กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #101  
เก่า 09-06-2014, 10:36
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๙. จงอย่าประมาทในชีวิต ให้คิดถึงความตาย เพื่อให้จิตพร้อมรับความตายไว้เสมอ คนเรามักจักหลงลืมความตาย ประมาทในความตาย พอร่างกายสุขสบายสักหน่อย ก็มักจักมีความประมาทในชีวิต จึงต้องคอยเตือนจิตไว้เสมอ ให้หมั่นพิจารณารูป - เวทนา - สัญญา - สังขาร - วิญญาณ ว่าไม่ใช่เราให้ละเอียดลงไปตามลำดับ โดยพิจารณาแยกออกทีละอย่าง ๆ ให้ถึงที่สุดของรูป - เวทนา - สัญญา - สังขาร - วิญญาณ จนกระทั่งจิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดา จนจิตสงบเยือกเย็น และปล่อยวางในขันธ์ ๕ นี้ จักต้องใช้ความเพียรพิจารณาเอาเอง จึงจักเกิดปัญญาตัดกิเลสได้

หมู่นี้อากาศร้อนก็จริงอยู่เพราะเป็นหน้าร้อน แต่ก็ยังร้อนน้อยกว่าความรุ่มร้อนในจิตของพวกเจ้า โดยเฉพาะตอนถูกกระทบด้วยโลกธรรม ๘ ตัวนินทาและความทุกข์.. อยู่ในโลกไม่มีใครหนีพ้นโลกธรรมไปได้ ให้เห็นเป็นธรรมดา ต้องหมั่นปลงขันธ์ ๕ ตนเองให้มาก ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เมื่อวางอุปาทานขันธ์ ๕ ของเราได้ ขันธ์ ๕ ของบุคคลอื่น สัตว์อื่น วัตถุธาตุใด ๆ ก็ไร้ความหมาย เมื่อนั้นแหละ จิตจักถึงซึ่งพระนิพพานได้อย่างแท้จริง

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-06-2014 เมื่อ 12:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #102  
เก่า 13-06-2014, 08:40
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๐. ให้ดูสังขารร่างกายที่มันเกิดขึ้นแล้ว มันก็เสื่อมไป เดินไปหาความสลายตัวอยู่ตลอดเวลา แม้แต่สังขารของจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาก็เช่นกัน มันหาความเที่ยงไม่ได้ (หมายถึงอารมณ์จิตซึ่งไม่เที่ยง เกิด - ดับ ๆ อยู่เสมอ) ยึดถือมาเป็นเรา เป็นของเราก็ไม่ได้ จึงต้องปล่อยวางให้มันเกิดดับไปตามสภาวธรรม อย่าได้ไปฝืนกฎของความเป็นจริง (อย่าฝืนโลก อย่าฝืนธรรม) ให้เห็นกายสังขาร จิตสังขารเกิดดับเป็นธรรมดา ไม่ยึดไม่ถือ จิตก็จักมีความผ่องใส ลงตัวธรรมดาได้ อุปาทานขันธ์ ๕ ก็จักเบาบาง มองให้ถึงที่สุดด้วยปัญญา ก็จักพ้นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ได้ พระนิพพานจึงปรากฏแก่จิตได้อย่างมั่นคง ด้วยการปล่อยวางกายสังขาร จิตสังขาร (กายสังขารคือกายกับเวทนาเกิดดับ ๆ อยู่เป็นสันตติ จิตสังขาร คืออารมณ์ของจิต และธรรมะหรือพระธรรมก็เกิด - ดับ ๆ อยู่เป็นสันตติ)

การยังมีชีวิตอยู่.. ก็ดูแลร่างกายไปเพียงหน้าที่แค่ยังอัตภาพให้เป็นไปเท่านั้น จิตที่จักยินดีในการอยู่ก็ไม่มี
เพราะเห็นเป็นเพียงสภาวธรรม แต่ในขณะเดียวกัน ความขุ่นข้องหมองใจในอันที่ขันธ์ ๕ จักพังก็ไม่มี เพราะเห็นเป็นเพียงสภาวธรรมเท่านั้น จิตพร้อมอยู่ในการหลุดพ้นอยู่ตลอดเวลา เมื่อเข้าใจแล้วก็อย่าเพิ่งคิดว่าทำได้แล้ว นั่นเป็นเพียงความรู้อันเกิดจากสัญญาเท่านั้น จักต้องนำความเข้าใจหรือตัวรู้นี้ไปละให้จิตถึงที่สุดอีกที และจำไว้บุคคลใดที่เข้าถึงแล้ว ตัวโลภ - ตัวโกรธ - ตัวหลงนั้น จักไม่มีกำเริบอยู่ในจิตอีกเลย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-06-2014 เมื่อ 08:42
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #103  
เก่า 17-06-2014, 08:53
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๑. ก่อนเจริญพระกรรมฐาน หลวงพ่อฤๅษีท่านให้อธิษฐานจิตเป็นภาษาบาลีว่า อิมาหัง ภควา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจจัชชามิ ซึ่งมีคำแปลเป็นภาษาไทยว่า ข้าพระพุทธเจ้าขอให้สัจจะต่อพระพุทธองค์ว่า ข้าฯ ขอมอบกายถวายชีวิตกับพระองค์และศาสนาของพระองค์ตลอดชีวิต แต่มีบุคคลท่านหนึ่งอธิษฐานความว่า ข้าพเจ้าขอให้สัจจะต่อพระองค์ว่า ข้าพเจ้าจะพยายามทำความดีในพระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุดให้ได้ตลอดชีวิต ซึ่งจัดว่าเป็นสัจจะบารมี โดยมีปัญญาบารมีคุมโดยแท้ ไม่อธิษฐานผูกมัดใจตนเอง โดยใช้คำว่าจะพยายาม ทำได้แค่ไหนตามกำลังใจแห่งตน ก็ได้แค่นั้น เป็นตัวปัญญาแท้ในพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระอรหันต์ทุกท่านต่างก็บรรลุจบกิจในพุทธศาสนาด้วยทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทาด้วยก้นทั้งสิ้น

การใช้คำว่าจะพยายามทำความดีในพระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุดนั้น เป็นทางสายกลาง คือไม่ตึงไป ไม่หย่อนไปนั่นเอง หากจะเพิ่มอธิษฐานบารมีเข้าไปอีกหน่อยจะสมบูรณ์แบบคือ ข้าพเจ้าจะพยายามทำความดีในพระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด โดยจะทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว.. ประโยคนี้จัดเป็นอธิษฐานบารมีเต็มกำลังใจทันที คือมีมรณานุสติกับอุปสมานุสติ ซึ่งเท่ากับตัดอวิชชา หรือสังโยชน์ข้อที่ ๑๐ ไปในตัวเสร็จ

จิตมีสภาพรู้กับเร็ว เป็นอกาลิโก หากจิตเป็นฌานในมรณาฯ บวกอุปสมานุสติ กายพังเมื่อไหร่ จิตก็เร็วไปตามที่จิตเกาะอยู่ชนิดแกะไม่ออกเป็นอัตโนมัติ เป็นอกาลิโกเช่นกัน จิตเกาะนิพพานซึ่งเที่ยงแล้วเกาะได้ และเป็นแดนสุดยอดของความสุขในการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา เป็นเป้าหมายสุดท้ายที่ทุกท่านมุ่งหมาย อธิษฐานบารมีเต็มมีผลบุญใหญ่สุดประมาณด้วยเหตุนี้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-06-2014 เมื่อ 12:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #104  
เก่า 23-06-2014, 08:42
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

กว่าจักบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้เต็มได้ถึงจุดนี้ จักต้องผ่านการปฏิบัติในรูปฌานและอรูปฌานมาอย่างโชกโชน เพราะทุกจริตสามารถทำได้ทั้งสิ้น การไปเสวยสุขหรือติดสุขอยู่ในอรูปฌาน อันทำให้เกิดเป็นอรูปพรหมนั้นจึงเป็นของธรรมดา และเป็นไปได้ เพราะในอดีตทุกคนเกิดเป็นพรหมมาก็มาก สุดแต่ว่าก่อนกายจะพัง จิตทรงอยู่ในกำลังของฌานระดับไหน จิตมันก็ชินหลุดไปอยู่จุดนั้นได้โดยไม่ตั้งใจ หรือไม่ต้องกำหนดจิตไป.. จิตมันชินแต่อดีตก็หลุดไปเอง

ตถาคตรู้จุดนี้ จึงจัดอรูปฌานและรูปฌานให้อยู่ในสังโยชน์ ๑๐ เบื้องสูง เพราะหากผู้ปฏิบัติยังเป็นโลกียฌานอยู่ จิตก็จักติดสุขอยู่ในฌานทั้ง ๒ นั้นอย่างถอนจิตไม่ขึ้น วิธีถอนการเกาะติดสุข.. ต้องพิจารณาเข้าหาไตรลักษณ์ เห็นความไม่เที่ยงของฌานทั้งสองนั้น ซึ่งเกิดจากลมหายใจหรืออานาปานุสติ อันเป็นฐานใหญ่ของฌานสมาบัติ การเกาะลมหายใจเข้า - ออก ก็เท่ากับยังเกาะร่างกายหรืออุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ เพราะลมหายใจคือที่อาศัยของร่างกาย เป็นอาหารของกาย ซึ่งแท้ที่จริงคือธาตุ ๔ ดิน - น้ำ - ลม - ไฟ เข้ามาประชุมกัน การเกาะลมหายใจ.. จึงยังเป็นแดนเกิดในรูปพรหมและอรูปพรหมได้ง่าย

แต่ในแง่ของวิปัสสนากรรมฐาน เห็นความไม่เที่ยงของลมหายใจเข้า - ออกนั่นแหละ เป็นเหตุให้ใจมีอารมณ์จิตละเอียดขึ้น มีสติ - สัมปชัญญะสมบูรณ์ขึ้น อย่างเช่น ร่างกายนี้เมื่อวิญญาณไปปราศแล้ว (ปราศจากวิญญาณแล้ว) กายก็ไม่ต้องอาศัยลมหายใจเข้า - ออกอีก ดังนั้น การรู้ความไม่เที่ยงของกองสังขารแห่งกาย อันเนื่องจากลมหายใจเข้า - ออกนี้ ทำให้ไม่มีความประมาทในชีวิต เป็นเหตุให้เข้าถึงซึ่งอรหัตผลได้โดยง่าย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-06-2014 เมื่อ 13:00
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #105  
เก่า 07-07-2014, 09:14
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๒. ที่เจ้าสงสัยว่า การปฏิบัติพระกรรมฐาน ในเมื่อรู้ว่ารูปฌานและอรูปฌานเป็นเหตุทำให้จิตติดสุขในฌาน มีผลทำให้ต้องเกิดเป็นพรหมและอรูปพรหมได้ แล้วข้ามการรู้เรื่องฌานทั้ง ๒ ไปเลยไม่ได้หรือ ? ทรงตรัสว่า ข้ามไปไม่ได้หรอก เพราะร่างกายอาศัยอยู่ได้ด้วยลมหายใจเข้า - ออก คนเกิดมาจนกระทั่งตายไป หากไม่รู้จักคิด ตายไปก็ยังไม่รู้จักลมหายใจเข้า - ออกก็มี และที่เจ้าพิจารณาว่าคนเรานี่อยู่กับความสกปรกตลอดเวลา ที่ต้องอาบน้ำ -แปรงฟัน - ชำระสิ่งโสโครกอยู่ตลอดเวลา เพราะจิตต้องการความสะอาด คนที่ไม่รู้มองไม่เห็นความสกปรกของร่างกาย ก็ทำความสะอาดให้ร่างกายตั้งแต่วันเกิดไปจนถึงวันตาย แต่ก็ยังไม่เห็นความสกปรกของร่ายกายก็มีมาก

การบริโภคอาหารก็เช่นกัน เห็นแต่ความอร่อย ติดในรสของอาหาร กินอิ่มทุกมื้อคิดว่าเป็นสุขดี แต่ไม่เคยเห็นความสกปรก - ความเสื่อม - ความไม่เที่ยงของอาหารและของร่างกาย จนกระทั่งตายแล้วกลับมาเกิดใหม่อยู่อย่างนั้น ไม่หลุดพ้นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ไปได้ ก็มีอยู่จำนวนมากสุดประมาณได้ ด้วยเหตุเหล่านี้แหละ จึงจำเป็นที่จักต้องรู้ รู้ถึงพ้นได้ ถ้าไม่รู้ก็ไม่พ้น จักพ้นรูป - พ้นนาม - พ้นกาย - พ้นจิต ก็ต้องเรียนรู้ ศึกษาของจริงกันอย่างนี้แหละ พระพุทธศาสนาแปลว่าผู้รู้ รู้ด้วยเหตุด้วยผล ด้วยมรรคผล ถึงซึ่งตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้ จึงจักเข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้จริง ๆ ไม่ใช่เรื่องเหลวไหล พิสูจน์ได้ทุกกาลทุกเวลา

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-07-2014 เมื่อ 19:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 43 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #106  
เก่า 14-07-2014, 11:48
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๓. อย่าฝืนโลก อย่าฝืนธรรม แล้วจิตจักเป็นสุข อยู่ในโลกทุกคนต้องมีงานทำ แต่อย่าแบกงาน เพราะงานทางโลกเป็นไตรลักษณ์ ไม่มีใครทำเสร็จได้จริง แม้อยู่วัดก็อย่าแบกวัด เพราะงานของวัดก็ไม่มีใครทำเสร็จได้จริง เหตุที่จิตยังเร่าร้อนอยู่ เพราะการไปหลงอยู่กับอายตนะที่เข้ามากระทบใจ อันเป็นกฎของธรรมดาซึ่งห้ามไม่ได้ (ห้ามไม่ให้อายตนะภายนอกกระทบกับอายตนะภายในไม่ได้) จึงเสมือนหนึ่งใจเราอยู่ในดงของกิเลส อยู่ในทางกลางของกิเลส มิใช่อยู่ไกลจากกิเลสแต่อย่างใด เพราะเรายังมีอายตนะทั้ง ๖ ทำงานได้ดีอยู่เป็นปกติ ทุกอย่างที่เข้ามากระทบ จึงล้วนเป็นกฎของธรรมดา - กฎของกรรมหรืออริยสัจทั้งสิ้น

ใครจักมาอย่างไร ใครจักไปอย่างไร ใครจักทำอะไร - พูดอะไร - คิดอะไร ก็นับว่าเป็นกรรมทั้งสิ้น อย่าลืมกรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เป็นกรรมลิขิต ซึ่งเราเองเป็นผู้กระทำไว้ก่อนในอดีตทั้งสิ้น ดังนั้น จักทำอะไร พึงพิจารณาเรื่องกฎของกรรมนี้ให้รอบคอบ จิตจักได้เลือกสรรทำแต่กรรมดี ๆ ยิ่งกรรมที่จักนำไปสู่พระนิพพานนั้น พึงทำอยู่ในขอบเขตของศีล - สมาธิ - ปัญญาเท่านั้น จุดนี้พึงหมั่นเพียรให้มาก ๆ เวลานี้อย่าไปดูเหตุภายนอก ให้รับรู้ว่าเป็นธรรมดาของการมีอายตนะ จิตจำเป็นต้องรับรู้ รับรู้แล้วก็เพียรปล่อยวางให้ออกไปจากจิตให้ได้มากที่สุด อย่าฝืนธรรมแล้วจิตจักเป็นสุข เรื่องบุคคลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิเข้ามาวุ่นวายอยู่ในเวลานี้ อย่าไปห่วงให้มาก ไม่นานเขาจักแพ้ภัยตัวเองไปเอง

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-07-2014 เมื่อ 16:43
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #107  
เก่า 16-07-2014, 08:57
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๔. ไปงานศพ จงอย่าไปกราบศพ ให้กราบสัจธรรม กราบพระธรรม ให้พิจารณามรณานุสติให้มาก เพราะไม่ช้าไม่นาน กายผู้อื่นหรือกายเรา ก็หนีความตายไปไม่พ้น จักต้องมีสภาพอย่างเช่นรายนี้ และให้เห็นธรรมปัจจุบันว่า หากชีวิตยังอยู่ เราจักบำรุงรักษากายเพียงแต่ยังอัตภาพให้เป็นไปในทางสายกลาง ไม่เบียดเบียนกาย ไม่เบียดเบียนจิตให้เกินพอดี นั่นแหละจึงจักเรียกว่าเป็นนักปฏิบัติธรรมที่ได้ผล พิจารณาธรรมเหล่านี้ไว้ระหว่างยังมีชีวิตอยู่ อยู่ให้มีความสุขในมัชฌิมาปฏิปทา และไม่ประมาทในชีวิต คิดว่าร่างกายจักต้องตายอยู่เสมอ รักษาธรรมเหล่านี้ไว้ให้ได้กับจิต และให้ทรงตัว กิเลสทุกตัวจักระงับได้หมด ปรารถนานิพพานก็จักต้องหมั่นชำระจิตเพื่อพระนิพพานด้วย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-07-2014 เมื่อ 14:03
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #108  
เก่า 22-07-2014, 09:02
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๕. ธรรมของตถาคตจักต้องหยุดอารมณ์จิตให้ได้ก่อน จึงจักเห็นการเคลื่อนไหวของกิเลสได้ชัดเจน การทำจิตให้สงบตั้งมั่นจึงเป็นสิ่งสำคัญ อย่างคนกำลังวิ่งหรือเดินเร็ว ๆ อะไรผ่านมากระทบมองไม่ใคร่เห็น ต่างกับคนที่ยืนอยู่กับที่ มีอะไรมากระทบก็มองเห็นได้ชัดกว่ามาก จิตหวั่นไหวมากยิ่งมองสภาวะกระทบไม่ชัดเจน แต่จิตหวั่นไหวน้อยหรือไม่หวั่นไหวเลย ย่อมมองอะไรได้ชัดเจน และเข้าใจได้ดี การปฏิบัติธรรมฉันใดก็ฉันนั้น

สุขภาพของตนเองก็เช่นกัน จงอย่าห่วงใยให้มากนัก เพราะหนีความจริงในสัทธรรม ๕ ไม่พ้น ให้พิจารณาอยู่อย่างนี้จึงจักนำจิตให้พ้นทุกข์ได้ ต้องพิจารณาให้ลึกลงไป ๆ จิตจึงจักเกิดปัญญาไม่ใช่เกิดแต่สัญญา ความจำที่ไม่เที่ยง เดี๋ยวก็ลืม ตัวปัญญาเท่านั้น จึงจักตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้ ดังนั้น..จงอย่าห่วงกายให้มากนัก ให้ห่วงจิตเป็นหลักสำคัญ อย่าไปห่วงกาย - ห่วงจิตผู้อื่น พ้นทุกข์ไม่ได้ ให้ห่วงจิต ดูอารมณ์จิตของตนเอง ไม่ให้ประมาทในชีวิต รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน จำไว้..อย่าห่วงใคร ตัดกังวลออกไปให้หมด จิตจึงจักผ่องใสขึ้นมาได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-07-2014 เมื่อ 12:13
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #109  
เก่า 23-07-2014, 11:53
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๖. อยากจักละซึ่งสังขาร ก็จักต้องเพียรหาความจริงของสังขาร ให้เห็นความเสื่อมเป็นของธรรมดา และเห็นโลกทั้งโลกล้วนมีสภาพเป็นทุกข์ เพราะไม่เที่ยงและสลายตัวไปในที่สุด จงหมั่นพิจารณาให้ถึงที่สุดของความทุกข์แล้วปล่อยวางด้วยปัญญา อย่าวางด้วยสัญญาเพราะจักวางไม่จริง ใหม่ ๆ อาจจักเป็นของยาก เพราะอารมณ์ตัดตัวนี้ยังไม่ทรงด้วย ต้องเอาจริง และคอยละ-ตัด-วางอยู่ตลอดเวลา อย่าให้จิตเผลอออกนอกทาง แต่ก็ยังจักมีเผลอเป็นธรรมดา เผลอก็ตั้งต้นใหม่ ๆ ต้องต่อสู้ให้จริง.. ทำให้จิตมันชินในการละซึ่งกิเลส ประการสำคัญจงอย่าประมาทในชีวิต ยิ่งรู้ว่าร่างกายกำลังไม่ดีก็ยิ่งจักต้องพร้อม ซ้อมตาย พร้อมตายอยู่เสมอที่จักละ - ปล่อย - วางอุปาทานขันธ์ ๕ ได้ในทุกขณะจิต

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-07-2014 เมื่อ 13:14
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #110  
เก่า 29-07-2014, 09:09
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๗. น้ำตาที่ไหลเพราะความปรารถนาไม่สมหวัง หรือเพราะพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ในการเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉานนี้ มีมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ (คล้ายเทศน์โปรดท่านปฏาจาราเถรี) ในทุกพุทธันดรย่อมมีคนแบบนี้เช่นกัน และผู้ที่ไม่เข้าถึงธรรมอีกมากมาย ยังต้องเสียน้ำตาเพราะเหตุทั้งสองประการนี้ จึงกล่าวได้ว่า ทุกชีวิตย่อมผ่านความรันทดเยี่ยงนี้ เหมือนกันมาแต่อเนกชาติที่จุติผ่าน ๆ กันมา และนานนักกว่าจักบำเพ็ญบารมีจนถึงขั้นจิตมีความเข้มแข็ง ยอมรับสภาพอริยสัจตามความเป็นจริง ตราบนั้นบุคคลผู้บำเพ็ญบารมีมาดีแล้วตามลำดับ จึงจักเลิกหลั่งน้ำตาด้วยเหตุทั้งสองประการนี้ลงได้ และอย่าคิดว่าเป็นของง่าย เรื่องอย่างนี้จักตัดได้โดยฉับพลันนั้นเป็นของยาก จักต้องพิจารณาอริยสัจอย่างถ่องแท้นั่นแหละ และที่สำคัญต้องอย่าทิ้งความเพียรด้วย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-07-2014 เมื่อ 12:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #111  
เก่า 30-07-2014, 09:16
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๘. เรื่องของสังขารทั้งสอง กายกับจิต หาความเที่ยงไม่ได้แม้แต่สักนาทีหนึ่ง ให้พิจารณาตามความเป็นจริง ดูให้เป็นที่ยอมรับนับถือว่าเป็นกฎของธรรมดา แล้วในที่สุดขันธ์ ๕ ก็มีอันต้องสลายตัวไป คือเป็นอนัตตาหรือตายไปในที่สุด จึงพึงละให้ได้จากการเกาะยึดขันธ์ ๕ หรือสังขารกายกับจิตนี้ อันมีความเกิดเป็นเบื้องต้น มีความแปรปรวนในท่ามกลาง มีความสลายตัวไปในที่สุด มองให้เห็นโทษของการติดอยู่ในขันธ์ ๕ มองให้เห็นคุณของการหลุดออกจากขันธ์ ๕ และรู้ว่าขันธ์ ๕ จองจำเรามานับชาติไม่ถ้วน ไม่ต่างกับนักโทษต้องโซ่ตรวน ต้องคิดดิ้นรนให้หลุดพ้นด้วยความเพียร โดยพยายามมองดูขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงให้พบ

จุดนี้ใครที่ไหนเล่าจักช่วยให้พวกเจ้าหลุดพ้นไปได้ กิเลสมักสอนจิตให้ห่วงคนโน้น - คนนี้ ใยถึงไม่ห่วงตัวเองบ้างเล่า ? มองหาความจริงให้พบ อย่าให้ความห่วงหรือความสงสารที่เป็นกิเลสลากเอาไปกิน จงปล่อยวางเถิด ให้ดู ให้รู้สึกแต่ว่า กองสังขารมีแต่เกิด - เสื่อม - ดับเป็นของธรรมดา แม้แต่กายกับจิตสังขารของพวกเจ้าเอง ก็มีสภาพเช่นนั้นเหมือนกัน เวลาของชีวิตนั้นเหลือน้อย จักอยู่ทำความเพียรเพื่อใครดี ? สงสารตัวเองหรือสงสารคนอื่นดี ? ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ด้วย อย่าไปห่วงใคร ดูตัวเองให้มั่นคงในศีล - สมาธิ - ปัญญา ชำระจิตของตนให้ได้ซึ่งมรรคผลนิพพานอันแท้จริงดีกว่า

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-07-2014 เมื่อ 11:18
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #112  
เก่า 31-07-2014, 08:58
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๙. ไม่ว่ากรณีใด ๆ ถ้าหากตั้งความหวังไว้มาก ก็จักผิดหวังมาก เพราะการตั้งความหวังนั้น ทำให้จิตเร่าร้อน เร่งเร้าอยากให้เป็นเช่นที่หวัง ก็เป็นการเบียดเบียนจิตและกายตนเอง จุดนี้เป็นอารมณ์หลง หลงคิดว่าจักเอาสมบัติของโลกไปได้ โดยเฉพาะหลงติดในร่างกายตนเอง อันเป็นการเพิ่มสักกายทิฏฐิ

แต่ถ้าหากไม่ตั้งความหวังจักเอาสมบัติของโลกและขันธโลกไปด้วย เพราะรู้ชัดว่าเอาไปไม่ได้ มันหาใช่เรา หาใช่ของเราไม่ จิตก็จักเยือกเย็น - ไม่ดิ้นรน - ไม่ห่วง - ไม่กังวล ด้วยประการทั้งปวง จิตมีความไม่ประมาทในชีวิต พร้อมตายและซ้อมตาย เพื่อเอาจิตคือตัวเราไปพระนิพพานอยู่เสมอ ด้วยอารมณ์เบา ๆ สบาย ๆ ยอมรับความเป็นจริงของโลก และขันธโลกว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ที่สุด เป็นอนัตตาทั้งสิ้น ทุกอย่างเป็นกฎของกรรม - เป็นกฎธรรมดา - เป็นอริยสัจ มันเที่ยงของมันอยู่อย่างนี้ หากเราไม่เคยทำกรรมนี้มาก่อน ก็จักไม่พบกับกรรมเหล่านี้เลย


การปฏิบัติต้องเดินสายกลาง ไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป ทำด้วยอารมณ์เบา ๆ สบาย ๆ ได้แค่ไหนก็พอใจแค่นั้น จึงต้องพยายามรักษาอารมณ์ให้เยือกเย็นไว้เสมอ คอยดูอารมณ์ของจิตให้ดี จักเห็นอารมณ์ที่ไหวไปตามอายตนะตลอดเวลา เมื่อรู้ก็ให้ใช้กรรมฐานแก้จริต ให้ถูกต้องตามอารมณ์ตลอดเวลาเช่นกัน การทรงอานาปานุสติ จึงต้องทรงตลอดเวลา เพราะเป็นการเจริญสติสัมปชัญญะให้สมบูรณ์ คุมจิตไม่ให้คิดชั่วไปตามอายตนะ จุดนี้ต้องมีสัจจะ ตั้งใจทำจริง ด้วยความเพียร – ความอดทน หรือมีวิริยะ - ขันติ - สัจจะ โดยมีปัญญาบารมีคุม ทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว เพราะตราบใดที่จิตยังเข้าไม่ถึงพระนิพพาน ก็จงอย่าหลงคิดว่าตัวเองดีเป็นอันขาด

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 31-07-2014 เมื่อ 16:15
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #113  
เก่า 01-08-2014, 13:39
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

(พระธรรมที่ทรงตรัสสอนในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๐)

ปกิณกธรรม


สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนปกิณกธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑. พิจารณากฎของกรรมให้มาก อย่าฝืนกฎของกรรม จักทำให้จิตเห็นทุกข์มากยิ่งขึ้น และจงเตือนตนไว้เสมอ กรรมเหล่าใดถ้าหากตนเองไม่เคยได้ก่อไว้ กรรมเหล่านั้นจักเข้ามาสนองตนเองไม่ได้เลย พิจารณาทุกข์อันเกิดจากผลแห่งกฎของกรรมให้ผลให้เห็นชัด ๆ ต่อไปจักได้สำรวมกาย - วาจา - ใจ ให้มากขึ้น กรรมใหม่จักได้ไม่ก่อกันอีกต่อไป กรรมเท่าที่ตามมาสนองก็ชดใช้เขาไป ทำได้อย่างนี้จิตจักคลายจากความทุกข์ ความสงบของจิตจักมีมากขึ้น เพราะการยอมรับนับถือกรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ และถ้าหากสำรวมกาย - วาจา - ใจให้สงบจากการไม่สร้างกรรมชั่วใหม่แล้ว จิตก็จักมีกำลังใจมาทางด้านปฏิบัติธรรม เพื่อพระนิพานได้ดีเป็นอันมาก

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-08-2014 เมื่อ 16:29
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #114  
เก่า 04-08-2014, 09:20
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๒. ให้พิจารณาเรื่องศีล ๓ ขั้นให้มาก ๆ ไม่ว่ารักษาศีลโดยไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง อันเป็นการสำรวมกายให้เรียบร้อย ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีล ทางวาจา ไม่ยินดีด้วยเมื่อบุคคลอื่นละเมิดศีลแล้ว ทางด้านจิตใจ แล้วศีลที่กล่าวมาก็ให้รักษาอยู่ในกำลังใจของตน ศีล ๕ ก็ให้เป็นปกติในศีล ๕ ทั้งกาย - วาจา - ใจ ศีล ๘ ก็ให้เป็นปกติในศีล ๘ ทั้งกาย – วาจา - ใจ ศีล ๒๒๗ เป็นศีลของพระ ก็ให้ดูท่านพระ...เป็นตัวอย่าง ท่านรักษาไว้ดีแล้วทั้งทางกาย - วาจา - ใจ

การปฏิบัติเหล่านี้จึงเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย จุดนี้เป็นบ่อเกิดเบื้องต้นของสัมมาทิฏฐิ อันนำไปสู่สมาธิ อันเป็นโลกุตรสมาธิ หรือสัมมาสมาธิ ด้วยกำลังของศีลที่มั่นคง (อธิศีล) เมื่อสมาธิไม่เสื่อมก็นำไปสู่ปัญญา (สัมมาปัญญา) ใช้พิจารณาขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ก็จักตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้ นักปฏิบัติทุกคนจักต้องให้ความสำคัญแก่ศีล รักษาศีลให้เป็นชีวิตจิตใจ ปฏิบัติไปจนเป็นอธิศีลเมื่อไหร่ ก็ถึงพระโสดาบัน เป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้นของพระพุทธศาสนา คำว่าอบายภูมิ ๔ จักไม่เป็นที่ไปสำหรับบุคคลผู้นั้นอีก

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-08-2014 เมื่อ 09:29
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #115  
เก่า 06-08-2014, 13:59
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๓. ร่างกายไม่มีสาระแก่นสารใด ๆ ที่จักยึดถือได้ว่าเป็นเรา เป็นของเรา ให้พิจารณาร่างกายโดยแยกเป็นธาตุ ๔ ให้มาก แยกส่วนอาการ ๓๒ ฝึกฝนให้จิตทรงตัว ค่อย ๆ คิด ต้องฝึกฝนจิตให้คิดเหมือนกับสมัยที่ฝึกการคิดรักษาศีล ทำอย่างไรนั่นแหละ เรียกว่าพยายามทำให้จิตรู้จักใช้ปัญญา ไม่ใช่เอาแต่สัญญาความทรงจำอย่างเดียวจักไม่ได้ผล

อย่างกรณีคุณหมอก็เช่นกัน ที่บอกว่าไม่ไหวในเรื่องกายคตาและอสุภะ ให้รู้ว่านั่นเป็นสัญญา แล้วก็มีจุดหนึ่งที่มีเหตุทำให้คิดไม่ค่อยจักได้ คือกำลังใจยังไม่เต็ม คือเข้าไม่ถึงธรรมส่วนนี้นี่เอง คือจิตยังไม่มีกำลัง จุดนี้จักต้องรู้จักฝึกฝนจิตให้รักการพิจารณาร่างกาย อย่าปล่อยให้จิตไหลลงสู่เบื้องต่ำไปเรื่อย ๆ จักขาดทุน

คนเราถ้ามัวแต่ประมาท.. ไม่รีบเพียรฝึกฝนจิตให้ตัดสังโยชน์ที่คั่งค้างอยู่ คิดแต่ว่าจักรอบารมีเก่าเข้ามาถึงเอง บางครั้งก็อาจจักสายเกินไป กล่าวคือมีกรรมเข้ามาตัดรอนให้ชีวิตต้องตายไปเสียก่อน ไปเกิดเป็นพรหม เป็นเทวดาก็ไม่สิ้นทุกข์ หรือกลับมาเกิดเป็นคนก็ทุกข์ใหญ่ หรือโชคร้ายไปสู่อบายภูมิ ๔ ยิ่งทุกข์มหาศาล
การฝึกฝนจิตให้รู้จักคิด หรือธัมมวิจยะ เรื่องของร่างกายตามความเป็นจริง ตามคำสั่งสอนที่กล่าวไว้มากมายหลายวิธี เป็นการเสริมปัญญาบารมีให้เต็มอยู่ในธรรมปัจจุบัน มีความเพียร – ความอดทน - อดกลั้น ต่อคลื่นอารมณ์ที่เข้ามากระทบ มีสัจจะตั้งใจจะทำอะไรก็พยายามให้เป็นไปตามนั้นเสมอ ทำความดีทุกอย่างโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น ทุกอย่างทำเพื่อพระนิพพานจุดเดียว ทำทุกอย่างโดยมีปัญญาคุม ไม่ปล่อยให้จิตลอยไปลอยมา เหมือนเรือที่ไม่มีหางเสือสุดแต่คลื่นจักพาไปทางไหน เรือจักจมเมื่อไหร่ก็ได้


จิตคนเราก็เช่นกัน คนฉลาดเขาจักไม่ทิ้งบารมี ๑๐ กันด้วยเหตุนี้ อย่ามุ่งจักเอาแต่ทางลัดด้วยกำลังของ มโนมยิทธิ ให้หมั่นถามจิตตนเองดู ภาพกสิณพระนิพานทรงตัวอยู่ได้ทั้งวันหรือเปล่า ถ้ายังไม่ได้ทั้งวันแล้วคิดว่าตายแล้วไปได้แน่ ก็ประมาทเกินไป เมื่อรู้ตัวว่ายังทำไม่ได้ ก็พึงเร่งตัดสังโยชน์ให้มาก ๆ อยากพ้นขันธ์ ๕ ก็จักต้องพิจารณาขันธ์ ๕ อย่างจริงจัง ถ้าไม่รู้จักขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ก็พ้นจากขันธ์ ๕ ไม่ได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-08-2014 เมื่อ 15:52
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #116  
เก่า 13-08-2014, 09:15
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๔. ร่างกายไม่ใช่เรา จุดนี้จักต้องพิจารณาบ่อย ๆ เพื่อให้จิตทรงตัว เป็นการตัดสักกายทิฏฐิเบื้องสูง มิใช่สักเพียงแต่ว่าพิจารณาความตายให้จิตทรงตัวเท่านั้น อารมณ์ยอมรับความตายที่มีกันมาแต่พระโสดาบัน ยังเป็นอารมณ์หยาบอยู่เพราะยังยึดนั่นเกาะนี่ หากแต่การพิจารณาร่างกายเป็นธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ ประกอบด้วยปฏิกูลคือ สิ่งสกปรกที่สุดของร่างกายเป็นอสุภะ หรือนวสี ๙ จุดนี้หมั่นเจริญเพื่อการลด - ละ ในการยึดมั่นถือมั่นเป็นอารมณ์ละเอียด

ทุกคนที่ปรารถนาละขันธ์ ๕ ให้ได้อย่างจริงจัง จักต้องทำจุดนี้ให้มาก ๆ ของเหล่านี้มองเห็นกันไม่ยาก แต่การที่จักทรงจิตอยู่ให้มั่นคง.. มิใช่ของง่าย และขอให้ทุกคนจงอย่าประมาทในกรรม ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง.. ความตายเป็นของเที่ยง บางขณะเผลอไปแล้วก็ตั้งต้นใหม่ อย่าตำหนิตนว่าเลว วัดกำลังใจเข้าไว้เสมอ ถ้าทำไม่ได้หรือไม่ได้ทำเลยในแต่ละวัน นั่นและจัดว่าเลวแท้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-08-2014 เมื่อ 09:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #117  
เก่า 14-08-2014, 08:34
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๕. ให้ใจเย็น ๆ กฎของกรรมทั้งหลายจะค่อย ๆ คลายตัวไปในไม่ช้า และให้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ทุกอย่างเป็นอนัตตา สลายตัวไปหมด ถ้าหากไปยึดเข้าไว้ก็เป็นทุกข์ ให้ปล่อยวางโดยพิจารณาขันธ์ ๕ ของตัวเองเป็นหลักใหญ่ การพ้นทุกข์อยู่ที่จิตของเราเอง มิใช่ไปพ้นทุกข์ที่บุคคลอื่น ให้พิจารณาจิตของตนเอง อย่าไปแก้ไขจิตของบุคคลอื่น เรื่องของร่างกายมันก็เป็นไปตามธรรมชาติของมัน ที่สุดก็เป็นอนัตตา อย่าไปยึดถือร่างกาย ถ้าหากต้องการพระนิพพานก็จงละไปให้ถึงที่สุด พิจารณาอาการ ๓๒ ให้จิตทรงตัว แล้วการตัดร่างกายจักง่ายเข้า มุ่งตัดร่างกายของตนเองเป็นสำคัญ

ถ้าหากตัดร่างกายของตนเองได้แล้ว ร่างกายของบุคคลอื่นก็จักตัดได้เอง อย่าไปห่วงใคร งานทุกอย่างทำตามหน้าที่ โดยพยายามอย่าเอาจิตไปเกาะ.. ทำเสร็จแล้วก็แล้วดับไป การทำงานของร่างกายก็เหมือนกับการมีชีวิตอยู่ นั่นเป็นหน้าที่ของมัน แล้วในที่สุดงานก็ดี ชีวิตของร่างกายก็ดี ย่อมถึงกาลอนัตตาไปในที่สุด เราทำงาน หรือมีชีวิตอยู่เพื่อรอความตายเท่านั้น ให้มีความรู้สึกเอาไว้เสมอ ความตายมาถึงเมื่อไหร่ จุดที่จิตเราต้องการคือพระนิพพานเท่านั้น ในยามปกติจึงพึงทำกาย - วาจา - ใจให้พร้อมอยู่ในศีล - สมาธิ - ปัญญา เพื่อพระนิพพานด้วย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-08-2014 เมื่อ 09:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #118  
เก่า 18-08-2014, 17:18
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๖. ถ้าจิตฟุ้งซ่านให้พยายามจับอานาปาฯ เข้าไว้ รวมทั้งใช้ปัญญาพิจารณากฎของกรรมตามความเป็นจริง (กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ) ถ้าหากจิตยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้ ก็ย่อมยังมีอารมณ์ โกรธ - โลภ - หลง อยู่เป็นธรรมดา และชอบทำอะไรตามใจตนเองเป็นใหญ่อย่างนี้ทุกคน และก็เป็นธรรมดาอีกที่อยากให้ทุกคนตามใจเรา บางครั้งทำอะไรให้ใครก็ยังหวังผลตอบแทนอยู่ในใจ มิใช่ทำเพื่อพระนิพพาน ก็เป็นธรรมดาอีกนั่นแหละ ทุกอย่างล้วนอยู่ในตัวสักกายทิฏฐิ ซึ่งแปลว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เนื่องด้วยร่างกาย ซึ่งเมื่อรู้แล้วก็พึงละเสีย อย่าคิดว่ายาก หากตั้งใจละให้จริงก็จักละได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-08-2014 เมื่อ 18:15
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #119  
เก่า 19-08-2014, 08:46
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๗. ติดตรงไหนให้ตัดตรงนั้น ให้มองทุกสิ่งไม่เที่ยง - เป็นทุกข์ - เป็นอนัตตา แล้วก็เห็นโลกทั้งโลกเป็นอยู่อย่างนั้น ยึดถืออันใดมิได้ จิตหวนเข้ามาพึ่งหรือยึดสิ่งที่เที่ยงแล้ว คือคุณพระรัตนตรัย ยึดพระธรรมคำสั่งสอนของพระตถาคตเจ้า เจริญจิตให้มั่นคงอยู่ในศีล - สมาธิ - ปัญญา หรือ ทาน-ศีล-ภาวนา มุ่งหวังพระนิพพานจุดเดียว เอาบารมี ๑๐ เสริมเป็นกำลังใจให้เต็มอยู่เสมอ พิจารณาดูสุขในโลกียวิสัย จุดไหนที่ยังเกาะอยู่หาต้นเหตุให้พบแล้วแก้ไขเสีย ถามจิตให้จิตตอบ เรื่องนี้มิใช่จักเตือนแต่เจ้าเท่านั้น แม้แต่คุณหมอเองก็ตาม ติดอยู่จุดไหนให้พิจารณาจุดนั้นถึงที่สุด แล้วจักพบแต่ความสุขที่มั่นคงของจิต อันเป็นผลที่ได้จากการปฏิบัติอย่างแท้จริง โดยไม่ต้องไปแสวงหาที่ภายนอก หรือจากบุคคลอื่นเลย อย่าลืม ติดตรงไหน ให้ตัดตรงนั้น

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-08-2014 เมื่อ 12:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #120  
เก่า 21-08-2014, 08:35
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๘. ร่างกายไม่มีแก่นสารสาระก็จริงอยู่ แต่การดำรงอัตภาพให้เป็นไปในช่วงที่มีชีวิตอยู่ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ทำให้จิตที่อาศัยกายอยู่มีความสุขได้ด้วย การเดินสายกลาง.. ไม่เบียดเบียนร่างกายตนเองด้วย ไม่เบียดเบียนจิตใจของตนเองด้วย ไม่สร้างกิเลสคือ ความทะยานอยากให้เกิดขึ้นในรสอาหารมากจนเกินไปด้วย หากแต่ให้คำนึงถึงสุขภาพของร่างกายเป็นสำคัญ

เรื่องนี้เป็นความละเอียดอ่อนของจิต เพราะจิตรู้ จิตอาศัยอยู่ในเรือนคือร่างกายนี้ ยิ่งเรียนรู้ศึกษาเรื่องธาตุ ๖ (ดิน - น้ำ - ลม - ไฟ - อากาศ และวิญญาณธาตุ) ศึกษาอาการ ๓๒ พร้อมแล้ว เห็นการประชุมธาตุการทำงานของอาการ ๓๒ วิญญาณธาตุคืออายตนะทั้ง ๖ หรือประสาทสัมผัสทั้ง ๖ ของร่างกาย เพราะความหลง - โกรธ - โลภ ไม่มี วิญญาณธาตุหรือายตนะ ก็ไม่เบียดเบียนกายกับจิต เห็น - รู้การทำงานของธาตุของอาการ ๓๒ เป็นไปตามปกติหน้าที่ ร่างกายก็สบาย จิตก็สบาย จักมีการเจ็บไข้ได้ป่วยบ้างก็ตามกฎของกรรม อันเป็นวิบากกรรมในอดีตชาติตามมาให้ผล ล้วนเป็นกฎธรรมดาของร่างกาย (สัทธรรม ๕) การดำรงชีวิตอยู่ของอัตภาพร่างกาย ตถาคตจึงกล่าวถึงปัจจัย ๔ หรือ ปัจจเวกขณ์ ๔ ให้ภิกษุสงฆ์ได้พิจารณาเพื่อกายเป็นสุข จิตเป็นสุขในมัชฌิมาปฏิปทา ๔ อย่างนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต เพื่อรักษาร่างกายไว้เพื่อประกอบความดี คือเพียรเพื่อมรรคผลนิพพานแห่งจิตของตนเท่านั้น เป็นประการสำคัญ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-08-2014 เมื่อ 15:27
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:58



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว