กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 01-01-2016, 19:14
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,079 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๘

ทุกคนนั่งในท่าสบายของตนเอง ตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกทั้งหมดของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกไหลตามลมหายใจออกมา ใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เราถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมวันสุดท้ายของเดือนธันวาคมและวันสุดท้ายของปี ๒๕๕๘ ของพวกเรา

วันนี้จากคำถามที่ได้ถามมา มีอยู่ส่วนหนึ่งที่ว่า “ในเมื่อรู้ว่าการภาวนามีผลานิสงส์มากกว่าหลายเท่า แล้วทำไมถึงไม่ภาวนา แต่ไปให้ทานกันเสียเป็นส่วนใหญ่ ?” เรื่องนี้เป็นเรื่องของความเข้มข้นของกำลังใจแต่ละคน ซึ่งถ้าจะว่ากล่าวกันอย่างเป็นทางการ ก็คือ ขึ้นอยู่กับบารมีของแต่ละคน ว่าท่านทั้งหลายเหล่านั้นสร้างบารมีมาในระดับไหน

ถ้าเป็นบารมีต้นขั้นหยาบยังไม่สามารถที่จะให้ทานได้ ถ้าบารมีต้นขั้นกลางต้องชักชวนกันแล้วชักชวนกันอีก ตัดใจบริจาคได้ยากมาก ประเภทล้วงออกมาแล้วยังเก็บคืนไปก็มี ถ้าเป็นบารมีต้นขั้นละเอียดสามารถให้ทานได้ แต่ถ้าเอ่ยถึงเรื่องศีลและภาวนาจะไม่รู้เรื่องกันเลย

ถ้าเป็นบารมีกลางขั้นต้นสามารถให้ทานได้ แต่ถ้าพูดถึงการรักษาศีลก็เหมือนกับแบกภูเขาทั้งลูก บารมีกลางในระดับกลางสามารถให้ทานได้ รักษาศีลก็ขาดตกบกพร่อง ต้องอุปบารมีขั้นละเอียดถึงสามารถให้ทานได้ รักษาศีลได้ แต่ถ้าพูดถึงเรื่องการภาวนาก็ไม่มีจิตคิดที่จะทำ ต้องเข้าถึงระดับปรมัตถบารมีเท่านั้น

ถ้าหากว่าเป็นระดับปรมัตถบารมีขั้นหยาบให้ทานได้ รักษาศีลได้ แต่ว่าในเรื่องของการภาวนาก็เหมือนอย่างกับเข็นครกขึ้นภูเขา ก็คือแทบไม่มีกำลังใจที่จะทำ ถ้าหากว่าเป็นปรมัตถบารมีขั้นกลางสามารถให้ทานได้ รักษาศีลได้ ภาวนาบ้าง ด่าชาวบ้านเขาบ้าง ไปถึงปรมัตบารมีขั้นละเอียดจึงให้ทานได้ รักษาศีลได้ เจริญภาวนาได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-01-2016 เมื่อ 03:03
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 02-01-2016, 10:46
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,079 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

คราวนี้ในเรื่องของบารมีนั้น หมายเอาบารมี ๑๐ หรือทศบารมี ซึ่งเราสร้างสมมาเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน ถ้าในลักษณะอย่างนี้ การสร้างบารมีของเราก็จะขึ้นต้นด้วยปัญญาบารมี รู้ว่าเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ดีจริง เราก็รีบกระทำ

ถ้าหากว่าท่านตั้งใจให้ทานก็เพราะมีปัญญารู้ว่าทานนั้นดีอย่างไร เป็นการตัดความโลภจากจิตจากใจของเราอย่างไร ทำให้ผู้ได้รับมีความรักใคร่ต่อเราอย่างไร เมื่อเห็นคุณความดีของทาน ท่านทั้งหลายถึงจะให้ทานได้ เมื่อให้ทานแล้วในขณะนั้นต้องประกอบไปด้วยเมตตาบารมี ไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถที่จะสงเคราะห์อนุเคราะห์ผู้อื่น บุคคลที่จิตประกอบด้วยเมตตาย่อมทรงศีลเป็นปกติ

ดังนั้นไม่ว่าท่านจะเริ่มในบารมี ๑๐ จากตรงไหนก็ตาม สิ่งที่ท่านจะได้รับก็คือบารมีอีก ๙ ตัวจะตามมาติด ๆ ด้วย จะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม บารมีทั้งหลายเหล่านั้นก็จะตามติดชิดเข้ามาโดยอัตโนมัติ เหมือนกับซื้อรถย่อมมีล้อแถมมาด้วย สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ถ้าหากว่าท่านจะเริ่มสร้างบารมี ไม่ว่าจะเริ่มจากตัวไหนก็สามารถทำได้

และขอให้รู้ว่าคู่ศึกของบารมี ๑๐ ก็คือสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ซึ่งเริ่มตั้งแต่สักกายทิฐิ มีความเห็นว่าตัวเราเป็นของเรา วิจิกิจฉา ลังเลสงสัยในคุณพระรัตนตรัย สีลัพพตปรามาส รักษาศีลไม่จริงไม่จัง ขาด ๆ วิ่น เหล่านี้ไปจนถึงอวิชชา คือความเขลารู้ไม่จริง ทำให้หลงผิด คิดผิด พูดผิด ทำผิด เป็นต้น

สมัยหลวงพ่อวัดท่าซุงยังอยู่ ท่านให้เขียนบารมี ๑๐ ติดหัวนอนเอาไว้ ตื่นเช้าขึ้นมามองบารมี ๑๐ แล้วตั้งใจทบทวนว่าตรงไหนที่เรายังบกพร่องอยู่ วันนี้เราจะทำตัวนั้นให้เต็มขึ้นมา แล้วเขียนสังโยชน์ ๑๐ ติดเอาไว้ด้วยว่าตอนนี้เราตั้งใจจะละตัวไหน เมื่อเป็นเช่นนี้ งานของเราก็เหลือน้อย ก็คือแค่พยายามสร้างบารมี ๑๐ ให้เต็ม และ ละสังโยชน์ ๑๐ ให้ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-01-2016 เมื่อ 11:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 03-01-2016, 11:38
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,079 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในส่วนของสังโยชน์ ๑๐ นั้น ท่านแนะนำเอาไว้ว่าให้ยึดการทำลายสังโยชน์ ๓ เป็นหลัก ก็คือ ให้รู้ตัวอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย ในเมื่อเราจะตายก็ไม่ควรประมาท ควรที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ เพื่อที่จะให้เรามีสุคติเป็นที่ไป แล้วทำความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างจริงจัง ไม่ล่วงเกินด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เป็นต้น

ถ้าหากว่าท่านสามารถทำดังนี้ได้ก็ถือว่าในส่วนของบารมี ๑๐ ขั้นต้น เราสามารถที่จะยึดหัวหาดเอาไว้ ก็ให้กระโดดไปที่ตัวสุดท้ายคืออวิชชา อวิชชานั้นแบ่งเป็นฉันทะ คือความยินดีและพอใจ จึงทำให้เกิดราคะ คืออยากมีอยากได้ อย่างเช่นว่าเห็นรูปสวยเกิดความยินดี ความพอใจ ก็อยากมีอยากได้ไว้เป็นของเรา ได้ยินเสียงเพราะเกิดความยินดี เกิดความพอใจ ก็อยากมีอยากได้มาเป็นของเรา เป็นต้น ไม่ว่าจะได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสหรือครุ่นคิดก็ตาม ก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน

ดังนั้น...เราจึงต้องสร้างสมาธิของเราให้มั่นคง เมื่อรู้ตัวว่าตากระทบรูปจะได้มีสติคอยระมัดระวัง เอาแค่สักแต่ว่าเห็น หูได้ยินเสียงก็มีสติคอยระมัดระวังสักแต่ว่าได้ยิน จมูกได้กลิ่นก็ระมัดระวังสักแต่ว่าได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิดก็ลักษณะเดียวกัน ถ้าสติของเราว่องไวก็จะรู้เท่าทัน สมาธิของเรามั่นคงก็หยุดยั้งตนเองลงได้ ก็เหลือแต่ปัญญาที่เราจะประหัตประหาร หรือหลบเลี่ยงกิเลสอย่างไรตามแต่ระดับของวาสนาบารมีที่เราบำเพ็ญมา

เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านทั้งหลายก็จะเห็นได้ว่า ถ้าหากว่าเราสร้างเสริมบารมี ๑๐ ของเราให้เข้มข้นเอาไว้ โอกาสที่จะประหัตประหาร ขุดรากถอนโคนสังโยชน์ ๑๐ ก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเรา โดยให้ยึดหัวหาดที่สังโยชน์ ๓ และไปทำลายตัวเจ้านายของสังโยชน์ทั้ง ๑๐ คือ อวิชชาให้ได้ ชีวิตนี้ของเราก็มีหวังที่จะหลุดพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน

ลำดับต่อไปก็ให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันอาทิตย์ที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๘

(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย รัตนาวุธ)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-01-2016 เมื่อ 12:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:34



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว