#81
|
|||
|
|||
บ่อเกิดกิเลสของจิต ก็ไม่พ้นจากอายตนะทั้ง ๖ ซึ่งจิตเคยใช้อยู่ประจำแล้ว
อายตนะทั้ง ๖ นี้ เป็นสมบัติอันล้ำค่าของจิต เท่ากับแก้วสารพัดนึกของจิตก็ว่าได้ จะใช้ให้ไปดูรูปที่สดสวยงดงามสักปานใดก็ได้ ตา ก็ไม่อั้น ตามัว ตาเสีย ไปหาแว่นมาใส่ก็ยังได้ หู ก็ยิ่งใช้ได้ดีใหญ่เลย ตาหลับแล้วหูยังได้ฟัง ได้ยินสบายเลย จมูก ก็เช่นเดียวกัน ไม่ต้องไปยืมเอาตา แลหู มาดมกลิ่นแทน แต่จมูกจะต้องรับหน้าที่คนเดียว ดมกลิ่นเหม็น กลิ่นหอมด้วยตนเองทั้งนั้น ลิ้น ก็ไม่ต้องเกี่ยวให้ตา หู จมูกมาทำหน้าที่รับรสแทนเลย พอป้อนอะไรเข้าในปากเท่านั้นแหละ ไม่ว่าอะไรทั้งหมด ลิ้นจะต้องรับหน้าที่รับรู้ว่า รสเผ็ด เค็ม หวาน เปรี้ยว อร่อย แลไม่อร่อยทันที กาย ก็รับรู้ว่าสัมผัสอันนี้นิ่มนวล อ่อน แข็ง อะไรต่าง ๆ ยิ่ง ใจ แล้ว มโนสัมผัส รู้ คิดนึกอะไรต่อมิอะไรด้วยตนเอง ไม่ต้องไปเกี่ยวข้องด้วยอายตนะทั้ง ๕ หรือ จิตใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นหน้าที่ของใจโดยเฉพาะเลยทีเดียว
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#82
|
|||
|
|||
สิ่งทั้ง ๕-๖ นี้เป็นของเก่า เคยรับใช้จิตมานานแล้วจนคล่องแคล่วทีเดียว
แต่ให้ระวังหน่อย ของเก่าเราเคยใช้มา ให้ความสุขสบายมานานนั้นมันอาจทำพิษให้เราเมื่อไรก็ได้ ดังโบราณท่านกล่าวไว้ว่า ข้าเก่า งูเห่า เมียรัก ไม่ควรไว้วางใจ ของ ๓ อย่างนี้ มันอาจทำพิษให้เราเมื่อไรก็ได้
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#83
|
|||
|
|||
เมื่ออธิบายให้เข้าใจถึงเรื่อง จิต แล ใจ พร้อมด้วย กิเลส เครื่องเศร้าหมองของจิตแล้ว
ผู้ต้องการที่จะกำจัดกิเลสให้พ้น ออกจากจิตของตน พึงหัดสมาธิให้ชำนาญเสียก่อน จึงแยกจิต แยกกิเลสออกจากกันได้ ถ้ามิฉะนั้นแล้ว จิตแลกิเลสจะเป็นอันเดียวกันเลย ไม่ทราบว่าจะแยกอย่างไรกันออก ถ้ามีสมาธิแลชำนาญแล้ว การแยกจิตแลกิเลสออกจากกันจะค่อยง่ายขึ้น คือ จิตตั้งมั่นในอารมณ์อันเดียวแล้วเรียกว่า สมาธิ สมาธิไม่มีอาการส่งส่ายไปภายนอก นั้นเป็นที่ตั้งฐานของการต่อสู้กับกิเลสจิต ที่มันส่งส่ายไปหาอารมณ์ภายนอกนั้น มันส่งส่ายไปหากิเลส
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#84
|
|||
|
|||
ถ้าหากเรากำหนดรู้เท่าทันอย่าให้มันไปหมายมั่นสัญญา จดจำแลปรุงแต่ง
ให้มีแต่เพียงรู้เฉย ๆ กิเลสมันก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะจิตนี้กว่าจะเกิดกิเลสขึ้น มันต้องจดจำ ดำริ ปรุงแต่ง มันจึงเกิดขึ้น ถ้าเพียงแต่รู้เฉย ๆ กิเลสไม่มี เช่น ตาเห็นรูป ก็สักแต่ว่าเห็น มันก็ไม่เกิดกิเลสอะไร
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#85
|
|||
|
|||
ถ้าตาเห็นรูป จดจำว่าเป็นหญิง เป็นชาย ว่าดำ ว่าขาว สวย แลไม่สวย
แล้วดำริ ปรุงแต่งไปต่าง ๆ นานา มันก็เกิดกิเลสตามเราปรุงแต่ง จึงมาทับถมจิตเราที่ผ่องใสอยู่แล้วให้เศร้าหมองไป สมาธิเลยเสื่อม กิเลสเลยเข้ารุมล้อม หูฟังเสียงก็เช่นเดียวกัน เมื่อหูฟังเสียงก็สักแต่ฟัง อย่าไปจดจำหรือดำริ ปรุงแต่งในเสียงนั้น ๆ ฟังแล้วก็ผ่านไป ๆ มันก็จะไม่เกิดกิเลสอะไร เหมือนกับเราฟังเสียงนก เสียงกา หรือเสียงน้ำตก เป็นต้น ส่วนอายตนะอื่น ๆ นอกนั้น มีจมูกเป็นต้น ก็ทำนองเดียวกัน
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#86
|
|||
|
|||
เมื่อเราฝึกหัดสมาธิให้ชำนิชำนาญแล้ว เวลาอายตนะทั้งหลายมีตาเห็นรูป เป็นต้น
จะกำหนดจิตให้เข้าถึงสมาธิ แล้วจิตก็จะมองเห็นรูปสักแต่ว่ารูปเฉย ๆ จะไม่จดจำว่ารูปเป็นหญิง เป็นชาย เป็นหนุ่ม เป็นแก่ ขาวแลดำ สวย แลไม่สวย แล้วก็ไม่ดำริปรุงแต่งไปต่าง ๆ นานา กิเลสก็จะไม่เกิดในที่นั้น ๆ การชำระจิตอย่างที่ว่ามานี้ เป็นแต่ชำระได้ชั่วคราว เพราะเหตุทำสมาธิให้มั่นคงชำนิชำนาญ ถ้าสมาธิไม่มีกำลังแล้ว ไม่ได้ผลเลย ถ้าชำระจิตให้สะอาดหมดจริงจังแล้ว ต้องทำวิปัสสนา ซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#87
|
|||
|
|||
ฌาน สมาธิ ใช้นามธรรมพิจารณารูปอย่างเดียวกัน
แต่ต่างกันในความหมายแลความประสงค์ ฌาน แลสมาธิ ดังอธิบายมาแล้ว จะอธิบายซ้ำอีกเล็กน้อย เพื่อทวนความจำ ฌาน พิจารณาด้วยนามธรรม คือ จิต เอาไปเพ่งรูปธรรม คือ เช่น เพ่งร่างกายอันนี้ให้เห็นเป็นธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม จิตน้อมเชื่อมั่นว่าตัวของเราเป็นสิ่งนั้นจริง ๆ จนเกิดภาพเป็นดินขึ้นมาจริง ๆ บางทีตนเองพิจารณาเห็นภาพหลอกลวง ว่าเป็นสิ่งนั้นจริง ๆ จนกลัว เลยเกิดวิปริตจิตเป็นบ้าก็มี แลยังมีอาการมากกว่านี้อีกแยะ นี้เป็นเรื่องของ ฌาน
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-05-2010 เมื่อ 01:38 |
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#88
|
|||
|
|||
เรื่องของ สมาธิ ก็พิจารณาอย่างนั้นเหมือนกัน แต่พิจารณาเป็น ๒ นัย
คือ ไม่เห็นแต่ภายใน เห็นทั้งภายนอกด้วย เห็นภายใน คือเห็นแบบฌาน เห็นว่าร่างกายของเราเป็นอสุภะ เปื่อยเน่าเป็นของน่าเกลียด ความเห็นอีกอันหนึ่งว่ามันจะน่าเกลียดอะไร เราอยู่ด้วยกันมาแต่ไหนแต่ไรมา เราก็ไม่เห็นเป็นอะไร มันเป็นอสุภะก็ของธรรมดาของร่างกาย มันเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นแต่ไรมาแล้ว นี่เป็นความเห็นของผู้ฝึกหัดสมาธิ
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#89
|
|||
|
|||
เรื่องของ วิทยาศาสตร์ ก็พิจารณาอย่างนั้น พิจารณาจนนิ่งแน่วลงสู่เรื่องนั้นจริง ๆ
ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วก็จะไม่รู้เรื่องเหล่านั้น เช่น พิจารณากายวิภาค เห็นเรื่องของกายมนุษย์คนเรา มีชิ้นส่วนประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ให้เคลื่อนไหวไปมาได้อย่างนี้ ๆ แล้วก็บันทึกไว้เป็นตำราเรียนกันต่อ ๆ ไปนี้เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ ดีเหมือนกัน ถ้าไม่มีวิทยาศาสตร์ เราเกิดมาก็ไม่ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือสร้างโลก ของผู้ยังติดอยู่ในโลก ยังไม่เบื่อ บางคนอายุตั้ง ๑๐๐ ปี ยังไม่อยากตาย ยังขออยู่ไปอีกสัก ๕๐๖๐ ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์สร้างโลกยังไม่จบ ตายไปแล้วคนอื่นเกิดมาสร้างใหม่อีก ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย มาสร้างโลก อย่างนี้ไม่รู้จักจบสิ้น
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#90
|
|||
|
|||
นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากมักเห็นว่าตายแล้วก็หมดเรื่องไปเรื่องหนึ่ง
หรือเราเคยเป็นอะไร มีวิทยฐานะเช่นไรอยู่ในโลกนี้ ตายไปแล้วก็จะเป็นอยู่อย่างเคยไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เชื่อกรรมเชื่อผลของกรรม ทั้ง ๆ ที่เขาเหล่านั้นทำกรรมอยู่นั่นเอง เช่น เขาแต่งมนุษย์เพศชายให้เป็นหญิงได้ ดังนี้ เป็นต้น เขาเชื่อว่ากรรมคือ ตัวมนุษย์ วิทยาศาสตร์เองเป็นผู้แต่งคน ไม่ใช่กรรม คือบุญแลบาป เป็นของไม่มีตัวตน ของไม่มีตัวตน จะมาทำของที่มีตัวตนได้อย่างไร
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#91
|
|||
|
|||
ท่านผู้รู้ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ท่านเหล่านั้น เชื่อกรรมเชื่อผลของกรรม
เราเกิดมาเวียนว่ายตายเกิด นับเป็นอเนกอนันตชาติเพราะกรรมเก่า เกิดมาใช้กรรมเก่ายังไม่หมดสิ้น ทำกรรมใหม่อีกแล้ว เป็นอย่างนี้ตลอดภพตลอดชาติ ท่านเรียกว่า วัฏฏะ ๓ เกิดมาเรียกว่า วิปากวัฏฏ์ เกิดจากวิบากของกรรม เกิดมาแล้วต้องประกอบกรรม ไม่ทำดีก็ทำชั่ว เรียกว่า กัมมวัฏฏ์ การประกอบกรรมมันต้องมีเจตนา เจตนานั้นเป็นกิเลส เรียกว่า กิเลสวัฏฏ์ ผลของกิเลสนั้นเรียกว่า วิปากวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ กลับมาเกิดอีก วนเวียนกันอยู่อย่างนี้ ไม่รู้จักจบจักสิ้นสักที ผู้รู้ทั้งหลายท่านเห็นโทษของความเกิด เบื่อหน่ายในความเกิด หาวิธีไม่ให้เกิดอีกด้วยการหัดทำฌาน สมาธิ แลเจริญปัญญา วิปัสสนา รู้แจ้งแทงตลอด เห็นตามสภาพเป็นตามธรรมดาของมัน ปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงหมด จิตใจสะอาด กลายมาเป็นใจ กิเลสตามไม่ทัน
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายท่าขนุน : 23-06-2010 เมื่อ 20:01 |
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#92
|
|||
|
|||
วิทยาศาสตร์เพ่งพิจารณาจนเห็นชัดแจ้งตามเป็นจริง แต่เป็นรูปธรรม เป็นของภายนอก
แล้วบันทึกเป็นตำราสอนกันต่อ ๆ ไป ส่วนในทางธรรม ต้องฝึกหัดทำ ฌาน สมาธิ แลปัญญาวิปัสสนา รู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งนั้น ๆ ที่เป็นรูปธรรมทั้งเป็นนามธรรมด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์ และไม่สามารถจะบันทึกออกมาเป็นรูปธรรมได้ แต่พูดรู้เรื่องกันได้ในพวกผู้ปฏิบัติด้วยกัน นักพูดธรรมะจงระวัง พูดถึงเรื่อง ฌาน กลับเป็นสมาธิ แลวิทยาศาสตร์เสีย เลยไม่รู้ตัว เมื่อพูดถึงเรื่อง สมาธิ เลยกลายเป็นฌาน แลวิทยาศาสตร์ไปฉิบ ของทั้ง ๓ อย่างนี้ใกล้กันมาก
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 23 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#93
|
|||
|
|||
นักปฏิบัติทั้งหลายใจร้อน เรียกว่าชิงสุกก่อนห่าม หรือตายก่อนเกิด
ทำความสงบ บริกรรม ภาวนา ใจยังไม่เป็นสมาธิ อยากจะรู้จะเห็นสิ่งต่าง ๆ เลยนึกปรุงแต่งไปตามมติของตน แลมันก็เป็นตามนั้นจริง ๆ ถึงแม้ถึงขั้นสมาธิภาวนาแล้ว ผู้ไม่ชำนาญในสมาธิภาวนาของตน ก็ยังปรุงแต่งไปได้ เลยสำคัญว่าตนเกิดความรู้จากภาวนา ถ้านักปฏิบัติจริงแล้วจะไม่อยากรู้อย่างนั้น มีแต่ตั้งหน้าตั้งตาทำสมาธิให้จิตสงบอย่างเดียว มันจะเกิดความรู้อะไรหรือไม่ก็ตาม ถือว่าสมาธิความสงบเป็นของสำคัญ สมาธิความสงบมั่นคงดีแล้ว ปัญญาความรู้อะไรต่าง ๆ มันจะไปไหนพ้น อุปมาเหมือนไฟยังไม่ดับ แสงสว่างแลความร้อนย่อมมี
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#94
|
|||
|
|||
ผู้ทำสมาธิมั่นคงดีแล้ว ไม่อะไรทั้งหมด ขยันทำแต่สมาธิ ทั้งกลางวัน แลกลางคืน
ไม่คิดถึงความเหนื่อยยากลำบากอะไร ขอให้ได้สมาธิแล้วก็พอ นั้นได้ชื่อว่า นักปฏิบัติ โดยแท้ ในที่นี้ผู้เขียนอยากจะแสดง ฌาน กับ สมาธิ ให้เห็นความแตกต่างกัน พอเป็นนิทัศน์สักเล็กน้อย ฌาน แล สมาธิ มิใช่อันเดียวกัน ท่านผู้รู้ทั้งหลายท่านก็แสดงว่า ฌานอันหนึ่ง สมาธิอันหนึ่ง เพราะท่านแสดงองค์ฌานแลการละก็ต่างกัน ถึงฌาน แลสมาธิ จะใช้คำบริกรรมอย่างเดียวกัน แต่การพิจารณามันแตกต่างกัน ถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว แม้ความรู้ก็ต่างกัน ตัวอย่างเช่น
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#95
|
|||
|
|||
พิจารณาความตาย
ฌาน พิจารณาแต่ตาย ๆ อย่างเดียว จนจิตนิ่งแน่ลงเป็นฌาน รวมเข้าเป็นภวังค์ บางทีก็นิ่งเฉยไม่รู้ตัว อย่างนี้เรียกว่า นั่งหลับ ได้เป็นนาน ๆ ตั้งหลายชั่วโมงก็มี บางทีนิ่งเฉยอยู่ ยินดีกับความสุขสงบของฌานนั้น ๆ ตั้งหลายชั่วโมงก็มี พูดง่าย ๆ จิตใจที่บริกรรมภาวนานึกน้อมเอาแต่คำบริกรรมนั้นอย่างเดียว แล้วน้อมเอาจิตนั้นให้เข้าสู่ภวังค์ คือ สุขสงบอย่างเดียว จนจิตเข้าสู่ภวังค์ จะหายหรือไม่หายเงียบก็ตาม เรียกว่า ฌาน หรือจะพิจารณาของภายนอก เช่น ดิน หรือ น้ำ-ไฟ-ลม ก็ตาม ล้วนแล้วแต่เพ่งพิจารณาเพื่อน้อมจิตให้รวมเข้าเป็นภวังค์ทั้งนั้น แล้วก็ยินดีพอใจกับความสุขสงบอย่างเดียว
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-07-2010 เมื่อ 19:57 |
สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#96
|
|||
|
|||
ฌาน แปลว่า เพ่ง คือจะเพ่งเอาดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นอารมณ์ ของภายนอก
หรือเอาของภายในกายของตัวเอง หรือจะเพ่งจิตเป็นอารมณ์ก็ตามได้ชื่อว่า เพ่ง ด้วยกันทั้งนั้น จิตที่เพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว ไม่ไปเอาอารมณ์อื่นมาเกี่ยวข้อง นั่นแหละ เป็นการข่มกิเลสด้วยฌาน ฌาน เมื่อจิตถอนออกจากฌานแล้ว กิเลสที่มีอยู่ก็ฟูขึ้นตามเดิม ท่านอธิบายไว้ชัดเลยว่า ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก ๑ วิจาร ๑ ปีติ ๑ สุข ๑ เอกัคคตา ๑
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#97
|
|||
|
|||
เมื่อจะเป็นฌานที่ดี ภวังคุบาท ภวังคจรณะ ภวังคุปัจเฉท
เมื่อเข้าถึงฌานแล้วละกิเลสได้ ๕ คือ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑ อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ (แท้จริงเป็นเพียงแต่ ข่ม มิใช่ละ) แต่ท่านไม่ได้อธิบายไว้ว่าฌานอะไร ละกิเลสได้เท่าไร นักปฏิบัติโปรดได้พิจารณาด้วย ถ้าเห็นในที่ใดแล้ว กรุณาบอกไปยังผู้เขียนด้วย ผู้เขียนยินดีฟังเสมอ
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#98
|
|||
|
|||
ความรู้อันเกิดจากฌานนั้น ถ้าผู้นั้นเคยได้บำเพ็ญมาแต่ชาติก่อนก็จะเกิดความรู้ต่าง ๆ นานา หลายอย่าง
แต่ความรู้นั้นมักจะเป็นไปในการส่งออกไปข้างนอก โดยมาจับเอาจิตผู้ส่งออกไปรู้ ไม่เหมือนกับตามองเห็นรูป แต่ตาไม่เคยเห็นตาตนเองเลย เช่น รู้เห็นอดีต อนาคตของตนเองแลคนอื่น ว่าตนเองแลคนนั้นคนนี้เคยมีชาติภูมิเป็นอยู่อย่างนั้น อย่างนี้ เคยมีสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ไม่ทราบว่าลำดับภพชาติแลในระหว่างนั้นได้เป็นอะไร ดังนี้เป็นต้น แต่หาได้รู้รายละเอียดไปถึงตัวเราแลคนนั้นได้ทำกรรมอะไรไว้จึงได้ไปเกิดเช่นนั้นไม่ แลเมื่อจะรู้จะเห็นก็ต้องจิตเข้าถึงภวังค์ มีอาการคล้าย ๆ กับคนจะนอนหลับเคลิ้มไป หรือหายเงียบไปเลย แล้วเกิดความรู้ขึ้นในขณะจิตเดียวเท่านั้น
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-07-2010 เมื่อ 02:38 |
สมาชิก 20 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#99
|
|||
|
|||
สมาธิ นั้นจะจับเอาคำบริกรรมของฌานดังอธิบายมาแล้วนั้นก็ได้
หรือจับเอาอันอื่นที่มาปรากฏแก่จิตของตนก็ได้ เช่น เดินไปเห็นเขาทำทารุณกรรมแก่สัตว์ เป็นต้น แล้วจับเอามาพิจารณาจนเห็นชัดแจ้งว่า มนุษย์แลสัตว์เกิดมามีแต่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน สัตว์ตัวน้อยแลมีอำนาจน้อยย่อมเป็นเหยื่อของการเบียดเบียนของสัตว์ตัวใหญ่แลมีอำนาจมากอยู่อย่างนี้ หาได้มีที่สิ้นสุดไม่ ตราบใดโลกนี้ยังเป็นโลกอยู่ แล้วเกิดมีความสลดสังเวชในสัตว์เหล่านั้นพร้อมทั้งตัวของเรา ซึ่งก็เป็นสัตว์ตัวหนึ่งของโลกเหมือนกับเขา จิตก็สลดหดหู่เหมือนขนไก่ถูกไฟฉะนั้น แล้วก็รวมเข้ามาเป็นสมาธิ
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 19 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#100
|
|||
|
|||
พูดง่าย ๆ เรียกว่า ฌาน พิจารณาบริกรรมเพ่งพยายามเพื่อให้จิตรวม
เมื่อจิตรวมแล้วก็ยินดีกับสุขสงบของฌานนั้น ไม่อยากพิจารณาธรรมอะไรอีก สมาธิ ก็พิจารณาเช่นเดียวกัน แต่พิจารณาให้เห็นสิ่งนั้น ๆ ให้เห็นสภาพตามเป็นจริงของมันอย่างไร จิตจะรวมหรือไม่รวมก็ไม่คำนึงถึง มีแต่เพ่งพิจารณาให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงของมันก็แล้วกัน ด้วยอำนาจจิตที่แน่วแน่ในอารมณ์นั้นอันเดียวนั้นแหละ จิตเลยเป็นสมาธิไปในตัวมีลักษณะเหมือนกับนั่งสงบอยู่คนเดียว แต่จิตยังฟุ้งซ่านอยู่ ขยับออกไปนั่งอยู่อีกแห่งหนึ่งซึ่งอากาศโปร่งดี จิตใจก็เบิกบาน แล้วอารมณ์ภายในจิตก็หายหมด ไม่วุ่นวาย ฉะนั้น
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว... กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑ |
สมาชิก 16 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
Tags |
หลวงปู่เทสก์ |
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|