#1
|
||||
|
||||
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๒
ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกของเราทั้งหมดเอาไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา..ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา..ไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญมาแต่เดิม
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ ช่วงเช้าอาตมภาพไม่อยู่ ไปบวงสรวงเพื่อสร้างวิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรี และวางศิลาฤกษ์ ในส่วนของวิทยาลัยสงฆ์นั้น ก็คือ สร้างเพื่อเป็นสถานที่ศึกษาของพระภิกษุสามเณร และกุลบุตรธิดา ที่ตั้งใจจะศึกษาเล่าเรียน การศึกษาเล่าเรียนนั้น ถ้าว่ากันตามพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าท่านให้ศึกษาในไตรสิกขา คำว่า ”สิกขา” เมื่อแปลเป็นภาษาของเรา ก็คือ “ศึกษา” ไตรสิกขาคือการศึกษา ๓ อย่าง ก็คือ อธิศีลสิกขา การศึกษาในศีลอย่างยิ่ง คือ โดยทั่ว ๆ ไปเราก็แค่ประคับประคองรักษาไม่ให้ศีลขาด ไม่ให้บกพร่อง แต่อธิศีลสิกขานั้น นอกจากเราไม่ละเมิดศีลด้วยตัวเองแล้ว ยังไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล ไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีล ไม่ว่าจะหลับ จะตื่น จะยืน จะนั่ง จะขยับตัวไปทางไหน จะรู้ตัวอยู่เสมอว่า ศีลของเราจะขาดตกบกพร่องหรือเปล่า ? ถ้ามีโอกาสที่จะขาดตกบกพร่อง ก็พยายามหลีกพยายามเลี่ยง งดเว้นไม่กระทำ ถ้าไม่ขาดตกบกพร่องถึงได้กระทำไป ด้วยสติเฉพาะหน้าที่เป็นสีลานุสติ คือระลึกถึงศีลอยู่เสมอ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-10-2019 เมื่อ 14:05 |
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
ข้อที่สองท่านให้ศึกษาใน อธิจิตสิกขา คือการทำจิตของเราให้มั่นคงหนักแน่น ไม่หวั่นไหวต่อกิเลสต่าง ๆ ที่มารบกวน ก็คือเราต้องกระทำสมาธิ อย่างน้อย ๆ ต้องเป็นอัปปนาสมาธิขั้นต้น คือปฐมฌานขึ้นไป
ถ้าหากว่าสามารถทรงปฐมฌานได้ กำลังใจของเราก็จะหนักแน่นมั่นคง ไม่หวั่นไหวไปตาม รัก โลภ โกรธ หลง ที่เกิดขึ้น แต่เนื่องจากกำลังของปฐมฌานนั้นยังอ่อนอยู่ บุคคลผู้ที่ไม่ประมาท เมื่อปฏิบัติได้แล้ว ก็พยายามที่จะก้าวต่อไปเป็นฌานที่ ๒ ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๔ หรือถ้าท่านที่มีวิสัยมามากกว่านั้น ก็กระทำเป็นสมาบัติ ๘ คือมีอรูปฌานที่ ๑ อรูปฌานที่ ๒ อรูปฌานที่ ๓ อรูปฌานที่ ๔ เพิ่มขึ้นมา คราวนี้อธิจิตสิกขาของเรานี้ ศึกษาเพื่ออะไร ? ก็เพื่อให้สติ สมาธิ ปัญญาของเรามั่นคง แหลมคมว่องไว สนับสนุนให้เรารักษาศีลได้สมบูรณ์บริบูรณ์ ในขณะเดียวกันก็ทำให้ปัญญาของเราแก่กล้าพอที่จะตัดกิเลสได้
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-10-2019 เมื่อ 14:06 |
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
ข้อสุดท้ายท่านให้ศึกษา อธิปัญญาสิกขา คือการใช้ปัญญาอย่างยิ่ง ในการที่จะตามดูตามรู้ให้เห็นความเป็นจริงของร่างกายนี้ เห็นความเป็นจริงในร่างกายคนอื่น เห็นความเป็นจริงในร่างกายสัตว์อื่น เห็นความเป็นจริงในสรรพวัตถุทั้งหลาย ว่ามีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด ไม่สามารถยึดถือมั่นหมายเป็นตัวตนเราเขาได้
เมื่อเห็นจริง ยอมรับ ก็ถอนจิตจากการยึดมั่นถือมั่นในอัตภาพร่างกายนี้ ถอดจิตจากการยึดมั่นถือมั่นในโลกนี้ อยู่ที่ว่าเราสามารถถอนได้มากน้อยกว่ากันเท่าไร ถ้าหากว่าทำได้มาก ก็กลายเป็นพระอรหันต์ พ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน ทำได้ปานกลางก็เป็นพระอนาคามี พ้นจากการเกิดชั่วคราว แต่ต้องไปรอการเข้าสู่พระนิพพานเบื้องบน ถ้าทำได้น้อยก็เป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด ๑ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๗ ชาติบ้าง ตามแต่ความหยาบละเอียดของกำลังใจที่เข้าถึง ดังนั้น...ในการศึกษาที่แท้จริงนั้น ไม่ใช่การศึกษาทางโลกอย่างเช่นที่อาตมภาพสร้างวิทยาลัยสงฆ์เพื่อให้คนระลึกว่า ให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษา แต่เป็นการศึกษาทางธรรม ศึกษาเข้ามาภายในร่างกายนี้ หลักธรรมทั้งหลายล้วนแล้วแต่อยู่ในร่างกายที่กว้างศอก ยาววา หนาคืบนี้ ไม่ได้ไปไกลกว่านี้เลย
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-10-2019 เมื่อ 19:03 |
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
||||
|
||||
เกิดมาก็มีความไม่เที่ยงเป็นปกติ เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด ระหว่างที่ดำรงชีวิตอยู่ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ของการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย การพลัดพรากจากของรักของชอบใจ การประสบสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบใจ การปรารถนาที่ไม่สมหวัง มีแต่ความทุกข์ทั้งนั้น ตั้งแต่ลืมตาขึ้นจนหลับตาลงไปมีแต่ความทุกข์ แล้วท้ายสุดก็ยังไม่มีอะไรให้ยึดถือมั่นหมายว่าเป็นเราเป็นของเราได้
เพราะว่าโดยปกติแล้ว ร่างกายนี้ก่อขึ้นมาจากสมบัติของโลก คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เราอาศัยอยู่ได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว ตามบุญตามกรรมที่สร้างเอาไว้ เมื่อถึงเวลาก็เสื่อมสลายตายพังไปตามสภาพ กลายเป็นธาตุ ๔ คืนสู่โลกไปตามเดิม ให้พิจารณาจนกระทั่งเห็นจริง เห็นอย่างชัดเจน ถึงจะเรียกได้ว่าเรามีการศึกษา ศึกษาแล้วก็ต้องน้อมนำเอาไปปฏิบัติให้เกิดผล เกิดผลแล้วก็ยังมีความเมตตากรุณา ที่จะบอกกล่าวสั่งสอนบุคคลอื่นให้รู้ตามไปด้วย เช่นนี้ถึงจะเรียกว่า เป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยการศึกษา หรือว่าสมบูรณ์ด้วยไตรสิกขาอย่างแท้จริง ลำดับต่อไปขอให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านเติมบุญ วันอาทิตย์ที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย น้องผักชี)
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-10-2019 เมื่อ 19:05 |
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
|
|