กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 26-05-2019, 19:10
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,223 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒

ให้ทุกคนตั้งกายของเราให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกทั้งหมดของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมด ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญมาแต่เดิม

ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมนั้น วันนี้ขอเตือนท่านทั้งหลายว่าอย่าโลภในการปฏิบัติ ก็คืออย่าไปจับกรรมฐานหลาย ๆ กองพร้อมกัน ยกเว้นว่ากรรมฐานเหล่านั้นเราสำเร็จได้ทุกกองแล้ว มีความคล่องแคล่ว ชำนาญในการเข้าออกหรือพิจารณาแล้ว ถ้าเป็นเช่นนั้นเราจึงสามารถจับกองกรรมฐานพร้อมกันหลายกองได้

มีญาติโยมบางท่านมีความเห็นผิด ว่าการจับกรรมฐานหลายกองย่อมมีอานิสงส์มากกว่า ซึ่งความตั้งใจเช่นนั้นก็ผิดตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะว่าการปฏิบัติกรรมฐานนั้น ถ้าจะตั้งใจให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ก็คือกระทำเพื่อหลุดพ้นจากกองทุกข์ ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อเอาอานิสงส์ อานิสงส์นั้นเป็นของแถมในการปฏิบัติเท่านั้น

ฉะนั้น...อย่าได้ลืมเป้าหมายในการปฏิบัติธรรมของเรา แล้วไปคว้าเอาของแถมเข้ามา ซึ่งเรื่องพวกนี้ สมัยนี้พวกเราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ศึกษาแล้วชอบใจ ก็อยากที่จะทำโน่นทำนี่ให้ได้หลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะอยากมีฤทธิ์ อยากมีเดช เป็นต้น ซึ่งความอยากทั้งหลายเหล่านี้ จะว่าไปแล้วก็เป็นโทษ คอยขวางการปฏิบัติธรรมของเรา
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-05-2019 เมื่อ 03:51
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 26-05-2019, 19:12
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,223 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าถามว่าไม่อยากแล้วจะปฏิบัติไปเพื่ออะไร ? ก็ต้องตอบว่าในระหว่างก่อนการปฏิบัติเราอยากได้ อยากมี อยากเป็นอย่างไร ก็แล้วแต่ความอยากของเรา แต่ในช่วงขณะที่กำลังปฏิบัติอยู่ ให้ลืมความอยากทั้งหมด ตั้งหน้าตั้งตาตามดูตามรู้ลมหายใจเข้าออกของเราพร้อมกับคำภาวนาเท่านั้น

อาการใด ถ้าหากว่าเกิดขึ้นกับร่างกาย ผิดแปลกไปจากที่เคยเป็น ทำให้เรารู้สึกกลัวบ้าง ทำให้เรารู้สึกไม่ชอบใจบ้าง อาการทั้งหลายเหล่านั้น เราต้องตัดใจว่า เราตั้งใจปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น แม้จะต้องตายลงไปในครั้งนี้ เราก็ยินดีเพื่อแลกกับธรรมะที่จะพึงได้ ถ้าสามารถวางกำลังใจเช่นนี้ได้ ท่านก็จะเข้าถึงกองกรรมฐานต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะว่ากำลังใจมีความเข้มแข็ง มีความเด็ดขาด แต่ถ้าหากว่าตัดใจเช่นนี้ไม่ได้ โอกาสที่ท่านทั้งหลายปฏิบัติแล้วจะเกิดผลดีแก่ตนก็จะมีน้อย

โดยเฉพาะในเรื่องของคำภาวนาอย่าเปลี่ยนบ่อย ๆ เคยใช้แบบไหนให้ใช้แบบนั้น จะเป็นพุทโธ เป็นนะมะพะธะ เป็นสัมมา อะระหัง เป็นพองหนอ ยุบหนอ หรือจะเป็นตัวบทพระคาถาใด ๆ ที่เราชอบก็ตาม ถ้าเคยทำอย่างไรมาให้ทำเช่นนั้น ไม่เช่นนั้นแล้วสภาพจิตของเราที่เคยชินกับของเก่า ถึงเวลาแล้วต้องบังคับให้จดจำของใหม่ สภาพจิตก็จะมีการยื้อแย่งกันไปมา ของเก่าก็ไม่ได้ ของใหม่ก็ไม่ดี กลายเป็นเสียเวลาในการปฏิบัติ เพราะว่าเราเปลี่ยนคำภาวนาบ่อย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-05-2019 เมื่อ 03:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 26-05-2019, 19:16
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,223 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าถามว่า ถ้าต้องการเปลี่ยนคำภาวนาจริง ๆ ควรจะเปลี่ยนช่วงไหน ? ถ้าท่านทั้งหลายทำกองกรรมฐานตามวิสุทธิมรรค หรือว่าตามพระไตรปิฎก ก็ทำกรรมฐานแต่ละกองนั้นให้เกิดผลเต็มที่จนถึงที่สุด อย่างเช่นว่าสามารถเข้าถึงฌาน ๔ ในกองกรรมฐานนั้นได้ สามารถอธิษฐานใช้ผลของกองกรรมฐานนั้น ๆ ได้

ถ้าหากว่าทำได้คล่องตัวแล้ว เราค่อยเปลี่ยนกรรมฐานกองใหม่ โดยไม่ลืมที่จะย้อนกลับไปทวนของเก่าไว้เสมอ ๆ ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายมีความแน่วแน่อยู่กับกองกรรมฐาน อยู่กับคำภาวนาเฉพาะของเรา สภาพจิตของเราก็จะก้าวหน้าไปตามลำดับ จนกระทั่งท้ายสุดก็เข้าถึงที่สุดของกองกรรมฐานนั้น ๆ แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้ท่านทั้งหลายหลุดพ้นจากกองทุกข์อย่างแท้จริงได้

อย่างเก่งความทุกข์ทั้งหลายก็โดนอำนาจของสมาธิและกรรมฐานกองนั้นกดไว้เพียงชั่วคราว เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้กำลังใจในการพิจารณาวิปัสสนาญาณ ไม่ว่าจะเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา หรือการเห็นการเกิดดับ เห็นการเป็นโทษเป็นภัย เห็นว่าเป็นของน่ากลัว เป็นต้น

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็ไม่ใช่แค่เห็นเท่านั้น ถ้าเห็นเท่านั้นก็ยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์มาก สภาพจิตของเราเห็นแล้วต้องยอมรับด้วยว่า ธรรมดาเป็นเช่นนั้น ความจริงเป็นเช่นนั้น ถ้าหากว่าสภาพจิตยอมรับอย่างแท้จริง นั่นจึงเป็นตัวปัญญาที่จะนำพาให้เราหลุดพ้นจากกองทุกข์ได้

ลำดับต่อไปก็ให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านเติมบุญ
วันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒

(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย รัตนาวุธ)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-05-2019 เมื่อ 03:55
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 03:29



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว