กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 16-08-2014, 13:14
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,244
ได้ให้อนุโมทนา: 153,633
ได้รับอนุโมทนา 4,438,131 ครั้ง ใน 34,848 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๗

ให้ทุกคนขยับนั่งในท่าที่สบายของตัวเอง ตั้งกายให้ตรง กำหนดความรู้สึกทั้งหมดไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ วันนี้อยากจะพูดถึงเรื่องของการปฏิบัติของเราว่า ที่ทำ ๆ กันมานั้น เราควรจะนำไปใช้งานได้ในสถานการณ์จริง ก็แปลว่าถ้า รัก โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นในระหว่างวัน เราต้องสามารถระงับยับยั้งได้ทันท่วงที อย่าปล่อยให้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มีอำนาจเหนือกว่าเรา เพราะถ้า รัก โลภ โกรธ หลง มีอำนาจเหนือกว่าเราเมื่อไร ก็จะมายึด มาแทรก มาสิง ในจิตในใจของเรา ทำให้จิตใจของเราเศร้าหมอง ขุ่นมัว เต็มไปด้วยความเร่าร้อน กระวนกระวาย มีแต่ความทุกข์อยู่ตลอดเวลา

การที่เราจะสามารถนำเอาหลักการปฏิบัติไปใช้งานจริงได้ ก็ต้องเป็นผู้มีสติ อยู่กับอารมณ์เฉพาะหน้า การที่จะมีสติอยู่กับอารมณ์เฉพาะหน้าได้ก็คือ เราต้องอยู่กับลมหายใจเข้าออกของเรา การที่เราจะรักษาลมหายใจเข้าออกของเราเอาไว้ให้ได้ตลอดทั้งวันนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทรงอารมณ์ภาวนาให้ได้ อย่างน้อยปฐมฌานละเอียดขึ้นไป ซึ่งไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่เหลือบ่ากว่าแรง

เมื่อเราทรงปฐมฌานละเอียดได้ สภาพร่างกายของเราจะรู้ลมหายใจเองโดยอัตโนมัติ เราแค่เอาสติสัมปชัญญะคอยควบคุมการรู้ลมอัตโนมัติของร่างกายเอาไว้ ก็แปลว่าเราอยู่ในปฐมฌานละเอียดแล้ว การที่เราทรงปฐมฌานละเอียดได้ ตราบใดที่ยังไม่หลุดออกไป ตราบนั้น รัก โลภ โกรธ หลง จะเกิดไม่ได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่า การที่เราสามารถทรงฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ได้ มารจะมองไม่เห็น

คำว่า "มารจะมองไม่เห็น" ก็เพราะว่า สภาพจิตของเราผ่องใส จน รัก โลภ โกรธ หลง ซึ่งเป็นเสนามารเกาะไม่ติด ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ ไม่มีสาเหตุที่จะชักจูงมารเข้ามาอยู่ในใจของเรา จึงกล่าวได้ว่ามารนั้นมองไม่เห็น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-08-2014 เมื่อ 02:55
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 54 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 18-08-2014, 13:06
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,244
ได้ให้อนุโมทนา: 153,633
ได้รับอนุโมทนา 4,438,131 ครั้ง ใน 34,848 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หลายท่านอาจจะคิดว่า ในเรื่องของการทรงฌานนั้น เป็นการติดในสังโยชน์ของรูปราคะ หรืออรูปราคะ ถ้าไปหวั่นเกรงตรงจุดนั้นอยู่ ก็ไม่ต้องทำความดีอะไรกัน อันดับแรก ต้องทรงฌานให้ได้ก่อน เมื่อทรงฌานได้แล้ว เราก็เอากำลังฌานนั้นเกาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือเกาะพระนิพพานแทน ถ้าหากว่าเป็นเช่นนั้น เราก็ไม่ได้ไปยึดติดเพลิดเพลินอยู่ในความสุขของอารมณ์ในฌานสมาบัตินั้น ถ้าเราตั้งใจไว้ว่าตายเมื่อไรเราขอมาอยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระนิพพานด้วย ก็ยิ่งเป็นการประกันความเสี่ยงว่า เราไม่ได้ยึดอยู่ในสังโยชน์ใหญ่ทั้ง ๒ ข้อดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

ดังนั้น..ในเรื่องของฌานสมาบัติ จำเป็นที่นักปฏิบัติทุกคนต้องทำให้มี ให้เกิดแก่ตัวให้ได้ อย่างต่ำสุดต้องเป็นปฐมฌานละเอียด เพื่อจะได้มีกำลังตัดกิเลสระดับพระโสดาบันและพระสกทาคามี แต่ถ้าจะตัดกิเลสในระดับพระอนาคามีขึ้นไป ต้องทรงฌาน ๔ ได้คล่องตัว ไม่อย่างนั้นกำลังจะไม่เพียงพอที่จะกด รัก โลภ โกรธ หลง ให้นิ่งสนิทจริง ๆ ได้

ในเรื่องของการปฏิบัติ ทุกคนจำเป็นจะต้องทนลำบาก ต้องพากเพียร เหนื่อยยากอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งอารมณ์จิตอารมณ์ใจสามารถทรงฌานได้ทุกเวลาตามที่ตนต้องการได้ จึงจะเรียกว่าพอที่จะอาศัยได้ แต่ก็ยังไม่แน่ว่าจะเอาตัวรอดได้หรือไม่ ถ้าเรายังมีความประมาทอยู่เมื่อไร ก็อาจจะเผลอสติ ไปยึดเกาะว่าการทรงฌานได้นั้นเป็นสิ่งที่เลิศแล้ว ถ้าอย่างนั้นก็จะเป็นการยึดในสังโยชน์ใหญ่ ไม่สามารถที่จะหลุดพ้นได้

หน้าที่ของเราในวันนี้ จึงเป็นหน้าที่ซึ่งเราต้องเพียรพยายาม ในการทรงฌานระดับใดระดับหนึ่งให้ได้ ต่ำสุดให้เป็นปฐมฌานละเอียด ถ้าจะสูงสุดเป็นฌาน ๔ หรืออรูปฌาน ๔ ได้เลยก็ยิ่งดี แล้วนำเอากำลังของฌานนั้นไปเกาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเกาะพระนิพพาน ตั้งใจว่าตายเมื่อไรเราขออยู่กับพระองค์ท่านที่พระนิพพานแห่งเดียวเท่านั้น แล้วจะภาวนาหรือพิจารณาอย่างไรของเราก็ให้เป็นไปตามอัธยาศัย หรือเป็นไปตามกองกรรมฐานที่เรายึดถือมาแต่ดั้งเดิม

ลำดับต่อไปก็ให้ทุกคนตั้งใจภาวนาหรือพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกว่าหมดเวลา



พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันศุกร์ที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๗

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยทาริกา)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-08-2014 เมื่อ 16:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 07:20



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว