#41
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
สันตติของอารมณ์ ในขณะจิตหนึ่ง ๆ นั้นเป็นอย่างไร (๒) จุดนี้คือ พยายามแยกสันตติ คือ เห็นสันตติของอารมณ์ในขณะจิตหนึ่ง ๆ จักต้องใจเย็น ๆ จึงจักเห็น แต่ถ้าใจร้อนก็จักไม่เห็น สันตติของจิตนั้นเกิดขึ้นดับไปอย่างรวดเร็ว จนบุคคลที่ไม่เคยฝึกจิตจักกำหนดรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เลย เหตุการณ์เหล่านั้นเกิด ๆ ดับ ๆ อยู่ในอารมณ์ของจิตกี่ครั้งกี่หนบุคคลผู้นั้นก็ยังไม่รู้ ยังคงทำจิตให้จมปลักอยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ จัดว่าเป็นผู้โง่เขลาอย่างแท้จริง พวกเจ้าทั้งหลายเข้ามาถึงธรรมในธรรม จิตในจิตแล้ว ตถาคตจึงตรัสแสดงธรรมให้พวกเจ้าได้รู้ว่า พึงกำหนดรู้อารมณ์ของจิตในขณะหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นธรรมปัจจุบันที่พึงจำแนกกิเลสให้หลุดพ้นไปจากจิตได้ จุดนี้เป็นการปฏิบัติอันละเอียดอย่างยิ่ง พึงจักกระทำให้ได้ เพื่อความพ้นทุกข์ ในสภาวะธรรมที่ครอบงำจิตนั้น ๆ แยกสันตติทางอารมณ์ให้ออก จิตจักเสวยทุกขเวทนา ก็ตัดสันตตินั้นให้ขาดด้วยกรรมฐานแก้จริตนั้น ๆ จิตจักเสวยสุขเวทนาในทางด้านโลกียวิสัย ก็ตัดสันตตินั้นให้ขาดด้วยกรรมฐานแก้จริตเช่นกัน จิตจักเสวยธรรมวิมุติ ก็พึงกำหนดรู้ หาเหตุเพิ่มกำลังให้กับจิต อันเป็นการส่งเสริมความดีในมรรคปฏิปทาปฏิบัติ จนได้ผลเข้าถึงธรรมนั้น ๆ ได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ถึงจุดนี้ พยายามตัดความสนใจในจริยาของคนอื่นให้มาก ๆ งานฝึกฝนการรู้จิตนั้น จักต้องทำให้ได้ตลอดเวลา จึงไม่สมควรให้จิตเสียเวลา เพราะเรื่องของคนอื่นให้มากนัก ยกเว้นการเกี่ยวเนื่องด้วยเหตุที่จำเป็นอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากหนังสือ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๖ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#42
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
พระใบลานเปล่า กับสันตติภายนอกและสันตติภายใน(๑) เรื่องท่านพระใบลานเปล่า ท่านละมานะกิเลสได้ก่อนจึงจะบรรลุมรรคผล เพราะมานะกิเลสคือตัวยึดมั่นถือมั่น คิดหลงผิดว่าตนเองดีแล้ว รอบรู้พระไตรปิฎก อารมณ์นี้คือสักกายทิฏฐิ คิดทะนงตนว่ารู้มาก จึงเสมือนหนึ่งจิตที่ลืมตัวลืมตน คิดว่าตนเองดีแล้ว จุดนี้แหละที่บดบังความดีให้สูญหาย เป็นเหตุให้บรรลุมรรคผลมิได้ บุคคลผู้ติดในสัญญา คือ ความจำอันเป็นปัญญาทางโลก มีความประมาทหลงคิดว่ามีปัญญาเป็นเลิศ สัญญาจึงบดบังปัญญา แต่เมื่อสมเด็จองค์ปัจจุบันทรงสะกิดให้ท่านทราบว่า ความดีของท่านนั้นเป็นเพียงแค่สัญญา ความจำในพระไตรปิฎก หาใช่ความดีอันเป็นปัญญาในธรรมวิสัยไม่ อาศัยท่านมีสัมมาทิฏฐิอยู่บ้าง กล่าวคือไม่ดัดแปลงพระไตรปิฎก จึงฉุกคิดถึงข้อเสียแห่งตนได้ เมื่อจิตมุ่งดีตั้งใจหาผู้ช่วยชี้แนะให้ทำลายกิเลส คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่าตนเองดีแล้วนั้น จนสักกายทิฏฐิผ่อนคลายลงแล้ว คือตัวถือดีหายไป จิตมีกำลังแล้ว เณรผู้เป็นพระมหาเถระจึงเทศน์โดยอุปมาอุปไมย (สอนวิธีจับเหี้ยให้ว่า เหี้ยมันเข้าออกรูอยู่ ๖ รู ถ้าจะจับมัน ให้อุดรูเสีย ๕ รู เหลือไว้แค่รูเดียวก็จะจับเหี้ยได้ ท่านเคยเก่งปริยัติ ก็เข้าใจในความหมาย เจริญกรรมฐานที่ทวารใจอย่างเดียว พระพุทธเจ้าก็ทรงสงเคราะห์ โดยทรงส่งฉัพพรรณรังสีมาปรากฏตรงหน้า สอนว่าปิดอายตนะ ๕ เสีย เหลือแต่ทวารใจ แล้วพิจารณากายคตานุสติ ท่านก็ปฏิบัติตาม จึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด) พระใบลานเปล่าท่านเก่งปริยัติอยู่แล้ว ก็เข้าใจในอรรถนั้น จึงพิจารณาเป็นปัญญาเข้าถึงธรรมวิมุติได้ จุดนี้แหละเจ้า จงอย่าลืมตน หากผู้ปฏิบัติธรรมยังไม่ถึงที่สุดของความดี คือ พระนิพพาน จงอย่าคิดว่าตนเองมีความดี จักเป็นมานะกิเลส คือ จิตเต็มไปด้วยการยึดในสักกายทิฏฐินั่นเอง จากหนังสือ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๖ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 19-01-2010 เมื่อ 12:38 |
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#43
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
พระใบลานเปล่า กับสันตติภายนอกและสันตติภายใน(๒) สันตติมีสองอย่าง คือ สันตติภายนอกกับสันตติภายใน ขันธ์ ๕ ไม่ว่าของตน ของบุคคล ของสัตว์ วัตถุธาตุใด ๆ นี่จัดว่าเป็นสันตติภายนอก ซึ่งทำงานสืบเนื่องกันอยู่มิได้ขาดสาย เป็นปกติของธรรมสันตติภายนอกนี้ สำหรับสันตติภายใน คือ อารมณ์ของจิต ซึ่งเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เนื่องด้วยปุถุชนคนหนาแน่นไปด้วยกิเลส ไม่รู้การเกิดดับของอารมณ์ เนื่องด้วยประมาทในอารมณ์ ขาดสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้อารมณ์ที่เกิด ๆ ดับ ๆ นั้น โดยมีความหลงเป็นปัจจัยเกี่ยวเนื่องมาจากความประมาทในชีวิต คิดว่าตนเองจักไม่ตาย คำว่าตายในที่นี้ หมายถึงความยึดมั่นถือมั่นว่า ร่างกายนี้มีในตน ตนมีในร่างกาย จึงแยกจิตกับร่างกายให้ออกจากกันมิได้ มีความหลงใฝ่ฝันว่าร่างกายนั้นไม่ตาย และไม่เชื่อในกฎของกรรม จึงถูกกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรมเข้าบงการอยู่ในอารมณ์ของจิต ยังอารมณ์ของจิตให้เกิด ๆ ดับ ๆ อยู่ในอาการของโมหะ โทสะ ราคะนั้น ประดุจหนึ่งบุคคลผู้มีร่างกายพลัดตกอยู่ในกระแสน้ำวนนั้น จากหนังสือ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๖ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#44
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
พระใบลานเปล่า กับสันตติภายนอกและสันตติภายใน(๓) สันตติภายนอกนั้นแก้ไขไม่ได้ เป็นธรรมปกติของโลก แต่สันตติภายในนั้น แก้ไขได้ด้วยการกำหนดรู้ตามหลักพระธรรมคำสั่งสอนของตถาคต หรือพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ที่สืบพระพุทธศาสนาต่อ ๆ กันมา โดยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ให้จิตมีสติสัมปชัญญะระลึกได้อยู่ถึงมรณะสัญญาอยู่เสมอ รู้ถึงทุกข์อันเกิดมาจากสันตติภายนอก รู้ทุกข์อันจิตเสวยอารมณ์ อันเป็นสันตติภายใน เห็นอารมณ์ในขณะจิตนั้น ๆ ด้วยฐานอันมีสติสัมปชัญญะที่เกิดจากอานาปานั้น และรู้ด้วยมีสติสัมปชัญญะที่เกิดจากการพิจารณาสันตติภายนอกนั้น ปัญญาเกิดจากจุดนี้ ที่ว่าปัญญาเกิดจากจุดนี้ กล่าวคือ รู้แยกร่างกายที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลาว่าไม่ใช่มีในตน ตนไม่มีในร่างกาย ความทุกข์จากสันตติภายนอกไม่มีผู้ใดบังคับได้ สันตตินั้นเที่ยงอยู่เยี่ยงนั้นเป็นปกติ เมื่อรู้ว่าร่างกายไม่ใช่ตน ตนไม่มีในร่างกาย ก็สามารถแยกจิตออกมาโดยปัญญานั้น จิตนี่แหละที่เป็นตน มีในตน จึงสามารถแยกเวทนาที่เกิดกับจิต หรือสันตติภายในได้โดยแยบยล เป็นทางลัดตัดตรง ชำระอารมณ์ของจิตให้ผ่องใส นำให้หลุดจากอาสวะกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน เข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด จากหนังสือ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๖ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#45
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
พระใบลานเปล่า
กับสันตติภายนอกและสันตติภายใน(๔) สันตติภายนอกก็ดี สันตติภายในก็ดี จักต้องอาศัยจิตมีสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้ว่าเหตุใดเป็นปัจจัยให้เกิด เหตุใดเป็นปัจจัยให้ดับ มิฉะนั้น ก็จักตัดสันตติเหล่านั้นมิได้ อย่างเช่น การเคลื่อนไหวในอิริยาบถ ๔ เจ้าก็เพิ่งกำหนดรู้ว่า การเคลื่อนไหวนั้น ๆ จักต้องมีเป็นปกติของอิริยาบถทั้ง ๔ จักยืน เดิน นั่ง นอน ด้วยอิริยาบถเดียวมิได้ ร่างกายหรือสันตติภายนอก จักต้องทำงานตามสันตติของโลก หรือเมื่อขันธ์ ๕ คน สัตว์ วัตถุธาตุเกิดขึ้นมาแล้ว จักห้ามไม่ให้เสื่อม ดับตามสันตติก็ห้ามไม่ได้ ฉันนี้ฉันใด สันตติภายในก็เช่นกัน
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-01-2010 เมื่อ 17:23 |
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#46
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
พระใบลานเปล่า กับสันตติภายนอกและสันตติภายใน(๕) หากจิตยังมีการเสวยอารมณ์อยู่ จักต้องรู้เหตุที่ทำให้เสวยอารมณ์นั้น โมหะ โทสะ ราคะจรเข้ามาในจิต จักต้องกำหนดรู้ และอารมณ์เหล่านั้นย่อมเกิด ๆ ดับ ๆ หากไม่กำหนดรู้ จิตก็จักทำงานต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย ความคิดที่จักหยุดยั้งอารมณ์ที่เบียดเบียนจิตอยู่นั้นก็ไม่มี เพราะไม่รู้เท่าทันกิเลส คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดอารมณ์ จิตจึงทำร้ายตนเองไปในสันตตินั้นอย่างไม่รู้เท่าทัน จากหนังสือ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๖ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#47
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
พระใบลานเปล่า กับสันตติภายนอกและสันตติภายใน(๖) การเจริญอานาปานุสติทำให้จิตมีกำลัง การกำหนดรู้สภาวะของร่างกายให้อยู่ในมรณสัญญา กายคตา ธาตุ ๔ หรืออสุภสัญญา จึงยังให้สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เท่ากับสร้างความไม่ประมาทให้เกิดแก่จิต เพราะทราบชัดว่าร่างกายนี้ตายแน่ จึงเท่ากับเห็นสันตติภายนอก และจากการศึกษาโทษของการละเมิดศีล กรรมบถ ๑๐ ประการ เห็นโทษของกรรม อันเมื่อร่างกายตายแล้ว กฎของกรรมเหล่านั้นจักส่งผลให้จิตที่เสวยอารมณ์โมหะ โทสะ ราคะนั้นไปไหน จุดนี้ตถาคตจักไม่แยกกรรมดีหรือกรรมชั่ว เพราะอารมณ์ติดดีหรือติดเลว ก็ล้วนแต่ส่งผลให้จิตต้องโคจรไปตามภพภูมิที่ต้องจุติอยู่เสมอ กล่าวคือ ไตรภูมินั้นไม่เที่ยง ยังตกอยู่ในสันตติ คือ เคลื่อนไปมิได้ขาดสาย จึงจักขอกล่าวรวมเป็นอาการของความไม่รู้เท่าทันในสันตติภายใน คือ จิตไม่รู้เท่าทันในอารมณ์โมหะ โทสะ ราคะ ที่เกิดดับอยู่ในจิตนี้ จากหนังสือ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๖ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-02-2010 เมื่อ 17:26 |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#48
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
พระใบลานเปล่า กับสันตติภายนอกและสันตติภายใน(๗) เมื่อบุคคลใดรู้สันตติภายในแล้ว ก็ย่อมจักกำหนดรู้เหตุที่เกิดและที่ดับแห่งอารมณ์นั้น ความประมาทย่อมไม่มีหรือมีก็น้อยเต็มที บุคคลผู้นั้นก็จักทำการระงับหรือตัดข้อต่อแห่งรากเหง้าโมหะ โทสะ ราคะทิ้งไป จึงจักทำจิตให้บริสุทธิ์หมดจดปราศจากกิเลสได้ จากหนังสือ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๖ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#49
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
พระใบลานเปล่า กับสันตติภายนอกและสันตติภายใน(๘) การเพียรละอารมณ์โมหะ โทสะ ราคะให้ออกไปจากอารมณ์ของจิต โดยกำหนดรู้อารมณ์ของจิตในขณะหนึ่ง ๆ นั้น จัดได้ว่าเป็นการทำสันตติทางธรรมให้เกิดขึ้น สืบเนื่องให้จิตมีกำลังศีล สมาธิ ปัญญา ร้อยรัดเป็นลูกโซ่ที่ประติดประต่อกันเข้ามาในอารมณ์ของจิตแทน จิตนั้นจึงจัดได้ว่าเข้าถึงปัญญาวิมุติทางพุทธศาสนาอย่างแท้จริง กล่าวคือ บุคคลนั้นถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เป็นพระอริยบุคคลขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือเป็นพระอรหันต์ขีณาสพนั่นเอง
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#50
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
พระใบลานเปล่า
กับสันตติภายนอกและสันตติภายใน(๙) การที่มีร่างกายอยู่ก็จักต้องมีสติกำหนดรู้กายว่า ปกติของร่างกายนั้นเป็นอย่างไร เห็นคน สัตว์ วัตถุธาตุก็ต้องมีสติกำหนดรู้ แม้แต่จิตจักสัมผัสหรือเห็นพรหม เทวดา นางฟ้า ก็ต้องมีสติกำหนดรู้ความปกติของสิ่งนั้น ๆ แต่จิตไม่ปรุงแต่ง คือ ไม่ให้อกุศลหรือกุศลเกิดขึ้นในอารมณ์ในขณะสัมผัสธรรมนั้น ๆ รู้สักเพียงแต่ว่ารู้ เห็นเพียงสักแต่ว่าเห็น ไม่เกาะติดในสภาวธรรมนั้น ๆ เห็นเป็นปกติ จึงตัดโมหะ โทสะ ราคะไม่ให้เกิดขึ้นในจิต นี่คือจิตในจิต จุดแรกคือ รู้ธรรมในธรรม การรู้เท่าทันในสภาวะของจิตก็คือ รู้เวทนาในเวทนา การรู้เท่าทันในสภาวะของโลกก็คือ รู้เวทนาภายนอก หรือสันตติภายนอก การรู้เท่าทันสภาวะของจิต คือรู้เวทนาภายในหรือสันตติภายใน
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#51
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
พระใบลานเปล่า
กับสันตติภายนอกและสันตติภายใน(๑๐) ที่สุดของธรรมก็คือ รู้แยกจิต แยกกาย แยกเวทนา แยกธรรม สรุปรวมเป็นหลักใหญ่ได้ ๒ ประการ คือ รู้เท่าทันกองสังขารของกายและจิต ถ้าทำได้เท่านี้ พวกเจ้าก็จบกิจพระพุทธศาสนา ตัดสันตติทางโลก(ภายนอก)ทิ้งเสียได้ สันตติทางธรรมก็เกิดขึ้นเองเป็นอกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ เป็นวิญญูชนผู้เจริญเต็มที่แล้วในพระพุทธศาสนานั่นเอง รู้แล้วต้องจำและนำไปปฏิบัติให้ได้ด้วย
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-02-2010 เมื่อ 02:42 |
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#52
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
ให้รู้ความสำคัญของอานาปานุสติ
เมื่อเอาเรื่องจริต ๖ มาใคร่ครวญ ก็พบว่ากรรมฐานทุกกองต้องอาศัยกำลังจากอานาปากองเดียว ที่เป็นรากฐานสำคัญสุด หากรู้ลมเฉย ๆ ก็เป็นแค่สมถะ (เป็นฌานเป็นสมาธิ) แต่ถ้ารู้ละเอียดลงไปว่า แม้ลมหายใจนี้ก็ไม่เที่ยง และเป็นเหตุเกี่ยวเนื่องกับความตายก็เป็นวิปัสสนา โยงไปสู่ความไม่ประมาทในธรรม ไม่ประมาทในชีวิต หากร่างกายตายแล้ว (หมดลม) จิตควรมีเป้าหมายไปไหน สิ่งที่จิตของนักปฏิบัติต้องการก็คือ พระนิพพาน จึงขอสรุปสั้น ๆ ว่า "รู้ลม รู้ตาย รู้นิพพาน หรือรู้อานาปา รู้มรณา รู้อุปสมานั่นเอง" ผู้ที่จะรู้ได้ระดับนี้ จะต้องมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันสภาวะของกายและจิตที่ทำงานเป็นสันตติภายนอกและภายในอยู่เป็นปกติ พิจารณามาถึงจุดนี้ สมเด็จองค์ปฐม ก็ทรงพระเมตตามาตรัสสอนว่า ๑.ให้รู้ความสำคัญของอานาปานุสติ แต่มิใช่เกาะติดอยู่ในลมหายใจนั้น คือ รู้ความไม่เที่ยงของลมหายใจ แต่ไม่ให้เกาะติดความไม่เที่ยงนั้น เท่ากับมีจิตทรงอยู่ในฌานอันเกิดขึ้นได้กับการกำหนดรู้ลมหายใจ แต่มิใช่หลงใหลใฝ่ฝันในฌาน อันเกิดขึ้นได้กับการกำหนดรู้ลมหายใจนั้น ๆ เมื่อร่างกายยังอยู่ ก็จำเป็นต้องพึ่งลมหายใจเป็นบันไดให้ก้าวไปสู่พระนิพพาน ร่างกายพังเมื่อไร ลมหายใจก็หมดความจำเป็นต่อจิตเมื่อนั้น
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-02-2010 เมื่อ 16:32 |
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#53
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
ให้รู้ความสำคัญของอานาปานุสติ (๒)
๒.รูปฌานหรืออรูปฌานก็เช่นกัน เพื่อเป็นกำลังให้จิตตัดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหานแล้ว ร่างกายพัง จิตก็โคจรเข้าสู่ดินแดนพระนิพพานตั้งมั่นแล้ว อรูปฌานหรือรูปฌานก็หมดไป เหลือแต่อทิสสมานกายที่บริสุทธิ์ล้วน ๆ คือ พระวิสุทธิเทพนั่นเอง ๓.เมื่อยังมีชีวิตอยู่ อย่าทิ้งอานาปานุสติ อย่าทิ้งรูปฌานและอรูปฌาน ใช้ตามปกติที่ร่างกายยังมีลมหายใจ แต่ไม่หลงใหลติดอยู่ตามนั้น อาศัยเพียงแค่ให้ร่างกายได้ระงับทุกขเวทนาด้วยกำลังของฌาน อาศัยฌานเป็นกำลังก้าวไปเพื่อห้ำหั่นกิเลส เป็นบันไดก้าวเข้าไปสู่พระนิพพาน
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#54
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
ยังมีชีวิตอยู่ อย่าหนีปัญหา(๑)
ในเมื่อพวกเจ้ายังมีร่างกายอยู่ในโลก เรื่องที่จักหนีปัญหาต่าง ๆ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ยกเว้นหมดอารมณ์ ๒ ที่ครองใจเมื่อใดนั่นแหละ มิใช่ว่าปัญหาของโลกจักหมดไป หากแต่จิตของพวกเจ้าจักยอมรับนับถือว่า ปัญหาของโลกเหล่านี้มันเป็นเรื่องธรรมดาของโลก อารมณ์จิตจักไม่ยึดถือปัญหาเหล่านั้นมาเป็นอารมณ์ที่ขุ่นข้องหมองใจ เห็นแต่ความเป็นธรรมดาของปัญหานั้น ๆ ดูเป็นปกติธรรมดาของโลกไปในขณะนี้ จิตของพวกเจ้าตัดอารมณ์ ๒ ยังไม่ได้ ก็พึงคิดว่าเหตุการณ์ในอดีตที่เป็นปัญหานั้นผ่านไปแล้ว ไม่ควรจักยึดถือ นำมาคิดให้ติดข้องอยู่ในอารมณ์ และอนาคตที่ครุ่นคิดว่าจักมีปัญหาที่เกิดขึ้นมา ก็ยังมาไม่ถึง จึงไม่ควรจักนำมาครุ่นคิดให้ติดข้องอยู่ในอารมณ์เช่นกัน เพราะการคิดถึงอดีตที่ผ่านไปแล้ว หรืออนาคตที่ยังมาไม่ถึง โดยยกเหตุแห่งปัญหาขึ้นมาเป็นหลักเกาะยึด นั่นเป็นความทุกข์ของจิต
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 04-03-2010 เมื่อ 16:50 |
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#55
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
ยังมีชีวิตอยู่ อย่าหนีปัญหา(๒)
ทางที่ดีสมควรจักอยู่ในธรรมปัจจุบัน ขณะนี้ ปัญหาในธรรมปัจจุบันนั้นยังไม่มี ก็จังรักษาอารมณ์จิตให้เป็นสุข สุขอยู่ในธรรมปฏิบัติที่เห็นเป็นการสมควรแก่วาระที่จิตต้องการในขณะนั้น ๆ ให้อาหารธรรมแก่จิตที่ต้องการความสงบ หรือต้องการอารมณ์คิด การย้อนพิจารณาถึงปัญหาทางโลกไม่ควรคิด เพราะจักทำให้จิตเป็นทุกข์ แต่การย้อนพิจารณาถึงหลักธรรมปฏิบัติที่ผ่านมาแล้วนั้นควรทำ เป็นหลักอนุโลม ปฏิโลม (พักหรือเพียร สมถะหรือวิปัสสนา)ถอยหน้าถอยหลังทบทวนมรรคผล จุดนี้เพื่อความมั่นคงของจิต จักเห็นได้ง่าย
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#56
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
ยังมีชีวิตอยู่ อย่าหนีปัญหา(๓)
ในทางโลก หากมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นเป็นที่กระทบกระเทือนใจมาก จิตก็จักครุ่นคิดแต่เรื่องนั้นระรอกแล้วระลอกเล่า ไม่ยอมปล่อยวาง จนอารมณ์ของจิตนั้น จดจำเหตุการณ์หรือปัญหานั้นจนขึ้นใจ จนในบางครั้งร่างกายตายไปแล้ว จิตมันยังมีสภาพจำเหตุการณ์เหล่านั้น จนนำจิตไปสู่ภพสู่ชาติตามอารมณ์นั้น ก็มีมากในบุคคลชาวโลกทั่ว ๆ ไป จากกำลังจิตจุดนี้ พวกเจ้าจักนำมาใช้ในทางธรรมปฏิบัติ ย้อนต้นย้อนปลายเหตุการณ์ ทบทวนคำสอนครุ่นคิดไม่วาง ระลอกแล้วระลอกเล่า จิตมันก็จักมีสภาพจำในธรรมคำสอนนั้น ๆ จิตไม่วางพระธรรมก็สามารถทำปัญญาให้เกิดจากสัญญาความจำที่มั่นคงนั้น ๆ ในที่สุด เมื่อจิตเกิดปัญญามากขึ้น ๆ ตามลำดับ จนกระทั่งถึงปัญญาวิมุติเกิดขึ้นกับจิต จิตก็จักมีกำลังตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#57
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
ยังมีชีวิตอยู่ อย่าหนีปัญหา(๔)
จิตติดปัญหาทางโลก คิดมากเท่าไหร่ยิ่งโง่มากขึ้นเท่านั้น เพราะไม่มีใครที่จักเอาปัญญาส่วนตน ไปแก้ปัญหาของโลกให้ได้หมด ตถาคตหรือพระพุทธเจ้าพระองค์ใดก็แก้ปัญหาของโลกให้หมดไปไม่ได้ โลกทั้งโลกตกอยู่ในไตรลักษณญาณเป็นปัญหา เพราะโลกมีความพร่องอยู่เป็นนิจด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทานและอกุศลกรรม ความพอดีของโลกไม่มี โมหะ โทสะ ราคะครองโลกอยู่ ทำให้ความพอดีไม่เกิดแก่โลก ทุกอย่างมีปัญหาด้วยอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเป็นปกติ บุคคลผู้ฉลาดเป็นบัณฑิต จักยกจิตตนให้พ้นจากปัญหาทางโลก คิดแต่จักหาธรรมวิมุติ เพื่อยกจิตตนให้พ้นจากโลก เพิ่มพูนปัญญาให้เกิดในโลกุตรธรรม แก้ปัญหาส่วนตนเป็นหลัก ไม่ผูกมัดจิต ให้ตกเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทานและอกุศลกรรม โมหะ โทสะ ราคะมีอำนาจก็ทำร้ายจิตได้น้อยเต็มที
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#58
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
ยังมีชีวิตอยู่ อย่าหนีปัญหา(๕) บุคคลผู้เป็นบัณฑิตย่อมชำระอารมณ์ไม่ให้ตกป็นทาสแห่งกิเลสตัณหานั้น ทำความพอดีให้เกิดแก่จิตของตนเป็นหลักใหญ่ เมื่อจิตเกิดความพอดีแล้ว คำว่าโยกคลอนไปในปัญหาของโลกย่อมไม่มี มิใช่เพียงสักแต่ว่าปัญหาโลกภายนอกจักโยกคลอนจิตของบุคคลผู้นั้นมิได้ แม้แต่ปัญหาโลกภายใน หรือขันธโลกก็มิอาจจักเป็นปัญหาแก่บุคคลผู้นั้นได้ เพราะเนื่องจากความพอดีที่ถึงแล้วในจิตและขนตกแล้ว(หมดความหวั่นไหว) จากเหตุแห่งปัญหาที่เกิดเป็นปกติในโลกทั้งภายในและภายนอกนั้น เพราะฉะนั้น พวกเจ้าจงหมั่นรักษาอารมณ์จิตให้อยู่ในธรรมปัจจุบันเป็นดีที่สุด เห็นธรรมทั้งหลายในโลกที่เข้ามากระทบจิตเป็นเรื่องธรรมดา เป็นไตรลักษณ์เกิดดับอยู่เป็นปกติ ไม่มีใครหลีกพ้นไปได้ จึงไม่ควรยึดธรรมที่มีความไม่เที่ยง ปรวนแปรอยู่เป็นปกติ หมั่นพิจารณาธรรมนั้นให้ถึงจุดอนัตตา จิตจักคลายจากอารมณ์ที่เกาะยึดอยู่ในธรรมของชาวโลกนั้น ๆ ทำความเบื่อหน่ายและปล่อยวางลงได้ในที่สุด
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#59
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
ยังมีชีวิตอยู่ อย่าหนีปัญหา(๖)
ตายแล้วไปไหน จุดนี้ควรจักโจทย์ถามจิตเอาไว้ให้มาก ๆ เพื่อป้องกันความประมาทในอารมณ์ เมื่อเกิดความฟุ้งซ่านติดในปัญหาของโลก คิดสรุปเอาตรงที่ ไม่ช้าไม่นาน เมื่อร่างกายนี้ตายแล้ว ก็จักต้องทิ้งปัญหานี้จากไป แต่ถ้าหากตัดไม่ได้ จิตก็จักนำปัญหานี้เกาะติดไปสู่ภพสู่ชาติ มันดีหรืออย่างนี้ อย่าลืม ความตายเกิดได้ทุกขณะจิต หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าก็ตาย การปล่อยอารมณ์จิตให้ติดปัญหาของโลก ล่วงเวลาไปมากเท่าไหร่ เท่ากับประมาทต่อความตายมากขึ้นเท่านั้น การไม่รับรู้ปัญหาเลยนั้น ก็เป็นไปไม่ได้ อยู่ในโลก ก็จำเป็นต้องรับรู้ แต่รู้ก็ให้เพียงสักแต่ว่ารู้ อย่าผูกจิตให้เกาะติดปัญหานั้นให้มากจนเกินไป ต้องพยายามทำการระงับ ตัด ปล่อยวางปัญหานั้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จักมีกำลังทำได้
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 21 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#60
|
||||
|
||||
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
ยังมีชีวิตอยู่ อย่าหนีปัญหา(๗)
อย่าลืม ความตายเกิดขึ้นได้ทุกขณะจิต หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าก็ตาย การปล่อยอารมณ์จิตให้ติดปัญหาของโลก ล่วงเวลามากเท่าไหร่ เท่ากับประมาทต่อความตายมากขึ้นเท่านั้น การไม่รับรู้ปัญหาเลยนั้นก็เป็นไปไม่ได้ อยู่ในโลกก็จำเป็นต้องรับรู้ แต่รู้ก็ให้เพียงสักแต่ว่ารู้ อย่าผูกจิตให้เกาะติดปัญหานั้นให้มากจนเกินไป ต้องพยายามทำการระงับ ตัด ปล่อยวางปัญหานั้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จักมีกำลังทำได้
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 29-03-2010 เมื่อ 16:29 |
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|