#1
|
||||
|
||||
ธรรมะจากพระเจ้าแผ่นดิน
๑ ดอกไม้ถวายพระ ..."แม้จะเป็นความสุขที่เรียกว่าความสุขโลกธรรม สิ่งที่เป็นของโลก เป็นเรื่องของโลก ก็เป็นความสุขอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น..." "เวลาใครมาถามว่า ไปทำบุญทำกุศลไปไหว้พระ เอาดอกไม้ธูปเทียนไป มีประโยชน์อะไร บางทีเราก็ชะงักได้ เกิดความสงสัยได้เหมือนกัน เพราะว่าพูดถึงเอาดอกไม้ไปวางที่พระแล้วได้บุญก็ไม่เห็น พระท่านก็เป็นรูปปั้น ทำด้วยปูนบ้าง ด้วยโลหะบ้าง ด้วยหินบ้าง บางทีก็เป็นพลาสติกก็มี เราก็เกิดความคิด เพราะเราเป็นคนสมัยใหม่ ถ้าหากว่าเราเป็นคนสมัยโบราณ ก็อาจจะเกิดมีปมด้อยแต่เราเป็นคนสมัยใหม่ เป็นคนในปัจจุบันนี้ เราเอาดอกไม้ไปวางไว้ที่พระก็เพราะว่า ดอกไม้เป็นสิ่งที่สวยที่งาม แล้วทำให้สถานที่สักการะน่าดูน่าชม ผลที่ได้ในการวางดอกไม้ จัดดอกไม้ให้สวยก็เป็นบุญกุศล แม้แต่ดูง่าย ๆ ที่สุด บุญกุศลนี้ เราเห็นว่าดอกไม้สวยและคนอื่นได้เห็นว่าเราทำดอกไม้สวย ก็ได้ผลแล้วได้ผลขั้นแรก เป็นผลจากที่เราอยากทำอะไรที่สวยงาม เราไม่อยากทำอะไรที่น่าเกลียดแล้วเป็นทุกข์ ขั้นแรกนี้เราได้บุญแล้ว ที่เห็นของที่เราทำเป็นของสวยงาม นี้อยู่ในขั้นธรรมดา คนอื่นมาเห็นบอกว่า นี่เอ...ของใคร เขาเห็นคนอื่นมาวางก็บอกว่าคนนั้น ๆ เป็นคนทำ เราก็นึกว่าคนนั้นเขาคิดชมเชยเราอยู่ในใจ นี่ก็เป็นความสุขเหมือนกัน ก็เป็นอานิสงส์ ได้บุญได้กุศลแม้จะเป็นในขั้นที่เรียกว่าขั้นต่ำ เราก็ได้บุญแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าทำบุญทำกุศล ลองคิดอย่างนี้ ทำอะไรเป็นบุญเป็นกุศล อย่างดอกไม้นี้เป็นสิ่งของเป็นวัตถุ เราคัดหรือตัดเอาดอกไม้มา มีผู้ชมว่าช่างสวยเหลือเกินทำเองหรือ เราบอกว่าทำเอง เขาก็ชมเชยด้วยคำชมก็เป็นความสุขแล้วเหมือนกัน แม้จะเป็นความสุขที่เรียกว่าความสุขโลกธรรม
สิ่งที่เป็นของโลก เป็นเรื่องของโลก ก็เป็นความสุขอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น"
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 21-01-2011 เมื่อ 05:37 |
สมาชิก 145 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#2
|
||||
|
||||
"ทีนี้กุศลในรูปต่าง ๆ เช่น บริจาคเงินสำหรับทำการกุศล สำหรับช่วยศาสนาให้ยั่งยืน หรือช่วยให้คนอื่นพ้นทุกข์นั้น การทำกุศลนั้น ถ้าเราดูอย่างง่าย ๆ ทำไมเป็นการกุศล ก็เพราะว่าเป็นความสุข คนถามถามว่า อย่างให้เงินหมื่นบาทให้คนอื่นไป เราก็จนลงไปหมื่นบาทก็เป็นความทุกข์ จริงเป็นความทุกข์ แต่เป็นความทุกข์ในวัตถุหรือในเงินหมื่นบาทนั้นเพราะไม่ได้ใช้
แต่เรารู้ว่าเงินหมื่นบาทนั้นไปช่วยคนที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก ถ้าเราเห็นหน้าคนที่ต้องตกทุกข์ได้ยากนั้นนะ เขามีความสุขขึ้น เขากำลังแย่เพราะว่าเขาถูกไฟไหม้ ส่งของไปให้เขา เขาก็ยิ้มแย้มแจ่มใสขึ้นมา เพราะว่ามีหวังแล้ว เราเห็นหน้าที่เขายิ้มแย้มแจ่มใส ไม่เห็นเงินทองแต่เป็นความสุข ว่าเราให้ความสุข ข้อนี้ใครจะมาแย้งว่าได้ความสุขหรือ หน้ายิ้มแย้มของคนนั้นกินไม่ได้ ไม่ใช่เป็นทรัพย์เงินทอง แต่นั่นเป็นความสุขของเขา ซึ่งทำให้เป็นความสุขของเรา เราเห็นหน้าเขายิ้ม เราก็นึกเบิกบานใจและอิ่มใจว่า เขาว่าเราทำอะไรให้เขามีความสุข พ้นจากทุกข์ ในข้อนี้ คนที่มาบอกว่าเราจน เขาถูก เพราะว่าเรารู้ว่าเรามีเงินที่อุทิศไปให้คนอื่นเป็นการบริจาค ก็เป็นทาน ให้ทานนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เรามีความสุข" พระราชดำรัส ในโอกาสที่คณะชาวห้วยขวาง พญาไท เฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลและต้นเทียนพรรษา ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันอังคาร ที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๒๐
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 115 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#3
|
||||
|
||||
๒ ทานนี่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก "สิ่งที่สูงสุดก็คือตัด ทุกคนก็อยากตัดเพื่อให้ได้ไปนิพพาน ตัดทุกข์ ตัดไม่ให้มีเหลือ ถ้าเราตัดทุกข์ได้ยาก ก็ต้องหัดตัดอะไร ๆ ที่ง่าย ก็ฝึกในการตัด ตัดนี่คือ สละ..." "...ในปัจจุบันนี้ การสามารถที่จะให้ทานนี่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เขาถึงจัดว่าทานนี่เป็นบารมีอย่างหนึ่ง ถ้าเราให้ ให้ ให้ เท่าที่เรามี ทั้งทรัพย์ ทั้งของ ทั้งบริการ ทั้งความรู้ ทั้งความให้อภัยซึ่งเป็นทานอย่างหนึ่ง ทานนั่นนะให้เป็นปรกติเป็นนิสัย ทำให้เบิกบานใจ ทำให้เราดีเราสบายขึ้น อย่างเช่นเรามีความไม่สบายใจหงุดหงิด ถ้าเราทำบุญทำทานก็หายหงุดหงิด นี้ทั่ว ๆ ไปก็อาจจะไม่เข้าใจ แต่พวกเราทั้งหลายที่มีจิตใจที่เรียกว่าธัมมะธัมโมจะเข้าใจด้วยกัน เราทำทานทำให้หายหงุดหงิดหรือหายโกรธ เพราะว่าการให้ทานนี้เป็นการตัด เป็นการสละหรือการบริจาค คนที่ศึกษาธัมมะก็รู้ดีว่าต้องทำหลายอย่าง แล้วก็ สิ่งที่สูงสุดก็คือตัด ทุกคนก็อยากตัดเพื่อให้ได้ไปนิพพาน ตัดทุกข์ ตัดไม่ให้มีเหลือ ถ้าเราตัดทุกข์ได้ยาก ก็ต้องหัดตัดอะไร ๆ ที่ง่าย ก็ฝึกในการตัด ตัดนี่คือ สละ..." บริจาค เราบริจาคเงิน เราก็บริจาคทำทาน ทางไม่เหมือนกัน ถ้าเรารู้จักทำทาน รู้จักให้ จะได้ผลมาแต่ต้นที่เกิดเบิกบานใจ และจะได้ผลจนสุดท้ายถึงที่สุดของเป้าหมายของพวกเราพุทธศาสนิกชน ด้วยการตัดความทุกข์ได้ ถ้าพูดถึงทางทางนี้ก็ไปถึงนิพพานได้
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 95 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#4
|
||||
|
||||
ฉะนั้น ให้พิจารณาดูว่า ในด้านต่าง ๆ ที่เราทำมีเหตุผลทั้งนั้น ตั้งแต่ปฏิบัติที่เรียกว่าขั้นต่ำ ขั้นที่ได้ผลบัดนี้ในปัจจุบัน จนกระทั่งได้ผลถึงที่สุด แต่ละคนก็มีความสามารถต่าง ๆ กัน แต่วันหนึ่งก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ด้วยการพิจารณา คนที่พิจารณามาก ๆ ก็ขจัดความทุกข์ได้เร็วกว่า
คนที่พิจารณาน้อยก็อาจจะวนเวียนอยู่แถวนี้ได้นานกว่า นี่ก็แล้วแต่คน แต่ว่าเริ่มต้นด้วยการทำกุศลในรูปใดที่รู้ว่าเป็นกุศลก็เป็นการดี การที่บอกว่าให้รู้ว่าเป็นกุศลนี้ก็เป็นการกระทำที่ที่จะเป็นกุศลให้ตัวเรา เราทำกุศลเราสร้างความดีทำไม ลองคิดพิจารณาว่า ทำไมเรามาปักดอกไม้นี้ เป็นกุศลจริงหรือ ฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ว่ากุศล ทำบุญมีเหตุผลทั้งนั้น ใครมาพูดอะไร มาแย้งอะไร เรามาคิดว่าทำไมเขามาแย้งว่า ความจริงนั้นถูกต้องหรือไม่ ถูกต้องที่เขาเข้ามาแย้ง ความคิดนี้ก็เป็นกุศล เราทำทุกวัน ทุกวันเราทำกุศลหลายครั้งนั้นหยุดคิดดี ๆ มีเหตุผล ถ้าเราคิดด้วยเหตุผลก็ไม่ควรจะผิด เหตุผลนี่ก็มีหลายอย่าง มีเหตุผลที่ดีและเหตุผลที่ไม่ดี ถ้าทำอะไรตามเหตุผลที่ดีก็เป็นกุศล ถ้าทำอะไรตามเหตุผลที่ไม่ดีก็เป็นอกุศล เพราะว่ารากฐานของเหตุผลนั้นไม่ดี ถ้าเราบอกว่า การฆ่าคนหรือการฆ่าสัตว์เป็นของไม่ดี เราจึงไม่ทำ เราจึงไม่ฆ่าสัตว์ แต่ถ้าเราตั้งรากฐานไว้ว่าการฆ่าสัตว์นี้เป็นของดี เราฆ่าสัตว์จึงเป็นของดี นี่เป็นเหตุผลของเราแต่เป็นเหตุผลที่ทำให้ไม่ดี รากฐานนี้ไม่ดี อันนี้เป็นโทษของเหตุผลเหมือนกัน ต้องดูถึงรากฐานที่เราตั้งเหตุผลนี้ขึ้นมา แต่บางทีเหตุผลไม่ใช่ง่าย ๆ อย่างนี้ บางทีบอกว่าฆ่าสัตว์ไม่ดี แล้วเราก็เดินไปเดินมา ก็ต้องฆ่าสัตว์อยู่ตลอดเวลา เพราะว่าอาจจะมีมด มียุง มีอะไร ๆ เราไม่ระวัง เราจึงเป็นคนบาปอยู่ตลอดเวลา เรารับประทานอาหารมีเนื้อสัตว์ เขาก็ต้องฆ่าสัตว์มากิน เป็นต้นเหตุให้ฆ่าสัตว์ก็ไม่ดี อันนี้หมายความว่าด้วยหลักของเหตุผล เรากลายเป็นคนเลวทั้งนั้น ถ้าดูในแง่เหตุผลอย่างหนึ่งก็อาจจะเป็นจริง เรายังมีไม่ดีในตัวต้องขัดเกลา แต่ว่าถ้าเราไปเครียดเราไปหนักใจมากเหลือเกิน ในข้อนี้จะทำบาปได้มากขึ้นอีก ก็อย่างพระพุทธเจ้า มีใครมาคัดค้านท่าน ทำไมไม่สอนพระภิกษุเลิกบริโภคเนื้อสัตว์ อนุญาตให้บริโภคเนื้อสัตว์มิใช่บาปหรือ พระพุทธเจ้าท่านไม่ห้ามและไม่แม้แต่จะคัดค้านแล้ว ท่านก็ยังไม่ห้ามบริโภคเนื้อสัตว์เพราะเหตุอื่น เพราะเหตุว่าชาวบ้านเขาต้องบริโภคเนื้อสัตว์ ถ้าเราไปที่ไหนที่เขาบริโภคเนื้อสัตว์ แล้วพระภิกษุไปบอกว่าฉันไม่ได้ จะต้องทำให้เป็นพิเศษ ยิ่งบาปใหญ่ยิ่งเดือดร้อนใหญ่ ต้องมีเหตุผลแต่ไม่ได้สนับสนุนการฆ่าสัตว์ ดังนี้เป็นต้น ถ้าเราคิดพิจารณาอย่างละเอียดแล้วถึงเหตุผล จะทำให้เรามีความก้าวหน้าในจิตใจ คือหมายความว่าจะมีความฉลาดหรือมีปัญญา"
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-01-2011 เมื่อ 15:50 |
สมาชิก 81 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#5
|
||||
|
||||
ปัญญาของพุทธศาสนาคือความฉลาด ฉลาดรู้อะไรจริงอะไรไม่จริง ไม่ใช่ปัญญาที่ไปเข้าโรงเรียน ไปเข้ามหาวิทยาลัย ได้ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก แล้วแต่ที่เรียนมาจำมา หรือแม้แต่จะสามารถนำมาอันนี้ก็เป็นปัญญาอย่างหนึ่ง แต่ปัญญาที่จะเห็นว่าตรงไหนทุกข์ ตรงไหนเป็นเหตุแห่งทุกข์ นี่คือปัญญาแท้
ฉะนั้น ปัญญานี่ก็เริ่มมาจากการทำบุญ ถ้าทำบุญและรู้ว่าเป็นบุญด้วย รู้เหตุผลว่าเป็นบุญที่ไหน อย่างไรด้วย ฉะนั้น ที่มีโอกาสได้พบกันปีละครั้ง ที่นำเอาเทียนพรรษามานี้ก็เป็นโอกาสที่ได้พบคนที่มีความตั้งใจดี มีความมุ่งมั่นที่จะขัดเกลาตนเอง แล้วก็มีความสามัคคีกลมเกลียวกันในอันที่จะทำความดี คิดดี ตั้งใจดีอันนี้ชื่นใจ ฉะนั้น การที่พบท่านทั้งหลายจึงไม่ใช่ภาระเพราะเป็นความชื่นใจ มีเหตุผลว่า ทำให้เกิดกำลังใจว่าคนเราในสมัยนี้ คนสมัยใหม่มีความตั้งใจดี ในความหมายของคำว่าตั้งใจดีที่แท้ ไม่อยู่ในความมืด แล้วก็เชื่อว่าท่านทั้งหลายจะสามารถที่จะมีความสุขตามสภาพของแต่ละคน จะมีเงินมากเงินน้อยก็แล้วแต่ มีความสุขได้เพราะว่ามีใจกุศล มีใจที่ไม่คิดโกง มีใจที่แน่วแน่อันนี้เป็นสิ่งที่ดี
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 74 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#6
|
||||
|
||||
"ความจริงก็เข้าใจว่าท่านทั้งหลายก็ต้องการให้ให้ศีลให้พร ความจริงท่านทั้งหลายให้ศีลให้พรกับตัวเองทุกวัน ๆ เมื่อปฏิบัติดีชอบก็เป็นการให้ศีลให้พรอย่างดีที่สุด
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นมา ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรารถนาจะเป็นจริงทั้งนั้น ถ้ามีความเพียร มีการทำกุศลที่แท้ พิจารณาว่าอะไรเป็นกุศลที่แท้ เมื่อรู้แล้วว่าเป็นกุศลเราก็สามารถปฏิบัติให้เป็นกุศล อันนี้ก็เป็นธรรมดา ถ้าทำทุกอย่างตามนัยนี้ก็เป็นผลบุญ การทำที่ถูกที่แท้อยู่ในพระพุทธศาสนานี้ เราเห็นอะไร เห็นโลกส่วนไหนเป็นกุศลธรรม เราก็พิจารณาให้เป็นกุศลธรรม และเราก็ต้องสกัดอกุศลกรรม อกุศลกรรมก็คือเป็นทุกข์ อะไรเป็นทุกข์ อะไรเป็นเหตุแห่งทุกข์และอะไรจะทำให้เหตุแห่งทุกข์นั้นหมดไป เมื่อเห็นอย่างนั้นแล้วก็ไม่ต้องให้พรใด ๆ แต่ว่าก็ขอให้ทุกคนสามารถที่จะเห็นความหมายของกุศล และตั้งหน้าตั้งใจที่จะปฏิบัติกุศลด้วยการปฏิบัติตนให้ดีที่สุด พูดถึงการบูชา การบูชาด้วยปฏิบัติเป็นการบูชาอีกอย่างหนึ่ง การปฏิบัตินี้แบ่งเป็น ๒ ประเภท การปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไม่เบียดเบียนใคร นี่เป็นการปฏิบัติในโลก ทำให้ชาติบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง มีความสุข มีความสมบูรณ์ ปฏิบัติในทางด้านธรรมะก็คือการพิจารณา..." พระราชดำรัสในโอกาสที่คณะชาวห้วยขวาง พญาไท เฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลและต้นเทียนพรรษา ณ พระตำหนัดจิตรลดารโหฐาน วันอังคารที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๒๐
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 69 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#7
|
||||
|
||||
๓
อานิสงส์ของดอกไม้บูชา "...นี่เป็นหลักของศาสนาที่จะเห็นว่า ถ้าเราเห็นข้อนี้ในทุกสิ่งในทุกอย่าง ก็จะทำให้เรียกว่าได้ผลได้ปัญญา..."
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 64 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#8
|
||||
|
||||
เคยพูดมาแต่ก่อนแล้วว่า เนื่องมาจากที่แต่ละคนมีศรัทธาจิตที่จะบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างดี เริ่มต้นอันนี้เป็นสิ่งที่ทำให้มีความเจริญตั้งแต่เริ่มแรกที่แต่ละคนปฏิบัติตัวดีในศีลและในธรรม
ศีลคือ เป็นข้อที่ให้เว้นไม่ควรที่จะปฏิบัติ เพราะว่าไม่เป็นสิ่งที่ควรจะปฏิบัติก็ให้เว้น เพราะถ้าทำถ้าปฏิบัติที่ควรเว้นนั้นก็ทำให้ไม่เจริญ ทำให้เสื่อมลงไป ธรรมนั้นก็เป็นข้อที่ควรปฏิบัติ ก็ควรจะทำให้เกิดขึ้นเพื่อจะได้มีความเจริญรุ่งเรือง
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 61 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#9
|
||||
|
||||
"อันนี้ก็ได้เคยพูดกันไปแล้ว พูดถึงว่าแต่ละคนที่ได้บูชาด้วยการเอาดอกไม้ไปประดับที่พระพุทธรูปเป็นต้นนั้น มีอานิสงส์อย่างไร คือข้อที่บางคนก็เห็นว่า เราเห็นคนเข้าไป คลานไปที่พระพุทธรูปแล้วก็เอาดอกไม้ไปประดับในแจกันก็มี บางทีก็มีพวงมาลัยไปประดับอย่างสวยงามจะมีประโยชน์อะไร คนบางคนเขาไม่เห็นประโยชน์เพราะว่าเสียเวลาเสียเงินทองทำไม เดี๋ยวดอกไม้ก็เหี่ยว ไม่เข้าใจ ผู้ที่เห็นอย่างนั้นบอกว่าเสียเวลา ไปวางแล้วดอกไม้เดี๋ยวก็เหี่ยว ไม่มีประโยชน์อะไร
อย่างนี้ผู้นั้นไม่เกิดปัญญา ไม่เกิดความรู้ ไม่เกิดความเข้าใจ แต่ว่าผู้ที่เห็นแล้วก็ไปวางดอกไม้แล้วเดี๋ยวก็เหี่ยวนั้น ถ้าพิจารณาก็เป็นการปฏิบัติธรรม เรียกว่าถึงขั้นหนึ่งของกรรมฐาน หรือวิปัสสนา ซึ่งเราต้องการปฏิบัติวิปัสสนากันซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ข้อนี้ก็เป็นวิปัสสนานั่นเอง คือเป็นการดูว่าดอกไม้นั้นเราเก็บมาวางไว้ห่างจากต้น หรือแม้แต่อยู่บนต้นไม้ไม่กี่วันก็เหี่ยว เหี่ยวแล้วก็แห้ง แห้งแล้วก็ร่วง ถ้าเราเก็บเอาไว้โดนอะไรหน่อยเป็นผุยผง เพราะว่าดอกไม้ไม่ใช่ดอกไม้แล้วก็เป็นผง อันนี้เป็นการพิจารณาว่าอะไร ๆ มันก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย
เป็นการเห็นความธรรมดาของสิ่งของ นี่เป็นหลักของศาสนาที่จะเห็นว่า ถ้าเราเห็นข้อนี้ในทุกสิ่งในทุกอย่าง ก็จะทำให้เรียกว่าได้ผลได้ปัญญา"
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 30-01-2011 เมื่อ 22:12 |
สมาชิก 58 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#10
|
||||
|
||||
"ถึงบอกว่าการบูชาด้วยดอกไม้ไปประดับนั้น ก็คือเป็นทางไปสู่ความดีหรือความอดทน อีกทางหนึ่ง การเอาดอกไม้ไปประดับประดาตามพระพุทธรูปในโบสถ์หรือที่หิ้งบูชา การนำไปประดับให้สวยงามนั้นจะได้ความหลุดพ้นไปได้อีกทางหนึ่งซึ่งก็นับว่าคล้ายกัน
หมายความว่าจะได้วิมุติเหมือนกันคือหลุดพ้น เพราะว่าถ้าเรานำไปประดับประดาสวยงาม เราก็มีความปลื้มเพราะมันสวย เรามีความสบายใจ มีปีติ ปีตินี่คือความปลื้มใจ ความภูมิใจ มีความรู้สึกว่าเบา เป็นความปลื้มใจที่ไม่เสียหาย เป็นปีติที่เกิดความเบาใจ ความสบาย ความสบายนั้น ถ้านำมาในทางที่ดีที่ชอบ ความสบายใจแบบนี้ปีติแบบนี้ก็จะนำไปสู่ความสงบสุข อยู่อย่างมีความสุข มีความสุขแล้วก็มีความสงบไปสู่ความว่างได้ คือเป็นอุเบกขา ความปีตินั้นนำไปสู่อุเบกขา อุเบกขานั้นหมายความว่าเราไม่ยินดีไม่ยินร้าย แต่แท้จริงคือว่า เห็นอะไรก็รู้ว่าอะไรเป็นอะไร แต่ว่าไม่ยินดียินร้าย ไม่มีความยินดี ดีใจถูกใจ" พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสที่พระครูใบฎีกาเล็ก ญานุตตะโร
วัดหลวงปรีชากูล อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี และคณะเฝ้าถวายเงิน เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศล ตามพระราชอัธยาศัยและต้นเทียนพรรษา วันจันทร์ ที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๘
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 63 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#11
|
||||
|
||||
๔ อย่าไปผิดในทางศีล "...อย่าไปโกงเขา อย่าไปขโมยเขา อย่าไปฆ่าเขา อย่าไปผิดในทางศีล ๕ ที่มีอยู่ ถ้าไม่ผิดอันนั้นความเจริญก็มา..." "...การปฏิบัติพุทธศาสนาเป้าหมายสูงสุดก็คือ วิมุติ แต่ระหว่างทางนั้น เราก็ต้องปฏิบัติเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเราจะมานั่งอยู่เฉย ๆ แล้วก็ให้ได้วิมุติมาถึงเรา อย่างนั้นไม่ถูก เพราะว่าแต่ละคนก็มีชีวิต แต่ละคนก็ต้องปฏิบัติงานการของตัว เพื่อพยุงตัวให้อยู่ได้ แล้วก็เพื่อให้ส่วนรวมอยู่ได้ อันนี้ก็เป็นหน้าที่ในโลก แล้วแต่ฐานะของแต่ละคน แต่ถ้าคนเราแต่ละคนมีฐานะใดก็ตาม มีอายุเท่าใดก็ตาม ปฏิบัติสิ่งที่ดีที่ชอบ ปฏิบัติสิ่งที่ไม่เบียดเบียนคนอื่น นั้นเป็นการสร้างสรรค์ส่วนรวมและเป็นการสร้างสรรค์สำหรับตัวเองให้มีความเจริญ มีความเจริญแล้วมีความสามารถที่จะปฏิบัติทำจิตของตัวให้หลุดพ้นได้ ถ้าตราบใดที่เรายังไม่มีฐานะที่ดีพอสมควร ก็ยากในการที่จะปฏิบัติธรรมะ เพราะว่าถ้าหากว่าจะปฏิบัติธรรมะก็จะต้องสามารถที่จะมีเครื่องประกอบ คือร่างกายที่จะพอทนความลำบากยากเข็ญของการปฏิบัติ การปฏิบัติของพระทั้งมวล ท่านก็บอกว่าท่านจะต้องใช้ปัจจัยอย่างแร้นแค้น ที่ว่าปัจจัยสี่ที่สำหรับพระท่าน เช่น อาหารก็ต้องจากบิณฑบาต ถ้าบิณฑบาตไม่ได้ก็อด นอกจากจะมีลาภที่เป็นอดิเรก คือถ้าใครมาทำอาหารให้ก็ไม่ขัดข้องแต่ประการใด แต่ว่าหลักก็คือต้องไปบิณฑบาต ผ้าห่มก็ต้องไปเอาผ้าที่เขาทิ้งแล้วมาต่อเป็นไตรจีวร ถ้ามีไตรจีวรสำเร็จรูปที่เขามาถวายก็เป็นอดิเรกลาภที่จะรับได้เช่นเดียวกัน สำหรับที่อยู่อาศัย สำหรับยารักษาโรคถือเป็นจตุปัจจัย อันนี้พระก็อยู่อย่างแร้นแค้นจริง ๆ ก็หมายความว่าไม่มีทรัพย์สมบัติอะไรเลย ใครไม่ให้ ไม่มีสิ่งที่ไปประสบอย่างเช่นที่อยู่ ถ้าไม่มีใครสร้างกุฏิให้ก็อยู่ใต้ต้นไม้ เพราะว่าพระที่เป็นพระจริง ๆ แล้ว ท่านเรียกว่าท่านเหนียวแน่น ท่านไม่ต้องติดอะไรกับทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ หรือไม่มีทรัพย์ไม่มีสมบัติติดตัวเลย เมื่อทนได้อย่างนั้นก็สามารถปฏิบัติจิตใจได้ ไม่ติดอะไร แต่สำหรับผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ที่ทำหน้าที่การงานของตัวเรียกว่า ตามชั้น ตามฐานะ ก็ต้องทำมาหากินเพื่อที่จะพยุงตัวให้อยู่ได้ ญาติพี่น้องอยู่ได้ แต่ต้องทำอย่างดีมีศีล"
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-02-2011 เมื่อ 04:34 |
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#12
|
||||
|
||||
"บางคนอาจจะว่า ถ้าทำอยู่ในศีลตลอดเวลา ไม่ปล่อยอะไรไปในทางที่เรียกว่าผิด ๆ แม้แต่ทำการค้าก็ว่าไป อาจจะผิดศีลไปได้บ้าง ถ้าเราคิด ๆ ดู เพราะว่าสมมติว่าค้าขาย เราก็จะต้องบอกว่าสินค้าของเรามีคุณภาพดีแล้วก็ราคาถูก แท้จริงถ้าราคาถูก ให้เขาไปเฉย ๆ ก็ทำมาหากินไม่ได้ ไม่มีกำไร ก็เหมือนว่าเป็นผู้ที่ผิดศีลมุสา แต่ว่ามันอยู่ในขอบเขต ไม่ได้ทำล่วงเกินมากขึ้นไป อย่าไปถือว่าเป็นมุสา คนที่ค้าขายก็จำเป็นที่จะมีกำไร
สิ่งเหล่านี้ก็เป็นที่ลำบาก ถึงถ้าจะปฏิบัติก็ตามฐานะของตัว แต่ว่าอย่าไปโกงเขา อย่าไปขโมยเขา อย่าไปฆ่าเขา อย่าไปผิดในทางศีลห้าที่มีอยู่ ถ้าไม่ผิดอันนั้นความเจริญก็มา" พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสที่พระครูใบฎีกาเล็ก ญานุตตะโร
วัดหลวงปรีชากูล อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี และคณะเฝ้าถวายเงิน เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศล ตามพระราชอัธยาศัยและต้นเทียนพรรษา วันจันทร์ ที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๘
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 21-02-2011 เมื่อ 20:01 |
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#13
|
||||
|
||||
๕
ตัวสำคัญคือสติ "...คนเราต้องมีเผลอบ้าง แต่ว่าถ้าสติอยู่กับตัว มีสติสัมปชัญญะ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว อะไร ๆ ก็รู้หมดรู้ได้ทันที แล้วก็เมื่อมีอะไรที่มาโจมตี เราก็ปรับได้ทันทีด้วยสติสัมปชัญญะ นี่เป็นการปฏิบัติสูงขึ้นมาจากการบูชาด้วยดอกไม้..."
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#14
|
||||
|
||||
"...ถ้าเราอยากที่จะได้ผลในการปฏิบัติในทางศาสนาคือ หลุดพ้นวิมุติ มันไม่มีทางพ้นวิมุติ เพราะหลุดพ้นวิมุตินี้การปฏิบัติตัวสำคัญคือต้องมีสติ
ท่านว่ามีหลายทาง แต่ว่าตัวกลางตัวสำคัญคือสติ คือระลึกได้ หมายความว่าเห็นอะไรก็รู้ว่าเป็นอันนั้น ๆ ถ้ารู้ว่าอะไรเป็นอะไรแล้ว ถ้าไปครั้งหนึ่งถ้ารู้จริง ๆ สัก ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ก็หมายความว่าเห็นอะไรปับรู้ อีตานี่มีหูทิพย์ อันนี้ถ้ารู้เรียกว่ารู้ถึง ได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เรียกว่าได้ประโยชน์ แต่ว่าคนเราต้องมีเผลอบ้าง แต่ว่าถ้าสติอยู่กับตัวมีสติสัมปชัญญะ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว อะไร ๆ ก็รู้หมดรู้ได้ทันที แล้วก็เมื่อมีอะไรที่มาโจมตี เราก็ปรับได้ทันทีด้วยสติสัมปชัญญะ นี่เป็นการปฏิบัติสูงขึ้นมาจากการบูชาด้วยดอกไม้ คือมีสติสัมปชัญญะ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์นั้น มาได้ด้วยอาศัยรากฐานที่ดีของศีล แล้วก็ต่อมาก็ด้วยมีขั้นสมาธิ ซึ่งสตินี้สัมมาสติอยู่ในจำพวกสมาธิจิตอธิษฐาน ฉะนั้นก็เมื่อมาถึงเดี๋ยวนี้แล้วก็รู้ ก็เป็นปัญญา คือว่าเรารู้ได้แน่นอนว่าอะไรเป็นอะไร เรารู้อะไรที่ทำให้คนพ้นวิมุติ เรารู้ได้ว่าอะไรทำให้เจริญรุ่งเรือง เราก็ปฏิบัติได้เพราะมีสติ แล้วก็สติและสมาธิอันเป็นตัวกลางเริ่มด้วยศีลแล้วก็ไปสมาธิเลย ปัญญาก็ทำให้เราเลือกอะไร ๆ ได้ ก็เลือกในทางที่ถูกต้อง กลับมาสามารถที่จะปฏิบัติได้ทั้งในโลก ทั้งในธรรม สามารถที่จะปฏิบัติงานของตัวทั้งงานของฆราวาส ทั้งงานในจิตใจ ทั้งจะเป็นฆราวาสหรือภิกษุได้ ทั้งนี้เริ่มด้วยศีลแล้วก็มาเสริมด้วยสมาธิจึงได้ปัญญา..."
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#15
|
||||
|
||||
"...แต่ทำไมในมรรคมีองค์ ๘ ท่านเอาปัญญามาก่อน ท่านเอาสัมมาทิฐิไว้ก่อนอันดับแรก เมื่อเป็นปัญญาคนก็จะแย้งว่าทำไมสอนทั่วไปเขาบอกว่าต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา แต่แท้จริงมันต้องมีปัญญาตั้งแต่ต้นถึงจะปฏิบัติได้ดี
ฉะนั้นก็ต้องมีสัมมาทิฐิก่อน ในเนื้อหามรรคมีองค์ ๘ ก็มาวางไว้เป็นอันดับแรก อันดับแรกนี้ก็หมายว่าสำคัญที่สุดเลย แล้วก็เป็นสิ่งที่มาก่อนอยู่ที่ว่าปัญหาว่าไก่หรือไข่มาก่อน ไม่รู้ แต่ความจริงทุกคนที่เกิดมาเป็นคนก็จะต้องมีปัญญาเด็ดเดี่ยวมาก ถ้าไม่ได้ปฏิบัติทางปัญญามาก็เชื่อว่าไม่มีสัมมาสมาธิบ้าง สัมมาทิฐิบ้าง ก็คงไม่ได้เกิดมาเป็นคน เกิดเป็นเดรัจฉานหรืออาจจะเป็นอะไรก็ได้ แต่ว่าหากว่าสามารถที่จะปฏิบัติในทางปัญญาก็เชื่อว่าจะเกิดมาเป็นคน เกิดมาเป็นคนแล้วก็จะต้องพยายามเสริมปัญญาให้ดี ถ้าไม่เสริมก็ตกนรกต่อ ตกนรกนั้นก็มีการชี้แจงว่าไม่สบายอย่างไร ก็ไม่น่าลง บางคนก็ล้อกัน ขึ้นสวรรค์ไม่สนุก โดยเฉพาะอย่างศาสนาอื่นขึ้นสวรรค์แล้วนั้นมันมีแต่เสียงเพลง ฟังเพลงเบา ๆ แล้วก็มีเทวดามาควบคุมให้เป็นคนเรียบร้อย ก็ไม่สนุก ตกนรกดีกว่า ไปพบคนพูดปดเล่าเรื่องอะไรต่าง ๆ วิญญาณอะไรสนุกสนานมาก นั่นนะศาสนาอื่นเขาพูดอย่างนั้น ศาสนาพุทธก็มีเหมือนกันที่ว่ามีสวรรค์มีนรก แต่อยู่นรกก็เหมือนมันสนุกแท้ ๆ นะ สนุกอย่างไร ถ้าไปเยี่ยมนรกจะสนุกกันมากเหมือนว่าดูมหรสพ แต่แท้จริงถ้าตกลงไปในนรกถูกแทงถูกอะไรต่าง ๆ เป็นเวลาหลายศตวรรษมันก็ไม่สนุก ไม่ดี ไม่สบาย แต่ว่าขึ้นสวรรค์ก็สบาย แล้วสิ่งที่ดีที่สุดสบายที่สุดก็คือหลุดพ้น เพราะมันสงบ มันไม่มีอะไรที่มากวนใจ ไม่มีอะไรที่มาทำให้เราไปทำในสิ่งที่เสียหาย ไม่มีความเจ็บปวด ไม่มีอะไรที่มากวนหัวใจ ดังนั้น เราก็ควรจะพิจารณาว่าขึ้นสวรรค์หรือว่าวิมุติมันดีกว่าลงนรก ถ้าเห็นอย่างนั้นแล้วเราก็พยายามหาทางที่จะส่งเสริมให้ก้าวหน้าในทางสงบสุข แล้วก็ไม่เดือดร้อน การพิจารณานี้ก็ต้องใช้ปัญญา ก็พูดถึงว่าคนเราทุกคนเกิดมาก็ต้องมีปัญญาติดตัวมา ซึ่งเรียกว่าชาติปัญญา หมายความว่า ปัญญามาด้วยชาติ ฉะนั้น เราก็ต้องส่งเสริมสิ่งที่เรามีอยู่แล้วให้มันดียิ่งขึ้น ให้มีประสิทธิภาพขึ้น คือปัญญาให้มีขึ้นด้วยการทำสมาธิ แล้วก็ด้วยการรักษาศีล ๕ ก็ได้ หรือศีลในมรรคมีองค์ ๘ คือว่าให้พูดดีไม่เสียหาย ให้มีการงานที่ดีไม่เสียหาย ปฏิบัติตนให้ดีไม่เสียหาย แค่นั้นนะก็เป็นฝ่ายทรงศีล เราไม่พยายามที่จะไปบั่นทอนปัญญาที่มากับการเกิดเราก็สบาย อันนี้เป็นมรรค หมายความว่า ทางเดินที่ถูกต้อง..."
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 22-02-2011 เมื่อ 22:25 |
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#16
|
||||
|
||||
๖ ปัญญาบารมี "...ถ้าเรามีความเคยชินว่าเห็นใครที่เขาเดือดร้อนอะไร
เรามีเมตตากรุณาเขา ก็เป็นเมตตาบารมี ถ้าเรามีอะไรที่เดือดร้อน เดือดร้อนคือความอดทน อันนี้ก็สามารถที่จะสร้างความอดทนไว้ได้มาก แต่ว่าถ้าสร้างบารมีใดที่ดีที่สุด ลงท้ายทั้งหมดนั่นเป็นปัญญาบารมี..."
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#17
|
||||
|
||||
"...ถ้าอธิบายในทางปฏิบัติให้ดีให้ก้าวหน้ามันก็มีธรรมะทั้งหมด จะยกขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ถ้าสมมติว่าเราปฏิบัติอะไรดีมันเหนื่อย มันเหน็ดเหนื่อยที่จะระวังตัวให้อยู่ในความดีตลอดเวลา ไม่ให้เผลอ มันเหนื่อย แต่ถ้าหากว่าเราพยายามด้วยความเหน็ดเหนื่อยนั้นบ่อย ๆ เสมอตัว ความเหน็ดเหนื่อยนั้นอย่างน้อยก็ต้องใช้คำว่าเคยชิน มันไม่ค่อยจะดี คำว่าเคยชินในทางที่ไม่ดี แต่เป็นความเคยชินที่จะทำสิ่งที่ดีที่เหมาะ
ภาษาธรรมะเรียกสร้างบารมี สร้างบารมีคือสร้างสิ่งที่ดีจนติดตัว เพราะทีหลังมันเคย ของดีที่เรามีติดตัว ในทางโลกก็ค่อยว่าไป เช่นการขับรถ คนขับรถเป็นทุกคน ก็จะทราบว่าขับรถนี่ตอนแรกเราจับพวงมาลัยแล้วขับ นั่งตรงที่จับพวงมาลัยแล้วขับ นั่งตรงที่จับพวงมาลัยแล้วก็จะติดเครื่องก็พอทำได้ เพราะว่ามีกุญแจไขติดเครื่องไป ทีนี้จะเริ่มแล่น สมัยนี้ถ้ารถแบบที่เขามีเกียร์อัตโนมัติไม่ว่า ถ้าเป็นธรรมดาเรานั่งแล้วติดเครื่องแล้วก็ต้องใส่เกียร์ ใส่เกียร์แล้วก็ต้องเหยียบคลัตช์ก่อน เหยียบคลัตช์ใส่เกียร์นี้เราเริ่มแล่น ก็ต้องปล่อยคลัตช์ เร่งน้ำมัน ถ้าเรานึกถึงอย่างเดียวว่าปล่อยคลัตช์ไม่เร่งน้ำมัน เดี๋ยวเครื่องก็ดับ ไม่แล่น หรือถ้าเราเหยียบน้ำมันมากเกินไป ปล่อยคลัตช์แรงเกินไป ก็กระตุกไปแล้วเครื่องก็ดับ ทำไม่ได้ วันแรกที่ขับรถ วันแรกที่ปฏิบัติก็เชื่อว่าผู้ที่ขับรถตอนแรกครั้งแรกก็ต้องกระตุกละ ไม่มีใครที่ไม่เคยไม่กระตุก แต่ทีหลังเวลาขับรถเป็นแล้วมันไม่กระตุก ไม่ได้คิดว่ากระตุก ไม่มี ก็แล่นไปได้ดี นั่นมันสบายไม่ต้องคิด ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อย มันไปได้ตลอดเพราะว่าเคยชิน ความดีในที่นี้ก็คือความสามารถที่จะขับรถก็ได้ ฉะนั้น ความดีในทางอื่น ๆ ในธรรมะ ความดีของผู้ที่อยู่ในศีล ทางปฏิบัติตนให้อยู่ในศีล ปฏิบัติธรรมะคือ เมตตากรุณาบ้างเป็นต้น ทำได้ถ้าค่อย ๆ เคยชินไป อันนี้ก็เป็นการสร้างบารมีขึ้น..."
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#18
|
||||
|
||||
"...แต่ที่สำคัญอย่างเช่นเมตตาบารมี ถ้าเรามีความเคยชินว่าเห็นใครที่เขาเดือดร้อนอะไร เราเมตตากรุณาเขาก็เป็นเมตตาบารมี ถ้าเรามีอะไรที่เดือดร้อน เดือดร้อนคือความอดทน อันนี้ก็สามารถที่จะสร้างความอดทนไว้ได้มาก แต่ว่าถ้าสร้างบารมีใดที่ดีที่สุด ลงท้ายทั้งหมดนั่นเป็นปัญญาบารมี เป็นสิ่งที่จะเสริมให้เราสามารถที่จะมีความฉลาดโดยไม่ต้องคิดอะไร ฉะนั้นก็เป็นการสร้าง
แต่ถ้าในทางตรงกันข้าม เราปล่อยตัวไม่ระมัดระวัง ไม่มีสติสัมปชัญญะ ปล่อยให้ทำไม่ดี เดี๋ยวก็เห็นอะไรของเขาวางไว้ หยิบฉวยไปแล้วใช้เป็นของธรรมดา ของที่วางไว้ไม่มีเจ้าของ อย่างที่เขาพูดเวลามีเงินงบประมาณแผ่นดิน ....เฮ้ย...นี่เงินกองกลางยังอยู่ ไม่ใช่เงินของเรา จ่ายไป เขาจ่ายไป อันนั้นนะเคยชินไป ไม่มีความสุจริต จนกระทั่งทำไปทำมาไปหยิบฉวยเขา ไปทำการขโมย วันหนึ่งถูกจับเข้าคุกมันก็ทุกข์ใหญ่ แต่ว่าไม่เข้าใจ บางคนนี่แปลกจริง ๆ ของมันวางเอาไว้ไม่มีเจ้าของ หยิบเอาไป แต่แท้จริงทุกสิ่งทุกอย่างมีเจ้าของมันต้องมีเจ้าของ สิ่งที่มีค่าจะต้องมีเจ้าของ พานที่วางอยู่นี่ มันวางอยู่หยิบไปก็ไม่ถูก เป็นเรื่องของการทุจริต แต่ว่าตอนแรกเรารู้ว่าอะไรสุจริต อะไรทุจริตเราก็ไม่ทำ บางทีเรียกว่ามันอยากแล้วมันยั่วใจมันล่อใจ มันก็ต้องพิจารณา แต่ทีหลังมันก็เป็นความเคยชินได้ว่าไม่ทำ แต่ว่าถ้าทำไปเรื่อย ก็เป็นความเคยชินว่าทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องอันนั้นนะ รวมทั้งทำในทางที่โกรธอะไรมาต้องโกรธเลย ไม่ละ ไม่คิดพิจารณา ทีหลังก็จะเป็นคนโกรธ อะไรมากระทบนิดเดียวก็โกรธ เพราะว่ามันสะสมเอาไว้ในจิตของเรา นั่นคืออาสวะและอนุสัย จนกระทั่งปฏิบัติถึงขั้นสูงแล้วจะเป็นพระจะเป็นผู้ที่ออกไปปฏิบัติธรรมชั้นสูงแล้ว ความเคยชินนี้ยังอยู่ในตัว ต้องขัดเรียกว่าขัดเกลาด้วยการพิจารณา ต้องใช้อะไร ก็ต้องใช้สติสัมปชัญญะนั่นเอง..."
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 27-02-2011 เมื่อ 22:56 |
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#19
|
||||
|
||||
"...ต้องพยายามที่จะรู้อยู่เสมอว่าอันนี้คืออะไร ตัวกำลังทำอะไร สติก็ระลึกรู้ว่าอันนี้อะไร แล้วก็สัมปชัญญะก็รู้ว่าตัวกำลังทำอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่สติสัมปชัญญะ อันนี้พูดในระดับสูงกว่าที่พูดถึงว่านำดอกไม้ไปบูชา เป็นทางไปสู่จุดหมายของพุทธศาสนา สติสัมปชัญญะนี้เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อนำไปสู่ความชอบ ความสุข ความอดทน
ฉะนั้นที่พูดอย่างนี้กับคณะท่านพระครูก็เพราะว่าท่านทั้งหลายสนใจในการอยู่ดีกินดี และสนใจในความดีในจิตใจ สามารถที่จะดำรงชีวิตด้วยความสงบสุข คืออยู่ดีกินดีก็หมายความว่าทำหน้าที่อาชีพอย่างสุจริต และจิตใจที่มีความสุขนั้น ทำด้วยการฝึกจิตใจแต่ละบุคคลให้เห็นความดีด้วยสติสัมปชัญญะ ถือว่าเป็นขั้นที่จะไปสู่ความสงบ ไม่ใช่ว่าไปนั่งวิปัสสนาในวัดเท่านั้นเอง นั่นนะส่วนหนึ่งนั่งวิปัสสนา นั่งกรรมฐาน แต่การปฏิบัติทุกวันทุกเวลาที่ตื่นมีสติสัมปชัญญะ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทุกคนทำได้ถ้าตั้งใจ อันนี้เป็นความดีความอดทน และก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติพระพุทธศาสนา..." พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสที่พระครูใบฎีกาเล็ก ญานุตฺตโร
วัดหลวงปรีชากูล อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี และคณะเฝ้าถวายเงิน เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศล ตามพระราชอัธยาศัยและต้นเทียนพรรษา วันจันทร์ ที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๘
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-02-2011 เมื่อ 03:42 |
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
#20
|
||||
|
||||
๗
ข้าวหลาม "...ตอนนั้นจำได้ว่า ไม่ได้โกรธแต่งง งงจริง ๆ ในที่สุดทำให้นึกถึงว่า นี่เราต้องมีความกตัญญูต่อมารดา เพราะว่าท่านได้เลี้ยงเรา ถ้าไม่มีท่าน เราก็ไม่มีชีวิต..."
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐ ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย |
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน | ||
ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) | |
|
|