#21
|
|||
|
|||
๑๑.กิจนิมนต์ "เขื่อนเขาแหลม"
"เรือนแพ สุขจริง อิงกระแสธารา" ด้วยความบังเอิญหรืออะไรมิทราบ "ท่านปาน" ท่านรับกิจนิมนต์ไปฉันเพลสงเคราะห์ญาติโยมที่บ้าน ก็มีท่านบอย,ท่านเค้ก,ท่านอึ่งและหลวงตาอภิชาติ หลวงตาอภิชาติท่านเองก็อยู่ในกลุ่มนั้นแต่ด้วยท่านเองชราภาพ แล้วก็มีการเดินทางโดยทางเรือด้วย ท่านจึงออกปากขอรบกวนกระผมให้ไปแทน งานนี้ได้ขอรับด้วยความยินดีมีอะไรช่วยเหลือกันได้ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งขอรับ หลวงพี่ปาน เดิมท่านมีอาชีพเป็นคนหาปลาในเขื่อนเขาแหลม เป็น "มือฉมวก " ที่มีฝีไม้ลายมือฉมัง งานนี้บวชเรียนทดแทนคุณพ่อแม่ เว้นว่างจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ก็ขอโมทนากับท่านด้วย อย่างน้อยก็ร่วมเกือบสี่เดือนที่ท่านไม่ได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต บางครั้งเราแทบจะเลือกไม่ได้ว่าจะทำมาหากินอะไรเลี้ยงชีพมันเป็นไปตามสภาพ......... ออกเดินทางจากวัดไม่นานก็ถึงจุดที่ต้องนั่งเรือไปแทน บรรยากาศของริมน้ำและวิถีชาวแพอันสงบ เดินด้วยเรือแค่สิบนาทีก็ถึง เรือนแพกลางน้ำบ้านของท่านปานแล้ว ญาติโยมก็รออยู่พร้อมอาหารที่เตรียมเอาไว้เรียบร้อย บรรยากาศสงบผิวน้ำราบเรียบชวนให้น่าหลงใหล ไม่นานหลังจากฉันเพลเสร็จก็ได้ออกเดินทางไปชมบรรยากาศของภูมิประเทศสองฝั่งของแนวเขาที่ระดับน้ำในเขื่อนท่วมถึง ท่านปาน : หากว่าเราแล่นเรือจากนี้ไปอีกประมาณเกือบสองชั่วโมงก็จะถึงสังขละบุรีแล้ว...หลวงพี่สนใจไหมละ ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : ถ้ามีโอกาส เดี๋ยวผมต้องขอไปให้ได้ ทางเรือนะ ทางรถใครก็ไปถึงได้.....รอออกพรรษาก่อนดีกว่านะหลวงพี่งานนี้มีทริปแก้ตัวแน่นอนหลวงพี่ปาน ---------------------------------------------------------- "มองกล้องหน่อยสิ เจ้าหน้าย่น" (มันจะกระทบคุณยายที่นั่งข้างหลังหรือเปล่า....)
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 07-11-2009 เมื่อ 06:39 |
สมาชิก 114 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#22
|
|||
|
|||
๑๒."พระไม่เอา! ป้าจะเอาหลวงพี่ไปอยู่ที่บ้าน..(งานเข้า)"
ปกติวันพระชาวบ้านญาติโยมจะพากันมาทำบุญที่วัด วันพระทุกวันตอนเข้าพรรษาเป็นที่ทราบกันว่า พระไม่บิณฑบาต ทุกสายบิณฑบาตจะแจ้งญาติโยมก่อนหนึ่งวัน หลังจากทำวัตรเช้ากันเรียบร้อย ประมาณตี ๕.๓๐ น. เสียงระฆังก็จะดังขึ้น เป็นกันทราบกันว่า "นิมนต์ที่โรงครัว ข้าวต้มรออยู่" หลังจากฉันเสร็จก็เตรียมทำความสะอาดกวาดใบไม้เป็นปกติและเตรียมเอาบาตรขึ้นไปไว้บนศาลา เพื่อช่วงแปดโมงกว่าจะได้ให้ญาติโยมตักบาตรกัน หลวงพ่อเองถ้าท่านอยู่คือไม่ติดกิจนิมนต์อันใดท่านก็จะขึ้นกล่าวต้อนรับทักทายญาติโยมโดยประมาณตั้งแต่ ๘.๐๐ น. พอ ๘.๔๕ น. พระเณรก็ขึ้นศาลา...... หลวงพ่อท่านมักจะหยิบยกเรื่องราวใกล้ตัวในชุมชนหรือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนามาเป็นหัวข้อในแต่ละวันพระ ญาติโยมเองก็นั่งฟังกันด้วยความเคารพ ส่วนพระเณรนั้น.....ท่าน ๆ วันนี้หลวงพ่อเอาพระอะไรมาแจกให้ผู้ร่วมทำบุญ,ท่าน ๆ มียี่สิบสองใบหรือเปล่า,ท่าน ๆ วนทำบุญหลายรอบเลยนะ ได้มาหลายองค์ละสิ,ฝาก ๆ "เณรหมี" ดีกว่า,เอา ๆ "เณรเจ" ของหลวงพี่ยี่สิบขอสององค์นะ...... สาละวนทำบุญด้วยหวัง "วัตถุมงคล" ของหลวงพ่อด้วยความเคารพในอนุสสติทั้งนั้น หลวงพ่อ : ประกาศ ๆ พระเณรท่านใดยังไม่เอาบาตรขึ้นมาบนศาลา ขอความกรุณารีบนำมาด่วน ญาติโยมไม่เห็นบาตรแล้วใจไม่ดี,คิดถึงพระ อย่ามัวแต่จ้องแต่จะทำบุญแล้วรับวัตถุมงคลกัน...... เฮ้ย! "ไพศาล" (เด็กวัดท่านหนึ่งที่คอยขับสามล้อรับข้าวของจากที่พระบิณฑบาตมา) วัตถุมงคลของข้าไม่ช่วยคนกินเหล้าหรอก! เลิก ๆ มันได้แล้ว... งานนี้ไพศาลยิ้มหน้าบานมาเลย "เห็นไหมหลวงพี่ผมโดนเลย..เอาไปครับของท่านไหนบ้างที่ฝากผมไปทำบุญ" มีงานอบรมของกรมราชทัณฑ์ คือทางหน่วยราชการส่งเจ้าหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์มาปฏิบัติธรรมที่วัด หลวงพ่อท่านอ่านกำหนดการดู มีหลายหัวข้อที่ต้องขึ้นไปพูดให้คติธรรมกับคณะผู้มาอบรม ท่านประกาศรับอาสาสมัคร กระผมเองจึงได้รับอาสาไป ในระหว่างการอบรม "พระครูน้อยกับกระผม" ก็รับหน้าที่ สอนเรื่องการเดินจงกรม แบบ "ยุบหนอ-พอหนอ" คณะที่มาอบรมก็ดีมาก...เงียบสนิท,ถามอะไรก็ไม่ค่อยตอบ แบบว่าให้ทำอะไรก็ทำแบบเงียบ ๆ ไม่ค่อยมีส่วนแสดงความคิดเห็นเท่าไหร่ หลวงพ่อท่านนิมนต์คณาจารย์หลายท่านมาพูดตามหัวข้อต่าง ๆ ที่จัดอยู่ในเนื้อหาวาระของการอบรม....ผมเองเห็นว่า ผู้เข้าอบรมเป็นแบบนี้แล้วเล่นเอาถอดใจ ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ :ขนาดท่านอื่น ๆ โหพูดตั้งสองชั่วโมง พวกเขายังนั่งกันนิ่งไม่มีส่วนร่วมใด ๆ เลย หลับบ้าง ตาลอยบ้าง แล้วเราจะไหวหรือวะงานนี้ เห็นที่ต้องขอนิมนต์หลวงพ่อท่านจัดการเองดีกว่า...งานนี้จะเจอ "บาทาไร้เงา" ของหลวงพ่อหรือเปล่า...ก็ไปรับอาสาจากท่านมาแล้ว....เครียด...จน...ฉันกาแฟดีกว่า โอ้...มายก็อด....กาแฟเพิ่งเอามาลงส่วนกลางเมื่อเช้าหมดแล้ว....มันฉันกันหรือว่าอาบกันแน่....
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 05-11-2009 เมื่อ 20:34 |
สมาชิก 112 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#23
|
|||
|
|||
หากมีการผิดพลาดประการใดกระผมขอแจก "ใบแดง" ตัวเองล่วงหน้าก่อนนะครับ
อดีตชาติคงเคยไปแจกชาวบ้านไว้เยอะ สงสัยเคยเป็นกรรมการ "หมากเตะ"
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 05-11-2009 เมื่อ 06:34 |
สมาชิก 93 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#24
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
"วัตถุมงคลของข้าไม่ช่วยคนกินเหล้าหรอก! เลิก ๆ มันได้แล้ว" (ใครที่รอเลขรวมจากใบแดง ท่าทางจะได้เลข ๓ ตัวค่ะ )
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 87 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#25
|
|||
|
|||
ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : หลวงพ่อขอรับ นิมนต์หลวงพ่อขึ้นเทศน์พรุ่งนี้แทนกระผมขอรับ กระผมเห็นว่าผู้อบรมคงจะได้ประโยชน์มากกว่าที่กระผมจะเทศน์ขอรับ......
หลวงพ่อ : ผมต้องดูก่อนว่าผมไหวหรือไม่...คุณเตรียมข้อมูลอะไรมาแล้วก็ว่ามันต่อไปเถอะ บรรยากาศมันช่างชวนให้เหงื่อตกจริง ๆ เอา! สรุปก็ต้องกลับไปเตรียมตัวเอาไว้งานนี้คงจะรอดยาก และแล้วเมื่อถึงเวลาหลังจากฉันข้าวเช้า พระครูน้อย : หลวงพี่รัตน์เหมือนเดิมนะ วันนี้เวลาเดิมเดี๋ยวเราจะสอนจงกรมแบบห้าจังหวะและหกจังหวะให้จบไปเลย วันนี้เริ่มตอนบ่ายโมงนะ ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : อ้าวหลวงพี่วันนี้ผมต้องขึ้นไปพูดบรรยายหัวข้อธรรมตามที่หลวงพ่อท่านจัดให้นะ พระครูน้อย : เห็นท่านบอกว่าให้นำเดินจงกรมหนึ่งชั่วโมงแล้วหลังจากนั้นท่านจัดการต่อเอง ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ :ครับ ๆ หลวงพี่ งานนั้นหลวงพ่อท่านเลยเมตตาสอนกรรมฐานให้คณะผู้อบรมแทน แต่ที่พิเศษคือ หลวงพ่อท่านให้คณะผู้อบรมเอาหมอนมาด้วย หลวงพ่อท่านสอน "นอนทำกรรมฐาน" งานนั้นผมเห็นเป็นที่พอใจของคณะผู้เข้าอบรมมาก ๆ หลวงพ่อบอกว่า "วัดอื่นไม่สอนแต่วัดท่าขนุนสอน หากสนใจก็ส่งคณะมาอบรมกันอีกนะ" ผมเองแทนที่จะช่วยงานหลวงพ่อได้เต็มที่กลับเป็นว่าต้องให้หลวงพ่อช่วย มันกลับกันจริง ๆ จึงต้องมานั่งคิดทบทวนตัวเองใหม่หลายรอบ หลวงพ่อท่านจะแจ้งกำหนดการเดินทางของท่านเสมอ ๆ มีหลายครั้งที่ตรงกับวันพระ งานนี้กระผมจึงขออาสาหลวงพ่ออีกครั้งว่าขอขึ้นไปกล่าวต้อนรับญาติโยมแทนหลวงพ่อช่วงหลวงพ่อภาระกิจไม่อยู่ในช่วงวันพระ หลวงพ่อ : อ๋อ จะขอแก้ตัวว่าอย่างนั้นหรือ เอา ๆ กลับมาแล้วจะเช็ค "เรตติ้ง" ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : หลังจากเตรียมข้อมูลมาพร้อมลุยเต็มที่ แปดโมงตรงก็ถึงเวลา... ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : พระภิกษุ สามเณรท่านใดยังไม่ได้เอาบาตรขึ้นบนศาลาขอนิมนต์นะครับ.......เจริญพรญาติโยมตอนนี้เป็นเวลาแปดนาฬิกาตรงแล้ว ท่านใดที่มาแล้วก็ขอเชิญขึ้นมาบนศาลาได้เลยจ้ะ.......วันนี้หลวงพ่อท่านไม่อยู่ อาตมาภาพเลยรับหน้าที่มากล่าวทักทายต้อนรับญาติโยมแทนจ้ะ อาตมาภาพมาไกลจากภูเก็ตโน่นมาขออยู่ร่วมจำพรรษากับหลวงพ่อ เห็นความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของญาติโยมที่นี้แล้วก็ชื่นใจ........(แล้วก็จ้อมันต่อไปเรื่อยตามประสาคนบ้าไมค์) ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ :ญาติโยมที่มาทำบุญตรงนี้ วันนี้ไม่มีวัตถุมงคลแจกนะจ๊ะ ก็ขอให้สุขภาพแข็งแรงนะ ให้เจริญ ๆ ในทาน,ศีล,ภาวนาจ้ะ หลังจากนั้นก็มีคุณป้ารุ่น ๆ หกสิบกว่า ๆ ท่านเดินตรงมา พร้อมธนบัตรใบละยี่สิบบาทหนึ่งใบค่อย ๆ บรรจงหยอดในขันใบใหญ่ที่ไว้รับปัจจัยจากญาติโยม พร้อมพูดว่า "พระไม่เอา...แต่จะเอาหลวงพี่ไปอยู่ที่บ้านได้ไหมคะ " สีหน้าและแววตาอย่าให้ผมพูดเลยมัน "สะท้าน " รุ่นนี้ต้องเรียกว่า "รุ่นหมากกระจาย" คือประมาณว่าเคี้ยวหมากไม่ไหวต้องขว้างทิ้งเอาแทน หมากเลยกระจาย หลังจากที่กระผมเกิดอาการ "สะท้าน" ไปถึงทรวงอยู่ครู่หนึ่งจึงได้ตอบไปว่า ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : หากนิมนต์หลวงพี่ไปอยู่ที่บ้าน ต้องไปขอกับหลวงพ่อท่านนะ ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า หลวงพ่อท่านได้รับเรื่องราวหรือคุณป้าท่านไปขออนุญาตจากหลวงพ่อบ้างหรือเปล่า....งานนี้งานเข้าจริง ๆ ครับ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- หลวงพ่อท่านสอนว่า "เป็นพระ" เราก็ต้องเป็นให้สมบทบาท
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 06-11-2009 เมื่อ 11:35 |
สมาชิก 113 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#26
|
|||
|
|||
ได้อ่านเรื่องที่ท่านทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ นำมาเขียนเล่าให้อ่านกันเเล้ว ทำให้ผมต้องกลับมาคิดทบทวนอีกเเปดตลบกว่า ๆ ว่าจะบวชที่วัดท่าขนุนดีหรือไม่ตามที่พวกเพื่อน ๆ ชวนกันบวชหมู่ งานเข้าเเน่ตู
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ใต้ร่มไม้ใหญ่ : 06-11-2009 เมื่อ 17:01 |
สมาชิก 91 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ใต้ร่มไม้ใหญ่ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#27
|
|||
|
|||
๑๒."ถ้าจะไปคลิตี้ อย่าลืมภาวนา!"
หลังจากทราบข่าวจากหลวงพี่กวาง ท่านได้ขอแรงพระภิกษุหนุ่มทั้งหลายร่วม ๆ ๑๐ องค์ ก็มี หลวงพี่เก้า,หลวงพี่อึ่ง,หลวงพี่เต้ย,หลวงพี่เค้ก,หลวงพี่ปราโมช,หลวงพี่ต๋อง,หลวงพี่บอย,หลวงพี่ปาน,เณรเจและกระผม โดยมีทิดแก้วเป็นสารถีขับรถมารับที่วัดท่าขนุน งานนี้ไปช่วยกันยกเสาไฟฟ้า (เสาใหม่ใหญ่และสูงกว่า)ที่เกาะพระฤๅษี เสาไฟเก่าหักชำรุด กิ่งไม้ใหญ่ล้มลงมาตีในวันที่ฝนตกลมกระชากก่อนนั้นประมาณสักสองวัน งานนี้พร้อมลุยกันเต็มที่สามัคคีชุมนุมประสาพระพี่พระน้อง หลังจากปรึกษาหารือกันว่าจะใช้วิธีไหน งานนี้เมื่ออุปกรณ์ครบ,แรงงานพร้อม,ก็ถึงเวลาลุย เสาไฟขนาด ๑๐ เมตรกับพระรวมแล้วทั้งหมด ๑๔ รูป ก็ใช้วิธีแบบดั้งเดิมคือเอาเชือกมัดร้อยไม้คานเข้าไปทั้งหมด ๖ อัน พระจับคู่ซ้ายขวา แล้วก็ค่อย ๆ แบกดังในรูปดู ๆ ไปคล้ายตะขาบตัวใหญ่ค่อย ๆ ลำเลียงเสาไฟมาที่หลุมที่ขุดเตรียมเอาไว้แล้ว โดยมีทิดแก้วเป็นนายช่างใหญ่ ซ้าย ๆ ขวา ๆ หมุนจนได้ที่ได้ทิศทาง คราวนี้ก็หาเชือกผูกดึงกับต้นไม้ใหญ่แล้วแบ่งแรงงานไปดึงเชือกเพื่อจะตั้งเสาให้ลงหลุม......... เอา ๆ ลุย เสียงหลวงพ่อกวางสั่ง "ระดมกำลัง" เมื่อเสาไฟลงหลุมได้แล้วก็ผูกโยงกับต้นไม้แล้วช่วยกันผสมปูน,หิน,ทรายให้เข้าก็แล้วก็เทก้นหลุมจนเต็มรอจนปูนแห้งทิ้งเอาไว้สักสองวันก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย "โรงเรียนศิษย์หลวงพ่อเล็ก" งานอะไรก็ตามถ้าสามัคคีกันย่อมเสร็จได้โดยง่ายดาย ที่เหลือคืองานเดินสายไฟฟ้าอันนี้เป็นหน้าที่ของ "ทิดแก้ว" ต่อไป หลังจากฉันน้ำ,พักผ่อนกันพอสมควรก็ตกเข้าประมาณบ่ายโมงกว่าแล้วจึงขอตัวกราบลาหลวงพี่กวางและคณะท่าน ทัดฤทธิ์ -ทิดรัตน์ : ถ้าเราไม่ย้อนกลับไปทางเดิม ทางนี้มันไปออกทางไหนทิดแก้ว? ทิดแก้ว : ไปได้จนถึงคลิตี้เลยครับหลวงพี่ หลวงพี่ปราโมช :เวลายังเหลือนะหลวงพี่เราลองให้ทิดขับไปทางนี้ก่อนถ้าไปถึงคลิตี้ทันก็ดี ถ้าไม่ทันก็เลี้ยวกลับวัด ทัดฤทธิ์ -ทิดรัตน์ : ผมขอถามความคิดเห็นพระเพื่อนข้างหลังก่อนนะหลวงพี่......ท่าน ๆ ครับ ทางนี้ถ้าเราขับไปประมาณสองชั่วโมงกว่า ก็จะไปทะลุคลิตี้ได้ท่าน ๆ คิดเห็นว่าเป็นอย่างไร? พระเพื่อน ๆ ท้ายกระบะ :ลุยเลยหลวงพี่! ทัดฤทธิ์ -ทิดรัตน์ :ไปเลยทิดแก้วลุย เหยียบสักร้อยยี่สิบ ไม่ต้อง "ดริฟท์" เดี๋ยวจะไปไม่ทันถึง...จะตกเหวไปก่อนทิด ๕๕๕๕ -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 08-11-2009 เมื่อ 08:37 |
สมาชิก 102 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#28
|
|||
|
|||
เส้นทางช่วงแรกยังเป็นถนนราดยางมะตอยอยู่ แต่พอเริ่มขึ้นเขาก็เป็นถนนลูกรังดินแดงสองข้างเป็นป่าไผ่สลับกับป่าเต็งรังไปเรื่อย ๆ ให้ผมมาคนเดียวกลางคืนเส้นนี้ก็คงต้องขอบอกว่ามาได้แต่ขอนิมนต์พระรูปท่านมาด้วย ยิ่งมาได้ทั้งวัดเลยยิ่งดี นับเป็นโอกาสดีที่ได้เดินทางมาเห็นกับตาตัวเอง กาญจนบุรี ทองผาภูมิ มันไม่ได้เล็กอย่างที่เคยคิด ความอุดมสมบรูณ์ยังมีอยู่มากถึงแม้จะถูกบุกรุกไปบ้างก็ตาม เราออกจากเดินทางจากเกาะพระฤๅษีไปเส้นทางที่ทะลุออกบ้านห้วยเสือ เมื่อเราเดินทางมาได้ระยะหนึ่งด้วยเส้นทางที่ต้องขอบอกว่าถ้ามีรถออฟโรดการเดินทางจะสะดวกกว่า แวะถ่ายภาพเป็นที่ระลึกตรงจุดชมวิว "เนินสวรรค์" แล้วก็ออกเดินทางกันต่อ พระเพื่อนทุกท่านโดยเฉพาะที่นั่งท้ายกระบะเมื่อเจอกระแทกเข้าไปเยอะ ๆ ก็ออกอาการเหนื่อยให้เห็นเช่นกัน โดยเฉพาะ "ท่านบอย" ปกติท่านเป็นคนผิวขาวอยู่แล้วแต่งานนี้ผมเองสังเกตุเห็นริมฝีปากท่านมันออกขาว ๆ ซีด ๆ ไปด้วย เราใช้เวลาในการเดินทางกว่าจะทะลุออกมาที่ "บ้านห้วยเสือ" ไปกว่าสองชั่วโมง ด้วยสภาพของถนนที่ผ่านมาถือว่าทิดแก้วทำหน้าที่ได้ยอดเยี่ยมมาก ๆ บางช่วงเป็นทางระหว่างไหลเขาข้างทางเป็นเหว แต่สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือเราเจอ "รถกระบะขายกับข้าว" วิ่งสวนไปสองคันแสดงว่าโดยปกติก็มีรถใช้เส้นทางนี้อยู่เสมอ ๆ เมื่อคำนวณเวลาแล้วคงจะไปไม่ทันแน่นอนจึงตัดสินใจบอกทิดแก้วหันหัวออกทางบ้านทุ่งนางครวญ,บ้านทิพุเย,ผ่าน อบต.ชะแล แล้วออกมาทางบ้านเกริงกระเวีย เลี้ยวซ้ายตรงถนนใหญ่กลับเข้าท่าขนุน,ทองผาภูมิ มาถึงวัดท่าขนุนก็ประมาณเกือบห้าโมงยี่สิบมีเวลาให้เตรียมตัวก่อนสวดมนต์ถวายหลวงปู่สายและทำวัตรเย็นคนละสี่สิบนาที งานนี้เหนื่อยไปตาม ๆ กันแต่ก็ประทับใจกันทุกคน ป่าไม้สีเขียว,ต้นไม้ใหญ่ "ธรรมชาติคือสิ่งที่รับรองความเป็นอยู่ของมนุษย์" น่าเสียดายที่ธรรมชาติในหลาย ๆ ส่วนของประเทศไทยเรามันด้อยค่าลงไปก็เพราะความไม่เอาใจใส่ของพวกเรากันเอง...... บนยอดเขาที่เป็นทุ่งราบชาวบ้านได้รับการส่งเสริมให้ปลูกยางพารา แต่สิ่งที่แตกต่างระหว่างร่องยางแต่ละแถวกับทางภาคใต้ก็คือว่า ทางภาคใต้ระหว่างร่องยางจะปลูกสัปปะรด แต่นี่เขาปลูกข้าวไร่ ดูแล้วสวยงามแปลกตาจึงขอให้ทิดแก้วหยุดรถแล้วก็รีบไปเก็บภาพประทับใจนี้มา
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 08-11-2009 เมื่อ 08:37 |
สมาชิก 96 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#29
|
|||
|
|||
๑๓."เณรเจ รอยเตอร์"
เณรเจ :หลวงพี่ ๆ สอนคณิตศาสตร์ผมหน่อยสิครับ เรื่อง "เซ็ท" ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : ได้แต่ต้องมีข้อตกลงกันก่อนว่า "ตะกรุดเม" หนึ่งดอก บอก "เจ้าฝ้าย" พี่สาวเณรด้วยนะ ว่าหลวงพี่ขอตะกรุดเมหนึ่งดอก เณรเจ : โห หลวงพี่เอาแบบนี้เลยหรือ ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ :สัญญาลูกผู้ชาย โอเคไหม? เอาหนังสือมา เรื่องของเซ็ท เณรต้องเข้าใจก่อนว่า เซ็ทก็เหมือนวัด วัดท่าขนุนก็คือเซ็ทหนึ่งเซ็ท เรียกว่า "เซ็ทวัดท่าขนุน" มีสมาชิกในเซ็ทก็คือ พระ,เณร,แม่ชี,เด็กวัดทุก ๆ คน หมา,แมวทุก ๆ ตัว เข้าใจหรือเปล่าเณร เณรเจ ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ :งง ๆ ละสิ เอาแบบนี้ เณรเป็นเณรวัดท่าขนุนใช่ไหม? ถ้าหากสมมุติว่า วัดทองผาภูมิเป็นเซ็ทชื่อว่า "เซ็ทวัดทองผาภูมิ" เณรเป็นสมาชิกของเซ็ทวัดทองผาภูมิหรือเปล่าละ เณรเจ :ไม่เป็นสมาชิกของเซ็ทวัดทองผาภูมิ เพราะผมอยู่วัดท่าขนุน ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : ถูกเก่งมาก ต่อไปคำว่า "ยูเนียน" คือเอาสมาชิกของเซ็ทสองเซ็ท เช่น "เซ็ทพระกุฏิเตชะไพบูลย์ "ยูเนียน" กับเซ็ทพระกุฏิประจวบดี" เราก็รวมจำนวนพระทั้งสองกุฏิมารวมกันถึงจะซ้ำก็นับแค่หนึ่งเท่านั้นเข้าใจไหม เณรเจ :ครับ ๆ ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : ดีมาก เรียนเยอะแล้วเดี๋ยวงง เดี๋ยวค่อยสอนเรื่อง "อินเตอร์เซคชั่น" ของเซ็ทต่อนะ ลองเอาโจทย์ในหนังสือไปทำนะถ้าไม่เข้าใจแล้วค่อยมาถาม....ตะกรุดเมหนึ่งดอก อย่าลืม ทำไมเณรเจถึง มีฉายาที่กระผมมอบให้เป็นพิเศษว่า "เณรเจ รอยเตอร์" ก็เนื่องด้วยฝีมือรายงานข่าวอันฉับไวทันเหตุการณ์ "วินาทีต่อวินาที" เล่นเอาแทบวุ่นวายไปทั้งวัด เจอ "ประกาศิต" ของหลวงพ่อเข้าไป เล่นเอา "เณรเจ รอยเตอร์" ฉันข้าวเช้าแทบไม่ลง เอามือกุมขมับขยับส่ายหัวไปมา "ไม่น่าเลยตู" เล่นเอาพระเณรท่านอื่นหัวเราะกันท้องแข็ง หลวงพ่อท่านบอกว่า "เห็นไหมพิษภัยของโทรศัพท์มือถือ เรื่องบางเรื่องถึงเราอยากจะบอกโยมแทบจะขาดใจ แต่ก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบด้วย" งานเข้าเลยเณร เรื่องที่น่าชมเชยและโมทนากับเณรเจ คือเรื่องของการทำงานไม่ว่าจะร้อนขนาดไหน เณรเจมักจะมาเป็นคนแรก ๆ เสมอ ใครไม่ทำเณรไม่สน งานนี้เณรเจลุยตักดิน,ตักทราย,ขนอิฐ,เต็มที่ วันที่ผมสึก "เณรเจร้องไห้" แต่ผมเองก็ร้องไห้เหมือนกันเพราะทุกวันนี้ยังไม่ได้ตะกรุดเมเลย....เณร
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 08-11-2009 เมื่อ 08:51 |
สมาชิก 102 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#30
|
|||
|
|||
๑๔.งานทำบุญหลวงปู่
นับเป็นวันที่รอยคอยกันอีกวันหนึ่ง สำหรับพระเณรทุกท่านต่างช่วยกันจัดเตรียมงานกันเต็มที่ ตามที่ได้รับมอบหมายจากหลวงพ่อและที่อาสาทำกันเองด้วยความเต็มใจ ผม,ท่านตั้ม,ท่านปาน,ท่านต้อม,ท่านนวย,อาจารย์พงษ์,ทิดเอ ช่วยกันขัด "พระประจำวันเกิดจำนวน ๘ รูป" เรียกกันได้ว่าไม่เคยขัดพระทองเหลืองที่มีขนาดองค์ใหญ่เท่า ๆ คนจริงแบบนี้มาก่อน งานนี้ทุกท่านต่างดีใจ ตั้งใจขัดกันเต็มที่จนทุกองค์เหลืองอร่ามงามตาดังในรูป นั่งมองแล้วหายเหนื่อย,ปีติดีใจกันมาก จนบรรยายออกมาเป็นคำพูดไม่ได้ครับ เข้าไปที่วิหารสมเด็จองค์ปฐมทีไร มองพระประจำวันที่เป็นสีเหลืองทองอร่ามแล้ว "โคตรปลื้มใจ" เลยครับ ขัดไปอธิษฐานไป ขอให้บรรลุธรรมโดยไว ๆ,ขอให้เจริญในทาน,ศีล,ภาวนา,ขอให้มีทิพยจักขุญาณที่แจ่มใส,ขอให้ชาติหน้าเกิดมาหล่อแบบ "เท่ง เถิดเทิง" (อันนี้ผมว่า "ท่าน" นั้นคงจะเมากลิ่น "บรัสโซ" น้ำยาขัดทองเหลืองยังดีนะที่ท่านไม่ยกมาฉันแทนน้ำปานะ) ส่วนงานที่หลวงพ่อท่านแบ่งให้รับผิดชอบเป็นกลุ่ม ๆ มีดังนี้ งานต้อนรับบนศาลา,งานรับลงทะเบียนพระเณรจากวัดหรือสำนักสงฆ์ในตำบลต่าง ๆ ของอำเภอทองผาภูมิ (งานผมเป็นหัวหน้าชุด),งานดูแลเครื่องเสียง,งานดูแลความสะดวกทั่วไป (รวมถึงห้องน้ำ) งานนี้ก็มีโรงทานเลี้ยงญาติโยมที่มาร่วมงานบุญด้วย เมื่อพระผู้ใหญ่ก็ตาม หรือญาติโยมอาวุโสมาถึงก็ดี หลวงพ่อก็ลงมาต้อนรับด้วยตัวเอง เนื่องจากพระทุกท่านตลอดจนญาติโยมที่มาร่วมงานต่างก็มาด้วยความเคารพและระลึกนึกถึงความดีของหลวงปู่สาย งานทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดีนับเป็นความภูมิใจของกระผมและพระทุกรูปเป็นอย่างยิ่ง หลังจากนั้นก็ได้เวลาเก็บข้าวของจัดแจงทำความสะอาดพื้นที่ งานนี้ทุกท่านให้ความสนใจ "งาช้าง" สองคู่ ซึ่งปกติโอกาสที่จะได้ชมก็คงจะต้องเป็นงานใหญ่แบบนี้เท่านั้น เพราะปกติจะเก็บไว้ในที่อันควร งานนี้ประวัติที่พอจะทราบแต่กระผมก็ไม่แน่ใจเท่าไหร่นัก หลวงพ่อบอกว่า " มีเจ้าหญิงคณะหนึ่งมอบถวายไว้ครั้งเมื่อเสด็จมาที่วัดท่าขนุน" งานนี้ พระแทบจะทุกท่านจ้องเป็นสายตาเดียวกันคือ ขอถ่ายภาพเก็บเป็นที่ระลึก ส่วนผมเซ็งสุด ๆ ถ่ายภาพให้คนอื่นออกมาสวยงามทั้งนั้น แต่ให้พระเพื่อนท่านถ่ายภาพให้ผมบ้าง ภาพกันออกมาไม่ได้สัดส่วนไม่ครอบคลุม....โอยอะไร ๆ มันก็ดูขาดเนื้อเรื่องในภาพไปหมด....วัยรุ่นเซ็ง ช่วยกันคนละไม้คนละมือก็เสร็จเรียบร้อย หลังจากนั้นก็ขนอิฐขนทรายกันต่อ ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : หลวงพี่ปาน.....การจะถ่ายภาพให้ดีนั้น! เราต้องหาจุดสำคัญของภาพก่อน นี่! อย่างผม "ธีระพงษ์ เหลียวเลิ่กลั่ก" ใช้วิธีมองภาพให้ออกว่าเราจะสื่ออะไร ทุกอย่างมันคือศิลปะ หลวงพี่ปาน : ครับหลวงพี่ ผมเคยทำงานที่พัทยามาแล้ว ถ่ายภาพแขกก่อนลงดำน้ำ ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : เยี่ยมมากเลย......ซาร่า! หลวงพี่เกิดมาเพื่อสิ่งนี้ หลวงพี่ปาน : หลวงพี่ ๆ เปิดกล้องตรงไหน ??? ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : โอ....ฮ่วย จั่งซี่มันต้องถอน! ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- งานนี้ถ้า "งาช้าง" หายไป....สงสัยพระสามรูปกับอีกหนึ่งฆราวาสได้เลยครับ (กระผม,ท่านนวย,ท่านปาน,ทิดเอ)
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 10-11-2009 เมื่อ 06:55 |
สมาชิก 92 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#31
|
|||
|
|||
๑๕."มัน" อยู่ในห้อง (กุฏิ)
หลังจากงานพิธีปลุกเสกพระขรรค์โสฬส กระผมก็กลายเป็นพระที่ชาวบ้านเขารู้จักไปโดยปริยาย งานนี้เราเป็น "พระ" เราต้องเป็นที่พึ่งของโยมตามนโยบาย "สงเคราะห์ผู้ที่ยังไม่ศรัทธาให้ศรัทธา และทำให้ผู้ที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่แล้วมีความศรัทธายิ่ง ๆ ขึ้นไป" (แบบสัมมาทิฐินะครับ) ในเมื่อญาติโยมขอความช่วยเหลือ แล้วกระผมจะปฏิเสธได้อย่างไร (งานเข้า) ส่งมากันเยอะมาก..............อะไรรู้ไหมครับ “วัตถุอัปมงคล” มาเป็นกล่อง ๆ ทางไปรษณีย์ก็มี,เอามามอบให้ถึงมือกระผมด้วยตัวเองถึงวัดก็มี, โทรมาปรึกษาก็เยอะ ขนาดเที่ยงคืน “มัน” ก็ยังโทรมา ถือว่าเป็นผู้ที่มีสังฆานุสติที่มั่นคงมาก......เอา ๆ เพื่อความสุขของญาติโยม แล้วทำไมไม่ถามพระบ้างว่า "พระเองน่ะกลัวบ้างไหม กลัวหรือเปล่า?" หลวงพ่อบอกว่า “ผีกับพระมันของคู่กัน อะไรที่มันอยู่ภพภูมิต่ำกว่าเรา จะไปกลัวเขาทำไม ถ้ามาแบบหาเรื่องกันก็อัดให้กระจายไปเลย” แต่สุดท้ายแล้วการประนีประนอมย่อมดีที่สุด เพราะเราพอจะเป็นที่พึ่งให้เขาได้ (ที่พึ่งของผีนะ) เรา ๆ ท่าน ๆ ก็คงจะจำคำสอนของหลวงพ่อได้ งานนี้เลยส่งมากันยกใหญ่เลย พัสดุของพระรัตน์ทั้งนั้น งานนี้เมื่อแกะดู โอ้โฮ กุมารทอง กว่า ๒๔ ตน ( เฮ้ยอยู่กันดี ๆ นะไม่ใช่แบ่งทีมเตะฟุตบอลกันในกุฏิหลวงพี่ละ ถ้าไม่เชื่องานนี้พ่อจะเอาไปเผาให้หมด ขู่ ๆ เอาไว้ก่อน แต่ก็เกรง ๆ มันอยู่เหมือนกัน หลวงพี่ไม่ใช่เพื่อนเล่นพวกเธอนะ) ผ้ายันต์,ตะกรุด,น้ำมัน,พระ จัดแจงแยกออกเป็นชุด ๆ แล้วก็เก็บใส่กล่องเอาไว้ คืนแรกนอนก็ผวาเหมือนกัน ตกดึก ๆ เอาไฟฉาย (เข้าพิธีโสฬสแล้ว) ส่อง ๆ ดูอยู่บ่อย ๆ พร้อมกำหนดจิตให้แสงไฟฉายเป็นแสงเลเซอร์เหมือนดาบของเหล่า “อัศวินเจได” ในภาพยนตร์ .......จิตมันคิดของมันไปเอง.... ได้โอกาสเลยเรียนถามหลวงพ่อหลังทำวัตรเย็นเสร็จ ทัดฤทธิ์- ทิดรัตน์ : หลวงพ่อครับจะทำอย่างไรดีกับของพวกนั้นครับ คือว่าญาติโยมส่งมาให้ผมกันเยอะมากเลยครับ หลวงพ่อ : อย่าว่าแต่ของคุณเลย ญาติโยมก็นำมาถวายไว้กับผมเยอะเหมือนกัน ก็รองานเป่ายันต์แล้วกันจะได้ล้างของไม่ดีออกไปให้หมด และแล้วก็มีเหตุการณ์ระทึกเกิดขึ้น ผมเองนำจีวรพาดราวเชือกเอาไว้ รีบแต่งองค์ทรงเครื่องจะไปทำวัตรเช้า คว้าจีวรไม่ทันได้ดู ตุ๊กแกตัวเบ้อเร่อ เกาะผนังยิ้มปากกว้างให้อยู่ เฮ้ยมาได้อย่างไร ร้อยวันพันปีไม่เคยเห็นเข้ามา รู้ไหมว่าพระกลัว “โคตรกลัวเลย” กรุณาออกไปได้ไหม พระไม่กล้าหยิบจีวร คุยอย่างกับคุยกันรู้เรื่อง.............มันก็ยังยิ้มมองจ้องหน้าอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ......เอาตายเป็นตาย มีเทียนอยู่เล่มหนึ่งยาวประมาณไม้บรรทัด เลยค่อย ๆ เขี่ยจีวร แล้วเอาเทียนเคาะข้างฝาไม้สองสามครั้ง เจ้าตุ๊กแกเลยวิ่งหายเข้าไปข้างเสา เหลือเวลาอีกสองนาที ตูไปลงชื่อทำวัตรเช้าสายแน่ ๆ งานนี้.......... ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : หลวงพี่นวยกุฏิที่ผมอยู่หลวงพี่เคยอยู่มาก่อนใช่ไหมครับ เคยเจอตุ๊กแกบ้างไหมครับ หลวงพี่นวย : หลวงพี่ ที่ผมเจอยิ่งกว่าตุ๊กแกอีกครับ เพราะมันมาเป็นคู่ "ตุ๊กแกกับงูเขียว" ร่วงลงมาด้วยกันทั้งคู่ในห้องเลย ดีนะผมนอนหลับแต่ก็มีสติ พอได้ยินเสียงเลยเปิดไฟฉายดู.....งานนั้นแทบจะวิ่ง ค่อย ๆ ประคองสติ เอาไม้ไผ่ที่พิงข้างเสา หลวงพี่เห็นไหม? ผมยกให้หลวงพี่เป็นของที่ระลึกเลยก็แล้วกัน เอาไว้เขี่ยตุ๊กแก เขี่ยงูเขียว ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : งานนี้นอนกับผี แถมตุ๊กแกกับงูเขียวอีกสองตัว ช่างทดสอบกำลังใจกันเสียจริง ๆ กลางคืนต้องปิดหน้าต่างเพราะอากาศค่อนข้างหนาว (จริง ๆ แล้วไม่ค่อยอยากจะเปิดเอาไว้ เพราะกลัวว่าเมื่อมองออกไปจะเห็นต้นโพธิ์ใหญ่ กลัวว่าจะเห็น "ใครสักคน" ที่นั่งห้อยขาอยู่บนกิ่งของต้นโพธิ์) กุฏิห้องที่ ๓ ชั้นที่ ๒ กฏิประจวบดี นับจากโต๊ะหมู่บูชา
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 10-11-2009 เมื่อ 19:37 |
สมาชิก 92 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#32
|
|||
|
|||
อ้างอิง:
กระผมอยู่กับการใช้งานโปรแกรมประมวลผลคำ ๒๐๐๗ ขนาดคำที่ถูกต้องแล้ว เว้นวรรคถูกต้องแล้ว โปรแกรมยังฟ้องว่าผิด แต่คำที่ควรจะผิด หรือเว้นวรรคผิด โปรแกรมดันไม่ฟ้องต้องคอยตรวจแก้จนตาเหล่.... ดังที่หลวงพ่อท่านเคยสอนละขอรับว่า... อย่าไว้ใจเทคโนโลยี อย่าฝากชีวิตไว้กับเทคโนโลยี มากกว่าการสร้างความรู้ความสามารถให้ตนเอง ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ท่านทั้งหลายจงยังให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุดใจ : 11-11-2009 เมื่อ 13:48 |
สมาชิก 75 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุดใจ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#33
|
|||
|
|||
๑๖ "วันโกน..กับเรื่องบนหนังศีรษะ"
ก่อนวันพระใหญ่หนึ่งวัน เราเรียกว่า "วันโกน" คือ วันขึ้น ๗ ค่ำกับ ๑๔ ค่ำ และแรม ๗ ค่ำกับแรม ๑๔ ค่ำ ของทุกเดือน(หรือ แรม ๑๓ ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด) ซึ่งเป็นวันก่อนวันพระ ๑ วันนั่นเอง ทุกเดือนจะมีการปลงผมหรือโกนผมก่อนวันลงปาฏิโมกข์ในพระอุโบสถ ถ้าจะถามว่าใครโกนหรือปลงผมให้ งานนี้ก็ต้องบอกว่าผลัดกันปลง ส่วนของพระอาวุโสหลาย ๆ ท่าน ท่านปลงผมด้วยตัวเอง เนื่องด้วยมีความชำนาญเป็นพิเศษ สำหรับผมใช้บริการของ "หลวงพี่ดอยบาร์เบอร์" ตลอดงานนี้ กุฏิไหนต่อไหนไม่รู้ ถ้าจะมาให้หลวงพี่ดอยปลงผมให้ ต้องเอาใบมีดโกนมาด้วย ค่าแรงไม่คิดแต่จะติดปลายนวมนั้นก็ขอรับโดยไม่ปฏิเสธใด ๆ ในชีวิตมีเหยื่อสองรายมาให้ผมทำ "การทดลอง" โกนผมให้ ท่านแรกคือ "หลวงพี่เก้า" งานนั้นเลือดอาบไปทั้งหัวเล่นเอาคนโกนและคนที่ถูกโกนจะเป็นลมไปตามกัน ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : หลวงพี่..ขยับหัวมาทางนี้หน่อยครับ สิวเยอะมาก ข้างหลังก็เยอะ งานนี้มีเลือดอาบแน่ ๆ หลวงพี่เก้า : ผมฉันไข่ไก่ประมาณวันละห้าฟองทุกวัน..สงสัยว่ามันจะทำให้เป็นสิว ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : อ้าว..ก็หลวงพี่ไปบน"พระแก้ว"ท่านไว้เยอะ แถมแก้บนอยู่บ่อย ๆ ผมก็ช่วยฉันวันละสองฟองอยู่เหมือนกัน แต่ผมไม่กล้าฉันมากเดียวมัน "คึก" เฮ้ย..เลือด!!!! งานนั้นใครที่เดินผ่านไปผ่านมาเห็นเข้า คงไม่กล้าให้ผมโกนให้แน่ เห็นเดินหลบ ๆ กันทั้งนั้น บางท่านมีแซวว่า "หลวงพี่..โกรธอะไรหลวงพี่เก้าหรือเปล่า ? เล่นกันเลือดตกยางออกขนาดนั้น..!" ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : "หลวงพี่..ไม่สนใจใช้บริการของผมบ้างหรือ ?" เสียงตอบกลับมาด้วยความหนักแน่นว่า "ไม่ละครับหลวงพี่รัตน์" ในที่สุดหลวงพี่เก้าก็ได้หลายแผล.. งานนี้ผมต้องขออภัยนะครับ "สิวมันเยอะ" (อ้างไปเรื่อย..!") ถัดไปก็เป็นหลวงพี่ดอย ก่อนจะลงสนามผมถามแล้วว่า "หลวงพี่..แน่ใจนะ.." ท่านตอบว่า "แน่ใจครับ" ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : "หลวงพี่พร้อมนะ..งานนี้จะเอาให้ปราณีตกว่าของท่านเก้าอีก.." แกร๊ก ๆ เสียงใบมีดโกนที่ค่อย ๆ ตามไปส่วนโค้งของศีรษะมันช่างได้อารมณ์เสียเหลือเกิน หลวงพี่ดอย : "โดน..!" ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : "โดนอะไรครับหลวงพี่ ?" หลวงพี่ดอย : "หนังหัวผมนะสิ..!" ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : "จริงหรือครับ..?" ก้มมองที่มีดโกน หนังศีรษะยังติดอยู่ที่ใบมีดเลย พร้อมกับเลือดที่ศีรษะของหลวงพี่ดอย ค่อย ๆ ซึมออกมา..! ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : "ท่าน ๆ..อย่าเสียงดังกันสิ ผมไม่มีสมาธิในการโกนผมให้หลวงพี่ดอยนะ.." แล้วผมก็บรรจงลากใบมีดโกนต่อไป หลวงพี่ดอย : "โดน..! โดนอีกแล้ว..!" ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : "หลวงพี่นั่งนิ่ง ๆ สิ.." หลวงพี่ดอย : "โอ๊ย..! โดนอีกแล้ว โห..หลวงพี่.." ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : "งานนี้ผมใจไม่ดีแล้วนะ เลือด..! หลวงพี่..เลือด..ใครก็ได้มาโกนต่อแทนผมที.." งานนี้หลวงพี่คมสันท่านเลยมารับหน้าที่แทน ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์ : "หลวงพี่ดอย..งานนี้ผมไม่โกนให้แล้วนะ แต่เวลาผมมาขอให้หลวงพี่ปลงผมให้ "อย่าเอาคืน" ถือว่าผมทำไปโดยไม่ได้เจตนา.." หลวงพี่ดอย : "ไม่เป็นไร..แค้นนี้ต้องชำระกันซักวัน.." งานนี้ก็สอนให้ผมรู้ว่า ทำอะไรที่เราถนัดและมีความสามารถจะดีกว่า อย่าได้เอาคนอื่นเป็น "หนูทดลองยา" เลย มันเสียว..! ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- งานนี้งานแรกที่ "หลวงพี่บอย" ยอมโผล่หน้าให้ถ่ายภาพครับ ส่วน "หลวงพี่ต้อมร่างยักษ์" อยู่ทางด้านขวามือสุดแถวสุดท้าย
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-11-2009 เมื่อ 14:59 |
สมาชิก 89 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#34
|
|||
|
|||
๑๗. "คลิตี้...ดินแดนแห่งมนต์ขลัง" (อย่าลืมภาวนาเด็ดขาด)
เมื่อทุกอย่างพร้อมและวาระมาถึง"นัดล้างตา"ก็เกิดขึ้น คราวนี้พวกเราต้องไปให้ถึงคลิตี้ให้ได้...ว่าแล้วก็ห่มจีวรพลางตรวจสอบกล้องถ่ายรูปว่าพร้อมหรือไม่ ด้วยความรอบคอบแบบนี้ เลยทำให้กระผมขึ้นรถเป็นคนสุดท้าย ทิดแก้วกับรถกระบะคู่ใจ พร้อมด้วยพระอีก ๑๐ รูป นำโดยพระครูน้อยก็ออกเดินทางทันที คณะเราออกจากวัดท่าขนุนหลังจากฉันเช้าเสร็จ เราเดินทางจากวัดท่าขนุนไปตามเส้นทางหมายเลข ๓๒๓ เข้าทางบ้านทิพุเย ในส่วนของ อบต.ชะแล ผ่านบ้านทุ่งนางครวญ บ้านห้วยเสือ อุทยานแห่งชาติลำคลองงู เส้นทางบางช่วงก็อย่างที่เคยเล่าไปว่า ยังเป็นถนนลาดยางสลับกับถนนลูกรังดินแดงอยู่ ผ่านหมู่บ้านเป็นระยะ ๆ สลับกับไร่มันสำปะหลังที่แซมด้วยข้าวไร่ดูเขียวขจีไปหมด นี่คือชีวิตเรียบง่ายของชาวบ้าน ซึ่งบางทีเราแทบจะลืมกันไปแล้วว่า ความสงบที่พึ่งพิงอยู่กับธรรมชาตินั้นเป็นอย่างไร รถทำความเร็วได้ไม่มากนัก เราใช้เวลาเดินทางไปเรื่อย ๆ คือให้ทันเพลที่คลิตี้ เรากำลังจะเข้าไปยังดินแดนของชาวกะเหรี่ยงซึ่งนิสัยใจคอของชาวกะเหรี่ยงนี้ "รักใครรักจริง เกลียดใครก็เกลียดจริง..!" สำหรับพวกเราที่เป็นพระ หลวงพ่อมักจะเตือนเสมอว่า "อย่าได้วางใจใครไม่ว่าจะเป็นคนหรือในความเป็นทิพย์ทั้งหลาย เพราะความที่เราเป็นพระ บางสิ่งบางอย่างเขาลองกับคนอื่นไม่ได้ เขาก็ลองกับพระ จะฉัน จะลุก จะยืน จะนอน กันไว้ดีกว่าแก้ ให้มีสติเสมอ ก่อนฉันให้พิจารณาอาหาร แล้วว่า "คาถาบารมี ๓๐ ทัศ" ดังนี้ อิติปาระมิตาติงสา อิติสัพพัญญูมาคะตา อิติโพธิมะนุปปัตโต อิติปิโสจะเตนะโม นะ โม พุท ธา ยะ นึกภาพพระคลุมข้าวปลาอาหารทั้งหมด จะเป็นการแก้คุณไสยทุกชนิดที่เขาทำมาลองดีหรือหวังประทุษร้าย พวกเราเองได้ยินชื่อเสียงความขลังในเรื่องของไสยศาสตร์ของชาวกะเหรี่ยงมากันพอสมควร จึงไม่ประมาท พยายามจับคำภาวนาในใจตามแต่ใครถนัดแบบไหนก็ว่ากันไป เพื่อให้เกิดกำลังใจมั่นคง หลังจากใช้เวลาไปเกือบสามชั่วโมง พวกเราก็เดินทางผ่านถนนช่วงหลัง ซึ่งมีสภาพเหมือนเส้นทางไปดาวอังคาร คือเต็มไปด้วยหลุมบ่อและทางน้ำกัดเซาะ พระครูน้อย(หลวงพี่ของชาวบ้าน) บอกผมว่า เวลานั่งรถประจำทางในเมืองมันไม่สบายแบบนี้ คือ "ถนนมันเรียบเกินไป" แบบทางเข้าหมู่บ้านคลิตี้นี้นั่งแล้วสบายกว่า กระผมเองก็ได้แต่กระพริบตา กลืนน้ำลายแทบจะไม่ลง เพราะเริ่มรู้สึกได้ว่า "มันเพลีย ๆ เหนื่อย ๆ แบบคนเมารถ" รถกระสวยอวกาศของทิดแก้วค่อย ๆ เลี้ยวผ่าน "โรงเรียนบ้านทุ่งเสือโทน" อย่างช้า ๆ เนื่องจากที่นี่ไม่มีไฟฟ้า เราจึงเห็น "แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์" เรียงรายทางด้านข้างของโรงเรียน แสงแดดยามเช้า ฟ้าใส ๆ กับอากาศเย็นสบาย ๆ มันชวนให้อยู่กับบรรยากาศแบบนี้ไปนาน ๆ จนลืมคำภาวนาไปหลายอึดใจ มองไปก็เห็น "วัดทุ่งเสือโทน (หลวงปู่เนป่อง)" ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ย ๆ เสียงเครื่องยนต์ที่ดับลงแปลว่าเรามาถึงที่หมายแล้ว "อาปาเช่" สาวกะเหรี่ยงออกมาต้อนรับ เชื้อเชิญพระครูน้อยและพวกเราเข้าบ้าน...สภาพบ้านอันเรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยฝีไม้ลายมือใน "งานช่างไม้" ทำให้บ้านหลังเล็ก ๆ หลังนี้ดูมีแล้วมีคุณค่ามากกว่าห้องสี่เหลี่ยมที่คนในกรุงอยู่อาศัยกัน ทางด้านหน้ามีนอกชานกว้าง นั่งสบาย ลมพัดถ่ายเทตลอดเวลา กระผม ท่านดอย ท่านนวย เดินสำรวจไปอย่างช้า ๆ ผมพยายามเก็บรายละเอียดตามปกติที่ผมเป็นอยู่แล้ว ต้นไม้ ใบหญ้า นก สัตว์ต่าง ๆ จนไปถึงสิ่งก่อสร้าง เราตรงไปกราบรูปเหมือนของ "หลวงปู่เนป่อง" ซึ่งแกะสลักด้วยหินทรายจากยอดเขาภูพาน แล้วเข้าไปกราบพระประธานภายในโบสถ์..... หลังจากนั้นเราก็ตรงไปยังหอระฆังและศาลา ซึ่งถ้าจำไม่ผิด ชาวกะเหรี่ยงเขาถือทิศใต้เป็นทิศมงคล เมื่อก่อนพระประธานภายในศาลาหันไปทางทิศใต้ พระครูน้อยเมื่อครั้งที่ท่านยังเป็นเจ้าอาวาสที่วัดนี้ ท่านได้ทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ให้เปลี่ยนทิศทางของพระประธานให้ไปทางทิศเหนือแทน หลังจากนั้นเราก็เดินกลับไปร่วมฉันเพลที่บ้านของ "อาปาเช่" กับข้าวกับปลาเต็มไปหมด สิ่งหนึ่งที่กระผมสะดุดตา คือ "แตงเปรี้ยว" ทีแรกก็งง ๆ นี่มันลูกอะไร ? ผลไม้หรือว่าผัก... หยิบขึ้นมาพิจารณาแล้วถ่ายรูป หลังจากพิจารณาอาหารแล้วก็หยิบมาฉัน แตงกวานี่หว่า..! รสชาติออกเปรี้ยวเล็กน้อย แต่กรอบกว่าแตงกวาปกติ(เพราะผิวมันตึงมาก) กัดไปคำตามด้วยน้ำพริกปลาร้า ข้าวสวยอุ่น ๆ (ร้อน ๆ เดี๋ยวปากพอง) ทุกท่านเจริญศรัทธาและเจริญอาหารกันเต็มที่ หลังจากนั้นก็นั่งสนทนากันจนถึงเวลาเดินทางกลับ จริง ๆ แล้วสิ่งที่เรากลัวมักจะเกิดจากเราได้ยิน ได้ฟัง หรือเกิดจากการปรุงแต่งของเราเอง แต่เรื่องของการไม่ประมาทเป็นเรื่องที่ดี ผมได้มาสัมผัส ได้มาเห็นกับตาตัวเอง ถือว่างานนี้เหมือนกับเราได้ทำข้อสอบแล้ว หายสงสัยไปหลายเรื่อง หลังจากที่เราแวะเยี่ยม "ผู้ใหญ่บ้าน" พร้อมกับนำผ้ายันต์พิชัยสงครามและยันต์มหาเศรษฐีมอบให้ พูดคุยทักทายปราศรัยกัน กว่าจะถึงเวลาร่ำลากัน ผมก็เห็นในความมีน้ำจิตน้ำใจ ความเป็นกันเอง ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของเขาแล้ว ทำให้นึกถึงสำนวนที่ว่า "ต้นไม้ไร้นกเกาะถึงดูไม่เหมาะก็ไม่เป็นไร แต่ถ้านกไร้ต้นไม้เกาะ มันดูไม่เหมาะเพราะไม่เหลืออะไร" เห็นทีต้องขอไปขยายความในตอนต่อ ๆ ไปครับ -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-11-2009 เมื่อ 15:43 |
สมาชิก 84 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#35
|
|||
|
|||
๑๘."ให้มีความคล่องตัว"
ในช่วงเข้าพรรษา นับเป็นโชคดีของท่านต่าง ๆ ที่บวชเข้ามาในช่วงนี้ มีบุญรออยู่แทบจะทุกวัน หลวงพ่อท่านให้พระภิกษุสามเณรทุกรูป จับสลากเพื่อขึ้นเทศน์ในวันพระตลอดพรรษา ทุกวันพระจะมีเทศน์สองรอบ คือ รอบเช้า ๙.๐๐ น.และรอบค่ำ ๑๙.๓๐ น. ใครใคร่จะเลือกกัณฑ์เทศน์ไหนมานั้น หลวงพ่อท่านให้อิสระเต็มที่ กระผมเองเมื่อค่อย ๆ เปิดฉลากใบเล็ก ๆ ดูก็รู้ว่า ตัวเองได้เทศน์วันออกพรรษาช่วงเช้าซึ่งวันนี้เป็นวันที่หลาย ๆ ท่านภาวนาว่า "ขออย่าให้หยิบได้ใบนี้เลย.." แต่ตรงกันข้ามกับกระผม ที่ตั้งจิตอธิษฐานไว้ก่อนว่าขอให้ได้เถอะ เพราะตั้งใจจะอุทิศบุญให้โยมพ่อที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อทราบกำหนดการกันแล้วว่า ใคร..? ท่านใดบ้าง(แสดงว่าบางท่านโชคดี..รอดตัวไป)ที่จะได้ขึ้นธรรมาสน์เทศน์ โปรดญาติโยมในวันไหน ? เวลาใดบ้าง ? ต่างก็กลับไปเตรียมตัวกันอย่างเต็มที่ งานนี้..คนไหนที่รู้ว่า ตัวเองไม่มีความสามารถหรือไม่มั่นใจ ก็ถึงกับออกปากไหว้วานหา "อาสาสมัครเดนตาย" ให้รับหน้าที่แทน ปัจจัยของกัณฑ์เทศน์ หลวงพ่อประกาศตั้งแต่ต้นแล้วว่า "ใครเทศน์คนนั้นก็ไป" ส่วนมากก็จะยกให้คนที่ขึ้นไปรับหน้าที่แทน ท่านแรกที่ขึ้นเทศน์ในพรรษานี้ คือ "ท่านนวย" หลวงพี่นวย : "หลวงพี่..ผมละกลุ้มเลย งานนี้คนแรกด้วยสิ.." หลวงพี่นวยบ่นพลางแอบซุ่มฟิตซ้อมเต็มที่ แล้วงานแรกก็ออกมาดี เลยเป็นที่กดดันท่านต่อ ๆ ไป เวลาช่างรวดเร็วเหมือน "นกกระจอกกินน้ำ" หลายต่อหลายท่านผ่านไป บางท่านก็ทำหน้าที่ได้ดี เพราะมีความรับผิดชอบซักซ้อมมาก่อน แต่งานนี้มีท่านหนึ่งที่ถูกหลวงพ่อท่านดุเอา ชนิดที่ว่านั่งงงลงจากตั่งไม่ถูกเลย ก็คือ "หลวงพี่กุ๊ก" เพราะท่านประมาทมากเกินไป ไม่ได้ซักซ้อมให้เกิดความชำนาญคล่องตัว หลวงพ่อท่านประกาศหลังจากที่ท่านกุ๊กเทศน์เสร็จว่า "คนต่อไปอย่าให้เป็นอย่างนี้อีก..!" ทุกท่านเงียบสนิท หลังจากนั้นไม่นาน หลวงพ่อท่านก็สอนว่า "เรื่องของการเทศน์จะต้องหมั่นซ้อม คนที่เทศน์ได้ดีนั้นต้องผ่านเวทีมาแล้วไม่น้อยกว่าร้อยธรรมาสน์ขึ้นไป หรือไม่ก็ผ่านการเรียนหลักสูตร "นักเทศน์" มาแล้ว ท่านบอกว่า ตั้งใจมากเกินไปก็ไม่ดี ไม่ตั้งใจเลยก็ไม่ดี ให้ทำกำลังใจกลาง ๆ แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาอ่านกัณฑ์เทศน์ไป" และแล้ว..ก็มีนักเรียนนอกหลักสูตรท่านหนึ่ง คือ "หลวงพี่ขวัญชัย" เรื่องที่จะเทศน์ ท่านแต่งเอง ไม่ได้เอามาจากกัณฑ์เทศน์ที่เตรียมเอาไว้ให้เลือกกัน ทัดฤทธิ์-ทิดรัตน์: "หลวงพี่..คายความลับออกมาหน่อยซิ ว่าหลวงพี่จะเทศน์เรื่องอะไร ?" หลวงพี่ขวัญชัย: "ไม่ได้..ความลับก็ต้องเป็นความลับสิ..!" เอา..ในเมื่อท่านยืนยัน นอนยัน นั่งยัน ตะแคงยันถึงขนาดนั้นก็ตามใจ และแล้ว..ท่านเทศน์ชนิดที่ว่า พระเณรทุกท่านนั่งลุ้นว่ามันจะจบได้หรือไม่ ? และจบอย่างไร ? ผมเองกลั้นหัวเราะจนแทบทนไม่ไหว,อาจารย์พงษ์,หลวงตาชาติ พระเณรอีกหลายรูป ไม่เว้นแม้แต่ญาติโยม แต่คนที่นิ่งที่สุดคือหลวงพ่อ พระครูน้อยท่านแอบกระซิบ ว่า "นั่งใกล้ ๆ หลวงพ่อ บรรยากาศมันตึงเครียดสุด ๆ" งานนี้ถ้าจะเจองานเข้าชุดใหญ่แล้ว สุดท้ายทุกอย่างก็จบลงได้แบบ "เครื่องบินหารันเวย์ลงไม่ได้"เพราะเทศน์วกไปวนมาอยู่หลายรอบ รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง หลังฉันเช้าเสร็จ หลวงพ่อท่านประกาศว่า "อย่างที่ท่านขวัญชัยทำนั้นนับเป็นความคิดริเริ่มที่ดี แต่ทุกท่านอย่าได้ทำอีกเพราะเรื่องของการเทศน์นั้น ต้องเทศน์ให้ญาติโยมเขาฟังรู้เรื่อง ขนาดตัวคนเองแต่งเองยังไม่รู้เรื่องเลย แล้วแมวที่ไหนมันจะรู้..! ต่อไปห้ามแต่งเองอีก ยกเว้นว่าท่านเรียนจบนักเทศน์มา" และแล้ว..วันของผมก็มาถึง ก่อนจะขึ้นธรรมาสน์ผมตรงไปกราบพระประธานบนศาลา,กราบหลวงพ่อ ในขณะกราบท่านหลวงพ่อท่านให้พรด้วยน้ำเสียงที่เมตตาว่า "ขอให้มีความคล่องตัว" วันนี้คนเต็มศาลาไปหมด น้อยกว่าวันรับยันต์เกราะเพชรประมาณ ๒๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เมื่อขึ้นไปบนธรรมาสน์ มองไปเห็นคนเต็มไปทั้งศาลา ใจมันหวิวพิกล หลังจากรวบรวมกำลังใจแล้วว่า งานนี้ขอบารมีพระท่านเมตตา ขอให้เป็นหน้าที่ของท่านในการสงเคราะห์ญาติโยม ช่วงแรก ๆ ผมเทศน์ผิด อ่านผิด ออกเสียงแล้วลิ้นมันพันกันไปหมด จึงค่อย ๆ รวบรวมกำลังใจอีกครั้ง ที่ผิดมันก็ผิดไปแล้ว แต่ที่จะอ่านต่อไปพยายามเอาใจจดจ่อ สลัดภาพของคนหมู่มากออกไป ตั้งใจว่า เทศน์ให้โยมพ่อฟัง มาถึงตรงนี้ "เครื่องมันก็ติดแล้ว" ยิ่งอ่านยิ่งเพลิน ยิ่งเพลินก็ยิ่งเป็นสมาธิ จนมาถึงตอนจบ พยายามรวบรวมกำลัง ตั้งใจอธิษฐานอุทิศบุญให้ญาติโยมก็ดี ให้โยมพ่อโยมแม่ก็ดี และอธิษฐานเพื่อมรรคผลนิพพานของตัวเองก็ดี ถือว่าจบแบบสมบูรณ์จนลืมสลับขา นั่งพับเพียบนาน ๆ มันทำเอาขาเป็นเหน็บชาไปหมด หลวงพ่อท่านประกาศบอกว่า "นั่งให้หายชาแล้วจึงค่อยลงจากธรรมาสน์" แต่ผมเองประมาทไป จึงค่อย ๆ เคลื่อนตัวลงมา ความรู้สึกตอนนั้นก็ปกติ แต่หลังจากคุกเข่ากราบพระ กราบหลวงพ่อแล้ว ที่รู้สึกได้คือ ขามันแข็งไปหมด พยายามจะพยุงตัวขึ้น หลวงพ่อท่านรู้ ท่านจึงโบกมือให้รู้ว่า ให้นั่งตรงนี้ก่อนอย่าเพิ่งลุกไป เพราะมันอาจจะล้มได้ เพราะประสาทมันชาไปหมด ผมเลยนั่งแล้วพยายามสูดลมหายใจเอาอากาศเข้าไปให้เยอะ ๆ สุดท้ายเมื่อมั่นใจแล้ว จึงค่อย ๆ ลุกเดินกลับไปนั่งที่ของตัวเอง หลวงพ่อท่านเมตตา,ท่านรู้,ท่านผ่านประสบการณ์มามากต่อมาก ท่านคือครูที่เราควรเชื่อฟังให้มากที่สุด ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ "วันออกพรรษา" วัดท่าขนุน
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 16-11-2009 เมื่อ 10:27 |
สมาชิก 93 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#36
|
|||
|
|||
๑๙."ต้นไม้ไร้นกเกาะถึงดูไม่เหมาะก็ไม่เป็นไร แต่ถ้านกไร้ต้นไม้เกาะ มันดูไม่เหมาะเพราะไม่เหลืออะไร"
ต้นไม้แต่ละต้น อิฐ หิน ดิน ทราย แต่ละก้อนที่พระเณรต่างช่วยกันทุ่มเทแรงกายแรงใจ ตอนนี้มองเห็นเป็นภาพที่ชัดเจน "ลานธรรม"ของวัดท่าขนุนค่อย ๆ ก่อตัวเป็นรูปธรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ ขนาบด้วยเรือนไม้ที่เอาไว้ให้ญาติโยมหรือผู้ปฏิบัติธรรมได้พักผ่อนหลบร้อนหลบฝน ผ่านวันออกพรรษาก็มาถึงวันสำคัญที่ทุกท่านต่างตั้งตารอก็คือ "วันตักบาตรเทโว" หลวงพ่อให้เตรียมตัวขึ้นไปรอบนยอดเขาตั้งแต่แปดโมงเช้า หลังจากวันก่อนหน้านั้น ทุกท่านต่างเร่งจัดเตรียมพื้นที่ จัดวางขาตั้งไม้ พร้อมนำเอาไม้แผ่นจากโรงไม้มาวางเป็นทางยาวริมถนน ตั้งแต่ทางลงมาจากพระเจดีย์จนทอดยาวไปถึงทางขึ้นศาลา....... ในวันตักบาตรเทโว ญาติโยมต่างเตรียมข้าวสารอาหารแห้งมาจับจองที่ทาง ไล่ตั้งแต่ทางลงพระเจดีย์ไปจนถึงสุดทางเดินขึ้นศาลา ภาพเหล่านี้ทำให้กระผมตระหนักถึงความศรัทธาที่ญาติโยมมีต่อพระ "พระคือเนื้อนาบุญอันประเสริฐ" ทำให้รู้สึกประทับใจมาก เมื่อถึงเวลา..พระเณรทุกท่านต่างเตรียมพร้อม บางท่านไปรอบนเจดีย์ตั้งแต่เช้า หลวงพ่อท่านเดินขึ้นไป พร้อมกับมีเจ้าลูกหมาน้อยตัวหนึ่งค่อย ๆ ตามหลวงพ่อขึ้นไปจนถึงพระเจดีย์ เจ้าลูกหมาตัวนั้นมันคงรู้ว่า หลวงพ่อคือเนื้อนาบุญของมัน มันจึงแสดงออกด้วยทีท่าที่คอยเดินตามท่าน ถึงแม้ว่าขั้นบันไดทางขึ้นบางช่วงจะมีความสูงอยู่มาก แต่มันก็พยายามไปจนถึง......ขนาดพระเณรบางท่านและหลาย ๆ ท่านยังเหนื่อยกันแทบลิ้นห้อย แต่เมื่อเห็นภาพหลวงพ่ออุ้มเจ้าหมาน้อยตัวนั้น พร้อม ๆ กับที่หลวงพ่อท่านกล่าว "จับดูแล้วหัวใจมันเต้นปกติ มันไม่เหนื่อยเหมือนที่เราเหนื่อยกันเลย " พาเอาทุกท่านหัวเราะ "เจ้าตัวเล็กนี่มันสุดยอด" เสียงห้าว ๆ ของ "เณรเจ" กล่าวเสริม หลังจากหลวงพ่อท่านนำสวดมนต์ถวายบูชาพระเจดีย์แล้ว ทุกท่านก็ตั้งแถว แล้วค่อย ๆ เดินลงมาจากยอดเขา บรรยากาศก็ดี,อากาศก็ดีเป็นอีกวันหนึ่งที่กระผมเองจะต้องเก็บเอาไว้ในความทรงจำไปตลอดชีวิต ญาติโยมหลาย ๆ ท่านมาดักรอใส่บาตรตั้งแต่วิหารองค์สมเด็จบนยอดเขา สีทองของแสงแดดยามเช้าที่ลอดผ่านต้นไผ่ตัดกับสีเขียวของต้นไม้ใบหญ้า ดูแล้วสดชื่นยิ่งนัก มองลงไปเห็นพระเดินลงเป็นทิวแถว นำโดยหลวงพ่อ ผมก็อดใจที่จะถ่ายรูปเอาไว้ไม่ได้ ญาติโยมหลั่งไหลมาแทบทุกสารทิศของอำเภอทองผาภูมิ ทั้งลูกเด็กเล็กแดงคนเฒ่าคนแก่ ต่างเฝ้ารอใส่บาตรกันด้วยสีหน้าแววตาเอิบอิ่มไป เสียงเหรียญกระทบก้นบาตรไม่ขาดสาย ข้าวสาร อาหารแห้ง ดอกไม้ เต็มบาตรจนบางครั้งถ่ายเทให้เด็กวัดแทบไม่ทัน นั่นคือคำว่า "ศรัทธา" นั่นคือคำว่า "เคารพ" ที่ญาติโยมแสดงออก มันยากที่จะอธิบายในความรู้สึกประทับใจของผม บางครั้งผมเห็นคุณยายแก่ ๆ ก็คิดถึงโยมแม่ คิดถึงโยมพ่อจับใจ อยากจะให้ท่านได้เห็นบรรยากาศแบบนี้ และอยากจะให้ท่านได้มีโอกาสตักบาตรพระลูกชายในที่นี้ วันนี้ต้นไม้ที่วัดท่าขนุนอันหมายถึง "ต้นไม้ในนาบุญ" มีนกเกาะเต็มไปหมดทุกต้น ไม่ว่าจะเป็นต้นใหญ่หรือต้นเล็ก ต้นไม้ที่ผมเปรียบเปรยนั้นก็คือ หลวงพ่อและพระเณรทุกรูป ที่ต่างก็ปฏิบัติในธรรมอันประเสริฐแห่งพระพุทธศาสนา ส่วน "นก" ก็คือญาติโยมทุกท่านที่พึ่งพาอาศัยหาความร่มเย็นใน ทาน ศีล ภาวนา โดยมีหลวงพ่อเล็กเป็นต้นโพธิ์ใหญ่อันร่มรื่น แตกกิ่งก้านสาขาออกไป ไม่ว่าจะเป็นเพื่อประโยชน์ต่อญาติโยมทางใด ท่านก็ยืนเป็นหลักชัยอย่างมั่นคง "ต้นไม้ไร้นกเกาะถึงดูไม่เหมาะก็ไม่เป็นไร แต่ถ้านกไร้ต้นไม้เกาะ มันดูไม่เหมาะเพราะไม่เหลืออะไร" พระพุทธศาสนาก็คือต้นไม้ยืนต้นที่ฝังรากลึกอย่างมั่นคง แตกกิ่งก้านสาขาออกไปมากมาย ปกคลุมให้เกิดความร่มเย็นแก่สรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย ที่ได้มาหลบร้อนภายใต้ร่มเงาของไม้ใหญ่ต้นนี้ ถึงจะไม่มีแม้แต่สัตว์น้อยใหญ่สักตัว ต้นไม้ต้นนี้ก็ยังคงหยัดยืนต่อไปอย่างมั่นคง วันใดที่สัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย พยายามจะไขว่คว้าค้นทางเส้นทางที่จะไปถึงยังต้นไม้ใหญ่ต้นนี้ แต่ทว่าหลงลืมหาทางไม่เจอ ด้วย"วัชพืชแห่งกิเลส" ต้นไม้ต้นนี้ก็มิได้ด้อยค่าลงไปเลยแม้แต่น้อย....... -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-11-2009 เมื่อ 14:46 |
สมาชิก 96 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#37
|
|||
|
|||
ทิดรัตน์ สู้ สู้
อุตส่าห์พิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน ยังประโยชน์ให้ผู้ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ได้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ยังประโยชน์ให้ผู้เลื่อมใสในพระรัตนตรัยแล้ว ยิ่งเลื่อมใสมากยิ่งขึ้น เป็นตัวอย่างแก่รุ่นน้อง ๆ ไม่กลัวผิด ไม่กลัวพลาด แต่กลัวจะไม่มีโอกาสได้เผยแพร่ธรรมะให้ผู้มืดบอดได้เห็นแสงสว่างในชีวิต ถ้าไม่เกรงว่าน้องเต้ยอิจฉาจะกระโดดหอมซักฟอด แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุดใจ : 16-11-2009 เมื่อ 15:53 |
สมาชิก 76 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สุดใจ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#38
|
|||
|
|||
ก่อนอื่นขอ "อ้วก" ก่อนนะครับ คำพังเพยเขียนเอาไว้ว่า "อายครูบ่รู้วิชา" ต้องขอขอบพระคุณทุก ๆ ท่านที่ให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด ช่วงนี้งานมันเริ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ กระผมเองพยายามใช้เวลาให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าให้มากที่สุด แต่ละตอนที่เขียนมันต้องเรียบเรียงออกมาจากความรู้สึกและรูปภาพที่มีให้ได้บรรยากาศและสาระ บางครั้งแค่สองสามบรรทัด นั่งคิดแล้วคิดอีก บางตอนใช้เวลาร่วมสองสามชั่วโมง แค่คิดและเขียน ยังไม่รวมมานั่งไล่แก้คำผิดนะครับ.....
"ต้นไม้ไร้นกเกาะถึงดูไม่เหมาะก็ไม่เป็นไร แต่ถ้านกไร้ต้นไม้เกาะ มันดูไม่เหมาะเพราะไม่เหลืออะไร" เป็น "ท่อนสร้อย" ของเพลงเพลงหนึ่ง กระผมเองก็จำชื่อเพลงไม่ได้ ทำนองและคำร้องโดย "เทียรี่ เมฆวัฒนา" ผมฟังแล้วมันสะดุดใจให้คิด เลยเอามาวิปัสสนาเป็นข้อธรรมส่วนตัวของกระผมไปเรื่อย
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 16-11-2009 เมื่อ 21:57 |
สมาชิก 80 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#39
|
|||
|
|||
คุณสุดใจ (ขาดดิ้น...ขอแถมหน่อยนะครับ) ขอบคุณมากครับ
หลวงพ่อท่านบอกกับผมว่า "ให้บ้าต่อไป" ผมเลยบ้าต่อเลย บ้าแบบที่ผมจะบ้าได้ในทางที่ดีเท่านั้นครับ อันนี้ไม่ขอสงวนลิขสิทธิ์ครับ
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม |
สมาชิก 71 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#40
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
"ต้นไม้ไร้นกเกาะ ดูไม่เหมาะเพราะไร้ชีวา ผืนดินในถิ่นท้องนา ถ้าไม่โดนไถไหนเลยดินจะดี..." จริง ๆ คนร้องเพลงนี้มีหลายเวอร์ชั่นค่ะ แต่เถรีชอบเวอร์ชั่นที่ประกอบละครค่ะ ฟังมาตั้งแต่สมัยประถม
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม |
สมาชิก 70 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 2 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 2 คน ) | |
|
|