งซ่านแทน และจะฟุ้งซ่านอย่างเป็นหลักเป็นฐาน เป็นงานเป็นการ ชนิดยั้งไม่หยุดฉุดไม่อยู่ เพราะว่าเขาแข็งแรง เนื่องจากได้กำลังสมาธิไปช่วย เมื่อถึงเวลาเราคลายกำลังใจออกมา จึงต้องนำมาพิจารณา
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-11-2013 เมื่อ 18:59 |
สมาชิก 68 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
การพิจารณานั้น ส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องของไตรลักษณ์ คือสภาพร่างกายของเราก็ดี ของคนอื่นก็ดี ของสัตว์อื่นก็ดี ของวัตถุธาตุสิ่งของก็ดี เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด ดูในลักษณะของ อนิจจัง ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสิ่งทั้งหลายเหล่านี้
เมื่อดูจนกระทั่งสภาพจิตยอมรับแล้วว่า ความจริงของร่างกายนี้ ของร่างกายคนอื่น ของร่างกายสัตว์อื่น ของวัตถุสิ่งของทั้งหมด มีสภาพไม่เที่ยงเป็นปกติ ก็ขยับไปพิจารณาดูว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ระหว่างที่ดำรงคงอยู่ก็มีแต่ความทุกข์ ถ้าเป็นมนุษย์และสัตว์ก็มีความทุกข์ของการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย การพลัดพรากจากของรักของชอบใจ การปรารถนาไม่สมหวัง การกระทบกระทั่งอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ เป็นต้น ถ้าเป็นวัตถุธาตุสิ่งของก็มีสภาวะทุกข์คือ ก้าวเข้าไปหาความเสื่อมสลายอยู่ตลอดเวลา เมื่อดูจนสภาพจิตยอมรับอย่างแน่วแน่แล้ว เราก็พิจารณาต่อไปว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้นั้น ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่ประกอบขึ้นมาจากธาตุสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ถ้าถอดออกเป็นชิ้น เป็นส่วน เป็นธาตุไปแล้ว ก็ไม่เหลืออะไรเป็นของเรา สักน้อยหนึ่งก็ไม่มี เมื่อสภาพจิตของเราพิจารณาอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ สมาธิจิตจะทรงตัวกลับไปหาการภาวนาอีกครั้งหนึ่ง เราก็เริ่มดูลมหายใจเข้าออก เริ่มกำหนดการภาวนาต่อไป หรือถ้าท่านทำจนชินแล้ว แค่นึกเท่านั้นสมาธิจิตก็จะทรงในระดับที่ต้องการ เมื่อทรงตัวไประยะหนึ่งก็จะคลายออกมาอีกตามปกติ เราก็มาย้อนพิจารณาใหม่ ทำสลับกันไปสลับกันมาเช่นนี้ จึงจะมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติได้ ลำดับต่อไปก็ขอให้ทุกท่านภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา พระครูวิลาศกาญจนธรรม เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี วันเสาร์ที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๖ (ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยคะน้า)
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-11-2013 เมื่อ 18:28 |
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
||||
|
||||
สามารถรับชมได้ที่
http://www.sapanboon.com/vdo/demo.ph...ame=2556-10-05 ป.ล. - สามารถชมบนไอโฟนและแอนดรอยด์ได้ - ห้ามคัดลอกไฟล์ไปเผยแพร่ที่อื่นเด็ดขาด ! |
สมาชิก 7 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
สุธรรม (23-02-2014)
|
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|