|
กระทู้ธรรม รวมข้อธรรมะจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติ |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
|||
|
|||
คติธรรมหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
คัดลอกมาจากบางส่วนของหนังสือ ๑๐๑ ปี หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ "ตราบใดก็ตามที่แกยังไม่เห็นความดีในตัว ก็ไม่นับว่าแกรู้จักข้า แต่ถ้าเมื่อใดแกเริ่มเห็นความดีในตัวเองแล้ว เมื่อนั้น...ข้าจึงว่าแกเริ่มรู้จักข้าดีขึ้นแล้ว"
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 24-11-2009 เมื่อ 15:50 |
สมาชิก 84 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
|||
|
|||
...บ่อยครั้งที่ท่านต้องเอาผ้ามาคาดที่หน้าผากเพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะ อีกทั้งก็มีอาการเท้าชารุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้กระนั้นท่านก็ยังไม่ละความเพียร สมดังที่ท่านเคยสอนลูกศิษย์ว่า “นิพพานอยู่ฟากตาย” ในการประพฤติปฏิบัตินั้น จำต้องยอมมอบกายถวายชีวิตลงไป ดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า "ถ้ามันไม่ดีหรือไม่ได้พบความจริงก็ให้มันตาย ถ้ามันไม่ตายก็ให้มันดี หรือได้พบกับความจริง"
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:11 |
สมาชิก 90 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
|||
|
|||
...เพราะบุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ท่านมิได้จำกัดศิษย์อยู่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นคณะศิษย์ของท่านจึงมีกว้างขวางออกไป ทั้งที่ใฝ่ใจธรรมล้วน ๆ หรือที่ยังต้องอิงกับวัตถุมงคล ท่านเคยพูดว่า "ติดวัตถุมงคล ก็ยังดีกว่าที่จะให้ไปติดวัตถุอัปมงคล"
...แม้ว่าหลวงพ่อดู่จะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่านอธิษฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือการปฏิบัติ ดังจะเห็นได้จากคำพูดของท่านว่า "เอาของจริงดีกว่า พุทธังฯ ธัมมังฯ สังฆังฯ สรณัง คัจฉามิ นี่แหละของแท้"
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:10 |
สมาชิก 88 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
|||
|
|||
...อีกครั้งหนึ่งมีชาวบ้านหาปลามานมัสการท่าน และก่อนกลับท่านก็ให้เขาสมาทานศีล ๕ เขาเกิดตะขิดตะขวงใจกราบเรียนท่านว่า “ผมไม่กล้าสมาทานศีล ๕ เพราะรู้ว่าประเดี๋ยวก็ต้องไปจับปลาจับกุ้ง มันเป็นอาชีพของผมครับ” หลวงพ่อตอบเขาด้วยความเมตตาว่า "แกจะรู้หรือว่าแกจะตายเมื่อไหร่ ไม่แน่ว่าแกเดินออกไปจากกุฏิข้าแล้ว อาจถูกงูกัดตายเสียกลางทางก่อนไปจับปลาจับกุ้งก็ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อตอนนี้แกยังไม่ได้ทำบาปกรรมอะไร อย่างไรก็ให้มีศีลไว้ก่อน ถึงจะมีศีลขาดก็ยังดีกว่าไม่มีศีล"
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:12 |
สมาชิก 84 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
|||
|
|||
...หลวงพ่อดู่ท่านพูดถึงการประพฤติปฏิบัติของคนสมัยนี้ว่า "คนเราทุกวันนี้ โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม เรามัวพากันยุ่งอยู่กับโลกจนเหมือนลิงติดตัง เรื่องของโลก เรื่องเละ ๆ เรื่องไม่มีที่สิ้นสุด เราไปแก้ไขเขาไม่ได้ จะต้องแก้ไขที่ตัวเราเอง ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง"
...หลวงพ่อดู่ท่านสอนให้มีปฏิปทาสม่ำเสมอ ท่านว่า "ขยันก็ให้ทำ ขี้เกียจก็ให้ทำ ถ้าวันไหนยังกินข้าวอยู่ก็ต้องทำ วันไหนเลิกกินข้าวแล้ว นั่นแหละ จึงค่อยเลิกทำ"
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:10 |
สมาชิก 80 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#6
|
|||
|
|||
...หลวงพ่อดู่ท่านให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการปฏิบัติสมาธิภาวนา ท่านว่า "ถ้าไม่เอา (ปฏิบัติ) เป็นเถ้าเสียดีกว่า"
...มีลูกศิษย์วิพากษ์วิจารณ์คนนั้นคนนี้ให้ท่านฟัง ในเชิงว่ากล่าวว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาและความยุ่งยาก แทนที่ท่านจะเออออไปตามอันจะทำให้เรื่องยิ่งบานปลายออกไป ท่านกลับปรามว่า "เรื่องของคนอื่น เราไปแก้เขาไม่ได้ ที่แก้ได้คือตัวเรา แก้ข้างนอกเป็นเรื่องโลก แต่แก้ที่ตัวเรานี่เป็นเรื่องธรรม"
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:12 |
สมาชิก 76 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#7
|
|||
|
|||
...หลวงพ่อดู่ไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติธรรมของสำนักไหน ๆ ในเชิงลบหลู่หรือเปรียบเทียบดูถูกดูหมิ่น ท่านว่า "คนดีน่ะ เขาไม่ตีใคร" ซึ่งลูกศิษย์ทั้งหลายได้ถือเป็นแบบอย่าง
...หลวงพ่อดู่เป็นพระพูดน้อย ไม่มากโวหาร ท่านจะพูดย้ำอยู่แต่ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมและความไม่ประมาท เช่น "ของดีอยู่ที่ตัวเรา หมั่นทำ (ปฏิบัติ) เข้าไว้" "ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต" "อย่าลืมตัวตาย" และ "ให้หมั่นพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" เป็นต้น
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:13 |
สมาชิก 78 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#8
|
|||
|
|||
หลวงพ่อเคยเปรียบธรรมะของพระพุทธเจ้าเหมือนแกงส้ม แกงส้มนั้นมี ๓ รส คือ เปรี้ยว เค็ม และเผ็ด ซึ่งมีความหมายดังนี้
รสเปรี้ยว หมายถึง ศีล ความเปรี้ยวจะกัดกร่อนความสกปรกออกได้ฉันใด ศีลก็จะขัดเกลาความหยาบออกจากกาย วาจา ใจ ได้ฉันนั้น รสเค็ม หมายถึง สมาธิ ความเค็มสามารถรักษาอาหารต่าง ๆ ไม่ให้เน่าเสียได้ฉันใด สมาธิก็สามารถรักษาจิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณความดี ได้ฉันนั้น รสเผ็ด หมายถึง ปัญญา ความเผ็ดร้อนโลดแล่นไป เปรียบได้ดั่งปัญญาที่สามารถก่อให้เกิดความแจ้งชัด ขจัดความไม่รู้ เปลี่ยนจากของคว่ำเป็นของหงาย จากมืดเป็นสว่าง ได้ฉันนั้น
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:13 |
สมาชิก 72 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#9
|
|||
|
|||
...หลวงพ่อท่านเคยพูดเสมอว่า "อุปัชฌาย์ข้า (หลวงพ่อกลั่น) สอนว่า ภาวนาได้เห็นแสงสว่างเท่าปลายหัวไม้ขีดชั่วประเดี๋ยวเดียว เท่าช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น ยังมีอานิสงส์มากกว่าตักบาตรจนขันลงหินทะลุ"
...เคยมีสุภาพสตรีท่านหนึ่งมีปัญหาถามว่า นั่งปฏิบัติภาวนาแล้วจิตไม่รวม ไม่สงบ ควรจะทำอย่างไร ท่านแก้ให้ว่า "การปฏิบัติ ถ้าอยากให้เป็นเร็ว ๆ มันก็ไม่เป็น หรือไม่อยากให้เป็นมันก็ประมาทเสีย ไม่เป็นอีกเหมือนกัน อยากเป็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเป็นก็ไม่ว่า ทำใจให้เป็นกลาง ๆ ตั้งใจให้แน่วแน่ในกัมมัฏฐานที่เรายึดมั่นอยู่นั้น แล้วภาวนาเรื่อยไป เหมือนกับเรากินข้าวไม่ต้องอยากให้มันอิ่ม ค่อย ๆ กินไปมันก็อิ่มเอง ภาวนาก็เช่นกัน ไม่ต้องไปคาดหวังให้มันสงบ หน้าที่ของเราคือภาวนาไป ก็จะถึงของดีของวิเศษในตัวเรา แล้วจะรู้ชัดขึ้นมาว่าอะไรเป็นอะไร ให้หมั่นทำเรื่อยไป"
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:13 |
สมาชิก 70 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#10
|
|||
|
|||
...มีศิษย์อีกท่านหนึ่งเดินเรียกชื่อท่านผู้กำลังนั่งภาวนาอยู่ด้วยเสียงอันดัง และเมื่อเดินมาเห็นศิษย์ผู้นั้นกำลังภาวนาอยู่ ก็จับแขนดึงขึ้นมาทั้งที่กำลังนั่งภาวนา เมื่อผู้นั้นห่างไปแล้ว หลวงพ่อท่านจึงเปรยขึ้นมาว่า
"ในพุทธกาลครั้งก่อน มีพระอรหันต์องค์หนึ่งกำลังเข้านิโรธสมาบัติ ได้มีนกแสกตัวหนึ่งบินโฉบผ่านหน้าท่านพร้อมกับร้อง “แซก” ท่านว่านกแสกตัวนั้นเมื่อตายแล้วได้ไปอยู่ในนรก แม้กัปนี้พระพุทธเจ้าผ่านไปได้พระองค์ที่สี่แล้ว นกแสกตัวนั้นยังไม่ได้ขึ้นมาจากนรกเลย"
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:14 |
สมาชิก 69 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#11
|
|||
|
|||
...มีผู้กล่าวว่าการทำสมาธิแล้วบังเกิดความสว่าง หรือเห็นแสงสว่างนั้นไม่ดีเพราะเป็นกิเลส มืด ๆ จึงจะดี หลวงพ่อท่านกล่าวว่า
"ที่ว่าเป็นกิเลสก็ถูก แต่เบื้องแรกต้องอาศัยกิเลสไปละกิเลส (อาศัยกิเลสส่วนละเอียดไปละกิเลสส่วนหยาบ) แต่ไม่ได้ให้ติดในแสงสว่างหรือหลงแสงสว่าง แต่ให้ใช้แสงสว่างให้ถูก ให้เป็นประโยชน์ เหมือนอย่างกับเราเดินผ่านไปในที่มืดต้องใช้แสงไฟ หรือจะข้ามแม่น้ำมหาสมุทรก็ต้องอาศัยเรือ อาศัยแพ แต่เมื่อถึงฝั่งแล้วก็ไม่ได้แบกเรือแบกแพขึ้นฝั่งไป"
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:14 |
สมาชิก 61 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#12
|
|||
|
|||
...เคยมีลูกศิษย์กราบเรียนถามหลวงพ่อท่านว่า "ภาวนามาก็นานพอสมควรแล้ว รู้สึกว่ายังไม่ได้รู้ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ มีนิมิตภายนอก แสดงสีต่าง ๆ เป็นต้น ดังที่ผู้อื่นเขารู้เห็นกันเลย"
หลวงพ่อท่านย้อนถามสั้น ๆ ว่า "ปฏิบัติแล้ว โกรธ โลภ หลง ของแกลดน้อยลงหรือเปล่าล่ะ ถ้าลดลง ข้าว่าแกใช้ได้"
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:14 |
สมาชิก 63 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#13
|
|||
|
|||
...ท่านว่าปฏิบัตินี้มันยาก ต้องคอยบำรุงดูแลรักษาเหมือนกับเราปลูกต้นไม้
ศีล................คือ ดิน สมาธิ..............คือ ลำต้น ปัญญา.............คือ ดอก ผล ออกดอกเมื่อใดก็มีกลิ่นหอมไปทั่ว การปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน ผู้รักการปฏิบัติต้องคอยหมั่นรดน้ำพรวนดิน ระวังรักษาต้นธรรมให้ผลิดอกออกใบ มีผลน่ารับประทาน ต้องคอยระวังตัวหนอน คือ โลภ โกรธ หลง มิให้มากัดกินต้นธรรมได้ อย่างนี้....จึงจะได้ชื่อว่าผู้รักธรรม รักการปฏิบัติจริง
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:16 |
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#14
|
|||
|
|||
...ท่านได้อบรมศิษย์ผู้หนึ่งเกี่ยวกับการรู้เห็นและได้ธรรมว่ามีทั้งชั้นหยาบ ชั้นกลาง ชั้นละเอียด อุปมาเหมือนอย่างซองยานี่ (หลวงพ่อท่านชี้ไปที่ซองบุหรี่)
"แรกเริ่มเราเห็นแค่ซองของมัน ต่อมาเราจะไปเห็นมวนบุหรี่อยู่ในซองนั่น ในมวนบุหรี่แต่ละมวนก็ยังมียาเส้นอยู่ภายในอีก แล้วที่สุดจะเกิดตัวปัญญาขึ้น รู้ด้วยว่ายาเส้นนี้ทำมาจากอะไร จะเรียกว่าเห็นในเห็นก็ได้ ลองไปตรองดูแล้วเทียบกับตัวเราให้ดีเถอะ"
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:16 |
สมาชิก 59 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#15
|
|||
|
|||
...หลวงพ่อเคยเตือนพวกเราไว้ว่า "การไปอยู่กับพระอรหันต์ อย่าอยู่กับท่านนาน เพราะเมื่อเกิดความมักคุ้นแล้ว มักทำให้ลืมตัวเห็นท่านเป็นเพื่อนเล่น คุยเล่นหัวท่านบ้าง ให้ท่านเหาะให้ดูบ้าง ถึงกับออกปากใช้ท่านเลยก็มี การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการปรามาสพระ ลบหลู่ครูอาจารย์และเป็นบาปมาก ปิดกั้นทางมรรคผลนิพพานได้ จึงขอให้พวกเราสำรวมระวังให้ดี"
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:16 |
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#16
|
|||
|
|||
...ในเรื่องการสร้างอุเบกขาธรรมขึ้นในใจนั้น ผู้ปฏิบัติใหม่เมื่อได้เข้ามารู้ธรรม เห็นธรรม ได้พบเห็นสิ่งแปลก ๆ และคุณค่าของพุทธศาสนา มักเกิดอารมณ์ความรู้สึกว่าอยากชวนคนมาวัด มาปฏิบัติให้มาก ๆ โดยลืมดูพื้นฐานจิตใจของบุคคลที่กำลังจะชวนว่า เขามีความสนใจมากน้อยเพียงใด หลวงพ่อท่านบอกว่า
"ให้ระวังให้ดี จะเป็นบาป เปรียบเสมือนกับการจุดไฟไว้ตรงกลางระหว่างคนสองคน ถ้าเราเอาธรรมะไปชวนเขา เขาไม่เห็นด้วย ปรามาสธรรมนี้ซึ่งเป็นธรรมของพระพุทธเจ้า ก็เท่ากับเราเป็นคนก่อ แล้วเขาเป็นคนจุดไฟ... บาปทั้งคู่ เรียกว่า เมตตาจะพาตกเหว" แล้วท่านยกอุทาหรณ์สอนต่อว่า "เหมือนกับมีชายคนหนึ่งตกอยู่ในเหวลึก มีผู้จะมาช่วย คนที่ ๑ มีเมตตาจะมาช่วย เอาเชือกดึงขึ้นจากเหว ดึงไม่ไหวจึงตกลงไปในเหวเหมือนกัน คนที่ ๒ มีกรุณามาช่วยดึงอีกก็ตกลงเหวอีก คนที่ ๓ มีมุทิตามาช่วยดึงอีกก็พลาดตกเหวอีกเช่นกัน คนที่ ๔ สุดท้าย เป็นผู้มีอุเบกขาธรรม เห็นว่าเหวนี้ลึกเกินกว่ากำลังของตนที่จะช่วย ก็มิได้ทำประการใด ทั้ง ๆ ที่จิตใจก็มีเมตตาธรรมที่จะช่วยเหลืออยู่ คนสุดท้ายนี้จึงรอดชีวิตจากการตกเหวตาม เพราะอุเบกขาธรรมนี้แล"
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:16 |
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#17
|
|||
|
|||
"หลวงพ่อครับ กระผมจะได้สำเร็จหรือไม่ หลวงพ่อช่วยพยากรณ์ทีครับ"
หลวงพ่อนิ่งสักครู่หนึ่งก่อนตอบว่า "พยากรณ์ไม่ได้" พระภิกษุรูปนั้นได้เรียนถามต่อว่า "เพราะเหตุไรหรือครับ" หลวงพ่อจึงตอบว่า "ถ้าผมบอกว่าท่านจะได้สำเร็จ แล้วท่านเกิดประมาทไม่ปฏิบัติต่อ มันจะสำเร็จได้อย่างไร และถ้าผมบอกว่าท่านจะไม่สำเร็จ ท่านก็คงจะขี้เกียจและละทิ้งการปฏิบัติไป นิมนต์ท่านทำต่อเถอะครับ"
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:17 |
สมาชิก 54 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#18
|
|||
|
|||
...หลวงพ่อเคยบอกว่า "การปฏิบัติ ถ้าหยิบจากตำราโน้นนี้หรือแบบแผนมาสงสัยถาม มักจะโต้เถียงกันเปล่า โดยมากชอบเอาอาจารย์โน่นนี่ว่าอย่างนั้นอย่างนี้มา การจะปฏิบัติให้รู้ธรรม เห็นธรรม ต้องทำจริง จะได้อยู่ที่ทำจริง ข้าเป็นคนมีทิฐิแรง เรียนจากครูบาอาจารย์นี้ยังไม่ได้ผลก็จะต้องเอาให้จริงให้รู้ ยังไม่ไปเรียนกับอาจารย์อื่น ถ้าเกิดไปเรียนกับอาจารย์อื่นโดยยังไม่ทำให้จริงให้รู้ ก็เหมือนดูถูกดูหมิ่นครูอาจารย์"
...หลวงพ่อเมตตากล่าวเสริมอีกว่า "คนที่กล้าจริง ทำจริง เพียรปฏิบัติอยู่เสมอ จะพบความสำเร็จในที่สุด ถ้าทำจริงแล้วต้องได้แน่ ๆ"
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:19 |
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#19
|
|||
|
|||
...หลวงพ่อเคยบอกข้าพเจ้าว่า "คนทำ (ภาวนา) เป็นนี่ ใคร ๆ ก็รัก ไม่เฉพาะคนหรือสัตว์ที่รัก แม้แต่เทวดาเขาก็อนุโมทนาด้วย"
...ท่านว่า "ถ้าแกเกลียดกิเลสเหมือนเป็นหมาเน่า หรือของบูดเน่าก็ดี ให้เกลียดให้ได้อย่างนั้น"
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:18 |
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#20
|
|||
|
|||
...หลวงพ่อเคยเล่าเรื่องการปลุกเสกพระให้ฟังว่า "เรื่องคงกระพันชาตรีนั้นทำง่าย แค่ขนลุกก็เหนียวแล้ว แคล้วคลาดยังดีกว่าเพราะไม่เจ็บตัว แต่ที่ดีที่สุดคือเมตตา เพราะแคล้วคลาดยังมีศัตรูแต่รอดพ้นได้ ส่วนเมตตานั้นมีแต่คนรักไม่มีศัตรู การเสกพระให้มีพุทธคุณทางเมตตาจึงทำได้ยากที่สุด"
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 19-05-2010 เมื่อ 15:19 |
สมาชิก 47 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คิมหันต์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|