กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) > เทศน์ในวาระสำคัญต่าง ๆ

Notices

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 07-07-2020, 13:35
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default เทศนาวันเข้าพรรษา วันจันทร์ที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓

เทศน์วันเข้าพรรษา ๒๕๖๓
วันจันทร์ที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓

เชิญรับชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/YmD-CuxFmBo


นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

อิมัสมิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมีติ


ณ บัดนี้..อาตมภาพรับหน้าที่วิสัชนาในวัสสกถา เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา เพิ่มพูนบารมี เสริมสร้างกุศลบุญราศีแก่ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ที่ได้พร้อมใจกันมาบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันเข้าพรรษา ณ วัดท่าขนุนแห่งนี้

ญาติโยมทั้งหลายการที่เรามาทำบุญเข้าพรรษา ซึ่งจัดว่าเป็นประเพณีทางพระพุทธศาสนา ที่ได้รับการสืบทอดมายาวนานตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งก่อนหน้านั้นในสมัยพุทธกาลของเรายังไม่มีการเข้าพรรษา

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 15-07-2020 เมื่อ 22:56
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 07-07-2020, 13:37
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

เมื่อถึงเวลาหน้าฝน พระภิกษุสงฆ์จาริกไปตามคามนิคมต่าง ๆ ก็ได้รับความลำบากจากการเดินทาง เพราะว่าต้องเปียกฝน ต้องลุยน้ำลุยโคลนไป จึงทำให้เกิดความยากลำบากเป็นยิ่งนัก

ต่อมาเมื่อได้เห็นบรรดาปริพาชกต่าง ๆ ซึ่งกำหนดให้นักบวชของตนนั้นเข้าพรรษา ก็คืออยู่ประจำที่ใดที่หนึ่งในฤดูฝน องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา จึงมีพระบรมพุทธานุญาต ให้พระภิกษุในพระพุทธศาสนาได้อยู่ประจำในที่ใดที่หนึ่งตลอด ๓ เดือนในฤดูฝนเช่นกัน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:27
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 07-07-2020, 13:39
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

คราวนี้การอยู่ประจำในที่ใดที่หนึ่งนั้น สมัยก่อนก็ไม่ได้มีวัดวาอารามที่เป็นหลักเป็นฐานอย่างปัจจุบันนี้ อารามต่าง ๆ มีน้อย ส่วนใหญ่พระของเราก็อยู่โคนต้นไม้บ้าง อยู่เรือนว่างบ้าง คำว่า เรือนว่าง ก็คือ บ้านร้าง นั่นเอง อยู่ในป่าช้าบ้าง อยู่ในป่าชัฏบ้าง แม้กระทั่งอยู่ในโพรงไม้ก็มี บางท่านก็อาศัยกองเกวียนที่เดินทางไปค้าขายยังเมืองต่าง ๆ จำพรรษาอยู่ในกองเกวียนก็มี เป็นต้น

องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อบัญญัติให้พระต้องอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่งตลอดช่วงเข้าพรรษา ส่วนใหญ่แล้วก็เพื่อเอื้อประโยชน์ให้เกิดแก่ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:09
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 38 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 07-07-2020, 13:40
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

เนื่องจากว่าสมัยนั้นคนให้ความเคารพนับถือพระเป็นอย่างมาก เมื่อถึงเวลาพระเดินทางไปถึงเรือนชานบ้านช่องของตน ก็ต้องทิ้งหน้าที่การงานมาต้อนรับขับสู้ มาปูอาสนะ มาถวายน้ำใช้น้ำฉัน จัดหาภัตตาหารมาถวาย เป็นต้น ก็ทำให้ญาติโยมทั้งหลายต้องทิ้งหน้าที่การงาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็คือการทำไร่ทำนา มาคอยดูแลพระภิกษุสงฆ์ ทำให้เกิดความลำบากในการทำอาชีพของตนประการหนึ่ง

อีกประการหนึ่งก็คือ พระเมื่อถึงเวลาแล้วก็จาริกไปยังคามนิคมต่าง ๆ ไม่ได้อยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง เมื่อเกิดอยากจะทำบุญทำกุศลขึ้นมาก็หาพระให้ทำบุญไม่ได้

แต่เมื่อถึงเวลาพระอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง ตัวเองรู้เข้าถ้าไม่ไกลจนเกินไป ก็เดินทางไปนิมนต์พระมารับภัตตาหาร มาฉลองงานบุญที่บ้านของตัวเองได้ หรือว่าจะนำข้าวปลาอาหารไปถวายถึงที่วัดวาอารามเหล่านั้นก็ได้เช่นกัน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 07-07-2020, 13:42
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

และขณะเดียวกัน เมื่อพระภิกษุผู้เถระอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง บรรดาพระภิกษุผู้ที่เป็นมัชฌิมะคือ ปานกลางบ้าง นวกะคือ ผู้ใหม่บ้าง ก็จักได้เดินทางไปหาเพื่อศึกษาข้อธรรม หรือจำพรรษาอยู่ร่วมกัน รับการเทศนาสั่งสอนจากท่าน จะได้ประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้อง

เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ทำให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งฝ่ายพระและฝ่ายฆราวาส คือฆราวาสเมื่อพระอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง ตนเองก็อุปถัมภ์อุปัฏฐาก สามารถสร้างกองบุญการกุศลได้ง่าย

ส่วนพระของเราเมื่ออยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง ไม่ต้องไปไหน ก็มีเวลาศึกษาเล่าเรียนประพฤติปฏิบัติในหลักธรรมต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เมื่อเกิดประโยชน์แก่ตนแล้ว ก็นำไปสั่งสอนแก่ญาติโยมต่อไป

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 37 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 07-07-2020, 13:46
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

ทว่าเมื่ออยู่จำพรรษาแล้ว ก็ยังมีกิจจำเป็นอะไรบางอย่างเกิดขึ้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงประทานพระบรมพุทธานุญาต ให้พระสามารถไปกิจการงานนั้น ๆ ไม่ต้องอยู่จำพรรษา แต่ว่าอย่าไปเกิน ๗ วัน เรียกว่า “สัตตาหะกรณียะ” คือ เมื่อมีเหตุจำเป็นให้ไปได้ไม่เกิน ๗ วัน เป็นต้นว่า

พ่อป่วย แม่ป่วย พระอุปัชฌาย์อาจารย์ป่วย ไปเพื่อช่วยดูแลรักษาพยาบาลได้
สหธรรมิก คือ เพื่อนพระด้วยกัน ที่อยู่ต่างวัดไกล ๆ คิดจะสึก ไปเพื่อช่วยกันห้ามปรามไม่ให้ท่านสึกได้
วัดพัง สมมุติว่าโดนพายุฤดูร้อน พายุฤดูฝน โดนไม้ใหญ่หักพังทับกุฏิ ต้องไปเที่ยวหาทัพสัมภาระต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นใบจาก เป็นใบตองตึง เป็นเถาวัลย์ เป็นไม้ในป่า เพื่อที่จะมาซ่อมมาแซม ก็สามารถที่จะไปได้
ได้รับกิจนิมนต์จากทายกต่าง ๆ บางทีเขาอยู่ไกลถึงต่างตำบล ต่างอำเภอ ก็สามารถที่จะเดินทางไปได้ด้วยเหตุนี้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #7  
เก่า 07-07-2020, 13:50
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

แต่ว่าเหตุอื่น ๆ ที่จะให้ไปได้นั้น องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทานข้ออ้างที่เรียกว่า มหาปเทส ๔ ประการไว้ ที่กล่าวไว้ว่า

“สิ่งใดไม่สมควร ถ้าพิจารณาแล้วว่าไม่สมควร สิ่งนั้นย่อมไม่สมควร”
“สิ่งใดไม่สมควร ถ้าพิจารณาแล้วว่าสมควร สิ่งนั้นย่อมสมควร”
เป็นต้น


เมื่อองค์สมเด็จพระทศพลพระราชทานวิธีวินิจฉัยพระวินัยให้มา อย่างในปัจจุบันนี้พระภิกษุวัดท่าขนุนจำนวนนับ ๑๐ รูป ต้องเดินทางไปศึกษาเล่าเรียน คือ เรียนวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ ครั้งละ ๓ วัน ถ้าหากว่า ๑ ใน ๓ วันนั้นตรงกับวันพระ การเรียนก็ต้องเลื่อนไปเป็นวันพฤหัสบดี

จึงทำให้ต้องอาศัยสิ่งที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ประทานเอาไว้ให้ มาเปรียบเทียบดูว่า การไปศึกษาเล่าเรียนนั้นไม่ได้มีพุทธานุญาตเอาไว้ แปลว่าไม่สมควร แต่ว่าสิ่งที่ไม่สมควร ถ้าพิจารณาแล้วว่าสมควร ก็ทำได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:31
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #8  
เก่า 07-07-2020, 13:51
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

อย่างเช่นว่าการไปศึกษาเล่าเรียนนั้น ก็เพื่อให้เรารู้ข้อธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ถึงเวลาจะได้นำไปเผยแผ่ นำไปบอกกล่าวกับญาติโยม นำไปสั่งสอนญาติโยมได้อย่างเต็มที่ ได้อย่างถูกต้องมากขึ้น

เมื่อเป็นเช่นนั้นสิ่งที่ไม่สมควร เพราะว่าไม่ได้อนุญาตไว้ แต่เมื่อพิจารณาแล้วว่าเป็นการส่งเสริมการประกาศพระพุทธศาสนา สิ่งนั้นก็ย่อมสมควร เป็นต้น

อีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อถึงเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยหนักขึ้นมา ถ้าหากว่าไม่ไปโรงพยาบาลรักษา ตนก็อาจจะถึงแก่ชีวิต การไปนั้นก็อาจจะต้องไปค้างวันค้างคืน ที่ภาษาหมอเขาเรียกว่า admit ก็คือ อยู่ประจำ ถ้าหากว่าไม่เกิน ๗ วัน ก็อาศัย สัตตาหะกรณียะ ไปได้เช่นกัน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:31
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #9  
เก่า 07-07-2020, 13:54
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

ส่วนในการที่อยู่ประจำในวัดใดวัดหนึ่งนั้น ท่านก็กำหนดเขตจำพรรษาเอาไว้ ภาษาบาลีเรียกว่า “ติจีวะราวิปปะวาส” คือ เขตที่อยู่ได้โดยปราศจากไตรจีวร

อย่างของวัดท่าขนุนของเรา ด้านเหนือก็กำหนดเอาทางเข้าหมู่บ้านวังท่าขนุนของเรา ทางด้านตะวันออกก็กำหนดเอาถนนใหญ่หน้าพระใหญ่หน้าวัด ทางด้านใต้ของเรากำหนดเอาลำรางสาธารณะ หรือลำห้วย ทางด้านตะวันตกของเราง่ายมาก เอาแม่น้ำแควน้อยเป็นเขต

เมื่อมีขอบเขตชัดเจนเช่นนี้ ถ้าหากว่าพระที่จำพรรษาอยู่มีกิจธุระเร่งด่วนประการใด ออกจากกุฏิพ้นไป กลับมาไม่ทันอรุณ ก็คือตะวันขึ้น หรือแสงเงินแสงทองขึ้นเสียก่อน แต่ว่าตัวเรายังไม่ได้อยู่ในสถานที่กุฏิของเราที่จำพรรษาอยู่ ก็ไม่ถือว่าขาดพรรษา ไม่ถือว่าผ้าครองที่รักษานั้นขาดครอง ก็เพราะว่าคณะสงฆ์ได้กำหนดเขตที่ชัดเจนเอาไว้แล้วว่า จะอยู่โดยปราศจากไตรจีวรในบริเวณใดบ้าง เป็นต้น

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #10  
เก่า 07-07-2020, 13:56
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

สิ่งเหล่านี้องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนแล้ว และในขณะเดียวกันแบบธรรมเนียมอีกอย่างหนึ่งที่ท่านทั้งหลายนิยมกระทำกันก็คือ เมื่อเวลาเข้าพรรษาก็มักจะเห็นว่าพระตั้งใจทำความดีอย่างเต็มที่ สาวกขององค์สมเด็จพระชินสีห์อย่างเราท่านทั้งหลายก็ตั้งใจเช่นกัน อย่างเช่นบางคนตั้งใจว่าจะฟังเทศน์ให้ได้ครบทุกธรรมาสน์ตลอดพรรษา

วัดท่าขนุนของเราในช่วงพรรษา ทุกวันพระ ไม่ว่าจะวันพระใหญ่ หรือวันพระเล็กก็ตาม มีการแสดงพระธรรมเทศนาทั้งกลางวันและกลางคืน กลางวันก็ช่วงเวลา ๙ โมงเช้าอย่างเช่นวันนี้ กลางคืนก็เวลาประมาณทุ่มครึ่งหลังการทำวัตรเย็นไปแล้ว

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 20:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #11  
เก่า 07-07-2020, 19:17
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

บางท่านก็ตั้งใจว่าทุกวันพระ เราจะรักษาศีล ๘ ให้ได้ตลอดพรรษา บางท่านก็ตั้งใจว่า ตลอด ๓ เดือนจะเว้นสุราเมรัย เป็นต้น สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็ถือว่าอาศัยกาลโอกาสอันเหมาะสม ช่วยกำหนดให้ท่านทั้งหลายได้กระทำความดีอย่างเป็นชิ้นเป็นอัน

ขณะเดียวกันถ้าท่านทั้งหลายตั้งใจเอาไว้ว่า จะปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเต็มที่ตลอดพรรษา ก็แปลว่าท่านทั้งหลายจักต้องทุ่มเทความพยายาม เนื่องจากว่าการทำความดีทุกประเภทนั้น ย่อมมีมารมาขวาง คำว่ามารนั้นเป็นได้ทั้งคน เป็นได้ทั้งสัตว์ เป็นได้ทั้งสิ่งของ

เพราะว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้บางทีก็ไม่มีชีวิตจิตใจ แต่ถึงเวลามาขวางไม่ให้เราทำความดีได้ อย่างเช่นว่าคนที่เรารัก พอเห็นเราถือศีล ๘ ก็ถามว่า จะถือไปทำไม ? อายุยังน้อยอยู่เลย รอให้แก่กว่านี้ก่อนแล้วค่อยถือศีล ๘ เป็นต้น ถ้าสาวกขององค์สมเด็จพระทศพลของเรา ไม่มีความเข้มแข็งพอ ก็จะเห็นคล้อยตาม ทำให้ขาดประโยชน์ของตนเองไป

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:39
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #12  
เก่า 07-07-2020, 19:17
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

สัตว์ทั้งหลายก็อาจจะทำให้เราขาดการทำความดีไปได้เช่นกัน อย่างเช่นบางคนเลี้ยงหมาเลี้ยงแมว รักเหมือนลูก ถึงเวลาหมาแมวเจ็บไข้ได้ป่วย ตรงกับวันพระที่จะไปวัด ก็ไม่สามารถที่จะละไปได้ เพราะว่าต้องคอยดูแลหมาแมวที่ป่วยอยู่ หมาแมวที่รักของเราก็กลายเป็นตัวขวางไม่ให้เราทำความดีเสียอย่างนั้น เป็นต้น

สิ่งของบางอย่างก็ไม่น่าจะขวางเราไม่ให้ทำความดี แต่ก็ขวางได้ อยากจะไปวัดในช่วงเช้า รถมอเตอร์ไซค์ก็สตาร์ทไม่ติด ระยะทางก็หลายกิโลเมตร เดินไม่ไหว อย่าเลย..วันพระนี้เราไม่ต้องไปวัดก็ได้

ญาติโยมทั้งหลายจะเห็นว่า ไม่ว่าคน ไม่ว่าสัตว์ ไม่ว่าสิ่งของก็ตาม มารสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการขวาง ไม่ให้เราทำความดีได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะบุคคลที่เรารักเราเคารพมากที่สุด อาจจะทำให้เราได้รับการกระทบกระเทือนใจมากที่สุด แล้วก็ทำให้เราห่างจากความดีไปได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:40
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #13  
เก่า 07-07-2020, 19:19
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

ทำให้ท่านทั้งหลายจำเป็นต้องที่ใช้ปัญญาในการกระทำความดี พินิจพิจารณาดูแล้วว่าถ้าสามารถแก้ไขด้วยเหตุอื่น ด้วยวิธีอื่นได้ เราก็แก้ไขไปตามเพลง อย่างเช่นว่า เราจะรักษาศีล ๘ แต่เกรงว่าคนอื่นจะรู้แล้วห้ามปราม ถึงเวลาไม่ได้กินข้าวเย็น เขาถามว่า “ทำไมไม่กิน ?” เราก็อาจจะบอกว่า “อ้วนแล้ว ของดอาหารเย็นสักมื้อหนึ่ง” ไม่จำเป็นที่จะต้องไปบอกว่า รักษาศีล ๘ ก็เลยไม่กินข้าวเย็น เป็นต้น

หรือถ้าหากว่าสัตว์ทั้งหลายเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา สมมุติว่าเราจะต้องไปวัด ก็หอบหิ้วใส่ตะกร้าไปด้วย ถึงเวลาก็พาหมาไปฟังเทศน์ฟังธรรม อย่างน้อย ๆ กำลังใจที่เกาะเสียงพระ เสียงสวดมนต์ ถ้าหากว่าสัตว์เลี้ยงของเราตายลงไปตอนนั้น ก็ได้ไปดีอย่างแน่นอน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #14  
เก่า 07-07-2020, 19:19
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

สมมุติว่ารถยนต์ของเราเกิดมาเสียหายในวันพระ ไม่สามารถจะไปทำบุญได้ สมัยนี้ก็ส่งไลน์หรือโทรศัพท์บอกเพื่อนที่จะไปทำบุญว่า “ผ่านมา..ช่วยแวะมารับฉันด้วย” ก็แปลว่าถ้าเราใช้ปัญญาเพิ่มขึ้นมานิดเดียว เรื่องทั้งหลายเหล่านี้จะสามารถแก้ไขได้ทั้งสิ้น

ดังนั้นในเรื่องของการปฏิบัติในทาน ในศีล ในภาวนา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีปัญญาประกอบไปด้วยทุกครั้งไป เมื่อญาติโยมทั้งหลายตั้งใจทำความดีตลอด ๓ เดือน เช่นเดียวกับพระที่ตั้งใจจำพรรษาเพื่ออยู่ประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่ตลอด ๓ เดือน ถ้าสามารถทำให้กำลังใจทรงอยู่ในความดีได้แล้ว ก็น่าจะที่จะกระทำต่อไปเป็นระยะยาว โดยไม่ต้องจำกัดเวลาเลย

เพราะถ้าหากว่ารอให้ ๓ เดือนเข้าพรรษาแล้วค่อยทำความดี เกิดท่านมีอันหมดอายุขัยตายลงไปก็ดี หรือเกิดอุบัติเหตุอันตรายถึงแก่ชีวิตไปเสียก่อน ท่านก็อาจจะไม่ได้ทำความดีตามที่ตั้งใจเอาไว้

โดยเฉพาะในเรื่องของความดีนั้น เหมือนอย่างกับเราขึ้นสู่ที่สูง ถ้าหากว่าเราไม่เร่งทำให้ไปจนถึงที่สุด ถึงเวลาพลั้งพลาดขึ้นมาก็อาจจะตกลงที่ต่ำก็ได้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 07-07-2020 เมื่อ 19:45
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 24 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #15  
เก่า 07-07-2020, 19:20
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

ดังนั้นเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงการประมวลหลักธรรมว่า เราต้องทรงความไม่ประมาทให้เป็นปกติ ก็แปลว่า ท่านทั้งหลายเมื่อออกพรรษาแล้ว สิ่งหนึ่งประการใดที่เราทำได้ตามปกติ

ไม่ว่าจะเป็นการให้ทาน คือ ตั้งใจใส่บาตรทุกวันก็ดี การรักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ ตลอดทุกวันก็ดี หรือว่าการเจริญภาวนาสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ ทุกวันตลอดพรรษาก็ตาม ถ้าท่านทำได้ก็ถือว่าเป็นสมบัติอยู่ในมือของเรา ก็ควรที่จะเร่งขวนขวายกระทำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป


ในขณะเดียวกันพระภิกษุสามเณรของเราที่อยู่ประจำพรรษา ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นลูก เป็นหลาน เป็นญาติ เป็นโยม ท่านทั้งหลายเมื่อถึงเวลาก็ไปสงเคราะห์ลูกหลานญาติโยมด้วยการใส่บาตร อาตมาเห็นแล้วบางทีก็ขำ ก็คือบางบ้านไม่เคยใส่บาตรเลย พอถึงเวลาลูกมาบวชก็ใส่บาตรตลอดพรรษา อีกไม่กี่วันลูกสึก โยมก็หายหน้าไปพร้อมกับลูกที่สึกด้วย..!

ถ้าหากว่าเป็นลักษณะอย่างนี้แปลว่าเราทำความดีแบบไม่สม่ำเสมอ ถึงเวลาความดีมาสนอง เราก็จะมีความสุข ความสะดวกสบายในช่วงนั้น แต่ถ้าความดีขาดช่วงลงไปเมื่อไร เราเองก็อาจจะได้รับความทุกข์ยาก ความลำบาก เพราะว่าเราเป็นคนทำบ้าง ไม่ทำบ้าง นั่นเอง

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 08-07-2020 เมื่อ 12:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #16  
เก่า 07-07-2020, 19:22
ธนปุณโณ ธนปุณโณ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Apr 2020
ข้อความ: 32
ได้ให้อนุโมทนา: 2
ได้รับอนุโมทนา 1,172 ครั้ง ใน 38 โพสต์
ธนปุณโณ is on a distinguished road
Default

ได้วิสัชนามาก็พอสมควรแก่เวลา ท้ายสุดแห่งพระธรรมเทศนา อาตมภาพขอตั้งสัตยาธิษฐานอ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะเป็นประธาน มีบารมีของหลวงปู่สาย อคฺควํโส อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุนเป็นที่สุด

ขอได้โปรดดลบันดาลให้ญาติโยมทั้งหลายประสพแต่ความสุขความเจริญ มีความปรารถนาที่สมหวังจงทุกประการ

รับประทานวิสัชนามาในวัสสกถาก็พอสมควรแก่เวลา จึงขอสมมติยุติพระธรรมเทศนาลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์วันเข้าพรรษา ณ วัดท่าขนุน
วันจันทร์ที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓
(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยหยาดฝน)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธนปุณโณ : 08-07-2020 เมื่อ 23:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ธนปุณโณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:55



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว