#1
|
||||
|
||||
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันเสาร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
นั่งในท่าที่สบายของแต่ละคน อันดับแรกเลยก็คือ กำหนดความรู้สึกของเราให้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก เพราะว่าลมหายใจเข้าออกหรืออานาปานสติกรรมฐานนั้น เป็นพื้นฐานใหญ่ของกรรมฐานทั้งหมด
ถ้าไม่มีลมหายใจเข้าออก กรรมฐานทุกกองก็ไม่ทรงตัว ดังที่วันนี้มีคนถามว่า รู้คำภาวนาอย่างเดียว ไม่ต้องกำหนดรู้ลมจะได้ไหม ? บอกว่าได้เหมือนกัน แต่กำลังใจจะไม่ทรงตัว สำหรับวันนี้ก็เป็นวันเสาร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นวันที่สองของการปฏิบัติกรรมฐานของพวกเราประจำเดือนกุมภาพันธ์นี้ เมื่อวานนี้ได้กล่าวถึงว่า สาเหตุที่ปฏิบัติธรรมแล้วไม่ก้าวหน้ามีอย่างไรบ้าง สำหรับในวันนี้จะกล่าวต่อไปถึงว่า จุดมุ่งหมายสำหรับการปฏิบัติธรรมของเราคืออะไร ? จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติธรรมนั้น ต้องเอาอย่างที่พระสารีบุตรแนะนำพระที่จะไปเมืองอื่นว่า "ถ้าหากว่ามีคนเขาสอบถามพวกเธอทั้งหลายว่า เธอทั้งหลายบวชเข้ามาในพระธรรมวินัยนี้เพื่ออะไร เธอทั้งหลายจะตอบเขาอย่างไร ?" พระภิกษุทั้งหลายก็กราบเรียนว่า "ถ้าหากว่าเป็นพระสารีบุตร ท่านจะตอบว่าอย่างไร ?" พระสารีบุตรบอกว่า "ให้ตอบเขาทั้งหลายไปว่า เราบวชเข้ามาเพื่อความดับไม่มีเชื้อ คือ เพื่อความสิ้นทุกข์ทั้งปวง ไม่ต้องมาเกิดอีก" พวกเราทุกคนที่เจริญกรรมฐานก็เช่นกัน ขอให้ทราบไว้เลยว่า เป้าหมายสูงสุดของเรานั้นคือการพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง การที่จะพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิงคือ การที่ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปอีก การเวียนว่ายตายเกิดในแต่ละชาตินั้น เราต้องพบกับความทุกข์อยู่ตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่เกิดก็เป็นทุกข์ แก่ก็เป็นทุกข์ เจ็บก็เป็นทุกข์ ตายก็เป็นทุกข์ พลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เป็นทุกข์ เศร้าโศกเสียใจก็เป็นทุกข์ ปรารถนาไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ กระทบกระทั่งอารมณ์ที่ไม่ชอบใจก็เป็นทุกข์ ความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้ มีทั้งสภาวทุกข์ คือ ทุกข์โดยสภาพ ที่จะต้องเกิดกับร่างกายนี้ อย่างเช่น ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ความเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น นิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์ อย่างเช่นว่า การปวดอุจจาระ การปวดปัสสาวะ เป็นต้น อาหารปริเยฏฐิทุกข์ ทุกข์ของการแสวงหาซึ่งอาหาร เราจะเห็นได้ว่าในแต่ละวัน การหาอาหารให้ร่างกายกินนั้น พาเราลำบากไม่รู้จบ แล้วยังมีปกิณกทุกข์ ทุกข์เล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะมีสภาพร่างกาย อย่างที่ได้กล่าวไว้เมื่อครู่ เช่นว่า พลัดพรากจากของรักของชอบใจ เศร้าโศกเสียใจ ปรารถนาไม่สมหวัง กระทบกระทั่งอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ เป็นต้น
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-02-2010 เมื่อ 03:04 |
สมาชิก 66 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
เราจะพ้นจากความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้ได้ เราต้องไม่ต้องเกิด การที่เราจะไม่เกิดได้นั้น ต้องเป็นผู้ปฏิบัติใน ศีล สมาธิ ปัญญา โดยสมบูรณ์บริบูรณ์
การปฏิบัติในศีลโดยสมบูรณ์บริบูรณ์ ก็คือ เป็นผู้รักษาศีลทุกสิกขาบทได้บริสุทธิ์ ไม่ล่วงละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล ไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีล เป็นต้น การปฏิบัติสมาธิภาวนานั้น อันดับแรก ต้องตั้งเป้าไว้ที่ปฐมฌาน ฌานที่หนึ่ง เพราะว่ามีกำลังช่วยตัดกิเลสได้ในระดับพระโสดาบัน ถ้าเป็นฌานหนึ่งละเอียด สามารถตัดกิเลสได้ถึงระดับสกิทาคามี แต่ถ้าหากทรงฌานสี่หรือสมาบัติแปดได้ ย่อมเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะว่าฌานสี่นั้น สามารถช่วยตัดกิเลสได้ในระดับพระอนาคามีและระดับพระอรหันต์ ถ้าต่ำกว่าฌานสี่กำลังจะไม่เพียงพอในการตัดกิเลส โดยเฉพาะตัวราคะและโทสะ ในส่วนของปัญญานั้น ต้องรู้แจ้งเห็นจริงว่า สภาพร่างกายของเรานี้ มีแต่ความทุกข์อยู่เสมอ ตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมา จนหลับตาลงไป ตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งตาย ความทุกข์ติดตามเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะหลบหนีไปไกลแสนไกลในสถานที่ใดก็ตาม ความทุกข์ก็ยังติดตามไปอยู่เสมอ ถ้าตราบใดที่ยังเกิดอยู่ เราไม่สามารถที่จะล่วงพ้นความทุกข์นี้ไปได้ ดังนั้น..ขึ้นชื่อว่าการเกิดมาเพื่อมีความทุกข์เช่นนี้ เราไม่ต้องการอีกแล้ว ถ้าสามารถถอนกำลังใจที่ปรารถนาในการเกิด ปรารถนาในร่างกายนี้ ปรารถนาในโลกมนุษย์ เทวโลกหรือพรหมโลกได้ เราก็ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป จึงจะพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง วิธีการพ้นจากความทุกข์นั้น ความจริงเรารู้กันอยู่ทุกคนแล้ว ก็คือ การปฏิบัติใน ศีล สมาธิ และ ปัญญา สำหรับพวกเราทุกคนนั้น ขอให้เน้นเรื่องสมาธิให้มากเข้าไว้ คำว่าเน้นสมาธิให้มากเข้าไว้ เพราะว่าพวกเราส่วนใหญ่ สามารถรักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้แล้ว ทั้งศีลห้าและศีลแปด ถ้าหากว่าสมาธิของเราทรงตัว ก็จะสามารถควบคุมกำลังใจให้ระมัดระวังในเรื่องศีลได้ละเอียดยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน กำลังใจที่ทรงตัวนั้น กำลังของสมาธิก็จะหนุนเสริมให้เกิดปัญญา
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-02-2010 เมื่อ 03:07 |
สมาชิก 65 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
สามารถที่จะรู้แจ้งเห็นจริงว่า คนเราทุกคน สัตว์ทุกตัว หรือสรรพสิ่งทั้งหลายก็ตาม มีความทุกข์ตามสภาพของเขาเป็นปกติ ขึ้นชื่อว่าเกิดมาทุกข์เช่นนี้เราไม่พึงปรารถนาอีกแล้ว เราต้องการที่เดียวคือพระนิพพาน
เมื่อปัญญาเกิด ก็จะเลือกในการที่จะชำระจิตให้ผ่องใสจาก รัก โลภ โกรธ หลง รู้ระมัดระวังไว้ ถ้าหากว่ามีความดีอยู่ในใจ ก็ประคับประคองรักษาความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ถ้าไม่มีความดีอยู่ในใจ ก็จะใช้ปัญญาในการสร้างเสริมความดีของ ศีล สมาธิ ขึ้นมา ถ้าหากว่ามีความชั่วอยู่ในใจ ก็จะรู้จักขับไล่ความชั่วนั้นออกไป แล้วคอยระมัดระวังไว้ ไม่ให้ความชั่วนั้นเข้ามาอีก เป็นต้น โดยเฉพาะจุดหนึ่งที่พวกเราทั้งหลายพึงสังวรไว้ให้มาก คือ เราเป็นผู้ปรารถนาความหลุดพ้น ในเมื่อเราเป็นผู้ปรารถนาความหลุดพ้น เป็นหน้าที่โดยตรงที่เราจะพิจารณาให้เห็นทุกข์ชัดเจน เพราะถ้าไม่เห็นความทุกข์เราก็ไม่เบื่อ ถ้าไม่เบื่อเราก็ไม่อยากไปเสียให้พ้น ถ้าไม่อยากจะไปเสียให้พ้น โอกาสที่จะเข้าสู่พระนิพพานก็ไม่มี โดยเฉพาะท่านทั้งหลายที่เป็นศิษย์ของหลวงพ่อฤๅษีนั้น เรามีผู้ที่ตั้งใจช่วยในการปฏิบัติอยู่เบื้องบนมากมายมหาศาล ท่านทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าเราทำความดีท่านก็พยายามหนุนเสริมให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ถ้าเราจะทำความชั่ว ท่านก็พยายามที่จะฉุด จะรั้ง จะดึง ไม่ให้เราทำความชั่วได้สำเร็จ โดยเฉพาะหลายต่อหลายท่านนั้น เลือกที่จะลงมาเกิดก่อนหมดอายุขัย โดยมีสัญญาผูกพันเอาไว้ ว่ากลับไปจะต้องดีกว่าเดิม ถ้าสามารถหลุดพ้นเข้านิพพานได้ยิ่งดี เมื่อติดด้วยสัญญาผูกพันเช่นนี้แล้ว ถ้าเราไม่พิจารณาทุกข์ ไม่รู้จักทุกข์ เท่ากับว่าไม่เห็นทางไปนิพพาน เราก็จะโดนบังคับให้ทุกข์ ถ้าบังคับแล้วยังไม่รู้สึกว่าทุกข์ ก็จะโดนบีบบังคับชนิดหาทางออกไม่ได้ จนกว่าจะเห็นทุกข์ไปเอง
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 26-02-2010 เมื่อ 10:51 |
สมาชิก 51 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
||||
|
||||
ถ้าจะเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับเราเลี้ยงวัวอยู่ ถ้าวัวนั้นไม่ดื้อ เดินไปตามทางที่เราต้องการ ก็ไม่จำเป็นต้องไปเฆี่ยน ไปตี แต่ถ้าวัวดื้อ แหกคอก ออกนอกทาง ก็จำเป็นที่จะต้องตี เพื่อที่จะบังคับให้กลับมาในทางที่ต้องการ
ท่านทั้งหลายที่จะโดนบังคับให้ทุกข์นั้น ก็คือ ปรารถนาตั้งใจจะไปพระนิพพาน แต่ไม่ยอมพิจารณาให้เห็นทุกข์ชัดเจน จึงต้องโดนบังคับให้ทุกข์ แต่ถ้าท่านพิจารณาเห็นทุกข์อยู่เป็นปกติแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่ท่านทั้งหลายนั้นจะต้องบังคับให้เราทุกข์อีก พวกเราจึงต้องเลือกเอาเองว่า เราจะพิจารณาให้เห็นทุกข์ คือ เป็นวัวที่ยอมเดินตามทางแต่โดยดี หรือเราจะเลือกให้โดนบังคับให้เห็นทุกข์ เป็นวัวที่จะต้องโดนเฆี่ยนตี โดนบังคับกัน เรื่องนี้ท่านทั้งหลายจำเป็นต้องเลือกเอาเอง มองทุกข์ให้เห็น เมื่อเห็นชัดเจนแล้วปล่อยวางทุกข์นั้นให้ได้ เห็นว่าธรรมดาเป็นเช่นนี้ ขึ้นชื่อว่าการเกิดมามีความทุกข์เช่นนี้ จะไม่มีสำหรับเราอีก เราต้องการที่เดียวคือพระนิพพาน เมื่อกำลังใจยอมรับว่าสภาพความทุกข์มีเป็นปกติเช่นนี้ ไม่มีความปรารถนาในร่างกายนี้ ไม่มีความปรารถนาในโลกนี้ ตลอดจนเทวโลกพรหมโลก ก็เอาจิตเกาะพระนิพพาน ภาวนากำหนดลมหายใจเข้าออกของเราไป ทำดังนี้ทุกวัน ๆ จนกว่าจะได้เวลาที่กำหนดเอาไว้ เพื่อเป็นการซักซ้อมกำลังใจของเรา ให้เข้าใจในทุกข์อย่างถ่องแท้และยอมรับให้ถูกต้อง จะได้ไม่ต้องแบกทุกข์เอาไว้ให้กลุ้มใจ ต่อนี้ไปก็ให้พวกเราจับลมหายใจเข้าออกพร้อมกับคำภาวนา ตลอดจนกระทั่งว่า จะพิจารณาทุกข์หรือกำหนดภาพพระ แล้วแต่เราจะเลือกตามอัธยาศัย ให้ทำไปจนกว่าจะได้ยินสัญญาณเตือนว่าหมดเวลา พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์ วันเสาร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-02-2010 เมื่อ 03:08 |
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
||||
|
||||
สำหรับการทำกรรมฐานของวันเสาร์นั้น หลังจากคลายกำลังใจออกมาแล้ว ก็มีการสวดอิติปิโส ๓ จบต่อ โดยถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ซึ่งพระอาจารย์ให้สังเกตดูว่า ในขณะที่สวดตั้งแต่ต้นจนจบ สามารถที่จะที่ประคับประคองรักษาอารมณ์ไม่ให้หลุด ไม่ให้เคลื่อนไปได้หรือไม่?
ผลปรากฏว่า "ร้อยละเกิน ๙๕ หลุดเกลี้ยงเลย..! เหลือแค่อุปจารสมาธิเท่านั้น ส่วนท่านที่สามารถทรงกำลังใจไว้ได้ ก็ปักแน่นเกินจนรู้สึกเครียด ให้คลายออกมาอีกนิดหนึ่ง อย่าให้มากกว่านั้น ถ้ามากกว่านั้นจะหลุดไปเลย ส่วนท่านที่ทรงอุปจารสมาธิอยู่ ให้รู้ว่าเป็นสมาธิที่ไม่ปลอดภัย เพราะกิเลสแทรกได้ง่าย นิวรณ์แทรกได้ง่าย ในระหว่างอุทิศส่วนกุศลลองดูซิว่า เราสามารถกลับเข้าไปในสมาธิได้ลึกกว่าเดิมหรือไม่ ?"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-02-2010 เมื่อ 03:08 |
สมาชิก 50 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#6
|
||||
|
||||
ขออนุญาตใช้สิทธิในฐานะผู้อาราธนา ชี้แจงและชักชวนว่าที่มีดำริอาราธนาขอโอกาสพระอาจารย์นั้น แรกมีเป้าหมายว่าอยากชักชวนคณะศิษย์ทำกตัญญูกตเวทิตา สวดอิติปิโสฯ ๓ จบถวาย เพื่อขออานิสงส์ส่งผลบรรเทาอาการเจ็บไข้ของพระอาจารย์
ซึ่งก็ยังอยากชักชวนให้ร่วมกันอธิษฐานขออานิสงส์นี้ด้วย และขอให้ท่านที่อยู่เจริญพระกรรมฐานในแต่ละวัน โปรดกราบนมัสการขอโอกาสพระอาจารย์สวดอิติปิโสฯ ๓ จบถวายกันทุกครั้งด้วยครับ |
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ คนเก่า ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#7
|
|||
|
|||
โมทนาครับ เมื่อเช้าฝันเห็นท่านก่อนตื่นนอน ฝันว่าความดันท่านสูงจนเส้นเลือดข้างขมับซ้ายขึ้นเป็นเส้นเลย
อย่างไรก็ขออาราธนาบารมีพระรัตนตรัย พรหม เทวดาช่วยสงเคราะห์ให้พระอาจารย์เล็ก หายจากอาการป่วยไข้ หรืออย่างน้อยก็ขอให้ทุเลาลงให้มากที่สุดแล้วกันครับ รวมถึงขอให้เจ้ากรรมนายเวรของพระอาจารย์เล็กได้อโหสิกรรมกับกรรมในอดีต เพื่อที่ว่าท่านจะได้สามารถทำหน้าที่สืบสานงานพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ และเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้กับพุทธศาสนิกชนตราบนานเท่านานด้วยครับ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย อารยัน : 27-02-2010 เมื่อ 16:15 |
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ อารยัน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|