|
ฝากคำถามถึงหลวงพ่อ คุณสามารถตั้งคำถาม และทีมงานจะรวบรวม และคัดกรองเพื่อนำไปถามหลวงพ่อในตอนเย็นวันอาทิตย์ที่หลวงพ่อมารับสังฆทาน |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#1
|
|||
|
|||
การฝึกสมาธิและมโนมยิทธิ
กราบนมัสการหลวงพ่อครับ
๑.ขอเรียนถามเรื่องสมาธิครับ ปัจจุบันได้ฝึกกรรมฐานที่บ้าน โดยได้ศึกษาอาการของสมาธิตามหนังสือกรรมฐาน ๔๐ ใช้คำภาวนาว่า “พุทโธ” เมื่อมีความรู้สึกว่าคำบริกรรมหนักไป ก็เลยปลดคำบริกรรมออก และหลังตรงตั้งเองไม่เมื่อยเหมือนจะลอย ร่างกายเบาดีไม่มีเหน็บชา แล้วเป็นว่าง ๆ โหวง ๆ ซึ่งตรงนี้ก็มาทราบจากหนังสือว่า คืออาการของฌาน ๒ ไปต่อเนื่อง ๓ เพราะเหตุผลว่า คำบริกรรมก็คือ ตัววิตกวิจารณ์และตัวพองกับความเบาสบายใจ ก็คือตัวปีติกับสุข ได้หายไปแล้ว เหลือแต่เอกัคคตารมณ์และมีอุเบกขาเข้ามาเพิ่ม แต่เป็นได้เพียงชั่วขณะไม่เกิน ๑ ลมหายใจ เพราะกลัวลมขาด พอจะนิ่งในสมาธิระดับนี้แต่ร่างกายต้องการลมก็เลยหายใจ พอหายใจก็รู้ตัวว่าสมาธิลดลง ผมอยากทราบว่าตรงช่วงที่ลมหายในเวลาสั้น ๆ นั้นคือฌาน ๔ ใช่หรือไม่ครับ ? ๒.คำถามต่อมาคือสงสัยในอาการของฌาน ๔ ที่สงสัยเพราะว่าเมื่อมาถึงฌาน ๓ จะเข้าสู่ฌาน ๔ มันเบาอย่างที่กล่าวไปแล้วนั้น จิตมันเลยกลับไปหาคำภาวนาอีก และพอไปหาคำภาวนาก็ย้อนไปหาลมอีกและกลับไปที่ร่างกายอีก มันก็เท่ากับว่าย้อนคืนกลับมาหาฌาน ๓ หรือลงไปเรื่อย ๆ ในทางกลับกันพอฌาน ๓ เต็มที่เข้า ก็ดิ่งไปหาฌาน ๔ สลับกันไปมาอยู่อย่างนี้ ถ้าเราหาจุดให้จิตจับและสามารถทรงแต่เอกัคคตารมณ์อย่างเดียว ก็เป็นวิธีเลี่ยงไม่ให้จิตสนใจลมหายใจ ที่ทำอยู่ถูกไหมครับ ? ๓.มีโอกาสได้ไปฝึกมโนมยิทธิ โดยเปลี่ยนไปใช้คำภาวนา "นะมะพะธะ" ที่วัดท่าซุงแบบเต็มกำลัง ซึ่งอาจารย์ผู้สอนกล่าวว่ามันคือการใช้กำลังของฌาน ๔ ผมก็สามารถฝึกตามที่อาจารย์สอนได้บ้าง จึงคิดถึงส่วนที่ยังสงสัยมาตอบคำถามตัวเองว่า อาการของฌาน ๔ ตอนใช้มโนมยิทธิ เท่ากับว่าการออกไปนี่ มันก็คืองานที่เราหาให้จิตทำ ทำให้เราไม่สนใจกับลมหายใจและเลี้ยงจิตให้อยู่ในอารมณ์ฌาน ๔ ได้ดีกว่าตอนภาวนาดูลมเฉย ๆ และได้ทดลองกลับไปทำแบบแรก ก็ยังเหมือนเดิมคือพอจิตไม่มีอะไรให้รู้หรือมีงานให้ทำ มันก็หล่นลงไปฌาน ๓ แสดงว่ามโนมยิทธิในอีกมุมมองหนึ่งก็คือการหาอะไรให้จิตทำอีกอย่างหนึ่งใช่ไหมครับ ? ๔.เทคนิคที่ผมประยุกต์จากการนำมโนมยิทธิมาใช้เพื่อให้ข้ามการกังวลกับลม คือหางานให้จิตทำ เป็นความเข้าใจ ที่ถูกต้องหรือไม่ครับ ? ๕.ถ้าผมอยากทรงอารมณ์ฌาน ๔ เฉย ๆ ให้ได้ตามที่ต้องการ เพื่อฝึกต่อไปในอรูปฌานอีก ๔ ซึ่งก็ได้ลองทำเองไปบ้างแล้ว ก็เหมือนกับการที่เราเอาจิตจับประเด็นนามธรรมต่าง ๆ อีก ๔ อย่างตามที่หนังสือสอน ก็พบว่าก็พอทำได้บ้างเล็กน้อยและไม่รู้ว่าคิดเองเออเองหรือเปล่า ก่อนจะผ่านไปแต่ละขั้นเราใช้อะไรเป็นจุดสังเกตว่าฌาน ๕,๖,๗ และ ๘ นี้เราได้แน่นอนแล้ว กราบขอบพระคุณครับ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สิทธารถะ : 12-05-2020 เมื่อ 16:34 เหตุผล: ใช้ภาษาบาลีผิดและเว้นวรรคไม้ยมกผิด |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สิทธารถะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
ถาม : ปัจจุบันได้ฝึกกรรมฐานที่บ้าน โดยได้ศึกษาอาการของสมาธิตามหนังสือกรรมฐาน ๔๐ ใช้คำภาวนาว่า “พุทโธ” เมื่อมีความรู้สึกว่าคำบริกรรมหนักไป ก็เลยปลดคำบริกรรมออก และหลังตรงตั้งเอง ไม่เมื่อย เหมือนจะลอย ร่างกายเบาดี ไม่มีเหน็บชา แล้วเป็นว่าง ๆ โหวง ๆ ซึ่งตรงนี้ก็มาทราบจากหนังสือว่า คืออาการของฌาน ๒ ไปต่อเนื่อง ๓ เพราะเหตุผลว่า คำบริกรรมก็คือ ตัววิตกวิจารณ์และตัวพองกับความเบาสบายใจ ก็คือตัวปีติกับสุข ได้หายไปแล้ว เหลือแต่เอกัคคตารมณ์และมีอุเบกขาเข้ามาเพิ่ม แต่เป็นได้เพียงชั่วขณะไม่เกิน ๑ ลมหายใจ เพราะกลัวลมขาด พอจะนิ่งในสมาธิระดับนี้แต่ร่างกายต้องการลมก็เลยหายใจ พอหายใจก็รู้ตัวว่าสมาธิลดลง ผมอยากทราบว่าตรงช่วงที่ลมหายในเวลาสั้น ๆ นั้นคือฌาน ๔ ใช่หรือไม่ครับ ?
ตอบ : เป็นการ "มโนฯ" เอาล้วน ๆ การภาวนานั้น ลมหายใจจะเบาลงเอง หรือว่าหายไปเอง ไม่ใช่เราไปปลดลมหายใจทิ้ง..! ในเมื่อกลัดกระดุมเม็ดแรกไม่ถูก ที่เหลือก็ย่อมผิดทั้งหมด..! ถาม : สงสัยในอาการของฌาน ๔ ที่สงสัยเพราะว่าเมื่อมาถึงฌาน ๓ จะเข้าสู่ฌาน ๔ มันเบาอย่างที่กล่าวไปแล้วนั้น จิตมันเลยกลับไปหาคำภาวนาอีก และพอไปหาคำภาวนาก็ย้อนไปหาลมอีกและกลับไปที่ร่างกายอีก มันก็เท่ากับว่าย้อนคืนกลับมาหาฌาน ๓ หรือลงไปเรื่อย ๆ ในทางกลับกันพอฌาน ๓ เต็มที่เข้า ก็ดิ่งไปหาฌาน ๔ สลับกันไปมาอยู่อย่างนี้ ถ้าเราหาจุดให้จิตจับและสามารถทรงแต่เอกัคคตารมณ์อย่างเดียว ก็เป็นวิธีเลี่ยงไม่ให้จิตสนใจลมหายใจ ที่ทำอยู่ถูกไหมครับ ? ตอบ : ดูคำตอบข้างบนแล้วคงจะหายสงสัย ถาม : มีโอกาสได้ไปฝึกมโนมยิทธิ โดยเปลี่ยนไปใช้คำภาวนา "นะมะพะธะ" ที่วัดท่าซุงแบบเต็มกำลัง ซึ่งอาจารย์ผู้สอนกล่าวว่ามันคือการใช้กำลังของฌาน ๔ ผมก็สามารถฝึกตามที่อาจารย์สอนได้บ้าง จึงคิดถึงส่วนที่ยังสงสัยมาตอบคำถามตัวเองว่า อาการของฌาน ๔ ตอนใช้มโนมยิทธิ เท่ากับว่าการออกไปนี่ มันก็คืองานที่เราหาให้จิตทำ ทำให้เราไม่สนใจกับลมหายใจและเลี้ยงจิตให้อยู่ในอารมณ์ฌาน ๔ ได้ดีกว่าตอนภาวนาดูลมเฉย ๆ และได้ทดลองกลับไปทำแบบแรก ก็ยังเหมือนเดิมคือพอจิตไม่มีอะไรให้รู้หรือมีงานให้ทำ มันก็หล่นลงไปฌาน ๓ แสดงว่ามโนมยิทธิในอีกมุมมองหนึ่งก็คือการหาอะไรให้จิตทำอีกอย่างหนึ่งใช่ไหมครับ ? ตอบ : คำว่าฝึกตามที่อาจารย์สอนได้ ไม่ได้เป็นการรับรองว่าเราจะทำถูก เพราะว่าถ้าอยู่ในลักษณะ "คนตาบอดขี่ม้าตาบอด" ก็มีหวังตกเหวตายในเวลาอันไม่นาน..! ถาม : เทคนิคที่ผมประยุกต์จากการนำมโนมยิทธิมาใช้เพื่อให้ข้ามการกังวลกับลม คือหางานให้จิตทำ เป็นความเข้าใจ ที่ถูกต้องหรือไม่ครับ ? ตอบ : "ถูกของคุณ" ไม่ใช่ของคนอื่น ถาม : ถ้าผมอยากทรงอารมณ์ฌาน ๔ เฉย ๆ ให้ได้ตามที่ต้องการ เพื่อฝึกต่อไปในอรูปฌานอีก ๔ ซึ่งก็ได้ลองทำเองไปบ้างแล้ว ก็เหมือนกับการที่เราเอาจิตจับประเด็นนามธรรมต่าง ๆ อีก ๔ อย่างตามที่หนังสือสอน ก็พบว่าก็พอทำได้บ้างเล็กน้อยและไม่รู้ว่าคิดเองเออเองหรือเปล่า ก่อนจะผ่านไปแต่ละขั้นเราใช้อะไรเป็นจุดสังเกตว่าฌาน ๕,๖,๗ และ ๘ นี้เราได้แน่นอนแล้ว ตอบ : การฝึกอรูปฌาน ต้องเริ่มจากกสิณกองใดกองหนึ่งใน ๙ กอง ยกเว้นอากาสกสิณที่คล้ายอากาสานัญจายตนฌาน จนหลายคนแยกไม่ออก ถ้าไม่มีพื้นฐานกสิณเหล่านี้ก็ได้แต่ "มโนฯ" ต่อไป |
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุธรรม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
|||
|
|||
ต้องขออภัยพระอาจารย์ด้วย ผมคิดว่าใช้ภาษาผิดไป คำว่าปลดลมหายใจทิ้งเป็นภาษาพูดส่วนตัวมากเกินไป จริง ๆ แล้วก็เป็นอาการที่ลมหายใจเบาลง ๆ นั่นแหละครับ ผมไม่ได้ไปเร่งให้เป็นอย่างนั้น พอทำบ่อย ๆ เข้าอาการที่มันเบาลงมันใช้เวลาเร็วขึ้นก็เลยเหมือนกับว่าข้ามจุดนี้ได้เร็วแค่นั้นเองครับ ผมไม่ได้หมายถึงไปตัดเอามันทิ้งไป
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สิทธารถะ : 12-05-2020 เมื่อ 19:32 เหตุผล: แก้ไขภาษาพูดเป็นภาษาเขียน |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สิทธารถะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|