#1
|
|||
|
|||
คาถากันขโมย
อยากทราบว่าคาถากันขโมยคืออันไหนแน่ครับ
เห็นในหนังสือกระโถน ฯ เขียนว่า " ฆะเฏสิ ฆะเฏสิ กิงกะระณัง ฆะเฏสิ อะหังปิตัง ชานามิ ชานามิ " บางท่านก็อ้างว่าหลวงพ่อท่านอธิบายไว้ในหนังสือ ธรรมวิโมกข์ ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๓๓๕ ว่า " ฆะเฏสิ ฆะเฏสะ กิง กะระณัง ฆะเฏสิ ฆะเฏสะ อะระหังปิ ตัง ชานามิ ชานามิ " อยากทราบว่าอันไหนถูกต้องครับ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-01-2010 เมื่อ 03:01 |
สมาชิก 179 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตาทิพย์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
|||
|
|||
ขออนุญาตถามต่อว่า
ข้าวตอก ๕ ดอกไม้ ๕ หมายถึงข้าวตอก ๕ กระทง ดอกไม้ ๕ กระทง ใช่ไหมครับ |
สมาชิก 104 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
|||
|
|||
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ นุช
เจ๊จ๋า อย่างละ ๕ ถ้วยข้าวสวยร้านข้าวต้ม หรือ ๕ กระทงใบตองขนาดกระทงห่อหมกค่ะ หรือจะใช้พานเล็ก ๆ ก็ได้จ้า แบบที่เราเคยเห็นท่านจัดบายศรี แล้วมีพานเล็ก ๆ ใส่ข้าวตอก ดอกไม้ น่ะจ้ะ พอจะนึกออกหรือยังจ๊ะ ขอบคุณพี่นุชนะคะ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 13-07-2009 เมื่อ 14:28 |
สมาชิก 138 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
||||
|
||||
ตัวคาถา ฆะเฏสิ ฆะเฏสิ กิงกะระณัง ฆะเฏสิ อะหังปิตัง ชานามิ ชานามิ ตัวคาถา ฆะเฏสิ ฆะเฏสิ กิงกะระณา ฆะเฏสิ อะหังปิตัง ชานามิ ชานามิ
__________________
_/\_ นิพพานัง สุขัง _/\_ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นวศรี : 08-01-2010 เมื่อ 09:58 |
สมาชิก 146 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ นวศรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
|||
|
|||
อ.โตครับ พระยันต์ผูกขึ้นมาแต่โบราณหรือเปล่าครับ
สวยงามดีแท้ หลวงพี่เอกเคยให้คาถากันโจร กันขโมยไว้คือ พุทโธ ระมะโน ธัมโม ระมะโน สังโฆ ระมะโน สัพพโจ สัพพโร สัพพวินาศ สันตุ๊ (คาถาเหนือนะเจ้า...ตอนท่องก็ใช้สำเนียงเหนือนะเจ้า)
__________________
คุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันสูงสุด กำจัดทุกข์ได้จริง กำจัดภัยได้จริง |
สมาชิก 139 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ มิ่งเมือง ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#6
|
||||
|
||||
เอาตัวยันต์นี้ไปใช้สิครับ ฉันเอาแบบมาจากตำรายันต์ต่าง ๆ ส่วนที่ถามว่าผูกยันต์มาแต่โบราณนั้นหรือเปล่า ไม่ทราบเหมือนกันครับ ตัวคาถาที่เพิ่มมากับยันต์นี้มี ๔ มุมรอบในองค์พระ อิ กะ วิ ติ รู้สึกดีทำให้นึกถึงพระพุทธเจ้า หัวใจคาถาอะไรจำไม่ได้ครับ และรอบนอกสุดที่ล้อมตารางนี้ไว้ พุทโธ พุทธัง ธัมโม ธัมมัง สังโฆ สังฆัง สัพพศัตรู วินาศสันติ
ส่วนคาถากันขโมยที่มิ่งบอกมา ฉันเคยเห็นแต่เห็นต่างกันนิดเดียวตรงที่ออกเสียงว่า ระ-มะ-โน เป็น รัม-มะ-โน รู้สึกว่าท่านจะเสกไม้กันขโมยที่ใช้ตอกลง ๔ มุมบ้านนะ
__________________
_/\_ นิพพานัง สุขัง _/\_ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นวศรี : 08-01-2010 เมื่อ 11:31 |
สมาชิก 133 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ นวศรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#7
|
|||
|
|||
รูปยันต์ภายในสี่เหลี่ยมอ่านจากบนตามเข็มนาฬิกา นอกสุดวนเข้ามาในตามลำดับ อ่านว่า "ฆะเตสิ ฆะเตสิ กิงกะระณัง อะหังปิตตัง ชานามิ ชานามิ อิกะติวิ" อ่านแบบปกติว่า "อิกะวิติ" ท่านเรียกว่า หัวใจพระพุทธเจ้า ซึ่ง "อิกะวิติ" นี้ถอดออกมาจากอิติปิโสฯ นั่นเอง
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย อักขรัญญ์ : 09-01-2010 เมื่อ 17:10 |
สมาชิก 118 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ อักขรัญญ์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#8
|
|||
|
|||
จำมาจากเรื่องความหลงในสงสารของอาจารย์สุนิสา อ่อนค้อม
ความว่า "สมัยก่อนท่านเห็นคนเรียนไม่เก่งก็ล้อเลียน ชาติต่อ ๆ มาท่านมาเกิดเป็นกษัตริย์แต่เรียนไม่เก่ง อาจารย์สอนคาถาก็จำไม่ได้ อาจารย์รำพึงว่า ทำไปเถอะ ๆ ไม่สำเร็จหรอก (นี่แปลมาจาก ฆะเฏสิฯ) ต่อมาอำมาตย์วางแผนจะฆ่า คืนนั้นกษัตริย์ท่องคาถาจนละเมอออกเสียง อำมาตย์ได้ยินนึกว่าท่านมีทางใน จึงมารับสารภาพผิด จบเรื่องเท่าที่จำได้ ผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ ผมใช้บ่อยเวลาไปจอดรถในที่ไม่คุ้น โดยนึกขอพระรัตนตรัย เทวดา แล้วท่องคาถานี้ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-06-2011 เมื่อ 02:40 เหตุผล: ช่วยแก้ไขให้ เนื่องจากได้รับการลงโทษแล้ว |
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#9
|
|||
|
|||
ไม่ทราบว่า บทไหนเป็นบทที่ถูกต้องครับ
หรือว่าใช้ได้เหมือนกันทั้งสองบทเลย... |
สมาชิก 81 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ช่างศิลป์ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#10
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
เป็นคาถาที่ถูกต้องครับ ที่มาพระคาถา มาจาก นิทานอดีตชาติของ พระจูฬปันถก ที่ท่านเป็นพระมหาสาวกผู้เป็นเลิศทางฤทธิ์ทางใจ ---------------------------------------------------- พระพุทธเจ้าท่านช่วยให้ท่านจูฬปันถกบรรลุเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้วตรัสเล่าว่า ไม่ใช่เพียงชาตินี้หรอกที่พระองค์เป็นที่พึ่งของจูฬปันถก แม้ในอดีตก็เคยเป็นที่พึ่งให้แก่จูฬปันถกมาแล้ว ต่างกันแต่ว่าคราวนี้ให้โลกุตรทรัพย์ คือให้สมบัติทางธรรม แต่ชาติก่อนให้สมบัติทางโลก แล้วทรงเล่าเรื่องคราวนั้นให้ฟังว่า ในอดีต มีชายหนุ่มชาวพาราณสีคนหนึ่ง ไปเรียนที่ ตักกสิลา เป็นคนดีมาก ปรนนิบัติอาจารย์ทุกอย่าง แต่โง่มาก เรียนอะไรไม่ได้เลย เรียนมาหลายปีจำอะไรบ่ได้เล้ย เลยลากลับบ้านดีกว่า อาจารย์สงสารเลยผูกมนต์ให้บทหนึ่ง สั่งว่า นึกขึ้นมาได้เมื่อไหร่ก็ให้ท่องเมื่อนั้น พระเจ้ากรุงพาราณสี ตอนนั้นคิดว่า จะออกไปดูแลทุกข์สุขราษฎร เลยปลอมตัวไปลำพัง คืนหนึ่งเห็นโจรเข้าไปขโมยของในบ้านหลังหนึ่ง ตอนโจรเที่ยวดูของในบ้านอยู่ เจ้าของบ้านก็สาธยายมนต์ว่า ฆะเฏสิ ฆะเฏสิ กิงการณา ฆะเฏสิ อะหังปิตัง ชานามิ ชานามิ แปลว่า เจ้าพยายามไปเถิด พยายามไปเถิด เจ้าพยายามเพื่ออะไร เรารู้ เรารู้ ความพยายามของเจ้าแล้ว โจรได้ยินก็เผ่นหนีไปเลย วันรุ่งขึ้น พระราชาก็ให้ชายเจ้าของบ้านเข้าเฝ้า แล้วขอเรียนมนต์บทนั้น ตอนนั้น เสนาบดีคิดทรยศ นัดแนะกับช่างตัดผมของพระราชาว่า ถ้าเวลาโกนหนวด ให้เอามีดโกนปาดคอเลยนะ ถ้าสำเร็จเขาจะได้เป็นพระราชาแทน แล้วให้ช่างตัดผมเป็นเสนาบดี” “ทีนี้ พอช่างตัดผมเตรียมโกนหนวด ก็ไปยืนลับมีดโกนอยู่ พระราชานึกถึงมนต์ได้ท่องขึ้นมาอย่างนั้นแหละ แต่ช่างตัดผมได้ยินแล้ว นึกว่าพระราชารู้แกวของตนว่าจะทำร้าย ขาอ่อนทรุดหมอบลงไป พระราชาฉลาด เห็นอาการผิดปกติอย่างนั้นก็รู้ว่ามีอะไรไม่ดีแน่เลย เลยตวาดว่า “เฮ้ย นึกว่ากูไม่รู้ความพยายามของมึงหรือ” ช่างตัดผมสารภาพหมดเลยเกลี้ยงเกลา พระราชาเลยให้เนรเทศเสนาบดีไป แล้วให้ชายหนุ่มเจ้าของมนต์มาเป็นเสนาบดีแทน” “พระพุทธเจ้าตรัสว่า ชายหนุ่มก็คือจูฬปันถก ส่วนพระอาจารย์ คือพระองค์เอง แล้วพระองค์ก็สอนพวกภิกษุว่า คนมีปัญญาควรทำตัวเองให้เป็นที่พึ่งของตัวเองได้ ด้วยการประพฤติธรรม คือขยันไม่ประมาท มีความสำรวม และฝึกกายใจของเราให้ดี แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เพิ่มบุญ : 14-06-2011 เมื่อ 19:37 |
สมาชิก 111 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เพิ่มบุญ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#11
|
|||
|
|||
ตัวคาถาว่า ฆะเฏสิ ฆะเฏสิ กิงกะระณา ฆะเฏสิ อะหังปิตัง ชานามิ ชานามิ ครับ
คาถากันขโมย ถาม : .............................. ตอบ : ตัวคาถาฆะเฏสิ นี่ จริง ๆ แล้ว ป้องกันอันตรายได้ทุกอย่าง แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วครูบาอาจารย์ยุคหลัง ๆ ท่านถือเป็นคาถากันขโมย เริ่มจากว่ามีชายเข็ญใจคนหนึ่ง หัวทื่อมากเลย ทำอะไรก็ไม่เอาไหน อาจารย์ท่านเลยให้คาถานี้ไปท่อง ตัวคาถาว่า ฆะเฏสิ ฆะเฏสิ กิงกะระณา ฆะเฏสิ อะหังปิตัง ชานามิ ชานามิ ความหมายก็คือว่าทำอะไรกันนั่น ท่านทำอะไรอยู่ ทำอะไรใครก็รู้ เราเห็นอยู่ว่าทำอะไร เจ้านั่นประเภทคนซื่อคนขยัน อาจารย์ให้ท่อง ก็ท่องตะบันราดเลย วันหนึ่งพระราชาเสด็จออกตรวจราชกิจตอนกลางคืน คล้าย ๆ กับว่า ตรวจดูความสงบเรียบร้อย โจรกำลังจะย่องเบาอยู่ กำลังตั้งท่าจะปีนบ้าน เจ้านี่ละเมอก็ตะโกนออกมา ตะโกนคาถาบทนี้ ที่แปลว่า ทำอะไรกันนั่น ท่านทำอะไรอยู่ ทำอะไรใครก็รู้ เราเห็นอยู่ว่าทำอะไร โจรก็เลยเผ่นแน่บ เพราะนึกว่าเจ้าของบ้านตื่น พระราชาท่านก็แปลกใจ โผล่เข้าไปเห็น เลยปลุกขึ้นมาถามว่าเรื่องอะไรกัน เขาก็บอกว่าคาถาวิเศษบทนี้อาจารย์ให้มา บอกว่าป้องกันอันตรายได้ทุกอย่าง พระราชาจึงขอเรียน เขาบอกว่าถ้าจะขอเรียน ต้องยอมตนเป็นลูกศิษย์ถึงจะสอนให้ พระราชาก็เลยต้องไหว้คนเข็ญใจ ตัวนี้ก็คือว่า ถ้าหากว่าคุณต้องการวิชา คุณจะถือตัวถือตนไม่ได้ พอให้ไป พระราชาก็ท่องบ่นเป็นประจำอยู่เหมือนกัน ท่องไปท่องมา มีอยู่วันหนึ่งบรรดาพวกเชื้อพระวงศ์ ต้องการจะปฏิวัติรัฐประหารชิงราชสมบัติ ก็จ้างให้กัลบกคือช่างตัดผม บอกว่าเวลาที่โกนพระมัสสุ (หนวด) ให้พระราชานี่ จงปาดคอเสียเราจะให้รางวัล พระราชาท่านหลับเพลิน ๆ ก็ละเมอคาถาบทนี้ออกมาบ้าง ช่างก็ตัวสั่นตกใจ นึกว่าพระราชารู้แล้ว เลยสารภาพหมด พระราชารอดไปได้ ในเมื่อท่านรอดมาได้ก็คิดว่า เพราะอาจารย์ที่เป็นคนเข็ญใจ จึงรับตัวมาเลี้ยงไว้ในวังเป็นอย่างดี จริง ๆ แล้ว อุปเท่ห์การใช้ของคาถานี้ ใช้ป้องกันอันตรายทุกชนิด แต่ว่าในระยะหลังท่านบอกว่าให้ใช้กันขโมย ก่อนนอนก็ตั้งใจว่าคาถานี้สักเจ็ดจบ อธิษฐานว่าถ้าหากจะมีขโมยหรือมีเหตุร้ายอะไรเกิดขึ้นกับเรา ขอให้เรารู้ตัวก่อน ให้ตื่นมาพร้อมกับสติสัมปชัญญะที่สมบูรณ์ เพื่อได้แก้ไขเหตุการณ์ให้ลุล่วงไปด้วยดี สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔ http://www.watthakhanun.com/webboard...ead.php?t=1619 แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กระบี่เย้ยยุทธจักร : 04-04-2015 เมื่อ 05:20 |
สมาชิก 63 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กระบี่เย้ยยุทธจักร ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|