#41
|
|||
|
|||
อนึ่ง ท่านยังแยกฌานออกเป็นภวังค์ มี ๓ คือ ภวังคุบาท ๑ ภวังคจรณะ ๑ ภวังคุปัจเฉทะ ๑
ตามลักษณะของจิตที่รวมเข้าไปเป็นภวังค์ ส่วนสมาธิก็แยกออกเป็นสมาธิ ดังอธิบายมาข้างต้นเป็น ๓ เหมือนกัน คือ ขณิกสมาธิ ๑ อุปจารสมาธิ ๑ อัปปนาสมาธิ ๑
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#42
|
|||
|
|||
ส่วนการละกิเลสท่านก็แสดงไว้ ไม่ใช่ละกิเลส เป็นแต่กรณีข่มกิเลสของตนไว้ไม่ให้มันเกิดขึ้นด้วยองค์ฌานนั้น ๆ
ส่วนการละกิเลสของสมาธิท่านแสดงไว้ว่า พระโสดาบัน ละกิเลส ได้ ๓ คือ ละสักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ พระสกทาคามี ละได้ ๓ ตัวเบื้องต้นและยังทำให้ราคะเบาบางลงอีก พระอนาคามี ละได้ ๓ ตัวเบื้องต้นนั้นได้เด็ดขาดแล้วยังละกามราคะและปฏิฆะให้หมดไปอีกด้วย นี้แสดงว่าฌานเป็นโลกิยะโดยแท้ ส่วนสมาธิเป็นโลกุตตระ ละกิเลสได้ตามลำดับ ดังอธิบายมาแล้ว
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#43
|
|||
|
|||
ฌาน ถึงแม้เป็นโลกิยะก็จริงแล แต่ผู้ฝึกหัดทำสมาธิจำเป็นจะต้องผ่านฌานนี้เสียก่อน
เพราะฌาน แลสมาธิมันกลับกันได้ ด้วยอุบายแยบคายของตนเอง ผู้จะไม่ผ่านฌาน แลสมาธิ ทั้งสองนี้ไม่มี ฝึกหัดจิตอันเดียวกัน บริกรรมภาวนาอันเดียวกัน หนีไม่พ้นฌาน แลสมาธิ เป็นอันขาด ฌาน แลสมาธิ เบื้องต้นเป็นสนามฝึกหัดของจิตของพระโยคาวจรเจ้าทั้งหลาย พระโยคาวจรเจ้าฝึกหัดฌาน แลสมาธิทั้ง ๒ อย่างนี้ ให้ชำนิชำนาญ รู้จักผิด รู้จักถูก ละเอียดถี่ถ้วนดีแล้ว จึงจะทำวิปัสสนาให้เป็นไปได้ วิปัสสนามิใช่เป็นของง่ายเลย ดังคนทั้งหลายเข้าใจกันนั้น จิตรวมเข้ามาเป็นฌาน แลสมาธิ เป็นบางครั้งบางคราว ก็โมเมเอาว่า ตนได้ขั้นนั้นขั้นนี้แล้ว ไม่ทราบว่าถึงขั้นไหน เป็นฌาน หรือเป็นสมาธิ คุยฟุ้งเลย ทีหลังสมาธิเสื่อมแล้วเข้าไม่ถูก
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#44
|
|||
|
|||
สมาธิ ก็มีลีลามากน่าดูเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนฌาน
เหมือนกับเล่นกีฬา คนหนึ่งเล่นเพื่อความมัวเมา แต่คนหนึ่งเล่นเพื่อสุขภาพอนามัย สมาธิ นั้นเมื่อจิตรวมเข้าไป ก็รู้ว่าจิตรวมเข้าไปรู้อยู่ตลอด เวลาจิตจะหยาบ แลละเอียดสักเท่าไร สติย่อมรวมเข้าไปรู้อยู่ตลอด เวลาจิตจะหยาบอยู่ มันรู้อยู่แต่ภายนอก เมื่อจิตมันละเอียดเข้าไป มันก็รู้อยู่ทั้งภายนอก แลภายใน ไม่หลงไปตามอาการของจิตของตน รู้ทั้งที่จิตเป็นธรรมแลจิตปะปนไปกับโลก ไม่เห็นไปหน้าเดียว อย่างที่เขาพูดว่า หลงโลก หลงธรรม นั่นเอง ผู้เห็นอย่างนี้แล้ว จิตก็จะเป็นกลาง วางอารมณ์ทั้งหมดเฉยได้ จะทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ เมื่อจะทำก็ทำแต่สิ่งที่ควร สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ทำสุ่มสี่สุ่มห้า สมาธิเป็นลักษณะของผู้ใหญ่ผู้รู้เดียงสา กระทำฌานเป็นลักษณะของเด็กผู้ไม่รู้เดียงสากระทำ
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#45
|
|||
|
|||
นิมิตแลความรู้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสมาธินั้น นอกจากดังได้อธิบายมาในฌานในเบื้องต้นแล้ว
มันอาจเกิดความรู้เห็นอรรถเป็นคาถาหรือเป็นเสียงไม่มีตัวตน หรือเป็นเสียงพร้อมทั้งตัวตนขึ้นมาก็ได้ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นเครื่องเตือนตัวเองแลคนอื่นให้ระวังอันจะเกิดภัยในข้างหน้า หรือเตือนว่าสิ่งที่ตนทำมานั้นผิด หรือถูกก็ได้ นิมิตแลความรู้อันเกิดจากสมาธิภาวนานี้ จึงนับว่าเป็นของสำคัญมากทีเดียว เป็นเครื่องมือของนักบริหารทั้งหลาย ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#46
|
|||
|
|||
นิมิต แลความรู้ ดังอธิบายมานั้น เมื่อจะเกิดขึ้นแก่นักปฏิบัติ ย่อมเกิดในเวลาจิตเป็นอุปจารสมาธิ
แต่ตัวเองไม่รู้ว่าเป็นอุปจารสมาธิ แลรู้ได้ในขณะยืนอยู่ก็ได้ นั่งทำสมาธิก็ได้ นอนอยู่ในท่าทำสมาธิก็ได้ แม้แต่เดินไปมาอยู่ก็รู้ได้เหมือนกัน มีหลายท่านหลายคนซึ่งไม่เคยไปที่วัดของผู้เขียนเลยสักหนเดียว แต่รู้ล่วงหน้าไว้ก่อนแล้ว ว่า ที่นั้น ๆ เป็นรูปร่างลักษณะอย่างนั้น ๆ เมื่อไปถึงแล้วเห็นสถานที่ต่าง ๆ ไม่ผิดเลยสักอย่างเดียว ดังได้เห็นนิมิตไว้แต่ก่อน อันนี้จะเป็นเพราะฌาน สมาธิของเขา หรือเพราะบุญบารมีของเขาซึ่งเคยได้ไปมาอยู่แล้วแต่ก่อน ก็ไม่ทราบได้ เมื่อถามท่านเหล่านั้นว่าเคยทำฌาน สมาธิแลภาวนาหรือไม่ ก็บอกปฏิเสธทั้งนั้น
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#47
|
|||
|
|||
นิมิต แลความรู้ทั้งหลายเหล่านี้ เกิดขึ้นกระท่อนกระแท่น ไม่ติดต่อกัน แลจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง
เพราะผู้เข้าสมาธิไม่ชำนาญ พอเข้าเป็นอุปจารสมาธิก็เกิดขึ้นแล้ว ดังได้อธิบายมาแล้วในเบื้องต้น ไม่เหมือนท่านที่ชำนาญ ท่านที่ชำนาญแล้วท่านจะต้องเข้าสมาธิให้ถึง อัปปนาสมาธิ แล้วจึงถอนออกมาอยู่แค่ อุปจารสมาธิ เมื่อต้องการจะรู้จะเห็นเหตุการณ์อะไรท่านจึงวิตกถึง(คิดถึง)เรื่องนั้น เมื่อวิตกขึ้นแล้วท่านก็วางเฉย เมื่อเหตุการณ์อะไรจะเกิดมันก็เกิดขึ้น เมื่อมันไม่มีมันก็จะไม่เกิด เมื่อมันเกิดขึ้นเรื่องนั้น แน่นอนที่สุด เป็นจริงทุกอย่าง
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-02-2010 เมื่อ 02:58 |
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#48
|
|||
|
|||
ไม่เหมือนคนเราในสมัยนี้ ทำฌาน ทำสมาธิยังไม่ทันจะเกิด เอาความอยากไปข่มแล้ว
ความอยากจะเห็น อยากรู้นั้นต่าง ๆ นานา เมื่อมันไม่เห็นสิ่งที่ตนต้องการ ก็เลิกล้มความเพียรเสีย หาว่าตนไม่มีบุญวาสนาอะไรไปต่าง ๆ นานา ความจริงตนกระทำนั้นมันถูกหนทางแล้ว มันได้แค่นั้นก็นับว่าดีอักโขแล้ว พึงยินดีพอใจกับที่ตนได้นั้นก็ดีแล้ว จะไปแข่งบุญวาสนากับท่านที่ได้บำเพ็ญมาแต่ก่อนไม่ได้ แข่งเรือแข่งพายยังพอแข่งได้ แข่งบุญวาสนานี้ไม่ได้เลยเด็ดขาด บางท่านบำเพ็ญเพียรมาสักเท่าไร ๆ นิมิตแลความรู้ต่าง ๆ ไม่เกิดเลย ทำไม่ท้อถอย ท่านสามารถบรรลุผลได้เหมือนกัน ท่านที่ได้จตุปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ กับผู้ที่ท่านไม่ได้เลย ถึงพระนิพพานแล้วก็เป็นอันเดียวกัน ไม่เห็นแตกต่างกันตรงไหน
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายท่าขนุน : 11-02-2010 เมื่อ 21:51 |
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#49
|
|||
|
|||
คำบริกรรมนี้ ถ้าผู้ภาวนายังไม่ชำนาญ ต้องถือเป็นหลัก ภาวนาครั้งใดต้องใช้คำบริกรรมเสียก่อน
จะภาวนาโดยไม่ใช้คำบริกรรมไม่ได้ คำบริกรรมที่ดีที่สุด คือ มรณานุสติ พิจารณาความตายแล้วไม่มีอะไรเหลือหลอ ถ้าผู้ภาวนาชำนาญแล้วจะพิจารณาอะไรก็ได้ หรือจะไม่ใช้คำบริกรรมเลยก็ได้ ที่พิจารณาเอาแต่อารมณ์ของกรรมฐานเลยก็ได้ จิตมันจะมารวมเอง
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#50
|
|||
|
|||
คำบริกรรมนี้ เมื่อบริกรรมไปนาน ๆ เข้าชักจะขี้เกียจ ไม่อยากพิจารณาเสีย
จะเอาแต่ความสงบอย่างเดียว เพราะเข้าใจว่าตนเก่งพอแล้ว แท้จริงนั้นคือความประมาท ถึงแม้วิปัสสนาก็ไม่พ้นจากมรณานุสตินี้เหมือนกัน แต่วิปัสสนาพิจารณาให้เห็นแจ้งชัดทั้งที่เกิดขึ้น แลดับไป ด้วยเหตุปัจจัยนั้น ๆ ของสิ่งทั้งปวง ส่วนฌาน แลสมาธินั้น พิจารณาเหมือนกันแต่เห็นบางส่วน ไม่เห็นแจ้งชัดตลอดพร้อมด้วยเหตุปัจจัยของมัน แต่ผู้ภาวนาทั้งหลายก็เข้าใจว่าตนเห็นตลอดแล้ว
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#51
|
|||
|
|||
ตัวอย่าง ดังยายแก่คนหนึ่งภาวนา บอกว่าตนเห็นตลอดแล้ว
ทุกอย่างมันเป็นของไม่เที่ยงทั้งสิ้น แม้แต่ตัวของเรานี้ก็จะต้องแตกดับ แกภาวนาจนรับประทานอาหารอยู่ จิตรวมเข้าภวังค์จนลืมรับประทานอาหาร นั่งตรงมองอยู่เฉย ๆ ต้มน้ำร้อนถวายพระ นั่งเฝ้ากาน้ำร้อนอยู่จนน้ำร้อนเดือดแห้งหมด วันหนึ่ง แกนั่งภาวนาอยู่ ปรากฏว่าตัวแกไปนอนขวางทางรถยนต์อยู่ ขณะนั้นปรากฏว่ารถยนต์วิ่งปรูดมา แกก็คิดว่าตายแล้วเวลานี้ ในใจบอกว่าตายเป็นตาย ที่ไหนได้ พอรถวิ่งมาใกล้ ๆ จวนจะถึงจริง ๆ แกลุกขึ้นทันที นี่แหละ..ความถือว่าตัวตนเข้าไปลี้อยู่ลึกซึ้งมาก ขนาดภาวนาจิตรวมเข้าจนไม่รู้ตัวภายนอกแล้ว ความถือภายในมันยังมีอยู่
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-02-2010 เมื่อ 03:05 |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#52
|
|||
|
|||
มรณานุสสติ
ต้องพิจารณาให้ชำนิชำนาญ แลพิจารณาให้บ่อย ๆ จนให้เห็นความเกิดขึ้น แลความดับ เมื่อดับไปแล้วมันไปเป็นอะไร จนเห็นเป็นสภาพธรรมดา ตามเป็นจริงของมัน จนเชื่อมั่นในใจของตนเองว่าเราจะไม่หวั่นไหวต่อความตายละ
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#53
|
|||
|
|||
กายแลจิต หรือรูปกับนามก็ว่า แยกกันเกิด แลแยกกันดับ
ฉะนั้น ผู้มีปัญญาทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เมื่อท่านมีทุกขเวทนาทางกาย ท่านจึงแยกจิตออกจากกาย แล้วจึงเป็นสุข
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-02-2010 เมื่อ 02:38 |
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#54
|
|||
|
|||
เมื่อจะเกิด สัมภาวะธาตุของบิดามารดาประสมกันก่อน หรือเรียกว่าน้ำเชื้อ
หรือเรียกว่าสเปอร์มาโตซัวกับไข่ประสมกันก่อน แล้วจิตปฏิสนธิจึ่งเข้ามาเกาะ ถ้าธาตุของบิดามารดาประสมกันไม่ได้สัดส่วนกัน เช่น อีกฝ่ายหนึ่งเสีย เป็นต้นว่า มันแดง หรือ สีมันไม่ปกติ ก็ประสมกันไม่ติด แล้วปฏิสนธิจิตก็ตั้งไม่ติด เรียกว่า รูปเกิดก่อน แล้วจิตจึงมาเข้าปฏิสนธิภายหลัง
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-02-2010 เมื่อ 02:39 |
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#55
|
|||
|
|||
เวลาดับ จิตดับก่อน กายจึงดับภายหลัง
พึงเห็นเช่นคนตาย จิตดับหมดความรู้สึกแล้ว แต่กายยังอุ่น เซลล์หรือประสาทยังมีอยู่ คนตายแล้วกลับฟื้นคืนมา ยังใช้เซลล์หรือประสาทนั้นได้ตามเดิม เมื่อจิตเข้ามาครองร่างกายอันนี้แล้ว จิตจึงเข้าไปยึดร่างกายอันนี้หมดทุกชิ้นทุกส่วน ว่าเป็นของกู ๆ แม้ที่สุด ร่างกายอันนี้จะแตกดับตายไปแล้ว มันก็ยังถือว่าของกู ๆ ๆ อยู่นั่นเอง พึงเห็นเช่นพวกเขาเหล่านั้นตายไปแล้ว ได้เสวยกรรมตายที่ตนได้กระทำไว้แต่ยังเป็นมนุษย์อยู่ ไปเกิดเป็น อทิสมานสกาย เช่น ภูต ผี ปีศาจ หรือเทวบุตร เทวดา เป็นต้น เมื่อเขาเหล่านั้นจะแสดงให้คนเห็น ก็จะแสดงอาการที่เคยเป็นอยู่แต่ก่อนนั้นแหละ เช่น เคยทำชั่ว จิตใจเศร้าหมอง กายสกปรก หรือเคยทำความดี จิตใจสะอาด ร่างกายงดงามสมบูรณ์ ก็จะแสดงอย่างนั้น ๆ ให้คนเห็น
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-03-2010 เมื่อ 02:23 |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#56
|
|||
|
|||
แม้ที่สุดสัตว์ตายไปตกนรก ก็แสดงภูมินรกนั้นให้คนเห็นชัดเจนเลยทีเดียว
แต่แท้จริงแล้วภพภูมิของเหล่านั้น มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถจะเห็นได้ดอก เพราะเขาเหล่านั้นตายไปแล้ว ยังเหลือแต่จิตกับกรรมที่เขาได้กระทำไว้แล้วเท่านั้น มนุษย์คนเรานี้เกิดมาแล้ว มายึดถือเอาร่างกายอันนี้ว่าเป็นของกู มันแน่นหนาลึกซึ้งถึงขนาดนี้ ท่านผู้ฉลาดมาชำระจิตด้วยการทำสมาธิภาวนา ให้จิตสะอาดบริสุทธิ์แล้ว จนเข้าถึงความเป็นกลางได้ ไม่มีอดีต อนาคต วางเฉยได้ เข้าถึงใจนั่นแลจึงพ้นจากสรรพกิเลสทั้งปวงได้
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#57
|
|||
|
|||
สมาธิ เป็นเรื่องของจิต แต่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องของวาจา แลกายด้วย
เพราะจิตมีแล้ว กายแลวาจา จะต้องมี เมื่อจิตมีแล้ว ความวิตกคือ วาจา จะต้องมี ความวิตกนั้นและวาจามีแล้ว มันจะต้องวิ่งแส่ส่ายไปในรูปธรรม ที่เป็นของสัตว์ และมนุษย์ทั้งหลาย แลสิ่งสารพัดวัตถุทั้งปวง ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ จิตจะหาที่เกาะเกี่ยวไม่ได้ จิตของคนเรา ไม่ว่าหยาบ และละเอียด นับแต่กามาพจรภูมิ รูปาพจรภูมิ แลอรูปาพจรภูมิ ต้องมีรูปธรรมเป็นเครื่องอยู่ด้วยกันทั้งนั้น มีอาตนะ ภายในภายนอก มีสัมผัสอยู่เป็นนิจ มีผู้รู้อยู่เสมอ แม้แต่อรูปาพจรจิต ก็มีอรูปจิตนั้นแหละเป็นเครื่องอยู่ อรูปจิตนี้ผู้ได้อรูปฌานแล้ว จะเห็นอรูปจิตด้วยอายตนะภายในของตนเองอย่างชัดทีเดียว
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-03-2010 เมื่อ 03:55 |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#58
|
|||
|
|||
อายตนะภายใน ในที่นี้มิได้หมายเอาอายตนะภายในคือ หู ตา จมูก ลิ้น กายแลใจ อย่างที่ท่านแสดงไว้นั้น
แต่หมายเอาอายตนะภายในของใจ คือ หมายเอาผู้ละ อายตนะภาย ใน มีตา หู จมูก ลิ้น กาย เหล่านี้หมดแล้ว แต่ยังมีอายตนะภายในของใจยังมีอยู่อีก อย่างที่เรียกว่า ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส อันเป็นทิพย์ เช่น เมื่อตาเห็น ก็มิได้เอาตาธรรมดานี้ไปเห็น แต่เอาตาของใจไปดู รูปที่ตาของใจเห็นนั้น ก็มิใช่รูปที่ตาธรรมดาเห็นอยู่นี้ แต่เป็นรูปที่ตาใจเห็นต่างหาก เสียง กลิ่น รส สัมผัส แลอารมณ์ ก็เหมือนกัน
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#59
|
|||
|
|||
อายตนะภายในของใจนี้ เมื่อสัมผัสเข้าแล้ว
จะซาบซึ้งยิ่งกว่าอายตนะภายในดังที่ว่ามานั้นมากเป็นทวีคูณ แลจะสัมผัสเฉพาะตนเองเท่านั้น คนอื่นหารู้ได้ไม่ อายตนะภายในของจิตนี้พูดยาก ผู้ไม่ได้ภาวนาจนเห็นจิตใจของตนเสียก่อนแล้ว จะพูดเท่าไร ๆ ก็ไม่เข้าใจ จะใช้ภาษาคำพูดของคนเราธรรมดาเป็นสื่อสารนี้ยาก จะเข้าใจไม่ได้ ต้องใช้อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบจึงจะพอเข้าใจได้
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-03-2010 เมื่อ 17:24 |
สมาชิก 19 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#60
|
|||
|
|||
เหตุนั้น นักปฏิบัติทั้งหลายผู้ไม่ชำนาญในการปฏิปทา จึงปฏิบัติไม่ค่อยลงรอยกัน
ทั้ง ๆ ที่ปฏิบัติใช้คำบริกรรมอย่างเดียวกัน ถ้าเป็นพระคณาจารย์ผู้ใหญ่เสียแล้ว มีลูกศิษย์ลูกหามาก ๆ ก็ยิ่งไปกันใหญ่เลย ฉะนั้นจึงควรยึดเอาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นที่ตั้ง เราปฏิบัติถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธศาสนาหรือไม่ แบบตำราเป็นบรรทัดเครื่องวัดให้เราดำเนินตาม มิใช่ต่างคนต่างปฏิบัติ พุทธศาสนาคำสอนอันเดียวกัน พระศาสดาองค์เดียวกัน แต่สาวกผู้ปฏิบัติไปคนละทางกัน เป็นที่น่าอับอายขายขี้หน้าอย่างยิ่ง
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 21 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
Tags |
หลวงปู่เทสก์ |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 2 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 2 คน ) | |
|
|