|
เก็บตกจากบ้านอนุสาวรีย์ เก็บข้อธรรมจากบ้านอนุสาวรีย์มาฝาก สำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสเดินทางไป |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#41
|
||||
|
||||
"มีบางปีที่พระองค์ท่านสั่งกระทรวงเกษตร ให้สอยเมฆทุกก้อนที่ผ่านประเทศลงมาให้ได้ แม้จะคำนวณแล้วว่า ถ้าทำเป็นฝนก็จะไม่ตกในประเทศไทย แต่จะเลยไปพม่า ลาว เขมร
ในหลวงตรัสว่าไม่เป็นไร ให้มีฝนตกลงมาก็แล้วกัน เพราะความชื้นที่พื้นมีอยู่ เดี๋ยวก็ก่อตัวรวมเป็นเมฆใหม่ เราก็สามารถจะเอาลงมาได้อีก เดี๋ยวก็ตกตรงจุดที่เราต้องการเอง ปัจจุบันแม้ว่าสุขภาพพลานามัยขององค์ในหลวงจะไม่แข็งแรง แต่พระองค์ก็ยังคงทรงงานหนักอยู่เป็นปกติ สิ่งหนึ่งที่ไม่ใช่การตำหนิ แต่อยากจะบอกว่า รัฐบาลของเราไม่มีการวางแผนระยะยาวในการแก้ปัญหาอะไรสักเรื่องเดียว รู้ว่าน้ำจะท่วมกลับนั่งรอให้ท่วม ท่วมแล้วค่อยไปแจกของ ตอนนี้รู้ว่าฝนจะแล้ง รู้ว่าน้ำมันจะแพง แต่ไม่มีแผนอะไรรองรับอย่างชัดเจนเลยแม้แต่แผนเดียว ในเมื่อนโยบายที่จะให้เป็นแนวปฏิบัติไม่มี แล้วจะไปกล่าวถึงยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหา ก็ไม่ต้องพูดถึงกันเลย กลายเป็นว่าภาระทั้งหมดตกอยู่ที่องค์ในหลวงเหมือนเดิม คิดแล้วอยากร้องไห้นะ..จะร้องไห้สงสารในหลวง หรือร้องไห้สงสารตัวเองที่เกิดเป็นคนไทยดี ?"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-01-2011 เมื่อ 03:07 |
สมาชิก 191 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#42
|
||||
|
||||
"เด็กรุ่นหลัง ๆ ที่ไม่มีโอกาสเห็นในหลวงของเราทรงงานทั้งวัน ไม่มีโอกาสเห็นว่า พระองค์เสด็จไปช่วยเหลือชาวบ้าน จนแทบจะทุกซอกทุกมุมของประเทศ เขาก็ไม่รู้ว่าทำไมคนรุ่นก่อน ๆ จึงซาบซึ้งเคารพรักในหลวงขนาดนั้น
เราลองคิดดูว่า ปัจจุบันนี้พระองค์ท่านต้องประทับรถเข็น แต่ก็ยังต้องออกทรงงานไม่หยุดไม่หย่อน ประทับอยู่โรงพยาบาลศิริราช แต่งานทุกอย่างทั่วประเทศต้องไปรวมตรงนั้น ทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ ตรัสว่า ในหลวงสอนลูก ๆ ว่า เราสามารถดำรงอยู่ในราชวงศ์ คงฐานะคงความเป็นกษัตริย์เหนือกว่าคนอื่นได้ ก็เพราะประชาชนเขาสนับสนุนเรา เพราะฉะนั้น..มีอะไรที่จะตอบแทนคนที่สนับสนุนเราได้ เราก็ต้องทำให้เต็มสติกำลัง ข้าราชการของเราขาดสำนึกในหน้าที่ ขาดสำนึกคำว่า "ข้าราชการ" ก็คือ เป็นข้าใต้เบื้องพระยุคลบาทของในหลวง แทนที่จะทุ่มเทรับใช้ประชาชนให้สมกับคำว่าข้าราชการ กลับไปเข้าใจผิดคิดว่าตนเองเป็นเจ้านายชาวบ้าน ทั้ง ๆ ที่ตัวเองกินเงินภาษีราษฎร ซึ่งเท่ากับชาวบ้านเป็นเจ้านายจ่ายเงินเดือนให้ ในเมื่อขาดจิตสำนึกตรงนี้ โอกาสที่จะทุ่มเทแก่บ้านเมืองและประชาชนก็เลยมีน้อย ถามว่าข้าราชการดี ๆ มีบ้างหรือไม่ ? มี..แล้วทุ่มเทกับประชาชนหรือไม่ ? ทุ่มเท..แต่คนทั้งหลายเหล่านี้เป็นเพียงส่วนเสี้ยวเดียว เหมือนกับน้ำหยดหนึ่งในทะเลทราย ที่แน่ ๆ ก็คือ แทบไม่มีใครเลยที่จะไปค้นเอาคุณงามความดีเหล่านี้ที่เขาทำ มายกย่องให้เป็นที่รู้กันของคนหมู่มาก กลายเป็นว่า คนที่ทำดีก็ทำไป ทำดีร้อยครั้ง จะมีคนเห็นสักครั้งก็ยาก แต่ถ้าทำชั่วครั้งเดียวโดนด่าจมธรณีไปเลย ดังนั้น..ถ้าไม่ใช่บุคคลที่ทำดีเพราะอยากทำ ทำดีจากกมลสันดานจริง ๆ ก็ไม่สามารถที่จะดำรงอยู่ในวงข้าราชการนี้ได้นาน ไม่นานก็จะโดนกลืน โดนครอบ กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพวกที่ไม่เอาไหน"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 21-04-2012 เมื่อ 19:34 |
สมาชิก 181 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#43
|
||||
|
||||
"อาตมาเองเรียนวิชาทหารมา ตอนที่เราเรียนอยู่ เขาอบรมเรามาขนาดไหน ทันทีที่เข้าไปรับราชการ สิ่งที่เราพบกับสิ่งที่เราเรียนมา เป็นคนละเรื่องเดียวกัน แต่ยังดีที่เป็นวงการทหาร ทหารจะเป็นหน่วยราชการที่เสียหายน้อยที่สุด ยังเป็นที่เชื่อถือของประชาชนอยู่ แต่ปัจจุบันนี้ทหารของเราใกล้การเมืองมากเกินไปแล้ว ใครเข้าใกล้การเมืองแล้ว จะไม่แปดเปื้อน ไม่สกปรกนั้นไม่มี
ในเมื่อเรียนจบมาแล้วไปรับราชการ สิ่งที่พบเห็น ถ้าเราไม่ใช่บุคคลมั่นคงต่ออุดมการณ์ เราไม่ใช่บุคคลที่มีกำลังใจเข้มแข็งจริง ๆ จะไม่สามารถดำรงปณิธานส่วนตัวอยู่ได้ ท้ายสุดก็ต้องละลายตามพวกเขาไป ดังนั้น..ในวงข้าราชการประจำ เขาจะมีคติอยู่ว่า ถ้าเจ้านายใหม่มา ใช้เวลา ๖ เดือนครอบให้เป็นพวกเราให้ได้ ถ้า ๖ เดือนไม่สามารถจะครอบเป็นพวกได้ ก็ต้องงัดให้กระเด็นไปให้ได้ เดี๋ยวนี้เขาเป็นอย่างนี้กันหมดแล้ว ขอโทษเถอะ..ทำไมบ้านเราถึงโกงกินกันได้ทุกวงการขนาดนี้ก็ไม่รู้ ? ถึงขนาดมีผลงานวิจัยของนักศึกษาญี่ปุ่นท่านหนึ่ง เขาฟันธงเลยว่า ประเทศไทยมีแต่ในหลวงเท่านั้นที่ไม่โกง ตายละ...นี่เขาเหมาว่าแม้แต่ข้าง ๆ ในหลวงก็โกงด้วย อะไรจะปานนั้น มีผลวิจัยรองรับจริง ๆ หรือเปล่าก็ไม่รู้ ? เรามานึกดูว่า ปัจจุบันในหลวงปีนี้ ๘๔ พรรษาแล้ว จะอยู่เป็นมิ่งขวัญ เป็นกำลังใจให้ประชาชนได้อีกนานเท่าไร ใครที่ไปปฏิบัติธรรมรุ่น ๓ ที่วัดท่าขนุน ตอนอุทิศส่วนกุศลพวกเราอธิษฐานว่า "ขอให้สถิตย์มั่นอยู่ในไอศูรย์ราชสมบัติ ตราบจิรัฏฐิติกาลสมัย ขอทรงเป็นฉัตรแก้วคุ้มภัย แก่ปวงข้าพเจ้าทั้งหลาย ตราบสิ้นกาลนานเทอญ" ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า จะช่วยให้พระองค์ท่านอยู่ไปได้อีกสักกี่วัน"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-01-2011 เมื่อ 03:17 |
สมาชิก 186 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#44
|
||||
|
||||
"ถ้าหากปุบปับสิ้นในหลวงไป บ้านเราเมืองเราจะวุ่นวายอย่างที่ไม่สามารถจะบรรยายเป็นคำพูดได้ เพราะตอนนี้บุคคลบางกลุ่มก็รอจังหวะว่า ถ้าสิ้นในหลวงเมื่อไร จะเป็นระยะเวลาที่เขาเป็นใหญ่ในประเทศ บุคคลบางกลุ่มก็รอจังหวะว่า ถ้าสิ้นในหลวงขึ้นมา ก็จะได้ทำอะไรตามใจตัวเองเสียที
เรื่องทั้งหลายเหล่านี้เหมือนกับระเบิดที่รอเวลาระเบิด เราลองมานึกถึงในแบบภาษาชาวบ้านว่า ในหลวงเป็นคนแก่ อายุ ๗ รอบ ๘๔ พรรษาแล้ว ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า รอวันตาย ในสภาพการณ์อย่างนี้ ถ้าหากบรรดาข้าราชการต่าง ๆ ยังไม่เป็นผู้นำประชาชนในการทำทุกอย่างเพื่อส่วนรวม ยังคงเห็นแก่ประโยชน์ของตนและพวกพ้องแล้ว ประเทศเราก็จะไปไม่รอด อย่าลืมว่า ตอนนี้รอบบ้านของเราเขาใช้เทคโนโลยี ๓G กันครึกครื้นไปแล้ว เวียดนามก็กำลังลงทุนจะสร้างรถไฟความเร็วสูง แต่บ้านเรา ๓G ยังคลอดไม่ได้ เพราะนักการเมืองยังตกลงผลประโยชน์กันไม่เสร็จ รถไฟฟ้าเหลืออีกสองสถานีจะถึงบ้านวิริยบารมี ก็งอกต่อไม่ได้เสียที รางรถไฟฟ้าไปตั้งนานแล้ว แต่สถานีไม่งอกเสียที เรื่องเหล่านี้เกิดจากการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากเกินไป จนไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมกันเลย แล้วคอยดูเถอะ..พอมีใครพูดเรื่องแบบนี้ขึ้นมา เขาก็จะหาคำแก้ตัวเพราะ ๆ ฟังแล้วน่าเชื่อถือ มากลบเกลื่อนไปจนได้แหละ..!
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-02-2019 เมื่อ 20:11 |
สมาชิก 180 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#45
|
||||
|
||||
"ถ้านึกเทียบบ้านเราย้อนหลังไปแล้วอยากจะร้องไห้ สมัยรัชกาลที่ ๕ เราเจริญกว่าญี่ปุ่น..ญี่ปุ่นต้องมาขอช่างเทคนิคจากประเทศไทยไปช่วยงานที่ประเทศเขา ปัจจุบันนี้เราล้าหลังญี่ปุ่นไปตั้งกี่ปี ไม่ต้องพูดถึงเลย
ที่อาตมาเจอมาด้วยตัวเองก็คือกรมป่าไม้ แต่ไม่ใช่ทั้งกรม แค่เขตเดียว วันที่ ๓๐ กันยายน เขาเหลืองบประมาณถึง ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ยังไม่ได้อนุมัติให้ใช้ หมายความว่า ๓๖๔ วันที่ผ่านมา เงินร้อยบาทใช้ไปแค่ ๓๐ บาท วันที่ ๓๐ กันยายน บุคคลที่มีหน้าที่เซ็นอนุมัติงบประมาณ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ เซ็นจนหัวไม่วางหางไม่เว้น ไม่ต้องดูเลยว่าเขาขออะไรมา ถามเขาว่าที่เหลือทำไมไม่ส่งคืน ? เขาบอกว่า ส่งคืนไม่ได้ ถ้าส่งคืนต่อไปจะขอไม่ได้อีก เงิน ๗๐ เปอร์เซ็นต์เขาผลาญหมดภายในวันเดียว ทำถูกกฎหมายทุกอย่าง ตั้งโต๊ะจีนรอไว้เลย ถึงเวลาเซ็นอนุมัติไปเรื่อย พอเที่ยงคืนตรงก็วางปากกาฉลองโต๊ะจีน ๓๖๔ วันใช้เงินเพียง ๓๐ เปอร์เซ็นต์ แต่วันเดียวอนุมัติงบ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ไปจนหมด ไม่ต้องเสียเวลาคิดเลยว่าจะไปเข้ากระเป๋าใครบ้าง..! จึงมีบางคนที่เขาทำวิจัย เขาระบุว่า ถ้าบ้านเราใช้งบประมาณแผ่นดินได้ถึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เราจะเจริญพอ ๆ กับญี่ปุ่น จึงอยากจะบอกว่า ปัจจุบันนี้ภาระหน้าที่ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว เราทุกคนต้องมีส่วนช่วยกันแบกประเทศชาติของเรา ถ้าไม่รู้ว่าจะทำเพื่อใครแล้ว ก็ให้คิดว่าทำเพื่อในหลวงและตัวเราเอง"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 23-01-2011 เมื่อ 13:25 |
สมาชิก 177 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#46
|
||||
|
||||
"ทำอย่างไรที่เราจะสร้างจิตสำนึกให้คนรู้จักละอายชั่วกลัวบาป รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม หน้าที่ใหญ่นี้ให้เริ่มในครอบครัวของเรา คนเป็นพ่อแม่ ภาษาบาลีเรียกว่า บุรพาจารย์ แปลว่า อาจารย์คนแรก จำเป็นจะต้องสั่งสอนลูกหลานเราเอง เพื่อสร้างจิตสำนึกนี้ให้เกิดขึ้นให้ได้
ลำดับต่อไป ก็คือ ครูบาอาจารย์ ใครเป็นครูบาอาจารย์อยู่กับโรงเรียน คนเขาจะตำหนิว่าเป็นไดโนเสาร์เต่าล้านปีขนาดไหนก็ตาม ขอให้ช่วยกันปากเปียกปากแฉะ จ้ำจี้จ้ำไช ช่วยกันสร้างจิตสำนึกของการเสียสละเพื่อส่วนรวม ให้เกิดขึ้นกับเด็ก ๆ ของเราให้ได้ ลำดับต่อไป พระภิกษุสงฆ์ เด็กจะอยู่ใกล้พ่อแม่กับครูบาอาจารย์ก่อนแล้วจึงใกล้พระ เมื่อถึงวาระนั้น ถ้าหากว่าทุกภาคส่วนทำหน้าที่โดยพร้อมเพรียงกัน เราก็จะสามารถสร้างประชากรที่มีคุณค่าขึ้นมาได้ ท่านอื่นที่ทำงานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือข้าราชการก็ตาม ก็ต้องพยายามที่จะใช้จิตสำนึกตรงส่วนนี้ว่า การเสียสละเพื่อส่วนรวมเป็นอย่างไร ทำอย่างไรที่เราจะไปถึงที่ทำงานก่อนเวลาและเลิกหลังเวลา ไม่ใช่ไปถึงหลังเวลาจนกระทั่งเขาขีดเส้นแดงไว้แล้ว แต่..ให้ "ช่วยเว้นช่องไว้ให้เซ็นด้วยนะ" จะมีอย่างนี้เยอะมาก อาตมาเองสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นอาจารย์คนเดียวที่ไปนั่งรอลูกศิษย์ ยังไม่เคยมีลูกศิษย์คนไหนที่ไปถึงห้องเรียนก่อนอาตมา ทำอย่างไรที่เราจะทำอย่างนี้ให้ได้ อาตมาเองเดินทางไกลที่สุดในบรรดาอาจารย์และลูกศิษย์ทั้งหมด แต่ไปถึงห้องเรียนก่อน ไปนั่งรอก่อนเวลาสอนทุกครั้ง แรก ๆ พวกลูกศิษย์เขาไม่ค่อยจะมาเรียนกัน จนกระทั่งมีอาจารย์อย่างอาตมาทำตัวเป็นตัวอย่าง ท้ายสุดเขาก็มากันเกือบจะเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ทุกครั้ง ถ้าไม่ใช่ป่วยหนักหรือติดธุระการงานสำคัญที่จริง ๆ จะไม่มีใครขาดเรียน เพราะเขาเห็นแล้วว่า อาจารย์อย่างเราเป็นตัวอย่างที่ดี ที่เขาควรจะเอาเป็นแบบอย่างได้"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 23-01-2011 เมื่อ 13:26 |
สมาชิก 171 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#47
|
||||
|
||||
"ตั้งแต่เรียนระดับประกาศนียบัตรเป็นต้นมา มีเพื่อนบางท่านอยู่ในลักษณะสักแต่ว่ามีเปลือกนอกเป็นพระเท่านั้น แต่หลังจากเรียนระดับประกาศนียบัตรจบแล้ว มาต่อปริญญาตรี จนมาต่อปริญญาโท ตอนนี้มีหลายท่านที่พูดอย่างเต็มปากเต็มคำว่า "ผมเป็นอย่างทุกวันนี้ได้เพราะเลียนแบบอย่างพี่เล็กเขา"
เขามักยกตัวอย่างในห้องว่า "ถ้าบรรดาพระเถระทำอย่างพระครูธรรมธรเล็กได้ทุกคน เชื่อมั่นว่าศาสนาของเราจะเจริญและเป็นที่พึ่งให้กับชาวบ้านได้มากกว่านี้" สิ่งที่เราทำนั้นเกิดจากน้ำใสใจจริง ก็คือ เราทำด้วยความเคยชินว่า หลวงพ่อสอนเรามาอย่างนี้ เราก็ทำของเราอย่างนี้ จริงจังในทุกเรื่อง เรื่องใดก็ตามถ้าหากว่าเราทำจริง สิ่งนั้นก็จะประสบความสำเร็จทั้งนั้น ในเมื่อเราทำอย่างนี้มาปีหนึ่งก็แล้ว สองปีก็แล้ว สามปีก็แล้ว ในที่สุดคนที่เขาเห็นและเขาเคยอยากทำมาก่อน แต่ไม่กล้าทำ เพราะกลัวว่าตัวเองจะแปลกแยกจากสังคม เขาก็เริ่มกล้าที่จะทำและคล้อยตามมา ปัจจุบันนี้อาตมาจึงเป็นเจ้าพ่ออยู่ในห้องเรียน บอกซ้ายหันขวาหันอย่างไรเพื่อนก็ตามกันหมด สมัยอยู่วัดท่าซุงก็เหมือนกัน ตอนนั้นมีพระอยู่กับหลวงพ่อ ๔๐ กว่ารูป จะมีพวกที่แบกกฎระเบียบจนหลังแอ่นอยู่ ๔ - ๕ รูปเท่านั้น ซึ่งอาตมาก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น และที่แน่ที่สุด ก็คือ กล้าทุ่มเทรับใช้หลวงพ่อชนิดที่ไม่กลัวโดนไล่ออกจากวัด งานอะไรที่พ่อสั่ง ทำด้วยชีวิต ถ้าทำไม่สำเร็จให้มันตายไปเลย..! เมื่อทำไปทำมา บรรดาพระพี่พระน้องก็เห็นด้วย จาก ๔๐ กว่ารูปที่ว่า ถ้าอาตมาเรียกซ้ายหันขวาหัน ขอยืนยันว่าหันมาเกิน ๓๐ รูป ทำให้อาตมาพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่สามารถที่จะอยู่ในวัดต่อไปได้ "
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 15-02-2016 เมื่อ 17:42 |
สมาชิก 174 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#48
|
||||
|
||||
"แปลกใจไหม...ทำไมถึงอยู่วัดต่อไม่ได้ ? ก็เพราะในเมื่อเขายกคุณขึ้นไปสู่ในจุดที่สูงแล้ว ไม่มีสิ่งใดที่จะต้องให้ไขว่คว้าแข่งขันกับใครแล้ว ถ้าเราปล่อยให้ตัวเองอยู่ในจุดนั้นเมื่อไร จะกลายเป็นน้ำนิ่ง นาน ๆ เข้าก็จะกลายเป็นน้ำเน่า หาความก้าวหน้าไม่ได้
อาตมาจึงได้ทิ้งวัดท่าซุงออกมาข้างนอก มาเริ่มต้นจากศูนย์ใหม่ เพื่อจะได้ฝึกฝนลับตัวเองให้แหลมคมขึ้น ไม่ใช่ทื่ออยู่แค่นั้นเพราะคนอื่นเขายกให้เป็นใหญ่เสียแล้ว ดังนั้น..พวกเราทุกคนควรจะพิจารณาตัวเองด้วยว่า ปัจจุบันนี้เรายินดีกับสภาพปัจจุบันนี้ของเราเอง จนไม่ไขว่คว้าหาความก้าวหน้าใส่ตัวเพิ่มขึ้นหรือเปล่า ? หรือเรายังมีการดิ้นรนแสวงหาความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ต้องเกิดจากจิตสำนึกของตนเองล้วน ๆ ไม่สามารถที่จะบอกกล่าวกันได้ เพราะถ้าไม่เกิดจากจิตสำนึกของตนเองแล้ว ถึงบอกไปก็ไม่มีความรู้สึกที่คิดอยากจะทำ หรืออยากจะปฏิบัติตาม มีใครบ้างที่หน้าที่การงานกำลังรุ่งสุด ๆ แล้วกล้าลาออกมาทำงานใหม่ที่เราไม่คุ้นเคยเลย อาตมาทำอย่างนี้มาเกือบตลอดชีวิต ทำงานอยู่ที่โรงงานไทย-ญี่ปุ่นเมตัลอุตสาหกรรม อยู่ ๗ เดือน จากพนักงานทั่วไปเลื่อนขึ้นเป็นหัวหน้าแผนก อาตมาก็ลาออกมาหางานใหม่ทำ เพราะถ้าใหญ่กว่านั้นก็จะกลายเป็นผู้จัดการโรงงานไปแล้ว จะไม่เหลืออะไรไว้ท้าทายเราอีกแล้ว พอไปเรียนวิชาทหาร ก็ก้าวหน้าจนได้สองขั้นทุกปี จนกระทั่งผู้บังคับบัญชาต้องกางระเบียบการ บอกว่าเขาให้เลื่อนสองขั้นได้แค่สามปีติดกัน แล้วต้องเว้น หมายความว่าปีที่สี่เราต้องเว้น ปีที่ห้าจึงจะได้สองขั้นต่อไป จนเพื่อนฝูงตามไม่ทัน ก็ลาออกมาบวชเอาดื้อ ๆ "
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-01-2011 เมื่อ 13:05 |
สมาชิก 177 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#49
|
||||
|
||||
"ถ้าเราไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง กล้าทำสิ่งใหม่ ๆ เราจะสามารถไขว่คว้าความก้าวหน้าใส่ตัวได้เสมอ แต่ถ้าเรากลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่รู้จักพิจารณาตนเองว่า ปัจจุบันนี้เราทำอะไร มีเป้าหมายชีวิตอย่างไร ไม่มีการดิ้นรนไขว่คว้าเพิ่มเติม เราจะกลายเป็นน้ำเน่า ท้ายสุดก็ใช้การอะไรไม่ได้ ดีไม่ดีก็จมอยู่กับสิ่งที่ไม่ดี กลายเป็นเกิดมาเสียชาติเกิด ขาดทุนไปเปล่า ๆ
เรื่องเหล่านี้ที่จำเป็นต้องยกตัวเองมากล่าว เพราะเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด หลายต่อหลายคนบอกว่าทิ้งวัดท่าซุงมาได้อย่างไร ก็บอกเขาไปว่า "ถ้ายังอยู่ที่นั่น จะหาความก้าวหน้าต่อไปไม่ได้" พอออกมาข้างนอกช่วยเขาสร้างวัดอยู่หลายวัด สร้างเสร็จเราก็ไปต่อ สร้างเสร็จเราก็ไปต่อ จนกระทั่งโยมจำนวนหนึ่งถึงขนาดออกปากว่า "สร้างแล้วไม่อยู่ จะสร้างไปทำไม ?" จึงบอกกับโยมว่า "อาตมามีหน้าที่สร้าง ไม่ได้มีหน้าที่อยู่" เขาบอกว่า "อุตส่าห์ทำจนดีขนาดนั้นแล้วทิ้งไปได้อย่างไร ?" อาตมายืนยันอย่างเต็มปากเต็มคำว่า ถ้าเกี่ยวกับวัดวาอาราม ในความรู้สึกของอาตมาแล้ว วัดท่าซุงเป็นสถานที่ที่ดีที่สุด ถ้าสถานที่ที่ดีที่สุด อาตมายังทิ้งมาได้ สถานที่ที่จะทิ้งไม่ได้นั้นก็ไม่มีอีกแล้ว ดังนั้น..สิ่งที่อยากจะเตือนพวกเราก็คือว่า ปัจจุบันเราถือว่าเป็นนักปฏิบัติ มีอะไรที่เรายึดมั่นแล้วทิ้งไม่ได้บ้างหรือไม่ ? คนที่เรารัก ของที่เรารัก หน้าที่การงาน ทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ฐานะ เกียรติยศ ชื่อเสียงในสังคม สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ถ้าอยู่ ๆ หลุดพ้นจากมือเราไป เราจะอยู่ได้หรือไม่ ? หรือให้เราละทิ้งไปเอง เราจะทำได้หรือไม่ ? ตรองให้ดี ๆ บุคคลที่หวังการหลุดพ้น จะต้องไม่มีอะไรที่มาร้อยรัดเราให้ติดอยู่กับวัฏสงสารได้ เดือนนี้เป็นเดือนมกราคม ถือว่าเป็นปีใหม่ ก็เลยให้ของขวัญปีใหม่ที่ค่อนข้างจะหนักอยู่สักหน่อย"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-01-2011 เมื่อ 13:08 |
สมาชิก 171 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#50
|
||||
|
||||
ถาม : การที่เราอยู่กับตัวเองที่เป็นการอยู่ในอรูปฌาน กับการที่เรากระทบกับกิเลส แล้วเราก็มุดเข้าอรูปฌาน เป็นการติดในอรูปฌานไหมคะ ?
ตอบ : เป็นการรู้จักใช้งานในอรูปฌานมากกว่า ไม่อย่างนั้นฝึกมาก็จะเสียเวลาเปล่า เพียงแต่ว่า การใช้งานนั้น เราจะต้องมีสติระลึกรู้อยู่เสมอว่า สิ่งนี้ไม่ใช่ที่พึ่งที่แท้จริงของเรา เพียงช่วยในการสกัดกั้นกระแสกิเลสให้กับเราชั่วคราวเท่านั้น และท้ายสุดเราจะต้องเอากำลังของรูปฌานหรืออรูปฌานนี้ เป็นบันไดก้าวล่วงไปสู่ในสิ่งที่ดีกว่า ก็คือพระนิพพาน แรก ๆ เราก็ใช้หนีกิเลสก่อน เพราะรู้ว่าสู้ไม่ได้ จึงต้องอาศัยใส่เกราะไว้ ก็คือ ใช้รูปฌานและอรูปฌานนี่แหละ เป็นเกราะในการป้องกันตัวเอง หลังจากที่มีความชำนาญมากขึ้น เราสามารถที่จะพลิกแพลงใช้ได้ตามใจปรารถนาแล้ว เราก็สามารถที่จะเอากำลังตรงนี้ มาใช้ในการพิจารณาตัดกิเลส เพื่อการล่วงพ้นอย่างแท้จริง ถาม : ต้องรอเวลาที่เหมาะสม จึงจะพลิกจากดีเป็น..? ตอบ : ใช่..แต่ถ้าเราขาดสติเมื่อไร ก็จะกลายเป็นยึดติดแล้วกลายเป็นรูปราคะ อรูปราคะ ในสังโยชน์ไปทันที ถาม : แต่ถ้าเรามัวเพลินกับการมุดอยู่แต่ในนั้น ตอบ : โผล่ออกมาเสียบ้าง โดนกิเลสตีให้หัวร้างคางแตก รักษาแผลบ่อย ๆ เดี๋ยวก็จะชำนาญไปเอง ถาม : แต่การปฏิบัติก็ต้องรอให้ทาน ศีล ภาวนา เกิดกำลังพอจึงจะมีกำลังในการตัดกิเลส การที่เราจมอยู่ในอรูปฌานก็คือการสั่งสมกำลังของเราไม่ใช่หรือคะ ? ตอบ : จะเรียกว่าเป็นการสั่งสมกำลังก็ใช่ แต่ขณะเดียวกัน เราอาจจะเพลิดเพลินจนติดอยู่กับฌานนั้นเลยก็ได้ ถาม : มีข้อเสียอะไรบ้างคะ ? ตอบ : ถ้าเพลิดเพลินกับฌานก็จะติดอยู่แค่นั้น ไปต่อไม่ได้ แล้วเราก็ไม่รู้ว่า จะต้องเกิดมาทุกข์เพราะการติดอยู่ตรงนี้อีกนานเท่าไร
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 24-01-2011 เมื่อ 21:46 |
สมาชิก 149 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#51
|
||||
|
||||
ถาม : แต่ก็เป็นการสั่งสมกำลังไปเรื่อย ๆ เหมือนกัน
ตอบ : ไม่เถียงเลยว่าเป็นการสั่งสมกำลัง แต่เราอาจจะสั่งสมเพลินเสียจนลืมเอามาใช้ เงินกองท่วมบ้านแต่ไม่ได้ใช้เงินเสียที แก่ตายกันพอดี..! ถาม : แล้วการที่เราคอยระมัดระวังไม่ให้กิเลส ตัณหา ราคะเข้ามาเกาะกินใจเรา เป็นการทรงฌานไม่ใช่หรือคะ ? ตอบ : ใช่..พอทำไปจนชินก็จะเป็นฌานไปเอง ถาม : ก็อยู่ในกรอบของเราสิคะ ? ตอบ : ถึงจะอยู่ในกรอบ แต่ สติ สมาธิ ปัญญา ของเราต้องสมบูรณ์พร้อมถึงจะใช้ได้ ของเรายังอยู่ในระดับที่ต้องระมัดระวังจนตัวลีบ ทำอย่างไรที่จะเป็นไปโดยธรรมชาติที่เราไม่ต้องตั้งท่าให้เหนื่อย ถ้าถึงระดับนั้นแล้วจึงจะพอเอาตัวรอดได้ ถาม : การที่เราเปิดใจให้กว้าง ไม่ได้อยู่ในรูปฌานหรืออรูปฌาน ทำให้ไม่มีตัวกั้น ก็หมิ่นเหม่ต่อการแพ้กิเลสมากเลยค่ะ ตอบ : ก็ใครว่าไม่หมิ่นเหม่เล่า ? อย่างน้อย ๆ เราต้องมีศีลห้าเป็นกรอบ ไม่อย่างนั้นถ้าเราเปิดกว้างไปเรื่อย เดี๋ยวกลายเป็นรับเอาส่วนที่ไม่ดีเข้ามาแทน เรารับได้ แต่ถ้าเราเผลอคล้อยตามเมื่อไรก็จะชั่วไปเลย ถาม : จิตใจที่เปิดกว้าง จะทำให้รับสัมผัสกับสิ่งที่ละเอียดได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ไหมคะ ? ตอบ : ได้ แต่อย่าลืมว่าสิ่งเหล่านั้นมีทั้งดีทั้งชั่ว ถ้าหากขาดสติปัญญา มีการไตร่ตรองไม่เพียงพอ อย่างที่เมื่อเช้ายกเรื่องมิจฉาทิฏฐิกับสัมมาทิฏฐิ เราจะเห็นว่าแค่นิดเดียว จากเทพจะเป็นอสูรไปทันทีเลย เพราะฉะนั้น..อย่าไปเปิดกว้างส่งเดช ต้องเปิดกว้างด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งยวด ถาม : แต่ก็เป็นสุขมากเลยนะคะ ตอบ : เป็นปกติของผู้ทรงฌานที่จะเป็นสุข แต่เป็นสุขก็เป็นสุขไป ติดสุขเมื่อไรก็ติดอยู่แค่นั้นเอง ต้องสักแต่รับรู้ว่าตอนนี้เป็นอย่างไร อันนี้เป็นเวทนาในเวทนา รู้สุข รู้ทุกข์ รู้ว่าไม่สุขไม่ทุกข์ เราเป็นคนดูสักแต่ว่ารู้เฉย ๆ อย่าลงไปเป็นคนเล่นด้วยการมีอารมณ์ร่วมตามไปด้วย ไม่อย่างนั้นเราจะพลาด ให้กิเลสเขาหลอกต้มเปื่อยไปอีกหลายชาติ บนเส้นทางวัฏสงสารที่ยาวนานไม่เห็นต้นไม่เห็นปลายนี้ เราโดนมารหลอกมาจนนับครั้งและนับชาติไม่ถ้วน พลาดแล้วพลาดอีก เพราะฉะนั้น..ในเมื่อตอนนี้เรารู้อยู่ว่า เราหมิ่นเหม่ เหมือนกำลังเดินอยู่บนเส้นลวดข้ามขอบเหวอย่างไร เรายิ่งต้องระมัดระวังให้มากขึ้น เพราะว่าถ้าพลาดไปที โอกาสที่เราจะแก้ตัวใหม่ก็อีกนานเหลือเกิน
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-02-2019 เมื่อ 20:13 |
สมาชิก 147 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#52
|
||||
|
||||
ถาม : แต่ในการรับรู้ความละเอียดอ่อนของใครบางคน บางอย่างที่ซึ้ง ทำให้เรารู้สึกซึ้งตามไปด้วย
ตอบ : เรากำลังยินดียินร้ายตามเขาไป..ใช่ไหม ? ถาม : เป็นการว่า รู้ความทุกข์ของเขาอยู่ในระดับไหน ตอบ : แล้วอย่างไร ? ถ้าเรายินดียินร้ายตามเขาเมื่อไรก็เสร็จเมื่อนั้น ต้องสักแต่ว่ารับรู้ สิ่งไหนสามารถสงเคราะห์ช่วยเหลือ สามารถแก้ไขได้ก็แก้ไขไปตามสภาพ พ้นจากนั้นไปแล้วก็แล้วกันไป ถาม : แล้วเราต้องทนรับรู้ ตอบ : ขั้นแรก ๆ เราต้องทนรับรู้ เพราะเราไปแบกแทนเขาเสียเต็ม ๆ แต่ถ้าเราสามารถสักแต่ว่ารับรู้ได้ ก็จะรับรู้แล้วปล่อยวาง รับรู้แล้วปล่อยวาง จะไม่มีส่วนใดที่มากระทบกระทั่งเราได้เลย ถาม : ถ้าเรารับรู้ความทุกข์ของเขาแล้วสงสาร อย่างนี้กระทบกระทั่งไหมคะ ? ตอบ : ยิ่งติดหนักเข้าไปอีก เพราะถึงเวลานั้นเราต้องตะเกียกตะกายไปช่วยเขาสุดชีวิต นั่นไม่ใช่สักแต่ว่ารับรู้และทำหน้าที่เฉพาะหน้าแล้ว แต่เป็นการไปยุ่งเกี่ยวกฎแห่งกรรมของคนอื่นเขาแล้ว ถาม : แบบนี้เราต้องไม่แตะเลย ? ตอบ : ไม่ใช่ไม่แตะ..บอกแล้วว่าสงเคราะห์ไปตามสภาพการณ์เฉพาะหน้า พ้นจากนั้นไปแล้วก็แล้วกัน ถาม : แบบนี้ทำอย่างไรเราจะถอยออกมาเร็วได้ทัน ? ตอบ : ใส่ สติ สมาธิ ปัญญา ลงไปเยอะ ๆ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-01-2011 เมื่อ 15:16 |
สมาชิก 147 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#53
|
||||
|
||||
ถาม : สักแต่ว่ารับรู้ แล้วจะ..(ไม่ได้ยิน)
ตอบ : ยังต้องทำต่อไปอีกจ้ะ ต้องสักแต่ว่ารับรู้ได้ทุกเรื่อง สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าได้ยิน สักแต่ว่าได้กลิ่น สักแต่ว่าได้รส สักแต่ว่าสัมผัส ทำอย่างไรที่ใจเราจะไม่ไปนึกคิดปรุงแต่งเพิ่มเติม ทำให้เกิดทุกข์เกิดโทษขึ้นมา ถ้าอย่างนั้นทุกอย่างจะเป็นธรรมดา เป็นไปตามสภาพของธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แต่ถ้าเราไปเผลอปรุงแต่งขึ้นมาเมื่อไร ก็จะเกิดทุกข์เกิดโทษทันที และตัวเราเองนั้นแหละ ที่จะไปติดอยู่ในวังวนแล้วแกะตัวเองไม่ออก แต่ไม่เป็นไร อย่างน้อย ๆ ตอนนี้เราคลำทางได้นิด ๆ จับได้เต็ม ๆ มือเมื่อไรก็อย่าปล่อยแล้วกัน ถาม : สักแต่ว่ารับรู้ได้บางเวลา ตอบ : ต้องให้ได้อย่างนั้นก่อน แล้วเราจำอารมณ์นั้นเอาไว้ พอจำอารมณ์นั้นเอาไว้ ถึงเวลาเราก็พยายามเข้าถึงอารมณ์นั้นให้ได้อีก แล้วจะทำได้มากขึ้น นานขึ้นเรื่อย ๆ นักปฏิบัติจึงต้องมีการฝึกซ้อมบ่อย ๆ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-01-2011 เมื่อ 15:19 |
สมาชิก 141 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#54
|
||||
|
||||
ถาม : อย่างการที่เรารับรู้ แล้วไปหยุดนิ่งเหมือนเราใช้ฌานกดเพื่อให้หยุด นั่นยังไม่ใช่สติใช่ไหมคะ ?
ตอบ : ยังไม่ใช่สติที่แท้จริง ยังเป็นการใช้ฌานเป็นกำลังในการสะกัดกั้นอยู่ ยังไม่ใช่ปัญญาในการปล่อยวาง ถ้าเป็นปัญญาปล่อยวาง เราก็ไม่ต้องออกแรงแล้ว อย่าลืมว่า สติ สมาธิ ปัญญา ต้องทำงานพร้อม ๆ กัน การปฏิบัติธรรมถึงจะเจริญ ถาม : ยังรู้สึกหนัก ๆ อยู่ ตอบ : ต้องมีปัญญาปล่อยวาง กิเลสก็เหมือนกับภูเขาถล่มลงมาตรงหน้า อย่าดันทะลึ่งเดินเข้าไปรับเอาไว้ แค่ยืนมองเท่านั้น อยากถล่มก็ถล่มลงมา ไม่ได้เกี่ยวกับเราเลย แต่ปัจจุบันของเรายังต้องใช้กำลังไปดันไปต้านเอาไว้ ไม่อย่างนั้นก็โดนทับตาย ไม่เป็นไร..พยายามยุ่งกับกรรมคนอื่นเขาให้เยอะไว้ แล้วทุกอย่างจะดีขึ้น เพราะจะได้เห็นทุกข์อย่างชัดเจน..! ถาม : การที่เราเห็นเขาทำบุญ เราก็ทราบว่าการทำบุญเกิดจากจิตที่เจตนาดี เราก็โมทนากับเขา ทำให้เราชุ่มชื่นใจไปด้วยกับการโมทนา อันนี้เข้ากับพรหมวิหาร ๔ หรือเปล่า ? ตอบ : เป็นมุทิตาในพรหมวิหารสี่ แต่ก็ยังติดในส่วนที่ดีอยู่ แต่ให้ติดดีไว้ก่อน เพราะเราจะต้องสั่งสมดีจนถึงที่สุด จึงจะพ้นดีได้ เราจมอยู่ในบ่อ ก็ต้องค่อย ๆ ถมบ่อให้สูงขึ้น จนในที่สุดเราก็ปีนพ้นปากบ่อขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้น..เรื่องของการที่เราติดดีเหมือนกัน ก็คือการที่เราสั่งสมความดีมากขึ้น ๆ ในที่สุดเราก็ก้าวพ้นความดีไปได้ เหตุที่เราต้องสั่งสมความดีละความชั่ว เพราะว่าความชั่วมีแต่จะนำทุกข์นำโทษให้เราอยู่ตลอดเวลา เราก็ต้องละชั่วทำดี ละชั่วทำดีไปเรื่อย จนกระทั่งท้ายสุดหลุมก็ตื้นขึ้น พอที่จะให้เราก้าวพ้นไปได้ก็จบ ไม่อย่างนั้นเราก็ยังจมอยู่ในหลุมตลอดเวลา ถาม : อย่างนั้นพรหมวิหาร ๔ เราก็ต้องทำให้ถึงอุเบกขาทุกครั้งเลยหรือคะ ? ตอบ : ถ้าไม่ทำให้ถึง แล้วจะมีอุเบกขาไว้ทำอะไรเล่า..! ถาม : เราโมทนาแล้วเราจะไปอุเบกขาอย่างไรคะ ? ตอบ : โมทนาไปแบบฉันยินดีด้วยนะ ถ้ามีโอกาสฉันก็จะทำ แต่ถ้าไม่มีโอกาส เธอทำไปเถอะ ฉันจะคอยโมทนาอีก..! ไม่ต้องดิ้นรนที่จะไปทำเองให้ได้ ถ้ามีโอกาสเราก็ทำ ทำด้วยความไม่ประมาท ทำด้วยความที่โลกสรรเสริญว่าสิ่งนี้ดีเราจึงทำ งดเว้นการกระทำที่โลกเห็นว่าสิ่งนั้นไม่ดี ก็เท่านี้แหละ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-02-2019 เมื่อ 20:14 |
สมาชิก 145 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#55
|
||||
|
||||
ถาม : บางทีเราก็เสียสละทำเพื่อส่วนรวม แต่คนรอบข้างเขาไม่เห็นบุญคุณเรา และเขาก็ว่าเราเสีย ๆ หาย ๆ ?
ตอบ : ทำไมคุณจะต้องไปสนใจด้วย..! ก็บอกแล้วว่า ให้ทำดีเพราะอยากทำ ไม่ใช่ทำดีเพราะอยากดี คนอื่นจะว่าอะไรก็ช่างเขา เราก็ทำของเราไป
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-01-2011 เมื่อ 15:28 |
สมาชิก 148 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#56
|
||||
|
||||
พระอาจารย์กล่าวว่า "ปีที่ผ่านทางวัดท่าขนุนมามีรายรับ ๑๘ ล้านบาทเศษ จ่ายไป ๒๑ ล้านบาทเศษ ติดลบเกือบสี่ล้าน..! เป็นหนี้เฉพาะที่วัดที่เดียว ถ้าที่บ้านวิริยบารมีรายรับแทบจะไม่มี มีแต่รายจ่าย ๓๐,๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมค่าที่ดิน ๒๔๐ ตารางวาด้วย
เหตุที่ราคาแพงมาก เพราะถ้าสถานีรถไฟฟ้าไปถึง จะลงปากซอยบ้านวิริยบารมีพอดี ที่ดินก็เลยค่อนข้างจะแพงมาก แต่ค่าก่อสร้างตอนแรกเขาตีเอาไว้ที่ ๑๖ ล้านบาท พอมาตอนหลังวัสดุขึ้นราคา ช่วงที่ไปเลือกวัสดุเกี่ยวกับระบบเสียงและไฟฟ้าต่าง ๆ เขาขอเพิ่มราคาขึ้นมา กลายเป็นว่าราคา ณ ปัจจุบันนี้ ๓๐,๕๐๐,๐๐๐ บาท เอาไว้มีโอกาสจะออกวัตถุมงคลสักชุดหนึ่ง ให้พวกเราเป็นเจ้าภาพสร้าง ทำบ้านให้เสร็จก่อน ทำเสร็จแล้วพวกเราค่อยออกเงินช่วยกันสร้าง จะได้เห็นชัด ๆ ว่านี่บ้านเรา"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-01-2011 เมื่อ 15:30 |
สมาชิก 164 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#57
|
||||
|
||||
"ตอนแรกพระท่านสั่งให้สร้างพระชัยวัฒน์รุ่นหนึ่ง เอาเข้าพิธีเสาร์ห้าไปเรียบร้อยแล้ว ท่านบอกว่า เตรียมไว้สำหรับงานฉลอง อาตมาก็สงสัยว่างานฉลองอะไร นึกไปนึกมา ตัวเราเองจะสอบพระอุปัชฌาย์ปีนี้ น่าจะเป็นการฉลองพระอุปัชฌาย์ ปรากฏว่าไม่ใช่ กลายเป็นงานฉลองบ้านวิริยบารมี
เมื่อคืนมีโทรศัพท์เข้ามา ๗ - ๘ สาย ตอนเช้าเปิดดูกลายเป็น ทางอำเภอ ทางจังหวัด และทางเลขานุการเจ้าคณะภาค ๑๔ แจ้งว่าอาตมาไม่ต้องไปสอบพระอุปัชฌาย์แล้ว เพราะเขาพิจารณาขั้นสุดท้ายเมื่อคืนนี้แล้วไม่ให้ผ่าน เราอุตส่าห์สอบมาสองชั้นแล้ว ทำไมชั้น ๓ - ๔ ไม่ให้ผ่าน เขาบอกว่า ผลงานของพระอุปัชฌาย์ที่เป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมนั้น ต้องทำอยู่ในวัดของตน แต่เราดันมาสอนที่นี่ (ที่บ้านอนุสาวรีย์) มากกว่า จึงไม่ถูกต้องตามกติกาของเขา ไม่เป็นไร..เดี๋ยววันไหนได้เป็นเจ้าคณะตำบล ก็ต้องเป็นพระอุปัชฌาย์อยู่ดี ไม่เห็นมีอะไรต้องตื่นเต้นเลย คนที่หงุดหงิดที่สุด คือ เลขานุการเจ้าคณะภาค ๑๔ ท่านเจ้าคุณไพบูลย์ (พระราชปริยัติโมลี) เป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนปริญญาโทอยู่ด้วยกัน ท่านว่า "ไอ้ห่...กติกาอย่างนี้ก็มีด้วย..!" ส่วนท่านเจ้าคุณปัญญา (พระราชวิสุทธิเมธี) รองเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรีท่านบอกว่า "ผมได้ความรู้ใหม่เลยว่า ผลงานต้องทำเฉพาะในวัดของตัวเองเท่านั้น แล้วจะไปเผยแผ่พระศาสนาให้กว้างขวางได้อย่างไร ?" ไปที่อื่นเขาไม่นับเป็นผลงาน ก็แปลกดี.. นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า พระพุทธเจ้าของเราเป็นสุดยอดอัจฉริยมนุษย์ พระองค์ท่านบอกว่าทุกอย่างไม่เที่ยง ก็ไม่มีอะไรเที่ยงจริง ๆ ใดใดในโลกล้วนอนิจจัง กินข้าวในกะละมังยังหกได้..!"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-01-2011 เมื่อ 15:39 |
สมาชิก 162 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#58
|
||||
|
||||
"แต่ก็ดีตรงที่ว่า เราได้วัดกำลังใจของตัวเองว่า ยังหวั่นไหวอยู่หรือเปล่า ? เรื่องของโลกธรรมแปดนั้น พาให้ทั้งหวั่นทั้งไหวเลย ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ต่อให้คุณหนักแน่นขนาดไหนก็ตาม ถ้ากำลังใจไม่ทรงตัวจริง ๆ ก็จะไหว ไหลตามเขาไปจนได้ ส่วนการเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ คนจะหวั่นอยู่ตลอดเวลา ว่าจะมาถึงตัวเมื่อไร เพราะฉะนั้น..จึงทั้งหวั่นทั้งไหวเลย
ฉะนั้น..บุคคลที่ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม จึงเป็นบุคคลที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญมาก ตอนท้ายของมงคลสูตร พระองค์ท่านตรัสว่า ผุฎฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ จิตที่กระทบกับโลกธรรมแล้วไม่หวั่นไหว เอตัมมังคะละมุตตะมัง จัดเป็นสุดยอดของอุดมมงคล ประโยคนี้อาตมาเขียนติดสมุดบันทึกตัวเองมาหลายปีเลย สมัยก่อนเป็นคนที่ชอบเขียนบันทึกมาก ติดนิสัยเขียนบันทึกประจำทุกวันเพื่อเป็นการตรวจสอบตัวเองว่า เรามีอะไรก้าวหน้าหรือถอยหลังในการปฏิบัติบ้าง ถ้าเราไม่บันทึกเอาไว้ เราจะไม่รู้ถึงความก้าวหน้าของตัวเอง หรือถึงจะรู้แต่ก็ไม่ละเอียด ในเมื่อบันทึกเอาไว้ ก็จะต้องมีคำพูดที่คอยสะกิดเตือนใจตัวเองเอาไว้ สมุดเล่มแรก ๆ จะเขียนเอาไว้ว่า "จงอย่าเอาตัวเองเป็นบรรทัดฐานไปวัดคนอื่น" คือคนเรากำลังใจไม่เท่ากันหรอก ดีก็ไม่เท่ากัน ชั่วก็ไม่เท่ากัน เราจะเอาตัวเราเองเป็นบรรทัดฐานไปวัดคนอื่นเขาไม่ได้ พอถัด ๆ มาก็กลายเป็น "จงอย่าให้กาย วาจา ใจ ของเราเป็นทุกข์เป็นโทษแก่คนอื่นเขาเลย" การที่เราจะคิด เราจะพูด เราจะทำ อย่างไร อย่าให้เกิดโทษและเดือดร้อนแก่คนอื่นเขา แล้วถึงมาเป็นบาลีที่ว่า "ผุฎฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ แปลว่า จิตที่กระทบโลกธรรมแล้วไม่หวั่นไหว" ตอนนั้นเขียนพาดหน้าสมุดบันทึกเอาไว้ว่า นี่แหละเป้าหมายที่เราต้องไปให้ถึง ทำอย่างไรจะให้จิตกระทบกับโลกธรรมแล้วไม่หวั่นไหว พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เอตัมมังคะละมุตตัมมัง สุดยอดของความเป็นมงคล"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 23-01-2011 เมื่อ 17:58 |
สมาชิก 147 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#59
|
||||
|
||||
ถาม : ไม่หวั่นไหว คือ เราไม่สะดุดกับโลกธรรมเลยใช่ไหมคะ ?
ตอบ : ไม่สะดุ้งสะเทือน ไม่ยินดีไม่ยินร้ายด้วย สามารถวางอารมณ์ใจให้เป็นกลางได้ ได้มาก็รับเอาไว้ ไม่ได้มาก็ไม่ไปดิ้นรนไขว่คว้า เสียไปก็ไม่สะดุ้งหวั่นไหว
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-01-2011 เมื่อ 15:44 |
สมาชิก 145 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#60
|
||||
|
||||
ถาม : ตอนนี้ผมก็ปฏิบัติธรรมมาได้พอสมควรแล้ว จิตก็เริ่มขี้เกียจ เราจะกำราบกิเลสอย่างไรดี ?
ตอบ : แสดงว่าจวนจะแย่แล้ว ต้องไปฝึกมรณานุสติ ให้รู้สึกอยู่เสมอว่า ความตายอยู่กับเราทุกลมหายใจเข้าออก ถ้าตายตอนนี้กำลังใจเรายังไม่ดี เราต้องลงอบายภูมิแน่นอน เพราะฉะนั้น..ถ้าอยากลงอบายภูมิ ก็จงขี้เกียจต่อไป บอกกับตัวเองให้ชัด ๆ อย่างนี้ไปเลย เอามรณานุสติเป็นเกณฑ์ ทำตัวเป็นคนมีวันนี้เป็นวันสุดท้าย ถ้าวันสุดท้ายไม่ทุ่มเท ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะรอดหรือไม่ ถาม : ถ้าขี้เกียจในมรณานุสติ ? ตอบ : ถ้าขี้เกียจในมรณานุสติก็ต้องขี้เกียจหายใจด้วย..! วันก่อนมีโยมบอกว่า เบื่อแล้วอยากฆ่าตัวตาย อาตมาบอกว่า ถ้าอย่างนั้นให้ฆ่าตัวตายตามแบบพระพุทธเจ้า ก็คือ ฝึกฌานสี่ละเอียดให้ได้ เข้าฌานสี่ไปแล้ว พอคลายออกมาแล้วอย่าหายใจ ก็จะตายเอง แล้วตายแบบนั้นเราเลือกได้ด้วยว่าเราจะไปไหน ฉะนั้น..วิธีฆ่าตัวตายแบบพระพุทธเจ้าสุดยอดมากเลย สมควรที่ทุกคนจะเลียนแบบ ก็คือ ถ้าหายใจจะมีชีวิตอยู่ต่อ แต่ถ้าเราคลายจากฌานสี่ออกมาแล้วไม่หายใจ ก็จะไปเลย อย่างที่หลวงพ่อฤๅษีบอกว่า บุคคลที่คล่องในอานาปานสติ สามารถที่จะกำหนดเวลาตายของตัวเองได้
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-01-2011 เมื่อ 15:54 |
สมาชิก 153 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|