กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


กลับไป   กระดานสนทนาวัดท่าขนุน > ห้องธรรมะพระอาจารย์ > พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ)

Notices

พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) รวมธรรมะจากพระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ)

ตอบ
 
คำสั่งเพิ่มเติม
  #1  
เก่า 07-12-2010, 03:07
โอรส's Avatar
โอรส โอรส is offline
นายทะเบียน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 897
ได้ให้อนุโมทนา: 37,411
ได้รับอนุโมทนา 206,422 ครั้ง ใน 3,180 โพสต์
โอรส is on a distinguished road
Default อุปสรรคของผู้ฝึกมโนมยิทธิ

เมื่อครูฝึกท่านบอกว่าให้ยกจิตขึ้นสู่พระจุฬามณีเจดีย์สถาน ให้นึกเดี๋ยวนี้เลยว่าตรงหน้าของเราตอนนี้คือพระจุฬามณี ให้เรากำหนดใจว่ากำลังอยู่ตรงหน้าพระจุฬามณี ถ้าเขาถามว่าพระจุฬามณีมีสภาพอย่างไร ? ความรู้สึกแรกบอกว่าอย่างไร ก็ให้ตอบไปตามนั้นเลย ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนคนอื่นเขา โดยเฉพาะถ้าฝึกร่วมกัน

ถึงเวลาคนหนึ่งเขาตอบอย่างนี้แล้ว เอ๊ะ..เรารู้สึกไม่เหมือนเขา แล้วไปตอบอีกอย่างหนึ่งคิดว่าผิด แบบนั้นก็เจ๊งเลย คนที่จะรู้สึกเหมือนกัน ตอบเหมือนกันจะต้องลงที่เดียวกัน เช่น สมมติบอกว่าพวกเราไปกรุงเทพฯ คนแรกมาบางแค คนที่สองมาลาดพร้าว อีกคนมาพระโขนง สรุปสามคนไปกรุงเทพฯ เหมือนกัน..ใช่ไหม ? แล้วเราจะเห็นเหมือนกันไหม ?

โลกของเราทั้งโลกหย่อนลงไปสวรรค์ชั้นหนึ่งก็เท่ากับถั่วเม็ดเล็ก ๆ ในเข่งเท่านั้นเอง สวรรค์ใหญ่กว่านั้นตั้งเยอะ..!

เพราะฉะนั้น..ถ้าหากว่าตอบไปคนละทิศ คนละทาง คนละเรื่อง คนละโลกกับเขา ก็ไม่ต้องสงสัย เพราะว่านั่นคือที่ ๆ เราไป ขณะที่เขาตอบคือที่ ๆ เขาไป เราต้องมั่นใจในตัวของเราเอง โดยเอาความรู้สึกแรกเป็นหลัก

แรก ๆ จะมองไม่เห็น เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วสมาธิยังไม่ดี การตัดกิเลสก็ไม่คล่องตัว จะเหมือนกับคลำของในที่มืด เขาส่งของให้เราชิ้นหนึ่ง เราก็ต้องหลับตา ถึงไม่หลับตาก็มองไม่เห็น คลำไปคลำมาสักพักหนึ่งก็ตอบได้ เช่น สมุดเล่มนี้ เราก็จะทราบว่าเป็นสมุด ถ้าไม่เห็นแล้วเราคลำบ่อย ๆ จับบ่อย ๆ ก็จะบอกได้เลยว่าเป็นสมุด ความคล่องตัวจะมีมากขึ้นไปเรื่อย ๆ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-06-2015 เมื่อ 14:10
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 141 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ โอรส ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #2  
เก่า 07-12-2010, 03:13
โอรส's Avatar
โอรส โอรส is offline
นายทะเบียน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 897
ได้ให้อนุโมทนา: 37,411
ได้รับอนุโมทนา 206,422 ครั้ง ใน 3,180 โพสต์
โอรส is on a distinguished road
Default

คราวนี้ก็จะมาสู่ขั้นตอนที่ลำบาก เพราะว่าถึงเวลานั้นกำลังใจของเราจะเริ่มมั่นคง เมื่อกำลังใจของเรามั่นคง สมาธิเริ่มทรงตัว ภาพจะปรากฏ ลำบากตรงไหน ? ก็ลำบากตรงความเคยชินของเรา เราเห็นภาพด้วยตาจนเคย พอถึงเวลาภาพปรากฏ เราอยากจะให้ชัดมากกว่านั้นโดยที่ไม่ได้นึกถึงข้อจำกัด

ข้อจำกัดคือ พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่เห็นอะไรชัดโดยตลอด ไม่มีอะไรปิดบังเหมือนอย่างกับพระอาทิตย์ยามเที่ยง
พระปัจเจกพุทธเจ้า มองเห็นได้อย่างกับพระจันทร์คืนวันเพ็ญ ก็ยังมีที่หลบมุมได้บ้าง..ใช่ไหม ?
พระอัครสาวก มองเห็นได้อย่างกับคบไฟดวงใหญ่ ถึงสว่างอย่างไร รอบข้างก็ยังมืดอีกเยอะ
พระอริยเจ้าทั่ว ๆ ไป มองเห็นได้อย่างกับแสงเทียนดวงน้อย
ของเราถ้าได้มโนมยิทธิจริง ๆ ยังไม่ได้เป็นพระอริยเจ้า คือ ทรงฌานโลกีย์ มองเห็นได้อย่างกับเวลาโพล้เพล้ใกล้ค่ำ

ทีนี้ลักษณะโพล้เพล้ใกล้ค่ำ บางครั้งก็เหมือนกับค่ำสนิทจริง ๆ แล้วเราไม่นึกถึงข้อจำกัดตรงนี้ ก็จะใช้สายตาไปเพ่ง เพื่อให้ภาพชัดขึ้น การใช้สายตา จะต้องนึกถึงตา นึกถึงตาคือนึกถึงตัว เท่ากับเราดึงจิตย้อนกลับ ภาพก็จะหายไป เราก็มานั่งกลุ้มว่า ทำไมภาพถึงหายไป ? ยิ่งฟุ้งซ่านก็ยิ่งหาภาพไม่เจอ พอใจเราสงบภาพก็จะมาปรากฏอีก เราก็เพ่งอีก แล้วก็หายไปอีก ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่นักปฏิบัติติดกันมาก

อาตมาเองก็ติดอยู่เป็นปี ๆ จนกว่าจะทำใจได้ว่า ก่อนหน้านี้ความรู้สึกของเราก็ถูกต้องแม่นยำดีอยู่แล้ว ภาพนี้จะปรากฏหรือไม่ปรากฏก็ช่างเถอะ เราพอใจแค่นี้แหละ เห็นก็เอา ไม่เห็นก็เอา ถ้าอย่างนั้นภาพจะปรากฏแล้วทรงตัวอยู่ได้นาน

คราวนี้นึกออกไหมว่าของเราผิดพลาดตรงไหนถึงไม่ได้สักที ? อย่าบอกนะว่าทุกขั้นตอน จำไว้ว่า "อย่าอยากจนเกินไป"

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-06-2015 เมื่อ 14:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 142 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ โอรส ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #3  
เก่า 08-12-2010, 06:39
โอรส's Avatar
โอรส โอรส is offline
นายทะเบียน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 897
ได้ให้อนุโมทนา: 37,411
ได้รับอนุโมทนา 206,422 ครั้ง ใน 3,180 โพสต์
โอรส is on a distinguished road
Default

ถาม : เราตั้งใจมากเกินไป ?
ตอบ : ตัวตั้งใจมากเกินไปก็เป็นตัวอุทธัจจะ พาให้ฟุ้งซ่าน

การทรงฌานนี่ลำบาก ถ้าหากว่าเราไม่สามารถทรงฌานได้คล่องตัวชนิดเข้าฌานไหนก็ได้ เมื่อนั้นก็จะเป็นตัวถ่วงทิพจักขุญาณ

เพราะทิพจักขุญาณจะเกิดเมื่อ อยู่ในอุปจารสมาธิ หรือ ฌาน ๔ เต็มกำลัง

คราวนี้อยากจะเปรียบว่า เหมือนกับมีห้อง ๒ ห้อง ชั้นล่างกับชั้นบน ในห้องมีทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกันหมด มีบันไดอยู่ระหว่างกลางจากชั้นล่างขึ้นไปชั้นบน ถ้าเราอยู่อุปจารสมาธิ คือ อยู่ชั้นล่าง ถ้าฌาน ๔ ก็อยู่ชั้นบน เห็นได้เหมือนกัน ทุกอย่างเหมือนกันหมด ถ้าหากเราอยู่ระหว่างฌาน ๑ ๒ ๓ ก็เจ๊ง..ถึงอยู่ในฌาน ๔ ถ้าเป็นฌาน ๔ หยาบก็ยังไม่ถึงจุดที่จะเห็นได้

เพราะฉะนั้น..ถ้าหากว่าเรามีพื้นฐานการภาวนามาก่อนแล้ว แต่เราลดกำลังใจมาสู่อุปจารสมาธิไม่เป็น หรือส่งกำลังใจขึ้นไปฌาน ๔ ละเอียดไม่เป็น จะทำให้เกิดทิพจักขุญาณไม่ได้

พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า บุคคลผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ตั้งใจปฏิบัติภาวนา ทรงสมาธิได้ สร้างฌานสมาบัติให้เกิดได้

บุคคลผู้ปฏิบัติภาวนาเป็นแสนคน จะทรงฌานได้สักคนก็แสนยาก
บุคคลผู้ทรงฌานเป็นแสนคน จะทรงฌาน ๔ ได้สักคนก็แสนยาก
บุคคลผู้ทรงฌาน ๔ เป็นแสนคน จะได้ทิพจักขุญาณสักคนก็แสนยาก

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-06-2015 เมื่อ 14:12
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 109 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ โอรส ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #4  
เก่า 08-12-2010, 06:49
โอรส's Avatar
โอรส โอรส is offline
นายทะเบียน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 897
ได้ให้อนุโมทนา: 37,411
ได้รับอนุโมทนา 206,422 ครั้ง ใน 3,180 โพสต์
โอรส is on a distinguished road
Default

เพราะฉะนั้น..เรื่องที่เราทำไม่ได้ บางครั้งอาจจะเป็นที่ครูฝึกใช้คำพูดไม่ถูกต้องก็มี ขณะเดียวกัน..บางครั้งเราเองก็วางกำลังใจสูงเกินไป ลดกำลังใจต่ำเกินไป จนไม่ตรงกับช่วงที่จะเกิดทิพจักขุญาณก็มี ถ้าตรงเสียครั้งเดียวต่อไปก็จะจำได้ ลำบากครั้งแรกครั้งเดียว

อาตมาเองตอนฝึกใหม่ ๆ ครูฝึกเขาถามว่า
ถาม : "เห็นอะไรไหม ?"
ตอบ : " ไม่เห็นครับ"
ถาม : "สว่างไหม ?"
ตอบ : "มืดครับ"

ไม่รู้เรื่องอะไรเลย เพราะครูฝึกเขาใช้คำพูดผิด ไปได้อีกครั้งตอนที่ครูฝึกเขาหมดอารมณ์ไปนอนตีพุงอยู่ที่ไหนไม่รู้ อาตมาก็ดื้อภาวนาต่อไป ปรากฏว่าครูฝึกข้างหลังเขาถามลูกศิษย์ของเขาว่า "สามารถนึกถึงพระพุทธรูปได้ไหม ? องค์ใดองค์หนึ่งที่เรารักเราชอบมากที่สุด" โอ๊ย..หวานหมูเลย ก็จับภาพพระเป็นกสิณมาตั้ง ๓ ปีเต็ม ๆ อธิบายได้ทุกรายละเอียดเลยก็ว่าได้ ก็อธิบายไป ครูฝึกข้างหลังฟังแล้วเห็นว่าบอกได้ ก็ดึงเข้าร่วมวงไปด้วย อาตมาก็ว่าไปเรื่อย ถึงได้บอกว่า แค่ครูฝึกใช้คำพูดผิดนิดเดียว เราก็อาจจะไม่สามารถที่จะทำทิพจักขุญาณได้

ส่วนอีกครั้งหนึ่ง อาตมาพาโยมแม่ไปฝึก เรื่องของคนครอบครัวเดียวกัน โดยเฉพาะผู้อาวุโสกว่า จะเป็นเวรเป็นกรรมอยู่อย่างหนึ่งว่า เราจะสอนเขายาก เครดิตไม่พอ ก็ท่านเป็นแม่เรา..ใช่ไหม ? เลี้้ยงเรามากับมือ เราจะเอาอะไรไปสอนท่าน ก็ต้องไปให้คนอื่นเขาสอน ก็ไปให้ครูพรรณีสอน

พอหายเข้าไปในห้องสักครึ่งชั่วโมง ครูพรรณีก็เดินหัวเราะออกมา บอกว่า ท่านเล็กสอนแม่อย่างไร ? ถามว่า "เกิดมาทุกข์ไหม ?" แม่บอกว่า "ไม่ทุกข์" จึงบอกไปว่า ครูถามผิด กลับไปถามแม่ใหม่ว่า "เกิดมาลำบากไหม ?" รับรองว่า ๓ ชั่วโมงท่านอธิบายไม่หมดหรอกว่าลำบากอย่างไร ครูฝึกใช้คำพูดผิดนิดเดียว ทำให้เกิดผลเสียกับลูกศิษย์ได้ขนาดนั้น

เพราะฉะนั้น..เกิดจากหลายอย่างรวมกัน อาจจะเป็นได้ว่าเพราะครูฝึกไม่ชำนาญพอ และเราเองก็ทำกำลังใจไม่ตรงร่อง ให้ใช้ความพยายามต่อไป

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-06-2015 เมื่อ 14:14
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 106 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ โอรส ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #5  
เก่า 09-12-2010, 01:23
โอรส's Avatar
โอรส โอรส is offline
นายทะเบียน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 897
ได้ให้อนุโมทนา: 37,411
ได้รับอนุโมทนา 206,422 ครั้ง ใน 3,180 โพสต์
โอรส is on a distinguished road
Default

อาตมาเองตอนที่พยายามทรงฌาน ปล้ำกับปฐมฌานอย่างเดียวใช้เวลา ๓ ปีเต็ม ๆ คิดว่าคงไม่มีไอ้บ้าที่ไหนอึดได้ขนาดนี้หรอก เขาทำไม่ได้ผล แค่ ๓ เดือนเขาก็ทิ้งกันหมดแล้ว

ภาวนาไปก็ไปไล่ขั้นตอน
ตอนนี้วิตกนะ เรากำลังนึกอยู่ว่าจะภาวนา
ตอนนี้วิจารณ์นะ ลมหายใจยาว-สั้น เข้า-ออก แรง-เบา คำภาวนาอย่างไรก็รู้อยู่
ตอนนี้ปีตินะ ขนชักจะลุกซ่า ๆ แล้ว ต่อจากนั้นก็หายจ้อยไปหมด

เราตามจี้อาการของฌานมากจนเกินไป เรื่องของกรรมฐานจะเหมือนกับคนขี้อาย ไปจี้จดจ่อมากเกินไป จะกลายเป็นตัวอารมณ์อุทธัจจะ คือ ฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้น..จึงทรงเป็นฌานไม่ได้ เดือนก็แล้ว ปีก็แล้ว ไล่ไปเรื่อย ๆ ไม่เห็นก้าวหน้าสักที ติดอยู่แค่นั้น

จนกระทั่งวันหนึ่ง..คงจะถึงวาระถึงเวลาแล้ว ตอนนั้นเบื่อเต็มทีแล้ว ข้าจะภาวนา ส่วนอารมณ์จะเป็นฌานหรือไม่เป็นฌานก็ช่างหัวมันเถอะ วูบเดียวก็ได้เลย คือ กำลังใจปล่อยวางแล้ว

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-06-2015 เมื่อ 14:15
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 84 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ โอรส ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
  #6  
เก่า 09-12-2010, 01:28
โอรส's Avatar
โอรส โอรส is offline
นายทะเบียน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 897
ได้ให้อนุโมทนา: 37,411
ได้รับอนุโมทนา 206,422 ครั้ง ใน 3,180 โพสต์
โอรส is on a distinguished road
Default

ตรงจุดนี้แหละ ถ้าเราอยากเกินไปเราจะไม่ได้ แล้วมาถามอีกครั้งว่า "ถ้าไม่อยากแล้วจะไปปฏิบัติทำไม ?" คือ ให้ตั้งกำลังใจของเราไว้ว่า เราปฏิบัติครั้งนี้เราต้องการอะไร เมื่อถึงเวลาภาวนา ก็ให้ลืมความตั้งใจนั้นเสีย เอาใจจดจ่ออยู่กับการภาวนาอย่างเดียว

พอครูฝึกบอกอย่างไรก็ให้ทำอย่างนั้น พอเขาบอกว่าคลายอารมณ์ออกมา ทำตัวสบาย ๆ เหมือนกับเรานั่งคุยกัน หลับตาเบา ๆ สบาย ๆ เขาบอกอย่างไรทำอย่างนั้น เขาถามอย่างไรตอบไปตามความรู้สึก อย่างนั้นจะได้ง่าย

ถ้าหากเราเสียดายว่า กำลังภาวนาอารมณ์ทรงตัวเลย เขาถามเราไม่ตอบ คือเราไม่ลดกำลังใจลงมา เราก็จะเสียผลเอง ถ้าเป็นอย่างนี้เราจะไปโทษครูฝึกไม่ได้


สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ

ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๔

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-06-2015 เมื่อ 14:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 86 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ โอรส ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
ตอบ


ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 0 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน )
 
คำสั่งเพิ่มเติม

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 13:47



ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว