กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องบูรพาจารย์ > ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน

Notices

ประวัติและปฏิปทาของพระสุปฏิปันโน รวมประวัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพจากทั่วเมืองไทย

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #81  
เก่า 27-07-2012, 10:24
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน)

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิมว่า อ้วน แสนทวีสุข มีบิดาเป็นกรมการเมือง ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ ณ บ้านแคน ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

บรรพชาและอุปสมบท เมื่ออายุ ๑๙ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสว่าง อำเภอวารินชำราบ ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดศรีทอง มีท่านเทวธมฺมี เป็นอุปัชฌาย์ ท่านโชติปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์

การศึกษาพระปริยัติธรรม ตำแหน่งและสมณศักดิ์ หลังจากพระอุปัชฌาย์ท่านได้มรณภาพแล้ว สมเด็จฯ ได้เข้าไปศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมกับเจ้าคุณอาจารย์ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อครั้งเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ยังเป็นพระครูวิจิตรธรรมภาณี ณ วัดพิชยญาติการาม สำนักพระศาสนโศภณ เป็นเจ้าอาวาส

พ.ศ. ๒๔๓๙ ย้ายมาเรียนต่อที่วัดเทพศิรินทราวาสกับท่านอาจารย์อื่นอีก และสอบได้เปรียญตรี

พ.ศ. ๒๔๔๒ สอบปริยัติธรรมได้เปรียญโท

พ.ศ. ๒๔๔๒ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอีสาน

พ.ศ. ๒๔๔๗ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอีสาน ต่อมารัชกาลที่ ๖ ได้แยกมณฑลอีสานเป็น ๒ มณฑล คือ มณฑลร้อยเอ็ด ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะว่าการทั้งสองมณฑล

พ.ศ. ๒๔๖๖ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอุดรอีกตำแหน่งหนึ่ง ต้นรัชกาลที่ ๗ ทางราชการได้รวมมณฑลอุบล ร้อยเอ็ดและนครราชสีมา เป็นมณฑลนครราชสีมา ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา

พ.ศ. ๒๔๘๕ ดำรงตำแหน่งสังฆนายกองค์แรกแห่งประเทศไทย ตามประกาศลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๘๕

สมเด็จฯ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ตามลำดับ ดังนี้

พ.ศ. ๒๔๔๗ พระราชาคณะที่ พระศาสนดิลก

พ.ศ. ๒๔๕๔ ทรงได้รับสมณศักดิ์เสมอชั้นราชในนามเดิม

พ.ศ. ๒๔๕๕ พระราชมุนี

พ.ศ. ๒๔๖๔ พระเทพมุนี

พ.ศ. ๒๔๖๘ ชั้นเทพพิเศษที่พระโพธิวงศาจารย์

พ.ศ. ๒๔๗๒ พระธรรมปาโมกข์

พ.ศ. ๒๔๗๕ ชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระพรหมมุนี

พ.ศ. ๒๔๘๒ สมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์

การมรณภาพของสมเด็จฯ ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๔๙๙ ณ วัดบรมนิวาส ด้วยโรคชรา สิริอายุได้ ๘๙ ปี

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-07-2012 เมื่อ 12:59
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #82  
เก่า 30-07-2012, 09:57
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

วิชาป้องกันตัว

“...สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) วัดบรมนิวาส.. ท่านเล่าให้ฟังขบขันจะตาย เราอดหัวเราะไม่ได้ หัวเราะต่อหน้าท่านก็ไม่ได้จะ 'ทำไง’ ท่านไปต่างจังหวัด ท่านพูดมียิ้ม ๆ เท่านั้น แต่พวกเรามันจะตาย อดหัวเราะไม่ได้ คนอื่นจะตายกันทั้งประเทศ

สมเด็จฯ ท่านก็เล่าให้ฟัง เราอยู่ใกล้ ๆ ก็อดหัวเราะไม่ได้ ท่านออกไปบิณฑบาต ออกไปชนบท ที่นี้หมาพอเห็นพระออกไปบิณฑบาต มันก็วิ่งมารุมเลย มันจะกัดองค์ที่อยู่ข้างหลัง มันวิ่งดักหน้าดักหลังอยู่อย่างนั้น พระก็หลบไปอาศัยอยู่หลังท่าน แล้วท่านก็พูดแบบขึงขังว่า
พวกนี้ไม่มีวิชาป้องกันตัว ประสาหมาก็ยังกลัว ข้าไม่กลัว ข้ามีวิชาป้องกันตัว’


ท่านว่าอย่างนั้น ว่าแล้วท่านก็ขึ้นมาที่นี่ ท่านสัก “ดอกผักแว่น” ลายดำ ๆ ดอกผักแว่น ท่านสักไว้ที่แข้ง ท่านมีวิชาป้องกันตัว ท่านว่า นี่.. วิชาของข้า ท่านก็ชี้ไปที่ดอกผักแว่น ดำ ๆ ตรงนั้น นี่มันก็แปลกจริง ๆ นะ พวกหมานี่เป็นหมาเทวดา

วันรุ่งขึ้นก็ไปบิณฑบาตใหม่ ไปตรงที่บ้านเก่านั้นแหละ หมามันก็วิ่งมาซิทีนี้ คราวนี้มันไม่ไล่กัดองค์ไหน มันมากัดองค์ที่มีวิชาป้องกันตัวนี่ละ ก็องค์สมเด็จฯ นี่แหละ ที่มีวิชาป้องกันตัวเต็มตัว 'ว่างั้น’ เถอะ หมามันปรี่เข้ามาซัดเอาตรงดอกผักแว่นนั้นเลยนะ กัดตรงวิชาป้องกันตัว .. เลือดสาดเลยนะ

ท่านเล่ายังหัวเราะ ไอ้เรามันจะตาย กลั้นหัวเราะอยู่อย่างนั้น

สมเด็จฯ ท่านว่า ‘ที่พูดมานี่เป็นการเตือนนะ พวกที่ชอบอวด พูดไม่ได้นะ ว่าข้ามีของดี ข้าไม่ได้อวดนะ ข้าเป็นคนเฉย ๆ ข้าไม่ได้ตั้งใจอวด ถึงขนาดนั้นหมามันยังฟาดเสียวิชาข้าแหลกหมดเลย’

ท่านว่าอย่างนั้นแล้วมันก็กัดตรงตรงนั้นเลยนะ ตรงวิชาดอกผักแว่นนะ มันก็แปลกอยู่ ท่านพูดท่านเฉยเลยนะ เราเองยังไม่ลืมเลย อดหัวเราะจะตาย ตอนอยู่ต่อหน้าท่าน หัวเราะไม่ได้ 'ว่างั้น’ ส่วนพวกอยู่ข้างหลังมันหัวเราะกันจะตาย ท่านสมเด็จฯ ท่านพูดขบขันดีจริง ๆ ท่านพูดไม่ค่อยหัวเราะหรอก มีแต่ยิ้ม ๆ เท่านั้น แต่คนฟังมันจะตาย เราเองยังอดหัวเราะไม่ได้ นี่คือพูดถึงสมเด็จพระมหาวีรวงศ์...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 14-08-2012 เมื่อ 12:10
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 45 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #83  
เก่า 31-07-2012, 09:38
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๔. ออกธุดงคกรรมฐานตามคำสัตย์

เมื่อองค์หลวงตาเรียนจบเปรียญ ๓ ตามที่ได้ตั้งใจไว้แล้ว ก็มุ่งหน้าออกหาสถานที่อันสงบสงัด เพื่อเร่งบำเพ็ญจิตตภาวนา เช่น พระอรหันตสาวกในสมัยพุทธกาล

พรรษาที่ ๘

(พ.ศ. ๒๔๘๔) จำพรรษาที่วัดป่าจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา


......................................................................

เวทีแรก...มารรบกวนจิตใจ

เมื่อภาระการเรียนเสร็จสิ้นลงและถึงคราวออกปฏิบัติเต็มตัว องค์หลวงตาจึงออกเดินทางมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา โดยพกหนังสือปาฏิโมกข์เพียงเล่มเดียวติดย่ามไปเท่านั้น ตอนแรกท่านเจ้าคุณราชกวี (พิมพ์ ธมฺมธโร ต่อมาเป็นสมเด็จพระมหาวีรวงศ์) ท่านได้เขียนจดหมายมาบอกว่า
“ให้มหาบัวกลับไปกรุงเทพฯ”


โดยสั่งไว้ด้วยว่า วันนั้นวันนี้จะมารับ แต่ท่านก็ไม่กลับตามคำสัตย์ที่ตั้งไว้ และได้เข้าจำพรรษาที่วัดป่าจักราช ในอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา นับปีบวชได้ ๘ พรรษาพอดี ท่านว่าพอเริ่มปฏิบัติอย่างจริงจังขึ้น กลับเหมือนมีมารมาคอยก่อกวน สิ่งที่ไม่เคยรู้สึก ไม่เคยเป็นสมัยเรียนหนังสือ กลับปรากฏขึ้นเป็นความรุ่มร้อนฝังลึกอยู่ในใจ ท่านเล่าถึงความรู้สึกตอนนี้ว่า

“...แปลกจริง เวลาเราเอาจริงเอาจังตั้งแต่อยู่เรียนหนังสือ.. จิตก็ไม่เห็นเป็น เวลาออกปฏิบัติตอนจะเอาจริงเอาจัง มันจะมีมารหรือ 'ยังไง’ นะ ได้ยินเสียงผู้หญิงก็ไม่ได้นะ ทำไมเรื่องของราคะมันแย็บทันทีเลย จนเรางงเหมือนกัน

‘เอ้า’ เราก็ตั้งใจมาปฏิบัติธรรมไม่เคยสนใจกับผู้หญิงเลย ทำไมเพียงได้ยินเสียงผู้หญิงเท่านั้นมันก็แย็บ แต่มันแย็บอยู่ภายในจิตต่างหากนะ มันแย็บ ๆ ๆ ของมัน เอ๊ะ..ชอบกล ‘ว่ะ’ ทำไมมันเป็นอย่างนี้...”


ท่านก็ตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะไปหาภาวนาอยู่ในป่าเพื่อฆ่ากิเลส แต่กลับโดนเข้าแต่เรื่องทุกข์ร้อนจากอารมณ์ที่คอยกวนจิตใจ สงครามการต่อสู้ในระยะนั้นท่านเล่าว่า
“... ไปหาภาวนาอยู่ในป่า ทั้ง ๆ ที่จะฆ่ามันอยู่นี่นะ มันเห็นสาวมันก็ยังขยับอยู่นะ โถ.. 'ยังงี้’ ซิ มันเป็นของร้อนนี้นะ ตัวนี้มันไม่ให้ภาวนากับเรานี่นะ มันจะหาแต่เรื่องของมันอยู่นั่นละ


หือ.. ไปภาวนาอยู่ในป่า เราก็บอกตรง ๆ อยู่นี่นะ พอไปเห็นสาวสวย ๆ สวยในหัวใจมันเองนะ เขาจะสวยไม่สวยก็ตาม มันหาว่าสวย สาวคนนี้สวย ‘ว่ะ’ แต่มันสำคัญที่เราปฏิบัติอยู่แล้วนะ มันขยับมานั้น ตีกัน ‘พัวะ’ เลยเชียว

ไม่ได้นะ ทีนี้ภาวนาไม่ได้แล้วซิ มันจะเป็นเหตุแล้ว หนีเลย หนีเลยนะ แต่ส่วนมากชนะเพราะมันตั้งท่าจะฆ่ากันอยู่แล้ว แล้วมันยังมาตั้งหมัดตั้งมวยต่อหน้าต่อตา นี่มันจะไม่ให้โมโห 'ได้ไง’

นี่เรื่องกิเลส มันมีมากน้อยเพียงไร มันจะแสดงอยู่ภายในใจ มันเป็นข้าศึกของใจ มันเป็นอย่างนี้ เป็นตลอดมา เก่ง...มีมากมีน้อย มันจะเป็นของมันอยู่ในจิตนะ... เพราะเราจะฆ่ามันอยู่กับจิต...”

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ต่อมาท่านได้พิจารณาย้อนหลังเทียบกับสมัยที่ยังเรียนหนังสืออยู่ กิเลส ราคะ ตัณหา ก็ไม่เห็นเป็นพิษเป็นภัยอะไรมากมาย คงสงบตัวอยู่เงียบ ๆ ครั้นพอออกปฏิบัติตั้งใจจะฆ่ากิเลสโดยตรง กลับดูเหมือนว่ามันกำเริบเสิบสานมากยิ่งขึ้น ท่านอธิบายเหตุผลที่เป็นเช่นนี้ว่า
“... เวลามาพิจารณาทีหลัง ไม่ใช่อะไรนะ คือเรามีสติสตังบ้าง เวลาแย็บออกไปมันเลยรู้ รู้ได้ง่าย... ไม่ใช่เราเป็นอย่างนั้น มันกลับขึ้นมาก็ไม่ใช่ เวลาผ่านไปถึงได้รู้


อ๋อ.. แต่ก่อนจิตของเรามันมืดมันดำ มันไม่รู้เรื่องรู้ราวเหมือนหลังหมีนี่ แล้วมันจะไปทราบสีขาวสีด่างสีอะไร มันเป็นหลังหมีเสียหมด

ทีนี้พอเราผ่านไปแล้ว ค่อย ๆ รู้ เวลาจิตละเอียดเข้ามันรู้ได้เร็ว เป็นเหมือนกับว่า มันแสดงกิเลสขึ้นอย่างรวดเร็ว แย็บเท่านั้นละ พอให้รู้เลย จากนั้นจึงได้เร่งกันใหญ่...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 31-07-2012 เมื่อ 14:00
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #84  
เก่า 01-08-2012, 09:25
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

มาร ๕

ขันธมาร รูปขันธ์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไปเรื่อยรวมไปหมดขันธมาร

อภิสังขารมาร มารในจิต คือความคิด ความปรุง สังขารเป็นมารอันหนึ่งของเรา เราจะทำอะไร ๆ นี้ เราต้องคิดเสียก่อน แล้วกิเลสมาคิดก่อน สมมุติว่า เราคิดว่าจะไปเดินจงกรม กิเลสคิด ‘ปั๊บ’ ขึ้นมาว่า พักสักเดี๋ยวเสียก่อน..เข้าใจไหม ...

เทวบุตรมาร เทวบุตรมารก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ยกไว้เป็นธรรมาธิษฐาน บุคคลาธิษฐานสิ ถ้าบุคคลาธิษฐานก็เทวบุตรมารฝ่ายดี ที่มีส่วนเป็นภัยบ้างในฝ่ายดี ดูอย่างพระพุทธเจ้านะ มีมารแทรกอยู่ได้ นี้ฝ่ายเทวบุตรมาร...

กิเลสมาร เป็นตัวสำคัญมากยิ่งกว่าขันธมาร... สิ่งที่เข้ามาเคลือบแฝงกับจิตจนกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวนั้น คืออะไร ท่านให้ชื่อว่ากิเลส ตามหลักธรรมให้ชื่อว่ากิเลส ท่านแปลว่าความเศร้าหมอง ... มันหากมีแง่ มีเล่ห์มีเหลี่ยม หลายสันพันคมที่จะหลอกเราให้เชื่อตามมัน .. จากเศร้าหมองก็มืดตื้อ ผลของมันก็คือความทุกข์ตั้งแต่น้อยไปถึงความทุกข์ใหญ่ เรียกว่ามหันตทุกข์ เกิดขึ้นเพราะอำนาจของกิเลสนี้ทั้งนั้น ... ถ้าจะทำความดีแล้วไม่ว่าเล็กว่าใหญ่ จะต้องถูกกีดขวางจากมาร ซึ่งแฝงอยู่ภายในจิตดวงเดียวกันนั้นแลโดยไม่ละเว้น .. เรียกว่ามาร กิเลสมาร ... การที่จะแก้ไขถอดถอน หรือกำจัดซักฟอก สิ่งที่แทรกซึมจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับใจนี้ให้ออกได้โดยลำดับนั้น จึงต้องใช้ความพยายามเต็มที่ จะหนักเบาเพียงไรก็ตาม ...

มัจจุมาร คือความตาย ความตายทำลายทุกสิ่งในชีวิต บางทีกำลังก้าวหน้าในชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรม ก็มาด่วนตายเสียก่อน ความตายจึงตัดโอกาสดี ๆ ในชีวิต...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-08-2012 เมื่อ 11:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 43 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #85  
เก่า 03-08-2012, 11:14
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ยอมมอบกายถวายชีวิตต่อ “ธรรม”

ที่อำเภอจักราชแห่งนี้ ท่านได้พยายามเร่งทำความเพียรทั้งวันทั้งคืนตั้งแต่มาถึงทีแรกจนตลอดพรรษา โดยไม่ยอมทำงานอะไรทั้งนั้น นอกจากงานสมาธิภาวนาเดินจงกรมอย่างเดียว เพราะได้ตั้งใจแล้วว่า

“...คราวนี้จะเอาให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เต็มเหตุเต็มผล เอาเป็นเอาตายเข้าว่าเลย อย่างอื่นไม่หวังทั้งหมด หวังความพ้นทุกข์อย่างเดียวเท่านั้น จะให้พ้นทุกข์ในชาตินี้แน่นอน


ขอแต่ท่านผู้หนึ่งผู้ใดได้ชี้แจงให้เราทราบเรื่องมรรคผลนิพพานว่ามีอยู่จริงเท่านั้น เราจะยอมมอบกายถวายชีวิตต่อท่านผู้นั้น และมอบกายถวายชีวิตต่ออรรถต่อธรรม ด้วยข้อปฏิบัติอย่างไม่ให้อะไรเหลือหลอเลย

ตายก็ตายไปกับข้อปฏิบัติ ไม่ได้ตายด้วยความถอยหลัง จิตปักลงเหมือนหินหัก...”

เหตุนี้เอง หลังจากนั้นไม่นาน ท่านว่าจิตก็ได้รับความสงบ ปรากฏว่าได้ผลดีตลอดพรรษา อย่างไรก็ตามด้วยความเมตตาสงสารของพระเถระผู้ใหญ่ อยากให้ท่านกลับกรุงเทพฯ เพื่อเรียนต่อในชั้นสูงขึ้นอีก

ทีแรกพระเถระท่านก็ฝากผ้าห่มผืนใหญ่พร้อมแนบจดหมายมาถึงโคราช ข้อความในจดหมายมีเพียง ๒-๓ ประโยคมีใจความว่า
“ให้มหาบัวกลับกรุงเทพฯ โดยด่วน ให้กลับกรุงเทพฯ โดยด่วน”


ท่านรู้สึกซาบซึ้งในความเมตตาของพระเถระที่มีต่อท่านเป็นอย่างสูง แต่เพราะได้ตัดสินใจแน่วแน่แล้ว จึงมิได้ตอบจดหมายกลับไปแต่อย่างใด และอยู่จำพรรษาที่นี่ตลอดพรรษา ครั้นพอออกพรรษาแล้ว ท่านจึงมารับกลับคืนและบังคับให้ขึ้นรถไฟไปพร้อมกับท่านด้วย ท่านเล่าถึงเหตุการณ์ตอนนั้นว่า

“...ทีนี้พอออกพรรษาแล้ว ท่านก็มา.. ท่านเขียนจดหมายมาบอก วันนั้น ๆ เราจะผ่านไปโคราช บอกขบวนรถมันก็มีขบวนเดียว ออกตอนเช้าถึงอุบลฯ ให้เราไปรอดักอยู่สถานี ท่านจะเอากลับกรุงเทพฯ ให้เราไปรออยู่สถานี พอไปถึงก็ว่า

‘มหาบัวต้องกลับกรุงเทพฯ’ จี้เลยนะ มีแต่ ‘ต้องกลับกรุงเทพฯ’ รถไฟมันจอดนาทีเดียวนี่นะ รถไฟก็ช่วยเราด้วย ๆ พูดกันยังไม่สักกี่คำ


‘มหาบัวต้องกลับกรุงเทพฯ โดยด่วนนะ... ต้องกลับกรุงเทพฯ’

สักเดี๋ยวรถก็เคลื่อน เราก็โดดลงรถไฟไป .. รอดตัว แปลกอยู่นะ อะไร ๆ ก็ดีรู้สึกว่ามันพร้อม ๆ นะ อุปสรรคไม่ค่อยมี ว่าจะออกทางนี้นะ รู้สึกว่าคล่องตัว ๆ

อย่างผู้ใหญ่ท่านห้ามอย่างเข้มงวดกวดขัน อย่างนี้ก็เหมือนกัน รอดไปได้ แม้แต่ขึ้นไปสถานีรถไฟ รถไฟยังช่วย สักเดี๋ยวรถไฟเคลื่อนที่ ‘ปึ๋งปั๋ง’ ก็โดดลงรถไฟได้เท่านั้น ท่านก็ไม่ทราบจะว่า ‘ยังไง’ ไม่ได้รับคำตอบจากเรา เลยตามขู่อยู่เรื่อยนะ

ท่านสงสาร ท่านเมตตามากนะกับเรา มอบให้เราหมดแหละ ในคณะนั้น ๆ เป็นคณะใหญ่ เพราะท่านเป็นเจ้าคุณนี่ ให้เราเป็นผู้ดูแลคณะ เพราะฉะนั้น ท่านถึงได้เข้มงวดกวดขันในการไปการมาของเรา ท่านไม่ให้ไปไหนเหมือนว่าผูกมัดในตัว...

เราเคารพผู้ใหญ่เราก็เคารพ แต่เราเคารพความสัตย์นี้สุดหัวใจเรา.. ยิ่งกว่าผู้ใหญ่ เราจึงหาทางออกจนได้...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-08-2012 เมื่อ 12:10
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #86  
เก่า 04-08-2012, 11:54
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ได้พบกัลยาณมิตร

ขณะที่พักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าจักราช จังหวัดนครราชสีมา ท่านมีความประทับใจในธรรมของเพื่อนพระรูปหนึ่ง ดังนี้

“... ท่านชื่อว่า “ชำนาญ” เป็นเพื่อนกัน เกิดปีเดียวกัน อายุเท่ากันกับเรา ตั้งใจออกปฏิบัติ ท่านเก่งอยู่นะ เจตนาท่านเป็นธรรมมาก ท่านพูดเป็นธรรมน่าฟัง เราไม่ลืมจนกระทั่งบัดนี้


ท่านว่า ‘บิณฑบาตได้อาหารมานี้ ที่จะจัดใส่บาตร.. อันไหนดีเจ้าของไม่เอา อันไหนดีต้องเอาไปแจกคนอื่น ๆ เจ้าของแล้วแต่บุญแต่กรรม เพื่อนฝูงจะให้อะไรก็เอา บาตรเจ้าของไม่มอง’

ท่านเป็นธรรม เราฝังใจลึกไม่ลืม... ออกปฏิบัติทีแรกท่านภาวนาดีนะ ไปจำพรรษาที่อำเภอจักราช เราก็ออกจากกรุงเทพฯ มาจำพรรษา ท่านความเพียรดี จากนั้นมาท่านคิดอะไรก็ไม่รู้นะ ท่านก็ตั้งใจภาวนาดีอยู่ เวลาจะจากกันไป ท่านบอกว่าคิดว่าจะกลับไปเรียนเสียก่อน

‘เรียนหาอะไร ผมก็เรียนมาแล้วจนเป็นมหาจึงออกปฏิบัติ ท่านไปเรียนหาอะไร’ เราว่าท่านอย่างนี้

‘ก็อยากเรียนให้มันรู้ทั้งปริยัติรู้ทั้งปฏิบัติ อันนี้ท่านก็รู้ปริยัติมาแล้ว ทางปฏิบัติกำลังปฏิบัติอยู่นี้มันก็พูดได้ละซิ คนหนึ่งยังไม่เรียนยังไม่ได้ปล่อย

แล้วท่านก็กลับไปเรียนจริง ๆ นะ พอท่านได้ “เป็นมหา” ก็กลับเข้าป่าทันที

ท่านเป็นธรรมนะ ตอนนี้ท่านเสียแล้ว ท่านองค์นี้ออกปฏิบัติคราวนี้เอาจนกระทั่งอัฐิกลายเป็นพระธาตุ ท่านจริงจังมาก ท่านกับเราสนิทกันมากจริง ๆ...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-08-2012 เมื่อ 12:07
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #87  
เก่า 06-08-2012, 10:14
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ให้ร่มเป็นทาน

ระยะที่ท่านพักอยู่ที่วัดป่าจักราชนี้ วันหนึ่งเป็นวันที่ฝนตกฟ้าคะนอง ท่านจึงต้องหลบฝนอยู่ที่กุฏิ สายฝนที่ตกจากท้องฟ้าทำให้ท่านหวนระลึกถึงร่มคันหนึ่งซึ่งเคยได้มาจากจังหวัดเชียงใหม่ เป็นร่มที่มีราคาแพงและสวยงาม

ขณะที่ท่านกำลังพินิจชมร่มอยู่นั้น มีชาวศรีสะเกษสองสามีภรรยาแต่ไปทำงานอยู่ทางภาคกลาง ได้เดินโซซัดโซเซด้วยพิษไข้เข้ามาหาท่าน หวังจะขอยาแก้ไข้ เพราะเงินติดกระเป๋าแม้สตางค์หนึ่งก็ไม่มีเลย เหตุการณ์ตอนนี้ ท่านเล่าว่า

“...เราได้ร่มเชียงใหม่มาคันหนึ่ง โอ๊ย.. สวยงามมากนะ ร่มคันนั้นแต่ก่อนมัน ถ้าราคาถึงสิบสลึง สามบาทเรียกว่า แพงที่สุด ร่มเชียงใหม่ทำนี้เป็นร่มที่ดีที่สุด ได้ร่มมาคันหนึ่ง เราก็เอามาชมของเรา ถ้าภาษาอีสานเรียกว่า มาแยงเบิ่งมันสวย พอดีสองสามีภรรยามา ผัวไข้สั่นงอก ๆ แงก ๆ มา ไม่มีร่มกั้น


มาขอยา ยาก็ไม่มี สั่นงอก ๆ แงก ๆ อยู่ ‘งั้นแหละ' พอดีเราก็มีร่มคันหนึ่ง ‘จะไปทางไหนละนี่ ทั้งไปทั้งสั่นอยู่นี้ ทั้งฝนก็ตกฟ้าก็ลงอยู่นี้ จะไปได้ ‘ยังไง’..’

'โอ๊ย ก็ไป ‘ยังงั้น’ แหละ... จะกลับบ้านศรีสะเกษ โยมผู้ชายเป็นไข้ ตะเกียกตะกายมานี้ เวลาฝนตกฟ้าลงไม่มีร่มกั้น หนาวตัวสั่นตลอดมาก็เลยเป็นการเพิ่มไข้เข้าไปอีก’

เราก็เลยว่า ‘เอาซะ ร่มคันนี้ สวยงามมาก แน่นหนามั่นคงมาก เราให้’

เขาไม่ยอมรับ เพราะเห็นว่ามันเป็นของใหม่ของดีก็เลยว่า ‘โอ๊ย... แล้วญาคู (คำเรียกพระทางอีสาน) จะใช้ไหนละ’

เราบอกว่า ‘ให้ด้วยความพอใจ ขอให้รับไปด้วยความพอใจเพื่อไปบรรเทาทุกข์นะ’ เขามองดูหน้าเราเลิ่กลั่ก แล้วก็มองดูร่ม เราก็ว่า ‘เอ้า เอาไป’

เขาจะไม่เอา เขาไม่เห็นแก่ได้อย่างเดียว เขายังเห็นแก่เราอีก

นี่ละธรรมต่อธรรมเข้าถึงกัน เขาไม่ใช่เป็นคนขี้โลภ ทั้ง ๆ ที่เขามาขอนะ แต่เวลาเราให้ของดี ๆ เขาไม่อยากรับ เราก็ต้องบังคับให้เขาเอาไป เขามองหน้าเราแล้ว แล้วมองร่ม

เราว่า ‘ใช้อันไหนก็ช่างเถอะ เรามีร่มใหญ่อยู่นี้ ร่มมีอยู่นี่ ก็กุฏิ ‘ยังไง’ นี่แหละร่มใหญ่ของเรา เอาร่มน้อยไปเถอะ เอาไปบรรเทาทุกข์ เรามีกุฏิแล้ว ร่มในวัดนี้ก็พอมี ถึง‘ยังไง’ก็ตามเถอะ ผู้ที่เป็นอย่างนี้มีความจำเป็นมากกว่าผู้อยู่ในวัด เอาไปเถอะ’

เราบอกให้แล้วด้วยความเต็มใจ บังคับให้เอานะ ‘ไม่งั้น’ เขาจะไม่เอา เราก็เลยไม่ลืม เรายังไม่ได้ใช้แหละร่มคันนี้ อย่างนี้ละน้ำใจ เขาคงจะไม่ลืมนะ ที่เขาได้รับจากเรา เราให้เขายังไม่ลืม เขาจะลืมได้ ‘ยังไง’ นี่ละจิตใจนี้มันไม่ลืมกันนะ จากนั้นแกให้พรด้วยนะ

(แกพูดว่า) ‘โอ๊ย เอาของดิบของดีให้ ขอให้ท่านจงเจริญรุ่งเรืองในธรรมเด้อ ! ตั้งแต่เกิดมาก็ยังไม่เคยมีกับเขาสักที’…”

ที่แกพูดเช่นนี้ เพราะร่มคันนี้ยังเป็นของใหม่อยู่ ท่านเองก็ยังไม่เคยได้ใช้สักครั้งเลย เมื่อได้ร่มไปแล้วทั้งคู่จึงต่างดูแล้วดูเล่า พลิกทางนั้นหันทางนี้อย่างชื่นชมในความงาม และด้วยความดีใจจนลืมทุกข์จากพิษไข้ไปได้ชั่วขณะ เพราะไม่เคยมีของดี ๆ เช่นนี้มาก่อนเลย

เมตตาจิตของท่านที่มีแต่ให้ของดี ๆ แก่ผู้อื่นเช่นนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่ประจำนิสัยของท่านมาแต่เดิมและตลอดมา

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-08-2012 เมื่อ 16:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #88  
เก่า 07-08-2012, 09:17
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

นิมิตตาปะขาวบอก ๙ ปีสำเร็จ

ที่จักราช โคราช ขณะที่ท่านกำลังนอนภาวนาอยู่นั้น จิตรู้สึกสงบและค่อยยุบยอบ ๆ เข้าไป หดตัวเข้ามา ๆ สู่ความสงบ แต่ไม่สงบมากนัก พอสงบรู้ได้ว่าสงบ ปรากฏว่าเกิดนิมิตแปลกประหลาดขึ้น เป็นนิมิตที่ท่านจำได้ถนัดชัดเจน ดังนี้

“..มีตาปะขาวคนหนึ่งเดินมายืนต่อหน้าประมาณสัก
หนึ่งวาเศษ ๆ ตาปะขาวนั้นอายุประมาณสัก ๕๐ หรืออย่างสูงก็ไม่เลย ๖๐ มีรูปลักษณะพอดี ทุกส่วนสัดพอดีทุกอย่าง แต่ผิวพรรณนั้นรู้สึกจะมีสีเนื้อค่อนข้างขาว

พอมานั้นมายืนตรงหน้าเรา เราก็ดูแกแล้ว พอมองมาทางเรา แล้วก็ก้มลงและนับข้อมือให้เราดู พอถึงข้อที่ ๙ รู้สึกว่าหนักมือตรงนี้ เขาเงยหน้าขึ้นมาดูเราแล้วบอกว่า ๙ ปีสำเร็จ

พอจากนั้นจิตของเราก็ถอยออกมา จึงพิจารณาว่า ‘นี่เราก็บวชได้ ๗ ปีแล้ว ทำไมสำเร็จง่ายนักนะ ใช่หรือภาวนา ๙ ปีสำเร็จ ?’

จากนั้นมันก็ภาวนาเอาใหญ่เลยจะให้ ๙ ปีสำเร็จ พอครบพรรษาที่ ๙ ออกพรรษาแล้ว จิตมันยังเจริญแล้วเสื่อม เจริญแล้วเสื่อมอยู่อย่างนั้นจะสำเร็จได้ ‘ยังไง’ จิตคนมันเป็นบ้าอยู่อย่างนั้น เอาอะไรมาสำเร็จ
‘เอ! หรือจะเริ่มนับตั้งแต่ ๙ ปีที่เราเริ่มออกปฏิบัติ ?’ พรรษาที่ ๘ เป็นพรรษาแรกที่ออกปฏิบัติ...”


ท่านเก็บความสงสัยในนิมิตตาปะขาวนี้อยู่ภายในลึก ๆ เพียงลำพัง พร้อมกับความตั้งใจในการปฏิบัติจิตภาวนาอย่างจดจ่อต่อเนื่อง นิมิตบอกเหตุครั้งนี้จะเป็นจริงหรือไม่อย่างไร ผลการปฏิบัติของท่านเท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์..!

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-08-2012 เมื่อ 11:20
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #89  
เก่า 08-08-2012, 09:38
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

แพ้ผู้หญิง

เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านตั้งใจจะเร่งเดินทางไปหาหลวงปู่มั่นในทันที แต่ญาติโยมที่จักราชกลับพยายามชะลอท่านไว้ทั้งทางตรงและทางอ้อม จนต้องยอมในที่สุด ดังนี้

“...ทีแรกออกพรรษาแล้ว เราก็เคยพูดแล้วว่าเราแพ้ผู้หญิง ผู้หญิงเขาดัดสันดาน เขาเอาผ้าสังฆาฏิเราเข้าไปในบ้าน เขาจะให้เราอยู่เสียก่อนรอรับกฐิน ไอ้เราออกพรรษา เราจะเร่งมาหาพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ความหมายของเราน่ะ เราบอกเราจะไม่รับ เราจะไม่อยู่ มาเถียงกันเสีย ‘โธ้’...ผู้หญิงคนนี้มันก็เก่งเหมือนกันนะ เป็นเมียนายจ่า ลูกตัวเล็ก ๆ น่ารักมาก


ตอนเย็น ๆ แม่จะเอากาแฟให้ลูกส่งมาหาเรา เพราะฉะนั้น ถึงสนิทกัน..เข้าใจไหม ผัวเขาเป็นนายจ่า จ่าสิบโทหรือจ่าสิบเอก เราลืมแล้ว ชื่อจ่าเบ้า แม่เขาชื่อแฉ่ง ลูกชายเขาตัวเล็ก ๆ ที่น่ารักชื่อเจริญ ก็มันติดพันกันขนานนั้น

ทีนี้พอออกพรรษา เราก็เตรียมจะรีบมาหาพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น เขาก็รีบมาขอให้รอทอดกฐินเสียก่อน เขากำหนดกฐินวันนั้น ๆ เราก็บอกเรารอไม่ได้..ไม่ได้ แกก็เอาใหญ่เลย มาร้องไห้ต่อหน้านี่ซิ ที่มันดัดกันสุดท้ายแพ้ผู้หญิง ไปที่ไหนแพ้แต่ผู้หญิงนะเรา เป็น ‘ยังไง’ ไม่ทราบ ซัดกันอยู่นี้มันร้องไห้ต่อหน้าเรา เราก็เฉยไม่สนใจ แต่เราเผลอซิ

ผ้าสังฆาฏิเราไปบิณฑบาตช้อนผ้ามาแล้วก็มาพับวางไว้ต้นเสาข้างหลัง แกก็นั่งซัดกันกับเราอยู่นี่ พอเสร็จแล้วเราก็ไปจัดอาหารแจกกันตอนฉันจังหัน แกก็ด้อมมาข้างหลังเอาผ้าสังฆาฏินี้ไป แล้วแกก็ไปเฉยเลย พอจะลงศาลาปั๊บหันหน้ามา
‘ท่านจะไปอุดรฯ ก็ไปเสีย’


แล้วมีลักษณะยิ้ม ๆ โอ้โห..มันร้องไห้ตะกี้นี้ มันลงไปแล้วมาพูดท้าทายเรา ‘ท่านจะไปอุดรฯ ก็ไปเสียนะ’ มียิ้ม ๆ นิดหนึ่ง เราก็เฉย

ทีนี้พระเลยมาสะกิด ‘ไม่ใช่เขาเอาหมัดเด็ดใส่แล้วหรือ ?’

‘หมัดเด็ดอะไร ?’

‘ก็เห็นเขายิ้ม ๆ ไม่ใช่เขาเอาผ้าสังฆาฏิไปแล้วหรือ ?’


‘กูตาย..มันเอาไปแล้ว’

นี่ซิยอมเขา เขาเอาไปแล้ว ยังไม่แล้ว เขายังมาสืบหากับพระอีก เอาผ้าสังฆาฏิพระท่านไปนี้ผิดพระวินัยข้อไหน ๆ พระท่านก็ชี้แจงให้ทราบตามหลักพระวินัย ออกพรรษานี้ปราศจากไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ คือไม่ต้องอยู่ครบ ธรรมดาผ้าจีวรต้องมีอยู่ครบตลอดคืน ส่วนกลางวันไม่ได้กำหนดนะ แต่เวลาออกพรรษาแล้วนี้อานิสงส์พรรษาครอบไปได้ ๑ เดือน จึงปราศจากผ้าไตรจีวร เช่น สังฆาฏิ สบง จีวร ผืนใดผืนหนึ่งปราศจากได้

เขาเอาไปแล้วก็ถือว่าปราศจากแล้ว ใช่ไหม..เขาเอาไปผืนหนึ่งแล้ว เขามาสืบถามพระ ได้ความแล้วเขายิ่งมั่นใจนะ ‘ท่านจะไปเมื่อไรล่ะ อุดรฯ’ มาใส่เรานะ
‘ท่านจะไปอุดรฯ เมื่อไรล่ะ’


เราโมโหพอแล้ว แพ้เขาอย่างหลุดลุ่ย นี่ละเรื่องมันน่ะ เลยต้องรอ พอรับกฐินแล้วก็บึ่งเลยเทียวนะ บึ่งมาไม่ทัน ท่านไปได้ ๓ วันแล้ว...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-08-2012 เมื่อ 11:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #90  
เก่า 09-08-2012, 10:58
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

มหันตทุกข์จากจิตเสื่อม

เมื่อรับกฐินแล้ว ท่านก็ออกจากจังหวัดนครราชสีมา มุ่งหน้าไปจังหวัดอุดรธานีทันที ตั้งใจว่าจะไปจำพรรษากับหลวงปู่มั่นที่วัดป่าโนนนิเวศน์* อุดรธานี แต่ก็ไม่ทัน หลวงปู่มั่นเพิ่งไปสกลนครได้ ๓ วัน จึงได้มาที่บ้านตาดเพื่อทำกลด ขณะที่เริ่มทำยังไม่ทันเสร็จดีกลับปรากฏว่า ในด้านสมาธิของท่านเริ่มเสื่อมลง ๆ ท่านเล่าถึงเหตุการณ์ในตอนนี้ว่า

“... เราก็เดินทางมาจังหวัดอุดรธานี เพื่อตามหาท่านพระอาจารย์มั่น ใจที่มีความเจริญในทางด้านสมาธิก็ปรากฏว่า เสื่อมลงที่บ้านตาดซึ่งเป็นบ้านเกิดของตน การเสื่อมทั้งนี้เนื่องจากทำกลดคันหนึ่งเท่านั้น


และการมาอยู่บ้านตาดยังไม่ถึงเดือนเต็ม จิตรู้สึกเข้าสมาธิไม่ค่อยสนิทดีเหมือนที่เคยเป็นมา บางครั้งเข้าสงบได้ แต่บางครั้งเข้าไม่ได้ พอเห็นท่าไม่ดี จะฝืนอยู่ไปก็ต้องขาดทุน จึงรีบออกจากที่นั้นทันทีไม่ยอมอยู่

ก่อนนั้นสมาธิไม่ใช่เล่นเหมือนกันนะ แน่นปึ๋งเลยเทียว แน่ใจว่ามรรคผลนิพพานมีแล้ว เพราะจิตมันแน่นปึ๋งไม่สะทกสะท้านกับอะไร แม้ขนาดนั้นก็ยังเสื่อมได้ แค่ทำกลดหลังเดียวเท่านั้น...”

ภาวะจิตเสื่อมนี้เป็นทุกข์อย่างมาก ท่านเปรียบว่า เหมือนกับเคยเป็นมหาเศรษฐีมีเงินหมื่นแสนล้านมาก่อน แล้วจู่ ๆ มาล่มจมสิ้นเนื้อประดาตัวด้วยเหตุอันใดอันหนึ่ง ผู้ที่เคยมีเงินมากมายขนาดนั้น ย่อมเดือดร้อนกว่าผู้ที่หาเช้ากินค่ำและไม่เคยมีเงินหมื่นแสนล้านนั้นมาก่อนเลย ผู้นั้นจะเอาอะไรมาเสียใจในความล่มจมของเงินก้อนนั้นได้

ในเรื่องนี้ก็เช่นกัน ภาวะที่จิตเจริญด้วยสมาธิก็เปรียบเหมือนกับผู้เป็นมหาเศรษฐีมีเงินก้อนใหญ่นั่นเอง ท่านกล่าวถึงภาวะนี้ว่า

เป็นภาวะที่จิตรู้สึกเข้าสมาธิไม่ค่อยสนิทเหมือนที่เคยเป็นมา บางครั้งเข้าสงบได้ แต่บางครั้งเข้าไม่ได้ ภาวะเสื่อมนี้มันถึงขนาดจะเป็นจะตายจริง ๆ เพราะทุกข์มาก เหตุที่ทุกข์มากเพราะได้เคยเห็นคุณค่าของสมาธิที่แน่นปึ๋งมาแล้ว และก็กลับเสื่อมเอาชนิดไม่มีอะไรติดเนื้อติดตัวเลย มีแต่ฟืนแต่ไฟเผาหัวใจตลอดเวลา ทั้งวันทั้งคืน ทั้งยืนทั้งเดิน ทั้งนั่ง ทั้งนอน จึงเป็นทุกข์เพราะอยากได้สมาธินั้นกลับมา มันเป็นมหันตทุกข์จริง ๆ ก็มีคราวที่จิตเสื่อมนั้นแลที่ทุกข์มากที่สุด


ความเด็ดเดี่ยว ความมุ่งมั่นจริงจังของท่าน เพื่อที่จะครองชัยชนะในการต่อสู้กับกิเลสให้ได้นี้ ทำให้ไม่มีสิ่งใดจะมาเป็นอุปสรรคต่อความตั้งใจจริงของท่านได้ เพราะยอมต่อสู้ชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ท่านจึงมักพูดเสมอว่า
ถ้ากิเลสไม่ตาย เราก็ต้องตายเท่านั้น จะให้อยู่เป็นสองระหว่างกิเลสกับเราไม่ได้


===============================================

* ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์เป็นผู้อาราธนานิมนต์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ไปโปรดชาวอุดรธานีเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เมื่อเดินทางมาถึงอุดรธานี หลวงปู่มั่นได้พักที่วัดโพธิสมภรณ์ระยะหนึ่ง ต่อมาจึงย้ายไปพักที่วัดป่าโนนนิเวศน์ ซึ่งเป็นป่าช้าที่สงบสงัดรกทึบ ชาวบ้านเกรงกลัวที่วัดแห่งนี้ ขุนชาญอักษรศิริ (นวล) และนางพรหม สรรพอาษา เป็นหัวหน้าชักชวนชาวบ้านสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ และก็ได้นำชาวบ้านมาถากถางสร้างกุฏิที่พักและอุปถัมภ์อุปัฏฐากถวายหลวงปู่มั่น ซึ่งท่านได้เมตตาจำพรรษาที่วัดนี้ ๒ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๔

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-08-2012 เมื่อ 11:06
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #91  
เก่า 10-08-2012, 09:34
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ข่าวอันเป็นมงคล

และด้วยเหตุที่หลวงปู่มั่นรับนิมนต์ไปจังหวัดสกลนครเสียก่อน ทำให้ท่านต้องออกจากบ้านตาดเลยไปพักอยู่ที่วัดทุ่งสว่าง จังหวัดหนองคาย ท่านเล่าถึงเหตุการณ์ในตอนนั้นว่า

“... ตอนนี้ละ..ตอนมาจากโคราช พรรษา ๘ มาจากโคราช ว่าจะตามพ่อแม่ครูอาจารย์ให้ทัน .. มันไม่ทัน ท่านไปได้ ๒-๓ วันแล้ว เราก็เลยออกไปเที่ยวทางอำเภอกุมภวาปี (จังหวัดอุดรธานี) ทางโน้นเป็นดงเป็นป่าทั้งนั้นนะ ไปที่ไหนสะดวกสบาย บ้านเป็นบ้านเฉพาะ ๆ ดงรอบหมดเลย ... ตอนที่เรามาพักอยู่วัดมัชฌิมวงศ์ (บ้านเหล่าใหญ่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี) นั้น เป็นดงทั้งหมด เราไปพักอยู่ทางด้านตะวันออก ไม่ได้อยู่ในเขตวัด ไปอยู่ในป่าอีก ทั้ง ๆ ที่วัดนี้ก็เป็นป่า มีพระอยู่ในวัด นอกเขตวัดไปนี้ไม่มีพระ เราไปอยู่ในป่าเหมือนกัน ... ต้นไม้นี้ โหย... สูงจรดเมฆ ไม้ยางทั้งนั้น แต่ก่อนก็มี แต่ไม่ใหญ่อย่างนี้ มันเป็นดงจริง ๆ ศาลามีก็ไม่ได้หลังใหญ่โตอะไรเลย มีศาลาหลังเดียวเล็ก ๆ กุฏิกระต๊อบ ๆ อยู่ในป่า ถึงอย่างนั้นเรายังไม่อยู่ ออกไปอยู่โน้นอีก นอกเขตนั้น อยู่ในป่าไปอีก เขาบอกว่าทางป่าช้า เราอยู่ทางป่าช้านั่นละ ไปภาวนาอยู่ที่นั่น


เป็นดงทั้งหมดรอบวัด เป็นดงทั้งหมดเลย ดงสัตว์ ดงเสือ ดงเนื้อ เต็มไปหมด จนกระทั่งถึงบ้านไชยวาน วังสามหมอ มันต่อกันไปนี้เป็นดงใหญ่ .. พรรษา ๘ ออกจากนี้ ไปหนองคายที่อำเภอท่าบ่อ ไปพักวัดอรัญญิกาวาส อำเภอท่าบ่อ อยู่ในป่า เป็นดงจริง ๆ ... (ต่อมา) มาพักอยู่กับท่านอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ต้นปี พ.ศ. ๒๔๘๕ มันเป็นทุ่งกว้างขวาง แถวนั้นมีแต่ทุ่ง ทุ่งนาล้อมรอบหมด วัดทุ่งสว่างก็เป็นเกาะท่ามกลางทุ่งนา ท่านอาจารย์กู่ท่านอยากให้เราอยู่ด้วย ไม่อยากให้ไปไหน...

ไปพักรอที่วัดทุ่งสว่างเพื่อจะไปหาท่านอาจารย์มั่น ตอนนั้นยังไม่ได้มีกำหนดแต่จะต้องไปแน่ ๆ ก็พอดีมีพระองค์หนึ่งชื่อ พระศรีนวล เพิ่งมาจากวัดบ้านโคกนามน แล้วเผอิญเข้าไปพักด้วยกันที่วัดทุ่งสว่าง .. เราถามท่านว่า ‘มาจากไหน ?’

‘มาจากบ้านนามน จากท่านอาจารย์มั่น’

‘หือ? หือ ?’ ขึ้นทันทีเลยนะ เพราะพอได้ยินชื่อว่า ท่านอาจารย์มั่น รู้สึกตื่นเต้นดีใจ จึงถามย้ำเข้าไปอีก ท่านจึงว่า

‘มาจากท่านอาจารย์มั่น’

‘เวลานี้ท่านอาจารย์มั่นพักอยู่ไหน ?’

‘พักอยู่บ้านนามน’

‘แล้วมีพระเณรพักอยู่กับท่านมากน้อยเพียงไร ?’

‘๘-๙ องค์ ท่านไม่รับพระมาก อย่างมากขนาดนั้นเท่านั้นแหละ’

‘ได้ทราบว่า ท่านดุเก่งใช่ไหม ?

‘โห ... ไม่ต้องบอก พอไล่ ไล่หนีเลย’ พระองค์นั้นว่าอย่างนั้น...!”

พอท่านได้ยินดังนี้ แทนที่จะคิดเป็นผลลบกับหลวงปู่มั่น กลับรู้สึกถึงจิตถึงใจกับความเด็ดของหลวงปู่มั่น และแอบคิดอยู่แต่ผู้เดียวในใจว่า

อาจารย์องค์นี้ละ จะเป็นอาจารย์ของเรา ต้องให้เราไปเห็นเอง ท่านจะดุแบบไหน แบบไหน ๆ ครูบาอาจารย์ชื่อเสียงโด่งดังทั่วประเทศไทยมานานขนาดนี้ จะดุจะด่าขับไล่ไสส่งโดยหาเหตุผลไม่ได้นี้ เป็นไปไม่ได้


ท่านพักอยู่ที่วัดทุ่งสว่าง ๓ เดือนกว่า จากนั้นพอถึงเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ ท่านก็ออกเดินทางจากหนองคายไปจังหวัดสกลนคร เพื่อมุ่งสู่หลวงปู่มั่นต่อไป

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-08-2012 เมื่อ 12:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #92  
เก่า 14-08-2012, 10:45
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน

พระอาจารย์กู่ มีนามเดิมว่า กู่ สุวรรณรงค์ เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือน ๕ ปีชวด พุทธศักราช ๒๔๔๓ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

การอุปสมบท ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย ณ พันธสีมาวัดโพธิ์ชัย บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยมีพระครูสกลสมณกิจ (ท่านอาญาครูธรรม) เป็นพระอุปัชฌาย์

การจาริกเพื่อศึกษาธรรมปฏิบัติ ตลอดเวลาที่ท่านบวชอยู่ ท่านเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ชอบความเงียบสงัด เป็นผู้ยินดีในเสนาสนะเป็นส่วนมาก เที่ยวหลีกเร้นปฏิบัติเดินจงกรม นั่งปฏิบัติสมาธิภาวนาตามป่าชัฏ ได้มีโอกาสศึกษาธรรมเบื้องต้นกับท่านพระอาจารย์ดูลย์ อตุโล (พระรัตนากรณ์วิสุทธิ์) ที่วัดบ้านม่วงไข่นี้ และต่อมาได้เดินทางไปพบกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และได้อยู่ศึกษาธรรมและปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

การขอญัตติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้ญัตติเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยมีพระครูอดิศัยคุณาธาร (คำ อรโก) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูวินัยธร (ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ณ วัดมหาชัย ตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันคือ จ. หนองบัวลำภู)

การอาพาธและการมรณภาพ ท่านอาพาธด้วยโรคฝีฝักบัวที่ต้นคอ ซึ่งเป็นโรคประจำตัว เมื่อออกพรรษาปี ๒๔๙๕ แล้ว ท่านได้ลาญาติโยมขึ้นไปทำสมณกิจที่ถ้ำเจ้าผู้ข้า บ้านทิดไท ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เมื่อล่วงไปได้ ๓ เดือน อาการโรคได้กำเริบมากขึ้น จนกระทั่งท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยอาการสงบในอิริยาบถนั่งสมาธิ ณ ถ้ำเจ้าผู้ข้า เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๖ สิริอายุรวมได้ ๕๓ ปี รวม ๓๐ พรรษา

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 14-08-2012 เมื่อ 11:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #93  
เก่า 15-08-2012, 09:57
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พรรษาที่ ๙

(พ.ศ. ๒๔๘๕) จำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโคก วัดป่าวิสุทธิธรรม ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

.................................................................................................

มอบกายถวายชีวิตต่อหลวงปู่มั่น


จากจังหวัดสกลนคร ท่านก็เดินทางต่อไปจนถึงวัดที่หลวงปู่มั่นพักอยู่ในระยะนั้นคือ ที่บ้านโคก ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ท่านกล่าวถึงเหตุการณ์ในระยะนี้ว่า

“... พอทราบแล้ว ๓ วันเท่านั้นนะ เตรียมของไปเลย ไปก็ไปโดนเอาจริง ๆ นี่ละ.. มันมีแต่ผลบวกนะ พอไปก็ไปพักอยู่สุทธาวาส ๒ คืน พอฉันจังหันแล้ว สาย ๆ ก็ออกเดินทางไปถึงบ้านโคกมืดแล้ว บุกไปอย่างนั้นละ กลางคืนมืดถนนไม่ต้องถามละ ไม่มี ไปตามทางล้อทางเกวียนธรรมดา


พอไปถึง เราไปถามชาวบ้านเขา เขาก็บอก ไปถึงบ้านโคกมันมืดแล้ว ‘วัดป่าบ้านโคกอยู่ที่ไหน แล้วท่านอาจารย์มั่น ท่านอยู่ที่นี่ใช่ไหม ?’

‘อยู่..ท่านเพิ่งย้ายมาจากบ้านนามน ท่านจะมาพักจำพรรษาที่นี่ในปีนี้’

‘ไหน..วัดไปทางไหน ?’

เขาก็เลยพาไป ‘ไป..ผมจะพาไป เพราะทางเข้าไปวัดของท่านอาจารย์มั่นเป็นทางด่านนะ มันไม่ได้เป็นทางล้อทางเกวียนอะไร ทางเป็นด่าน พอคนเดินไปพ้นตัวไปเท่านั้นแหละ’ ชาวบ้านเขาบอก ... ออกไปนี้พอไปถึงกลางบ้าน

เขาบอกให้มานี่ เขาก็ชี้ทาง ‘นี่ละทางเส้นนี้ไปวัด ให้จับทางสายนี้นะ นี่แหละต้นทาง ให้เดินตามทางนี้ อย่าปลีกทางนี้ มันเป็นทางแคบ ๆ เพราะท่านเพิ่งมาอยู่ใหม่ ทางก็แคบ ๆ บุกไปอย่างนั้นแหละ ให้ตามทางนี้ อย่าปล่อยทางนี้แล้วจะเข้าถึงวัดเลย’

พอเขาบอกอย่างนี้แล้วเราก็ไป ไปทั้งมืด ๆ ไปพอ 'ช่วมช่าม ๆ' เข้าไปในวัด จากนั้นก็ดูนั้นดูนี่มืด ๆ จนไปเห็นศาลาหลังหนึ่ง ทำให้สงสัยนะ
‘เอ๊...นี่ ถ้าเป็นศาลามันก็ดูว่าเล็กไปสักหน่อย’ หมายถึงศาลากรรมฐานนะ...


‘ถ้าว่าเป็นกุฏิ ก็จะใหญ่ไป’ กำลังดูอยู่อย่างนั้น แล้วก็เดิน 'เซ่อซ่า ๆ' เข้าไป ท่านอาจารย์มั่นกำลังเดินจงกรมอยู่นี่นา ....มันก็ไม่เห็น เอ้อ... ท่านเดินจงกรมอยู่ข้างศาลา ท่านกั้นห้องศาลาพักอยู่นั่น พักจำวัดอยู่ที่ห้องศาลาเล็ก ๆ นั่นนะ

เราก็เดินซุ่มซ่าม ๆ มองนั้นมองนี้ไป ก็เราไม่เห็นนี่ มันกลางคืนแล้ว ท่านก็ยืนอยู่ใกล้ ๆ นี้...”

ท่านเดินไปจนพบหลวงปู่มั่น บนทางจงกรม หลวงปู่มั่นจึงถามขึ้นว่า “ใครมานี่ ?

ท่านกราบเรียนว่า “ผมครับ

ด้วยคำตอบนั้นของท่าน ทำให้หลวงปู่มั่นกล่าวขึ้นอย่างดุ ๆ พร้อมกับใส่ปัญหาให้ได้คิดในทันทีนั้นว่า
อันผม ๆ นี้ ตั้งแต่คนหัวล้าน มันก็มีผมไอ้ตรงที่มันไม่ล้าน


ถึงตรงนี้ท่านว่า รู้สึกเสียวแปล๊บในหัวใจ เพราะเข้าใจทันทีว่าไม่เกิดประโยชน์อันใดด้วยการตอบเช่นนี้เลย

ขณะเดียวกันทั้ง ๆ ที่กลัวเกรงหลวงปู่มั่นมาก แต่ก็รู้สึกถึงใจอย่างที่สุดกับคำดุชนิดที่หาที่ค้านไม่ได้เลย และยอมรับทันทีในไหวพริบปฏิภาณของหลวงปู่มั่น แม้จะกลัวเพียงใดก็ตาม แต่กลับรู้สึกดีใจอยู่ลึก ๆ ว่า
“นี่แหละ..อาจารย์ของเรา”


จากนั้นท่านก็เลยรีบกราบเรียนใหม่ทันทีว่า “ผมชื่อพระมหาบัว”

“เออ!.. ก็ว่า 'อย่างงั้นซี่' มันถึงจะรู้เรื่องกัน อันนี้ว่า ผม ผม ใครมันก็มี ผมเต็มหัวทุกคน แล้วใครจะรู้... ไป..ไปพักข้างศาลานะ”

จากนั้น หลวงปู่มั่นก็ออกจากทางจงกรมขึ้นไปบนศาลา ภายในศาลาจะกั้นเป็นห้องใช้เป็นที่พักสำหรับหลวงปู่มั่น เมื่อขึ้นบนศาลาแล้ว หลวงปู่มั่นเตรียมจะจุดตะเกียงหรือโป๊ะเล็ก ๆ ตะเกียงมีแก้วเล็ก ๆ ครอบเหมือนดอกบัว พอได้ยินเสียงหลวงปู่มั่นขู่เท่านั้น พระเณรที่เดินจงกรมอยู่ในเวลานั้นก็หลั่งไหลมากัน ก็พอดีมีพระขึ้นไปจุดไฟให้ท่าน เมื่อหลวงปู่มั่นนั่งลงแล้ว ท่านจึงถือโอกาสเข้ากราบเรียนถวายตัวเป็นศิษย์ และเรียนให้ท่านทราบถึงที่มาที่ไป พอให้ท่านได้รู้จักในตอนนั้นหลวงปู่มั่นยังคงฟังอยู่นิ่ง ๆ

ด้วยความมุ่งมั่น อยากจะมาศึกษาอยู่กับท่านเต็มเปี่ยมมานานหลายปีแล้ว ประกอบกับรู้สึกประทับใจในสติปัญญาฉับไวของหลวงปู่มั่น ความที่กลัวว่าจะไม่ได้อยู่ด้วย ทำให้ท่านเกิดความวิตกกังวลและครุ่นคิดอยู่ในใจว่า
“ไม่อยากได้ยินเลยคำทีว่า ที่นี่เต็มแล้ว รับไม่ได้แล้ว กลัวว่าหัวอกจะแตก...”


สักครู่หนึ่ง หลวงปู่มั่นก็พูดขึ้นว่า “นี่พอดีนะนี่ เมื่อวานนี้ท่านเนตรไปจากนี้ แล้ววันนี้ท่านมหาก็มา ไม่เช่นนั้นก็ไม่ได้อยู่ กุฏิไม่ว่าง

คำพูดของหลวงปู่มั่นครั้งนั้น ทั้ง ๆ ที่ก็เมตตารับท่านไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ท่านเองก็ยังอดไม่ได้ที่จะรู้สึกใจหายใจคว่ำเป็นอย่างยิ่ง เพราะกลัวว่าจะไม่มีโอกาสได้อยู่ศึกษาด้วย คำกล่าวของหลวงปู่มั่นครั้งนั้น จึงทำให้ท่านไม่สามารถจะลืมได้แม้จนทุกวันนี้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 15-08-2012 เมื่อ 11:12
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 39 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #94  
เก่า 17-08-2012, 10:42
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ธรรมบทแรก
“ปริยัติให้ยกบูชาไว้ก่อน แล้วปฏิบัติจะประสานกลมกลืน”

ถึงแม้ท่านจะเคยปฏิบัติด้านจิตภาวนามาบ้าง และก็มีโอกาสศึกษาค้นคว้าด้านปริยัติถึง ๗ ปีก็ตาม แต่สิ่งนี้ก็ยังไม่ทำให้ความสงสัยของท่านในเรื่องมรรคผลนิพพานหมดไป ยังคงเก็บความสงสัยอยู่ในใจตลอดมา และก็ดูเหมือนกับหลวงปู่มั่นจะล่วงรู้ถึงวาระจิตของท่าน จึงพูดบทธรรมครั้งแรกจี้เอาตรง ๆ ในคืนแรกนี้เลยว่า

“ท่านมาหามรรคผลนิพพาน มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน ? ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ ฟ้าอากาศเป็นฟ้าอากาศ แร่ธาตุต่าง ๆ เป็นของเขาเอง เขาไม่ได้เป็นมรรคผลนิพพาน เขาไม่ได้เป็นกิเลส กิเลสจริง ๆ มรรคผลนิพพานจริง ๆ อยู่ที่หัวใจ ขอให้ท่านกำหนดจิตจ่อด้วยสติที่หัวใจ ท่านจะเห็นความเคลื่อนไหวของทั้งธรรมของทั้งกิเลสอยู่ภายในใจ แล้วขณะเดียวกันท่านจะเห็นมรรคผลนิพพานไปโดยลำดับลำดา


เทศนาดังกล่าวนี้ ทำให้ท่านมีความมั่นใจในเรื่องมรรคผลนิพพาน และเชื่อมั่นในความรู้ความเห็นของหลวงปู่มั่น ที่พูดไขข้อข้องใจได้ตรงจุดแห่งความสงสัย จากนั้นหลวงปู่มั่นมีเมตตาชี้แนะบทธรรมในภาคปฏิบัติให้ ด้วยทราบว่า ท่านมีความรู้ในภาคปริยัติเต็มภูมิมหาเปรียญและนักธรรมเอก และมีความสนใจใคร่ต่อการประพฤติปฏิบัติ บทธรรมบทนี้ แม้จนบัดนี้ยังคงฝังลึกอยู่ภายในใจของท่านตลอดมา ดังนี้

“...ท่านมหาฯ ก็นับว่าเรียนมาพอสมควร จนปรากฏนามเป็นมหาฯ ผมจะพูดธรรมให้ฟังเพื่อเป็นข้อคิด แต่อย่าเข้าใจว่าผมประมาทธรรมของพระพุทธเจ้านะ


เวลานี้ธรรมที่ท่านเรียนมาได้มากได้น้อย ยังไม่อำนวยประโยชน์ให้ท่านสมภูมิที่เป็นเปรียญ นอกจากจะเป็นอุปสรรคต่อการภาวนาของท่านในเวลานี้เท่านั้น เพราะท่านจะอดเป็นกังวล และนำธรรมที่เรียนมานั้นเข้ามาเทียบเคียงไม่ได้ในขณะที่ทำใจให้สงบ

ดังนั้น เพื่อความสะดวกในเวลาจะทำความสงบให้แก่จิต ขอให้ท่านที่จะทำใจให้สงบ ยกบูชาไว้ก่อนในบรรดาธรรมที่ท่านได้เรียนมา ต่อเมื่อถึงกาลที่ธรรมซึ่งท่านเรียนมาจะเข้ามาช่วยสนันสนุน ให้ท่านได้รับประโยชน์มากขึ้นแล้ว ธรรมที่เรียนมาทั้งหมดจะวิ่งเข้ามาประสานกันกับทางด้านปฏิบัติ และกลมกลืนกันได้อย่างสนิท ทั้งเป็นธรรมแบบพิมพ์ ซึ่งเราควรจะพยายามปรับปรุงจิตใจให้เป็นไปตามนั้น

แต่เวลานี้ ผมยังไม่อยากจะให้ท่านเป็นอารมณ์กับธรรมที่ท่านเล่าเรียนมา อย่างไรจิตจะสงบลงได้หรือจะใช้ปัญญาคิดค้นในขันธ์ ก็ขอให้ท่านทำอยู่ในวงกายนี้ก่อน เพราะธรรมในตำราท่านชี้เข้ามาในขันธ์ทั้งนั้น แต่หลักฐานของจิตยังไม่มี จึงไม่สามารถนำธรรมที่เรียนมาจากตำราน้อมเข้ามาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ และยังจะกลายเป็นสัญญาอารมณ์คาดคะเนไปที่อื่น จนกลายเป็นคนไม่มีหลัก เพราะจิตติดปริยัติในลักษณะไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า

ขอให้ท่านนำธรรมที่ผมพูดให้ฟังไปคิดดู ถ้าท่านตั้งใจปฏิบัติไม่ท้อถอย วันหนึ่งข้างหน้าธรรมที่กล่าวนี้ จะประทับใจท่านแน่นอน...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-08-2012 เมื่อ 12:17
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #95  
เก่า 20-08-2012, 09:14
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ตั้งสัจอธิษฐานจะไม่หนีจากหลวงปู่มั่น

เมื่อได้อยู่ศึกษากับหลวงปู่มั่น ท่านจะคอยเฝ้าสังเกตทั้งทางหูทางตาอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าการชี้แจงแสดงเรื่องใด ท่านจะสนใจใคร่รู้ตลอดมาด้วยความอัศจรรย์ ท่านกล่าวถึงข้อปฏิบัติและคุณธรรมของหลวงปู่มั่นด้วยความเคารพบูชาว่า

“...เราก็อยู่กับท่านด้วยความพอใจจนบอกไม่ถูก แต่อยู่ด้วยความโง่เง่าอย่างบอกไม่ถูกอีกเหมือนกัน เฉพาะองค์ท่านรู้สึกมีเมตตาธรรมอนุเคราะห์ทุกครั้งที่เข้าไปหา


ท่านชี้แจงแสดงเรื่องอะไร ไม่ว่าดูท่านทางตา ฟังท่านทางหู ไม่เห็นมีสิ่งใดจะคลาดเคลื่อนจากหลักธรรมหลักวินัยข้อใดเลย ปฏิปทาการดำเนินของท่านก็มีแบบมีฉบับมีตำรับตำรา หาที่ค้านที่ต้องติมิได้ การพูดอะไรตรงไปตรงมา

แม้การแสดงเรื่องมรรคผลนิพพาน ก็แสดงชนิดถอนออกมาจากใจท่านแท้ ๆ ที่ท่านรู้ท่านเห็น ท่านปฏิบัติมา ทำให้ผู้ฟัง ฟังด้วยความถึงใจ เพราะท่านแสดงเหมือนว่าท้าทายความจริงจังของท่าน และท้าทายความจริงของธรรม...

ทำให้ลงใจถึงกับออกอุทานว่า ‘โอ้โห! นี่แหละ อาจารย์ของเรา’...”

สิ่งนี้ทำให้ท่านเกิดความมั่นใจและเชื่อแน่ว่า มรรคผลนิพพานมีอยู่จริง ความสงสัยในเรื่องนี้ที่เคยค้างมาแต่เดิมก็หมดสิ้นไป จากนั้นท่านจึงย้อนกลับมาถามตัวเองว่า

“...แล้วเราจะจริงไหม ?...”


ด้วยนิสัยทำอะไรทำจริง ทำให้ท่านตั้งใจแน่วแน่ว่า
“ต้องจริงซี ถ้าไม่จริงให้ตาย อย่าอยู่ให้หนักศาสนาและหนักแผ่นดินต่อไป”


ตั้งแต่นั้นมา ท่านก็เร่งความเพียรต่อสู้กับกิเลสอย่างเต็มเหนี่ยว และตั้งสัจอธิษฐานว่า

“หากว่าท่านอาจารย์มั่นยังมีชีวิตอยู่ตราบใดแล้ว เราจะไม่หนีจากท่าน จนกระทั่งวันท่านล่วงไปหรือเราล่วงไป แต่การไปเที่ยวเพื่อประกอบความพากเพียรตามกาลเวลานั้น ขอไปตามธรรมดา แต่ถือท่านเป็นหลัก เหมือนกับว่าบ้านเรือนอยู่กับท่าน ไปที่ไหนต้องกลับมาหาท่าน”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-08-2012 เมื่อ 15:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #96  
เก่า 21-08-2012, 09:09
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

เมื่ออายุ ๑๕ ปี ท่านบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านคำบง บวช ๒ ปี ก็ลาสิกขาตามคำร้องขอของบิดา

เมื่ออายุ ๒๒ ปี มีศรัทธาอยากบวช จึงได้เข้าศึกษาในสำนักท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบ เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี และได้รับอุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ วัดสีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีพระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจารย์ และพระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๓๖ นามมคธที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้คือ ภูริทตฺโต

เมื่อท่านอุปสมบทแล้ว ก็ได้บำเพ็ญสมณธรรมกับหลวงปู่เสาร์ กันตสีลเถระเป็นเวลาหลายปี หลวงปู่เสาร์ได้พาท่านไปเที่ยวศึกษาธรรมปฏิบัติในสถานที่ต่าง ๆ ทั้งทางฝั่งซ้ายเมืองหลวงพระบางและที่อื่น ๆ ซึ่งท่านเล่าว่าเคยพากันป่วยแทบกลับมาไม่รอด เพราะป่วยทั้งตัวท่านเองและหลวงปู่เสาร์ด้วย ท่านเลยมาระลึกถึงธรรมปฏิบัติโดยไปในที่สงัดแห่งหนึ่ง พิจารณาความตายจิตเลยลงสู่ภวังค์ขจัดโรคอาพาธไปได้ในขณะนั้น

ภายหลังท่านได้ออกไปโดยเฉพาะ แสวงหาความวิเวกตามสถานที่ต่าง ๆ อาศัยพุทธพจน์เป็นหลัก เร่งกระทำความเพียรบำเพ็ญสมณธรรม โดยมิได้คิดเห็นแก่อันตรายใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นในชีวิต

การบำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง หุบเขา ซอกห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ห้องถ้ำ เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้าง ฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ในกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนากับพระคุณเจ้าพระอุบาลี (จันทร์ สิริจนฺโท) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ จังหวัดนครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม และถ้ำสิงห์โต จังหวัดลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัยในสัตถุศาสนา

ท่านได้อยู่บำเพ็ญสมณธรรมไปจนได้ความรู้ความฉลาดในทางดำเนิน แล้วท่านก็มาระลึกถึงหมู่คณะที่เป็นสหธรรมิกทางภาคอีสาน ที่พอจะช่วยแนะการปฏิบัติให้ได้ ท่านจึงได้เดินจากภาคกลางไปทางอุบลราชธานี เที่ยวจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ อันเป็นสถานที่พอจะพาคณะเจริญสมณธรรมได้

ภายหลังครั้งเมื่อพระภิกษุสามเณรได้ยินว่าท่านมาทางนี้ ก็ได้เข้ามาศึกษาปฏิบัติธรรม แต่ครั้งแรกมีน้อย ที่เป็นพระภิกษุสามเณรถือนิกายอื่นแต่ได้เข้ามาปฏิบัติก็มีอยู่บ้าง โดยที่ท่านมิได้เรียกร้องหรือชักชวนแต่ประการใด ต่างก็น้อมตัวเข้ามาศึกษาปฏิบัติ

เมื่อได้รับโอวาทและอบรม ก็เกิดความรู้ความฉลาดเลื่อมใสในจิตในใจ มีพระภิกษุจำนวนมากที่เปลี่ยนนิกายเดิม กลับเข้ามาเป็นนิกายเดียวกับท่าน บางท่านก็มิได้เปลี่ยนนิกาย ท่านเองก็มิได้บังคับแต่ประการใด แม้ว่าท่านพระเถระทั้งหลายนี้ เมื่ออบรมได้รับความเลื่อมใสในธรรมแล้ว ต่างก็นำไปเล่าสู่กันฟังโดยลำดับ และเพราะอาศัยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ต้องการพ้นจากกองทุกข์ ซึ่งอุปนิสัยวาสนาได้อบรมเป็นทุนดังที่ว่ามาแล้วแต่หนหลัง ก็ได้พยายามออกติดตามขอปฏิบัติด้วยเป็นจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-08-2012 เมื่อ 12:17
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #97  
เก่า 22-08-2012, 10:43
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ด้วยความที่ท่านหวังเพื่อเป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เหตุนั้นท่านจึงไม่อยู่เป็นที่เป็นทางหลักแหล่งเฉพาะแห่งเดียว เที่ยวไปเพื่อประโยชน์แก่ชนในสถานที่นั้น ๆ ดังนี้

ณ กาลสมัยนั้น หลวงปู่มั่นอยู่วัดเลียบนั้นมานาน จึงได้เข้าไปจำพรรษาที่กรุงเทพฯ และทางเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี จนถึง พ.ศ. ๒๔๕๗

หลวงปู่มั่นมาหาสหธรรมิกทางอุบลราชธานี และจำพรรษาที่วัดบูรพา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ท่านมีพรรษาได้ ๒๕ พรรษา จากนั้นหลวงปู่มั่นได้จำพรรษา ดังนี้

พ.ศ. ๒๔๕๙ จำพรรษาที่ ภูผากูด บ้านหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

พ.ศ. ๒๔๖๐ จำพรรษาที่ บ้านดงปอ ห้วยหลวง อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

พ.ศ. ๒๔๖๑ จำพรรษาที่ ถ้ำผาบิ้ง จังหวัดเลย

พ.ศ. ๒๔๖๒ จำพรรษาที่ บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

พ.ศ. ๒๔๖๓ จำพรรษาที่ บ้านท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

พ.ศ. ๒๔๖๔ จำพรรษาที่ บ้านห้วยทราย อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม

พ.ศ. ๒๔๖๕ จำพรรษาที่ ตำบลหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. ๒๔๖๖ จำพรรษาที่ วัดมหาชัย อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู

พ.ศ. ๒๔๖๗ จำพรรษาที่ บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

พ.ศ. ๒๔๖๘ จำพรรษาที่ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

พ.ศ. ๒๔๖๙ จำพรรษาที่ บ้านสามผง อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

พ.ศ. ๒๔๗๐ จำพรรษาที่ บ้านหนองขอน อำเภอบุง (ปัจจุบันอำเภอหัวตะพาน) จังหวัดอำนาจเจริญ

พ.ศ. ๒๔๗๑ จำพรรษาที่ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

พ.ศ. ๒๔๗๒-๒๔๘๒ จำพรรษาที่ จังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๔ จำพรรษาที่ วัดป่าโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี

พ.ศ. ๒๔๘๕ จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าบ้านโคก จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. ๒๔๘๖ จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าบ้านนามน จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. ๒๔๘๗ จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าบ้านโคก จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๒ จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าบ้านโคก จังหวัดสกลนคร

ท่านปฏิบัติจนถึงที่สุดแห่งธรรมในพระพุทธศาสนาที่จังหวัดเชียงใหม่ ขณะนั่งสมาธิภาวนาบนพลาญหินกว้างใต้ร่มไม้ที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว มีใบดกหนาร่มเย็นบริเวณชายภูเขาแห่งหนึ่ง ขณะที่จิตพลิกคว่ำวัฏจักรออกจากใจโดยสิ้นเชิงแล้ว ยังมีบทบาลีขึ้นมาอีก ๓ รอบ คือ “โลโป” “วิมุตติ” และ “อนาลโย”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-08-2012 เมื่อ 10:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #98  
เก่า 23-08-2012, 09:25
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ

๑) ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา จึงได้ผ่อนให้คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย

๒) ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารเป็นวัตร เพื่อบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธ ไปในละแวกบ้านไม่ได้ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั่งอาพาธลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัย จึงงดบิณฑบาต

๓) เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาตร ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธในปัจฉิมสมัยจึงงด

๔) เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ ตลอดเวลา แม้อาพาธหนักในปัจฉิมสมัยก็มิได้เลิกละ ส่วนธุดงค์วัตรนอกนี้ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว ที่นับว่าปฏิบัติได้มากก็คือ อรัญญิกังคธุดงค์ ถืออยู่เสนาสนะป่า ห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัย

เมื่อถึงวัยชราจึงอยู่ในเสนาสนะป่า ห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลังที่จะภิกขาจารบิณฑบาต เป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนเคารพยำเกรง ไม่รบกวน นัยว่า ในสมัยที่ท่านยังแข็งแรงได้ออกจาริกโดดเดี่ยว แสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่น ในคราวไปอยู่ภาคเหนือ เป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอ ยังชาวมูเซอที่พูดไม่รู้เรื่องกัน ให้บังเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-08-2012 เมื่อ 09:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #99  
เก่า 24-08-2012, 09:59
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ธรรมโอวาท คำที่เป็นคติอันหลวงปู่มั่นกล่าวอยู่บ่อย ๆ ที่เป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทำด้วยกาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์ ดังนี้

ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเลิศ

ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง

เมื่อท่านอธิบายตจปัญจกกรรมฐานแล้ว มักจะกล่าวเตือนขึ้นเป็นคำกลอนว่า “แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตก คาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้ แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้น คาก้นย่างยาย คาย่างยาย เวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภพทั้งสามเป็นเฮือนเจ้าอยู่” ดังนี้

ปัจฉิมบท

ในวัยชรา นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา หลวงปู่มั่นท่านมาอยู่ที่จังหวัดสกลนคร เปลี่ยนอิริยาบถไปตามสถานที่วิเวกผาสุกวิหารหลายแห่ง คือ ณ เสนาสนะป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง (ปัจจุบันเป็นอำเภอโคกศรีสุพรรณ) บ้าง ที่ใกล้ ๆ แถวนั้นบ้าง

ครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึงปีสุดท้ายของชีวิต


หลังวันมาฆบูชา ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ท่านเริ่มป่วย ครั้นเมื่อออกพรรษาท่านป่วยหนัก ลูกศิษย์จึงนำท่านออกมาจากหนองผือ และได้พักระหว่างทางที่วัดกลางโนนกู่ ๑๑ คืน

จนวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ตอนเช้าราว ๐๗.๐๐ น. กว่า ๆ รถแขวงการทางสกลนคร รับท่านไปวัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ถึงวัดเวลา ๐๒.๐๐ น. และอาราธนาองค์ท่านลงจากรถขึ้นพักบนกุฏิ โดยที่ท่านกำลังหลับอยู่ หลับไปจนถึงเที่ยงคืนในราวตีหนึ่ง

ลมหายใจท่านปรากฏว่าค่อยอ่อนลงทุกทีและละเอียดไปตาม ๆ กัน ลมค่อยอ่อนและช้าลงทุกทีจนแทบไม่ปรากฏ วินาทีต่อไปลมก็ค่อย ๆ หายเงียบไปอย่างละเอียดสุขุม ครั้นถึงเวลา ๐๒.๒๓ น. ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกเดียวกัน จึงได้ถือเวลานั้นเป็นเวลามรณภาพของท่าน

สิริชนมายุของท่านได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน รวม ๕๖ พรรษา

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-08-2012 เมื่อ 13:19
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #100  
เก่า 27-08-2012, 11:14
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,549 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

หลวงปู่มั่นรู้วาระจิตหลวงปู่ฝั้น

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร ศิษย์หลวงปู่มั่นองค์สำคัญองค์หนึ่ง ได้เข้าพบหลวงปู่มั่น เมื่อครั้งที่หลวงปู่มั่นยังพักอยู่แถบจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งนั้น ได้พบเหตุอัศจรรย์หลายอย่างของหลวงปู่มั่น ซึ่งองค์หลวงตาได้เมตตาเล่าเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้นไว้ ดังนี้

“...ท่านอาจารย์ฝั้นออกจากโคราชนี้ ไปหาหลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่ (ราวปี ๒๔๗๙) ท่านอาจารย์มั่นอุตส่าห์ออกมาต้อนรับเลยนะ เห็นไหม เก่งไหม ที่วัดเจดีย์หลวง ท่านรู้ภายในข้างในนี้ ท่านอุตส่าห์ออกมาเมื่อท่านอาจารย์ฝั้นไปถึงนั่น


วันหนึ่งหรือ...ตอนเช้าวันที่สองตอนสาย ๆ ท่านอาจารย์ฝั้นเห็นท่านอาจารย์มั่นมาหาหน้ากุฏินั้นเลย พอมองเห็นก็คิดอยู่ในใจ
‘โอ๊ย... ท่านอาจารย์มั่นนี่’ จึงรีบโดดลงจากกุฏิเลย ท่านเดิน ‘กึ๊กกั๊ก.. กึ๊กกั๊ก’ มา


‘โอ้... ครูอาจารย์มายังไง ? ยังไง ?’

‘ก็มารับท่านนั่นแหละ’

นั่นเห็นไหม บอกว่า ‘มารับท่าน’ แล้วก็พาไปเลยเชียว นั่นท่านทราบไว้แล้ว เก่งไหม ? บอกว่า ‘ก็มารับท่านนั่นแหละ’

พอไปอยู่กับท่านอาจารย์มั่นแล้ว ท่านก็พูดถึงเรื่องสถานที่นั่น ดีอย่างนั้น ที่นี่ดีอย่างนี้ ทางท่านอาจารย์ฝั้นก็เลยคิดอยากไปอยู่ที่นั่นที่นี่ แต่ในตอนนั้นท่านอาจารย์มั่นไม่เห็นอะไรสมควรยิ่งกว่าอยู่กับท่านในขณะนั้น สมกับเหตุผลที่ท่านมารับเอง

ตอนกลางคืนท่านอาจารย์ฝั้นก็คิดถึงเรื่องที่จะไปที่นั่นที่นี่ พอโผล่ออกมา ท่านอาจารย์มั่นว่า ‘ไหน..จะไปไหน ?’

ว่าอย่างนั้นเลยนะ นั่นเห็นไหมล่ะ ‘จะไปที่ไหนอีก ?’ เปิดประตูออกมาตอนเช้า ท่านอาจารย์ฝั้นจะคอยรับบริขารท่าน พอเปิดประตูออกมา ‘หา ? จะไปที่ไหน ?’ ว่าอย่างนั้นเลยนะ

‘ที่นี่ดีกว่า’ ทางอาจารย์ฝั้นนั้นก็ปิดปากเลย เงียบไป แต่ก็ไม่นานละ ก็คิดอีก ท่านอาจารย์ฝั้นเล่าเองแหละ คิดอีกว่าจะไปที่นั่น ท่านก็เอาอีก...

พอวันหนึ่ง จิตท่านลงอย่างนั้นละ จิตท่านอาจารย์ฝั้นนะ นั่งภาวนานี่ จิตลงอย่างอัศจรรย์ เลยสว่างจ้าครอบโลกธาตุ ท่านว่าอย่างนั้นนะ
‘พอมองไปหาท่านอาจารย์มั่นทีไร เห็นท่านนั่งจ้องดูเราอยู่อย่างนี้’


ท่านว่า 'อย่างงั้น’ มองไปทีไร มองจิตส่งจิตไปทีไร ท่านนั่งจ้องเราอยู่แล้ว หมอบกลับมา พอตื่นเช้าขึ้นมาก็เปิดประตูเท่านั้นแหละ ประตูกระต๊อบนะ ไม่ใช่กุฏิอะไรใหญ่โตนะ กระต๊อบ ๆ ทั้งนั้น พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นอยู่ มีแต่กระต๊อบ ๆ ทั้งนั้นนะ หรูหราที่ไหน นั่นแหละ..สถานที่อยู่ของธรรม หรูหราไหม ? สถานที่อยู่ของธรรมดวงเลิศ ผู้เลิศมักจะอยู่อย่างนั้น และอยู่อย่างนั้น

ทีนี้พอเปิดประตูออกมา ท่านอาจารย์ฝั้นก็ไปรอ เปิดประตูออกมานี่ ยืน ‘กึ๊ก’ เลยเชียวนะ ‘เป็นยังไง ? เห็นหรือยังศาสนา..ทีนี้ ?’

เอาละนะ แทนที่ท่านอาจารย์มั่นจะให้เข้าไปจับ ไปขนบริขาร (เพื่อเตรียมออกบิณฑบาต) ไม่ให้ไปนะ ท่านไปยืนกันอยู่ที่ประตูเลย ทางนั้นก็คุกเข่าหมอบนั่นอยู่
‘เป็นยังไง ? เห็นหรือยังศาสนา..ทีนี้ ? หือ ? หือ ?’ ขึ้นเลย


ศาสนาอัศจรรย์ที่ไหน ? ศาสนาอยู่ที่ไหน ? มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน ? เห็นหรือยัง ?’ ว่าอย่างนั้นนะ ยืนจ้ออัดอยู่ที่นั่นเลย เสียงเปรี้ยง เปรี้ยง
‘เจริญที่ไหน ? เห็นหรือยังทีนี้ ?’


คือกลางคืนนั้นจิตสว่างจ้านี่นา ก็ท่านอาจารย์มั่นดูอยู่แล้วนี่ พอออกมาท่านถึงใส่เปรี้ยงเลย
‘เห็นหรือยัง ? ศาสนาเจริญที่ไหน? หือ? มรรคผลนิพพานเจริญที่ไหน ? ผมดูท่านทั้งคืนนะ เมื่อคืนนี้ ผมก็ไม่ได้นอน’


มันก็ยอมรับเลย พอท่านอาจารย์ฝั้นจ่อจิตไป ส่งจิตไปทีไร ท่านจ้องดูอยู่แล้ว มันก็หมอบ ถอย ถอย ดูทีไรจ่ออยู่ ‘ผมก็ไม่ได้นอนทั้งคืน เมื่อคืนนี้ ดูท่านนี่แหละ’

ว่าอย่างนั้นนะ เพราะฉะนั้นถึงว่า ไหน ? .. ศาสนาเจริญที่ไหน ? จ้อเข้าเลยสิ นั่นเห็นไหม ? ท่านมาเล่าให้ฟัง ท่านบอก ‘โอ๊ย..ขนลุกเลย ไม่ทราบมันเป็น 'ยังไง' ทั้งปีติยินดีในจิตอัศจรรย์ ปีติยินดีล้นพ้น และอัศจรรย์ท่านอาจารย์มั่นก็อัศจรรย์ล้นพ้น’ ท่านว่าอย่างนั้นนะ ชมความอัศจรรย์ทั้งวันทั้งคืนเลย นั่นแหละ ธรรมหาอย่างนั้นแหละ ธรรมอยู่ที่นี่แหละ ชี้เข้ามาที่ใจเท่านั้น รับธรรม ใจเท่านั้น ..รับมรรคผลนิพพาน สิ่งอื่นใดในโลก ไม่มีอะไรรับได้...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-08-2012 เมื่อ 16:48
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 3 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 3 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 15:49



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว