กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 29-09-2011, 11:04
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default ให้ศึกษาอารมณ์จิตที่ยังเกาะติดร่างกายให้มาก

ให้ศึกษาอารมณ์จิตที่ยังเกาะติดร่างกายให้มาก

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้มีความสำคัญดังนี้

๑. “ให้ศึกษาอารมณ์ของจิตที่เกาะติดร่างกายให้มาก จักเห็นความเกาะติดในทุก ๆ อิริยาบถ ตั้งแต่ลืมตาขึ้นมาจนกระทั่งหลับนอนไปเลย นี่แหละคือการค้นคว้าหาตัวสักกายทิฏฐิ คนเราจักละหรือตัดมันได้ ก็ต้องรู้จักตัวสักกายทิฏฐิจริง ๆ ต้องเห็นศัตรูก่อน จึงจักกำจัดศัตรูได้ ข้อนี้ฉันใด การจักตัดสักกายทิฏฐิก็ฉันนั้น จึงต้องทำกันจริง ๆ มิใช่ทำเล่น ๆ ต้องอย่างจริงจัง แล้วหาเหตุหาผลในการละ หรือตัดกิเลสด้วยปัญญาจริง ๆ แล้วผลที่ได้ก็จักจริงทุกอย่าง”

๒. “งานทางโลกไม่มีใครทำได้จบจริง ๆ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกตกอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณญาณ บุคคลใดยังข้องติดอยู่กับงานทางโลก จึงทำไปไม่รู้จักจบ งานทางโลกเป็นกิจที่ทำได้เฉพาะเมื่อมีขันธ์ ๕ เท่านั้น บุคคลผู้รู้คุณค่าของการมีขันธ์ ๕ ก็จักทำหน้าที่อย่างชาญฉลาด มุ่งทำงานเพื่อเป็นที่เจริญของจิตด้วย ไม่เบียดเบียนตนเองทั้งกาย วาจา ใจด้วย สงเคราะห์ตนเองและผู้อื่นเท่าที่จักสงเคราะห์ได้ จิตก็จักเป็นสุข ทำงานทางโลกไปตามหน้าที่ โดยไม่เบียดเบียนและไม่ข้องติดอยู่ในหน้าที่นั้น ความรับผิดชอบนั้นมี ทำอย่างดีที่สุด ตามกำลังความสามารถจักทำได้ แต่จิตไม่เกาะติดให้เกิดความเศร้าหมองของจิต มีธรรมค้ำชูจิต ตายเมื่อไหร่ งานทางโลกก็เลิกกัน วางได้สนิท จิตไม่ติดห่วงใด ๆ ทั้งสิ้น เวลานี้จิตเจ้ายังห่วงทั้งงานทางโลกและงานทางธรรม งานทางโลกกลัวจักทำไม่เสร็จ งานทางธรรมกิเลสก็ยังสิงใจหนาอยู่ กลัวทำไม่เสร็จเช่นกัน เพราะฉะนั้น จงพยายามตรวจสอบจิต อย่าให้คิดห่วงอะไร เพียรใช้ปัญญา ปล่อยอารมณ์ห่วงนั้นให้ลุล่วงไป ตรวจสอบดูกันให้ดี แล้วจักเห็นจุดบกพร่องได้”

๓. “สิ่งใดเป็นอันตรายกับจิต เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสก็พึงหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น และพยายามหาเหตุหาผลมาวางอารมณ์เกาะยึดโทสะ โมหะ ราคะ ให้คลายไปจากจิต ให้เห็นสภาพความโกรธ ความรัก ความหลงตามความเป็นจริง อย่าไปอนุโลมตามกิเลส คำว่ารักมิใช่เพียงแต่หนุ่มสาว ให้ดูอารมณ์เกาะติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสด้วย ให้ครอบไปหมดทุกอายตนะสัมผัส อย่าไปใจอ่อนยอมแพ้กิเลส ค่อย ๆ พิจารณาให้รู้แจ้งตามความเป็นจริง แล้วจิตจึงจักตัดวางอารมณ์ที่เกาะติดนั้นลงได้”

๔. “ให้สังเกตอารมณ์ของจิต ยิ่งตามรู้ลึกเข้าไป ยิ่งเห็นความละเอียดของกิเลสมาก อย่าพึงสนใจกับบุคคลอื่น ให้สนใจกับจิตของตนเองให้มาก เช่น การพูดกล่าวสอนธรรมให้คนอื่นยังเป็นของง่าย แต่ที่จักกล่าวสอนธรรมให้แก่จิตตนเองเป็นของยาก ที่เห็น ๆ ได้ง่าย ก็เรื่องการติดรูปและรสอาหารเป็นต้น แม้จักรู้สึกเบื่อในการประกอบอาหาร แต่บางขณะพอกระทบกลิ่น-รสของอาหารเข้า จิตก็ยังมีความอยากบริโภคอาหารนั้น เรียกว่าเบื่อไม่จริง ยังมีราคะในอาหาร จุดนี้เป็นการยกให้เห็นแนวทางของการพิจารณาหาอริยสัจ และให้เห็นอารมณ์ทะยานอยากของจิต แต่การพิจารณานี้ให้เป็นแนวทางครอบคลุมไปทั่ว ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ สุดแล้วแต่จิตของพวกเจ้า จักละเอียดขึ้นมาพิจารณาธรรมนั้น ๆ ได้สักแค่ไหน”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 65 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 30-09-2011, 10:58
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๕. “สุขภาพไม่ดี ก็ให้หมั่นพิจารณาดูโทษของขันธ์ ๕ ที่สร้างทุกข์ให้กับจิตตลอดเวลา เมื่อเห็นสภาวะที่น่าเบื่อเยี่ยงนี้ จิตจักต้องหาทางพ้นไปอยู่ตลอดเวลา การพิจารณาร่างกายอยู่เสมอ ๆ เป็นอุบายไม่ให้จิตส่งออกนอกกาย เป็นวิปัสสนาญาณที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นอริยสัจ เป็นหนทางอันจักให้พ้นไปเสียได้จากร่างกาย พ้นเสียจากความเกิด มิใช่ให้ไปดูอื่นไกล ดูอาการของจิตที่เกาะติดยึดมั่นถือมั่นอยู่ในกายนี้ ว่าเป็นเราเป็นของเรานี่แหละเป็นสำคัญ สิ่งอื่นใดที่อยู่ภายนอกมิใช่หนทางพ้นทุกข์ ให้พิจารณาให้ลึกซึ้ง ที่เราเกิดโทสะ ราคะ โมหะ หรือโลภะ ก็เนื่องจากการที่จิตเกาะกายเป็นต้นเหตุ นี่แหละ พิจารณาอนุโลม-ปฏิโลมให้ลึกซึ้ง แล้วจักเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง เรื่องนี้สำคัญมาก ไม่มีใครช่วยเหลือเราได้นอกเสียจากว่า เราต้องพยายามช่วยเหลือตนเอง”

๖. “ให้พิจารณาไตรลักษณ์ควบคู่กรรมฐานทั้ง ๔๐ กองแล้ว ให้เห็นจิตที่ถูกอำนาจไตรลักษณ์ครอบงำ จิตตกอยู่ในกามตัณหา ภวตัณหา วิภาวตัณหา เพราะไตรลักษณ์ครอบงำโดยละเอียดแล้ว เจ้าจักเห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อยู่ที่จิตเจ้า ที่เข้าใจนั้น สอบสวนค้นคว้าเข้าไปให้ลึกซึ้ง และอย่าลืมเห็นไตรลักษณ์

แล้วให้หวนคิดไปถึงพระสูตรที่แสดงถึงพระ ๕๐๐ รูป ซึ่งเคยพิจารณาอนิจจลักษณะมาหลายชาติ แต่มิอาจบรรลุธรรมอันที่จักหลุดพ้นจากอำนาจไตรลักษณ์ได้ มาถึงพุทธันดรนี้ พระทั้ง ๕๐๐ รูปได้รับฟังคำสอนของสมเด็จองค์ปัจจุบัน แล้วไฉนจึงหลุดพ้นจากบ่วงไตรลักษณ์ได้ ให้พิจารณาจุดนี้โดยอเนกปริยายด้วย อนึ่ง อย่าตั้งเป้าหมายไว้เพียงแต่อนาคามีผล ให้มุ่งหวังพระอรหัตผลปฏิบัติควบคู่กันไปเลย”

๗. “อย่าทิ้งอานาปานุสติกรรมฐาน ยิ่งกำหนดรู้ลมมากเท่าไหร่ จิตจักยิ่งทรงสติได้มากขึ้นเท่านั้น ให้เอาลมหายใจมาเตือนใจไว้เสมอว่า ชีวิตนี้มันไม่เที่ยง อาจจักตายลงในปัจจุบันนี้ได้ตลอดเวลา เป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต มีมรณาฯ ควบอุปสมานุสติตลอดเวลา และอย่าลืมว่า จักเพียรละกิเลสจุดไหน กิเลสจุดนั้นจักเข้ามาทดสอบจิตอย่างหนัก อย่างกำลังศึกษาอานาปาฯ เป็นต้น ความอึดอัดขัดข้องก็จักเข้ามาเล่นงาน เช่น ถีนมิทธะ เล่นงานอย่างหนัก จนไม่สามารถยกจิตขึ้นนิพพานได้ เพราะฉะนั้นการต่อสู้ ก็จักต้องใช้ความอดทนให้มาก ๆ และการพิจารณารูป-นามก็เช่นกัน รูป-นามก็จักแสดงอาการเป็นโทษให้เห็นอย่างชัดเจน พยายามอย่าปล่อยอารมณ์ให้เบื่อหน่ายมากเกินไป เพราะจักทำให้จิตหดหู่เศร้าหมอง จิตไม่ผ่องใส เพราะฉะนั้นจงพิจารณาลงตัวธรรมดาของรูป-นามเสียให้ได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 30-09-2011 เมื่อ 11:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 03-10-2011, 10:12
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๘. “พิษสงของนิวรณ์ตัวฟุ้งซ่านนั้นมีอยู่มากหลาย ให้ศึกษาจุดนี้ให้มาก ๆ ด้วย

๘.๑ จิตของคนเรา เมื่อมีเวลาละทิ้งหน้าที่การงานของกายในชั่วขณะหนึ่ง จุดนั้นกายวิเวกแล้ว

๘.๒ เมื่อเป็นเวลาว่างจากการสนทนากับบุคคลภายนอก นั่นเป็นวจีวิเวกแล้ว

๘.๓ เมื่อควบคุมอารมณ์มิให้ฟุ้งซ่านได้ นั่นเป็นมโนวิเวกแล้ว

และเมื่อเอาสติ-สัมปชัญญะมากำหนดรู้ในพระธรรมคำสั่งสอน เอโกธัมโมก็เกิด ทำให้จิตมีความเข้าใจในพระธรรม แม้จักเผลอฟุ้งซ่านไปบ้าง ก็มีสติ-สัมปชัญญะรู้ตัวเร็ว หักล้างนิวรณ์ให้สลายตัวไปได้ ดีกว่าไม่รู้ตัวเสียเลย เมื่อทำเช่นนั้นจนสามารถรู้ตัวได้ ว่าจิตสงบเป็นอย่างไร หมายถึงสงบโดยปราศจากอารมณ์ฟุ้งซ่านเป็นอย่างไร และสามารถรู้ได้ว่าจิตมีกำลังพิจารณาวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างไร เมื่อนั้นจิตก็จักพบกับความสุขสงบเยือกเย็น รู้คุณ-รู้โทษของอารมณ์ที่จิตเสวยอยู่อย่างชัดเจน จุดนี้พึงศึกษาให้มาก”

๙. “จิตจักเจริญได้ ต้องอาศัยความเพียร เจริญสมถะและวิปัสสนาอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้จิตเป็นไปตามแบบปลาตายลอยน้ำ จักต้องรู้จักฝึกจิต ทรมานจิตให้คลายจากอารมณ์เกาะติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสให้ได้ นี่เป็นจุดต้น แต่ถ้าหากจักตัดให้เป็นอุกฤษฎ์ ก็คือสังวรจิต ฟอกอารมณ์หลงเอาไว้เสมอ ๆ (โดยขู่มันว่า หากตายตอนนี้เจ้าจะไปไหน) และอย่าลืม อย่าตั้งความหวังไว้แค่พระอนาคามี ให้ตั้งไว้ให้ได้ถึงความเป็นพระอรหันต์ให้ได้ เพราะนั่นแหละ จึงจักถึงซึ่งพระนิพพานได้ในปัจจุบัน

ในการปฏิบัติจริง ๆ แล้ว ให้ตัดสังโยชน์ ๓ ให้ได้ก่อนโดยเอาอธิศีลเป็นพื้นฐาน เมื่อได้แล้ว สังโยชน์ ๔-๕ ไม่ต้องตัด ให้รวบรัดตัดอวิชชาข้อที่ ๑๐ ของสังโยชน์เลย เพราะในคนฉลาดที่มีบารมีเต็มหรือกำลังใจเต็ม ทรงให้ตัดข้อเดียวคือสักกายทิฏฐิ ตัดโดยไม่มีอวิชชาครอบงำ ก็พ้นทุกข์ได้ อุบายที่ทรงพระเมตตาแนะนำ วิธีเข้าสู่พระนิพพานแบบง่าย ๆ สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานได้สังโยชน์ ๓ ข้อแรกแล้ว ก็คือ รู้ลม รู้ตาย รู้นิพพาน”


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๙
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 15:56



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว