กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > ปกิณกธรรมจากเกาะพระฤๅษี

Notices

กระทู้ถูกปิด
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 03-06-2010, 11:18
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,955 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๐

อบรมที่เกาะพระฤๅษี วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๐


วันนี้ผมต้องเดินทางเหมือนเดิม เตรียมไปเรียนต่อ มีงานมีการอะไรก็ช่วยกันดู ๆ ไว้หน่อย เพราะว่าปล่อยท่านกวางคนเดียวก็ไม่ไหวเหมือนกัน

วันก่อนผมเรียนหนังสืออยู่ ท่านอาจารย์เฉลิมชัย* ถามว่า “ผึ้งมีความดีอะไรบ้าง ?” พวกผมคิดกันหัวแทบแตก จนท่านอาจารย์เฉลยว่า

ผึ้งมีความดีคือ ขยันหากิน ไม่บินสูงนัก รักความสะอาด ฉลาดสะสม นิยมสามัคคี พวกผมคิดกันได้ไม่ถึง ๓ ข้อ

เมื่อท่านอาจารย์อธิบายให้ฟังถึงความดีของผึ้ง ผมก็เลยมานึกว่า ในเรื่องของการปฏิบัติของพวกเรานั้น ก็อยู่ในลักษณะนี้ ผึ้งนั้นขยันหากิน ของเราเองถ้าในเรื่องกิน ก็คือ เกี่ยวกับอาหาร นั่นเป็นหน้าที่ของเรา คือ ต้องบิณฑบาต

แต่สถานที่นี้ไม่มีที่ให้บิณฑบาต ความขยันของเราที่ต้องไปเดินบิณฑบาตทุกวันอย่างสมัยอยู่วัดท่าขนุน ตรงจุดนี้ไม่มี แต่ผมมานึกว่า นั่นเป็นอาหารทางกาย ถ้าหากว่าเราต้องการอาหารทางใจ ก็ต้องขยันทำ ขยันปฏิบัติ

พวกท่านจะสังเกตได้ว่า ถ้าหากเราทิ้งช่วงให้การปฏิบัติขาดลง ความฟุ้งซ่านจะเข้ามาทันที โดยเฉพาะท่านที่ยังไม่มีพื้นฐาน คำว่าไม่มีพื้นฐาน คือกำลังใจยังไปไม่ถึงระดับที่จะทรงตัวเองได้

ถ้าอย่างนั้นท่านเผลอเมื่อไร ขาดความขยันเมื่อไร โดนเล่นเอาแน่ ๆ ผมเองก็ดีใจว่า ตอนนี้พวกเรายังมีกรรมฐานรอบพิเศษ ก็คือ ก่อนสองทุ่ม พวกท่านยังมาทำกรรมฐานกันอยู่ ตรงจุดนี้จะช่วยพวกท่านได้เยอะ

ความขยันในการปฏิบัติ สมัยฆราวาสผมขยันมาก แต่ผมทำแล้วทิ้ง พอถึงเวลากำลังใจถอยไป กิเลสก็ตีกลับ ฟุ้งซ่านเหมือนเดิม แต่ผมเป็นคนชอบพิจารณาดูว่าเป็นเพราะอะไร ผมก็คอยสังเกตอารมณ์ใจของตัวเองดู

พอเริ่มตอนเช้า สร้างกำลังใจเต็มที่เลย กำลังใจแน่นปักมั่นเลย แทบจะไม่ถึงกลางวัน กำลังก็ตกแล้ว เวลาไปชนกับคนอื่นเขา ตอนทำการทำงานต้องไปรับอารมณ์ต่าง ๆ เข้ามา ตอนนั้นกำลังจะตกเร็ว ถอยเร็ว

ผมจึงใช้วิธีว่า ตอนช่วงพักเที่ยงก็รีบกินอาหาร ใช้เวลาไม่เกิน ๑๕ นาที แล้วผมก็ใช้เวลาที่เหลือก่อนเข้าทำงานตอนบ่ายโมงไปภาวนา เพื่อรักษากำลังใจเอาไว้ แล้วก็สังเกตดูต่อ ปรากฏว่าเหมือนกันก็คือ แทบจะไม่ถึงเย็น กำลังก็เริ่มตก

หมายเหตุ :
* พลตรี เฉลิมชัย เสียงใหญ่ ผู้อำนวยการกองอนุศาสนาจารย์กองทัพบก อาจารย์ผู้บรรยายประจำวิชาพระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทย ธรรมนิเทศ พระสุตตันตปิฎก ๑ พระสุตตันตปิฎก ๒ (อาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส ห้องเรียนวัดไร่ขิง)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-06-2010 เมื่อ 15:50
สมาชิก 102 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 03-06-2010, 20:42
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,955 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

พอเลิกงาน ๕ โมงเย็น หลังจากอาบน้ำอาบท่า กินข้าวกินปลาแล้ว ผมต้องรีบทำกำลังใจต่อ มานึก ๆ ดูก็เหมือนกับจุดเทียนเอาไว้ พอเราจุดตรงนี้ไว้ดวงหนึ่ง แสงมาแค่นี้ พอเราจุดตรงนี้อีกดวงหนึ่ง แสงก็มาประสานกันกับดวงแรกได้ แต่ก็มาได้แค่นี้ จึงต้องจุดตรงนี้อีกดวงหนึ่ง

ดังนั้นว่า ถ้าหากว่า ถ้าเรามีความขยันเหมือนผึ้ง ก็คือว่า ตั้งใจปฏิบัติจริง ๆ ทำโดยต่อเนื่อง เราก็จะสามารถรักษากำลังใจให้ทรงตัวได้ พอกำลังใจทรงตัวตั้งมั่นได้จุดหนึ่ง ถ้าหากว่าใจสงบในระยะเวลาที่ยาวนานพอ ปัญญาที่สามารถรู้เห็นธรรม หรือแม้กระทั่งทิพจักขุญาณ ที่จะรู้เห็นในเรื่องของผี ของเทวดา ของนรกสวรรค์ ก็จะเกิดขึ้นเอง

แต่ว่าให้เราปฏิบัติในลักษณะที่ว่า เรามีหน้าที่ทำ แต่จะเกิดหรือไม่เกิดเป็นเรื่องของเขา ไม่อย่างนั้น ถ้าเราตั้งใจจะทำให้เกิด ไม่มีทางเกิดหรอก เพราะกลายเป็นฟุ้งซ่านแทน

ข้อที่สอง ท่านบอกว่าผึ้งนั้นจะไม่บินสูงนัก คือ จะบินพอดี พอดีกับการที่จะไปหาน้ำหวานหรือเกสรดอกไม้ เพราะต้นไม้คงจะไม่สูงเกิน ๓๐ - ๔๐ เมตร ถ้าสูงมากก็ไปไม่ไหว

ดังนั้น เรามาพิจารณาดูว่า ถ้าเป็นการปฏิบัติ ก็คือมัชฌิมาปฏิปทา**นั่นเอง คือ ทำให้พอเหมาะ ทำให้พอดี ไม่เข้มงวดจนเกินไป แต่ก็ไม่ผ่อนจนหย่อนยาน ต้องพอเหมาะพอดี

เหมือนกับที่พระอินทร์ท่านมาแสดงปริศนาธรรม ด้วยการดีดพิณสามสายถวายเจ้าชายสิทธัตถะที่ทรมานตนอยู่ สายที่ขึงตึงเกินไป ดีดไปได้ไม่กี่ทีก็ขาด สายที่หย่อนเกินไป ดีดไปแล้วเสียงก็ไม่เป็นสรรพรส ต้องสายที่พอดี ๆ จึงจะไพเราะน่าฟัง

แต่ว่าความพอดีของแต่ละคนนั้น ไม่มีมาตรฐาน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะขึ้นอยู่กับกำลังกาย กำลังใจ แล้วก็บารมีเดิมของแต่ละคนที่สร้างสมมา เราต้องหาจุดเหมาะสมของตัวเอง ถ้าหากรู้สึกว่าไม่ไหวแล้ว ให้ลองฝืนใจดู ถ้าหากว่าฝืนได้ แสดงว่าเมื่อครู่นี้กิเลสหยาบคือนิวรณ์ชวนให้เราขี้เกียจ

แต่ถ้าฝืนไม่ได้ ก็ให้เราเลิก ถึงฝืนได้ทำต่อได้ ก็อย่าให้เกินชั่วโมง ให้พักผ่อนอิริยาบถไปทำอย่างอื่นแทน ประคองกำลังใจเอาไว้ เว้นช่วงสักชั่วโมง ๒ ชั่วโมง แล้วค่อยมาเริ่มใหม่ ไม่อย่างนั้น..ใหม่ ๆ เรายังไม่เคยชินกับการที่จิตโดนกดนิ่งนาน ๆ ถ้าหลุดเมื่อไร คราวนี้พ่ออาละวาดเตลิดเปิดเปิงเลย

ฉะนั้น..ต้องรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว ทำให้พอดี ๆ ให้เหมือนกับผึ้งที่บินพอดี คือ พอดีกับการหาอาหารของตน


หมายเหตุ :
** ที.ม. ๑๐/๒๙๙/๓๔๘ : ม.มู. ๑๒/๑๔๙/๑๒๓ : ม.อุ. ๑๔/๗๐๔/๔๕๓ : อภิ.วิ. ๓๕/๕๖๙/๓๐๗
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-06-2010 เมื่อ 03:09
สมาชิก 95 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 07-06-2010, 10:02
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,955 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ข้อต่อไปคือ รักความสะอาด ถ้าหากว่าใครเคยสังเกตรังผึ้ง จะเห็นว่าสะอาดจริง ๆ และไม่ได้สะอาดเปล่า ๆ ถ้าอากาศร้อนมาก ขี้ผึ้งจะละลาย ผึ้งก็จะพร้อมใจกันกระพือปีก เพื่อที่จะสร้างความเย็น ไม่ให้รังละลาย

และที่แน่ ๆ ผึ้งไม่เคยไปแย่งแมลงวันกิน เพราะว่าผึ้งเป็นสัตว์ที่รักความสะอาด เลือกกินแต่น้ำหวานกับเกสรดอกไม้ ความสกปรกใด ๆ ผึ้งจะไม่เอาเลย

เราเองเป็นนักปฏิบัติ ก็ต้องรู้จักเลือก เลือกแต่กำลังใจที่ดี ๆ ในเรื่องของทาน ของศีล ของภาวนา ธรรมอะไรที่ช่วยให้คลายกำหนัด ช่วยให้ถอนจากราคะ โทสะ โมหะ เพื่อให้ไม่คลุกคลีกับหมู่คณะ ช่วยให้เราเป็นผู้ที่มีจิตตั้งมั่น ให้เลือกเอาธรรมเหล่านั้นมาปฏิบัติ เราถึงจะเป็นผู้ที่สะอาดด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ถ้าหากว่าเราไม่รู้จักเลียนแบบสัตว์เล็ก ๆ อย่างผึ้ง ก็แสดงว่าเราเองยังสู้ผึ้งไม่ได้ด้วยซ้ำไป

ข้อต่อไปท่านบอกว่า ผึ้งนั้นฉลาดสะสม ผึ้งจะเก็บแต่ของดี ๆ เก็บน้ำหวาน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สมัยนี้เขารู้แล้วว่า น้ำหวานจากผึ้งมีคุณค่าอาหารที่สูงมาก ๆ และไม่มีความชื้น ทำให้สามารถใช้ในการรักษาบาดแผลเรื้อรังได้

แล้วขณะเดียวกัน น้ำผึ้งซึ่งเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน ก็เป็นอาหารที่มีคุณค่าสูง แล้วถ้าหากว่ายิ่งเป็นนมผึ้งที่ใช้เลี้ยงตัวนางพญา เขาบอกว่าต่อให้คนป่วยหนัก ๆ ชนิดหมดเรี่ยวหมดแรง ได้รับเข้าไปไม่มาก ก็จะฟื้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว

ฉะนั้น...ผึ้งรู้จักเก็บแต่ของดี เราก็ต้องรู้จักเก็บแต่สิ่งที่ดี ๆ เอาไว้ในใจของเรา สิ่งใดที่เป็นรัก เป็นโลภ เป็นโกรธ เป็นหลง ถ้าสามารถสลัดทิ้งได้เร็วเท่าไร ก็เป็นคุณแก่ตัวเรามากเท่านั้น ถ้าเราเก็บเอาไว้ ก็รังจะทำร้ายเราอยู่ทุกวัน ดังนั้น..เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าเรารู้จักคิด รู้จักพิจารณา ก็จะสามารถนำมาใช้งานได้

ข้อสุดท้ายท่านบอกว่า นิยมสามัคคี ผึ้งสามัคคีกลมเกลียวแน่นเหนียวมาก เจอน้ำหวาน เจอสถานที่ ๆ จะหาอาหารได้ที่ไหน เขาจะกลับมาบอกพรรคพวก ถึงเวลาก็แห่กันไป แล้วขณะเดียวกันถ้าใครไปทำร้าย ไปแหย่รัง รับรองได้ว่ามาทั้งรัง..!

ผึ้งตัวเล็ก ถ้าไม่สามัคคีจะอยู่รอดได้ยาก คราวนี้เราเป็นนักบวช เป็นพระ เป็นเณร เป็นชี ตลอดจนกระทั่งฆราวาสนักปฏิบัติ ถ้าหากว่าเราขาดความสามัคคี วัดวาอารามก็จะร้อนไปหมด อยู่กันอย่างไม่มีความสุขหรอก

ผมบอกแล้วผมเป็นคนช่างสังเกต สมัยผมอยู่วัดท่าซุงก็ดี แม้กระทั่งออกมาอยู่ข้างนอกแล้วก็ดี ผมสังเกตว่า นิสัยของคนเรานั้น มักจะจับผิดคนอื่น โดยไม่ดูความผิดตัวเอง ในเมื่อจับผิดคนอื่น ถ้าเห็นข้อบกพร่องของเขา แทนที่จะแนะนำตักเตือนให้แก้ไขโดยธรรม ด้วยจิตที่ประกอบไปด้วยเมตตา เปล่า..กลับไปกีดกัน ไปบีบคั้นจนกระทั่งเขาอยู่ไม่ได้ แล้วเขาก็ต้องออกไป ทำให้แตกความสามัคคี
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-06-2010 เมื่อ 14:48
สมาชิก 83 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 07-06-2010, 20:20
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,396,955 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

แล้วไม่ใช่ออกไปแล้วจะจบแค่นั้น พอออกไปแล้ว พวกเราก็จะมาดูต่อว่า จะมีใครบกพร่องอีก จากคนบกพร่องมากเห็นชัด ก็จะมาเอาคนที่บกพร่องน้อยกว่า แล้วก็ไปเล่นงานเขาลักษณะเดียวกัน แล้วเขาก็อยู่ไม่ได้ ต้องออกไปอีก

นั่นจะกลายเป็นวงจรอุบาทว์ที่ไม่รู้จบ เพราะว่าเราไม่รู้จักดูที่ตัวเอง ไม่รู้จักแก้ที่ตัวเอง ไม่มีความสามัคคี ไม่มีความรักความเมตตาต่อกัน ทำให้กาย วาจา ใจของเราประกอบไปด้วยวิหิงสาพยาบาท คือรู้จักแต่จะเบียดเบียนคนอื่นเขา

เราอยู่ด้วยกันนั้น ไม่มีใครหรอกที่จะดีเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ว่าให้รู้จักดู รู้จักแก้ไขที่ตัวเอง ไม่ใช่ดูแล้วก็ไปว่าไปกล่าว ไปตำหนิติเตียนคนอื่นเขา ถ้าจะตำหนิ เราต้องตำหนิตัวเราเอง เพื่อนฝูงอยู่ร่วมกับเราแล้วเขาทำไม่ดีได้ ก็แปลว่าในส่วนของความไม่ดีนั้น ต้องมีเราอยู่ด้วย เพราะเราไม่รู้จักตักเตือน ไม่รู้จักบอกกล่าวกัน

ดังนั้น..เมื่ออาจารย์เขาบอกถึงความดีของผึ้ง ผมเองก็มาคิดต่อ พอคิดเสร็จแล้วก็ เออ..กับนักปฏิบัติก็เหมือนกัน คือ เราต้องขยันปฏิบัติ รู้จักเลือกในสิ่งที่ดี ๆ รู้จักทำในสิ่งที่พอดี รู้จักรักใคร่สามัคคีกัน รักษาอารมณ์ใจที่ดีของเราไว้

ถ้าเราสามารถทำอย่างนี้ได้ ความเจริญก็จะเกิดขึ้นกับตัวเอง จะเกิดขึ้นกับหมู่คณะ เมื่อความเจริญเกิดขึ้นกับตัวเองได้ เกิดขึ้นกับหมู่คณะได้ คนอื่นที่ถึงเวลาแล้ว เขาต้องการเราเป็นที่พึ่ง ก็จะดูหมู่คณะของเราเป็นตัวอย่าง

เมื่อเขาทำตาม ความเจริญต่าง ๆ ก็จะแผ่วงกว้างไกลออกไปเรื่อย ๆ ถ้าสามารถทำได้อย่างนี้ นอกจากตัวเราดี คนรอบข้างดี ศาสนาและประเทศชาติก็จะดีด้วย

ดังนั้น..ถ้าหากว่าจะดู ให้ดูที่ตัว ให้แก้ที่ตัว อะไรก็ตามที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของเรา ให้รู้จักเลือก แล้วก็นำเอาสิ่งดี ๆ ทั้งหลายนั้นมาไว้ในตัวของเรา ขับไล่สิ่งที่ไม่ดีออกไป กำลังใจของเรานั้น รับความดีความชั่วได้ทีละอย่างเท่านั้น

ถ้าเราเริ่มเอาดีใส่ไว้ในใจ ความชั่วก็จะเข้าไม่ได้ ถ้าความชั่วเข้ามาก่อน ความดีก็เข้ามาไม่ได้เหมือนกัน ผมเองจะไม่อยู่อีกหลายวัน โอกาสที่จะได้อบรมพวกเรามีน้อย แต่ละครั้งที่มา ก็จะพยายามจะให้ข้อคิด ให้สิ่งที่เราจะได้นำไปปฏิบัติ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวเอง เพื่อประโยชน์ของหมู่คณะ อย่าให้ต้องมานั่งจ้ำจี้จ้ำไชกันทุกวัน บอกครั้งเดียวควรที่จะทำตลอดชีวิต

ถ้าหากว่ามีเวลา ผมจะพยายามรีบกลับมาให้เร็วที่สุด เพราะว่าพวกบ้านไม้ที่เขาจะมาติดตั้ง มาประกอบให้ คงจะทยอยกันมาเรื่อย ๆ ดังนั้นว่า เหนื่อยหน่อยกับการเดินทาง แต่ว่าอยากจะดูแลให้ใกล้ชิดสักนิดหนึ่ง ไม่อย่างนั้น..ถ้าหากว่าไม่ได้ดังใจขึ้นมา ถึงเวลาไปแก้ไขก็จะลำบากอีกหลายรอบ

--------------------------------
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-06-2010 เมื่อ 03:58
สมาชิก 90 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
กระทู้ถูกปิด

Tags
เกาะพระฤๅษี, ความดีของผึ้ง, อบรม


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 15:00



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว