|
เก็บตกจากบ้านอนุสาวรีย์ เก็บข้อธรรมจากบ้านอนุสาวรีย์มาฝาก สำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสเดินทางไป |
|
คำสั่งเพิ่มเติม |
#61
|
||||
|
||||
มีคนถามเกี่ยวกับเรื่องอุเบกขา
หลวงพ่ออธิบายว่า "อุเบกขา คือ การที่เราพยายามทุกวิถีทางแล้ว หมดความสามารถจริง ๆ จึงยอมรับว่าเป็นกฎแห่งกรรม ทีนี้ก็ต้องมาดูว่าเป็นอุเบกขาอะไร อุเบกขากับสิ่งรอบข้าง หรืออุเบกขาในอารมณ์ของธรรมะ ถ้าอุเบกขาในอารมณ์ของธรรมะ มีอยู่ ๒ ส่วน ส่วนที่เป็นของสมถกรรมฐานใช้กำลังสมาธิกดคุมไว้ ก็สามารถทำให้วางลงได้ แต่ในส่วนของวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าพิจารณาเห็นจริงแล้วยอมรับว่าธรรมดาเป็นอย่างนั้น ก็เลยไม่ไปยุ่งด้วย เพราะฉะนั้น..ในส่วนของวิปัสสนากรรมฐานจะสบายกว่า รู้เท่าทัน และปล่อยวาง ไม่ไปยุ่งเกี่ยวด้วย เรื่องเหล่านั้นก็สร้างความเดือดร้อนให้เราไม่ได้ แต่ว่าทั่ว ๆ ไปใช้แบบสมถะ ใช้กำลังใจข่มไว้ ข่มให้ตาย..ถ้าเผลอปล่อยเมื่อไรก็โดนยันกลับ..!"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-07-2020 เมื่อ 02:56 |
สมาชิก 118 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#62
|
||||
|
||||
มีคนถามถึงความหมายของคำว่า สติ และสัมปชัญญะ
หลวงพ่ออธิบายว่า "สติ คือความระลึกได้ สัมปชัญญะคือความรู้ตัว สติทำให้เราไม่ลืม สัมปชัญญะรู้อยู่ว่าเราจะทำอะไร ฟังดูแล้วเหมือนไม่ต่าง แต่จริง ๆ ต่างกันมากเลยในความหมายบาลี"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม |
สมาชิก 119 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#63
|
||||
|
||||
หลวงพ่อกล่าวถึงภาษาบาลีว่า "คำในภาษาบาลีมีจำนวนมากที่ความหมายเพี้ยน อย่างเช่นคำว่าสังขาร สังขารนี่เรามักจะนึกถึงร่างกายของเราเลย แต่จริง ๆ ไม่ใช่ ร่างกายของเราในบาลีเรียกว่า รูป
สังขารเป็นอารมณ์ใจนึกคิดปรุงแต่ง คอยแต่งไปเรื่อย ๆ ถ้าอย่างนั้น ถ้าอย่างนี้ ต้องอย่างนั้น ต้องอย่างนี้ไปเรื่อย อีกคำหนึ่งก็คือวิญญาณ ตามความหมายบาลีก็คือ ประสาทรับรู้ รู้สึกทุกข์ รู้สึกสุข รู้สึกเจ็บปวด รู้สึกเฉย ๆ แต่ความหมายที่พวกเราได้ยินก็คือ ผีจะมาหลอก ความหมายมันเพี้ยนจากบาลีไปเยอะ พระพุทธเจ้าเวลาตรัสธรรมะเป็นภาษาบาลีอย่างหนึ่ง พอพระเถระรุ่นหลังบันทึกพระพุทธวจนะเป็นภาษาบาลีอีกอย่างหนึ่ง เพราะว่าภาษาบาลีเป็นภาษาที่ไม่มีการพัฒนาแล้ว พัฒนาสูงสุดไปแล้ว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้นความหมายกี่ปี กี่ชาติก็จะไม่เปลี่ยน แต่ว่าอย่างของเราพอใช้ไป ๆ ความหมายจะเพี้ยนไปเรื่อย แล้วมันจะทำให้ส่วนของธรรมะที่ดีนั้นเสียไป ขณะที่บาลีไม่สามารถจะเปลี่ยนได้ แต่ว่าความหมายในภาษาระยะหลังที่เปลี่ยนไป ก็เลยทำให้มีผู้อธิบายพระไตรปิฎกเพี้ยน รุ่นแรกที่เขาอธิบายพระไตรปิฎก เรียก อรรถกถา (ขยายความจากพระไตรปิฎก) คำพูดใดที่มันไม่ตรงกับยุคสมัย หรือว่าใช้ในอีกยุคสมัยหนึ่งแล้ว ความหมายไม่ชัดเจน ท่านจะอธิบายในอรรถกถา พอยุคหลังจะมีอธิบายอรรถกถาเรียก ฎีกา พอยุคถัดไปมาอธิบายฎีกา เรียกอนุฎีกา ไล่ไปเรื่อย มาปัจจุบันเป็นเกจิอาจารย์ ก็คือ อธิบายอนุฎีกา บางอย่างเอามาประยุกต์ ความชัดเจนจะไม่ปรากฏ อย่างที่ว่าพอมาถึงยุคของเรา สังขารก็เปลี่ยน วิญญาณก็เปลี่ยน เราก็มาอธิบายว่ามันควรจะเป็นอย่างไร"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 24-07-2015 เมื่อ 13:50 |
สมาชิก 114 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#64
|
||||
|
||||
มีท่านหนึ่งขอให้หลวงพ่อเล่าเรื่องเกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชา
หลวงพ่อก็บอกว่า "เป็นวันที่พระพุทธเจ้าท่านแสดงปฐมเทศนา ก็คือ เทศน์ครั้งแรกอย่างเป็นทางการ เนื้อหาบอกว่าคนในสมัยนั้นมีวิธีปฏิบัติอยู่ ๒ อย่าง ถ้าไม่สบายจนเกินไป ก็ลำบากจนเกินไป แล้วส่วนมากเขานิยมความลำบากเพราะเชื่อว่าทำให้บรรลุได้ เข้าถึงโมกษะ คือความหลุดพ้นได้ เข้าถึงปรมาตมัน ลักษณะเหมือนกับไปนิพพานได้ เขานิยมแบบนั้น พระพุทธเจ้าท่านทดลองมา ๖ ปีเต็ม ๆ ท่านทำยิ่งกว่าใคร ๆ ที่เคยทำมา พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่มีใครทรมานตัวเองได้ยิ่งกว่าพระองค์ท่านอีกแล้ว....แต่ไม่บรรลุ ถามว่าพระพุทธเจ้าท่านเสียเวลาเปล่าหรือไม่....ไม่เสีย คนที่ลองมาขนาดนั้นแล้วมีพยานหลักฐานชัดเจน คือ ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ทำให้พระองค์เมื่อบรรลุมรรคผลแล้วไปเทศน์ สามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำว่าการทรมานร่างกายเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง ก็ท่านทำยิ่งกว่าคนอื่นแล้วไม่บรรลุ แล้วมันจะถูกได้อย่างไร ท่านเอาตัวเองเป็นเครื่องยืนยันได้ ท่านก็บอกว่าสบายเกินไปก็ไม่ใช่ ต้องเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางพอเหมาะ พอดี ทางสายกลางของท่านมี ๘ อย่าง ตั้งแต่สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ไล่ไปจนถึงสัมมาสมาธิ"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม |
สมาชิก 119 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#65
|
||||
|
||||
หลวงพ่อบอกว่า "เวลาเดินทาง มีวิธีประกันความเสี่ยงอยู่อย่างหนึ่ง ก็คือ ให้เราอุทิศส่วนกุศลทั้งหมดที่เราทำมาตั้งแต่ต้นจนถึงบัดนี้ ให้แก่เจ้าที่ทั้งหลายที่รักษาตลอดเส้นทางที่เราเดินทาง อากาศเทวดา รุกขเทวดา ภูมิเทวดาก็ดี หรือจะเป็นเหล่าสัมภเวสี เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ขอให้เขาอนุโมทนา
หลังจากนั้นเราก็ขอความสะดวกคล่องตัวในการเดินทางและความปลอดภัย"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-07-2020 เมื่อ 03:29 |
สมาชิก 134 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#66
|
||||
|
||||
หลวงพ่อกล่าวว่า "ทุกอย่างจะต้องพัฒนา มีใครเขากล่าวคำพูดว่า 'โลกหมุนไปข้างหน้าทุกวัน ถ้าเรายืนอยู่กับที่เท่ากับเราถอยหลัง'
เราอยู่กับที่เท่ากับเราถอยหลัง เพราะว่าคนอื่นเขาไปข้างหน้ากัน เราต้องมีการตาม แต่ทิ้งหลักการเดิมไม่ได้ ที่ทิ้งหลักการเดิมไม่ได้เพราะว่า ถึงโลกจะก้าวหน้าแค่ไหนก็ตาม คนเราก็ยัง รัก โลภ โกรธ หลง เหมือนเดิม"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-07-2020 เมื่อ 03:28 |
สมาชิก 123 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#67
|
||||
|
||||
ถาม : เรื่องอายตนะนิพพาน
ตอบ : เราเชื่อหรือไม่ว่านิพพานมีจริง ? ถาม : เชื่อค่ะ ตอบ : ถ้าเชื่อ อายตนะนิพพาน ก็คือพระนิพพานที่เป็นสถานที่ พูดแบบนี้จะได้ชัด ๆ แต่ทีนี้คนเขาก็บอกว่า ถ้าเป็นสถานที่ก็เป็นอัตตาสิ....ไม่ใช่ ถามว่าเป็นอนัตตาหรือเปล่า ? ก็ไม่ใช่อีก ในเมื่อไม่เกิดแล้วจะตายได้อย่างไร แต่ว่าไม่เกิดแล้วมีได้อย่างไร นี่อัศจรรย์ ไปให้ได้แล้วจะรู้ ให้อธิบายก็ยาก อย่าไปเถียงกับใครว่ามี อย่าไปเถียงกับใครว่าเป็นตัวตน เพราะว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสไว้ พระนิพพานเป็นสถานที่พิเศษ แยกออกไปต่างหาก เป็นส่วนของ อสังขตธรรม ธรรมะที่ไร้การปรุงแต่ง ไม่สามารถจะใช้คำพูดหรือตัวหนังสืออธิบายได้อย่างแท้จริง เป็นส่วนพิเศษนอกเหตุเหนือผล เพราะฉะนั้นคำว่านิพพานเราจะไปใช้คำว่า คิดว่า คาดว่า เห็นว่า แสดงว่า ไม่ได้สักอย่าง คำใดที่ประกอบด้วยการปรุงแต่งยังอธิบายนิพพานไม่ได้จริง
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-07-2020 เมื่อ 20:30 |
สมาชิก 122 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#68
|
||||
|
||||
ถาม : ฌาน ๔ ได้ตลอดเวลา กับทรงฌาน ๔ ได้ตามที่เรานึกอยากจะทำ อย่างไหนดีกว่ากัน
ตอบ : ถ้าหากว่าไม่ทรงตลอดเวลา อารมณ์มันก็ยังขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่ แต่ว่าถ้าทรงได้ในเวลาที่เราต้องการนี่ ถือว่าสุดยอดแล้ว อยากได้เมื่อไหร่ก็ทำได้ แสดงว่าเก่ง ใช้ได้ ถ้ากิเลสมันกิน ทรงฌานไม่ได้หรอก ถาม : หลวงพ่อคะ เขาทรงฌาน ๔ ตลอดเวลาได้อย่างไร มันต้องมีบ้างที่แบบว่าอารมณ์มันถอยลงมา ตอบ : ต้องบอกว่า กำลังสมาธิ....ถ้าหากว่าเราทำถึงที่สุดของมันแล้ว ซักซ้อมจนคล่องตัว มันจะสามารถทรงกำลังอัตโนมัติของมันเอง แล้วลักษณะของอัตโนมัตินี้ มันสามารถที่จะแบ่งกำลังใจทำอย่างอื่น ขณะนั้นความนิ่งความสงบภายในมันเท่ากับฌาน ๔ แต่การเคลื่อนไหว การพูด การทำต่าง ๆ มันเท่ากับอุปจารสมาธิ เขาถึงได้เรียกว่า ฌานใช้งาน คราวนี้เรื่องของสมาธิมันก็ขึ้นอยู่กับทุกขัง อนิจจัง อนัตตา สามารถเสื่อมไปได้ตามสภาพ แต่ถ้าทำไปถึงระดับหนึ่งแล้วกำลังใจจะทรงตัวอยู่ บางทีกำลังสมาธิลดแต่กำลังใจไม่ได้ลดตามเลย โดยเฉพาะถ้าเป็นพระอริยเจ้าแล้ว กำลังใจในการกดกิเลสมันไม่ได้ลดตาม แบบเดียวกับที่พระอัสสชิท่านป่วย แล้วอาการเวทนามันเกิดมาก ขนาดร้องครวญครางด้วย ท่านก็เลยขอพระที่อุปัฏฐากอยู่ไปทูลถามพระพุทธเจ้า สงสัยว่าความดีที่ทำได้จะสูญเสียแล้ว เพราะว่ามันเจ็บเหลือเกิน พระพุทธเจ้าก็ถามว่า อัสสชิ เธอเห็นร่างกายนี้เป็นของเธอหรือ พระอัสสชิก็ทูลว่าไม่เคยเห็นเป็นของตัวเองเลยพระเจ้าข้า พระพุทธเจ้าก็บอกว่าถ้าอย่างนั้นความดีไม่ได้ลดลง ที่ลดลงคือกำลังสมาธิที่เป็นฌาน คราวนี้ร่างกายที่ป่วยมาก ๆ ฌานก็เสื่อมเป็นธรรมดา
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 31-01-2019 เมื่อ 20:00 |
สมาชิก 119 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#69
|
||||
|
||||
หลวงพ่อท่านเล่าประสบการณ์การเดินป่าให้ฟังเพื่อเป็นประโยชน์แก่พวกเราว่า
การก่อไฟในป่า ต่อให้ฝนกำลังตกอยู่ ให้ใช้ไม้ไผ่แห้ง ๆ ไม้ไผ่นั้นก็หาได้ในป่า เจอกระบอกไม้ไผ่ก็ให้เหยียบจนมันแตก จุดไฟใส่ลงไปข้างใต้ ท่านบอกว่า ไม้ไผ่หรือใบไผ่จะติดไฟเร็วมาก ๆ และให้ความร้อนเร็วมาก ๆ ถ้าหากอยู่ในป่าจะหุงข้าวแล้ว ใช้ไม้ไผ่จะหุงได้เร็ว แต่ต้องขยันจุดเข้าไปเยอะ ๆ ประสบการณ์อีกเรื่องหนึ่งที่ได้มาจากพวกกะเหรี่ยง ก็คือ เขาใช้รองเท้าฟองน้ำเก่า ๆ หั่นบาง ๆ ชิ้นเดียวเท่านั้น ถึงเวลาก็ไม้ขีดไฟจุด หย่อนลงตรงไหนก็ติดตรงนั้น ประกันได้เลยว่า ก่อไฟด้วยรองเท้าฟองน้ำเก่า ไฟกองนั้นติดแน่ ในป่าฝนมันมักจะตก หน้าแล้งขนาดไหนฝนก็ตก แล้วมันตกแบบชนิดที่ว่าหนีไม่ทัน ดังนั้น เข้าป่าถุงพลาสติกจำเป็นมาก เพราะถ้าพลาดเมื่อไหร่ก็แปลว่าเปียก มีอยู่ระยะหนึ่งที่เข้าป่าแล้วท่านใช้ถุงดำเป็นประจำ ใช้ถุงดำใส่ของ ม้วนปากสามสี่รอบชนิดที่ว่าตกน้ำก็ไม่เปียก ช่วยได้เยอะมหาศาล สมัยนั้นหลวงพ่อบอกว่าไปไหนก็ชอบพกกล้องไป ก็อาศัยถุงก๊อบแก๊บ ม้วนปากใส่กระเป๋าไป ฝนจะตกเมื่อไหร่ก็ช่าง นอกจากนี้เรื่องของการเดินป่า คนที่ไม่เคยชินกับการเดินระยะทางไกล ๆ เท้าจะพองเร็วมาก ท่านบอกว่า รองเท้าที่ดีที่สุดก็คือรองเท้าฟองน้ำธรรมดา (อีแตะคีบ) โดยเฉพาะยี่ห้อ ต.ช.ด. ตราช้างดาว ทนมาก ๆ ถึงเวลาตรงไหนไม่สะดวกก็หิ้วไปหรือไม่ก็ผูกเชือกห้อยคอไป ถ้าหากใช้รองเท้าพวกหุ้มข้อ หุ้มส้นนี่มันจะกัด บางทีเดินป่าอยู่อาทิตย์เล็บหลุดเกลี้ยงเลย การหาน้ำกินในป่าตามลำห้วยต่าง ๆ แม้ว่ามันจะแห้งแล้ว แต่ถ้ามีความชื้นอยู่ลึกลงไปมันจะมีน้ำอยู่ข้างใต้ เมื่อขุดลงไป ๆ มันจะเปียกมากขึ้น รอสักพักน้ำจะไหลลงมารวมกันที่เราขุด เหมือนกับน้ำซึมบ่อทรายแล้วก็ค่อย ๆ ตัก โดยเฉพาะเรื่องของเท้าพอง ถ้าดื่มน้ำเยอะเกินไปเท้าจะพองง่าย ถ้าเดินทางยังไม่ถึงที่พัก รู้สึกหิวน้ำ ก็ให้ดื่มสักคำสองคำ...อย่าเยอะ พอถึงที่พักค่อยดื่มให้เต็มที่ เมื่อถึงที่พักแล้วกรุณายกเท้าให้สูงกว่าหัวไว้ก่อน เอาเท้าพาดก้อนหินหรือท่อนไม้ไว้ก็ได้ ถ้าเจอน้ำระหว่างทางรีบลงไปแช่ให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะให้แช่เท้าตัวเอง เพราะมันจะทำให้เดินทนไปอีกเยอะ ถ้าไม่แช่เท้าตัวเอง แล้วมันก็แปลก มันจะเดินไปไม่ไหว พอได้แช่เท้าเข้าหน่อย จะเดินตัวปลิวเลย
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 24-07-2015 เมื่อ 14:09 |
สมาชิก 128 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#70
|
||||
|
||||
ถาม : ครูบาเหนือชัยท่านใส่รองเท้าแบบมีสายรัด?
ตอบ : ท่านจำเป็น ขี่ม้าถ้าไม่มีสายรัด รองเท้าก็หล่นหาย ถาม : แล้วไม่ผิดพระธรรมวินัยหรือครับ? ตอบ : ไม่เป็นไรหรอก เพราะที่ท่านขี่นั่นผิดแล้ว คราวนี้เรามาดูว่า พระพุทธเจ้าท่านมอบการตัดสินพระธรรมวินัยให้ เรียกว่า มหาปเทส ท่านบอกว่า สิ่งที่ไม่สมควร....ถ้าพิจารณาแล้วว่าไม่สมควร....สิ่งนั้นย่อมไม่สมควร สิ่งที่ไม่สมควร....ถ้าพิจารณาแล้วว่าสมควร....สิ่งนั้นย่อมสมควร อันนี้เราก็มาดู การขี่ม้ามันไม่สมควร เขามีการห้ามไว้สมัยก่อน ถือว่าทรมานสัตว์ แต่ว่าของครูบาเหนือชัยท่านลำบาก เดินป่าเดินเขาอาศัยฝีเท้าอย่างเดียวไม่ทันกิน ก็ต้องอาศัยการขี่ม้า ในเมื่ออาศัยการขี่ม้าแล้ว เครื่องมือเครื่องใช้ทุกอย่าง มันก็ต้องปรับตาม ถ้าไม่ปรับตามก็ไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ไม่สมควร....ถ้าพิจารณาแล้วว่าสมควร....ก็สมควร คราวนี้ข้อที่สามท่านบอกว่า สิ่งที่สมควร....พิจารณาแล้วว่าสมควร....สิ่งนั้นย่อมสมควร ตรงนี้ชัด สิ่งที่สมควร.....แต่พิจารณาแล้วว่าไม่สมควร.....สิ่งนั้นย่อมไม่สมควร อย่างเช่นเราไปอ้างว่าพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ห้ามสูบฝิ่น เฮโรอีน กัญชาไว้ แล้วเราจะบอกว่าสิ่งนี้สมควรไม่ได้หรอก เพราะพิจารณาแล้วไม่สมควร เพราะฉะนั้นวิธีการตัดสินเหล่านี้ พระพุทธเจ้าท่านให้เราไว้ใช้ในการตัดสินพระธรรมวินัย ว่าจะทำอย่างไรกับพระธรรมวินัยที่บัญญัติตายตัวในสมัยนั้นแต่ว่าไม่เหมาะกับยุคสมัยปัจจุบัน เพียงแต่ว่า บุคคลที่จะตัดสินพระวินัยตามมหาปเทส ๔ ต้องมีความรู้ในพระธรรมวินัยและต้องมีความยุติธรรมด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะตัดสินเข้าข้างตัวเอง
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 13-11-2010 เมื่อ 10:29 |
สมาชิก 127 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#71
|
||||
|
||||
หลวงพ่อบอกว่า "ดูโปรแกรมแล้ว ปีนี้เป็นปีโหดมาก ที่ว่าเป็นปีโหดมากเพราะว่ามันมีงานใหญ่ที่ต้องทำเยอะ ช่วงที่ผ่านมาก็เป่ายันต์เกราะเพชร แล้วก็พิธีเสกพระขรรค์โสฬส ตามด้วยงานวันเกิดเจ้าคณะจังหวัด ถัดไปเดือนสิงหาคม ก็ทำบุญให้พ่อให้แม่ เดือนกันยายนทำบุญถวายหลวงปู่สาย ปลายเดือนก็งานนิโรธกรรมครูบาวิฑูรย์ เดือนตุลาคมกฐินที่วัด เดือนพฤศจิกายน...ต้นเดือนก่อนจะมาบ้านอนุสาวรีย์ไปงานกฐินของหลวงพ่อสิงห์ วัดถ้ำป่าไผ่ ตกลงว่าแต่ละเดือนนี่อย่างน้อย ๆ ต้องวิ่งงานใหญ่
วันที่ ๑ พฤศจิกายน เจอกันที่ถ้ำป่าไผ่นะ ไปช่วยหลวงพ่อสิงห์ท่านหน่อย เพราะว่าท่านเป็นหนี้เขาอยู่เป็นล้านเลย โดนเขาหลอก คนมันก็หลอกคนแก่ได้ลงคอ เขาปลอมหนังสือของสำนักพระราชวังไปขอรับเงินบริจาคท่านล้านหนึ่ง ท่านก็อุตส่าห์ไปหามาให้เขา ตัวเองเป็นหนี้เขาก็ยอมเพราะคิดว่าช่วยในหลวง จริง ๆ หารู้ไม่ว่าโดนหลอก ก็เลยเป็นภาระว่าต้องใช้หนี้ หลวงพ่อสิงห์เป็นพระที่น่ารักมาก เวลาท่านมีงานจะโทรมานิมนต์ แต่เรามักจะไม่ว่าง ท่านบอกว่าถ้าพระน้องไม่ว่าง ก็มาแบบนั้น.. ตัวไม่ต้องมาก็ได้ คราวนี้ท่านโทรมาบอกให้ช่วยท่านหน่อย "ตุ๊ป้อบ่ไหวแล้ว อายุ ๗๒ ปีนี้" พี่สิงห์เป็นพระที่เย็นโดยธรรมชาติ อาจเป็นเพราะว่าท่านเกิดภาคเหนือก็ได้ คนเหนือจริตนิสัยจะเป็นคนเยือกเย็น ใจเย็น พูดช้า ทำช้า ถ้านับแล้วท่านเป็นศิษย์ท่าซุงรุ่นแรก ๆ เลยที่ออกจากวัด หลวงพี่สิงห์ท่านออกจากวัดปี ๒๕๒๓ ปีที่หลวงตาชลอบวช หลวงตาชลอบวชนี่พี่สิงห์ออกไปผจญภัยแล้ว แล้วท่านว่าอย่างไรรู้ไหม "ตุ๊ป้อบารมีน้อย...บ่เหมือนน้องดอก ทำอะไรมันยากไปหมด กว่าวัดจะเสร็จ" ท่านก็เลยบอกอายุ ๗๒ ไม่มีเรี่ยวไม่มีแรง ช่วยไปเป็นประธานกฐินให้สักงานหนึ่ง ท่านหวังว่าก่อนตายใช้หนี้หมดก็พอ ก็เลยรับปากท่านไป ดังนั้น ขอแรงพวกเราไปช่วยงานกฐิน วันที่ ๑ ไปช่วยปลดหนี้ให้พระ ถึงเวลาเราจะได้หมดหนี้ไปด้วย"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 13-11-2010 เมื่อ 10:30 |
สมาชิก 129 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#72
|
||||
|
||||
หลวงพ่อบอกว่า ให้พวกเราวางโปรแกรมช่วงนั้นให้ดี ๆ
"ไปช่วยท่านหน่อย ถึงแม้ช่วยได้ไม่มาก ก็ไปช่วยให้ท่านได้ปลื้มใจหน่อย ว่าลูกหลวงพ่อด้วยกันไม่ได้ทิ้งกันหรอก" หลวงพ่อบอกว่า วันที่ ๑๒ สิงหาคม ก็นิมนต์ท่านไปเกาะพระฤๅษีด้วยค่ะ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม |
สมาชิก 123 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#73
|
||||
|
||||
ถาม : หลวงพ่อคะ เวลาเข้าฌานสี่ เมื่อคลายกำลังออกมา อารมณ์ยังเป็นฌานสี่อยู่หรือเปล่าคะ ?
ตอบ : ถ้าหากว่าเป็นฌานใช้งาน กำลังของฌานสี่ยังคุมอยู่ก็เป็น คราวนี้สำคัญตรงที่ว่าเราจะทรงอารมณ์ปัจจุบันตอนนั้นให้อยู่ในระดับไหน ถ้าหากเราทรงอยู่ปฐมฌาน...ความนิ่งของใจก็เท่ากับฌานสี่ แต่ถ้าไม่ใช่ฌานใช้งาน คลายออกมาเท่าไหร่ก็เหลือแค่ระดับนั้น ถาม : แล้วเป็นไปได้ไหมว่า ถ้าเรารักษาอารมณ์ฌาน ไม่ว่าจะเป็นฌานใดก็ตาม ให้อยู่นาน ๆ แล้วจะทำให้ครั้งต่อ ๆ ไปเราเข้าฌานนั้นได้ง่ายขึ้น ตอบ : ถ้ารักษาต่อเนื่องได้ก็จะเข้าได้ง่ายขึ้น ถ้ารักษาต่อเนื่องไม่ได้ทีนี้ก็ลำบาก สำคัญตรงที่ต้องซักซ้อมการเข้าออกฌานให้คล่องตัว ถ้าแบบนั้นจะเข้าเมื่อไร จะออกเมื่อไรก็ได้ ถาม : เวลาที่พิจารณาไปลงตรงไตรลักษณ์ อย่างอนิจจัง ซึ่งเป็นตัววิปัสสนา พอพิจารณาไปแล้วกลายเป็นอารมณ์ฌาน ตรงนี้เป็นไปได้หรือคะ ? ตอบ : จริง ๆ แล้วกำลังฌานยังเหมือนเดิม เพียงแต่ว่าสมาธิจิตของเราที่ใช้ในด้านวิปัสสนา....ถ้าเห็นแล้วยอมรับ...กำลังฌานก็จะช่วยในการตัดกิเลสได้ แล้วขณะเดียวกันถ้าหากว่าเราพิจารณาไปเรื่อย ๆ แล้ว จิตดิ่งลึกทรงตัวจริง ๆ ก็สามารถกลายเป็นฌานได้เช่นกัน
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-07-2020 เมื่อ 20:10 |
สมาชิก 108 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#74
|
||||
|
||||
ถาม : เรื่องของกิเลส
ตอบ : อยู่ที่สติ สมาธิ และปัญญาเรา ถ้ากำลังมันพอ...มันหมุนเกลียวขาดเลย กำลังไม่พอก็ปล้ำมันไปเหอะ จนกว่ามันจะอ่อนแรง ค่อย ๆ ไปบีบคอมันตายทีหลัง
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 13-11-2010 เมื่อ 10:31 |
สมาชิก 102 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#75
|
||||
|
||||
ถาม : (ไม่ได้ยิน)
ตอบ : อย่างน้อย ๆ ก็จัดเป็นอนุสติ ถ้าเราไม่มั่นใจก็นึกถึงครูบาอาจารย์ที่เป็นพระอรหันต์ ถ้าครูบาอาจารย์ที่นึกถึงเราไม่มั่นใจว่าท่านเป็นพระอรหันต์ก็นึกถึงพระพุทธเจ้า ก็เท่ากับเป็นอนุสติระลึกถึงในคุณพระรัตนตรัยเหมือนกัน ถ้าใจเกาะอยู่ตรงนั้นไม่ไปไหนเสียกิเลสก็กินไม่ได้ และท้ายสุดถ้ารู้จักน้อมเข้าหาวิปัสสนาว่าแม้แต่จอมอรหันต์อย่างพระพุทธเจ้า ก็ยังดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน แต่เราไม่ได้เก่งขนาดนั้น อย่างไรก็ต้องตาย ในเมื่อท้ายสุดเราเองก็ตายแน่นอน แล้วเราจะไปไหน เกิดใหม่ก็ทุกข์ ขึ้นชื่อว่าการเกิดไม่สมควรแล้ว เราก็หาที่ไปคือพระนิพพาน และท้ายสุดคือเอาใจเกาะนิพพาน นิพพานอยู่ที่ไหนพระพุทธเจ้าก็อยู่ที่นั่น เราก็ไปนิพพานดีกว่า
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 24-07-2015 เมื่อ 14:27 |
สมาชิก 107 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#76
|
||||
|
||||
ถาม : ขอความเมตตาช่วยอธิบายความต่างระหว่างบารมี ๑๐ กับสังโยชน์
ตอบ : ไม่เห็นจำเป็นต้องอธิบาย มันต่างกันแน่ ๆ สังโยชน์กับบารมี ๑๐ ไม่มีอะไรที่เหมือนกันอยู่แล้ว ทำไมต้องอธิบายความต่าง เกี่ยวเนื่องก็ไม่เกี่ยวอีก ถาม : ทำไมเขาถึงบอกว่า บารมี ๑๐ เต็ม แล้วสังโยชน์จึงจะตัดได้? ตอบ : มันเป็นข้าศึกต่อกัน มันไม่เกี่ยวเนื่องกันหรอก ตรงกันข้าม สังโยชน์คือเครื่องร้อยรัดให้เราติดอยู่กับวัฏฏะ ไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ บารมีสิบเป็นเครื่องช่วยให้เราหลุดพ้นจากวัฏฏะ
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 13-11-2010 เมื่อ 10:32 |
สมาชิก 109 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#77
|
||||
|
||||
ถาม : หลวงพ่อคะ ในการปฏิบัติจำเป็นไหม ที่เราต้องเข้าไปชนกับกิเลส
ตอบ : ถามว่าจำเป็นไหม เลี่ยงได้เลี่ยง หลบได้หลบ ถ้าเลี่ยงไม่พ้นจริง ๆ รู้ว่าสู้ไม่ไหว หนีเลย ถาม : บางครั้งพอเห็นใจสงบแล้ว มันไม่ชอบ อยากทดสอบ ตอบ : ไม่ต้อง จำที่เคยเล่าให้ฟังได้ไหม ที่พี่ ๆ เขาไปลองในอาบอบนวดแล้วเจ๊งกันหมด อย่าลืมว่าจิตใจเราเคยชินกับสิ่งที่ชั่วมาอยู่นับชาติไม่ถ้วน เราเพิ่งจะมาทำความดีไม่นานนี้เอง กำลังของเขามันจะสูงกว่ามาก ลองเมื่อไหร่ โอกาสพังก็มีสูง เลี่ยงได้เลี่ยง หลบได้หลบ ถนอมกำลังของตัวเองไว้ มีโอกาสแล้วก็ฟันคอมันเสียทีเดียว ถาม : แบบว่าอารมณ์มันนิ่ง หนูก็เลยอยากลอง ให้มันเห็นกิเลสชัด ๆ ตอบ : ลอง....เดี๋ยวมันชัดเกิน เล่นกับไฟเดี๋ยวไหม้ทั้งตัว เราอาจจะไม่เป็นไร แล้วอีกคนมันได้หรือเปล่า ถาม : ไม่เป็นไรค่ะหลวงพ่อ ตอบ : ก็ลองดู ถึงเวลามันพัง ก็มานั่งน้ำตาเล็ด
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 24-11-2009 เมื่อ 14:55 |
สมาชิก 107 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#78
|
||||
|
||||
หลวงพ่อบอกว่า "อย่าคิดว่าการ์ตูนไม่มีประโยชน์ ถ้าไม่มีประโยชน์ไม่อ่านให้เสียเวลาหรอก"
ถ้าใคร ๆ เขาว่าชินจัง ทะลึ่ง กล้าแสดงออกอะไรก็ตาม เราต้องรู้ว่ามันไม่ใช่ชินจัง มันเป็นคนเขียน คนเขียนมันกำลังเอากิเลสของมันออกมาให้เราดู ต้องขอบคุณเขาเสียด้วยซ้ำไป เพราะเราก็เหมือนกับเขา แต่เราไม่กล้าเอาออกมาให้คนอื่นเห็น แบบเดียวกับคนที่รักกัน ต่างคนก็ต่างเอาแต่สิ่งที่ดี ๆ ให้คนอื่นดู เพราะกลัวเขาจะไม่รักเรา พอท้ายสุดแต่งงานกันไปก็มีความรู้สึกว่า เออ ได้มาแล้ว หมดความจำเป็นที่จะต้องทำแบบนั้น ทีนี้เบื้องหลังนางงามหรือชายงามก็จะค่อย ๆ โผล่ออกมา มันก็สำคัญตรงที่ว่าเขาสามารถที่จะรับกันได้ไหม ถ้าสามารถที่จะทำใจรับข้อบกพร่องของอีกฝ่ายหนึ่งได้ก็เป็นธรรมดา มันก็จะอยู่กันได้นาน แต่ถ้าทำใจรับข้อบกพร่องของเขาไม่ได้ ก็ตัดลงในระยะเวลาอันรวดเร็ว แล้วก็จะมีข่าวเตียงหักกัน"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 23-07-2009 เมื่อ 07:21 |
สมาชิก 112 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#79
|
||||
|
||||
ถาม : การปฏิบัติในบารมี ๑๐ ควรทำอย่างไร?
ตอบ : เขาทบทวนอยู่ทุกวันว่าที่ผ่านมาเมื่อวาน และวันนี้ตรงจุดไหนพร่องบ้าง มีโอกาสให้ทานแล้วเราไม่ให้มีไหม ถ้ามีไปแก้ตัวใหม่เสียดี ๆ มีโอกาสที่จะละเมิดศีลแล้วเราละเมิดไหม ถ้ามันยังละเมิดศีลอยู่ แม้ว่าไม่ได้ทำด้วยกาย ทำด้วยวาจาก็ยังผิดศีล แม้ไม่ได้ทำด้วยกาย ด้วยวาจา ใจคิดจะละเมิดก็เป็นมโนกรรม พยายามปรับ จนกระทั่งแม้แต่คิด...ก็ไม่คิดที่จะทำ แต่ละข้อไล่ไปเรื่อย อย่าลืมว่าบารมี ๑๐ จริง ๆ เป็นข้าศึกโดยตรงของรักโลภโกรธหลง รักโลภโกรธหลงเป็นต้นเค้าของกิเลสทั้งปวง ฉะนั้นสังโยชน์ทั้งหมดมันงอกมาจากรักโลภโกรธหลง ในเมื่อเราสามารถสร้างบารมี ๑๐ ได้เต็ม เราก็ตัดรักโลภโกรธหลงได้ เมื่อครู่บอกว่าไม่เกี่ยว นี่เกี่ยวแล้ว เพียงแต่ว่าเราจะหาจุดเชื่อมโยงมันยังไง ดังนั้นว่าในการปฏิบัติของเรามันต้องทบทวนอยู่ทุกวัน สมัยที่อยู่วัดท่าซุงหลวงพ่อท่านให้เขียน (บารมี ๑๐) ติดหัวที่นอนไว้เลย ก่อนนอนกราบพระสามทีจะต้องขีดไว้ก่อนเลย เราพลาดตรงไหนหว่า
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 13-11-2010 เมื่อ 10:34 |
สมาชิก 111 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#80
|
||||
|
||||
ในเรื่องการสู้กับกิเลส หลวงพ่อได้สอนว่า "ตรงนั้นเราไปชนเมื่อไหร่ก็แพ้เมื่อนั้น กำลังมันไม่พอ มันต้องรู้หลบรู้หลีก อะไรหนักมาก็เลี่ยงเสีย อะไรเบามาก็ฉวยโอกาสบี้มันให้ตายเลย เหมือนกับเอาเปรียบแต่จริง ๆ มันต้องทำแบบนั้น"
__________________
........................ เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 13-11-2010 เมื่อ 10:34 |
สมาชิก 115 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 2 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 2 คน ) | |
|
|