|
ซัวสะเดย..เนียงลออ ซัวสะเดย..เนียงลออ โดยพระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#21
|
||||
|
||||
ขนาดถ่ายรูปบางคนยังตั้งท่าเตรียมวิ่งไปซื้อไอศกรีมเลย..! อาตมาเห็นต้นมะเดื่อใหญ่มีสีเขียนเป็นเลขอารบิก ๐๐๑ ลำต้นเอนกำลังดี มีตะพักวางเท้าอย่างเหมาะเจาะ จึงเข้าไปยืนบนตะพักให้แม่ป๋อมถ่ายรูป แล้วรีบตามหลังคณะของเราที่เดินห่างออกไป แม่ป๋อมฉวยโอกาสถ่าย เบื้องหลัง ของทั้งคณะเอาไว้ด้วย... โผล่ออกมาที่ซุ้มโกปุระที่เป็นพรหมพักตร์ขนาดมหึมาทางด้านตะวันตก ตรงนี้เป็นลานจอดรถขนาดใหญ่ มีร้านขายของที่ระลึกและคนที่หอบของเดินขายเต็มไปหมด อาตมาเรียกให้ทุกคนมารวมกลุ่มถ่ายรูปกันหน้าซุ้มโกปุระก่อน เสร็จแล้วจึงปล่อยกองทัพผู้หิวโหยรี่เข้าไปล้อมรถขายไอศกรีมยี่ห้อเนสเลย์ สั่งซื้อมากินกันอุตลุด ด้วยมีข้ออ้างว่า ใช้พลังงานไปมาก ใครจะเอาอะไรมาเสนอขายก็ไม่สนใจทั้งสิ้น... |
สมาชิก 135 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#22
|
||||
|
||||
ถ้วยแค่นี้เจอเข้าไป ๑ ดอลลาร์ ราคาโหดได้ใจจริง ๆ..! ไม่รู้ว่าเป็นเพราะทางบริษัทเนสเลย์เอารถไอศกรีมวิ่งมาจากเมืองไทย หรือว่าเป็นการขายในแหล่งท่องเที่ยวที่ โขก ราคานักท่องเที่ยวเป็นปกติก็ไม่รู้ ? ไอศกรีมถ้วยละ ๑๒ บาทของเมืองไทย มาถึงที่นี่กลายเป็นถ้วยละ ๑ ดอลลาร์ อาตมาจึงฉากหลบออกมาถ่ายรูปเบื้องหลังของ น้องผู้หิวโหย แทน โดยมีแม่ป๋อมถ่าย เบื้องหน้า แต่เป็น เบื้องหลัง ของพนักงานขาย ส่วนน้องเล็กที่เห็นราคาก็อิ่มแล้ว หนีไปนั่งรออยู่บนรถตู้คนเดียว... มีการแย่งกันจ่ายระหว่างเจ้าภาพอย่างพี่วิไลกับป้ามอย สุดท้ายไม่รู้ว่าใครเป็นคนที่จ่ายกันแน่ เพราะอาตมาเดินแยกออกมาขึ้นรถเสียก่อน รู้แต่ว่าใบละ ๕ ดอลลาร์บินหายไปอีกใบหนึ่งแล้ว เมื่อทุกคนขึ้นรถเรียบร้อย คุณราญก็นำรถวิ่งไปตามถนน ผ่านพื้นที่ป่าขึ้นไปทางทิศเหนือ โดยมีรถโมบายยูนิตคันเดิมวิ่งนำหน้าไปอีกตามเคย... |
สมาชิก 134 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#23
|
||||
|
||||
ปราสาทตาแก้ว สร้างมาแปดร้อยกว่าปีแล้วยังไม่เสร็จ..! พอเลี้ยวซ้ายมือ คุณแสงก็ชี้ให้ดูปราสาทหลังใหญ่ที่อยู่ทางด้านขวาของถนน บอกว่า นั่นคือปราสาทตาแก้ว (Ta Keo) สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ เป็นการทดลองสร้างปราสาทด้วยหินทรายเป็นครั้งแรก นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า อาจจะเป็นเพราะช่างยังขาดความชำนาญ หรือหินทรายแข็งเกินไป จึงทำให้ผ่านไปสามรัชกาลก็ยังสร้างไม่เสร็จ ต้องปล่อยทิ้งไว้แค่ที่เห็นนี่แหละครับ จริงอย่างที่มัคคุเทศก์เขาว่าหรือไม่ ? อาตมาถาม มัคคุเทศก์เถื่อน ที่ตามมาด้วย ก็มีส่วนจริงอยู่บ้าง แต่ที่จริงกว่านั้นก็คือ ในสมัยต่อมามีศึกมาประชิดติดเมือง ต้องเกณฑ์คนออกไปรบ จึงไม่มีแรงงานเหลือไว้ทำการก่อสร้าง แม้จะเห็นว่ามีนักท่องเที่ยวทั้งเดินทั้งปีนป่ายให้ขวักไขว่ไปหมดก็ตาม แต่เมื่อสร้างยังไม่เสร็จก็รอให้เขาสร้างเสร็จแล้วค่อยมาดูกันดีกว่า..! |
สมาชิก 136 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#24
|
||||
|
||||
บริเวณ "สนามหลวง" ของนครธม เอาไว้ "จอด" ช้าง คุณราญพารถเลี้ยวไปไม่ไกลก็เลี้ยวซ้ายอีกที ผ่านปราสาทหินหลังไม่ใหญ่นักที่มีอยู่ทั้งซ้ายขวา มุ่งตรงไปยังลานกว้างมหึมา ที่มี ซาก ปราสาทหินขนาดใหญ่โตมโหฬารอยู่ตรงหน้า เมื่อพวกเราลงรถมาพร้อมหน้ากันแล้ว มัคคุเทศก์ตัวจริงก็ผายมือต้อนรับ... ยินดีต้อนรับสู่นครธม มหานครแห่งอาณาจักรกัมโพช ดินแดนแห่งปราสาทหินที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มหาราชแห่งกัมพูชา อาตมาหันไปมอง ผู้ถูกพาดพิง อีกฝ่ายยืนแย้มพระสรวลเฉยเสีย ปล่อยให้คุณแสง โม้ ต่อไปโดยไม่ขัดคอ... |
สมาชิก 133 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#25
|
||||
|
||||
นครธมมีพื้นที่ ๕,๖๒๕ ไร่ นี่เป็นเพียงทางเข้าเท่านั้น..! นครธมมีความหมายว่ามหานคร เมืองใหญ่ หรือเมืองหลวง พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงมีพระราชดำริที่จะขยายอาณาจักรขอมให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น จึงได้ย้ายราชธานีจากยโสธรปุระ มาสร้างนครธมขึ้นเป็นราชธานีแทน เมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗... นครธมมีคูเมืองกว้าง ๘๐ เมตร ยาวด้านละ ๓ กิโลเมตร รวมพื้นที่ทั้งหมด ๙ ตารางกิโลเมตร หรือ ๕,๖๒๕ ไร่ ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาสูงถึง ๗ เมตร ประกอบไปด้วยปราสาทราชวังต่าง ๆ มากมาย บริเวณลานกว้างที่ทุกท่านเห็นคือสนามหลวง เป็นที่รวมพลยามเกิดศึกสงคราม หรือเป็นที่พักช้างม้าในยามที่เจ้าประเทศราชหรือเจ้าเมืองต่าง ๆ มาเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน.. |
สมาชิก 126 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#26
|
||||
|
||||
หลังเล็กไกล ๆ นั้นเป็นที่พักรอการแสดงของนางอัปสรา ปราสาทขนาดเล็กที่เรียงรายอยู่ทั้งสองข้างทางที่เราเข้ามาด้านละ ๖ หลังนั้น เป็นที่พักของบรรดา อัปสรา ที่มาเตรียมการแสดงถวายพระเจ้าแผ่นดินหรือแขกบ้านแขกเมือง ซึ่งเป็นการแสดงในยามค่ำคืน จึงมีการตามประทีปโคมไฟงดงามมาก.. มีข้อมูลอะไรที่พระองค์จะเพิ่มเติมอีกหรือไม่ ? อาตมาถาม มัคคุเทศก์เถื่อน ซึ่งสรวล หึ..หึ.. อย่างพระทัยเย็นตามปกติวิสัย มีนั้นมีอยู่ แต่ถ้าท่านเอาไปเผยแพร่ต่อ อาจจะถูกนักวิชาการ ด่าจมดิน โทษฐานที่ไปคัดค้านความคิดเห็นของพวกเขา.. |
สมาชิก 131 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#27
|
||||
|
||||
ตั้งใจสร้างเป็น "นครธรรม" ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม ส่วนใครจะรับฟังจะด่าว่านั่นเป็นเรื่องที่ไม่ควรนำมาใส่ใจ จะทรงแถลงเรื่องอะไรก็ว่าไปได้เลย.. อดีตมหาราชแย้มพระสรวล มีเล็กน้อยเกี่ยวกับชื่อนครธม ซึ่งไม่ได้แปลว่านครใหญ่ ธม มาจาก ธรรม เขียนเป็นบาลีว่า ธมฺม หมายถึงพระนครแห่งธรรม เพราะข้าพเจ้าตั้งใจสร้างให้เป็นเมืองพระพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในอาณาจักรขอม นับว่าได้ เปิดหูเปิดตา อย่างแท้จริง นครธม ที่แท้ไม่ใช่ภาษาเขมรคำว่า ธม ที่แปลว่า ใหญ่ หากแต่เป็น นครธรรม นั่นเอง เอ๊ะ..ชักจะเป็นภาษาไทยมากเกินไปหรือเปล่านี่ ? แล้วท่านว่าใช่ภาษาไทยไหมเล่า ? ก็ฟังเป็นภาษาไทยชัด ๆ นี่นา ยังจะเป็นภาษาอื่นได้อีกหรือ ? |
สมาชิก 132 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#28
|
||||
|
||||
บ้านเกิดของพระองค์ท่านอยู่แถวนี้ ตกใจจริง ๆ นะนี่..! ถูกแล้ว ตระกูลของข้าพเจ้าสืบเชื้อสายมาจาก ไชยา ของอาณาจักรศรีวิชัย ทางตอนใต้ของประเทศไทยในปัจจุบัน ถึงได้ใช้คำว่า ไชยาวรมัน ต่อท้ายนามเป็นที่ระลึกถึงต้นเค้าเหล่ากออย่างไรเล่า เว้ย..ชักจะไกลไปหน่อยละมั้ง ? เรื่องแบบนี้ต้องค้นคว้าทางวิชาการจนหัวหงอกเชียวนะ กว่าจะตั้งทฤษฎีที่สมเหตุสมผลขึ้นมาได้ แล้วพอแถลงไปมีหวังโดนคนคัดค้าน ด่าจมดิน อย่างที่พระองค์ท่านว่ามาจริง ๆ นั่นแหละ... จริงอย่างที่ว่า แต่ท่านบอกว่าอยากจะหาม จึงขอเพิ่มอีกหน่อยก็แล้วกัน เพื่อความเชื่อมั่นยิ่งขึ้นว่า ปราสาท บายอน หรือ บายน นั้น ที่จริงมาจากคำว่า บรรยงก์ เพราะข้าพเจ้าตั้งใจสร้างเป็นปราสาทที่ประทับขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ ตูจะเป็นลม..มองพระวรกายสูงใหญ่ล่ำสัน ผิวคล้ำแบบอัศจรรย์ใจ นี่ก็ผิวคนสยาม (ดำ) ชัด ๆ..! |
สมาชิก 137 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#29
|
||||
|
||||
"นางพญาครุฑ" เพิ่งจะหาพรรคพวกเจอ..! กำลังคิดว่าตัวเองเริ่ม เพ้อเจ้อ ใหญ่แล้ว ก็พอดีมัคคุเทศก์ตัวจริงชักชวนทุกคน ให้เดินตรงไปยังฐานหินทรายขนาดใหญ่ตรงหน้า ซึ่งสูงขึ้นไปประมาณ ๒ เมตร มีบันไดไม้เสริมให้ขึ้นไปด้านบนได้ รอบฐานแกะสลักเป็นรูป ครุฑอัด เรียงรายแบกแท่นอยู่โดยรอบ... พี่วิไลที่เห็นว่าตัวเองใหญ่โตพอฟัดพอเหวี่ยงกับพญาครุฑ จึงไปยืนทำท่าเลียนแบบแบกฐานศิลาบ้าง ให้พวกเราที่เฮฮาชอบใจได้ถ่ายรูปกัน ทำเอาคุณแสงยิ้มเห็นฟันขาวสว่างโร่บนใบหน้าดำ ๆ เพราะไม่คิดว่า เจ้านาย จะขี้เล่นขนาดนี้... |
สมาชิก 127 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#30
|
||||
|
||||
ทางเดินพญานาคที่ปรักหักพังหมดแล้ว พวกเราตามคุณแสงขึ้นไปบนฐานหินทราย ตรงหน้ามีบันไดอีกชั้นหนึ่ง มีสิงห์แกะสลักอยู่ข้างบันไดสองตัว ทางซ้ายเป็นของเก่าแก่คร่ำคร่า หน้าตาแตกบิ่นลบเลือนไปมากแล้ว ตัวทางขวาแกะใหม่เอี่ยมแล้วยกมาตั้งคู่กัน แสดงว่าของเก่าถ้าไม่ชำรุดจนเกินแก้ ก็น่าจะสูญหายไปแล้ว... คณะของเราเดินขึ้นบันไดสิงห์ไปด้านบน มองออกไปทางซ้ายขวาเป็นชั้นลด แกะสลักเป็นพญานาคแผ่พังพาน มีทั้งที่ขดเป็นกรอบลดต่ำลงไปเท่ากับพื้นฐานหินทรายชั้นแรก และที่ผงาดยาวเหยียดตรงแน่วไกลลิบลิ่วออกไปเป็นทางเดินทั้งสองฝั่ง แต่ส่วนมากพังพานจะปรักหักพังหมดแล้ว ลำตัวก็ขาดเป็นท่อน ๆ แต่เขาเอามาเรียงเป็นรูปเดิม ถ้าสร้างใหม่ ๆ คงสวยงามยิ่งใหญ่เป็นที่สุด... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-06-2014 เมื่อ 20:12 |
สมาชิก 122 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#31
|
||||
|
||||
ซุ้มโกปุระที่ตอนสร้างใหม่ ๆ ปูพื้นด้วยทองคำ..! มัคคุเทศก์มืออาชีพพาพวกเราลงจากบันไดไม้ตรงหน้าซุ้มโกปุระขนาดใหญ่ หลบแดดร้อนยามบ่ายเข้าไปในเงาไม้ด้านซ้ายมือ แล้วบรรยายว่า... “ฐานสูงทั้งสองชั้นที่เดินขึ้นมานั้น เป็นฐานพลับพลาที่ประทับของบรรดาเจ้าประเทศราช เจ้าเมือง หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มารอเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตให้เข้าเฝ้าได้ ก็จะเดินเข้าไปทางซุ้มโกปุระที่เห็นอยู่นี้ พลับพลาที่ประทับนั้นทำด้วยไม้ จึงผุพังไปหมดแล้ว เหลือแต่ฐานพลับพลาทั้งสองชั้น สมัยนั้นพื้นที่บนฐานตลอดจนทางเดินเข้าสู่โกปุระ ปูด้วยแผ่นทองคำทั้งสิ้น..” พวกเรานึกเห็นภาพความยิ่งใหญ่ ร่ำรวยอลังการ ได้อย่างชัดเจนเลย... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-06-2014 เมื่อ 02:13 |
สมาชิก 125 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#32
|
||||
|
||||
ฐานด้านหลังเอาไว้กันช้าง ประตูข้างหน้าเอาไว้กันคน อาตมาหันไปถ่ายรูปฐานพักที่เดินลงมา กลายเป็นถ่ายสวนกับแม่ป๋อมที่อยู่ข้างบน อีกฝ่ายหัวเราะชอบใจ แปลว่าอาตมาโดนเก็บ เบื้องหลัง ไปอีกแล้ว คุณแสงพาเดินเข้าซุ้มโกปุระ ที่สร้างใหญ่โตเสียเปล่า แต่ทางเข้าแคบจนแทบจะเดินสวนกันไม่ได้ อุตส่าห์ทำจนใหญ่โตทั้งทีทำไมไม่ทำทางเข้าให้ใหญ่หน่อยวะ ? นี่เป็นการป้องกันอย่างหนึ่ง ถ้าทำทางเข้าใหญ่โต ถึงเวลาข้าศึกยกมาตีเมือง จะกรูกันเข้ามาโดยง่าย แล้วถ้าใหญ่มากจนช้างม้าเข้ามาได้ ก็ยิ่งจะเสียบ้านเสียเมืองเร็วขึ้น ฐานพลับพลาด้านหน้าเป็นอุบายในการกันไม่ให้ใช้ช้างหรือม้าเข้ามาพังประตูเมือง ซุ้มประตูด้านในจะช่วยกันทหารไม่ให้กรูกันเข้าไปได้ทีละมาก ๆ.. เฮ้อ..ท้ายสุดก็ต้องพึ่งบริการ มัคคุเทศก์เถื่อน ตามเคย... |
สมาชิก 122 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#33
|
||||
|
||||
ภายในซุ้มโกปุระด้านใน ด้านในของซุ้มโกปุระเป็นลานกว้างสะอาดสะอ้าน อาตมาจึงให้ทุกคนมารวมกลุ่มกัน ถ่ายรูปหมู่ไว้เป็นที่ระลึก โดยที่คุณแสง คุณอารี หลบไปตามเคย ส่วนคุณปัญญาที่หิ้วน้ำตามมาไม่ทัน จึงไม่ได้ถ่ายรูปด้วย เสร็จแล้วมัคคุเทศก์มืออาชีพก็ชี้ไปทางขวามือ นั่นเป็น สระสรง หนึ่งในสี่แห่งของนครธม ใช้เป็นทั้งแหล่งน้ำดื่มและน้ำใช้ภายในเมืองแห่งนี้... จากนั้นตรงไปยังซุ้มนิทรรศการที่ตั้งอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ มีแผนผังแสดงว่าภายในนครธม ประกอบไปด้วยปราสาทหรือสิ่งก่อสร้างอะไรบ้าง แต่ละหลังเรียกว่าอะไร ตั้งอยู่ตรงไหน ถึงคุณแสงไม่บอกอาตมาก็ดูออก เพราะอ่านได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาขอม จึงเห็นว่าภายในกำแพงชั้นนี้ มี สระสรง ขนาดเล็กรวม ๓ สระ ขนาดใหญ่อีก ๑ สระ ถึงถูกข้าศึกล้อมอยู่เป็นปีก็ไม่น่าจะขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ นับว่าเป็นการสร้างบ้านแปลงเมืองที่รอบคอบมากทีเดียว... |
สมาชิก 115 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#34
|
||||
|
||||
"พิมานอากาศ" ปราสาทสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อเดินอ้อมป้ายนิทรรศการออกมา ที่ว่างตรงหน้าเป็นปราสาทหินที่มีฐานลดหลั่นขึ้นไป ๓ ชั้น แต่ละชั้นสอบแคบลง จนถึงชั้นบนสุดเป็นระเบียงล้อมรอบตัวปราสาท ที่หักพังจนเหลือเพียงฐานและซุ้มประตูเท่านั้น คุณแสงบรรยายว่า... “ปราสาทหลังนี้ชื่อว่าพิมานอากาศ (Phimeanakas) เป็นปราสาทหลังเดียวที่ก่อสร้างด้วยหินทราย แต่มีฐานเป็นศิลาแลงซ้อนกัน ๓ ชั้น เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สูงราว ๑๒ เมตร กว้าง ๒๘ เมตร ยาว ๓๕ เมตร เอาไว้ใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก (ขึ้นครองราชย์) ของพระมหากษัตริย์...” แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 20-06-2014 เมื่อ 17:32 |
สมาชิก 115 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#35
|
||||
|
||||
ขาขึ้นปีนชึ้นไป แต่ขาลงให้ถอยหลังลง พวกเราเดินมาจนถึงหน้าบันไดที่ค่อนข้างจะผุพัง มัคคุเทศก์พาเดินอ้อมไปทางขวามือ ผ่านก้อนศิลาแลงระเกะระกะ ไปตามทางที่มีร่องรอยการเดินจนเป็นแนวเห็นได้ชัด จึงเห็นว่าด้านนี้มีบันไดศิลาค่อนข้างสูงชันประมาณ ๓๐ ๔๐ ขั้น และยังมีการทำบันไดไม้เล็ก ๆ ชิดด้านขวาของบันไดศิลา เพื่อให้นักท่องเที่ยวปีนขึ้นไปชมด้านบนได้อีกด้วย... ปราสาทหลังนี้มีบันไดขึ้นลงทั้ง ๔ ด้าน ด้านหน้าเป็นทางเสด็จขึ้นขององค์กษัตริย์ ด้านซ้ายเป็นของข้าราชการต่าง ๆ ด้านขวาที่ทุกท่านเห็นอยู่นี้ เป็นทางขึ้นของพราหมณ์ปุโรหิต ส่วนด้านหลังเป็นทางในการเสด็จลง จะเห็นว่าบันไดค่อนข้างสูงและชันมาก เพื่อให้รู้สึกว่าได้ขึ้นไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเปรียบเหมือนองค์เทพบนฟ้า ในระหว่างพิธีนั้นต้องปีนขึ้นตรง ๆ และถอยหลังลงมา ห้ามหันหลังลงอย่างเด็ดขาด.. |
สมาชิก 111 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#36
|
||||
|
||||
พิมานอากาศชันจนปีนไม่ไหว มาดูหลังใหม่กันดีกว่า พวกเราเห็นบันไดชันลิบก็ท้อกันหมดแล้ว อาตมาจึงต้องตามใจเสียงส่วนมาก ด้วยการไม่ขึ้นไปถ่ายรูปด้านบน รู้สึกว่าขาดทุนอยู่เหมือนกัน เพราะอุตส่าห์มาถึงทั้งทีกลับไม่ได้ขึ้นไปดูข้างบนเสียนี่ แต่เมื่อเห็นหน้าทุกคนที่เดินกันมาตั้งแต่เช้า ก็ต้องยอมขาดทุนแต่โดยดี... ตามมัคคุเทศก์อ้อมปราสาทพิมานอากาศด้านหลัง ตรงไปยังแนวกำแพงศิลาที่ผุพัง มีมอสส์และตะไคร่ขึ้นเขียวเป็นแห่ง ๆ ผ่านช่องว่างซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นประตูเก่า หรือว่ากำแพงช่วงนี้พังทลายลงไปหมดแล้ว เห็นท่ามกลางต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นจนเหมือนป่าธรรมชาติ และกองศิลาระเกะระกะ มีปราสาทหินขนาดใหญ่หลังหนึ่ง ซึ่งเหลือแต่ฐานยกระดับสามชั้น มีบันไดไม้ประมาณ ๒๕ ขั้น สร้างซ้อนทับบันไดเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นไปยังชั้นแรก ด้านบนปรักหักพังจนเหลือเพียงซุ้มระเบียงบางส่วนเท่านั้น... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-06-2014 เมื่อ 02:42 |
สมาชิก 105 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#37
|
||||
|
||||
ปราสาทแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ที่สุดในกัมพูชา “ที่ท่านเห็นอยู่นี้คือด้านหลังของปราสาทบาปวน (Baphuon) เป็นปราสาทหินขนาดใหญ่ กว้างถึง ๑๐๐ เมตร ยาว ๑๒๐ เมตร ถ้าท่านเข้าจากทางด้านหน้าซึ่งเป็นทิศตะวันออก จะต้องเดินไปตามทางที่เป็นสะพานหินยาวเหยียด เพื่อขึ้นบันไดไปสู่ซุ้มโกปุระข้างบน ซึ่งด้านบนสุดนั้นเป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์ทองคำ คำนวณจากฐานที่เหลืออยู่ ศิวลึงค์องค์นี้มีน้ำหนักถึงหนึ่งตัน..! แม้ว่าท่านจะไม่ได้ขึ้นจากทางด้านหน้า ไม่ได้เห็นความสวยงามอลังการของปราสาท แต่ด้านหลังนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ที่สุดในกัมพูชา ไม่ทราบว่าทุกท่านเห็นองค์พระกันไหมครับ ?” มัคคุเทศก์ถามขณะที่พวกเรามองหน้ากันเลิ่กลั่ก พระพุทธรูปองค์ใหญ่ขนาดนั้น ทำไมไม่มีใครเห็นเลยสักคนเดียว..?? แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 20-06-2014 เมื่อ 10:18 |
สมาชิก 104 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#38
|
||||
|
||||
พอจะเห็นพระนอนหรือยัง ? คุณแสงยิ้มแบบสมคะเนว่า ถ้าพวกเราไม่ใช่รู้ลึกเรื่องของปราสาทหินกันจริง ๆ ก็จะต้องออกท่าทางกันแบบนี้แหละ แล้วชี้ให้ดูฐานชั้นที่สองของตัวปราสาทอีกครั้ง... ดูดี ๆ นะครับ ถ้าฐานชั้นแรกคือฐานพระพุทธไสยาสน์ องค์พระก็คือชั้นที่สองทั้งชั้นนั่นเอง ตรงที่ผมชี้ก็คือพระพักตร์ของพระพุทธไสยาสน์เลยครับ.. โอ้..มายบุ๊ดด้า..เพิ่งจะเห็นว่า อิฐกระดำกระด่างที่เรียงอยู่ของชั้นสองทั้งชั้น ถึงแม้จะมีตัวอาคารมุงแฝกเพิ่มขึ้นมาเกะกะอยู่หลังหนึ่ง ก็ยังมองเห็นพระพุทธรูปองค์มหึมา ที่กำลังบรรทมสีหไสยาสน์ เต็มไปทั้งชั้นสองของตัวปราสาท..! โดยเฉพาะพระนาสิกที่เห็นชัดเจนมาก... |
สมาชิก 106 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#39
|
||||
|
||||
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต “ในเมื่อมีศิวลึงค์ทองคำ ก็แปลว่าเป็นปราสาทที่สร้างบูชาพระศิวะ แล้วเหตุใดจึงได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ไว้ด้านล่าง มิแปลว่าศาสนาพราหมณ์เหนือกว่าศาสนาพุทธหรือ ?” “อ๋อ..แต่แรกปราสาทบาปวนนี้ สร้างเพื่อบูชาพระศิวะจริง ๆ ครับ แต่เมื่อองค์กษัตริย์ที่นับถือศาสนาพุทธขึ้นครองราชย์ ก็ทำการรื้อเทวรูปและศิวลึงค์ออก แล้วปรับฐานเป็นพระพุทธไสยาสน์แทน..” มัคคุเทศก์ของเราเฉลย อือม์..หากินง่ายดีเหมือนกัน แต่ “ผู้หากิน” ก็ทำไม่รู้ไม่ชี้เสียอีก คง “ทรงพระขี้เกียจ” ที่จะอธิบายความเพิ่มเติม... |
สมาชิก 105 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#40
|
||||
|
||||
ดูใกล้ ๆ อีกที เนื่องจากพวกเราไร้แรงบินกันถ้วนหน้า จึงไม่ได้ขึ้นไปบนปราสาท เพื่อวนออกไปดูความงดงามอลังการทางด้านหน้า ได้แต่ถ่ายรูปแล้วนั่งพัก คุณปัญญาเอาน้ำดื่มมาแจก ได้น้ำได้ท่าเข้าไปค่อยมีเรี่ยวมีแรง หามุมถ่ายรูปกับต้นไม้ใบหญ้าแถวรอบ ๆ ไปก่อน... เมื่อพักผ่อนกันพอสมควรแล้ว คุณแสงก็พาเดินไปทางขวามือ อ้อมหลบก้อนหินที่เกะกะไปหมดออกไปทางซุ้มประตูบานหนึ่งของกำแพง ทะลุออกมายังป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นสูงสล้าง ถ้าไม่ใช่ยังมีก้อนหินอยู่เต็มไปหมด ก็ต้องคิดว่าเป็นป่าธรรมชาติไปแล้ว... |
สมาชิก 94 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|