กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 18-02-2015, 12:41
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,720
ได้ให้อนุโมทนา: 152,086
ได้รับอนุโมทนา 4,418,916 ครั้ง ใน 34,310 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันเสาร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

ขอให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกทั้งหมดของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออกเฉพาะหน้า หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม ถ้าเผลอสติไปคิดถึงเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ลมหายใจเข้าออกและคำภาวนา เมื่อรู้ตัวก็ให้รีบดึงกลับมาอยู่ที่ลมหายใจและคำภาวนาเสียใหม่

วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๘ มีผู้สอบถามปัญหาว่า ถ้าตั้งใจจะเป็นพระอนาคามีปฏิสัมภิทาญาณ จะต้องปฏิบัติกสิณทั้ง ๑๐ กองแล้วทำให้ได้อรูปฌาน ๔ จากนั้นเป็นการละสังโยชน์ ๕ ใช่หรือไม่ ? อาตมาก็สงสัยว่าทำไมถึงไปอาลัยอาวรณ์อยู่ที่พระอนาคามี ในเมื่อทำต่อไปอีกนิดเดียวก็เป็นพระอรหันต์แล้ว ?

ในส่วนของการจะเป็นบุคคลที่ทรงปฏิสัมภิทาญาณนั้น อันดับแรกต้องฝึกกสิณกองใดกองหนึ่งในจำนวนทั้ง ๙ กอง ซึ่งเว้นอากาสกสิณ เหตุที่ต้องเว้นอากาสกสิณเพราะว่า อากาสกสิณมีสภาพว่างเปล่าเหมือนอรูปฌาน จะทำให้เกิดการสับสนปนเปกัน เมื่อถึงเวลาจะฝึกในอรูปฌาน ไม่รู้ว่าจะเพิกภาพที่ไหนทิ้งได้ จึงต้องเว้นเอาไว้กองหนึ่ง

ส่วนอีก ๙ กองที่เหลือ เราจับกสิณกองใดกองหนึ่งขึ้นมาพร้อมกับคำภาวนา จนกระทั่งในที่สุดกสิณกองนั้นติดตาติดใจ ลืมตาก็เห็นได้ หลับตาก็เห็นได้ ก็ให้ประคับประคองรักษากองกสิณพร้อมกับลมหายใจเข้าออกของเราไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ท้ายสุดก็จะกลายเป็นสีเหลืองอ่อน สีขาว สีใส และใสเหมือนแก้วสะท้อนแสง ถึงเวลานั้นให้ทดลองอธิษฐานดูว่า ภาพกสิณนั้นขยายใหญ่ได้ เล็กได้ มาได้ หายไปได้ ถ้าทำได้คล่องตัว ก็อธิษฐานขอใช้ผลของกสิณกองนั้นได้

เมื่อทำโดยคล่องตัวแล้ว ถึงเวลาก็ให้ตั้งภาพกสิณขึ้นมาก่อน แล้วกำหนดเพิก ก็คือลืมหรือทิ้งภาพกสิณนั้นไปเสีย ไปจับความว่างไม่มีขอบเขตของอากาศแทน เมื่อจับความว่างของอากาศ ถ้ารู้สึกว่าขาดคำภาวนาจะใช้คำภาวนาว่า "อากาสา อนันตา..อากาสา อนันตา" ก็ได้ จนกระทั่งสมาธิจิตของเราทรงกำลังเท่ากับฌาน ๔ เต็มระดับ ก็แปลว่าเราได้อรูปฌานกองที่ ๑
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-02-2015 เมื่อ 02:14
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 75 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 20-02-2015, 18:10
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,720
ได้ให้อนุโมทนา: 152,086
ได้รับอนุโมทนา 4,418,916 ครั้ง ใน 34,310 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

จากนั้นก็ให้กำหนดภาพกสิณขึ้นมาใหม่ เมื่อละจากภาพกสิณนั้นแล้ว ก็ให้ทำความรู้สึกว่า แม้ว่าอากาศจะว่างก็จริง แต่ยังสามารถกำหนดได้ด้วยความรู้สึกคือวิญญาณของเรา ดังนั้น..จึงปล่อยวางความว่างของอากาศไปจับความไม่มีขอบเขตของวิญญาณแทน ถ้าจะใช้คำภาวนาก็ภาวนาว่า "วิญญาณัง อนันตัง..วิญญาณัง อนันตัง" กำหนดใจอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกำลังทรงเท่ากับฌาน ๔ เต็มระดับ ก็จะสำเร็จในอรูปฌานที่ ๒

แล้วก็กลับมากำหนดภาพกสิณขึ้นมาใหม่ เมื่อละหรือเพิกจากภาพกสิณนั้นแล้ว ก็ให้กำหนดใจคิดว่า สรรพสิ่งทั้งหลาย ในที่สุดก็เสื่อมสลายตายพังไปทั้งหมด ไม่มีอะไรทรงตัวอยู่ได้ แม้แต่นิดหนึ่งก็ไม่มี ไม่ว่าจะตัวเรา ตัวเขา คน สัตว์ วัตถุธาตุ สิ่งของใด ๆ ก็ตาม ท้ายที่สุดก็เสื่อมสลายตายพังไปหมด ไม่มีอะไรเหลืออยู่แม้แต่น้อย ถ้าจะใช้คำภาวนาก็ใช้คำภาวนาว่า "นัตถิ กิญจิ..นัตถิ กิญจิ" จนกระทั่งอารมณ์ใจของเราทรงตัวเท่ากับรูปฌาน ๔ เต็มกำลัง ก็จะสำเร็จในอรูปฌานที่ ๓ คืออากิญจัญญายตนฌาน

หลังจากนั้นก็ให้กำหนดภาพกสิณขึ้นมาใหม่ เมื่อละหรือเพิกจากภาพกสิณนั้นแล้ว อะไรเกิดขึ้นกับสภาพร่างกายก็ทำเป็นไม่สนใจ ไม่รับรู้..ไม่ว่าจะหนาว ร้อน หิว กระหาย สักแต่ว่ารู้ไว้เฉย ๆ ไม่ได้เอาใจใส่กับสภาพที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เรียกง่าย ๆ ว่า รู้ก็ทำเป็นไม่รู้ เห็นก็ทำเป็นไม่เห็น กำหนดใจอยู่กับคำภาวนา ถ้าหากว่าจะใช้คำภาวนา ตรงจุดนี้จะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ เมื่อกำหนดกำลังใจจนกระทั่งทรงตัวเทียบเท่ากับฌาน ๔ เต็มระดับ ก็จะสำเร็จอรูปฌานที่ ๔ หรือสมาบัติที่ ๘ ซึ่งถ้าหากว่าในการปฏิบัตินั้น สมาบัติที่ ๘ จะค่อนข้างยุ่งยากนิดหนึ่ง เพราะว่าเผลอเมื่อไรเราก็จะไปยึด ไปเกาะในร่างกาย ซึ่งจะต้องปลดจิตออกมา ไม่ไปใส่ใจกับสภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง ๆ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-02-2015 เมื่อ 03:18
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 22-02-2015, 13:31
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,720
ได้ให้อนุโมทนา: 152,086
ได้รับอนุโมทนา 4,418,916 ครั้ง ใน 34,310 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อท่านทั้งหลายทรงสภาพของฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ แล้ว ก็ให้ดูที่สังโยชน์ ๕ พยายามละในส่วนของสักกายทิฐิ คือ ความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นตัวเราของเรา วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ได้เคารพยึดมั่นจริง ๆ สีลัพพตปรามาส คือ ละเว้นจากการรักษาศีลแบบไม่จริงไม่จัง หันมารักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุให้ผู้อื่นละเมิดศีล และไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีล

หลังจากนั้นก็ปล่อยวางในส่วนของรูปและส่วนที่ไม่ใช่รูป โดยเฉพาะส่วนที่ละเอียดที่สุดก็คือรูปฌานและอรูปฌาน ให้เห็นว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยให้เราก้าวล่วงพ้นจากกองทุกข์เท่านั้น ยังไม่ใช่ที่พึ่งที่ระลึกอย่างแท้จริง ถ้าท่านสามารถวางกำลังใจมาถึงระดับนี้ได้ ความเป็นพระอนาคามีก็จะเข้ามาถึง ถ้าความเป็นพระอนาคามีเข้ามาถึงเมื่อไร ท่านก็สามารถที่จะใช้กำลังของปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ได้เมื่อนั้น

เนื่องจากว่ากำลังของปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ นั้นสูงมาก จะทำอะไรเพียงแค่คิดก็สัมฤทธิ์ผลตามที่ต้องการแล้ว จึงต้องกำหนดไว้ว่า ให้กำลังใจเราเข้าถึงความเป็นพระอนาคามีเป็นอย่างน้อย เพื่อที่จะตัดในเรื่องของรัก โลภ โกรธ ให้ได้อย่างแท้จริง ความหลงก็เหลือไม่มากแล้ว จะได้ไม่ไปละเมิดสิ่งที่เป็นการฝืนกฎเกณฑ์ธรรมชาติหรือกฎของกรรม

ถ้าท่านทั้งหลายพิจารณาต่ออีกเพียงเล็กน้อย ก็จะสามารถก้าวล่วงพ้นจากกองทุกข์ได้ โดยเฉพาะในการที่เราไปยึดในสิ่งที่มาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ว่าจะพอใจหรือไม่พอใจ ก็ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดกิเลสทั้งสิ้น นั่นคือส่วนของอวิชชา ความเขลาไม่รู้จริง การชอบใจเป็นราคะ การไม่ชอบใจเป็นโทสะ ดังนั้น..เมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบตา เห็นก็ต้องทำเป็นไม่เห็น กระทบหู ได้ยินก็ต้องทำเป็นไม่ได้ยิน กระทบจมูก ได้กลิ่นก็ต้องทำเป็นไม่ได้กลิ่น กระทบลิ้น ได้รสก็ต้องทำเป็นไม่ได้รส กระทบกาย ก็ต้องทำเป็นไม่รู้สึกถึงสัมผัส กระทบใจ ก็หยุดการครุ่นคิดให้ได้

ถ้าท่านทั้งหลายสามารถสกัดกั้นกิเลสเหล่านี้เอาไว้ได้ ไม่ให้เข้ามาถึงใจของเรา ความผ่องใสของดวงจิตก็จะมีมากขึ้น ๆ เมื่อปล่อยละความปรารถนาในร่างกายนี้ ในโลกนี้ ตลอดจนความปรารถนาในการเกิดได้อย่างสิ้นเชิง ท่านทั้งหลายก็สามารถล่วงพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพานได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องไปฝึกกสิณทั้ง ๑๐ กองอย่างที่ผู้ถามมีความเข้าใจมา

ลำดับต่อไป ขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันเสาร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยคะน้าอ่อน)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-02-2015 เมื่อ 19:42
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 04:45



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว