กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี

Notices

เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี เก็บข้อธรรมจากบ้านวิริยบารมีมาฝาก สำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสเดินทางไป

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #61  
เก่า 02-12-2013, 16:33
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : การเห็นรูปเห็นนามเป็นอะไร เป็นภาวนามยปัญญาหรือเปล่าครับ ?
ตอบ : การเห็นรูปเห็นนามเป็นทั้งจินตามยปัญญา ก็คือการนึกคิดแล้วเห็นแจ้งเข้าใจ และภาวนามยปัญญาก็คือการเห็นด้วยปัญญา ยอมรับว่าสภาพจริง ๆ เป็นอย่างนั้น อย่างแรกเหมือนกับเห็นตามตำรา อย่างที่สองเห็นเพราะเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ

ถาม : อย่างในฌานต้องเห็นเป็นนิมิต เป็นรูป แต่ในวิปัสสนาต้องเห็นว่าไม่มี ?
ตอบ : ต้องดูด้วย เรื่องของรูปนาม ถ้าอยู่ในฌานส่วนใหญ่เหลือแต่นาม ไม่มีรูป เพราะสมาธิของเราดิ่งอยู่ข้างใน เหลือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณให้เรารับรู้อยู่ เพราะว่าจิตกับกายแยกออกจากกัน แล้วเรื่องของรูปก็กลายเป็นหุ่นอยู่เฉย ๆ เราไปรู้ในเรื่องของนามเสียมากกว่า

แต่ถ้าวิปัสสนา วิ แปลว่าวิเศษ แจ้ง ต่าง ปัสสนา คือ เห็น ก็คือเห็นอย่างวิเศษ เห็นตามสภาพความเป็นจริงว่าเป็นอย่างไร นั่นเป็นการเห็นด้วยปัญญาจริง ๆ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-12-2013 เมื่อ 17:35
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 179 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #62  
เก่า 02-12-2013, 16:41
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ที่เขาบอกว่าญาณทัสนะ ?
ตอบ : ญาณทัสนะก็คือการที่รู้เห็น คราวนี้การรู้เห็น ตราบใดที่ยังไม่เป็นวิมุตติญาณทัสนะ ยังไม่ใช่การรู้เห็นเพื่อการหลุดพ้น สักแต่ว่ารู้เห็นตามสภาพเท่านั้น แต่ถ้าจิตใจรู้เห็นแล้วยอมรับปล่อยวางได้ จึงจะเป็นวิมุตติญาณทัสนะ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-12-2013 เมื่อ 17:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 183 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #63  
เก่า 02-12-2013, 16:48
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : บางท่านบอกว่า ทรงสมาธิแล้วร่างกายนี่หายไป ?
ตอบ : ถ้าเป็นในส่วนของการปฏิบัติ ก็แปลว่าเริ่มทรงฌานระดับสูงได้ ถือว่าสภาพของจิตกับประสาทเริ่มแยกออกจากกัน ไม่รับรู้อาการทางร่างกาย เหมือนกับร่างกายนี่หายไป ถ้าเป็นส่วนของวิปัสสนาญาณ ก็จัดว่าเป็นภังคานุปัสสนาญาณ คือเห็นการดับสลายของร่างกาย ว่าไม่มีอะไรเหลืออยู่ ถ้ารู้เห็นละเอียดจริง ๆ แล้วอาศัยยกรูปขึ้นพิจารณาแล้วเพิกรูปทิ้งเสีย จะเป็นอากิญจัญญายตนฌานด้วย

ถาม : แล้วทำไมทิ้งต้องทิ้งรูป ?
ตอบ : แล้วจะเก็บไปทำไม ?

ถาม : ก็อยู่ ๆ หายไปเลย ?
ตอบ : แค่รับรู้ว่าเป็นอย่างไร แล้วไม่ไปปรุงแต่งก็พอ

ถาม : บางทีเราก็สงสัย ?
ตอบ : แค่ไม่รับรู้เฉย ๆ บางทีเราสนใจทำอะไรอยู่ตรงหน้า คนนั่งรอบข้างเยอะแยะไปหมด เราไม่รับรู้เขาเลย แล้วเขาหายไปไหน ? เขาก็อยู่ตรงนั้นนั่นแหละ

ถาม : ปฏิภาคนิมิต ?
ตอบ : ถ้าทำในเรื่องของกสิณ ก็พิจารณาองค์กสิณ จัดว่าเป็นรูป แต่ก็เป็นเพียงรูปในนามเท่านั้น เพราะว่าไม่ได้สัมผัสจับต้องจริง ๆ กำหนดขึ้นมาเป็นรูปในความรู้สึกของเรา แต่คนอื่นสัมผัสจับต้องไม่ได้ จัดเป็นเพียงรูปในนามเท่านั้น แต่ถ้าเป็นการทรงฌานธรรมดา ๆ ลักษณะของรูปในนามที่ชัดที่สุด ก็คือลมหายใจเข้าออก ไม่ใช่รูปที่แท้จริง เป็นรูปในส่วนที่เป็นนามธรรม คือสามารถกำหนดได้ รู้ได้ แต่จับต้องไม่ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 02-12-2013 เมื่อ 18:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 179 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #64  
เก่า 02-12-2013, 16:54
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ทำสมาธิให้ทรงตัวแล้วก็ค่อยพิจารณารูป แต่ไม่ได้ตั้งพิจารณาไว้ก่อน ?
ตอบ : นั่นก็คือวิปัสสนาธรรมชาติ เห็นแล้วมีความเข้าใจว่า สภาพความเป็นจริงของทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอย่างนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ถ้าดูจากวิปัสสนาญาณก็คือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เห็นการเกิดและการดับของสรรพสิ่งทั้งหลาย

คราวนี้ในเรื่องของปัญญาที่รู้เห็น ไม่ใช่ว่าไปตามขั้นตอน หากแต่ว่าไปตามกำลังของสมาธิของเรา สมาธิของเรายิ่งสูงมากเท่าไร ก็ส่งให้ปัญญามีกำลังรู้เห็นได้มากเท่านั้น ดังนั้น..ท่านเองพอท่านมองเห็น ท่านก็รู้ว่าขนาดทองคำแท้ ๆ ยังเสื่อมสลายได้ แล้วสภาพร่างกายของเรา ไม่ใช่โลหะ ไม่ได้แข็งแกร่งขนาดนั้น ก็ไม่เหลือเหมือนกัน ของคนอื่นก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน ท่านก็ถอนความปรารถนาในร่างกายออก ก็จบ

เรื่องของคนที่ทำ ต้องบอกว่าพอเขาทำได้แล้วดูง่าย แต่ตอนที่ตะเกียกตะกายทำนี่แทบตายเลย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-12-2013 เมื่อ 17:38
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 173 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #65  
เก่า 02-12-2013, 16:59
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ในธัมมจักรฯ ที่ว่าพระอัญญาโกณฑัญญะเห็นแจ้ง ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา ?
ตอบ : ในส่วนที่ท่านเห็นก็คือ เป็นการสรุปในสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมาตั้งแต่ต้น ว่าสรรพสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่มีอะไรเหลืออยู่ เราจะดูว่าตั้งแต่ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสมาในเบื้องต้น ตั้งแต่บอกว่า ๒ ส่วนที่ภิกษุไม่ควรไปเสวนาด้วย ก็คือการทรมานตน และการทำตนสบายจนเกินไป แล้วท้ายที่สุดก็ต้องเลี้ยวเข้ามาหาอริยสัจ ๔ ก็คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ท่านก็สรุปได้ว่า สิ่งใดที่เกิดขึ้น ถ้าเราไม่ไปยุ่งด้วย สิ่งนั้นก็ดับไป นั่นก็คือการที่ท่านอัญญาโกณฑัญญะท่านสรุปมา เพราะฉะนั้น..ในส่วนที่ว่า ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สัพพันตัง นิโรธธัมมัง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดแต่เหตุ ถ้าเหตุดับสิ่งนั้นก็ดับ เป็นการสรุปผลของท่านอัญญาโกณฑัญญะ ท่านสรุปจากสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสมาทั้งหมด ว่าที่แท้เป็นอย่างนี้

ในเมื่อท่านเข้าใจ ก็คือท่านเห็นหลักธรรมในตรงนั้นว่า ความเป็นจริงของธรรมชาติเป็นอย่างนี้นี่เอง เพราะฉะนั้น..สิ่งที่ท่านเห็นก็คือเห็นสัจธรรมแท้ ๆ ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป


ถาม : การเห็นนี่คือ ?
ตอบ : การเข้าใจ เป็นการเห็นด้วยปัญญา เรียกปัญญาจักษุ เข้าใจ เห็นแจ้ง แล้วก็ยอมรับว่าความจริงเป็นเช่นนั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-12-2013 เมื่อ 17:40
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 173 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #66  
เก่า 02-12-2013, 17:02
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : อย่างรู้ว่ารูปกระทบภาวะแข็ง ภาวะเย็น ภาวะร้อน อย่างนี้ถือว่าเห็นรูปแล้วใช่ไหมครับ ?
ตอบ : เป็นการกำหนดรูปนามเฉย ๆ กำหนดรู้สึกในส่วนของความรู้สึกทั้งหมด เป็นเวทนาก็จัดเป็นนาม แต่ถ้าสัมผัสในส่วนที่เรารู้สึกได้ก็จัดเป็นรูป ความรู้สึกที่สัมผัสก็เป็นนาม แค่นั้นเอง

ส่วนทั้งหลายเหล่านี้ ถ้ากำลังใจของเราจดจ่อต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ก็แค่เราไม่ปรุงแต่งให้เกิด รัก โลภโกรธ หลง เท่านั้น ยังไม่สามารถที่จะเอาไปใช้งานจริงได้ เผลอสติเมื่อไรกิเลสจะตีกลับคืน แต่ถ้าเราไม่เผลอสติ สามารถดำเนินจดจ่อต่อเนื่องได้โดยตลอด กิเลสไม่มีโอกาสเกิด ถ้าทำได้ยาวนานพอ การที่กิเลสเกิดไม่ได้ กิเลสก็จะดับไปเอง แต่ถ้าทำลักษณะอย่างนั้นต้องบอกว่าเดินทางไกล คำว่าเดินทางไกลก็คือถึงได้ยาก เพราะว่าคนที่จะเอาสติจดจ่อต่อเนื่องตามกัน ทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งหลับทั้งตื่นนั้น หาได้ยากมาก
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-12-2013 เมื่อ 17:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 162 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #67  
เก่า 02-12-2013, 17:05
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : อุทยัพพยญาณ ท่านจะเห็นลักษณะไหน ?
ตอบ : สมมติที่เขายก..ย่าง..เหยียบ ยกหนอ...ทันทีที่ยก พอหนอก็คือสิ้นสุดลง ก็คือเกิดขึ้น ดับไป ย่างหนอ...ระหว่างย่างก็คือเกิดขึ้น หนอสุดลงก็คือดับไป เหยียบหนอ..เหยียบก็คือเกิดขึ้น หนอก็คือดับไป ก็คือลักษณะของการเกิดดับ ๆ เป็นระยะ ๆ เขาเรียกว่าสันตติ สืบเนื่องไป แต่ความละเอียดของจิตที่แยกแยะออก ทำให้เห็นชัดว่าความเกิดดับเป็นชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น ไล่กันไปเรื่อย ๆ จึงดูเหมือนตั้งอยู่ แต่ความจริงดับอยู่ตลอดเวลา
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-12-2013 เมื่อ 17:42
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 164 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #68  
เก่า 02-12-2013, 17:50
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : บางท่านบอกว่า แม้แต่ความตั้งใจทำ ก็มีกิเลสแฝงอยู่ ?
ตอบ : ทุกอย่างมีกิเลสแฝงอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าในส่วนของกิเลสตัวนี้ เป็นสิ่งที่เกิดกับปัญญา ก็คือเรามีปัญญาเห็นว่าควรจะทำอย่างนั้น ถึงจะเป็นทางของการหลุดพ้น ท่านก็เลยไม่ได้เรียกเป็นกิเลสตัณหา แต่เรียกเป็นธรรมฉันทะ เพราะถ้าไม่อยากเราจะไม่ทำ

ถาม : ท่านกล่าวถึงเพราะมีความปรารถนาให้สติตามรู้ทัน ท่านละเอียดลึกซึ้งมากเลยครับ
ตอบ : จะว่าไปแล้วก็คือทำให้ได้ก่อน อย่าเพิ่งไปคิดเรียกว่าอะไร หรือว่าเป็นอย่างไร ถ้าทำได้จริง ๆ สภาพสติจะตามทัน ก็จะอ๋อ...ที่แท้เป็นอย่างนี้เอง จะได้ระมัดระวังตัวเอง ไม่เช่นนั้นจะมัวแต่กลัวกิเลสแล้วไม่ได้ทำอะไรเลย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 02:38
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 167 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #69  
เก่า 02-12-2013, 17:53
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : บางท่านสอนรู้อิริยาบถ ให้ปล่อยตามธรรมชาติ ?
ตอบ : จริง ๆ แล้วควรจะให้รับรู้ตามธรรมชาติ เพราะว่าคนเราเองไม่มีเวลาที่จะไปยกย่างเหยียบอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น..สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราทำ ไม่ว่าจะเดิน กิน นั่ง นอน คิด พูด ทำ หรืออะไรก็ตาม จำเป็นที่จะต้องเอาสติไปใส่ไว้ตลอด เพื่อที่จะได้ไม่เผลอไปปรุงแต่ง ไปรักหรือไม่รัก ชอบหรือไม่ชอบ ฯลฯ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 02:40
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 170 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #70  
เก่า 02-12-2013, 18:25
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : อย่างกายคตาสติ ที่บอกว่าเราดูเส้นผมขณะปัจจุบัน ?
ตอบ : ดูทั้งในอดีต ก็คือระลึกรู้อยู่ว่า ก่อนหน้านี้เป็นอย่างไร ดูอยู่ในปัจจุบัน คือตอนนี้เป็นอย่างไร ดูไปในอนาคต สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเป็นอย่างไร ขณะเดียวกันท่านบอกว่า ให้พิจารณาในส่วนของปฏิกูลสัญญาร่วมกันไปด้วย ก็คืออย่างเช่นว่า ปฏิกูลโดยสภาพ ต่อให้เราสระผมใหม่ ๆ สะอาดเอี่ยมเลย ถ้าเส้นผมตกไปในอาหาร เราก็ไม่กินเพราะเรารังเกียจ นี่คือปฏิกูลโดยสภาพ

ปฏิกูลโดยการสัมผัส คืออยู่กับร่างกายของเรา โดนเหงื่อไคลจับต้องเข้า ก็เกิดกลิ่นสาบกลิ่นสางขึ้นมา ท่านให้เอาปฏิกูลสัญญาประกอบเข้าไปด้วย


ถาม : ไม่ใช่อารมณ์นึกหรือครับ ?
ตอบ : ตอนแรกเหมือนกับนึก คือว่าจำว่าเป็นอย่างนั้น แต่ถ้าพิจารณาไปจนกระทั่งสภาพจิตยอมรับ จะเป็นปัญญา มองเห็นจริง ๆ ว่าเป็นอย่างนั้น

ถาม : อย่างอดีตเราเจอสภาพศพอย่างนั้น แต่ปัจจุบันซากศพที่เน่าเปื่อยแบบนั้นเราไม่ได้เจอ ?
ตอบ : เจออันไหนก็ทำเหมือนกัน อย่างเจอเขียงหมู เป็นต้น

ถาม : แล้วน้อมมาใส่ตัว ?
ตอบ : เหมือนกัน เรากับหมูโดนหั่นเป็นชิ้น ๆ ก็มีลักษณะเหมือนกัน มีเลือดมีเนื้อ มีอวัยวะภายในเหมือนกัน

ถาม : ถ้าเราไปเจอแล้วน้อมเข้ามาสู่ภาพนั้นก็เป็นอดีต ?
ตอบ : เป็น..แต่ในขณะเดียวกันอารมณ์ของเราดึงมาอยู่ในปัจจุบัน ก็คือเปรียบเทียบกับตัวของเราเอง ท่านใช้คำว่าโอปนยิโก ต้องน้อมนำเข้ามาในตัวเราเสมอ ว่าสภาพร่างกายแบบนั้น ตัวเราก็เป็นแบบนั้น ในเมื่อน้อมนำมาเข้าแล้วก็กระจายออกว่า ตัวเราก็เป็นแบบนี้ คนอื่นก็เป็นเช่นนี้ ในเมื่อสภาพความเป็นจริงเป็นอย่างนี้ แล้วตัวเราจะยังมีความปรารถนาในสภาพร่างกาย ที่เต็มไปด้วยความสกปรกเหมือนอย่างกับซากศพเหล่านี้ไปทำไม แล้วในเมื่อร่างกายของเรา เรายังไม่ต้องการ แล้วของคนอื่นเราจะต้องการไหม ? กระจายออกแล้วรวมเข้า รวมเข้าแล้วกระจายออก ดังนั้น..แม้ว่าจะเป็นส่วนของอดีต แต่ถ้าเราดึงขึ้นมาพิจารณา ก็กลายเป็นปัจจุบัน

ถาม : ร่างกายคนอื่นก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน ก็เป็นอนุมานไม่ได้เห็นจริง ?
ตอบ : ถ้าปัญญาถึงจะเห็นจริง ๆ ก็คือในเมื่อตัวเราเป็นอย่างนั้น คนอื่นก็เป็นอย่างนั้น สภาพทุกอย่างเหมือนกันหมด ไม่มีอะไรต่างกัน ลักษณะเหมือนกับเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหมือนกัน ประกอบไปด้วยอาการ ๓๒ เหมือนกัน ถ้าลักษณะทางโลกทั่ว ๆ ไปจะเป็นการอนุมาน แต่ถ้าสภาพจิตของเรายอมรับ มีปัญญาเห็นจริง จะรู้แจ้งแทงตลอดไปหมดเลย จะไม่โดนสิ่งที่มาบดบัง เคลือบแคลง หรือว่าสงสัยอยู่ เพราะว่าในส่วนของดวงปัญญา สว่างเหมือนกับแสงที่สว่างมาก เมื่อฉายไปในที่มืด ย่อมเห็นภาพทุกอย่างได้อย่างชัดเจน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 03-12-2013 เมื่อ 10:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 159 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #71  
เก่า 02-12-2013, 18:49
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : จิตตานุปัสสนากับธัมมานุปัสสนา ในส่วนที่ว่าจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ และในธัมมานุปัสสนา รู้ว่ามีกามฉันทะก็รู้ว่ามีกามฉันทะ อันนี้แตกต่างกันอย่างไรครับ ?
ตอบ : จริง ๆ ก็คือรู้อยู่ในปัจจุบันขณะว่าจิตเสวยอารมณ์อย่างไร ? ส่วนในเรื่องของธัมมานุปัสสนานั้น ท่านยกขึ้นมาในเรื่องการพิจารณาว่าอารมณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร ? ในเมื่ออารมณ์ใจที่ประกอบไปด้วยราคะอย่างนี้ ตอนนี้ทำให้เราเกิดความร้อนรุ่มกระวนกระวายอย่างไร ? เกิดความทุกข์อย่างไร ? แล้วเราเองยังปรารถนาความทุกข์เช่นนั้นอีกหรือไม่ ? ถ้าเราไม่ปรารถนา เราวางลงได้ไหม ? ถ้าวางได้ก็จะจบ แต่ถ้าเราไม่วางลง เอาไปปรุงแต่งต่อ ก็จะเกิดปัญหาต่อไป

ในส่วนของธัมมานุปัสสนาส่วนใหญ่จะเป็นการพิจารณาแล้ว ในส่วนของจิตตานุปัสสนาเป็นการรู้เท่าทันในปัจจุบันขณะ


ถาม : ธัมมานุปัสสนานี่คือเข้าใจที่ปรากฏ ?
ตอบ : เข้าใจในสิ่งที่มาปรากฏตามสภาพความเป็นจริง อย่างเช่น นิวรณ์ ๕ กามฉันทะ ความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย ที่เกิดขึ้นกับตัวเองก็รู้อยู่ แต่สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างทุกข์สร้างโทษให้แก่เรา ในเมื่อสร้างทุกข์สร้างโทษให้แก่เรา ถ้าเราไม่ไปนึกคิดปรุงแต่งต่อ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็ไม่สามารถที่จะสร้างทุกข์สร้างโทษแก่เราได้ ก็เท่ากับว่าดับไป ส่วนหนึ่งอยู่ในลักษณะแค่รู้เท่าทัน อีกส่วนหนึ่งประเภทรู้แล้วปล่อยวาง

ถาม : ถ้ามีสติรู้ทันจะดับไปเอง ?
ตอบ : จะดับไปเอง แต่ว่าในส่วนของสติรู้เท่าทันนั้น จะอยู่ในลักษณะว่าดับโดยการไม่ปรุงแต่งต่อ ในเมื่อดับโดยไม่ปรุงแต่งต่อ ก็จะอยู่ในลักษณะของ ตทังควิมุตติ การหลุดพ้นด้วยองค์ของวิปัสสนาญาณนั้น ๆ แต่ถ้าเราเองรู้เหตุจริง ๆ ว่าเกิดอย่างไร แล้วเราไม่ไปแตะต้องสาเหตุนั้น จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ถ้าอย่างนั้นจะเป็นสมุจเฉทวิมุตติ ก็คือตัดขาดได้อย่างสิ้นเชิง

ถาม : จะกินข้าวให้อร่อย ?
ตอบ : เขาไม่ได้ต้องการให้อร่อย

ถาม : ถ้าไม่อร่อยก็ไม่กินนี่คะ ?
ตอบ : อร่อยกว่าปกติด้วย เพียงแต่ว่ารู้เท่าทันแล้วไม่ไปคิดเท่านั้น ที่อร่อยกว่าปกติ เพราะพอสภาพจิตยิ่งละเอียด การรู้รสยิ่งละเอียดขึ้น

ขออภัยโยมบางคนที่ฟังไม่รู้เรื่องนะจ๊ะ เพราะว่าบางอย่างที่โยมเขาถาม ต้องยกศัพท์บาลีขึ้นมาประกอบด้วย ถ้าเราไม่มีพื้นฐานเรื่องทั้งหลายเหล่านั้นมาก่อนก็จะไม่เข้าใจ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 02:46
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 144 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #72  
เก่า 03-12-2013, 10:32
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : เวลากิเลสเกิดขึ้น ไม่รู้ทันขณะเกิด มารู้ทีหลัง ต้องมาตั้งรู้ใหม่
ตอบ : วิ่งตามหลังกิเลส แต่ยังดีที่รู้ทันว่ากิเลสเกิด

ถาม : (ไม่ชัด)
ตอบ : สองอย่างจริง ๆ ต้องทำคู่กันไป เรื่องของสมถะเหมือนกับเราสร้างกำลังให้เกิด แล้วก็ใส่เกราะป้องกันตัวเอง ไม่อย่างนั้นถึงเวลากิเลสตีเรา ถ้าไม่มีกำลังของสมาธิซึ่งเป็นสมถกรรมฐานมาช่วย เราจะทนทุกข์ทรมานมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะตอนที่จะทำอย่างไรให้ระงับยับยั้งอยู่ จะทำอย่างไรจะรู้เท่าทัน แต่ถ้าเรามีตัวสมาธิเหมือนกับเราใส่เกราะอยู่ กิเลสมีปัญญาแค่ไหนก็กระทบไป ฉันไม่สะดุ้งสะเทือน ไม่หวั่นไหว ในเมื่อไม่สะดุ้งสะเทือนไม่หวั่นไหว เดี๋ยวก็มองเห็นเองว่าตัวไหนกวนเรา เราจะได้ตีหัวกิเลสได้ถูก

แต่ในเรื่องของวิปัสสนาก็คือการที่เรามีอาวุธคมกล้าอยู่ในมือ ฝ่ายหนึ่งมีกำลัง ฝ่ายหนึ่งมีอาวุธ ก็สามารถที่จะตัดอะไรให้ขาดได้ง่าย แต่ถ้าเราไปพิจารณาอย่างเดียว เหมือนกับเราไม่มีกำลัง พยายามไปยกอาวุธหนัก ๆ ยกเท่าไรก็ไม่ขึ้น ใช้งานไม่ได้ ดังนั้น ๒ อย่างต้องทำด้วยกัน

แต่ว่ามีบางสายเขาให้ทำอย่างเดียว ก็เป็นการทรมานบันเทิงมาก เพราะว่าถึงเวลาก็โดนกิเลสตีกระหน่ำเสียจนไม่เป็นผู้เป็นคน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 17:46
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 148 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #73  
เก่า 03-12-2013, 10:32
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเหมาะกับสายไหน ?
ตอบ : อยู่ที่เราว่าชอบแบบไหน และอยู่ที่เราว่าสร้างบุญมาดีพอไหม ถ้าเราชอบแบบนี้ เราทำของเราแบบนี้ ถ้าสร้างบุญมาดีพอ ได้สายกรรมฐานที่เหมาะสมแก่ตัวเอง ก็ได้มรรคได้ผลได้ง่าย แต่ถ้าเราไม่ชอบแบบนี้ ต่อให้เขาสอนให้ตายก็เหมือนกับไม่เข้าหู ต้องแล้วแต่เวรแต่กรรมว่าไปสร้างบุญร่วมกับใครมา เดี๋ยวพอฟังของเขาเข้าหูก็ปฏิบัติตามได้เอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 17:46
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 158 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #74  
เก่า 03-12-2013, 10:39
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : คำว่ามีวิปัสสนานำหน้าและสมถะตามหลัง แปลว่าอย่างไรครับ ?
ตอบ : พิจารณาไปเรื่อย ๆ สภาพจิตจะน้อมดิ่งเข้าไป จนกระทั่งกลายเป็นสมาธิไปเอง ขณะที่พิจารณาสมาธิจะค่อย ๆ เกิดขึ้น เพราะถ้าสมาธิไม่เกิด กำลังจะไม่พอตัดกิเลส ก็เลยกลายเป็นการเอาวิปัสสนานำหน้า แล้วในที่สุดสมถะก็จะตามมา แต่ถ้าลักษณะอย่างนี้ต้องปัญญาเยอะจริง ๆ ไม่อย่างนั้นแล้วกิเลสตีหงายท้องไปเสียก่อน

แต่ถ้าจะใช้สมถะในการหยุดยั้งกิเลสไว้ก่อน แล้วค่อยใช้กำลังพิจารณาทีหลังจะปลอดภัยกว่า แต่ก็จะมีโอกาสเผลอสติ ติดสุขอยู่ในสมาธินั้นจนลืมพิจารณา ต่างคนต่างก็มีข้อบกพร่องของตัวเอง จึงควรที่จะทำคู่กันไป สลับกันเดิน พิจารณาไปจนกระทั่งสมาธิเกิด แล้วก็หันมาภาวนา ภาวนาเสร็จไปต่อไม่ได้ ก็คลายออกมาพิจารณา จะผลัดกันเดินอย่างนี้จึงจะก้าวหน้า


ถาม : ไปพร้อมกันไม่ได้
ตอบ : เป็นไปไม่ได้ ลองเดิน ๒ ขาพร้อมกันดูสิ ก็กลายเป็นนกกระจอกเท่านั้น คือกระโดดไปอย่างเดียว นกกระจอกก้าวเดินไม่เป็น

ถาม : พอทำสมาธิถึงระดับหนึ่งแล้วผ่อนลงมาคิด ?
ตอบ : ความเคยชินทำให้เราคลายลงมาคิดเอง บางทีเราก็ไม่รู้ แต่เป็นการคิดโดยที่มีสมาธิระดับสูงคุมอยู่ สมาธิระดับสูงที่คุมอยู่ เป็นการประกันความปลอดภัยให้แก่เรา ว่าจะไม่พลาดหลุดออกไป

ถาม : ถ้าอยู่ในสมถะเข้าฌานเท่าไรก็เป็นตามกำลังที่ถอยออกมา ?
ตอบ : ตอนที่เราถอยมานั่นกำลังของฌานยังคุมอยู่

ถาม : การเข้ามรรคนี่อยู่ในอัปปนาสมาธิ ?
ตอบ : อย่าลืมว่าสมาธิที่เราเข้าต้องเป็นอัปปนาสมาธิ เพราะถ้ากำลังไม่ถึงอัปปนาสมาธิขึ้นไปก็ไม่พอตัดกิเลส ในเมื่อพอตัดกิเลสก็แสดงว่าอยู่ในอัปปนาสมาธิแล้ว ก็คืออยู่ในส่วนของมรรคที่เราจะก้าวไปหาผล
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 17:49
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 155 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #75  
เก่า 03-12-2013, 15:59
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : การเข้าถึงมรรคต้องเป็นฌานสี่หรือเปล่า ?
ตอบ : จะมรรคไหนก็ตาม อย่างน้อยต้องปฐมฌานขึ้นไป ไม่อย่างนั้นตัดกิเลสไม่ไหวหรอก แต่ถ้าตั้งแต่อนาคามีมรรคขึ้นไปก็ต้องฌาน ๔ ไม่อย่างนั้นกำลังไม่พอ กิเลสจะแรงกว่า

ถ้าโยมไม่เข้าใจก็เอาที่ง่าย ๆ นะจ๊ะ ตอนนี้เขาว่าของยากเพราะว่ากันตามตำรา ในเมื่อว่ากันตามตำรา ถ้าเราไม่ได้อ่านตำรามานี่ตายเลย โยมบางคนฟังไม่รู้เรื่อง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 17:49
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 156 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #76  
เก่า 03-12-2013, 16:10
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : อนิมิตตเจโตสมาธิ ?
ตอบ : ก็อยู่ในลักษณะของอรูปฌาน ไม่ต้องการนิมิต ยกนิมิตทิ้งเสีย ในเมื่อยกนิมิตทิ้ง เราก็พิจารณาจนอารมณ์ใจทรงตัวเต็มที่ ก็คือกำลังของฌาน ๔ ธรรมดานั่นแหละ ตั้งรูปขึ้นมาก่อน แล้วทิ้งรูปนั้นเสีย เป็นอรูปฌาน เพราะฉะนั้นอรูปฌานก็คืออนิมิตตเจโตสมาธิ

ถาม : ไม่ใช่วิปัสสนาใช่ไหมครับ ?
ตอบ : ไม่ใช่..อย่าลืมว่าเจโตฯ ยังเป็นกำลังสมาธิอยู่ เจโตวิมุตติไม่ใช่ปัญญาวิมุติ

ถาม : ลักษณะเหมือนกับเป็นวิปัสสนา ?
ตอบ : กำลังคล้ายคลึงกัน เพราะอย่าลืมว่าอากิญจัญญายตนฌาน ก็คือพิจารณาว่าทุกอย่างไม่มีอะไรเหลือเลย แม้แต่น้อยหนึ่งก็ไม่มี ก็เป็นวิปัสสนาญาณดี ๆ นี่เอง แต่ยังไม่ใช่ เพราะว่าเกาะฌานอยู่เต็มที่เลย

ถาม : ผมอ่านในมหาสุญญตสูตร ท่านพูดถึงฌานนิมิตกับอนิมิตตเจโตสมาธิ ท่านได้เข้ารูปฌาน และอรูปฌาน แล้วเข้าอนิมิตตเจโตสมาธิ ?
ตอบ : บุคคลที่ทำได้จริง ๆ ถ้ามาถึงส่วนท้ายของอรูปฌานแล้ว ต้องใช้คำว่ายังมีส่วนของการยึดเกาะอยู่ ก็คือน้อย ๆ เกาะความดี เกาะกำลังสมาธินั้น ในเมื่อคุณไม่ต้องการที่จะเกาะตรงจุดนั้น ทำอย่างไรที่คุณจะปล่อย จะมีช่องว่างอยู่ตรงกลางส่วนหนึ่ง ซึ่งอธิบายได้ยาก เพราะว่าเป็นกำลังคล้าย ๆ กับระหว่างสมถะกับวิปัสสนาพอดี ๆ ที่เขาจะผ่ากลางเข้าไปได้

ตรงจุดของส่วนนั้น จัดว่าเป็นอนิมิตตเจโตสมาธิก็ได้ แต่อยู่ในลักษณะเห็นแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็นรูปฌานหรืออรูปฌานก็ตาม ก็ยังทำให้ยึดติดอยู่ เพราะฉะนั้น..ในส่วนที่ไม่ต้องการจริง ๆ ก็จะต้องปล่อยวาง จะอยู่ในลักษณะเหมือนกับว่า ซ้ายก็ไม่แตะ ขวาก็ไม่แตะ แต่ไม่ใช่เหยียบเรือสองแคม หากแต่ไปตรงกลางซอยพอดี

ในส่วนของสมถะ เราเกาะด้านนี้ก็ติดสมาธิ ในส่วนของวิปัสสนา ถ้าเห็นแล้วจิตยังปล่อยวางไม่ได้ ก็จะยังติดที่การรู้เห็นนั้น จุดนี้จะผ่ากลางไปพอดี
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 17:51
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 140 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #77  
เก่า 03-12-2013, 16:17
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ทำไมวิปัสสนาแล้วขี้โกรธ ?
ตอบ : คนเขาพูดไปเอง ก็คือคนที่ไปปฏิบัติธรรมระยะแรก ๆ จะอยู่ในลักษณะของการเก็บกด ในเมื่อเก็บกด โดนสะกิดมาก ๆ กดไม่อยู่ ก็ไประเบิดใส่เขา เขาก็เลยไปบอกว่าวิปัสสนาขี้โกรธ ก็หมายถึงพวกนักปฏิบัติ ถ้าไม่รู้จักระวังตัวเอง กิเลสจะตีกลับ..โดนฟัดตาย นั่นชาวบ้านพูดกันไป

ถาม : เกิดขึ้นได้เพราะอะไรครับ ?
ตอบ : สติขาด สมาธิหลุด กดกิเลสไม่อยู่ กิเลสเจริญงอกงามใหม่ เพราะฉะนั้น..บางสำนักที่เขาบอกว่า ไม่ให้ใช้สมาธิลึก ให้ใช้แค่ขณิกสมาธิ พวกนั้นจะโดนบ่อยเลย เพราะกำลังไม่พอ

ถาม : บางทีเราก็ปลอบใจว่าไม่เป็นไร คนอื่นก็ล้ม ?
ตอบ : ปลอบใจตัวเองดีเหมือนกัน เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งว่าเราพลาดตรงจุดไหน แล้วเราจะได้ระมัดระวังไว้ พอถึงจุดนั้นเราจะไม่พลาดอีก แต่ก็ยังมีโอกาสพลาดในจุดต่อไป ก็จะหกล้มหกลุกอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ แต่ว่าจะก้าวหน้าไปทีละน้อย ๆ

ถาม : แสดงว่าจะต้องไม่ปลอดภัยจนกว่าจะถึงเส้นชัย ?
ตอบ : ตราบใดที่ยังไม่ไปอยู่บนพระนิพพาน ยังหาความปลอดภัยไม่ได้หรอก
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 17:52
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 154 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #78  
เก่า 03-12-2013, 16:29
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ผมอ่านในตำราว่า เรายิ้ม เรานึกถึงความว่าง ๆ ก็เป็นความสุขได้เหมือนกัน เราก็คิดว่าทำแบบนี้ไม่ผิดหรอก ?
ตอบ : อยู่ที่เราว่าตั้งใจทำเพื่ออะไร ถ้าต้องการความสุขเฉพาะหน้าแค่ชั่วครั้งชั่วคราว คุณทำอารมณ์อย่างไรก็ได้ ให้เกาะอยู่ในข้างสุขมากกว่าทุกข์ แต่เป็นกามาวจรล้วน ๆ ก็คือตายไปเต็มที่ก็ไม่เกินเทวดา

แต่ถ้าตั้งใจที่จะปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นจริง ๆ เขาให้เน้นกองกรรมฐานกองใดกองหนึ่งที่เราชอบมากที่สุด แล้วตั้งหน้าตั้งตาทำจนได้ผลไปเลย พอถึงเวลาถ้าได้ผลสักกองหนึ่งแล้ว กองอื่นก็ใช้กำลังเท่ากัน เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการหรือนิมิตนิดหน่อยเท่านั้น แต่ต่อให้เปลี่ยนไปทำกองอื่น เขาก็ให้ทวนกองเก่าให้เต็มที่ก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนไป จะเป็นการขึ้นหน้าถอยหลัง ย้ำแล้วย้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนเกิดความชำนาญจริง ๆ

อย่างที่คุณว่ามาเป็นแค่ผิวเผินในการรักษาอารมณ์ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น แต่ถ้าทำตามลักษณะที่ว่ามาตามกองกรรมฐานตั้งแต่ต้นจนจบ คือสามารถใช้ผลได้ ต่ำ ๆ คุณก็ไปเป็นพรหม แต่ถ้าปัญญามีมากพอ ตัดกิเลสได้ตามลำดับ แล้วสภาพจิตก็หลุดพ้นไปตามกำลังปัญญาของตนเองในช่วงนั้น ๆ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 17:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 148 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #79  
เก่า 03-12-2013, 16:34
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ในที่ทำงานหนูทำสมาธิอยู่ แล้วมีพี่เขามาบ่นเรื่องโปรแกรม ซึ่งเครื่องก็ยังใช้ได้อยู่ บ่นข้าง ๆ หนูเลย หนูเลยคิดในใจไปเลยว่าให้เครื่องพังไปเลย จะได้หยุดบ่นเสียที ปรากฏว่าเครื่องพัง ?
ตอบ : ถ้าเป็นพระอาจจะปาราชิกไปแล้ว เพราะทำลายทรัพย์สินชาวบ้าน

ถาม : หนูแค่คิดแรง ๆ เท่านั้นเอง ?
ตอบ : ต่อไปไปคิดที่บ้าน ให้ที่พังเป็นของเรา ถ้าทำงานหลวงเดี๋ยวของหลวงเจ๊ง ทำงานเกี่ยวกับหน่วยงานก็ของกลางเจ๊ง เอาของที่บ้านเราให้เจ๊งไปเลย จะได้เสียเงินซื้อเอง

กำลังสมาธิของเราจริง ๆ แรงพอที่จะทำอะไร ๆ หลายอย่างแล้ว เราไปทำส่งเดชจะเกิดผลร้ายมากกว่าผลดี เราจะสังเกตว่า บุคคลที่มาทางสายอภิญญาสมาบัติ ถ้าสภาพจิตยังไม่ยอมรับกฎของกรรมจริง ๆ จะใช้กำลังได้ไม่เต็มที่สักราย เพราะถ้าใช้เต็มที่เดี๋ยวบรรลัยหมด จนกว่าเราจะยอมรับกฎของกรรมจริง ๆ ว่าสภาพทุกอย่างปกติธรรมดาเป็นอย่างนั้น คนมากวนเราให้โกรธ คนที่ไม่รู้ว่ากาย วาจา ใจ ของตัวเองเป็นทุกข์เป็นโทษกับคนอื่นอย่างไร ก็มีสภาพน่าสงสารอย่างนั้นเอง ช่างเขาเถอะ

ถ้าตราบใดสภาพจิตยังไม่เห็นธรรมดา ยังช่างเขาไม่ได้ เดี๋ยวก็ไปเล่นคนอื่นเขา ต่อไปจะไม่พังแต่เครื่อง คนจะพังด้วย ต่อไปก็จะกลายเป็นกรรมที่จะมาตัดรอนตัวเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-12-2013 เมื่อ 17:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 169 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #80  
เก่า 05-12-2013, 12:16
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,704
ได้ให้อนุโมทนา: 152,039
ได้รับอนุโมทนา 4,418,536 ครั้ง ใน 34,294 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : อานิสงส์การบวชต้องบอกพ่อแม่ไหมครับ ?
ตอบ : ยกเว้นพ่อแม่แล้วคนอื่นต้องบอก อานิสงส์การบวชยกให้พ่อแม่เท่านั้น ไม่ต้องบอกท่านก็ได้บุญ เพราะว่าเราเกิดมาเนื่องด้วยท่าน ถ้าไม่มีท่านเราก็ไม่ได้เกิดมาจนได้บวช เขายกให้พ่อกับแม่เท่านั้น คนอื่นก็ต้องโมทนาหรือไม่ก็ต้องไปร่วมงานด้วย

ถาม : มีบุญอะไรที่นอกจากการบวชแล้ว ไม่ต้องบอกด้วยปากให้เขาโมทนา เขาก็ได้บุญ ?
ตอบ : ยังไม่มี มีอยู่อย่างเดียว บอกท่านว่าฝากเงินฉันไว้แล้วกัน ถึงเวลาฉันทำอะไรจะได้มีส่วนของเธอด้วย ฝากไว้เดือนละร้อยครึ่งร้อยบาท ถึงเวลาทำให้เขา ๕ บาท ๑๐ บาทไปเรื่อย บุญจะได้เป็นของเขาไปเลย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-12-2013 เมื่อ 17:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 151 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:22



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว