|
ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน รวมประวัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพจากทั่วเมืองไทย |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#21
|
||||
|
||||
๓. สบายใจ
คำว่า ไม่สบายใจ อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป "Let it go,and get it out!" ก่อนจะเกิด Let it go! ปล่อยผ่านไปอย่ารับเอาความไม่สบายใจไว้ ถ้าเผลอไป มันแอบเข้ามาอยู่ในใจได้ พอมีสติรู้สึกตัวว่าไม่สบายใจไว้ในใจ ต้อง Get it out! ขับมันออกไปทันที อย่าเลี้ยงเอาความไม่สบายใจไว้ในใจ จะเคยตัว ทีหลังจะเป็นคนอ่อนแอ ออดแอด ทำอะไรผิดพลาด นิด ๆ หน่อย ๆ ก็ไม่สบายใจเคยตัว เพราะความไม่สบายใจนี้แหละเป็นศัตรู เป็นมาร ทำให้ใจไม่สงบ ประสาทสมองไม่ปกติเป็นเหตุให้ร่างกายผิดปกติ พลอยไม่สงบไม่สบายด้วย ทำให้สมองทึบไม่ปลอดโปร่งเป็น habit ความเคยชินที่ไม่ดี เป็นอุปสรรคกีดกั้นขัดขวางสติปัญญาไม่ให้ปลอดโปร่งแจ่มใส ต้องฝึกหัดแก้ไขปรับปรุงจิตใจใหม่ ทั้งก่อนที่จะทำอะไรหรือกำลังกระทำอยู่ และเมื่อเวลากระทำเสร็จแล้วต้องหัดจิตใจแช่มชื่น รื่นเริง เกิดปีติปราโมทย์เป็นสุขสบายอยู่เสมอ เป็นเหตุให้เกิดกำลังกาย กำลังใจ Enjoy living มีชีวิตอยู่ด้วยความเบิกบาน สมองจึงเบิกบาน จะศึกษาเล่าเรียนก็เข้าใจ จำได้ง่าย เหมือนดอกไม้ที่แย้มเบิกบานต้อนรับหยาดน้ำค้างและอากาศอันบริสุทธิ์ฉะนั้น
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 19-10-2009 เมื่อ 17:04 |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#22
|
||||
|
||||
๔. สันติสุข
พระพุทธเจ้าสอนว่า "นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ" สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี หมายความว่า ความสุขอื่นมี เช่น ความสุขในการดูละคร ดูหนัง การเข้าสังคม Social ในการมีคู่รักคู่ครอง หรือในการมีลาภยศ ได้รับความสุข สรรเสริญ และได้รับความสุขจากสิ่งเหล่านี้ก็สุขจริง แต่ว่าสุขเหล่านี้มีทุกข์ซ้อนอยู่ ทุกอย่างต้องคอยแก้ไขปรับปรุงกันอยู่เสมอ ไม่เหมือนกับความสุขที่เกิดจากสันติความสงบ ซึ่งเป็นความสุขที่เยือกเย็นและไม่ซ้อนด้วยความทุกข์ และไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงตกแต่งมาก เป็นความสุขที่ทำได้ง่าย เกิดกับกายใจของคนเรานี่เอง อยู่ในที่เงียบ ๆ คนเดียวก็ทำได้ หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมสังคมก็ทำได้ ถ้าเรารู้จักแยกใจหาสันติสุข กายนี้ก็เพียงสักแต่ว่าอยู่ในที่ระคนด้วยความยุ่ง สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นไม่ยุ่งมาถึงใจ แม้เวลาเจ็บหนักมีทุกขเวทนาปวดร้าวไปทั่วกาย แต่เรารู้จักทำใจให้เป็นสันติสุขได้ ความเจ็บนั้นก็ไม่สามารถจะทำให้ใจเดือดร้อนตามไปด้วย เมื่อใจสงบแล้ว กลับทำให้กายนั้นสงบหายทุกขเวทนาได้ด้วย และประสบสันติสุขซึ่งไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่าสันติสุขนั้น พระพุทธเจ้าสอนให้ฝึกเป็น ๓ ทางคือ ๑. สอนให้สงบกายวาจาด้วยศีล ไม่ทำโทษทุจริตอย่างหยาบที่เกิดทางกาย วาจา เป็นต้นเหตุสันติสุขทางกายวาจาเป็นประการต้น ๒. สอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางใจด้วยสมาธิ หัดใจไม่ให้คิดถึงเรื่อง ความกำหนัด ความโกรธ ความโลภ ความหลง ความกลัว ความฟุ้งซ่านรำคาญ ความลังเลใจ ทำให้ใจไม่เด็ดเดี่ยว ไม่เด็ดขาด เมื่อฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางใจด้วยสมาธิในสิ่งเหล่านี้ได้ เป็นเหตุให้ใจสงบ เป็นสันติสุขทางจิตใจอีกประการหนึ่ง ๓. ทรงสอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางทิฏฐิ ปัญญาพิจารณาให้เห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายไม่แน่นอน เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงคงทนอยู่ไม่ได้ คือเสื่อมสิ้น แปรปรวน ดับไป เรียกว่าเป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา อ้อนวอน ขอร้อง เร่งรัด ให้เป็นไปตามความประสงค์เรียกว่า อนัตตา เมื่อเรารู้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้ จะทำให้จิตใจของเราเข้มแข็งมั่นคง เด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์ทั้งหลาย เพราะรู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาว่าสิ่งเหล่านั้นไม่แน่นอน มันคงอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลง เสื่อมสิ้นดับไป ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของเรา อย่าไปเร่งรัดให้เสียกำลังใจ คงรักษาใจให้เป็นอิสระมั่นคงอยู่เสมอ ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์เหล่านั้น เป็นเหตุให้ใจตั้งอยู่ใน สันติสุข เป็นอิสระที่เกิดอำนาจทางจิตใจ Mind power ที่จะใช้ทำกิจกรณียะอันเป็นหน้าที่ของตนได้สำเร็จสมประสงค์ "นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ" สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี It needs a Peaceful Mind to support a Peaceful Body, and it needs a Peaceful Body to support a Peaceful Mind, and it needs Both Peaceful and Mind to attain all success that which you wish.
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#23
|
||||
|
||||
๕. ทำอะไรไม่ผิดเลย ก็คือไม่ทำอะไรเลย Do no wrong is do nothing
จงระลึกถึงคติพจน์ว่า Do No wrong is do nothing ทำอะไรไม่ผิดเลย ก็คือไม่ทำอะไรเลย ความผิดนี้แหละเป็นครูอย่างดี ควรจะรู้สึกบุญคุณของตัวเองที่ทำอะไรผิดพลาด และควรสบายใจที่ได้พบกับอาจารย์ผู้วิเศษ คือความผิด จะได้ตรงกับคำว่า เจ็บแล้วต้องจำ ! ตัวเองทำผิดเองนี่แหละ เป็นอาจารย์ผู้วิเศษเป็น Good example ตัวอย่างที่ดี เพื่อจะได้จดจำไว้ สังวรระวังไม่ให้ผิดต่อไป แล้วตั้งต้นใหม่ด้วยความไม่เลินเล่อเผลอประมาท อดีตที่ผิดไปแล้วก็ผ่านพ้นล่วงเลยไปแล้ว แต่อาจารย์ผู้วิเศษยังคงอยู่ คอยกระซิบเตือนใจอยู่เสมอทุกขณะว่า ระวัง ! อย่าประมาทนะ! อย่าให้ผิดพลาดเช่นนั้นอีกนะ ผิดหนึ่งพึงจดไว้ ในสมอง เร่งระวังผิดสอง ภายหน้า สามผิดเร่งคิดตรอง จงหนัก เพื่อนเอย ถึงสี่อีกที่ห้า หกซ้ำอภัยไฉน ! จงสังเกตพิจารณาดูให้ดีเถิด จะเห็นได้ว่านักค้นคว้าวิทยาศาสตร์ทางโลกก็ดี และท่านผู้วิเศษที่เป็นศาสดาอาจารย์ในทางธรรมทั้งหลายก็ดี ล้วนแต่ผ่านพ้นอุปสรรคความผิดพลาดนับครั้งไม่ถ้วนด้วยกันมาแล้วด้วยกันทุกส่วน
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#24
|
||||
|
||||
๖. สติสัมปชัญญะ (ความระลึกได้ และความรู้ตัว)
ที่จะทำอะไรไม่ผิดนั้น ข้อสำคัญอยู่ที่สติ ถ้ามีสติคุ้มครองกายวาจาใจอยู่ทุกขณะ จะทำอะไรไม่ผิดพลาดเลย ที่ผิดพลาดเพราะขาดสติ คือ เผลอเหม่อ เลินเล่อ ประมาท ระเริง หลงลืม จึงผิดพลาด จงนึกถึงคติพจน์ว่า กุมสติต่างโล่ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม ธรรมดาชีวิตทุกชนิด ทั้งมนุษย์และสัตว์ตลอดทั้งพืชพันธุ์พฤกษชาติเป็นอยู่ได้ ด้วยการต่อสู้ ตรงกับคำว่า Life is fighting ชีวิตคือการต่อสู้ เมื่อต่อสู้ไม่ไหวขณะใด ก็ต้องที่สุดแห่งชีวิต คือ death ความตาย เพราะฉะนั้น ยังมีสติอยู่ตราบใดถึงตายก็ตายแต่กาย เช่นกับชีวิตพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ท่านมีสติไพบูลย์อยู่ทุกขณะจิต ท่านจึงทำอะไรไม่ผิดและถึงซึ่งอมตธรรม คือ ธรรมที่ไม่ตาย ตรงกับคำว่า Immortal จึงเรียกว่าปรินิพพาน คือนามรูป สังขาร ร่างกาย ที่เรียกว่าเบญจขันธ์ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แตกดับไปเท่านั้น เพราะฉะนั้น ควรฝึกฝนสติ (ความระลึกรู้ก่อนทำ ก่อนพูด ก่อนคิด) สัมปชัญญะ (รู้ตัวอยู่ทุกขณะที่กำลังทำอยู่ พูดอยู่ คิดอยู่) เมื่อทำเสร็จแล้ว ก็มีสติตรวจตราพิจารณาดูว่าบกพร่องอย่างไร หรือเรียบร้อยบริบูรณ์ดี ถ้าบกพร่องก็รีบแก้ไขเพื่อให้สมบูรณ์ต่อไป ถ้าเรียบร้อยดีอยู่แล้วก็พยายามให้เรียบร้อยดียิ่ง ๆ ขึ้นไปจนถึงที่สุด
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#25
|
||||
|
||||
๗. อานุภาพของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ด้วยอานุภาพของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้แล จึงชนะข้าศึกคือ กิเลสอย่างละเอียดได้ ! ๑. ชนะความหยาบคาย ซึ่งเป็นกิเลสอย่างหยาบที่ล่วงทางกายวาจาได้ด้วยศีล ชนะความยินดียินร้าย หลงรัก หลงชังซึ่งเป็นกิเลสอย่างกลางที่เกิดในใจได้ด้วยสมาธิ ชนะความเข้าใจรู้ผิดเห็นผิดจากความเป็นจริงของสังขาร ซึ่งเป็นกิเลสอย่างกลางที่เกิดในใจได้ด้วยปัญญา ๒. ผู้ใดศึกษาและปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้โดยพร้อมมูล บริบูรณ์ สมบูรณ์แล้ว ผู้นั้นจึงเป็นผู้จากทุกข์ทั้งปวงได้เป็นแน่นอนไม่ต้องสงสัยเลย! เพราะฉะนั้น จึงควรสนใจเอาใจใส่ ตั้งใจศึกษา และปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้ทุกเมื่อเทอญ
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#26
|
||||
|
||||
๘. ดอกมะลิ
ดอกมะลิ เป็นดอกไม้ที่ถูกรับรองแล้วว่าเป็นดอกไม้ที่หอมเย็นชื่นใจที่สุด และขาวบริสุทธิ์ที่สุดในบรรดาดอกไม้ทั้งหลาย ชีวิตของมนุษย์ที่เป็นอยู่ก็เช่นเดียวกับการละคร ขอให้เป็นตัวเอกที่มีชื่อเสียงที่สุด เช่นเดียวหรือลักษณะเดียวกับดอกมะลิ อย่าเป็นตัวผู้ร้ายที่เลวที่สุด และให้เห็นว่าดอกมะลินี้จะบานเต็มที่เพียง ๒-๓ วันก็จะเหี่ยวเฉาไป ฉะนั้นขอให้ทำตัวให้ดีที่สุด เมื่อยังมีชีวิตอยู่ให้หอมที่สุดเหมือนดอกมะลิที่เริ่มแย้มบาน ฉะนั้น... จงเลือกทำแต่กรรมที่ดี ๆ
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#27
|
|||
|
|||
กาแฟ
ครบเมื่อไหร่ ผมขออนุญาต นำไปเผยแพร่เป็นธรรมทานนะครับ
|
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ กาแฟ ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#28
|
||||
|
||||
ยินดีและโมทนาค่ะ
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#29
|
||||
|
||||
๙. "ทำดี ดีกว่าขอพร"
"จงเลือกทำแต่กรรมที่ดี ๆ นะ !" เตือนให้เตรียมตัวไว้ดำเนินชีวิตต่อไป เป็นตัวแทนคำอวยพรอย่างสูงสุด ประกอบด้วยเหตุผล เมื่อทำกรรมดีแล้ว ไม่ให้พรก็ต้องดี เมื่อทำกรรมชั่วแล้ว จะมาเสกสรรปั้นแต่งอวยพรอย่างไรก็ดีไม่ได้ ทำชั่วเหมือนโยนหินลงน้ำจะต้องจมทันที ไม่มีผู้วิเศษใด ๆ จะมาเสกเป่าอวยพรอ้อนวอนขอร้องให้หินขึ้นมาได้ ทำกรรมชั่วจะต้องล่มจมป่นปี้เสียราศี เกียรติคุณ ชื่อเสียง เหมือนก้อนหินหนักจมลงไปอยู่กับโคลนใต้น้ำ ทำดีเหมือนน้ำมันเบา เมื่อเทลงน้ำ ย่อมลอยเป็นประกายมันปลาบอยู่เหนือน้ำ ทำกรรมดี ย่อมมีสง่าราศี มีเกียรติคุณชื่อเสียง มีแต่คนเคารพนับถือยกย่องบูชาเฟื่องฟุ้งฟูลอยเหมือนน้ำมันลอย ถึงจะมีศัตรูหมู่ร้ายจงใจเกลียดชังมุ่งร้าย อิจฉาริษยาแช่งด่าให้จม ก็ไม่สามารถจะเป็นไปได้ กลับจะแพ้เป็นภัยแก่ตัวเอง ขอให้จงตั้งใจกล้าหาญ พยายามทำแต่กรรมดี ๆ โดยไม่มีความเกรงกลัวหวั่นไหวต่ออุปสรรคใด ๆ ทั้งสิ้น ผู้ที่มีความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย ผู้ที่มีโชคดี ผู้ที่มีความสุข และผู้ที่มีความเจริญประสงค์ใดสำเร็จสมประสงค์ ก็คือผู้ประกอบกรรมทำแต่ความดีอย่างเดียวนั่นเอง นอกจากนี้ ยังมีโอวาทที่น่าสนใจ อีกบางข้อเช่น "คนเราเมื่อมีลาภก็มีเสื่อมลาภ เมื่อมียศก็มีเสื่อมยศ เมื่อมีสุขก็มีทุกข์ เมื่อมีสรรเสริญก็มีนินทา" เป็นของคู่กันมาเช่นนี้ จะไปถือสาอะไรกับปากมนุษย์ ถึงจะดีแสนดีมันก็ติ ถึงจะชั่วแสนชั่วมันก็ชม นับประสาอะไร พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลิศยิ่งกว่ามนุษย์และเทวดายังมีมารผจญ ยังมีนินทาติเตียน ปุถุชนอย่างเรา จะรอดพ้นจากโลกธรรมดังกล่าวแล้วไม่ได้ ต้องคิดเสียว่าเขาจะติก็ช่าง ชมก็ช่าง เราไม่ได้ทำอะไรให้เขาเดือดเนื้อร้อนใจ ก่อนที่เราจะทำอะไรเราคิดแล้วว่า ไม่เดือดร้อนแก่ตัวเราแลคนอื่น เราจึงทำ เขาจะนินทาว่าใส่ร้ายอย่างไรก็ช่างเขา บุญเราทำกรรมเราไม่สร้าง พยายามสงบกาย สงบวาจา สงบใจ จะต้องไปกังวลกลัวใคร ติเตียนทำไม ไม่เห็นมีประโยชน์ เปลืองความคิดเปล่า ๆ " ท่านธมฺมวิตกฺโก ได้ชักชวนให้สาธุชนจดจำพระคาถาในหนังสือสันติวรบทความว่า " บุคคลประพฤติสุจริตธรรม ในเวลาใด เวลานั้น ย่อมเป็นฤกษ์ดี มงคลดี แสงสว่างดี การตั้งมั่นดี เป็นขณะดี เป็นยามดี การบูชาที่ดีในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย การกระทำทางกาย วาจา ใจ เป็นประทักษิณ ควรทำให้อยู่เบื้องขวา คือ ควรเชิดชูคุณธรรมที่ควรเชิดชู เป็นอันตั้งไว้แล้ว บุคคลที่ทำการเชิดชูทั้งหลายแล้ว ย่อมได้รับประโยชน์อันควรเชิดชูเช่นกัน "
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#30
|
||||
|
||||
ท่านธมฺมวิตกฺโก ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เมื่อท่านอายุได้ ๗๔ ปี ครองสมณเพศเป็นเวลา ๔๖ ปี นับแต่นี้ต่อไป แม้จะไม่มีสังขารของท่าน ธมฺมวิตกฺโก แต่คุณงามความดีของท่านก็จะยังคงอยู่ตลอดไปไม่เสื่อมสลาย ท่านเคยบอกว่านามฉายาของท่านคือ ธมฺมวิตกฺโก นั้น มีความหมายถึงการระลึกถึงธรรม หรือการตรึกถึงธรรม อันเป็นนามเดิมของท่าน เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านเคยบอกเสมอว่า "ถ้าคิดถึงอาตมาก็ให้คิดถึง ธมฺมวิตกฺโก เพราะ ธมฺมวิตกฺโก คือการระลึกถึงธรรม เมื่อคิดถึงเช่นนี้แล้ว ธมฺมวิตกฺโก ก็จะอยู่ข้าง ๆ เสมอ ไม่จำเป็นจะต้องมาหาอาตมา เพราะเมื่อมาหาก็มาเห็นแต่สังขาร ซึ่งวันหนึ่งก็จะเน่าเปื่อยและเสื่อมสิ้นไป จงระลึกถึงธรรมดีกว่า จะมีคุณค่าต่อชีวิตยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด ศีลและธรรมเป็นหลักของมนุษย์ มนุษย์จะอยู่ได้สงบเยือกเย็นเป็นสุขก็โดยศีลและธรรม หากขาดสิ่งเหล่านี้แล้วมนุษย์ก็จะมีค่าเสมอกันกับสัตว์" จบประวัติเจ้าคุณนรฯ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโก ภิกขุ) แต่เพียงเท่านี้
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
Tags |
เจ้าคุณนร, ธัมมวิตกโก |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|