#201
|
|||
|
|||
๔. ดูเขา ดูเรา ให้เห็นความทุกข์ ในโลกนี้ไม่มีใครเขามีความสุขจริง ๆ หรอก ยกเว้นพระอรหันต์ แต่ท่านก็สุขเพียงจิตของท่านเท่านั้น ร่างกายก็ยังทุกข์อยู่เป็นธรรมดา แต่จิตไม่ทุกข์ไปกับร่างกายตนเองและร่างกายผู้อื่น เนื่องด้วยมาจากการพิจารณาร่างกายว่า มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นเพียงเรือนให้อาศัยอยู่ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาก็ทิ้งบ้านที่อาศัยไปโดยไม่มีความห่วงใย หรือมีความกังวลใด ๆ ทั้งสิ้น จุดนี้ก็มาจากการพิจารณาร่างกายที่อาศัยอยู่ชั่วคราวว่าเป็นเพียงธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ จนชิน จิตเป็นเพียงผู้มาอาศัยอยู่ จิตก็ปลดร่างกาย เพราะรู้ตามความเป็นจริงของร่างกายว่า รูป - เวทนา - สัญญา - สังขาร - วิญญาณ ล้วนแต่ไม่เที่ยง เกิด - ดับ ๆ อยู่ตลอดเวลาเป็นสันตติธรรม มันไม่ใช่เรา ไม่มีในเรา อารมณ์เกาะติดในขันธ์ ๕ จึงไม่มีในพระอรหันต์ รู้สักเพียงแต่ว่ารู้ สักแต่เพียงแต่ว่าอาศัย ไม่เกาะติดในร่างกายนั้น จิตท่านรู้อยู่ ตื่นอยู่อย่างนี้แหละ เรียกว่าจิตพ้นจากโลกและขันธโลก ตกสู่กระแสพระนิพพานอย่างแท้จริง
เรื่องของจิตไม่มีใครช่วยใครได้ ตถาคตเป็นเพียงผู้แนะนำเท่านั้น ทำได้หรือไม่ได้อยู่ที่ตัวผู้ปฏิบัติเอง จงอย่าประมาท และหมั่นตรวจสอบจิตของตนเอง ว่าการปฏิบัติของตนนั้นถึงจริงหรือยัง ละอารมณ์ ๓ โลภ - โกรธ - หลงได้แค่ไหน ละตัณหา ๓ ได้หรือยัง สังโยชน์ ๑๐ ประการหมดหรือยัง แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-09-2015 เมื่อ 11:32 |
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#202
|
|||
|
|||
๕. งานธุดงค์ก็ผ่านไปแล้ว เป็นงานที่นำคนมาเพื่อสร้างความดีในมรรคผลของการปฏิบัติ เป็นการบำเพ็ญกุศลหมู่ ในข้อวัตรปฏิบัติของธุดงค์ จัดเป็นอุบายของการโน้มน้าวจิตคนให้เข้ามาสู่ความดี ผลจักได้มาก - น้อยสุดแต่วิริยะ - ขันติ - สัจจะบารมี โดยมีปัญญาบารมีคุมของแต่ละคนซึ่งมีมาไม่เสมอกัน จัดว่าเป็นการรักษาพระพุทธศาสนาให้สืบเนื่องไปได้เช่นกัน สำหรับพวกอยู่วัดก็ดี ไปวัดแต่ไม่สะดวกที่จะเข้าธุดงค์ก็ดี หากเข้าใจมีปัญญา ก็สามารถปฏิบัติธุดงค์ได้ เพราะมีให้เลือกถึง ๑๓ ข้อ ผู้มีปัญญาสามารถเลือกเอามาปฏิบัติได้ไม่ยาก
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-09-2015 เมื่อ 11:24 |
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#203
|
|||
|
|||
๖. ดูร่างกายตนเองแล้ว ดูร่างกายผู้อื่นด้วย การพิจารณาจักต้องย้อนไปย้อนมา จึงจักวางความโกรธ – โลภ - หลงได้ อย่ามองด้านเดียวจักขาดทุน แล้วให้พิจารณาหาความจริงของชีวิตว่า เกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ความปรารถนาไม่สมหวังเป็นทุกข์จริงไหม ที่ทุกข์นั้นเป็นเพราะจิตเราไปฝืนความจริง คือฝืนโลกฝืนธรรมเป็นต้นเหตุหรือเปล่า ถ้าจิตเราไม่ฝืนความจริง ยอมรับทุกข์ของการมีร่างกายตามความเป็นจริง จิตก็จักวางร่างกายหรืออุปาทานขันธ์ ๕ ลงได้ ไม่ต้องการขันธ์ ๕ อีก อยู่ที่ความเพียรตัวเดียว รู้แล้วแต่ไม่ยอมรับก็เท่ากับยังไม่รู้จริง หากรู้จริงจิตก็วางเฉยได้ (เฉยในทุกเรื่องของร่างกายด้วยปัญญา มิใช่เฉยแบบควาย) ในที่สุดสังขารุเบกขาญาณก็เกิด จุดนั้นจิตดวงนี้ก็จักพ้นเกิดพ้นตาย รู้แล้วก็จงอย่าประมาท เพราะการรู้ยังมิใช่การปฏิบัติ เป็นเพียงแค่สัญญา จักต้องเพียรปฏิบัติให้เกิดผลอย่างทรงตัว หมายความว่าปฏิบัติได้จนชำนาญเป็นอัตโนมัติ จึงจักเรียกได้ว่าการปฏิบัติตัดกิเลสได้เข้าถึงเป็นสมุจเฉทปหาน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-09-2015 เมื่อ 16:57 |
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#204
|
|||
|
|||
๗. พยายามชำระจิตที่ติดข้องอยู่ในอารมณ์พอใจหรือไม่พอใจ ด้วยการเห็นความเกิดขึ้น - ตั้งอยู่ และดับไปของอารมณ์ น้อมจิตมาอยู่ที่ปัจจุบันธรรมเนือง ๆ (เสมอ ๆ) แล้วจักเห็นความไม่เป็นสาระของอารมณ์ ไม่ว่าจักเกิดขึ้นด้วยการกระทบของอายตนะภายในหรือภายนอกก็ดี จิตจักรู้เท่าทัน และปล่อยวางความพอใจและไม่พอใจลงได้โดยง่าย ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันความเป็นจริง ทำอะไร - พูดอะไร คิดอะไรให้รู้เท่าทันความเป็นจริงอยู่เสมอ แล้วจิตจักเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ง่าย ถ้าทำได้ ความเดือดเนื้อร้อนใจก็จักน้อยลง จิตจักเยือกเย็นขึ้น ไม่ว่าใครก็ตามที่มุ่งเอาดีเพื่อมรรคผลนิพพาน จักต้องทำอย่างนี้เหมือนกันหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-09-2015 เมื่อ 19:04 |
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#205
|
|||
|
|||
๘. จิตตามหาสติปัฏฐานสูตรคือ เอาจิตให้มีสติคอยดูอารมณ์ของจิต แล้วกำหนดรู้ทุกอย่างตามความเป็นจริง จิตนั้นแหละจักเกิดความสงบ - เยือกเย็น สักแต่ว่าเห็นอยู่ – รู้อยู่ ไม่ติดอยู่ทั้งภายนอกและภายใน เป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นเครื่องอยู่ที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น เห็นจริงแจ้งจริงก็วางได้จริง ๆ มิใช่สักแต่ว่าเป็นความเข้าใจ หรือรู้เพียงแค่สัญญาเท่านั้น
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-09-2015 เมื่อ 18:00 |
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#206
|
|||
|
|||
๙. พิจารณากฎของกรรมให้มาก และพิจารณากรรมใครกรรมมันให้มาก รวมทั้งศึกษาวิสัยของคน ให้เห็นธรรมดาในแต่ละวิสัยนั้น แล้วไม่ต้องไปแก้ใคร ให้แก้วิสัยของตนเองเป็นสำคัญ กรรมของคนไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน อย่าไปทุกข์ตา - ทุกข์ใจกับกรรมของใครเขาเลย ดูแต่กรรมของตนเองดีกว่า
ถ้าหากจักมุ่งไปพระนิพพานให้ได้ในชาติปัจจุบัน จักต้องปลดทุกข์ที่เนื่องด้วยกรรมของคนอื่นให้หมดไป กล่าวคือกระทบด้วยอายตนะภายนอก เห็นแต่ความไม่เที่ยง เกิดขึ้น - เสื่อมลง แล้วก็ดับไป แล้วจักต้องปลดทุกข์เนื่องด้วยกรรมของตนเอง คืออายตนะภายใน ด้วยเห็นแต่ความไม่เที่ยง เกิดขึ้น แปรปรวน แล้วก็ดับไปเช่นกัน การไปพระนิพพานจักต้องมุ่งชำระจิตของตนเอง ไม่ให้ติดอยู่ในกรรม ไม่ว่าจักเนื่องด้วยกุศลหรืออกุศล พึงปล่อยวางอยู่ในจิตตลอดเวลา ในยามที่มีชีวิตอยู่ การงานในหน้าที่มีอยู่เท่าใด ก็จงทำไปตามหน้าที่อย่าพึงหลีกเลี่ยง ให้ทำไปให้เต็มความสามารถ ทำแล้วจิตไม่เกาะ ปล่อยวางทันทีที่พ้นจากหน้าที่มา เรื่องของอายตนะก็เช่นกัน ขันธ์ ๕ ก็เช่นกัน รู้-เห็น-ได้ยิน-สัมผัส-ลิ้มรสไปตามหน้าที่ ผ่านไปแล้วก็ปล่อยวางทันทีเมื่อพ้นจากหน้าที่มา จงอย่าสร้างความเบื่อหน่ายแต่อย่างเดียว จุดนั้นยังเป็นความเศร้าหมองของจิต พึงเจริญไปให้ถึงการพิจารณาลงตัวธรรมดา แล้วความเบื่อหน่ายท้อแท้จักหายไป จิตจักมีความผ่องใส... ด้วยความยอมรับนับถือกฎของกรรมมากขึ้นตามลำดับ จนถึงที่สุดก็วาง... เป็นสังขารุเบกขาญาณได้ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-09-2015 เมื่อ 11:40 |
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#207
|
|||
|
|||
๑๐. งานที่ไม่เหนื่อยไม่ทุกข์ย่อมไม่มี ตราบใดที่ยังมีขันธ์ ๕ อยู่ ถ้าหากต้องการพ้นทุกข์ก็จักต้องเจริญจิตไปให้ถึงการละ - การปลด - การปล่อยวางขันธ์ ๕ ลงได้อย่างสิ้นเชิง เช่น อย่ากังวลใจในการทำงาน เพราะจักไม่ให้มีความผิดพลาดเลยนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่พึงระมัดระวังในความผิดพลาดต่อไปในภายหน้า อย่าให้มีความผิดพลาดอีก ในการปฏิบัติพระกรรมฐานก็เช่นกัน ผิดบ้าง พลาดบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา ผู้ที่ไม่ผิดพลาดเลยมีแต่พระตถาคตเจ้าเท่านั้น เพราะฉะนั้นจงอย่าเสียใจ เป็นเรื่องธรรมดาของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ แต่พึงเพิ่มความระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้น จักได้ผิดพลาดน้อยลงไป
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-09-2015 เมื่อ 17:17 |
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#208
|
|||
|
|||
๑๑. การเหน็ดเหนื่อยของร่างกายก็เป็นธรรมดาของผู้มีร่างกาย ให้ตั้งใจว่าจักขอเหนื่อยเป็นครั้งสุดท้าย ชาติสุดท้าย กายตายเมื่อไหร่จิตเรามุ่งไปพระนิพพานจุดเดียว มีมรณาฯ และอุปสมานุสติมั่นคง จักได้ไม่ต้องมาเกิดให้มีร่างกาย อันต้องทำงานให้เหนื่อยอย่างนี้อีก แต่ในขณะเดียวกัน จงอย่ามีความเศร้าหมองหรือความกังวลของจิต เพราะสภาวการณ์ต่าง ๆ อันเป็นไปด้วยเหตุของกฎแห่งกรรมทั้งสิ้น ไม่มีใครฝืนได้ ทุกข์แค่ไหนก็ให้กำหนดรู้แล้วปล่อยวาง เพราะกรรมเหล่านี้ไม่สามารถแก้ได้ จงทำใจให้ยอมรับความเป็นจริง อย่าหนักใจเมื่อถูกกระทบ ต้องทำใจให้ยอมรับ พิจารณาด้วยปัญญาลงเป็นธรรมดาทั้งหมด ด้วยอารมณ์เบา ๆ และสบาย ๆ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-10-2015 เมื่อ 11:28 |
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#209
|
|||
|
|||
๑๒. อย่าสนใจอารมณ์ของคนอื่น ให้ดูอารมณ์ของตนเองเป็นสำคัญ จงเพียรรักษาอารมณ์ให้สงบ ไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์ที่เข้ามากระทบทั้งภายในและภายนอก ใครจักว่าอย่างไรอย่าไปสนใจ เพราะไม่สามารถจักไปห้ามปากใครไม่ให้พูดได้ ดูแต่อารมณ์ของจิต ดูกรรม การกระทำของกาย - วาจา - ใจ แห่งตนเองนี้ ไม่ให้ละเมิดศีล - สมาธิ - ปัญญา เท่านั้นเป็นพอ อย่าให้ไหลไปตามโลกนิยม จงอย่าเป็นไปตามลมปากคนอื่น ให้เป็นตัวของตัวเองที่มีจุดยืนอย่างแน่นอนว่า กระทำทุกอย่างเพื่อพระพุทธศาสนา เพื่อพระนิพพาน จงวางจิตของตนเองให้เป็นกลาง อย่าไปมีอารมณ์ชื่นชอบ (พอใจ) หรือชิงชัง (ไม่พอใจ) ตามเขา
หากร่างกายเหน็ดเหนื่อย มีเวทนาจากการงาน ก็จงเอาเวทนานั้นมาพิจารณาว่า เวทนานี้เป็นของกาย มิใช่ของเราหรือของจิต แยกเวทนาให้ออกจากจิตด้วยปัญญา มาถึงจุดนี้อย่าไปมองภายนอก ให้ความสำคัญกับภายใน คือดูขันธ์ ๕ ให้มาก ทำความรู้จักกับขันธ์ ๕ ตนเองให้ดี รู้ด้วยปัญญา ไม่ใช่รู้ด้วยสัญญา (ทรงให้ใช้มหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นหลักสำคัญ แยกกาย - เวทนา จิต และธรรมออกจากกัน ๒ ข้อแรกเป็นเรื่องของกาย ๒ ข้อหลังเป็นเรื่องของจิต) แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-10-2015 เมื่อ 17:27 |
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|