กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะ เรื่องราวในอดีต และสรรพวิชา > กระทู้ธรรม > ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #81  
เก่า 03-02-2014, 10:42
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๗. อย่าท้อถอยในงานที่ทำอยู่ ทุกอย่างให้ตั้งใจต่อสู้เพื่อพระพุทธศาสนา เพื่อพระนิพพานให้เต็มที่ คือเต็มกำลังใจของเรา งานภายนอกหรืองานทางโลก ซึ่งต่างคนต่างก็มีหน้าที่ของตน ก็พยายามทำให้เต็มความสามารถของแต่ละคน แต่พร้อมที่จะละ - ปล่อย - วางได้ทันทีเมื่อความตายมาถึง และงานภายใน คืองานสมถะ - วิปัสสนาธุระ ก็ทำให้เต็มกำลังใจ งานทั้ง ๒ ประการนี้อย่าให้ขาดตกบกพร่อง จึงจักได้ชื่อว่ากำลังใจเต็ม

คนอื่นจักเป็นอย่างไรอย่าไปสนใจ อย่าไปห้ามกรรมหรือสนใจในกรรมของใคร ให้ดูการกระทำของกาย – วาจา - ใจของตนเอง พึงกำหนดรู้อยู่ในศีล - สมาธิ - ปัญญาตลอดเวลา ใครกระทำผิดศีล - สมาธิ - ปัญญา อย่าไปโกรธเขา ให้พึงมีเมตตาให้มาก ๆ ให้คิดว่าคนเราเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ได้ก็แสนยาก นี่โชคดีมากที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ได้พบพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ และได้พบพระอริยสงฆ์ หากไม่สามารถรักษาศีล - สมาธิ - ปัญญาไว้ให้ได้ ก็ต้องไปเริ่มต้นใหม่ที่อบายภูมิ ให้รู้สึกสงสารพวกเหล่านี้ด้วยเมตตาจริง ๆ อย่าเอาความรู้สึกสมน้ำหน้าเข้าไปเจือปน ความเกลียดชัง อารมณ์ปฏิฆะก็จักเกิดขึ้นแทนเมตตา

ให้พิจารณาเรื่องเมตตาและพรหมวิหาร ๔ ให้มาก ๆ แล้วจิตจักมีอารมณ์เยือกเย็นขึ้นได้ การปฏิบัติก็จักเข้าถึงมรรคผลได้เร็ว แต่พึงระมัดระวัง คำว่าการมีพรหมวิหาร ๔ ให้แก่ตัวเองนั้น.. ไม่ใช่ความเห็นแก่ตัว ผู้ใดเข้าใจอย่างนั้นจักแปลคำสอนของตถาคตผิด ให้พิจารณาให้ลึกซึ้งแล้วจักรู้ชัดว่า พรหมวิหาร ๔ เกิดขึ้นกับจิตตนเองเป็นอย่างไร ? ความเห็นแก่ตัว หรือมัจฉริยะ ความตระหนี่ขี้เหนียวเป็นอย่างไร ? ให้สังเกตว่า พรหมวิหาร ๔ เกิดขึ้นกับจิตแล้วจักเยือกเย็นมาก แต่ความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นกับจิตเมื่อไหร่ก็จักเร่าร้อนเมื่อนั้น พิจารณาแยกออกมาให้ได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-02-2014 เมื่อ 15:17
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 64 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #82  
เก่า 07-02-2014, 14:05
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๘. ให้มองทุกอย่างเป็นกรรมฐาน คุมสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้ไว้เท่านั้นว่า ทุกอย่างในโลกเข้าสู่พระไตรลักษณ์หมด โลกนี้ทั้งโลกที่สุดแล้วไม่มีอะไรเหลือ อย่าหวังความจีรังยั่งยืนในโลกนี้หรือในไตรภพ มีที่เดียวเท่านั้นที่เที่ยงคือแดนพระนิพพาน

แต่บุคคลที่จักไปดินแดนนี้ได้ จักต้องทำพระนิพพานให้เกิดแก่จิต เพราะพระนิพพานเขาเอาจิตไปกัน จิตที่ตัดกิเลสได้เป็นสมุจเฉทปหานนั่นแหละ คือผู้มีพระนิพพานเป็นที่ไป พระนิพพานเป็นสุขที่สุด เพราะไม่มีชาติภพให้ต้องกลับมาหรือเคลื่อนไปจุติอีก พิจารณาธรรมทั้งหลายที่เข้ามากระทบให้ดี ทุกเรื่องล้วนทำให้เกิดทุกข์ หากเอาเป็นกรรมฐาน จักได้ประโยชน์จากการกระทบนั้นอย่างมหาศาล เพราะถ้าหากจะละซึ่งความโกรธ ก็จักมีคนมายั่วให้โกรธด้วยวิธีการต่าง ๆ หากจิตเราหวั่นไหว โกรธตอบก็สอบตก หากกระทบแล้วปล่อยวางได้ก็สอบได้

ทำนองเดียวกัน คนจักละความโลภ ก็จักมีคนมาล้างผลาญทรัพย์สินที่เราอุตส่าห์อดออมมาให้หมดไป มารผจญตัวนี้จักแรง เผลอ ๆ อาจหมดตัวก็ได้ เป็นการทดสอบกำลังใจว่าตัดโลภได้หรือไม่ ถ้าจิตวางได้ก็จักไม่ห่วงใยในชีวิตมากเกินไป เห็นว่าการเป็นอยู่ทุกวันนี้ก็พอจักยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ถ้าวางไม่ได้ จิตที่เดือดร้อนอยากจักแสวงหาทรัพย์ มาเป็นหลักประกันชีวิตให้อยู่อย่างสุขสบาย ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่มีใครเอาสมบัติของโลกไปได้

สมบัติของโลกที่เรารักที่สุด ก็คือร่างกายที่จิตเราอาศัยอยู่ชั่วคราวนี้ ก็ยังเอาไปไม่ได้ คนที่หนักอยู่ในความหลงก็จักมีเหตุทำให้ความหลงมากขึ้น เช่น หลงรูป ก็จักมีรูปสวยมามอมเมาทำให้หลง หลงเสียงไพเราะ - หลงกลิ่นหอม - หลงรสอร่อย - หลงสัมผัสที่นุ่มนวล - หลงอารมณ์ตนเอง มาทดสอบอารมณ์จิตอยู่เสมอ นี้เป็นธรรมดาของนักปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนา จักต้องได้พบได้เจอ เพราะเป็นของจริง เป็นอริยสัจที่เป็นกฎของกรรมที่จักต้องยอมรับนับถือ

ทุกอย่างจักเป็นความจริง ต้องถูกกระทบก่อนแล้วหมดความหวั่นไหว ลงตัวธรรมดาหมด พิจารณาให้ได้ วางอารมณ์ให้ถูก แล้วแต่ละคนจักได้ประโยชน์ในทางจิต อันส่งผลให้ได้ผลในทางธรรมปฏิบัติมาก

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-02-2014 เมื่อ 17:10
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #83  
เก่า 10-02-2014, 08:55
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๙. อย่าไปตำหนิกรรมของใคร ใครจักปฏิบัติกันอย่างไรเป็นเรื่องของเขา รู้แล้วเห็นแล้วว่าไม่ตรงพุทธพจน์หรือไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ไม่ตรงกับสังโยชน์ ๑๐ ประการ ก็ให้ปล่อยวางเสีย หันมาดูตัวอย่างของผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพียรปฏิบัติให้ได้ตามท่านนั่นแหละจักถูกต้องกว่า แต่อย่าไปวัดรอยเท้าท่านว่าจักได้เท่าท่าน

ให้ดูกำลังของศีลด้วย คำว่าศีลพระ ๒๒๗ แม้พวกเจ้าจักได้ศึกษามาบ้างแล้ว แต่ก็ยังผิวเผิน ไม่เหมือนท่านผู้รักษาศีลจนศีลรักษา แม้แต่อภิสมาจาร ท่านก็ยังรู้ครบแล้ว จิตของท่านย่อมละเอียดมากไปตามขั้นของศีลนั้น ๆ อย่าตีตนเสมอท่านเป็นอันขาด

ขอให้อดทนทำหน้าที่นี้ต่อไป เพื่อช่วยเกื้อกูลพระพุทธศาสนา อย่าท้อถอย อุปสรรคต่าง ๆ จักสลายตัวไปในไม่ช้า ขอเพียงให้พวกเจ้ามีกำลังใจตั้งมั่นในอารมณ์เพื่อพระนิพพาน ทำทุกอย่างเพื่อพระพุทธศาสนาเท่านั้น ทุกคนต่างมีหน้าที่ช่วยเหลือเกื้อกูลพระพุทธศาสนา ทำไปเถิด แม้
จักเหมือนปิดทองหลังพระ ความดีอันนี้ไม่มีสูญหาย

อย่างคุณหมอทำหน้าที่เผยแพร่ธรรมก็เช่นกัน เป็นการเกื้อกูลคำสอนของพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น..จงรักษาความดีให้เหมือนเกลือรักษาความเค็ม อย่าลืมการตำหนิคนเป็นความไม่ดี การนินทาคนเป็นความไม่ดี อย่าให้มีเกิดขึ้นแก่จิตของพวกเจ้า อย่าเอาแต่เพียงให้ธรรมะแก่ผู้อื่น สังโยชน์ของตนเองยังเหลือคั่งค้างอยู่แค่ไหน พึงเร่งรัดปฏิบัติให้ได้ด้วย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-02-2014 เมื่อ 09:45
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #84  
เก่า 13-02-2014, 11:37
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๐. ให้เห็นความเกิดความดับของสังขาร เห็นทุกอย่างไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา กายสังขารก็ดี จิตสังขารก็ดี มีแต่ความเปลี่ยนแปลง จิตยึดเมื่อไหร่ทุกข์ก็เกิดเมื่อนั้น ให้พยายามปลดอารมณ์ที่ไปเกาะติดทุกข์เหล่านี้เสีย ร่างกายไม่เที่ยง ร่างกายเป็นทุกข์ แล้วที่สุดร่างกายนี้ก็เป็นอนัตตา พิจารณาไปแล้วให้ปล่อยวาง อย่านึกท้อถอย เพราะนั่นเป็นการทำให้จิตตกลงไป เป็นเหตุให้หมดกำลังใจ จุดนี้เรียกว่าจิตยังไม่ยอมรับกฎของธรรมดา ถ้าบุคคลที่มีปัญญา พิจารณาแล้วจักยอมรับนับถือกฎของธรรมดาของร่างกาย ก็จักปล่อยวางร่างกายให้เป็นสักแต่ว่าร่างกาย ปกติอย่างนี้ก็เป็นอย่างนี้เป็นปกติของมัน ใจเราให้สักแต่ว่าเป็นใจของเรา อย่าให้มันไปทุกข์ด้วยกับร่างกาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-02-2014 เมื่อ 12:55
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #85  
เก่า 24-02-2014, 14:38
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๑. เรื่องอะไรจักเกิดก็ย่อมเกิดตามกรรมตามวาระ พวกเจ้าอย่าไปยึดถือว่า ในโลกนี้จักมีอะไรเป็นความเที่ยงเลย ทุกอย่างเป็นอนิจจัง - ทุกขัง - อนัตตาทั้งสิ้น ถ้าหากยึดว่าเที่ยงก็จักเกิดทุกข์ขึ้นมาทันที ให้ทำจิตให้สบาย ๆ เห็นทุกอย่างพังหมดเข้าไว้เสมอ แม้กระทั่งร่างกายของตนเอง

เช่นในวันนี้เป็นวันสงกรานต์ (๑๓ เมษายน ๒๕๔๐) ทางวัดมีการทำบุญและมีพิธีสะเดาะเคราะห์ ผู้มีศรัทธาต่างก็ตั้งใจมาทำบุญและร่วมพิธีสะเดาะเคราะห์ แต่ก็มีเคราะห์เสียก่อน รถยางแตกทำให้เกิดอุบัติเหตุ อันเป็นเหตุที่ไม่รู้มาก่อน มีคนเสียชีวิตไป ๓ คน คนทั้งหมดที่เสียชีวิตเขาไปดี เพราะจิตอยู่ในบุญกุศลมาโดยตลอด แต่ที่ต้องตายเพราะเป็นอุปฆาตกรรมเข้ามาให้ผล

นี่ก็เป็นธรรมดาของกรรมที่เที่ยงเสมอ คนทำดีมาโดยตลอดก็หนีวาระกฎของกรรมไม่พ้น ดูแต่ในพุทธันดรนี้ ผู้เป็นพระโสดาบันก็ยังถูกฆ่าตาย หรือพระโมคคัลลานะ พระอัครสาวกเบื้องซ้ายก็ยังถูกฆ่าตาย แต่บุคคลเหล่านั้นตายแต่ร่างกาย จิตของท่านไม่ตายก็ไปตามกรรมที่ได้กระทำอยู่ พระโสดาบันไม่มีคำว่าสู่อบายภูมิ ๔ พระอรหันต์ท่านก็ไปพระนิพพาน บุคคลทั้ง ๓ ที่ได้รับอุบัติเหตุก็เช่นกัน คำว่าอบายภูมิ ๔ ไม่มีสำหรับบุคคลเหล่านี้ ให้พวกเจ้าดูไว้เป็นตัวอย่าง

ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง และการตายก็ตายแต่เพียงร่างกาย จิตนั้นไม่มีวันตาย จิตต้องไปเสวยสุขหรือเสวยทุกข์ตามกรรม คือการกระทำของตนเองไปตามวาระนั้น ๆ ทุกคนที่เข้ามาปฏิบัติมักจักกล่าวว่าความตายเป็นเรื่องธรรมดา แต่ทุกคนมักจักทำจิตให้ยอมรับธรรมดา.. คือความตายอันจักเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้นั้นไม่ได้ กล่าวคือ จิตไม่ได้รับการซักซ้อมให้ทิ้งร่างกายอย่างเพียงพอ ยิ่งเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับร่างกายถึงแก่ความตาย จิตที่อ่อนการซักซ้อมจึงเข้าพระนิพพานไม่ได้ เพราะฉะนั้น จงอย่าประมาทในอุบัติเหตุ พึงซักซ้อมเข้าไว้ให้ได้เสมอ เพื่อให้จิตมันชิน (รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-02-2014 เมื่อ 15:42
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #86  
เก่า 28-02-2014, 14:06
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๒. การทำบุญแล้วเกาะบุญก็มีผลตามนั้น เช่น สร้างศาลาวัดก็ดี ห้องกรรมฐานก็ดี แม้สร้างพระพุทธรูปไว้กับวัดต่าง ๆ ก็ดี หากจิตเกาะบุญในสิ่งที่ตนเองสร้าง มีอารมณ์จิตเกาะไม่วาง เมื่อกายตายไป จิตมีสิทธิ์เกิดเป็นภูมิเทวดาได้ทั้งสิ้น หากทำบุญแล้วจิตไม่เกาะบุญ จิตต้องการพระนิพพานจุดเดียว จุดนี้จัดเป็นบุญใหญ่ที่สุดในพุทธศาสนา อนึ่ง ถ้าผู้ให้บริสุทธิ์ แต่ผู้รับไม่บริสุทธิ์ ผลบุญที่ได้ก็ไม่เต็ม แต่ถ้าผู้ให้บริสุทธิ์ ผู้รับบริสุทธิ์ด้วย ทำโดยไม่หวังผลตอบแทนด้วย หวังทำเพื่อหลุดพ้น หรือพระนิพพานจุดเดียว จัดเป็นขั้นปรมัตถบารมี จุดนั้นได้ชื่อว่าทำเพื่อมรรคผลนิพพาน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-02-2014 เมื่อ 19:15
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #87  
เก่า 04-03-2014, 14:02
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๓. ให้เห็นตัวธรรมดาให้มาก คนไม่มีศีลก็ไม่มีศีลเป็นปกติ อย่าไปกังวลกับใคร ให้ห่วงใจตนเองดีกว่า ให้พิจารณากฎของกรรมซึ่งเที่ยงเสมอ และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย ดังนั้นหากไม่ใช่หน้าที่ของเรา ก็จงอย่าไปขวางกรรมของใคร เพราะจักเป็นโอกาสให้กรรมนั้นเข้าตัวเองได้ อุปมาเหมือนดั่งรถจักชนคน ๆ หนึ่ง เราเข้าไปผลักเขาให้กระเด็นออกนอกทางรถ แต่ตัวเรากลับไปอยู่ในทิศทางรถแทน กรรมก็เช่นกัน ให้ดูจิตของเราเอาไว้ให้ดีก็แล้วกัน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-03-2014 เมื่อ 16:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #88  
เก่า 05-03-2014, 09:29
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๔. ร่างกายเป็นศัตรูใหญ่ของเรา ถ้าไม่มีร่างกายเสียอย่างเดียว ทุกข์ของการเกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย - พลัดพรากจากของรักของชอบใจ - มีความปรารถนาไม่สมหวังก็จักไม่มี ปกติของร่างกายก็เป็นอยู่อย่างนี้ มีเกิดเป็นเบื้องต้น มีเสื่อมเป็นท่ามกลาง และมีความสลายตัวไปในที่สุด แต่จิตของเราไปหลงยึดเกาะอยู่กับสิ่งที่ไม่เที่ยงและสกปรกของร่างกายนี้ จึงจำเป็นต้องพิจารณารูป อันหมายถึงธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ มีอายตนะสัมผัสและพิจารณานามทั้ง ๔ อันมีเวทนา - สัญญา - สังขาร - วิญญาณด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้เกิดได้ก็เนื่องจากรูปเป็นเหตุทั้งสิ้น พิจารณาจุดนี้เอาไว้ให้ดี อยากจักพ้นจากร่างกาย ไม่ศึกษาร่างกายให้ถ่องแท้ก็พ้นไปไม่ได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-03-2014 เมื่อ 14:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #89  
เก่า 06-03-2014, 09:05
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๕. ให้ดูความเสื่อมไปของร่างกาย ถอยหลังจากความเป็นเด็กขึ้นมาจนถึงวันนี้ มีอะไรมันทรงตัวบ้าง จุดนี้จักเห็นความเสื่อมชัด แล้วให้สอบดูว่าจิตยังมีความพอใจอยู่ในร่างกายตรงไหนบ้าง แล้วเอาปัญญาพิจารณาในจุดที่พอใจนั้น ถามและตอบให้จิตคลายความพอใจลง ด้วยเห็นธรรมะตามความเป็นจริง แล้วให้เห็นความเสื่อมของร่างกายนี้เป็นของธรรมดา ให้ย้อนถอยหลังไปกี่ภพกี่ชาติ ก็ต้องพบกับสภาพอย่างนี้ ให้ถอยหน้า - ถอยหลัง ให้จิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดาของร่างกาย เมื่อเห็นอยู่ รู้อยู่ จิตก็จักปล่อยวางลงได้ในที่สุด

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-03-2014 เมื่อ 09:32
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #90  
เก่า 24-03-2014, 15:42
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๖. ท่านพระ... พูดถูกตรงที่ว่า การจบกิจของท่านยังมีความละเอียดไม่พอเท่ากับที่พระสอนพวกเจ้า จุดนี้เป็นเรื่องจริง เพราะแต่ละองค์ก็มาแต่ละทาง คือ กรรมที่จักบรรลุไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน ที่เท่ากันคือท่านตัดกิเลสได้หมดตามสังโยชน์ ๑๐ ประการเป็นสมุจเฉทปหานเท่านั้น

เรื่องกฎของกรรมนี้เป็นธรรมที่ละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่บุคคลธรรมดา ๆ จักพึงเข้าใจได้ แต่หากมีความเชื่อหรือศรัทธาในพระองค์ โดยจิตไม่สงสัยในพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว พระองค์ทรงตรัสว่า บุคคลผู้นั้นเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ คือ เป็นสัมมาทิฏฐิเต็มกำลังใจ (ตัวสัมมาทิฏฐิ คือตัวปัญญาในพระพุทธศาสนา)

เรื่องนี้หลวงพ่อฤๅษีท่านเคยพูดไว้ว่า “คนผิดคนถูกไม่มี คนชั่วคนเลวคนดีไม่มี มีแต่คนที่มาตามกรรม แล้วก็ไปตามกรรม ทุกชีวิตเดินเข้าสู่ความตายเหมือนกันหมด” และที่สมเด็จองค์ปัจจุบันทรงตรัสเกี่ยวกับท่านเทวทัตว่า “เรารักเทวทัตเท่ากับพระราหุล ลูกของเรา" เหตุเพราะพระพุทธองค์และหลวงพ่อฤๅษีมีพรหมวิหาร ๔ เป็นอัปมัญญา ท่านมองคนในแง่ดี จิตบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส - ตัณหา - อุปาทาน และอกุศลกรรม หมดอคติ ๔ มองทุกอย่างเป็นธรรมดาหมด

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ การเจริญพระกรรมฐานตัดสังโยชน์ตั้งแต่เบื้องต้นยันเบื้องปลาย ไม่มีใครเขาทิ้งพรหมวิหาร ๔ กัน เพราะพรหมวิหาร ๔ เลี้ยงทั้งศีล - สมาธิ - ปัญญา เป็นกำลังใหญ่ทำให้เข้าถึงพระอรหัตผลได้ง่าย เพราะฉะนั้น จึงพึงทรงจิตให้อยู่ในพรหมวิหาร ๔ อยู่เสมอ อนึ่ง จักตัดกิเลสตัวไหน ให้ใช้พรหมวิหาร ๔ ควบคู่กันไป จักเป็นกำลังใหญ่ให้ตัดกิเลสได้โดยง่าย

ยกตัวอย่าง เช่น การรักษาศีล ๕ ข้อแรก ห้ามฆ่าสัตว์ หากไม่มีเมตตาความรัก ไม่มีกรุณาความสงสาร ไม่มีมุทิตาจิตอ่อนโยน ไม่มีอุเบกขาวางเฉย สมมุติว่าอยากกินไก่ หากมีอุเบกขาวางเฉยกับความอยากนั้น ก็มีจิตอ่อนโยนไม่ยอมฆ่าไก่นั้น มีความกรุณาสงสารก็ฆ่าไก่ไม่ลง มีเมตตารักแล้วก็ฆ่าไม่ลง ในขณะเดียวกันผลสะท้อนกลับมาหาตัวเรา ไม่ต้องตกนรกไปชดใช้กรรมที่ฆ่าไก่นั้น ก็เทียบเท่ากับเรามีพรหมวิหาร ๔ ให้กับตนเองด้วย นี่เป็นอุปมาอุปมัยสำหรับศีลเบื้องต้นข้อแรก ข้ออื่น ๆ ก็พิจารณาโดยอาศัยหลักของพรหมวิหาร ๔ กลับไปกลับมาเช่นกัน เรื่องของสมาธิ เรื่องของปัญญา ก็ให้พิจารณาไปเช่นนี้เหมือนกัน แล้วจักทำให้ตัดกิเลสได้ง่าย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-03-2014 เมื่อ 02:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #91  
เก่า 02-04-2014, 14:41
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๗. อย่าสนใจกับจริยาหรือปัญหาของผู้อื่น เพราะปัญหาของตนเองก็มากพอแล้ว ให้มองลงตรงกฎธรรมดา เรื่องของโลก เรื่องของคนที่ยังมีกิเลสอยู่ก็เป็นเช่นนี้แหละ แม้แต่พวกเจ้าเอง ตราบใดที่ยังเข้าไม่ถึงซึ่งพระนิพพานเพียงใด ก็ยังได้ชื่อว่ายังมีกิเลสอยู่ จงอย่าคิดว่าตนเองดีแล้ว ตนเองสามารถแก้ปัญหาให้กับบุคคลอื่นได้ นั่นจัดว่าเป็นความหลง

ความจริงจักต้องพยายามแก้จริตของตนเองให้ได้ อย่าไปคิดแก้จริตผู้อื่น หนักตัวไหนก็ฟันตัวนั้นก่อน โดยอาศัยอริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา แต่ส่วนใหญ่มักเผลอไปถนอมกิเลส กลัวกิเลสจักเศร้าหมอง มัวแต่เกาะกิเลส ประคับประคองกิเลส ไม่กล้าสังหารกิเลส ให้มองลึกลงไป ที่ยังตัดกิเลสไม่ได้ เพราะยังมีอาลัยอาวรณ์ในขันธ์ ๕ เป็นเหตุ กลัวความทุกข์ กลัวความลำบาก กลัวอดอยาก กลัวขาดเครื่องบำรุงบำเรอความสุขของร่างกาย มีความห่วงในร่างกายมากว่าห่วงสภาพของจิตใจ นักปฏิบัติตัดตัวนี้ไม่ได้ก็ไม่มีทางเอาดีได้

แล้วจงจำไว้ว่า จิตของใครก็ไม่สำคัญเท่าจิตของเรา และจิตของเราถ้าไม่รักษาให้มันมีความผ่องใส ใครที่ไหนจักมาช่วยรักษาให้มันผ่องใสได้นั้นไม่มี บางครั้งคนอื่นอาจจักทำให้เราชื่นใจ มีความสุขในคำสนทนาธรรม แต่นั้นไม่ใช่ของจริง เป็นเพียงความสุขชั่วคราว เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป สุขนั้นอยู่ไม่นาน ไม่เหมือนกับเราปฏิบัติได้ด้วยตนเอง สุขทั้งกาย-วาจา-ใจ นั่นแหละจึงจักเป็นของจริงที่เลิศประเสริฐแท้ จำไว้..ตัวรู้ไม่ใช่ตัวปฏิบัติ ตัวปฏิบัติให้มรรคผลเกิดจริงตามตัวรู้ นั่นแหละจึงจักเป็นของจริง

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-04-2014 เมื่อ 16:27
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #92  
เก่า 04-04-2014, 10:44
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๘. อย่าไปจริงจังกับชีวิตให้มากนัก ทำใจให้สบาย ๆ เสียบ้าง เพราะไม่มีงานใดในโลกที่ทำแล้วเสร็จบริบูรณ์โดยไม่ต้องทำใหม่อีก ความจริงแล้ว อารมณ์เสียดายก็ดี อารมณ์กังวลในสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งงานที่ยังคั่งค้างอยู่ก็ดี ก็คือนิวรณ์ข้อที่ ๑ และ ๒ นั่นเอง หากระงับมันไม่ได้ ก็ทำปัญญาของเราให้ถอยหลัง คือโง่ทุกครั้งที่ยังมีอารมณ์ ๒ ตัวนี้เกิด

เมื่อพิจารณาร่างกายแล้วอย่าลืมพิจารณาอารมณ์ของจิตด้วย ๒ อย่างจักต้องทำควบคู่กันไป หมั่นถามจิตให้จิตตอบอยู่เสมอ เป็นการสอนตนเอง ไม่ไปมุ่งสอนผู้อื่น เวลาเราทุกข์ก็ทุกข์คนเดียว เวลาเราตายร่างกายมันพังเราก็ตายคนเดียว เพราะฉะนั้นตนจักต้องเป็นที่พึ่งแห่งตนเท่านั้นในวาระของชีวิต พิจารณาถึงเรื่องนี้ให้มากจักเกิดประโยชน์ใหญ่ในภายหน้า

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-04-2014 เมื่อ 12:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #93  
เก่า 08-04-2014, 14:02
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

(พระธรรม ที่ทรงตรัสสอนในเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๐)

ปกิณกธรรม

สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนปกิณกธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑. ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเราและไม่ใช่ของใคร มันเป็นเพียงธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ เข้ามาประชุมกัน เป็นเพียงสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป ไม่มีร่างกายของใครที่จักจีรังยั่งยืน ทุกสภาวะของร่างกายเป็นอย่างนี้เหมือนกันหมด เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรหวังการทรงตัวของร่างกาย เพราะหวังไปอย่างไร ที่สุดของร่างกายก็เป็นอนัตตา สลายตัวไปในที่สุด จึงไม่ควรหวังความเที่ยงแท้แน่นอนของร่างกายของตนหรือของใครเป็นอันขาด พิจารณาให้มากด้วย การดูร่างกายของตนเป็นที่ตั้ง ละร่างกายของตนได้ ก็ละร่างกายของคนอื่นได้หมด

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-04-2014 เมื่อ 15:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #94  
เก่า 18-04-2014, 12:10
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๒. เรื่องอนาคตอย่าไปกังวล ให้รักษาจิตอยู่ในปัจจุบันให้ดีที่สุดเท่าที่จักดีได้ นั่นแหละจึงจักเป็นการถูกต้อง พยายามอย่าห่วงหน้าห่วงหลัง ตัดความกังวลออกไปให้ได้มากที่สุด ตัวนี้เป็นอารมณ์ถ่วงความเจริญของจิต ที่จักเจริญพระกรรมฐานให้ถึงขั้นปล่อย-ละ-วางกายสังขาร เป็นอารมณ์ที่อันตรายที่สุดตัวหนึ่ง เมื่อมีความกังวลเกิดให้รีบหาเหตุแห่งความกังวลนั้น พิจารณาไปให้ถึงที่สุดของเหตุแห่งความกังวลนั้น จิตก็จักยอมรับในกฎของความเป็นจริง อย่าลืมการเจริญพระกรรมฐานทุกจุด จักต้องหาความเป็นจริงอยู่เสมอ นี่คืออริยสัจ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-04-2014 เมื่อ 16:12
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #95  
เก่า 29-04-2014, 13:56
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๓. เมื่อได้ข่าวว่าจะมีหลวงพี่บางองค์สึกออกไปจากวัด ให้เห็นเป็นเรื่องธรรมดา เพราะผู้อยู่ในเขตผ้ากาสาวพัสตร์ เมื่อหมดบุญก็จักร้อนผ้าเหลือง อยู่ไม่ได้หรอก เรื่องเหล่านี้อย่าไปกังวล อย่าห่วงว่าวัดท่าซุงจักอยู่ไม่ได้ เรื่องของวัดท่าซุงอยู่ในความดูแลของพระตถาคตเจ้าทุกพระองค์ แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นเรื่องกฎของกรรม จุดนี้ต้องทำใจเอาไว้บ้าง อย่าวิตกกังวลให้มากเกินไป ทุกอย่างล้วนเป็นของธรรมดา เพราะสมมุติสงฆ์เหล่านี้ ยังมิใช่พระอริยเจ้า พระอริยเจ้าท่านเป็นได้ที่คุณธรรมของจิต ที่ตัดสังโยชน์ได้เป็นสมุจเฉทปหาน พระเป็นที่จิต มิได้เป็นที่ร่างกาย เป็นแล้วทรงตัว จึงไม่มีใครที่จักมาสึกความเป็นพระอริยเจ้าไปได้ ขอให้เข้าใจตามนี้ด้วย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-04-2014 เมื่อ 15:18
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #96  
เก่า 06-05-2014, 11:27
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๔. ความเป็นพระอรหันต์ ท่านมีสติ - สัมปชัญญะสมบูรณ์ คือไม่เผลอในขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา เป็นของเรา ดังนั้น..การขาดสติไปมีอารมณ์ราคะ - โทสะ - โมหะ จึงไม่มีแล้วในท่าน เพราะตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการขาดหมดแล้ว กิเลสเหล่านั้นก็กำเริบไม่ได้อีก การรู้สภาวะธาตุ ๔ ไม่เที่ยง ธาตุที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ ธาตุลม ลมเป็นอาหารของผู้มีร่างกายหรือผัสสาหาร

ดังนั้น การกำหนดรู้อานาปานุสติ จึงทำให้เห็นความเกิด - ดับได้ชัดมาก เห็นสันตติของร่างกายได้ชัดด้วยปัญญา ขาดลมเข้าหรือลมออกก็ตาย และการรู้ลมทำให้จิตสงบ เป็นสุข จิตเข้าถึงฌานสมาบัติได้โดยง่าย ส่วนการกำหนดภาพกสิณกองใดกองหนึ่งก็ดี การกำหนดคำภาวนาประการใดประการหนึ่งก็ดี เป็นเพียงนิมิตหรืออุบายโยงจิต ทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือตั้งใจมั่นอยู่ในภาพหรือคำภาวนานั้น ๆ แต่ตัวจริง ๆ ที่ทำงานอยู่คือลมหายใจเข้า - ออก ดังนั้น..การทำภาพกสิณหรือคำภาวนา ก็สามารถทำจิตให้เข้าถึงฌานสมาบัติ และสามารถทำให้จิตสงบขึ้นได้ตามลำดับของฌานที่ได้นั้น ๆ เรื่องนี้ให้จำไว้

พระอรหันต์หรือพระอริยสาวกจักทำจิตให้ไม่ว่างจากฌาน พระตถาคตเจ้าหรือพระอรหันต์สาวกเจริญฌานเพื่อความอยู่เป็นสุขของจิต เพื่อระงับกายสังขาร เพื่อระงับทุกขเวทนาจาก รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ ถูกเพิกด้วยฌานในขณะที่ท่านต้องการ การเข้ารูปฌานและอรูปฌานจึงเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นสภาวธรรม ที่เกิดแล้วดับเป็นธรรมดาเท่านั้นเอง แต่จิตจักไปยึดมั่นถือมั่นในฌานสมาบัติ ติดสุขอยู่ในฌานอยู่ร่ำไปนั้นไม่มี (ท่านมีสติ-สัมปชัญญะสมบูรณ์ จึงไม่มีเผลอ ที่จักไปยึดสภาวะที่ไม่เที่ยง อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้มาเป็นของท่านอีก) แต่จำเป็นต้องรู้ต้องศึกษา เพราะทิ้งอานาปาฯ ก็เท่ากับทิ้งฐานความมั่นคงของจิต ไม่รู้จักความสงบของจิต เรื่องนี้จึงจำเป็นต้องศึกษาและปฏิบัติตลอดชีวิต

ทำจริง ๆ ไม่ยากหรอก ขอจงอย่าเครียด ทำเล่น ๆ รู้ลมบ้าง รู้คำภาวนาบ้าง รู้ภาพกสิณบ้าง พิจารณาบ้าง สลับกันไปให้จิตพอสบาย ๆ ไม่นานก็เข้าถึงฌานสมาบัติได้เอง เวลาปฏิบัติไม่จำเป็นจักต้องรู้ลม แล้วต้องรู้คำภาวนา รู้ภาพกสิณ รู้สีไปในทีเดียวกัน ทำอย่างนั้นจักหนักเกินไป ให้รู้อย่างใดอย่างหนึ่งพอสบาย ๆ จิตก็เข้าถึงฌานได้ อย่างที่กล่าวมา รู้ภาพกสิณอย่างเดียว อานาปาฯ ก็ควบอยู่ในตัว รู้คำภาวนาอย่างเดียว อานาปาฯ ก็ควบอยู่ในตัว ทำไปเพลิน ๆ จิตก็เข้าถึงฌานสมาบัติได้ จิตจักมีความสงบ มีความสุข หรือแม้แต่พิจารณาอยู่ นั่นสมถะก็ควบคุมอยู่ในจิต มีสมาธิ ไม่ฟุ้งไปในอารมณ์อื่น พอจิตเป็นสุข จิตหยุดพิจารณาตรงนั้น จิตเข้าถึงฌานสมาบัติ ถ้าไม่ลืมตรงนั้น ถ้าหากรู้ลมต่อ หรือกำหนดคำภาวนา หรือภาพกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตจักสงบเป็นสุขมาก และเข้าถึงฌานสมาบัติได้โดยง่าย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-05-2014 เมื่อ 16:15
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #97  
เก่า 14-05-2014, 17:17
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๕. วันนี้ทั้งวัน ไม่ต้องไปดูอื่นไกล ให้พิจารณากายตนเอง และอารมณ์อันปรากฏแก่จิตตนเองเป็นสำคัญ ดูให้เห็นความโกรธ - โลภ - หลง อันปรากฏแก่จิต ด้วยเหตุที่ยึดขันธ์ ๕ นี้ สร้างความทุกข์มาให้นับชาติไม่ถ้วน อารมณ์เหล่านี้พาจิตให้ไปจุติด้วยทุกข์ หรือสุขอันเป็นโลกียวิสัย ตลอดกาลตลอดสมัยที่จิตถูกจองจำอยู่ในมัน (ขันธ์ ๕ หรือร่างกาย) ให้รู้ความเกิด โดยระงับจิตสังขารไม่ให้ไปปรุงแต่งกับความเกิดแห่งอารมณ์นั้น ๆ พิจารณาให้เห็นโทษ แล้วจิตจักปล่อยวางอารมณ์เหล่านี้ไปเอง ทุกอย่างต้องอาศัยตัวรู้ คือสติ - สัมปชัญญะ คอยดู คอยรู้ อารมณ์ของจิตอย่างรู้เท่าทันทุก ๆ ขณะจิต คือธรรมปัจจุบันนั่นแหละ จึงจักพ้นไปได้ อยากพ้นเกิด - พ้นตาย อย่าไปคิดว่ายาก เพราะทุกข์ย่อมล่วงพ้นได้ด้วยความเพียร แล้วจงอย่าคิดว่าง่าย เพราะจักประมาทเกินไป เวลาของทุกคนเหลือน้อยนิด อย่าไปคิดว่าทำอะไรจักต้องสมความปรารถนาอยู่เสมอ จำไว้ว่าความปรารถนาไม่สมหวังนั้นเป็นทุกข์ อย่าไปตั้งกฎเกณฑ์ด้วยกิเลส อยากจักต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เพราะนั่นเป็นอารมณ์ของความทะยานอยากอย่างแท้จริง (เป็นตัวตัณหาแท้ ๆ )

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-05-2014 เมื่อ 19:45
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #98  
เก่า 19-05-2014, 08:54
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๖. อย่าไปทุกข์กับเหตุการณ์ที่แวดล้อมอยู่นี้ ให้ถือว่าเหตุกระทบนั้นเป็นครู ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น - ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเท่านั้นเอง ให้เห็นเป็นแค่สภาวธรรม อย่าไปใส่ใจว่าอะไรในโลกนี้จักจีรังยั่งยืน แม้แต่ขันธ์ ๕ ของใครหรือของตนเอง เพราะนั่นเป็นอารมณ์ภวตัณหา ทุกสิ่งทุกอย่างมีอนัตตา พังหรือตายในที่สุดเหมือนกันหมด ให้เตรียมตัวเตรียมใจ พร้อมรับสถานการณ์เกิด - เสื่อม - ดับอยู่เสมอ พยายามทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เป็นกฎของธรรมดาหมด บุคคลซึ่งจักทำจิตให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน จักต้องปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างให้ได้ทุกเมื่อ และจงทำทุกอย่างตามหน้าที่ให้ดีที่สุดเท่าที่จักทำได้ ให้ทำความดีด้วยความเต็มใจ แต่ไม่ติดอยู่ในความดีนั้นๆ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-05-2014 เมื่อ 19:46
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #99  
เก่า 26-05-2014, 11:26
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๗. เรื่องของอารมณ์ให้สังเกตว่า หากร่างกายเครียด คือเหน็ดเหนื่อยจากการงานแล้วพักผ่อนไม่พอเพียง เมื่อมีอะไรมากระทบ มักโกรธง่าย โมโหง่าย มีปฏิฆะง่าย เพราะฉะนั้น ให้สังเกตกายกับจิตอิงกันไป ยกเว้นพระอรหันต์เท่านั้น จิตท่านพ้นอำนาจของกิเลสแล้ว อะไรเกิดขึ้นกับกายก็เป็นเรื่องของกาย อะไรเกิดขึ้นกับจิตก็เป็นเรื่องของจิต ไม่เกี่ยวกัน ท่านรู้และแยก กาย - เวทนา - จิต - ธรรมเป็นอัตโนมัติ เพราะท่านมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ส่วนพระอริยะต่ำกว่านั้น ยังแยกได้ไม่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้น จักต้องหาความพอดีให้พบระหว่างกายกับจิต ให้กายได้พักให้พอ เพราะมันสัมพันธ์เกี่ยวกับอารมณ์ของจิตด้วย การปฏิบัติจักก้าวหน้าหรือไม่.. อยู่ที่เราฉลาดรู้เท่าทันกายกับจิตนี้ด้วย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-05-2014 เมื่อ 13:25
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #100  
เก่า 29-05-2014, 10:53
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๘. ให้เห็นอารมณ์จิตดิ้นรนของคนที่มีความโกรธ - พยาบาท - อาฆาต - ริษยา - ปองร้าย เสมือนหนึ่งเห็นไฟแล้วพึงหลีกเลี่ยงไม่เข้าใกล้ หากเราหลีกเลี่ยง วางเฉยเข้าไว้ แล้วพยายามแผ่เมตตาให้มาก ๆ ทำจิตให้เยือกเย็นเหมือนกับพระพุทธรูป พวกนี้ก็จักยิ่งดิ้นรนเร่งโหมไฟภายในของตนให้มากขึ้นเป็นธรรมดา จักต้องแก้ที่ใจเรา รักษาอารมณ์จิตให้เยือกเย็น อุปมาดั่งกับไฟมาต้องมือ เราต้องรีบชักมือหนีไฟ จิตของเราก็ต้องฉันนั้น อย่าไปร้อนกับไฟของเขา ปล่อยให้ไฟเผาไหม้เขาแต่เพียงผู้เดียว และให้ยอมรับในกฎของกรรม อุปสรรคใด ๆ ที่เกิดกับเรา ล้วนเป็นเศษกรรมในอดีตที่เราเคยทำไว้ทั้งสิ้น จำไว้..กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ถ้าไม่ยอมรับเรื่องก็ไม่จบ ให้ทำใจให้ยอมรับเสีย จิตสงบเย็นลงก็จบ ใครจักแกล้ง จักทำอะไรก็เรื่องของเขา.. กรรมของเขา อย่าไปคิดราวี หรือต่อกรรมให้เสียเวลาปฏิบัติธรรม ทุกอย่างจักสงบได้ด้วยการละ - ปล่อยวางเท่านั้น ให้อดทน เพราะไม่นานกฎของกรรมจักคลายตัวไปเอง อย่าวิตกอะไรให้มาก อย่าไปคิดแก้ไขใคร ให้แก้ไขใจของตนเอง เรื่องราวทั้งหมดก็จักจบไปเอง

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-05-2014 เมื่อ 16:35
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:56



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว