กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 10-02-2012, 09:18
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,657
ได้ให้อนุโมทนา: 151,979
ได้รับอนุโมทนา 4,416,133 ครั้ง ใน 34,247 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

ให้ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตัวเอง ตั้งกายให้ตรง กำหนดสติไว้เฉพาะหน้า สติที่กำหนดไว้เฉพาะหน้านั้น คือให้เอาความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจเข้าไป ไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอย่างไรก็ได้ตามที่เราเคยมีความถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๕ ก็ถือว่าเป็นการเจริญกรรมฐานรับตรุษจีนของเราก็แล้วกัน ถึงแม้ว่าตรุษจีนจะเลยมาครึ่งเดือนแล้วก็ตาม

วันนี้มีญาติโยมหลายรายที่มาสอบถามเกี่ยวกับลักษณะของการทรงฌาน อยากจะบอกกับท่านทั้งหลายว่า การทรงฌานนั้น บางท่านก็มีสภาวะที่แตกต่างไปจากคนอื่นบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ท้ายสุดแล้วอาการส่วนใหญ่ก็จะเหมือนกัน จึงได้ตักเตือนท่านทั้งหลายเหล่านั้นไปว่า การปฏิบัติของเรานั้น ไม่ได้สำคัญตรงที่ว่าทรงสมาธิระดับไหนได้ ไม่สำคัญตรงที่ว่าจะรู้เห็นอะไรได้ แต่สำคัญตรงที่ว่าสามารถละกิเลสได้หรือไม่

ถ้าสามารถละกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง ได้ จะเป็นสมาธิระดับไหนก็ใช้ได้ และจะรู้เห็นหรือไม่..ไม่สำคัญ ขอให้สามารถทำใจให้ผ่องใสปราศจากกิเลสได้ แม้จะชั่วครั้งชั่วคราวก็ยังดีกว่าทำไม่ได้เสียเลย

ในเรื่องของการทรงฌานนั้น ถ้าหากว่ากันตามแบบในวิสุทธิมรรคแล้ว ปฐมฌานคือฌานที่ ๑ (ความเคยชินระดับที่ ๑) นั้น ท่านบอกว่าประกอบไปด้วยองค์ ๕ คือ วิตก คิดนึกตรึกอยู่ว่าจะภาวนา วิจาร เรากำลังภาวนาอยู่ ลมหายใจจะแรงจะเบา จะยาวจะสั้น กำหนดรู้ตามไปด้วย ปีติ มีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้นกับร่างกาย ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็คือ ขนลุก น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลงหรือดิ้นตึงตัง ลอยขึ้นไปทั้งตัว หรือว่ารู้สึกตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวรั่วเป็นรู ตัวแตก ตัวระเบิดไปก็มี

สุข คือความเยือกเย็นทั้งกายและใจ ที่ไม่สามารถจะอธิบายเป็นภาษามนุษย์ได้ถูก เนื่องจากว่าปกติแล้วเราจะโดนไฟใหญ่ ๔ กอง คือไฟจากความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง เผาผลาญอยู่ตลอดเวลา การที่สมาธิเริ่มทรงตัวไปถึงระดับหนึ่ง ไฟใหญ่ ๔ กองนี้จะโดนอำนาจของสมาธิกดดับลงไปชั่วคราว บุคคลที่โดนไฟเผาอยู่ตลอดเวลา อยู่ ๆ ไฟดับไป ถามเขาว่าสุขสบายอย่างไร เขาไม่สามารถจะอธิบายเป็นคำพูดได้ และท้ายสุดคือ เอกัคตารมณ์ อารมณ์ที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-02-2012 เมื่อ 03:26
สมาชิก 75 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 11-02-2012, 10:20
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,657
ได้ให้อนุโมทนา: 151,979
ได้รับอนุโมทนา 4,416,133 ครั้ง ใน 34,247 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

อาตมาเองเคยเจอขั้นตอนทั้งหลายเหล่านี้มาแล้ว และคิดว่าขั้นตอนทั้ง ๕ อย่างนี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน แต่ความจริงแล้วมีก่อนมีหลัง ถ้าจิตของเราละเอียดไม่พอ เราก็จะไปคิดว่าเกิดขึ้นพร้อมกัน เพราะว่าในชั่วขณะนั้น วิตก คิดอยู่ว่าจะภาวนา วิจาร กำลังภาวนาอยู่ ลมหายใจแรงหรือเบา ยาวหรือสั้น ใช้คำภาวนาอย่างไรก็รู้ ปีติ มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๕ อย่างดังกล่าวมา สุข มีความสุขมีความเยือกเย็นทั้งกายและใจอย่างบอกไม่ถูก และเอกัคคตารมณ์ อารมณ์ที่ตั้งมั่นอยู่กับการภาวนา จดจ่อแน่วนิ่งอยู่ในอารมณ์เดียว

ถ้าหากว่าเกิดขึ้นเร็วมาก เราจะแยกไม่ออก คิดว่าเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน แต่ถ้าหากสภาพจิตเราละเอียดพอ จะเห็นว่าเกิดขึ้นเป็นขั้น ๆ ไป จนกระทั่งอารมณ์ทรงตัวเต็มที่ก็เป็นเอกัคคตารมณ์ นี่คือความเคยชินระดับที่หนึ่ง หรือสมาธิระดับที่หนึ่ง ที่เรียกเป็นภาษาบาลีว่าปฐมฌาน

ในฌานที่ ๒ นั้น พอจิตแน่วนิ่งอยู่กับเอกัคคตารมณ์ไปสักระยะหนึ่ง สภาพจิตที่ทรงตัวมากขึ้น ลมหายใจก็รู้สึกว่าเบาลงหรือไม่มีไปเลย คำภาวนาบางทีก็หายไปเฉย ๆ หูได้ยินเสียงเบามาก หรือไม่ได้ยินเลยก็มี ถ้าอาการอย่างนี้เกิดขึ้นให้รู้ว่า เริ่มเข้าสู่ความเคยชินขั้นที่ ๒ หรือสมาธิขั้นที่ ๒ ตามภาษาบาลีที่เรียกว่าทุติยฌาน

ลำดับถัดไป บางท่านก็จะรู้สึกว่าปลายมือปลายเท้าชาแข็ง เย็นเข้ามา ๆ จนกระทั่งบางทีเนื้อตัวแข็งทื่อไปหมด เหมือนถูกสาปให้เป็นหินก็มี เหมือนกลายเป็นก้อนน้ำแข็งไปแล้วก็มี กลายเป็นรูปสลักไปแล้วก็มี บางท่านก็รู้สึกเหมือนโดนมัดตัวแน่นจนตึงเป๋ง เหมือนติดแน่นอยู่กับเสาก็มี ตอนนั้นลมหายใจก็ไม่มี คำภาวนาก็ไม่มี ถ้าอาการอย่างนี้เกิดขึ้นให้รู้ว่าเป็นกำลังของสมาธิระดับที่ ๓ เป็นความเคยชินระดับที่ ๓ หรือเรียกตามบาลีว่า ตติยฌาน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-02-2012 เมื่อ 11:14
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 12-02-2012, 08:36
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,657
ได้ให้อนุโมทนา: 151,979
ได้รับอนุโมทนา 4,416,133 ครั้ง ใน 34,247 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าหากว่าเราไม่กลัว เอาสติกำหนดตามดูตามรู้อยู่ว่าขณะนี้อาการเป็นอย่างนั้น สภาพจิตก็จะดำเนินต่อไป คล้าย ๆ กับว่ารวบเข้ามา ๆ จนสว่างโพลงอยู่จุดใดจุดหนึ่งเฉพาะหน้า อาจจะเป็นตรงหน้าของเราก็ได้ ในอกก็ได้ หรือบางทีเหนือศีรษะก็ได้

ความสว่างไสวนั้นสว่างจนบอกไม่ถูก ยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ยามเที่ยง แต่เป็นความสว่างที่เยือกเย็น ไม่ใช่ความสว่างที่ร้อนแบบแสงอาทิตย์ ความสว่างไสวสดใสเจิดจ้านั้นจะอยู่เฉพาะหน้าของเรา ตอนช่วงนั้นประสาทความรู้สึกของร่างกายจะโดนตัดขาดไปแล้ว ก็คือสภาพจิตส่วนจิต ร่างกายส่วนร่างกาย เมื่อประสาทเชื่อมโยงไม่ถึงกัน สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นกับร่างกายเราก็ไม่รับรู้ เหมือนกับคนที่ตายไปแล้ว

เสียงปืน เสียงประทัด เสียงระเบิดดังอยู่ข้างหู เสียงฟ้าผ่าลงมาข้างหู ก็ไม่ได้ยิน สภาพของร่างกายเหมือนกับไม่หายใจแล้ว แต่ความจริงยังมีลมละเอียดที่เรียกว่าปราณ วิ่งอยู่ระหว่างจมูกกับสะดือ สำหรับบุคคลที่ทำถึงระดับนี้จะเห็นว่าปราณเส้นนี้นั้น ใหญ่โตแข็งแรงมั่นคงมาก แต่ความจริงแล้วลักษณะเหมือนเส้นด้ายละเอียด ใส ๆ เหมือนกับสายเอ็นเบ็ดตกปลา ถ้าหากว่าสายนี้ขาดก็คือหมดลมตายไปเลย

แต่ถ้าตราบใดสายเชื่อมโยงปราณเส้นนี้ยังอยู่ ก็จะไม่ตาย ดังนั้น..ท่านทั้งหลายถ้าทำมาถึงจุดนี้ไม่ต้องไปหวาดกลัว เพราะตอนนั้นสติสมาธิของเราจะละเอียดมาก ลมปราณละเอียดเล็ก ๆ นี้ เราจะรู้สึกว่าใหญ่โตเกาะติดได้มั่นคงมาก ถ้าอาการอย่างนี้เกิดขึ้นให้รู้ว่า นี่เป็นอาการของความเคยชินขั้นที่ ๔ สมาธิขั้นที่ ๔ หรือเรียกตามบาลีว่าจตุตถฌาน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-02-2012 เมื่อ 08:40
สมาชิก 60 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 13-02-2012, 07:46
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,657
ได้ให้อนุโมทนา: 151,979
ได้รับอนุโมทนา 4,416,133 ครั้ง ใน 34,247 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ที่เกิดขึ้นกับเรา จะมีรายละเอียดปลีกย่อยเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่ ขอให้พวกเราตีราคาข้างต่ำไว้เสมอ อย่างเช่น ปฐมฌานละเอียดนั้น บางทีความรู้สึกของเราปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง สภาพจิตมีการรู้ลมเอง ภาวนาเองโดยอัตโนมัติ เป็นต้น แต่บางท่านก็ไปเข้าใจว่านี่เป็นอาการของฌาน ๒ ฌาน ๓ หรือฌาน ๔ ก็มี ท่านทั้งหลายจะถามคนอื่น ถ้าใช้คำถามผิดพลาดแม้แต่นิดเดียว ผู้ที่รับฟังคำถามก็จะเข้าใจคลาดเคลื่อนและตอบผิดไปก็มี

ดังนั้น..สำคัญก็คือศึกษาขั้นตอนเหล่านั้น แล้วเปรียบเทียบดูว่าสมาธิของเราตอนนี้อยู่ในขั้นไหนก็จะเข้าใจได้ แต่ก็อยากจะสรุปลงตรงที่ว่า สมาธิขั้นไหนก็ตามไม่สำคัญ สำคัญตรงที่ว่าขณะนั้นจิตของเราปราศจากรัก โลภ โกรธ หลง หรือเปล่า ถ้าหากว่ารัก โลภ โกรธ หลง กินใจไม่ได้ ถือว่าสภาพจิตของเราตอนนั้นมีคุณภาพ

แต่ถ้าหากมีความมั่นคงสูงถึงระดับอัปปนาสมาธิตั้งแต่ปฐมฌานละเอียดขึ้นไป ก็เป็นการประกันความเสี่ยงได้ค่อนข้างแน่ว่า ถ้าตราบใดที่เราไม่ทิ้งให้สมาธิของเราหลุดออกไปจากกำลังของฌานสมาบัติตรงหน้า กิเลสก็ยังกินใจเราไม่ได้ แต่ขณะเดียวกันก็มีบุคคลอีกจำพวกหนึ่ง เมื่อเกิดความสุขสงบเยือกเย็นทั้งกายและใจขึ้น รัก โลภ โกรธ หลง โดนกำลังสมาธิกดนิ่งสนิทไป คิดว่าตนเองบรรลุมรรคผลแล้วก็มี..!

ดังนั้น..จึงต้องระมัดระวังตรงนี้ให้มาก ๆ อย่าไปทึกทักเอาว่าเราได้ฌานนั้นฌานนี้ สมาธิขั้นนั้นขั้นนี้แล้ว ให้ประมาณการณ์ขั้นต่ำไว้เสมอว่าเรายังไม่ได้ แล้วตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติของเราต่อไป เมื่อกำลังใจทรงตัวเต็มที่แล้ว จะเป็นธรรมชาติของสมาธินั้น ๆ ว่า ถึงเวลาก็จะคลายตัวออกมาเองโดยอัตโนมัติ เมื่อสมาธิคลายตัวออกมาเราต้องระมัดระวังให้มาก ต้องรีบหาวิปัสสนาญาณให้คิดพิจารณาโดยด่วน ไม่อย่างนั้นแล้วสภาพจิตจะไปคว้าเอา รัก โลภ โกรธ หลง มาฟุ้งซ่าน เอามาคิดเอง ถ้าเป็นอย่างนั้นก็จะฟุ้งซ่านอย่างเป็นงานเป็นการ เพราะมีกำลังของสมาธิหนุนเสริมอยู่

สำหรับตอนนี้ก็ให้ท่านทั้งหลายกำหนดดูกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก พร้อมกับคำภาวนาของตนเองไปตามอัธยาศัย ถ้าหากว่ากำลังใจทรงตัวแล้ว จะถอยออกมาพิจารณาอย่างไรก็ได้ ตามที่ถนัดและเคยชิน จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันศุกร์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-02-2012 เมื่อ 13:49
สมาชิก 59 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 18-03-2012, 18:39
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 258
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,388 ครั้ง ใน 1,282 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

สามารถรับชมได้ที่

http://www.sapanboon.com/vdo/demo.ph...ame=2555-02-03

ป.ล.
- สามารถชมบนไอโฟนและแอนดรอยด์ได้
- ห้ามคัดลอกไฟล์ไปเผยแพร่ที่อื่นเด็ดขาด !
สมาชิก 21 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 04:28



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว