กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน ปี ๒๕๖๖ > เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เดือนมีนาคม ๒๕๖๖

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 06-03-2023, 19:40
ตัวเล็ก's Avatar
ตัวเล็ก ตัวเล็ก is offline
กรรมการเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 10,642
ได้ให้อนุโมทนา: 216,883
ได้รับอนุโมทนา 747,469 ครั้ง ใน 36,409 โพสต์
ตัวเล็ก is on a distinguished road
Default เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๖

เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๖


__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด
(-/\-) (-/\-) (-/\-)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 07-03-2023, 00:24
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,653
ได้ให้อนุโมทนา: 151,944
ได้รับอนุโมทนา 4,415,990 ครั้ง ใน 34,243 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วันนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ วันมาฆบูชา เนื่องจากว่าปีนี้มีเดือน ๘ สองหน วันมาฆบูชาจึงเลื่อนมาเป็นกลางเดือน ๔

ทางวัดท่าขนุนของเราก็มีการฟังเทศน์ฟังธรรมตามปกติ แต่ว่าส่วนที่มีมากกว่าวัดทั่วไปก็คือ เราจะมีการอุปสมบทหมู่เพื่อปฏิบัติธรรมในวันมาฆบูชานี้ทุกปี เป็นการอุปสมบทหมู่ฟรี ไม่เก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ว่าผู้ที่เป็นนาคนั้น จะต้องขานนาคและปฏิบัติตามขั้นตอนในการอุปสมบทได้อย่างคล่องตัว

ปีนี้มีผู้สมัครอุปสมบทหมู่เพื่อปฏิบัติธรรมในสัปดาห์มาฆบูชานี้มาทั้งสิ้น ๑๒ ราย แต่ว่าผ่านการคัดตัวแค่ ๑๑ รายเท่านั้น อีก ๑ รายไม่มีความคล่องตัวจึงต้องให้กลับบ้านไปก่อน ถ้าหากว่าซักซ้อมจนคล่องตัวแล้ว ก็จะมีการอุปสมบทหมู่เพื่อปฏิบัติธรรมในสัปดาห์วันวิสาขบูชาซึ่งรออยู่ข้างหน้า

อีกงานหนึ่งที่ทางวัดท่าขนุนของเราทำแล้วได้รับการยกขึ้นเป็น Unseen Thailand ก็คือการตามประทีป ๑๐,๐๐๐ ดวง เป็นพุทธบูชา ซึ่งพัฒนามาจากในระยะแรกที่ใช้ขวดเครื่องดื่มชูกำลัง ควั่นไส้ด้วยผ้าจีวรเก่า บรรจุน้ำมันก๊าดแล้วจุดถวายเป็นพุทธบูชา เริ่มมาจากพระครูน้อย (พระครูสังฆรักษ์วิฑูรย์ จนฺทวํโส) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน ปัจจุบันคือเจ้าอาวาสวัดหนองบัว เมืองจะอีน ประเทศพม่า

เมื่อเริ่มต้นขึ้นมาแล้ว กระผม/อาตมภาพเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลืองอย่างมาก จึงได้สั่งให้เอาผางประทีปทางด้านจังหวัดเชียงใหม่ลงมา แต่ปรากฏว่าผางประทีปจากจังหวัดเชียงใหม่นั้น จุดได้แค่ ๑๐ กว่านาที ไส้ก็ล้ม ไม่สามารถที่จะติดต่อไปได้ ทางวัดจึงมีการคิดค้นว่า ทำอย่างไรที่เรามีการตามประทีปเป็นพุทธบูชาแล้ว จะสามารถอยู่ได้หลายชั่วโมง ?
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-03-2023 เมื่อ 03:03
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 07-03-2023, 00:27
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,653
ได้ให้อนุโมทนา: 151,944
ได้รับอนุโมทนา 4,415,990 ครั้ง ใน 34,243 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ท้ายที่สุดก็ไปสั่งจากทางเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีความสามารถในด้านเครื่องปั้นดินเผา ให้ช่วยทำถ้วยผางประทีปให้ ในตอนแรกก็ออกมาในลักษณะเป็นถ้วยก้นเรียว เมื่อตามประทีปแล้วจะอยู่ได้ประมาณสองชั่วโมงครึ่ง จึงมีการขยายออกเป็นถ้วยทรงลูกจันทน์ ตามประทีปครั้งแรกอยู่ได้เกือบ ๖ ชั่วโมง แต่ว่าสิ้นเปลืองขี้ผึ้งเป็นจำนวนมาก เนื่องเพราะว่าในแต่ละงานนั้น เราต้องใช้เศษเทียน เศษขี้ผึ้งต่าง ๆ ซึ่งรับซื้อมาจากร้านรับซื้อของเก่ากิโลกรัมละถึง ๓๓ บาท แต่ละงานจะใช้ประมาณ ๑,๕๐๐ กิโลกรัม คือตันครึ่ง..!

ในเมื่อเป็นเช่นนั้น จึงต้องมีการพัฒนาถ้วยรุ่นที่ ๓ ขึ้นมา ก็คือบรรจุให้น้อยลงสักครึ่งหนึ่ง ก็จะอยู่ได้ประมาณ ๔ ชั่วโมง แล้วมีการดัดแปลงทั้งแปรภาพและแปรอักษรด้วย กลายเป็น Unseen Thailand ที่นักท่องเที่ยวสนใจกันมาก เพราะว่ามีความสวยงามน่าตื่นตาตื่นใจ

หลายวัดก็อยากจะเลียนแบบ แต่พอถามถึงค่าใช้จ่ายแล้ว รู้ว่าถ้วยที่สั่งทำมานั้น ใบละ ๔ - ๕ บาท ใช้ได้ประมาณ ๒ - ๓ งาน เมื่อโดนความร้อนจัด ๆ เข้าก็แตก ดังนั้น..ในแต่ละครั้งเราจะต้องใช้เงินหลายหมื่นบาทในการจัดวางผางประทีปเป็นพุทธบูชา แต่ว่าก็คุ้มค่า น่าชื่นใจ ภาพแต่ละครั้งที่ออกมานั้นงดงามมาก เพราะว่าได้รับการออกแบบจากพระจิตศิลป์ เหมรํสี, ดร. เจ้าสำนักสงฆ์เกาะพระฤๅษี ซึ่งเป็นลูกศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งที่กระผม/อาตมภาพส่งเรียนจนจบปริญญาเอก ก่อนหน้านั้นท่านเรียนทางด้านการออกแบบมา จึงเป็นผู้ออกแบบในการแปรภาพ แปรอักษรในทุกครั้ง

อีกงานหนึ่งที่ทางวัดท่าขนุนของเรามีมากกว่าเขาในช่วงของวันมาฆบูชา ก็คืองานปิดทองรอยพระพุทธบาทวัดท่าขนุน และทำบุญอุทิศอดีต ๗ เจ้าเมืองหน้าด่าน ซึ่งทุกปีเราจะจัดตรงกับวันมาฆบูชา เป็นการรวบยอดงานประจำปีช่วงมาฆบูชา และการทำบุญอุทิศแก่เจ้าเมืองหน้าด่านทั้ง ๗ หัวเมืองที่เพิ่มขึ้นมา ให้กลายเป็นงานเดียวกัน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-03-2023 เมื่อ 03:06
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 07-03-2023, 00:29
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,653
ได้ให้อนุโมทนา: 151,944
ได้รับอนุโมทนา 4,415,990 ครั้ง ใน 34,243 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในงานนี้ก็จะมีเรื่องของงานวัฒนธรรมที่ต่าง ๆ กันไป อย่างปีนี้ส่วนสำคัญก็คือการแข่งขันทอผ้าด้วยกี่เอว ซึ่งบรรดาชาวบ้านมีความสามารถในด้านนี้กันมาก โดยเฉพาะพี่น้องชาวกะเหรี่ยง จึงมีการกำหนดให้แข่งขันกันเป็นระยะเวลา ๓ วัน มาตัดสินกันในวันนี้ ซึ่งบัดนี้ทางด้านคณะกรรมการส่งชื่อผู้ชนะเลิศมาแล้ว คือนางทองฤดี พิมพิลา จากบ้านทิพุเย ตำบลชะแล

ในการแข่งขันต่าง ๆ ทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าเราทำแบบ "ไฟไหม้ฟาง" ถึงเวลารับรางวัลรับเกียรติบัตรไปแล้วก็จบ ถ้าเป็นอย่างนี้เรื่องของวัฒนธรรมของเราก็จบไปด้วย แต่ว่ากระผม/อาตมภาพนั้นสนับสนุนการทอผ้าพื้นเมืองมาตั้งแต่ต้น แรกเริ่มก็ซื้อหาพวกด้ายให้ไป ใครถนัดการทอผ้าแบบกะเหรี่ยง ทอผ้าแบบมอญ หรือว่าทอผ้าแบบอีสาน ก็ทำกันไป เมื่อถึงเวลาให้นำผลิตภัณฑ์มาขายในงานวัดท่าขนุนก็พอ

หลังจากนั้นก็พัฒนาขึ้นมาเป็นการสร้างศูนย์วัฒนธรรมกะเหรี่ยงให้แก่บ้านไร่ป้า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ ซึ่งบริเวณนั้นมีหลายหมู่บ้านเป็นชาวกะเหรี่ยง แต่ว่าศูนย์รวมอยู่ที่บ้านไร่ป้า ซึ่งออกเสียงตามภาษาไทย ถ้าหากว่าเป็นภาษากะเหรี่ยง ออกเสียงประมาณว่า ไหล่ปา ซึ่งแปลว่าพลาญหิน หรือว่าหินดานขนาดใหญ่ เมื่อไปสร้างศูนย์วัฒนธรรมกะเหรี่ยงเอาไว้ บรรดารุ่นเดิม ๆ เก่า ๆ ที่มีความชำนาญในการทอผ้า ก็ให้ไปรวมกันทอผ้าในสถานที่แห่งนั้น แล้วเด็ก ๆ ซึ่งได้เห็นผู้ใหญ่ไปรวมตัวกันทอผ้า บุคคลที่สนใจก็จะเข้ามาศึกษาเรียนรู้กันไปเอง

แต่ว่าในจุดนี้ ถ้าหากว่าเราทำเพียงนี้ก็ยังไม่เพียงพอ เพราะว่าส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือ เมื่อสร้างสินค้าขึ้นมาแล้ว ต้องมีที่ให้เขาขายด้วย ไม่เช่นนั้นแล้วสินค้าออกมาไม่สามารถที่จะขายได้ เขาก็ไม่รู้จะทำไปให้เหนื่อยยากทำไม ?
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-03-2023 เมื่อ 03:08
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 07-03-2023, 00:31
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,653
ได้ให้อนุโมทนา: 151,944
ได้รับอนุโมทนา 4,415,990 ครั้ง ใน 34,243 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

กระผม/อาตมภาพในระยะแรกก็กำหนดให้เขาทั้งหลายเหล่านี้ นำเอาสินค้ามาจำหน่ายในงานวัดท่าขนุน อย่างเช่นว่างานทำบุญงานวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา งานทำบุญสงกรานต์ งานทำบุญงานวันอาสาฬบูชา วันเข้าพรรษา งานทำบุญวันออกพรรษา ตลอดจนกระทั่งงานทอดกฐินสามัคคี เป็นต้น แล้วก็พัฒนามาเป็นการสร้างตลาดชุมชนเพื่อเป็นที่จำหน่ายสินค้า

ในปัจจุบันนี้ ส่วนที่สร้างขึ้นมาและเป็นที่อิจฉาของที่อื่นเป็นอย่างยิ่ง ก็คือตลาดริมแควเมืองท่าขนุน ที่เราทำใหญ่โตโอ่อ่าและสวยงามมาก ต่อเนื่องกันไปจากสะพานแขวนหลวงปู่สาย และร้านค้าชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุนของเดิม

ถ้าหากว่าเราทำในลักษณะนี้ สินค้าต่าง ๆ ที่สนับสนุนให้ชาวบ้านเขาผลิต ก็จะมีที่วางจำหน่าย ซึ่งเฉพาะร้านค้าชุมชนแห่งเดียว พื้นที่ประมาณสองห้องของตึกแถว ในช่วงสัปดาห์วันมาฆบูชาซึ่งเป็นวันหยุดยาว ๓ วันนี้ แต่ละวันจำหน่ายสินค้าได้วันละหลายหมื่นบาท

คราวนี้ในการแข่งขันทอผ้านั้น ก็เป็นประกาศฝีมือว่าใครสามารถทอผ้าได้สวยงาม หนาแน่น ถูกต้องตามแบบ และขณะเดียวกันมีรายละเอียดต่าง ๆ ครบถ้วนด้วย เมื่อได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัลไปแล้ว ถึงเวลาการสร้างสินค้าที่ผลิตโดยบุคคลเหล่านี้ออกมา ก็จะสามารถบอกได้ว่า คนนี้เคยชนะเลิศการทอผ้ามาแล้ว เป็นต้น

ดังนั้น..ในเรื่องของการบริหารงานด้านวัฒนธรรม จึงควรที่จะมองภาพรวมว่า ทำอย่างไรเราจะสนับสนุนให้ครบวงจร ? ก็คือกระตุ้นให้เขาผลิตสินค้า เมื่อผลิตมาแล้วมีที่จำหน่าย แล้วยังมีการแข่งขันกันว่าฝีมือของใครจะดีกว่า กลายเป็นเกียรติประวัติประจำตัว ประจำครอบครัวของตัวเองไป
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-03-2023 เมื่อ 03:10
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 07-03-2023, 00:33
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,653
ได้ให้อนุโมทนา: 151,944
ได้รับอนุโมทนา 4,415,990 ครั้ง ใน 34,243 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ จะว่าไปแล้วไม่ว่าที่ไหนก็ทำได้ เพียงแต่ว่าติดขัดไปด้วยเรื่องของงบประมาณ เพราะว่าบุคคลที่เข้าแข่งขันการทอผ้าด้วยกี่เอวในครั้งนี้ กระผม/อาตมภาพมอบค่ารถให้กับทุกคน ส่วนผู้ชนะเลิศจะได้เกียรติบัตรพร้อมกับเงินสด ๕,๐๐๐ บาท อันดับที่สอง ได้เกียรติบัตรพร้อมกับเงินสด ๔,๐๐๐ บาท อันดับที่สาม ได้เกียรติบัตร พร้อมกับเงินสด ๓,๐๐๐ บาท และทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขัน จะได้รับค่าเดินทางคนละ ๑,๐๐๐ บาท เป็นต้น

เรื่องพวกนี้ ถ้าหากว่าเราใช้เงินในลักษณะสนับสนุนงานส่วนรวม ก็จะทำให้เกิดความคึกคัก และงานทางด้านวัฒนธรรมก็จะพลอยเจริญรุ่งเรืองไปด้วย

ดังนั้น..ในส่วนทั้งหลายเหล่านี้ ที่ทางวัดท่าขนุนมีมากกว่าสถานที่อื่นในการทำบุญวันมาฆบูชานั้น ก็ต้องบอกว่าเป็นไปเพราะสภาพพื้นที่บังคับอย่างหนึ่ง งานต่าง ๆ ที่เราดึงเข้ามารวมกันจนเป็นงานของส่วนรวมงานเดียวกันอีกอย่างหนึ่ง

ส่วนที่ยังปกติเหมือนกับผู้อื่นเขาก็คือ หลังจากที่กระผม/อาตมภาพมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศการทอผ้าพื้นเมืองด้วยกี่เอวแล้ว ก็จะกลับมานำญาติโยมทั้งหลายเวียนเทียนถวายเป็นพุทธบูชา หลังจากนั้นท่านทั้งหลายจะชมการแปรภาพแปรอักษรด้วยประทีป ๑๐,๐๐๐ ดวง ซึ่งปกติระยะหลังนี้ก็ไปถึงระดับ ๒๐,๐๐๐ ดวงแล้ว หรือว่าท่านทั้งหลายจะเดินทางกลับบ้านก็ขอให้เป็นไปตามอัธยาศัย

สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
วันจันทร์ที่ ๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-03-2023 เมื่อ 03:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 09:31



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว